ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ใกล้ลงแดงแล้วครับ :wacko:

 

 

555 เอาบทความที่น่าสนใจมาให้อ่านเล่นไปพลางๆก่อนครับ คุณเน็กคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะได้บทความมันๆมาลง

 

 

ดอกเบี้ย และ เงินเฟ้อ : ความเชื่อผิดๆประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย นักเศรษฐศาสตร์นอกกรอบ อดีตนักเรียนทุนญี่ปุ่น กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 

ธนาคารกลางทั่วโลกมีความเชื่อคล้ายๆ กันว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยสกัดเงินเฟ้อ และการลดอัตราดอกเบี้ยลงจะช่วยกระตุ้นเงินเฟ้อเพิ่มนั้น... แท้ที่จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น...

 

เหตุผลก็คือ แรงกิริยาที่เกิดจากการลด หรือขึ้นดอกเบี้ย จะช่วยกระตุ้น หรือชะลอสินเชื่อเพื่อการบริโภคและการลงทุนนั้น แท้ที่จริงแล้ว ยังมีแรงปฏิกิริยาสะท้อนกลับในทางตรงข้ามถึง 5 แรง ซึ่งผมได้ตั้งชื่อให้ว่า Taiji-Econ.’s Five Forces ดังนี้

 

1. ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น : หากขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น เงินเฟ้อจึงสูงขึ้น แต่ที่จะชะลอตัวลง(ถ้าเป็น แทนที่จะชะลอตัวลง จะเข้าใจง่ายกว่า...หมอเล็ก)

 

2. ผลตอบแทนเงินฝาก : หากขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วจะส่งผลให้คนระดับนายทุน มีรายได้จากดอกเบี้ยรับสูงขึ้น เพิ่มกำลังซื้อขึ้น จึงทำให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่ที่จะชะลอตัวลง

 

3. ผลตอบแทนค่าเช่า : การขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะเป็นการเพิ่ม yield ของค่าเช่าทางอ้อม ทำให้เจ้าที่ดินเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ มีผลตอบแทนค่าเช่าที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ

 

4. เงินทุนต่างชาติไหลเข้าเพิ่ม : ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาหาผลตอบแทนที่ดีกว่า ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ

 

5. เงินทุนไหลออกลดลง : ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะทำให้เงินทุนที่ควรจะไหลออกเพื่อไปลงทุนต่างประเทศนั้น ลดลงกว่าระดับที่ควรจะเป็น กระแสเงินในประเทศจึงเหลือมาก เงินจึงเฟ้อ

 

เมื่อมีผลกระทบในทางตรงกันข้ามกับแนวคิดเดิม การที่ธนาคารกลางในประเทศกำลังพัฒนาขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อเพิ่มแทนที่จะชะลอเงินเฟ้อ และการที่ธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้ว ลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (ดอกเบี้ยมาตรฐาน) และดอกเบี้ยระยะยาว (มาตรการ QE) ลง ก็จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงหรือเงินฝืด แทนที่จะเร่งอัตราเงินเฟ้อขึ้น

 

มี 4 ปัจจัยที่ทำให้แรงกิริยาแบบเดิมๆ นั้นส่งผลน้อยลง ขณะที่แรงสะท้อนกลับส่งผลแรงยิ่งขึ้น ทำให้ทฤษฎีการเงินแบบเดิมๆ ไม่ได้ผลตามคาด แต่กลับส่งผลในทางตรงกันข้ามแทน โดยเฉพาะเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว ผมตั้งชื่อ 4 ปัจจัยนี้ว่า LOAD factors

 

1. L (Liberalisation) การเงินเสรี รวมไปถึงการค้าการลงทุนเสรีนั้น ทำให้การลดอัตราดอกเบี้ยลง แทนที่จะไปเพิ่มสินเชื่อเพื่อการลงทุน ไม่เพิ่มการจ้างงาน เงินทุนเหล่านั้นกลับหนีออกไปยังต่างประเทศเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่า

 

2. O (Overcapacity) มีกำลังการผลิตล้นเหลือแทบจะทุกภาคส่วนของโลก ดังนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยลง จึงไม่ไปเพิ่มการลงทุนโดยตรง ไม่เพิ่มการจ้างงาน ไม่เพิ่มเงินเฟ้อ มีแต่จะไปเพิ่มในส่วนของการลงทุนในหุ้นและพันธบัตรแทน

 

3. A (Aging Society) สังคมผู้สูงอายุ ทำให้การบริโภคลดลง ด้วยคนเกษียณมีรายได้ที่ลดลง พร้อมๆ ไปกับวิถีชีวิตที่บริโภคลดลงตามวัยด้วย การลดอัตราดอกเบี้ยลง กลับทำให้รายรับจากดอกเบี้ยเงินฝากของคนกลุ่มนี้ลดลง ทำให้กำลังซื้อ และ เงินเฟ้อของประเทศชะลอตัว

 

4. D (Deleveraging) ประเทศพัฒนาแล้วมีการสร้างหนี้อย่างมากในอดีต จำเป็นต้องมีการลดภาระหนี้สินลง ดังนั้น การลดดอกเบี้ยลงเพื่อหวังกระตุ้นสินเชื่อจึงหวังได้ยาก

 

LOAD factors นี้เอง ทำให้ผลของทฤษฎีการเงินแบบเดิมๆ ไม่เห็นผล แต่แรงสะท้อนกลับยิ่งส่งผลที่มากขึ้น ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกเป็นสิ่งที่ผิดพลาดทั้งหมด

 

นี่เป็นการค้นพบว่า “โลกกลม” ในทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่ ขณะที่คนของธนาคารกลางทั่วโลก เห็นว่า “โลกแบน” ที่จริงแล้วคงไม่ถึงขนาดนั้น... เพราะว่า ระดับเด็กประถม หรือ ชาวบ้านธรรมดาก็เข้าใจได้อย่างถูกต้องและง่ายดาย ลองไปถามดูสิครับว่า “หากแม่ค้าต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับนายทุนนอกระบบสูงขึ้น ข้าวของในตลาดจะแพงขึ้นหรือว่าถูกลง” ผมเชื่อว่า แทบจะทุกคนตอบได้อย่างสบาย และ สำหรับเด็กประถมศึกษา ดูจากสมการ อัตราดอกเบี้ย (nominal rate) = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real rate) + เงินเฟ้อ (infloation) ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ย...นั่นหมายถึง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั่นเอง เรื่องง่ายๆ เด็กๆ

 

แล้วทำไมเรื่องง่ายๆ ที่ชาวบ้านก็เข้าใจได้ถูกต้อง แต่ระดับผู้บริหารธนาคารกลางจึงเข้าใจผิดไปได้ ประเด็นอยู่ที่ “ตำราเศรษฐศาสตร์” ไงครับ พวกท่านเหล่านั้นเรียนตำราเล่มเดียวกัน จึงบริหารตาม “ภูมิปัญญาตำรา” ของเศรษฐศาสตร์การเงินที่บกพร่อง ขณะที่ “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” นั้นถูกต้องดีอยู่แล้ว ในอนาคตของเนื้อหาบทความนี้ถูกไปเสริมในทฤษฎีการเงินมหภาคก็อาจจะช่วยให้เข้าใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

 

ทางแก้ไขก็คือ ธนาคารกลางทั่วโลกต้องรีบดำเนินนโยบายแบบ “ย้อนศร” กับแบบเดิม ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ญี่ปุ่น อเมริกา ซึ่งพยายามลดดอกเบี้ยมาหลายปี แต่อัตราเงินเฟ้อก็ต่ำมากๆ ต้องรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อเร่งเงินเฟ้อ และ ขายพันธบัตรที่ธนาคารกลางสะสมเอาไว้จำนวนมาก (Anti-QE) อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในระยะสั้นและยาว จะไปเพิ่มต้นทุนทางการเงิน กระตุ้นเงินเฟ้อ จะดึงดูดเงินต่างชาติเข้ามา และเงินจะไหลออกลดลง ส่วนประเทศกำลังพัฒนาอย่าง อินเดีย และเวียดนาม ซึ่งขึ้นดอกเบี้ยมาเป็นปีแล้ว แต่เงินเฟ้อก็ยังสูงระดับ 8-9% มาตลอดเช่นกัน ต้องรีบลดอัตราลงมาเพื่อลดต้นทุนการเงิน ลดเงินเฟ้อลง ชะลอเงินไหลเข้าจากต่างชาติ

 

เรื่องแบบนี้อาจดูขัดกับความรู้สึกของผู้กำหนดนโยบาย แต่เป็นเรื่องธรรมดามากๆ ของชาวบ้าน น่าสงสัยว่าจะมีธนาคารกลางของประเทศใดบ้าง ที่จะเปลี่ยนความเชื่อแบบผิดๆ แบบเดิมๆ ทิ้งเสีย เดินหน้านโยบาย “ย้อนศร” กับของเดิม เพื่อนำพาเศรษฐกิจโลกไปยังทิศทางที่ถูกต้องได้... ขอเรียกร้องให้ ธปท.เริ่มก่อนเลยดีไหมครับ ???

 

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยังไม่ค่อยเข้าใจครับคุณ next

 

ที่คุณ next ว่าว่าถ้า depeg เมื่อไหร่ อเมริกาหนาวแน่ อันนี้คือรัฐบาล หรือ คนเมกันครับ เพราะจากที่เข้าใจ ที่ผ่านมานี่จีนพยายาม peg ไว้ แต่อเมริกาไม่อยากให้ peg

ถ้าเมื่อไหร่ที่ไม่ peg ราคาของในอเมริกาที่นำเข้าจากจีนมามหาศาลก็จะแพงขึ้นตามลำดับ ซึ่งชาวบ้านๆก็คงหนาวแน่ๆ แต่ถ้าเป็นในระดับประเทศ มันมีอะไรดีหรือเปล่าครับ ทำไม Obama ถึงได้ออกมาอยากให้จีน depeg (ตามที่ผมเข้าใจ)

 

 

ที่คุณmdaddy ถามมา ตอบในบทความต่อไปเลยแล้วกันครับ :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านบทความคุณ morlek แล้ว ส่วนตัวคิดว่าเห็นด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะได้มุมมองใหม่เพิ่มขึ้น :rolleyes: :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเน็กซ์ขา...ทำไมจีนขึ้นดอกเบี้ยทองถึงขึ้นกระฉูดขนาดนั้นล่ะคะ

 

คราวที่แล้วจีนขึ้นดอกเบี้ยทองลง (เข้าใจเหตุผล . แต่คราวนี้งงจริงๆ ค่ะ) !38 !38 !38

 

รบกวนคุณเน็กซ์ และกูรูทุกท่านช่วยวิเคราะห์หน่อยซิคะ . ขอบคุณล่วงหน้าแบบพี่หมอ อิอิ !thk !thk !thk

 

นี่คือ อารมณ์ของตลาดครับ หากจำได้คราวที่แล้วผมบอกว่า จีนขึ้นดอกเบี้ยทองลง

ให้ใช้จังหวะแบบนี้สะสมทองคำเพราะ เป็นการลงแบบไม่สมเหตุสมผล

ตอนนั้นใครช้อนซื้อทองคำก็กำไรกันถ้วนหน้า

 

คราวนี้ขึ้นดอกเบี้ยอีก คิดว่้า่ ตลาดจะยอมลงให้ช้อนแบบเดิมอีกหรือ??

ปรากฎว่าไม่เป็นเ่ช่นนั้น และไม่ง่ายแบบนั้นครับ ใครที่คาดว่าจะลงเลยเปิด short ไว้กลายเป็นผิดทาง ทำไม???

 

ข่าวสารมีมากมายพอลงก็ออกข่าวมาสนับสนุนว่าเพราะทำให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น ดอล่าร์ที่ตรึงอัตราแลกเปลี่ยนอยู่กับหยวนก็แข็งขึ้นตาม ทองเลยลง

พอคราวนี้ทองขึ้นก็บอกว่าเพราะปัญหาเงินเฟ้อในจีนมีมากถึงต้องปรับดอกเบี้ย ทองคำจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจไว้จัดการกับเงินเฟ้อ ไหนจะดีมานด์จากช่วงเทศกาลอีก

 

ข่าวมาสนับสนุนตลอดดูเหมือน "ทุกอย่างดูสมเหตุสมผล"

 

แต่หากสังเกตดูดีๆ ข่าวมักจะสนับสนุนตามหลังราคาเสมอ หากเป็นเช่นนี้แล้วต้องถือว่า

"ราคาต่างหากกำหนดข่าว ไม่ใช่ข่าวกำหนดราคา"

 

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือต้องยึดตามปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริงของทองคำไว้เสมอ

เพราะอารมณ์ของตลาดเหนือการคาดเดาวูบๆวาบๆ แต่หากเราเข้าใจในพื้นฐานทองคำอย่างแท้จริง

เราจะสามารถแยกออกว่า

 

-ข่าวไหนมีผลที่แท้จริง

 

-ข่าวไหนไม่มีผลอะไร

 

-ข่าวไหนแค่พาดหัวให้ดูตื่นเต้น

 

-ข่าวไหนเป็นเท็จ

 

หากว่าปัจจัยพื้นฐานยังไม่เปลี่ยน ทองคำก็ยังคงเดินหน้าต่อได้เรื่อยๆครับ :rolleyes:

ถูกแก้ไข โดย Nexttonothing

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

645ab.jpg

 

หยวน หยวน (Yaun Yaun)

 

 

วันนี้เรามาพูดคุยกันเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนซักหน่อยนะครับ :rolleyes:

 

อัตราแลกเปลี่ยน (Exchage Rate) คือ อัตราที่บอกว่า ธนบัตรของประเทศฉัน 1 ใบ แลกของเธอได้กี่ใบ

 

หากเป็นสมัยก่อนภายใต้ ระบบปริวรรตทองคำ(Gold Standard)

ธนบัตรแต่ละใบก็คือตัวแทนของทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศ ไม่ผันผวนวุ่นวาย

การค้าขายไม่จำเป็นต้องคำนวณความเสี่ยงอันอาจจะเกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนในสมัยนี้

แต่เมื่อนิกสัน ตัดความสัมพันธ์ระหว่าง ธนบัตร กับ ทองคำ ทิ้งไป ในปี 1971 ธนบัตรทุกสกุลบนโลก

ล้วนเทียบอัตราแลกเปลี่ยน กับ ดอลล่าร์ ซึ่งถือเป็นเงินสกุลหลัก (World’s Reserved Currency)

 

อย่างที่รู้ๆกัน เมื่อ พิมพ์ดอลล่าร์ออกมาเพิ่ม

 

-ค่าของเงินดอลล่าร์ “ก็จะอ่อน” หรือ มองอีกด้านคือ

 

-ค่าของเงินสกุลอื่น “ก็จะแข็ง”

 

หากประเทศนั้นๆ ไม่ต้องการให้สกุลเงินของตัวเอง “แข็ง” วิธีการก็คือ ต้องพิมพ์เงินเพิ่ม

ออกมาให้อ่อนตามดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนถึงจะ “คงเดิม”

 

เช่น สกุลเงิน A

ดอลล่าร์ 1 ใบ = สกุล A 10 ใบ อัตราแลกเปลี่ยน คือ 1:10

เมื่อ พิมพ์ดอลล่าร์เพิ่มเป็น 10 ใบ สกุล A ต้องพิมพ์เพิ่มเป็น 100 ใบ

อัตราแลกเปลี่ยนถึงจะ 10:100 = 1:10 เท่าเดิม

 

จริงอยู่อัตราแลกเปลี่ยนเท่าเดิม แต่เงินในระบบเพิ่ม

จริงอยู่อัตราแลกเปลี่ยนเท่าเดิม แต่เงินเฟ้อ !

 

เมื่อสหรัฐอเมริกา พิมพ์เงินออกมาสู่ระบบมากขึ้นแล้วประเทศต่างๆ พยายามรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนโดยการพิมพ์เงินตามนั้น

ขอเรียกการกระทำของสหรัฐแบบนี้ว่า “การส่งออกเงินเฟ้อ” (Export Inflation)

 

หากให้คุณบอกสินค้าซักชิ้นภายในบ้านที่ ผลิตจากสหรัฐ Made in USA. คุณอาจจะต้อง “หา”

แต่หากให้คุณบอกสินค้าซักชิ้นภายในบ้านที่ ผลิตจากจีน Made in China มันอยู่ “รอบตัวคุณ”

 

สิ่งที่สหรัฐส่งออกไม่ใช่สินค้า แต่กลับเป็น “เงินเฟ้อ”

 

หากจำกันได้ เงินเฟ้อ คือ ภาษีที่มองไม่เห็น

(เพราะรัฐพิมพ์เงินเพิ่มเข้ามาเจือจางเงินเก่าในระบบ)

การพิมพ์ดอลล่าร์ ก็คือ การเก็บภาษีที่มองไม่เห็นจากทั่วโลก

เพราะปริมาณเงิน ดอลล่าร์ที่เพิ่มส่งผลให้เงินสกุลอื่นไม่มีทางเลือกนอกจาก

 

-ยอมให้แข็งค่า หรือ

 

-พิมพ์เพิ่มเข้ามาเจือจาง

 

 

นี่เป็นสาเหตุ ที่ทำให้ทั่วโลกมีเงินเฟ้อ ตลอดชีวิตของพวกเราเห็นแต่สินค้าขึ้นราคาทุกปี (ต่างจากยุคสมัยทวดของทวดเราที่สินค้าราคาคงที่หรือบางลดลง)

แล้วตัวต้นเหตุอย่างดอลล่าร์ล่ะ ? ทำไมดูเหมือนในประเทศเค้าเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควร ?

 

สาเหตุก็เพราะ ดอลล่าร์คือเงินสกุลหลักของโลกใบนี้ การซื้อขายสินค้ากันระหว่างประเทศ

เช่น น้ำมัน ต้องทำการ ออกใบเสร็จกันเป็นเงินสกุลดอลล่าร์

ทุกประเทศจึงมีความต้องการดอลล่าร์ ไปเก็บไว้เป็นทุนสำรอง เพื่อทำการค้า

ซึ่งถือว่าเป็นความต้องการดอลล่าร์แบบหลอกๆ (Fake Demand)

 

ไทยต้องปลูกข้าว กรีดยางพารา จีนต้องผลิตสินค้า ซาอุต้องขุดเจาะน้ำมัน ต่างจากอเมริกัน อยากซื้อสินค้าก็แค่ “พิมพ์”

การพิมพ์เงินเพิ่มออกมาจากอากาศ ของสหรัฐ เป็นการใช้จ่ายเงิน ที่ตัวเองไม่ได้หา เพื่อไปซื้อสินค้าที่ตัวเองไม่ได้ผลิต

ประชาชนและรัฐบาลใช้เงินมือเติบ สร้างหนี้สร้างสิน

 

:excl: หากนานาประเทศ เลือกที่จะใช้เงินดอลล่าร์ ซื้อสินทรัพย์ในอเมริกา เท่ากับว่า ดอลล่าร์ได้กลับประเทศ เมื่อนั้นเงินเฟ้อก็จะกลับสู่บ้านเกิด

:excl: แต่ส่วนมากนานาประเทศเลือกที่จะเก็บดอลล่าร์เป็นทุนสำรอง ด้วยเหตุนี้ เวลานั้นจึงยังไม่มาถึง

 

วงจรยังคงอยู่ได้ ตราบเท่าที่ ประเทศ เจ้าหนี้ หยวนๆ ยอมให้มันเป็น

และประเทศที่หยวนที่สุดก็คือประเทศที่มี สกุลเงินหยวน(Yuan)สมชื่อ อย่าง “พญามังกรจีน”

 

จีนนั้นพยายามรักษาสมดุลของอัตราแลกเปลี่ยน จึงใช้นโยบาย ตรึงอัตราให้คงที่ไว้กับดอลล่าร์(Currency Peg)

(ทุกๆ 1 ดอลล่าร์แลกได้ 6.8 หยวน)ทำแบบนี้ก็เพื่อให้การค้ามีเสถียรสภาพ เมื่อ พิมพ์ดอลล่าร์เพิ่ม

จีนก็พิมพ์หยวนเพิ่มเพื่อซื้อดอลล่าร์เป็นการรักษาอัตราให้คงที่

 

ผลคือ ดอลล่าร์อ่อน หยวนก็อ่อนตาม สินค้าจีนจึงมีราคาถูกอย่างเหลือเชื่อ

แรงงานจีนทำงานอย่าหนักอยู่อย่างอัตคัดขัดสน แลกกับเงินหยวนที่อ่อนคงลงตามดอลล่าร์ แต่ในทางกลับกัน สินค้ากลับขายดี!!

สินค้าจีนแดงถูกนำเข้าไปบริโภคในสหรัฐอย่างมากมาย ทำให้เกิดการขาดดุลการค้ากับจีนอย่างรุนแรง

 

เราอาจะเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆว่านักการเมืองสหรัฐ โจมตีจีนอย่างหนักว่าเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงินตัวเอง(Currency Manipulator)

ให้อ่อนเกินความจริง เพื่อความได้เปรียบทางการค้า ???

 

เดี๋ยว ?? ประเดี๋ยวก่อน ??

 

:excl: ตัวเองใช้จ่าย - ช้อปปิ้งมือเติบเอง ไปโทษเค้า

 

:excl: ตัวเอง พิมพ์เงินให้อ่อนเอง จนเค้าต้องพยายามอ่อนตามเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการค้า กลับไปโทษเค้า

 

:excl: ตัวเองคือตัวการสำคัญที่บิดเบือนค่าเงินให้อ่อน ทำให้วุ่นกันไปทั้งโลก กลับไปโทษคนอื่น

 

มึนไปรึเปล่า ?

 

ระยะหลังรัฐบาลสหรัฐพยายามเรียกร้องให้ แข็งค่าเงินหยวน โดยบอกว่า จะเป็นผลดีกับจีนเอง ในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

ประชาชนชาวจีน ก็จะได้รับประโยชน์ หลังจากที่ลำบากมานาน เคยแต่ส่งออกของถูกให้คนอื่น

หากทำเช่นนั้น จะได้ซื้อของถูก จากคนอื่นมาบริโภคบ้าง ดุลการค้าของสหรัฐก็จะได้ลดลง

 

ประเด็นนี้ สหรัฐ พูดได้ดี + พูดได้ถูก 100% เต็ม

 

แต่ฉุกคิดบ้างไหมว่า หากจีนปล่อยแข็งค่าเงินหยวน ผลที่ตามมาคือดอลล่าร์อ่อน

ประชาชนจากที่เคยเสวยสุขสินค้าจีนแดงราคาถูก ต่อไปจะไม่มีอีกแล้ว

จริงอยู่ ดุลการค้าจะลด แต่ไม่ใช่เพราะอเมริกาผลิตสินค้าส่งออกขายให้จีน

 

ลดเพราะ การนำเข้าสินค้าจากจีนลดลง

ลดเพราะ สินค้าจีนแดงจะขึ้นราคาจนซื้อหากันไม่ไหว

 

เมื่อนั้น ความสุขสบายจะย้ายข้าง ประชาชนชาวอเมริกาจะลำบาก และ เงินเฟ้อจากจีนก็จะมาแผลงฤทธิ์ที่สหรัฐแทน

ที่ผ่านมาจีนไม่ยอมแข็งค่าเงินหยวน แต่พยายาม เยียวยาปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศที่ปลายเหตุ โดย

 

1. ควบคุมราคาสินค้า (Price Control)

 

2. ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย (Increase Interest Rate)

 

แล้วก็ไม่ได้ผล เพราะรากเหง้าของปัญหาแท้จริงคือ ดอลล่าร์ ทางออกที่ถูกต้องคือเลิกตรึงอัตราแลกเปลี่ยน(Depeg)

ปล่อยหยวนให้แข็งค่า ส่งคืนเงินเฟ้อกลับสู่อเมริกา ประชาชนชาวจีนจะได้ลืมตาอ้าปากหลังจากลำบากกันมานาน

แต่จีนก็ยังไม่ทำ

 

หากใครเคยอ่านบทความเรื่อง แอปเปิ้ล VS. ส้ม คงจำกันได้ถึงสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของพี่จีน

ที่ถือครอง ดอลล่าร์อยู่มหาศาล ว่ากันเป็นเลขกลมๆ ทั้งเนื้อทั้งตัวจีน

 

49% คือ สินทรัพย์ ที่เป็นสมบัติของชาติ

 

49% คือ ดอลล่าร์

 

2% คือ ทองคำ ??

 

ไอ้ 49% บนกับ 2% ล่างไม่หนักใจ แต่กลุ้มไอ้ 49% ตรงกลาง ว่าจะทำยังไงกับมันดี

จะกระโตกกระตากก็กลัว วุ่นกันไปทั้งโลก จะช้า-อ่อยอิ่งมัวแต่ลีลา ก็เสื่อมค่าลงทุกวันๆ (QE3 QE4 มีแววได้เห็น)

 

จีนนั้นรอเวลาที่เหมาะสม

ไม่ว่าอเมริกา จะยุ จะยั่ว จะเกทับ ให้จีนขึ้นค่าเงินหยวนยังไง จีนก็นิ่ง

 

หากท่านทำผิด แล้ว ภรรยาโวยวาย ด่าทอ อันนี้ ไม่น่ากลัว โวยแล้วก็จบๆกันไป

 

หากท่านทำผิด แล้ว ภรรยาท่าน “นิ่ง” ดูสงบและสุขุมอย่างประหลาด ขอให้ท่าน ระวังตัว !!

 

มังกรจีน ฉลาด,นิ่ง,และสุขุม รอจังหวะเหมาะๆอยู่ ระหว่างนี้ก็ทยอยสะสมทองคำเข้าทุนสำรอง

หาทางหนีทีไล่ระบายดอลล่าร์ เริ่มตกลงทำการตกลงซื้อขายกับประเทศคู่ค้าโดยใช้เงินสกุลตัวเอง

 

เหล่านี้เป็นสัญญาณ

 

มวยคู่นี้ อเมริกา คอยปล่อยหมัดแย๊พเก็บคะแนน ขอเตือนว่าอย่าย่ามใจ

เพราะจีนรอปล่อยอัปเปอร์คัทหมัดเดียวสลบ เมื่อไหร่ที่จีนพร้อมและเหลืออดจนถึงที่สุด เมื่อนั้น

 

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะเกิดขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะคุณเน็กซ์ จากบทความของคุณเน็กซ์ เพราะฉะนั้น เราคงต้องทยอยสะสมทองแท่งต่อไป คอยวันที่จีนปล่อยหมัดเด็ด

แต่ก็อดไม่ได้ที่จะแบ่งออกมาทำกำไรบ้างในช่วงที่ราคาขึ้นลงในระยะสั้น ๆ ค่ะ แต่ก็เคยพลาด เพราะซื้อราคาต่ำกว่าเดิมไม่ได้ค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นความรู้ที่ดีมาก..เป็นอีกแนวให้คิด....ผมยังสงสัยว่า..สมมุติผมเป็นอเมริกา..ถ้าผมมีแบงค์กงเต็กสักกระสอบหนึ่งเอามาลงทุนที่ไทย(ฝากธ.-อื่นๆ)...ครบปีผมเอาแบงค์กงเต็กมาคืน..พร้อมกำไรก้อนหนึ่งถือว่าผมเอาเปรียบหรือไม่?

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:rolleyes:

 

เป็นบทความที่ดีมากเลยครับ

 

อธิบายได้เห็นภาพ

 

แบบนี้อเมริกาได้ใจพิมพ์แบงค์เพิ่มใหญ่

 

ต้องรอหยวนไม่หยวนซะแล้ว :lol:

 

 

พอดีมีำคำถามอยากถามคุณ next เพิ่ม

 

วันนี้ไปอ่านเว็บลุงจิม พูดถึง derivative จำนวน 600T

 

นี่มันตัวเลขอะไรครับนี่โหดจริง ๆ มันมีผลต่อเศรษฐกิจมัยครับ

ถูกแก้ไข โดย zagio

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ที่รอมานาน ^_^ -_- ขอบคุณค่าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา :rolleyes: :rolleyes: :rolleyes: :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมาก ๆ ครับ สำหรับข้อมูลดี ๆ ที่ทุกทานช่วยกันนำมาเผยแพร่ ทำให้หูตาสว่างกว้างไกลขึ้นเยอะมากกกก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...