ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

moddang..'s Blog

  • เรื่อง
    23
  • ความเห็น]
    70
  • เข้าชม
    144,290

ศูนย์ข้อมูล ข่าวน้ำท่วม ดูข่าว น้ำท่วมล่าสุด

moddang

ดูแล้ว

ศุนย์ประสานการช่วยเหลือภัยผู้ประสบภัยภิบัติ

 

 

รายละเอียดมีมากมาย เชิญคลิ๊กค่ะ

 

 

http://www.thaiflood.com/

 

 

 

banner1490.jpg

 

 

banner1460.jpg

 

 

bannerdms.jpg

 

 

banner-place.jpg

 

 

 

road_phone.jpg

 

 

banner_05.jpg

 

 

 

 

 

 

สำนักนายกรัฐมนตรี 1111

สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784

บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี 1669

ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193

การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111

 

ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส

02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

 

ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ

0-2243-6956

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี

0-3641-4480-1 , 0-3641-1936

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก

0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา

0-3533-5798 , 0-3533-5803

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา

035 – 241-612

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก

0-5551-5975

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี

0-3652-0041

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง

0-3564-0022

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์

0-5625-6015

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี

0-2591-2471

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี

0-2581-7119-21

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร

0-5661-5932

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก

0-3738-6209 , 0-3738-6484

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี

0-3553-6066-71

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี

0-3621-2238

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย

0-5561-2415

 

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี

 

 

0-5652-4461

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์

 

 

0-5544-4132

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง

 

 

0-5426-5072-4

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่

 

 

0-5321-2626

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน

 

 

0-5356-2963

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี

 

 

0-4531-2692 , 0-4531-3003

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย

 

 

0-4286-1579 , 0-4296-1581

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท

 

 

0-5641-2083

 

ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1

 

 

02-281-5443

 

ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่

 

 

053-248925, 053-262683

 

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน

 

 

053-202609

 

ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ

 

 

053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )

 

สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร

 

 

034-881175, 034-839037 ต่อ 11

 

เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช 199,

075-348-118, 075-342-880 ถึง 3

 

ศูนย์ช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย ไทยพีบีเอส 02-791-1113, 02-791-1385 ถึง 7

 

ศูนย์ประสานงาน ช่วยเหลือ จ.สุราษฏร์ธานี 082-814-9381, 081-397-7442

 

ศูนย์อำนวยการป้องกัน สาธารณภัย จ. ชุมพร 077- 502-257, 077-503-230

 

ศูนย์อำนวยการป้องกัน สาธารณภัย จ.พัทลุง 074-620-300, 074-611-652

 

สำนักงานป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย จ. สุราษฎร์ธานี 077-275-550-1

 

สำนักงานป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย จ. กระบี่ 075-612- 639, 075-612-649, 075-612-735

 

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ม.วลัยลักษณ์ 075-674-013 ต่อ 4013

 

รพ. เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช 075-356-438, 075-356-014

 

ศูนย์อำนวยการป้องกัน สาธารณภัย นครศรีธรรมราช 075-358-440 ถึง 4

 

โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช 075-340-250

 

หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669

 

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน 054-741061

 

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน 054-792433

 

 

 

 

 

 

วิธีเตรียมน้ำดื่ม"ปลอดภัย" ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม

 

วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:48:23 น.

 

 

คอลัมน์ ส่องโรคไขสุขภาพ

 

 

สิ่งที่ต้องเตรียม

 

1.ขวด น้ำพลาสติคใส ที่ดื่มน้ำหมดแล้วพร้อมฝาที่ปิดได้แน่นสนิท ขนาดไม่เกินสองลิตร เมื่อวางนอนแล้วความหนาที่แสงอาทิตย์ผ่านไม่เกิน 10 ซม. ขวดยิ่งชลูดยิ่งดี รังสีดวงอาทิตย์จะได้ทะลุทะลวงได้มาก พลาสติคไม่เก่าหรือมีรอยขีดข่วนมากเกินไป เพราะรังสีจะผ่านได้ไม่ดี ภายในขวดสะอาด แกะพลาสติคภายนอกออกหมด

 

2. แหล่งน้ำสะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้ วิธีนี้ใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในภาวะปกติ ครัวเรือนที่ดื่มน้ำฝน ถ้าต้องการประหยัดพลังงานและทุกคนในบ้านแข็งแรงดี อาจจะใช้วิธีนี้แทนการต้มก็ได้

 

3. ถ้าน้ำขุ่นควรมีผ้ากรองตะกอนดิน เช่น ผ้าขาวบาง หรือผ้าขาวม้าสะอาดหลายๆ ชั้น เมื่อกรองได้ที่บรรจุน้ำเต็มขวด เปิดฝาวางทับหนังสือพิมพ์รายวันหน้าแรก ควรจะสามารถมองลงไปก้นขวด อ่านพาดหัวข้อข่าวรองได้ (ตัวอักษรในแนวหลักขนาด 3.5 ซม.)

 

4. บริเวณที่จะวางขวดตากแดดที่ร้อน โดยเฉพาะถ้ามีโลหะเช่นแผ่นสังกะสีลูกฟูก หรือ อะลูมิเนียมจะดีมาก

 

วิธีการเตรียม

 

1.กรองน้ำที่หาได้ กรอกลงขวดให้ได้ประมาณ 3 ใน 4 ขวด

 

2.เขย่าแรงๆ อย่างน้ำ 20 ครั้ง ให้อากาศ (ออกซิเจน) ผสมกับน้ำให้ทั่ว

 

3.เติมน้ำให้เต็มขวด ปิดฝาแน่นสนิท

 

4.วางขวดในแนวนอน ตากแดดตามข้อ 4 ข้างบนทิ้งไว้ อย่าพยายามขยับขวดโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ออกซิเจนไม่แยกตัวจากน้ำ ตากแดดโดยใช้เวลา

 

- 2 ชั่วโมงถ้าแดดจัด พื้นที่วางเป็นโลหะและน้ำค่อนข้างใส

 

- 6 ชั่วโมงบนพื้นกระเบื้องหรือซีเมนต์

 

- 2 วันถ้ามีเมฆมาก

 

ถ้าฝนตกตลอดแดดไม่ออกเลย ให้รองน้ำฝนดื่มแทน

 

น้ำ ในขวดดังกล่าวนำไปดื่มได้เลย หรือจะเก็บไว้ดื่มในภายหลังก็ได้ แสงแดด ความร้อน และออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากันฆ่าเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ 99.9% แต่อาจจะมีสาหร่ายเซลเดียวซึ่งทนรังสียูวีและความร้อนซึ่งอาจจะจับตัวเป็น ตะไคร่น้ำในขวดได้ถ้าเก็บขวดไว้นาน แต่น้ำที่มีสาหร่ายเหล่าไม่มีอันตรายต่อผู้ดื่มทั่วไปที่มีภูมิคุ้มกันปกติ

 

หมายเหตุ

 

1.เทคโนโลยี ง่ายๆ ที่วิจัยและพัฒนาโดยองค์การนานาชาติ www.sodis.ch นี้ ฆ่าเชื้อโรคโดยพลังแสงแดด ซึ่งมี รังสียูวี + รังสีความร้อน + อนุมูลออกซิเจนและโอโซน ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจนที่เราผสมน้ำระหว่างเขย่าขวด เหมือนน้ำบรรจุขวดขายซึ่งผ่านรังยูวี หรือ โอโซน ในระดับที่เข้มข้น

 

2.ขวด น้ำใส PET หรือ Poly Ethylene Terephthalate (โพลีเอทธิลีนเทเรฟทาเลต) ที่ตากแดดในระดับนี้ ปลดปล่อยสารเคมีน้อยมาก ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่เหมือนวัสดุประเภท PVC ทุกวันนี้เราก็ดื่มน้ำบรรจุขวด PET กันอยู่แล้ว

 

เรียบ เรียงสำหรับชาวบ้านโดย ศ.นพ.ดร.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หัวหน้าหน่วยระบาดวิทยา และผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

------------------------------------------------

 

 

 

มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

 

 

 

 

อ่านเพิ่มเติม

 

 

http://www.thaigold.info/Board/index.php?/topic/804-%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1/page__pid__169072__st__15#entry169072

 

 

 

 

 

http://dds.bangkok.go.th/Canal/PageStation.aspx

 

 

b0zk4.jpg

 

 

 

 

ระบบตรวจวัดน้ำในคลองหลัก

 

http://dds.bangkok.go.th/Canal/PageGraph.aspx

 

b0zk4.jpg

 

 

ระบบตรวจวัดน้ำท่วมบนถนน

 

http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/



2 ความเห็น


แนะนำความคิดเห็น

สุดยอดแอพไทย คิดและทำเสร็จ ภายใน 10 ชั่วโมง - Thai Flood Reporter ! [สกู๊ปพิเศษ]

 

 

119092197.jpg

 

 

ช่วงนี้ประเด็นร้อนที่มาแรงที่สุด ในบ้านเราคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ "น้ำท่วม" หรือ "อุทกภัย" หนึ่งในภัยธรรมชาติยอดฮิตของประเทศไทยเราทุกปี แต่ปี 54 นี้ดันกลายเป็นปีที่หนักที่สุด อ่วมที่สุด ในรอบหลายสิบปี ชนิดที่เรียกว่า ข่าวทวิตเตอร์ของนายกฯ โดนแฮค หรือ ประเด็นร้อนของโลกอย่างเรื่อง สตีฟ จ๊อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทชื่อดังของโลกอย่าง แอปเปิล เสียชีวิต จางหายจากบ้านเราภายในไม่กี่วัน

 

แนวคิด แอพพลิเคชั่น เกิดจากประสบการณ์ตรง ของผู้พัฒนา

 

ประเด็นร้อนเรื่องน้ำท่วม กลับมาเป็นประเด็นที่พูดคุยกันมาก ในแวดวงสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งกว่า 90% เปลี่ยนมาเป็นการพูดคุย การแบ่งปัน ทั้งข้อมูล อัพโหลดรูปภาพ การทวีต เรื่องของ น้ำท่วม เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าหากเราได้ใช้มันก็จะพบว่า มีทั้งข่าวลือ ข่าวจริง สลับสับเปลี่ยนกันออกมามากมาย บางทีข่าวที่เราได้รับ เป็นข่าวจริงก็จริงอยู่ แต่ด้วยความคลาดเคลื่อนของเวลา อาจทำให้ ข้อมูลที่เราได้รับนั้นอาจ "บิดเบือนโดยไม่ได้ตั้งใจ" ก็เป็นได้

 

คำว่า "บิดเบือนโดยไม่ได้ตั้งใจ" คำนี้ถูกกล่าวโดย อาจารย์รวิทัต ภู่หลำ (@rawitat) อาจารย์ประจำภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร ที่ปัจจุบันได้เปิด บริษัท โค้ด แอพพ์ จำกัด (Code App Co., Ltd.) (http://www.code-app.com) มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 54 ที่ผ่านมา เป็นบริษัทที่รับพัฒนา แอพพลิเคชั่น (แอพ) บนมือถือเฉพาะค่ายสมาร์ทโฟนอย่าง ไอโฟน (iPhone) ที่ใช้กับระบบปฏิบัติการ iOS เท่านั้น

 

โดยอาจารย์ได้ให้ความหมายของคำๆ นี้ว่า ข้อมูลที่ขึ้น กับสถานที่และเวลามากๆ เปลี่ยนนิดเดียว ก็จะถูกบิดเบือนไปเอง ด้วยธรรมชาติของมัน จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่เกิดประโยชน์ทั้งผู้ส่งและผู้รับ เช่นเราได้รับข้อมูลจาก ทวีตเตอร์ (Twitter) ว่าน้ำท่วมบนถนนรามคำแหง แต่หารู้ไม่ว่าถนนรามคำแหงมีความยาวทั้งสิ้นเกือบ 20 กิโลเมตร จึงทำให้ไม่สามารถรู้ถึงพิกัด ที่แน่นอน และชัดเจน

 

 

 

นอกจากนี้การได้รับข้อความว่า "มีน้ำท่วมขัง รถติดมาก ที่แยกเกษตร" โดยพอเราไปถึงสถานที่นั้นจริงๆ ปรากฏว่า น้ำไม่ท่วมขัง รถไม่ติด เพราะสืบเนื่องมาจาก ระยะเวลาที่เราได้รับข้อความ กับระยะเวลาที่เราไปพบเห็นจริงๆ นั้น "ต่างกัน" ซึ่งเหตุนี้เกิดขึ้นจริงกับอาจารย์เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา

 

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุให้ อาจารย์เกิดแรงบันดาลใจ ที่จะพัฒนา แอพ ตัวนึงขึ้นมาใช้เอง เพื่อทวีตบอก เหล่าบรรดาผู้ติดตาม (Follower) ของเขาที่มีอยู่มากกว่า 2 พันคน โดยต้องการที่จะเพิ่มข้อมูล "วัน-เวลา" เข้าไปในข้อความของทวีตเตอร์ด้วย เนื่องการใช้ทวีตเตอร์ หากข้อความนั้นมีการ Retweet หรือส่งต่ออกไป เป็นจำนวนมากๆ หลายๆ คน วัน-เวลา ที่ได้รับก็จะคลาดเคลื่อนออกไปอยู่ดี อีกสาเหตุหนึ่งคือ บางคนมีความต้องการ อยากรายงานมากๆ แต่ไม่รู้จักสถานที่ตรงนั้นว่ามันคือที่ไหนกันแน่ เพราะไม่คุ้นเคยเส้นทาง บวกกับ ขี้เกียจพิมพ์ข้อความยาวๆ ขณะขับรถ ก็เป็นสาเหตุ หรือจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของแอพตัวนี้

 

Thai Flood Reporter 1.0 จุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการอยากเป็น "ผู้ให้"

 

 

ด้วยความที่เป็น ผู้พัฒนาแอพบนไอโฟน อยู่แล้ว หลังจากที่เห็นปัญหาดังกล่าวจึงคิดพัฒนาแอพ บนไอโพนขึ้นมาใช้เองภายในเวลา 2 ชั่วโมง แต่อาจารย์คิดว่าไหนๆ เราก็ทำใช้เอง ก็ควรที่จะทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมบ้าง ก็พัฒนาต่อยอดออกไปอีกในวันเดียวกันโดยใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง โดยนำขึ้น App Store เพื่อทำการรับรอง (Approve) ภายใต้ชื่อ "Thai Flood Reporter" เวอร์ชั่น 1.0

 

หลังจากนั้น 1 วัน แอพพลิเคชั่นดังกล่าวถูกรับรองให้เผยแพร่ให้แจกจ่ายดาวน์โหลดอย่างรวดเร็ว โดยความสามารถ ของแอพตัวนี้คือ คุณสามารถทำตัวเป็น "ผู้ให้" หรือนักข่าวภาคสนามรายงานน้ำท่วมได้เลย เพียงแค่กดๆ แล้วก็กด โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อความให้เสียเวลา ซึ่งเหมาะมากในเวลาขับรถ หรือเวลาเร่งด่วนต่างๆ ที่ผู้ต้องการรายงานไม่สะดวกกดโทรศัพท์พิมพ์ข้อความ

 

 

 

swrv_thaiflood_reporter_2.jpg

 

 

 

 

 

 

โดยแอพตัวนี้จะมีข้อความสำเร็จรูปอาทิเช่น "ขณะนี้น้ำท่วม / น้ำท่วม แต่เริ่มลดแล้ว / น้ำท่วมถึงเข่า / น้ำท่วมถนนใหญ่ / น้ำท่วมถึงอก และอื่นๆ อีกมากมาย" เอาไว้ให้ผู้รายงานเลือก แล้วสามารถแจ้งพิกัดตรวจสอบผ่าน GPS ได้เลย โดยไม่ต้องพิมพ์ โดยตัวแอพจะเรียบเรียงคำพูดออกมาให้เสร็จสรรพ พร้อมส่งข้อความรายงานออกไป ผ่าน Twitter ส่วนตัวของคุณ หรือ SMS รายงานน้ำท่วมของทางภาครัฐได้ทันที

 

[16 ต.ค. 16:55 น.] รามคำแหง 24 วังทองหลาง วังทองหลาง กรุงเทพ (พิกัด : xx.xxx, yyy.yyy) "ขณะนี้น้ำท่วม" #ThaiFlood

 

หลังหลังจากที่แอพดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปพบว่า ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง (1 วัน) มียอดดาวน์โหลดไปใช้งาน มากกว่า 1 หมื่นครั้ง จนมาถึงวันนี้ ขณะที่เขียนบทความอยู่ แอพตัวนี้มียอดดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 4 หมื่นครั้ง !! (ภายใน 1 สัปดาห์) มีการอัพเดทเวอร์ชั่นทั้งหมด 4 เวอร์ชั่นด้วยกัน ซึ่งการอัพเดทดังกล่าวเกิดขึ้นจาก การนำเอาเสียงตอบรับ จากผู้ใช้งานจริง มาปรับปรุงแก้ไข และ พัฒนาต่อ

 

 

THAI FLOOD REPORTER : VIEW แอพเล็กๆ ช่วยคนเป็นล้าน

 

 

นอกจากนี้แล้วอาจารย์ยังได้พัฒนาแอพอีกตัวชื่อว่า "Thai Flood Maps and Updates" อันนี้จะสวมบทบาทเป็น "ผู้รับ" ข้อมูล ซึ่งจะเป็นตัวดึงข้อมูลน้ำท่วม ที่ผู้คนไปพบเจอมา และ รายงานออกมาจากแอพ "Thai Flood Reporter" ที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยจะแสดงข้อมูลรายงานล่าสุด 75 อัพเดท บนหน้าจอไอโฟนของผู้ใช้งาน

 

 

swrv_thaiflood_reporter_3.jpg

 

 

เรื่องของอนาคต

 

จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ทั้งสอง ทำให้อาจารย์กล่าวว่า แผนพัฒนาต่อยอดของแอพตัวนี้คือ จะนำมารวมกันเป็นแอพเดียว (จะได้ไม่ต้องโหลดแยกกัน 2 ตัว) และพอน้ำท่วมหมดไปแล้ว จะนำคอนเซป หรือแนวคิด มาพัฒนาแอพ รายงานภัยหนาว ที่จะเกิดขึ้นในบ้านเราอีกเร็ววันนี้ นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดไปได้ถึง การรายงานจราจร อาชญากรรม ฯลฯ แต่ตอนนี้ขอมุ่งเน้นไปเป็นเรื่องๆ ก่อน เนื่องจากข้อมูลจะสามารถจำกัดวงแคบ และควบคมุได้ง่ายกว่า

 

ถือว่าเป็นความโชคดีของประเทศไทย ที่มีคนไทยใจบุญ พัฒนาซอฟต์แวร์ดีๆ ออกมาเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ในท่ามกลางสภาวะวิกฤติขั้นรุนแรงแบบนี้ ในของส่วนโมเดลการหารายจาก บริษัท โค้ด แอพพ์ นั้นอาจารย์บอกว่า แอพส่วนใหญ่ที่พัฒนาออกมาจากบริษัท เป็น Paid App ในราคาไม่เกิน $0.99 (ประมาณ 30 บาท) ส่วนที่ฟรี อาจมีโฆษณาในระบบ iADS ฝังอยู่ ซึ่งในอนาคตต่อให้แอพ ThaiFlood ตัวนี้ต้องเก็บเงินจริงๆ เป็นผม ผมก็ซื้อ แค่ 30 บาท ได้ข้อมูล ได้รายงาน สุดท้าย ได้บุญ อีกต่างหาก ครับ ....

 

 

http://www.thaiware.com/news/news_detail?id=993

แชร์ความคิดเห็นนี้


ลิงก์ไปความเห็น
ผู้มาเยือน
เพิ่มความคิดเห็น

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...
×
×
  • สร้างใหม่...