ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

Honeymew's Blog

  • เรื่อง
    3
  • ความเห็น]
    8
  • เข้าชม
    25,175

หลักการเลือกไข่มุก

Honeymew

ดูแล้ว

การเลือกซื้อมุกนั้นผู้ซื้อต้องทราบก่อนว่าเราต้องการซื้อมุกชนิดอะไร เนื่องจากมุกแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป การเลือกซื้อมุกควรดูมุกด้วยแสงธรรมชาติเพื่อให้เห็นความวาวตามความจริง และพื้นหลังของวัสดุที่รองมุกควรเป็นสีขาว โดยการเลือกมีหลักดังนี้

IMG_3276.jpg

 

1. ขนาด (Size)

การวัดขนาดของมุกจะใช้การวัดเป็นมิลลิเมตร mm โดยวัดจากเส้นผ่าศูนย์กลาง ซึ่งถ้าเป็นสร้อยมุก จะวัดขนาดตั้งฉากกับรูที่เจาะ มุกที่ขนาดใหญ่จะมีผลกับราคา คือยิ่งใหญ่มากจะยิ่งราคาสูง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของมุกนั้นด้วย การเลือกขนาดของมุกยังขึ้นอยู่กับบุคลิกและการแต่งกาย มุกขนาดไม่ใหญ่เหมาะกับการสวมใส่สไตล์น่ารัก เป็นต้น

 

2. รูปร่าง (Shape)

รูปร่างกลมสนิทเป็นรูปร่างที่หายากที่สุดและมีมูลค่าสูงกว่ารูปร่างแบบอื่นๆ โดยมุกมีรูปร่างต่างๆดังต่อไปนี้

รูปร่างกลม (Round)

รูปร่างเกือบกลม (Near-Round)

รูปหยดน้ำ (Drop)

รูปไข่ (Oval)

รูปเหรียญ (Coin-shaped)

รูปกระดุม (Button)

รูปร่างกึ่งเบี้ยว (Semi-Baroque)

รูปร่างบิดเบี้ยว (Baroque)

 

เนื่องจากมุกเซาท์ซี South sea มีขนาดใหญ่จึงเป็นมุกที่ไม่กลมสนิท รวมถึงมุกน้ำจืดส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ใช้ลูกปัดเป็นแกนมุก รูปร่างจึงไม่กลมสนิทเช่นเดียวกัน จึงมีหลักการประเมินอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

 

3. สี (Color)

สีของมุกประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบ คือ

สีพื้นหรือสีหลัก (Body Color) ได้แก่ บริเวณที่เป็นสีอยู่ในพื้นหลังหรือในเนื้อมุก

สีพื้นสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ประเภท คือ

1. สีเป็นกลาง (Neutral) – สีขาว สีดำ และ สีเทา

2. สีเกือบกลาง (Near neutral) – สีเงิน สีครีม และ สีน้ำตาล

3. สีแฟนซี (Fancy color) – สีอื่นๆ เช่น ชมพู เขียว ฟ้า ส้ม

สีโอเวอร์โทน (Overtone) คือสีเหลือบหรือประกายที่เห็นอยู่เหนือสีพื้นของมุก สีที่พบได้บ่อยในสีเวอร์โทนคือ สีชมพู (rose) สีเขียว สีฟ้า

สีโอเวอร์โทนนี้เพิ่มมูลค่าให้กับมุกบางชนิดได้ เช่น มุกอะโกย่า สีพื้นสีขาวกับโอเวอร์โทนสีชมพู จะราคาสูงกว่า มุกอะโกย่าสีขาวที่มีโอเวอร์โทนสีเขียว

โอเรียนท์ (Orient) เป็นปรากฏการณืสีรุ้งที่พบได้ในมุกและเปลือกหอย

มุกทุกเม็ดจำเป็นต้องมีสีพื้น แต่ไม่จำเป็นต้องมีโอเวอร์โทนและโอเรียนท์

ปัจจุบันมีการปรับปรุงคุณภาพสีมุกที่มีคุณภาพต่ำเพื่อเพิ่มมูลค่าของมุกอยู่หลากหลายวิธี เช่น การย้อมสี การฉายรังสี การเผา หรือแม้แต่การฟอกสี การเลือกซื้อควรพิจารณาว่า เป็นสีธรรมชาติ หรือมาจากการปรับปรุงคุณภาพ ผู้ขายควรแจ้งให้ลูกค้าทราบเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงวิธีการดูแลรักษาและราคาที่เหมาะสม

 

4. ลักษณะความสะอาดที่ผิว (Surface characteristic)

มุกควรมีผิวที่เรียบและมัน มีตำหนิน้อยที่สุด ไม่มีรอยขรุขระ หรือฟองอากาศ แต่ตำหนิของมุกก็เป็นตัวช่วยให้ทราบว่าเป็นมุกแท้หรือเทียมเนื่องจาก มุกแท้ (ทั้งมุกธรรมชาติและมุกเลี้ยง) ยากที่จะไม่มีตำหนิ การตรวจสอบมุกควรใช้พื้นหลังเป็นสีดำหรือเทา ใช้โคมไฟที่สว่างเพียงพอ และสังเกตขณะที่หมุน เพื่อตรวจหาดูตำหนิบนผิวของมุก

 

5. ความวาว (Luster)

มุกที่มีคุณภาพดีควรมีความวาวใสเท่ากันทั่วทั้งเม็ด วิธีการตรวจคุณภาพความวาว ให้เราใช้แสงฟลูออเรสเซนต์สะท้อนที่ผิวของมุก แล้วสังเกตบริเวณที่เงาสะท้อนว่ามีความคมชัดของเงาสะท้อนมากน้อยเพียงใด ถ้าหากมุกมีคุณภาพความวาวดีเงาสะท้อนที่ผิวจะมีขอบที่คมชัด ความวาวที่ดียังบ่งบอกถึงคุณภาพของผิวมุกและคุณภาพของชั้นเนเคอร์ที่ดีด้วย

มุกที่เลี้ยงในแถบภูมิอากาศที่เย็นมักจะมีความวาวมากกว่ามุกที่เลี้ยงในแถบอากาศร้อน เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่แล้ว มุกอะโกย่าจะเป็นชนิดที่มีความวาวสูงที่สุดเมื่อเทียบกับมุกชนิดอื่น

 

6. คุณภาพและความหนาของชั้นเนเคอร์ (Nacre quality)

มุกที่มีคุณภาพของชั้นเนเคอร์ดี คือเนื้อเนเคอร์ค่อนข้างใส อาจเป็นได้ตั้งแต่โปร่งแสงไปจนถึงกึ่งโปร่งใส และจะมีความมันวาวใสที่ผิว (Luster) ที่ดีด้วย คุณภาพของชั้นเนเคอร์นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเรียงตัวของชั้นเนเคอร์ ความสะอาดของสิ่งแวดล้อม ปริมาณอาหาร สสารต่างๆในน้ำ อุณหภูมิของน้ำ สภาพภูมิอากาศ หรือแม้แต่ความสามาถในการสร้างมุกของหอยแต่ละตัว

อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ควรพูดถึงคุณภาพของเนเคอร์คือความหนาของชั้นเนเคอร์ ควรจะมีความหนาที่ดีพอ ถ้าหากความหนาของเนเคอร์ไม่ดีพอจะทำให้ความวาวไม่ดีด้วย และยังมีผลต่อความคงทนของมุกด้วย สาเหตุสำคัญที่มีผลต่อความหนาของชั้นเนเคอร์คือ ระยะเวลาในการเลี้ยงมุก จะต้องไม่น้อยเกินไป โดยทั่วไปฟาร์มมุกจะใช้เวลาในการเลี้ยงมุกประมาณ 6 เดือน ถึง 2 ปึ แล้วแต่ชนิดของหอยมุก

ส่วนวิธีการตรวจสอบว่ามุกมีความหนาเพียงพอหรือไม่ ให้เราดูที่รูเจาะ จะเห็นความหนาของเนเคอร์ หากมุกไม่มีรู ให้เราฉายไฟที่ค่อนข้างแรงจากด้านหลังของมุก เราก็จะเห็นความหนาของเนเคอร์ แต่วิธีนี้ใช้กับมุกที่มีสีเข้มอย่างมุกตาฮิติไม่ได้

 

มีหลักในการเลือกมุกอีกข้อหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ความเหมือนกัน (Matching) ในการจับเป็นคู่หรือเข้าสร้อยเป็นชุด ให้เราใช้หลักหารทั้ง 6 ข้อข้างตันรวมกัน แล้วสังเกตุว่า มุกคู่ หรือชุดที่เราเลือกนั้นมีลักษณะเหมือนกันมากแค่ไหน หากความเหมือนกันของมุกในสร้อยมุกเดียวกันไม่ดี จะมีผลต่อความสวยงามของสร้อยมุกค่อนข้างมาก แต่หากเราใช้มุกเพียงเม็ดเดียว อย่างเช่นกรณีของ แหวน หรือ จี้ห้อยคอ ความเหมือนกันจะไม่มีผลต่อราคาของมุกแต่อย่างใด

 

ข้อแนะนำในการดูแลมุก

มุกเป็นอัญมณีอินทรีย์สารจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้โดน น้ำหอม สบู่ ครีมทาผิว กรด หรือสเปรย์ใส่ผม เพราะอาจทำให้สีและความวาวของมุกเปลี่ยนไป

โดย อาจารย์ สุรชาติ ปัญจธรรมวิทย์ @ http://www.ampornphan.com



2 ความเห็น


แนะนำความคิดเห็น

ผู้มาเยือน
เพิ่มความคิดเห็น

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...
×
×
  • สร้างใหม่...