ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

malangpong

ขาประจำ
  • จำนวนเนื้อหา

    17
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

คะแนนนิยม

0 ปานกลาง

เกี่ยวกับ malangpong

  • คะแนนนิยม
    น้องใหม่

Profile Information

  • เพศ
    หญิง
  • ที่อยู่
    กรุงเทพมหานคร
  1. เพิ่งจะรู้ตัวว่ายังไม่ได้ลงประวัติพระอาจารย์ และคำนำของหนังสือ ขอลงเพิ่มตอนท้ายนี้เลยนะคะ ประวัติ (โดยย่อ) พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นชาว อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นบุตรลำดับที่ ๗ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๙ คน โยมบิดาชื่อนายผัด ฝั่นเต่ย โยมมารดา ชื่อนางใส ฝั่นเต่ย ได้เข้ารับราชการเป็นครูมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๗ ชีวิตช่วงวัยหนุ่ม ได้เป็นหัวหน้ากลุ่มหนุ่มสาวและหัวหน้าวงดนตรี เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้ลาสิกขาบทหลังจากบวชครบ ๓ เดือน ตามกำหนดวันลาราชการ และ กลับเข้ารับราชการเป็นครูต่ออีก ๒ ปี จึงได้ลาออก และกลับเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์รับใช้พุทธศาสนาอีกครั้ง ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๑๗ ตราบจน ปัจจุบันนี้ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ เป็นเจ้าอาวาสวัดดอยเกิ้ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็น “ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ” ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาตั้งแต่ ปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. ๒๕๔๒ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ได้เผยแพร่คำสอน และ การฝึกปฏิบัติฯมาตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ในลักษณะค่อยเป็น ค่อยไปไม่มีการประชาสัมพันธ์มากนัก เนื่องจากบุคลากร ส่วนใหญ่ต่างเป็นผู้ปฏิบัติธรรม หมดความทะเยอทะยาน จึงให้แต่ละบุคคลได้มีโอกาสเข้ามา เรียนรู้กันตามกระแสบุญ ในช่วงแรกๆเป็นการสอน ฝึกปฏิบัติฯเพื่อจิตหลุดพ้นมีดวงตาเห็นธรรมเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยสมถกรรมฐาน และตามด้วยอุบาย ของวิปัสสนากรรมฐาน ๒ วิธี คือ การเจริญสติให้เห็นอาการ เกิด-ดับ เป็นปัจจุบันขณะ และ การหมุนธรรมจักร เมื่อเกิดปัญหาของสุขภาพร่างกายที่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงของพลังงาน ในธรรมชาติ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ จึงได้ประยุกต์หลักของวิปัสสนากรรมฐาน ที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของจิต เพื่อให้พ้นจากการครอบงำของขันธ์ ๕ และ ประหารกิเลสของ แต่ละบุคคล มาเป็นการเคลื่อนที่ของพลังจิต พลังงาน เพื่อซ่อมแซมรักษา สิ่งที่หยาบกว่า คือ “กาย” ด้วยตนเอง เพราะแนวทางของพระพุทธศาสนา มิได้แยกกายกับจิตออกจากกัน โดยเด็ดขาด ทั้งสองอย่างจำเป็นต้องอยู่ด้วยกันจึงจะดำรงสภาพ ที่เรียกว่าเป็น “มนุษย์” ซึ่งประกอบ ด้วย ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ ดังนั้น เมื่อร่างกายป่วยเจ็บ จึงต้องรักษาบำบัดทั้งของหยาบคือกาย และของละเอียดซึ่งได้แก่ พลังงานที่เชื่อมโยงอยู่ด้วยกัน ผลงานด้านสมาธิบำบัด ได้มีวิวัฒนาการมาตามลำดับ ตั้งแต่ เป็นทางเลือกของ สุขภาพแบบองค์รวม และ เป็นวิถีแห่งสุขภาพ องค์รวมของคลื่นพลังงานบำบัดในปัจจุบันนี้ จัดว่าเป็นทางเลือกของสุขภาพที่ไม่ใช้ยา แพร่หลายในบุคคลหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และ ผู้ป่วยติดสารเสพติด ฯลฯ เนื่องจากวัดดอยเกิ้ง ตั้งอยู่ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน การเดินทางไป-มา ค่อนข้าง ลำบาก พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ จึงใช้วิธีเดินทางออกไปเผยแพร่คำสอนนอกสถานที่ด้วยตนเอง ซึ่งได้เริ่มจัดขึ้น ที่อาคารสัมมนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๕ และในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้สร้างศูนย์ฝึกอบรมสวนบูรณะรักษ์ธรรม ขึ้นที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และ มีการจัดฝึกอบรมฯให้เป็นธรรมทาน ทุกๆ สัปดาห์ที่ ๑ หรือ ๒ ของแต่ละเดือน โดยให้ผู้ป่วย ผู้สนใจ เข้าพักค้างคืน ครั้งละ ๒ คืน ๓ วัน รับได้ครั้งละไม่เกิน ๕๐ คน สำหรับการฝึกอบรมในกรุงเทพฯ ยังคงมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ จัดปีละ ๖ ครั้ง (เดือนเว้นเดือน) ที่อาคาร เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร คำนำ ผู้เขียนเคยคิดว่า หนังสือ “แรงดึง เล่ม ๒” ที่นำเสนอทั้งเรื่อง ของ “จิต” และ “พลังพีระมิด” คงจะเป็น หนังสือเล่มสุดท้าย ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอ องค์ความรู้ของพระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ แด่สังคม หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว ในวาระต่อมา ผู้เขียนยังมีโอกาสได้เขียนหนังสืออีกถึง ๓ เล่ม ตามลำดับ คือ อยู่กับมะเร็งหรือตายกับมะเร็ง ทางรอด และ แสงสว่างที่ปลายทางรอด ซึ่งหนังสือ ทั้ง ๓ เล่ม ล้วนเป็นองค์ความรู้ ที่นำเสนอวิธีของการพัฒนา ทั้งจิต และกาย (กายละเอียดและกายหยาบ) ควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งถ้าหาก ลูกศิษย์ได้ปฏิบัติฯตามอย่างสม่ำ เสมอและต่อเนื่อง จะเห็น “คุณ” ได้อย่างชัดเจนและซาบซึ้ง ในเมตตาธรรมของพระอาจารย์ ในครั้งนี้ ผู้เขียนตั้งใจเขียน “ วิถีแห่งมรรค ” เป็นเนื้อหา ความไพเราะในเบื้องกลาง และเบื้องปลาย นำเสนอแนวทางเพื่อการพัฒนาจิตเพียงด้านเดียว ซึ่งมีด้วยกันหลายวิธีที่ล้วนแต่ แยกย่อยออกมาจากอุบายหลัก ที่สอนให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ตามทันการกระทบที่เกิดขึ้นที่อายตนะภายนอกและอายตนะภายใน เป็นปัจจุบันขณะ และ ปล่อยวาง “แรงกระทบ” เหล่านั้น ทำให้ “จิต” มีโอกาสพ้นไปจากการครอบงำของขันธ์ ๕ ที่มี “ใจ” เป็นผู้บงการ ผู้เขียนขอถวาย องค์ความรู้ฯ เหล่านี้เป็นพุทธบูชา เพื่อสืบทอด พระธรรมคำสอนให้ไหลเนื่องต่อไปไม่ขาดตอน และ บูชาคุณ แสดงกตเวทิตา แด่พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ผู้ให้ปัญญาแก่ผู้เขียนและศิษยานุศิษย์มาโดยตลอด ผู้เขียนขออนุโมทนาบุญ แด่ ผู้ให้ความช่วยเหลือในการพิมพ์ต้นฉบับ ผู้จัดทำรูปเล่ม และ ผู้บริจาคทรัพย์ทุกท่าน ขออำนาจบุญกุศลที่สำเร็จแล้ว จงช่วยเกื้อหนุนให้ทุกท่านมีโอกาส เดินทางถึงฟากฝั่งในปัจจุบันชาติด้วยเทอญ จีรพันธุ์ ประศาสน์วุฒิ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
  2. บทส่งท้าย ถึงแม้จะทำลายกิเลสเบื้องต้นทั้ง ๓ อย่างได้แล้ว แต่ยัง “อ่อนหัด” เพราะเพิ่งเข้าสู่“ทาง”ได้ไม่นาน มีโอกาสเพลี่ยงพล้ำ ถลำตัวเสียทีกับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่อีกมาก จึงต้องอาศัยอริยมรรค ๘ อย่าง ช่วยประคองทาง ไม่ให้ไปสุดโต่งทั้งสองส่วน คือ ส่วนของผู้รู้ และสิ่งถูกรู้ ผู้ทำและสิ่งถูกกระทำ ผู้คิดและสิ่งที่ถูกคิด ฯลฯ บุคคลจึงจะสามารถดำรงองค์มรรค อยู่กับสภาวะโล่งโปร่งได้ตลอดไป ตลอดทางเดินยังมีกิเลสที่เป็นอารมณ์ รัก ชัง อิจฉา ริษยา อาฆาต พยาบาท ขัดเคืองใจ ความถือตัวถือตน ฯลฯ ฝังรากลึกเป็นอนุสัยติดแน่นอยู่ในใจ ต้องหาทางทำลายให้หมด ด้วยการใช้อุบายเดิม คือไม่ไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง วางความรู้สึกไว้กึ่งกลาง ระหว่างสุดโต่งทั้งสอง ในทุกๆอารมณ์ที่เกิด ถ้าตัดกามราคะ คือความรู้สึกพึงพอใจในกามที่เกิดจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ได้ จะเห็นอดีต อดีตที่สำคัญของตนเอง เช่น คนรัก หน้าที่การงาน การตาย ฯลฯ ถ้าตัดปฏิฆะ คือความรู้สึกขัดเคืองใจได้ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ละเอียดอ่อน และเกิดได้ง่ายยิ่งกว่าความโกรธ ความเกลียด ฯลฯ จะเห็นอนาคตของตนเอง และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง เมื่อมรรคประหารความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉย อารมณ์เวทนายึดติดของขันธ์ ๕ ลงได้ และอนุสัยนอนเนื่องถูกทำลาย ตัดขาด สามารถสำรอกอนุสัย ถอนอาสวะ ที่อยู่ลึกก้นบึ้งของใจได้ บุคคลจะสามารถเชื่อมโยงอดีต และ อนาคต เข้าถึงการมีสติเว้นรอบ คือการขึ้นไปอยู่เหนือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่พ้นจากการเกี่ยวข้อง และ พลังงานกระทุ้งของขันธ์ ๕ เหนือสมมุติ และบัญญัติ ความนึกและความคิดถูกตัดขาด จะเกิดความรู้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการนึกและคิด คือไม่ต้องใช้ทั้งใจและสมอง เรียกว่าญาณทัสนะ เป็นความรู้ที่ได้มาจากการใช้แรงสืบต่อหรือแรงสันตติ สืบสาวถึงเหตุและผลของการเกิด ดับ ของแต่ละเรื่อง แต่ละสาย อย่างต่อเนื่องทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ทั้งของชีวิตตนเอง ถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งที่ตนต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ฯลฯ เห็นการวนรอบของปฏิจจสมุปบาทและทำให้บุคคลไม่ตกอยู่ในทิฐิทั้งสอง ซึ่งเป็นความเห็นที่ผิด ทิฐิ ความเห็นที่ผิด ๒ อย่าง ได้แก่ ๑. สัสสตทิฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือเห็นว่าอัตตา และโลกเป็นของเที่ยงแท้ ยั่งยืนตลอดไป เห็นว่าการตายของคนและสัตว์เป็นเพียงการสลายของตัวรูปร่างกายเท่านั้น ใจหรือวิญญาณธาตุ ย่อมแสวงหาภพชาติใหม่ต่อไป ๒. อุจเฉททิฐิ ความเห็นว่า ขาดสูญ เมื่อมนุษย์ สัตว์ ตายไปแล้ว ย่อมไม่มีการกลับมาเกิดใหม่อีก เมื่อบุคคลสาวเรื่องราวต่อเนื่องวนไปวนมา ตามเหตุ และ ปัจจัย เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี......... เพราะการดับไปแห่งสิ่งนี้ ... สิ่งนี้จึงดับไป หากยังคงยึดแรงสืบต่อ การวนรอบก็จะเกิดต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไม่มีการสิ้นสุด บุคคลจึงละแรงสืบต่อนี้ ปล่อยให้เป็นเรื่องธรรมชาติของเหตุและปัจจัย ถึงที่สุดของการเดินทาง เป็นการหลุดพ้นโดยสมบูรณ์ ...................การยึดว่าเป็นตัวเราของเรา .........เกิดขึ้นเพราะไม่เห็นธรรมชาติการกระทบ ....................ของแรงสืบต่อที่ไร้เจตนา ฝึกปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อให้เห็นแรงสืบต่อ หรือ แรงสันตติ ....................ใช้แรงสันตติไขความลับ ..........สาวหาเหตุและผล จนเห็นการวนรอบ .....................สุดท้ายต้องละ “ แรง ” .........จะไม่ต้องวนกลับมารับ “ แรง ” อีกต่อไป จบแล้วค่ะ หากท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติฯ สามารถสอบถามคุณจีรพันธุ์ ประศาสน์วุฒิ ได้ที่ 02 538 2341 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 10:00 - 14:00 ถ้าหากพี่เขาไม่อยู่ ค่อยโทรไปใหม่นะคะ บางทีพี่เขาไปต่างจังหวัด หรือไปธุระ ก็จะไม่ได้รับสาย
  3. บทพิสูจน์การเข้าถึง วิถีแห่งมรรค เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯ ได้เร่งสติจนมีสติเต็มรอบ และก้าวสู่ขั้นตอนสำคัญที่สุด คือจังหวะที่จิตจะแยก หรือตัดขาดจากตัวรู้ของใจ และ เข้าถึงมรรค ถึงทาง ถึงแม้ไม่อาจบอกว่า “มรรค” มีลักษณะเป็นอย่างไร เพราะเป็นภาวะที่พ้นไปจากของคู่ ไร้สิ่งเปรียบเทียบ แต่พอจะเลียบเคียงอย่างเป็นสังเขปได้บ้าง เพราะ ๓ ขั้นตอนประสบการณ์ของจิต ที่เริ่มต้นจากภาวะของจิตที่กำลังจะแยกออกจากใจเข้าถึงมรรค และภาวะหลังจากที่จิตเข้าถึงมรรคแล้ว ล้วนเป็นสิ่งมหัศจรรย์และบุคคลลืมไม่ลง ความทรงจำจะเจิดจ้า เหมือนเพิ่งเกิด ด้วยการพูดเลียบเคียง หรือเปรียบเทียบเพียงเล็กน้อย ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์จริงมาแล้ว จะเข้าใจความหมายของคำพูด คำกล่าวอธิบายแบบแปลกๆ และไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทยสักเท่าไรนัก ได้เป็นอย่างดี เช่น เกิดแรงดันระเบิดออกไป พุ่งพรวดออกไปและสว่างวาบ วาบเล็ก วาบใหญ่ ระเบิดเล็ก ระเบิดใหญ่ ได้เจอกับแสงสว่างอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ได้พบกับความโล่งโปร่งเบาสบายอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน เป็นความเวิ้งว้างไร้ขอบเขต ฯลฯ ซึ่งทุกประโยคที่กล่าวมา ถ้าไม่เคยเจอด้วยตนเองมาก่อนคงไม่สามารถเข้าใจตามได้ จึงมักต้องปิดการสนทนาด้วยคำกล่าวที่ว่า “ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน” บุคคลจะเข้าสู่ วิถีแห่งมรรค ด้วยอุบาย หรือ ครูอาจารย์ท่านใดก็ตาม ปรากฏการณ์ของจิต หรือ สิ่งที่แต่ละบุคคลได้เจอและก้าวผ่านจะมีกระบวนการที่เหมือนกัน ดังต่อไปนี้ ๑. บุคคลจะพบกับแสงสว่างอย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ไม่สามารถสัมผัสหรือมองเห็นได้ ด้วยตา หรือรู้ด้วยใจ ความสว่างมีอยู่เท่ากัน ไม่ว่าจะหลับตาหรือลืมตา เรียกแสงสว่างชนิดนี้ว่า แสงสว่างของจิต ๒. แสงสว่างของจิตเจิดจ้ามาก จนดันทะลุเปลือกตา ทำให้ต้องขยิบหรือกระพริบตา เปิดๆปิดๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเป็นอัตโนมัติ ควบคุมไม่ได้ ๓. บุคคลจะนอนไม่หลับทั้งกลางคืน และกลางวัน เป็นเวลาประมาณ ๑-๒ คืน หรือ ๓ คืน หรือ ๗ คืน หรือมากกว่านี้ และสิ่งสำคัญ คือแสงสว่างยังคงเจิดจ้าอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาที่นอนไม่หลับ สิ่งที่แปลกประหลาดเป็นอย่างยิ่ง คือถึงแม้จะรู้สึกว่านอนไม่หลับ ร่วม ๓ คืน ๗ คืน แต่ร่างกายจะไม่รู้สึกเพลีย และยังคงทำงานได้ตามปกติ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก เป็นช่วงที่จิตกำลังตื่น แต่ร่างกายหรือกายหยาบได้หลับพักผ่อนตามปกติ หากเมื่อใด แสงสว่างของจิตทำงานเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ทั้งจิตและกายจะได้พักผ่อนพร้อมกัน แสงสว่างของจิต ทำลายกิเลสเบื้องต้น ๓ อย่าง ดังต่อไปนี้ ๓.๑ วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัย หรือความลังเล ไม่แน่ใจ ในเรื่องต่างๆที่ บุคคลเคยมีมาก่อน เช่น เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลก เรื่องเหนือธรรมชาติ ฯลฯ เป็นความสงสัยที่หาคำตอบได้ยาก หรือไม่มีคำตอบที่ถูกใจ หรือไม่มีคำตอบ ความรู้สึกที่มีคำถามแบบนี้ จะถูกแสงสว่างของจิตทำลายจนหมด และรู้สึกว่าหมดคำถามไปเสียดื้อๆ ๓.๒ สีลัพพตปรามาส ความเห็นเกี่ยวกับสมมุติและบัญญัติของโลก ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็น จารีตประเพณีซึ่งมีทั้งถูกและผิด เมื่อแสงสว่างของจิตได้ละลายแล้ว บุคคลจะได้แนวทางปฏิบัติตน อย่างถูกต้อง โดยไม่ไปทำลายสมมุติและบัญญัติ ทั้งของตนเองและผู้อื่น เช่นจะรู้หลักและเป้าหมาย ที่ถูกต้องของการสวดมนต์ การเผาศพ การให้ ทาน การรักษาศีล การฝึกปฏิบัติภาวนา ฯลฯ ไม่ใช่สักแต่ว่าประพฤติปฏิบัติตามกันไปอย่างงมงาย ปฏิบัติอย่างเคารพสมมุติ แต่ไม่ยึดติดในสมมุติ ๓.๓ สักกายทิฐิ ความเห็นเกี่ยวกับตัวตน เมื่อแสงสว่างของจิตละลายความยึดติดในตัวตนเรียบร้อยแล้ว บุคคลจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า รูป นาม หรือ ร่างกาย จิตใจ ไม่มีตัวตนที่ถาวร การมีเหตุและปัจจัย หนุนเนื่องกันอยู่ จึงทำให้มีขันธ์ ๕ อายตนะ สืบต่อ และวนต่อเนื่องกันไปเป็นสายๆ เมื่อเหตุเกิดผลย่อมเกิด เมื่อเหตุดับผลย่อมดับ ๔. บุคคลจะรู้แนวทาง และ มั่นใจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต การงานที่ยังต้องเกี่ยวเนื่องกับครอบครัว ยึดหลักให้ถึงพร้อมทั้งประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ของผู้อื่นเสมอ จะรู้ธรรมะละเอียดขึ้น โดยไม่เคยอ่านหนังสือ เกี่ยวกับธรรมะมาก่อน ๕. ขณะนี้บุคคลเป็นอิสระจากอำนาจของใจแล้ว จึงควรระวังอย่าก้าวพลาดตกไปอยู่ใน บ่วงแรงดึงของใจอีก ต้องรู้เท่าทัน เมื่อต้องทำงานร่วมกับใจในบางครั้ง
  4. อาการยึดติด จิตปุถุชนทั่วๆไป มีกิเลสครอบงำ ไม่เห็นการกระทบที่เกิดขึ้นและดับไปเป็นปัจจุบันขณะ จึงมักจะยึดติดอยู่ข้างหนึ่งข้างใดเสมอ คือถ้าไม่ติดการกระทบจากภายนอก ด้วยการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส ก็มักจะติดการกระทบจากภายใน คือการรับรู้อารมณ์การปรุงแต่งจากธาตุรู้ของใจ “มรณานุสสติ” การเตรียมตัวตายก่อนตาย หลักการ สิ่งสุดท้ายของมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะได้ญาณ ฌาน เข้าถึงมรรคหรือทาง หรือเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด เป็นเศรษฐีหรือยาจก มียศตำแหน่งสูงๆ ทุกคนต้องยอมรับกฎแห่งกรรม คือ การสิ้นสลายของรูป ซึ่งเป็นเพียงการเปลี่ยนเสื้อผ้าเท่านั้นเอง ตายไปแล้วหากกิเลสยังมีอยู่ วิญญาณ หรือ ตัวรู้ ต้องแสวงหา และ ได้ร่างใหม่สัมพันธ์กับบุญกุศลหรือบาปที่ได้เคยทำไว้ พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญการหมั่นเพียร พิจารณาความตาย ว่าเป็นอุบายวิธีที่ฉลาด มีสติ รู้เท่าทันความตาย ถ้าเราไม่กลัวตาย เราจะไม่รู้สึกกลัวสิ่งอื่นๆอีกเลย การฝึกปฏิบัติฯวิธีนี้ ต้องปล่อยวางทุกวิชาที่เรียนมา ปล่อยวางตัวตน ทรัพย์สมบัติ อดีต ปัจจุบัน อนาคต บาปบุญ คุณโทษ ฯลฯ เพื่อทดลองให้เห็นการตาย ก่อนตายจริงๆ วิธีฝึกปฏิบัติฯ ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ คลายความรู้สึกนึกคิด ปล่อยอดีต ปัจจุบัน อนาคต ความดี ความชั่ว บาปบุญคุณโทษ ออกไปพร้อมกับลมหายใจออก เป็นความว่างไปสักระยะหนึ่ง จากนั้นให้สำรวจตัวเองที่กำลังนั่งอยู่ ว่ามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีลมหายใจเข้าและออกเป็นปกติดี นำความรู้สึกหรือจิตมาอยู่ที่ฐานอารมณ์ในโพรงจมูก เพื่อป้องกันไม่ให้จิตคิดออกไปข้างนอก ให้กำหนด คำว่า ตาย-ตาย-ตาย และนึกอยู่ที่ฐานอารมณ์เพียงจุดเดียว สร้างความรู้สึกว่าพร้อมแล้วที่จะตาย เพราะเราทุกคนย่อมหนีความตายไปไม่พ้น นึกจี้ลงไปที่จมูก พร้อมทั้งกำหนด ตาย-ตาย-ตาย ไปเรื่อยๆ เมื่อทำไปๆ ลมหายใจจะน้อยลงๆ จนรู้สึกว่าลมหายใจขัดๆ หัวใจอึดอัดเหมือนถูกกดทับ หูอื้อ จมูกจะห่อเข้า ตาบีบถลน รู้สึกมือ เท้าชา ความมืดดำแผ่ออกไปทั่วทั้งสมองและร่างกาย ครองสติไว้ให้ดี และยอมตาย ในขณะที่อาการเวทนา คือ ความเจ็บปวดจะเพิ่มมากขึ้น เพราะขันธ์จะคอยหลอกลวงให้ยึดติด ลมที่จมูกค่อยๆ อ่อนลงๆ และดับไป จนกระทั่งความรู้สึกหายไป จะหมดความรู้สึกนานเท่าไรไม่เป็นไร(เพราะเราไม่ได้ตายจริง) จนกระทั่งมีความรู้สึกเย็นโล่ง โปร่งสบาย และ มีแสงสว่างเกิดขึ้น ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะรู้สึกแปลกใจ เพราะในขณะนั้น ยังไม่มีลมหายใจ แต่ยังมีชีวิตอยู่ได้ และอีกสักครู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจะเกิดตามมา มีลมหายใจเข้า และออกตามปกติ การดับในครั้งแรกจะรู้สึกทรมานมาก ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติฯรู้สึกกลัวตาย และแอบสืบลมหายใจเข้าจะทำให้ไม่เห็นการดับ ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติฯ มีจุดเจ็บปวดในร่างกายอย่างสาหัส เช่น เป็นมะเร็ง เส้นเลือดตีบ ฯลฯ ให้เลื่อนความรู้สึก มาที่จุดเจ็บนั้น นึกจี้ลงไป และกำหนดว่า ตาย-ตาย-ตาย สร้างความรู้สึกว่าพร้อมแล้วที่จะตาย จินตนาการถึงความเจ็บปวดทรมาน ที่เกิดจากการยึดในขันธ์ เมื่อทำไปๆ ลมหายใจจะน้อยลงๆ หายใจขัดๆ เหมือนจะตายจริงๆ ให้มีความเชื่อมั่นว่า การดับด้วยการกำหนด ตาย-ตาย-ตาย เป็นเพียงการตายไม่จริง เหมือนหนังตัวอย่างมาฉายให้เราเห็นเท่านั้นเอง สักครู่การฟื้นจะเกิดคืนกลับมาอีกครั้ง คุณประโยชน์ ๑. ผู้ฝึกปฏิบัติฯ จะเห็นธรรมชาติของการตายว่าความตายเป็นสิ่งไม่เที่ยง ในเวลา ๑วินาที ร่างกายของมนุษย์ มีทั้ง การเกิดและการดับ ดังนั้นถ้าเกิดการปล่อยวาง จิตจะพลิกเข้าถึงธรรม ๒. โรคภัยที่เจ็บป่วยสาหัส รักษาไม่หาย การฝึกจิตก็ทำไม่ได้ แต่ถ้าสามารถกำหนดผ่านจุดดับไปได้ ความเจ็บป่วย โรคภัยทุกชนิดจะหายเป็นปลิดทิ้ง นับเป็นยาขนานเอกอีกขนานหนึ่ง ๓. ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถผ่านจุดดับได้ ความตายจะยอมแพ้เรา เพราะเราไม่กลัวตาย และผู้ฝึกปฏิบัติฯ จะไม่รู้สึกกลัวสิ่งอื่นใดอีกเลย อุปสรรค ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ส่วนใหญ่ไม่สามารถก้าวผ่านจุดดับไปได้ เพราะขันธ์ ๕ โดยเฉพาะตัวรู้จะสร้างสิ่งหลอกลวง ไม่ยอมให้ตาย ความจริงอย่างหนึ่งที่ ผู้ฝึกปฏิบัติฯควรจะรู้และตระหนักให้มาก คือมนุษย์อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม หากร่างกายยังไม่ถึงวาระกำหนดอายุขัย กระแสลมปราณจะยังไม่ขาดออกจากร่าง และที่สำคัญ ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ไม่ได้เอามืออุดจมูก หรือกลั้นลมหายใจ เพื่อฆ่าตัวตาย หัวใจจึงยังทำงานตามปกติ ที่ว่าดับ คือ อารมณ์ความรู้สึกและเวทนาดับเท่านั้น ร่างกายไม่ได้ตายเพราะขาดลมหายใจ เมื่อบุคคลเป็นอิสระ พ้นไปจากอำนาจของใจได้แล้ว พึงควรระวังอย่าก้าวพลาด ตกไปอยู่ในบ่วงแรงดึงของใจอีก ต้องรู้เท่าทันการปรุงแต่งของใจ หากบางครั้งต้องใช้ “ใจ” ทำงาน
  5. ๓. แรงความเป็นกลาง เป็นอุบายของการเข้าถึง “มรรค” ด้วยหลักการพื้นฐาน อย่างเดียวกันกับการหมุนธรรมจักร การฝึกปฏิบัติฯ แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน ด้วยกัน คือ การหาส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วนให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก ลำดับถัดมาเป็นการนำจิตเข้าไปอยู่กึ่งกลาง ระหว่าง ส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วน และพยายามประคองจิตไว้ที่กึ่งกลางไม่ติดข้างใดข้างหนึ่ง และ ขั้นตอนสุดท้าย คือเทคนิคของการสะสมแรงความเป็นกลาง ให้มีกำลังมากพอที่จะดันระเบิดออกไป ซึ่งมีด้วยกัน ๓ วิธี เป็นการใช้แรงความเป็นกลางร่วมกับแรงดัน พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ด้วยการวางจิตไว้ตรงกลางระหว่างรูปและอรูป รูป คือสภาพของร่างกาย ที่ผ่านการทรมานด้วยการอดอาหาร และ อรูป เป็นอารมณ์ของฌานอยู่ลึกที่สุดภายในใจ เมื่อทรงวางจิตไว้กึ่งกลางระหว่าง ๒ ส่วน แรงความเป็นกลางได้เกิดขึ้น และ สะสมแรงได้ จนเต็มพิกัดเกิดแรงดันระเบิดออกไป ทำลายทั้ง รูป และ อรูป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติขึ้น ขั้นตอนแรก ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องหาส่วนสุดโต่งภายนอก ซึ่งหมายรวมถึง การยึดติดที่อายตนะภายนอก อาการเวทนาของขันธ์ และอารมณ์ของใจ สำหรับสุดโต่งภายใน มีอยู่เพียงอย่างเดียว คือธาตุรู้ในใจ สุดโต่งภายนอก ..........---------..........สุดโต่งภายใน ..........กาย.....................--------- .............. ใจ ..........ความคิดในสมอง...---------........... รู้คิดในใจ ..........เสียงที่หู.............. --------- .............รู้ในใจ ..........กลิ่นที่จมูก........... ---------............. รู้กลิ่นในใจ ..........รสที่ลิ้น .............. ---------............. รู้รสในใจ ..........รูปที่ตา .............. ---------............. รู้ว่ารูปในใจ ........อารมณ์ในใจ........ ---------............. ตัวรู้อารมณ์ในใจ กฎเกณฑ์หรือสมมุติบัญญัติใดๆ ที่เป็นของคู่กันเช่น บาปกับบุญ คุณกับโทษ ความดีกับความชั่ว ผู้ทำกับสิ่งที่ถูกกระทำ ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ ผู้เห็นกับสิ่งที่ถูกเห็น ฯลฯ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนเป็นส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วน ที่ผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถนำมาใช้เป็นอุบายของการฝึกหาแรงความเป็นกลาง วิธีฝึกปฏิบัติฯ ๓.๑ หลังจากผู้ฝึกปฏิบัติฯได้คลายความรู้สึกเป็นความว่างไปพอสมควรแล้ว สิ่งที่เคยยึดติดจะโผล่ขึ้นมาให้เห็น ให้ใช้สิ่งนั้นเป็นสุดโต่งภายนอก และสุดโต่งภายในคือ ตัวรู้ในใจเสมอ ๓.๒ ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ นำความรู้สึก(จิต) เข้าไปวางอยู่กึ่งกลางระหว่างสิ่งสุดโต่งภายนอกและตัวรู้ในใจ โดยปรับความรู้สึกให้อยู่กึ่งกลางเสมอ ไม่ค่อนไปทางหนึ่งทางใด เป็นการหาความเป็นกลางของความรู้สึก ไม่ใช่จุดกึ่งกลางที่วัดกันด้วยระยะทางเป็นนิ้ว หรือ เซนติเมตร ดังตัวอย่างเช่น สุดโต่งภายนอก คืออาการปวดศีรษะ และสุดโต่งภายใน คือตัวรู้ในใจที่รู้ว่าอาการปวดศีรษะเป็นอย่างไร ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องหาจุดกึ่งกลางของความรู้สึก ระหว่าง ศีรษะที่ปวด และใจที่รับรู้การปวด ไม่ให้ความรู้สึกถูกดึงไปข้างหนึ่งข้างใดมากกว่ากัน เหมือนการหา จุดสมดุลของไม้คานหาบของบนบ่า ๓.๓ เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถนำจิตเข้าไปอยู่กึ่งกลางระหว่างสองส่วนได้แล้ว และพยายามปรับความรู้สึก ให้อยู่กึ่งกลางตลอดเวลา ในขั้นตอนนี้ มีเทคนิคของการเพิ่มสะสมแรงความเป็นกลาง ด้วยกัน ๓ วิธี ซึ่งผู้ฝึกปฏิบัติฯ ควรทำความเข้าใจ และเลือกเทคนิคที่ตนเองชอบ ถนัด นำไปละลายส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วน ที่เป็นทั้งขันธ์หยาบและละเอียด ในขั้นตอนต่อๆไปอีกด้วย ๓.๓.๑ ให้นำความสงบนิ่งที่ได้จากการฝึกสมถกรรมฐานมาใช้ โดยปรับลมให้นิ่งเป็นหนึ่งเดียว กับจุดกึ่งกลางให้ได้ และกดความนิ่งให้อยู่ ณ จุดกึ่งกลางตลอดเวลา จนกระทั่ง จุดกึ่งกลางซึ่งเคยเป็นวงกลมเล็กเพียงนิดเดียว ได้เพิ่มขนาด ใหญ่ขึ้นๆ สะสมและขยายความเป็นกลาง ออกไปทั้งสองด้าน ยิ่งรู้สึกนิ่งสงบ ณ จุดกึ่งกลางได้มากเท่าใด จะยิ่งรู้สึกร้อนมากขึ้นตามลำดับ ในที่สุด เมื่อสะสมแรงความเป็นกลางได้มากพอแล้ว แรงความเป็นกลางจะดันระเบิดออกไปทำลาย ส่วนสุดโต่งภายนอกและสุดโต่งภายในพร้อมกัน ๓.๓.๒ เมื่อใช้อารมณ์สมถะ และนิ่งที่จุดกึ่งกลางได้แล้ว หากผู้ฝึกปฏิบัติฯ ใส่ความรู้สึกร่วมกับจุดกึ่งกลาง จะเกิดการหมุนท่ามกลางที่จุดกึ่งกลาง การหมุนจะหมุนเร็วขึ้นๆ พร้อมทั้งวงหมุนขยายใหญ่ออกไป ทั้งสองข้าง และธรรมจักรหมุนปั่นทำลายส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วนไปพร้อมๆกัน ๓.๓.๓ กำหนดตัวปัจจุบันขณะ “ตั้งอยู่” สำทับลงไป ณ จุดกึ่งกลาง หน้าที่ของจิตในขณะนั้น อยู่กับการกำหนดตั้งอยู่ ตั้งอยู่ๆๆ ที่จุดกึ่งกลาง เป็นการสะสมแรงความเป็นกลางได้อย่างรวดเร็ว จนสามารถดันระเบิดและทำลายส่วนสุดโต่งได้พร้อมกันทั้งสองส่วน หากแรงความเป็นกลาง ที่เกิดจากการใช้ความนิ่งสงบจี้ลงไป หรือเกิดจากการหมุนท่ามกลาง หรือการกำหนดตั้งอยู่ สามารถสะสมแรงความเป็นกลาง ได้มากมายมหาศาล สามารถดันระเบิดทำลายส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วนได้ทันที จะส่งผลให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯเข้าถึงมรรค แต่ถ้าหากแรงดันระเบิดมีน้อย ผลที่ได้เป็นเพียงการคลายการยึดติดได้ ทีละอย่าง ทีละปม ๓.๔ ผู้ฝึกปฏิบัติฯต้องเข้าไปอยู่กึ่งกลางระหว่างสองส่วนไปทีละปม ทีละอย่าง จนกระทั่งแรงความเป็นกลาง ได้ละลายขันธ์หยาบหมดไป ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะไปเจอส่วนที่เป็นขันธ์ละเอียด คือแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ และ ความว่าง ซึ่งเป็นอารมณ์ของใจ ๓.๕ ผู้ฝึกปฏิบัติฯต้องทำลายแสงสว่างที่สว่างคล้ายหลอดไฟสีเหลือง โดยนำจิตเข้าไปอยู่กึ่งกลางระหว่าง แสงสว่างและตัวรู้ในใจ แรงความเป็นกลางทำลายสองส่วนหมดไป ความบริสุทธิ์คล้ายๆหลอดไฟนีออนเกิดขึ้น และ เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯ ทำลายความบริสุทธิ์และตัวรู้ในใจได้ ความว่างเกิดขึ้น และ ในที่สุดผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถทำลายความว่าง อารมณ์สุดท้ายของใจได้ด้วยการอยู่กึ่งกลางตามวิธีการเดิม ๓.๖ ขณะนี้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถละลายได้หมดทั้งส่วนที่เป็นขันธ์หยาบ และขันธ์ละเอียด จิตได้ทำงานมาถึง ขั้นตอนสุดท้าย เหลืออยู่แต่เพียงจิตกับใจ (วิญญาณธาตุ หรือตัวรู้ในใจ) อยู่ซ้อนติดกันอย่างเหนียวแน่น การที่จะเข้าไปพบจิตอิสระได้ จิตกับตัวรู้ต้องแยกจากกันโดยเด็ดขาด มนุษย์เราทุกคนตกอยู่ภายใต้อำนาจ การบงการของใจ คือตัวรู้มาโดยตลอด เป็นการยากยิ่งนักที่จะสลัดตัวรู้ทิ้ง อุปมาง่ายๆว่า ขณะนี้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ พายเรือมาถึงฝั่ง และ จะก้าวขึ้นฝั่ง ถ้าหากไม่ทิ้งเรือ สละเรือ จะก้าวขึ้นฝั่งได้อย่างไร ความรู้สึกตอนนี้เหมือนใจจะขาด เหมือนคนใกล้จะตาย เพราะจิตกำลังตัด “ใจ” คือตัวรู้ทิ้ง ต้องยอมตาย เพราะครั้งนี้ไม่ใช่การตายจริงที่ร่างกาย สิ้นสูญไป แต่เป็นการตายพ้นไปจากความยึดติดในอุปทานขันธ์ และความไม่รู้ เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถทิ้งเรือ ก้าวขึ้นบนฝั่งได้ ถึงเวลาจะได้รู้ว่า “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ” เป็นอย่างไร คุณประโยชน์ ๑. เป็นอุบายเข้าถึง “มรรค” ที่ทำได้ง่ายที่สุด เหมาะกับบุคคลที่เรียบง่าย ไม่ยึดติดกับสิ่งใด เป็นการบรรลุฉับพลัน ๒. ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะเห็นขั้นตอนของการละลายขันธ์ ตั้งแต่ขันธ์หยาบไปจนถึงขันธ์ละเอียด อย่างชัดเจน เมื่อสามารถละลายได้หนึ่งครั้ง การละลายขันธ์ในส่วนอื่นๆที่เหลือจะทำให้ง่าย เพราะเข้าใจอุบายวิธีการดีแล้ว สิ่งเตือนใจ เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯสามารถละลายขันธ์หยาบเข้าไปสู่ขันธ์ละเอียด คืออารมณ์ของใจ เป็นแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ และความว่าง ผู้ฝึกปฏิบัติฯต้องรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเหล่านี้ ไม่ใช่สภาวธรรม ควรละลายสิ่งที่ปรากฏเหล่านั้นให้หมดไป
  6. ๒. แรงเหวี่ยง เป็นอุบายของการเข้าถึง “มรรค" ด้วยการสะสมแรงที่เกิดจากการหมุนวน ระหว่างส่วนสุดโต่งภายนอก และส่วนสุดโต่งภายใน จนมีแรงมากพอที่จะเหวี่ยง “จิต” ให้หลุดพ้น ไปจากแรงยึดเหนี่ยวของธาตุรู้ในใจ เรียกการฝึกปฏิบัติฯวิธีนี้ว่า การหมุนธรรมจักร หรือ สมาธิหมุน ซึ่งมีฐานที่มาจาก ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระสูตรปฐมเทศนาที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “ บรรพชิตไม่เสพส่วนสุดโต่งสองส่วน ” ทำให้จิตของท่านโกณฑัญญะ ไม่ติดอยู่กับสิ่งที่กระทบจากภายนอกและไม่ติดในอารมณ์ฌานของใจ เมื่อจิตไม่ยึดติดทั้งนอกและใน อาการ “หมุนวน” จึงเกิดขึ้น เป็นผลให้ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรม พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ได้อธิบาย “การไม่เสพส่วนสุดโต่งสองส่วน” ไว้ดังนี้ ส่วนสุดโต่งที่หนึ่ง หมายถึง อายตนะภายนอก ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมเรียกว่า สุดโต่งภายนอก และส่วนสุดโต่งส่วนที่สอง หมายถึง อายตนะภายใน ได้แก่ ใจ ศูนย์กลางธาตุรู้ของร่างกาย และเรียกว่า สุดโต่งภายใน ๒. อาการยึดติด จิตปุถุชนทั่วๆไป มีกิเลสครอบงำ ไม่เห็นการกระทบที่เกิดขึ้นและดับไปเป็นปัจจุบันขณะ จึงมักจะยึดติดอยู่ข้างหนึ่งข้างใดเสมอ คือถ้าไม่ติดการกระทบจากภายนอกด้วยการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส ก็มักจะติดการกระทบจากภายใน คือการรับรู้อารมณ์ การปรุงแต่งจากธาตุรู้ของใจ ๓. ธรรมชาติของจิตมนุษย์มีการเคลื่อนที่ หมุนวนอยู่ตลอดเวลา สัมพันธ์กับแรงที่ส่งมาจากศูนย์กลาง ของวงกลมที่ใหญ่กว่าทั้งภายนอกและภายในร่างกาย การเข้าถึง “มรรค” ด้วยแรงเหวี่ยง มีด้วยกัน ๒ วิธี คือ ๒.๑ การหมุนธรรมจักร มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ เห็นเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดจากจิตไปหลงยึดติดแรง ที่ส่งมากระทบกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สมอง และผ่านกระบวนการปรุงแต่งของธาตุรู้ในใจ เพิ่มการยึดมั่น ถือมั่นในขันธ์ ๕ การหมุนทวนเข็มนาฬิกา เกิดขึ้นระหว่างความรู้สึกภายนอกกับความรู้สึกภายใน หมุนวนเหวี่ยง เข้าหากันเป็นรอบๆ ทุก ๑ วินาที ในระหว่างหมุนธรรมจักร ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะเห็นความจริงการวนของทุกข์ว่าเกิดขึ้น จากการที่จิตไม่สามารถดับได้ทันทีที่เหตุหรือจุดที่รับแรงกระทบ จึงกลายเป็นกระทบนอก และส่งไปถึงตัวรู้ในใจ เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯหมุนธรรมจักรจนเกิดความชำนาญ มีวงหมุนจากนอกเข้าหาใน และหมุนทวนเข็มนาฬิกาอย่างเป็น อัตโนมัติได้แล้ว จิตจะเกิดปัญญาเห็นการวนเกิดของจิตเป็นรอบๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เห็นความปกติของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายของขันธ์ ๕ และเร่งสติจนเป็นสติเต็มรอบ และปล่อยวางการหมุน จิตจะถูกเหวี่ยงเข้าถึง “มรรค” ทันที การหมุนธรรมจักรในปัจจุบันนี้ ต้องหยุดฝึกปฏิบัติฯเป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุผลเดียวกับการงดฝึกการเจริญสติให้เห็น อาการเกิด-ดับของความไม่เที่ยง เนื่องจากภาวะวิกฤตของพลังงานแม่เหล็กโลก ซึ่งท่านสามารถศึกษารายละเอียด ได้จากหนังสือ “ทางรอด” และ “แสงสว่างที่ปลาย ทางรอด” แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนจะให้วิธีฝึกการหมุนธรรมจักร ไว้ด้วย เพราะหากเมื่อใด วิกฤต พลังงานแม่เหล็กโลกได้คลี่คลายลง การหมุนธรรมจักรก็สามารถนำมาฝึกปฏิบัติฯ กันได้อีกครั้ง วิธีฝึกปฏิบัติฯ ๑. ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ คลายอารมณ์ โดยการปล่อยวางความรู้สึก นึก คิด ให้คลายออกไปเป็นความว่าง สักระยะหนึ่ง ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะรู้ว่าจิตของตน เข้าไปยึดติดกับสิ่งใด อารมณ์ใด ๒. จิตของผู้ฝึกปฏิบัติฯ เข้าไปยึดติดกับสิ่งใด เช่น ตา หู จมูก ฯลฯ หรือความเจ็บปวดของขันธ์ ๕ รวมถึงอารมณ์ ที่อยู่ใกล้ธาตุรู้ในใจ ให้เอาสิ่งนั้นเป็นตัวนอก (สุดโต่งภายนอก) และตัวรู้ภายในใจ เป็นตัวใน (สุดโต่งภายใน) ๓. ถ้าจิตของผู้ฝึกปฏิบัติฯไม่ติดทั้งส่วนสุดโต่งภายนอกและส่วนสุดโต่งภายใน การหมุนวน จะเกิดเป็นอัตโนมัติตาม ธรรมชาติ จากส่วนสุดโต่งภายนอกซึ่งมีศูนย์กลางของธาตุรู้ที่เล็กกว่า เคลื่อนที่หมุนเข้าหาธาตุรู้ในใจ ซึ่งเป็นแหล่ง ของธาตุรู้ที่ใหญ่กว่าเสมอ ๔. ถ้าหากผู้ฝึกปฏิบัติฯไม่สามารถเห็นตามข้อ ๓ ได้ ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯใส่เจตนาด้วยการเคลื่อนความรู้สึกในอุปทานขันธ์ ที่ตัวเองติดอยู่ เช่น อาการปวดเข่า เป็นส่วนสุดโต่งภายนอกไปหาตัวรู้ที่ใจหรือสุดโต่งภายใน ความรู้สึกจากสองส่วน คือ เข่าที่เจ็บ และใจ ที่รับรู้การเจ็บเข่าจะหมุนวนเข้าหากัน เป็นรอบๆ ทวนเข็มนาฬิกา ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องจำได้ว่า ตัวใน คือตัวรู้ในใจ ตัวนอก เป็นสิ่งใด อาการเวทนาหรืออารมณ์ ที่เกิดจากการยึดติดในขันธ์ ๕ ๕. เมื่อความรู้สึกภายในใจ และสิ่งที่ติดอยู่หมุนวนกันเป็นรอบๆ และ หมุนทวนเข็มนาฬิกา เป็นการเคลื่อนที่ของ ความรู้สึกจากสุดโต่งภายนอกไปหาตัวรู้ในใจ ร่างกายรับรู้การเคลื่อนที่ของจิตที่มีการหมุนวนเช่นนี้ ให้ทำตัวอ่อนๆ ปล่อยร่างกายโยกตัวคล้อยตามแรงหมุน ช่วยให้การเคลื่อนที่ของสสารและพลังงานคล่องตัวดีขึ้น ๖. เมื่อทำไปนานๆ ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะเห็นว่า การเหวี่ยงหมุนเกิดเร็วและแรงขึ้น ไม่ต้องตกใจกลัว ปล่อยให้การหมุนเป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่มีที่สิ้นสุด ตราบเท่าทีเหตุปัจจัยยังคงมีอยู่ ขณะที่กำลังหมุน ผู้ฝึกปฏิบัติฯ จะรู้ตัวตลอดเวลาว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นรอบๆตัวบ้าง ที่สำคัญจะเห็นว่าทุกข์เกิดจากจิต เข้าไปหลงยึดติดในแรงกระทบและส่งผ่าน จนเกิดการปรุงแต่งของธาตุรู้ในใจ เกิดการหมุนวนสลับไป-มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย เมื่อการหมุนเหวี่ยงเร็วและแรงขึ้นจนสติเต็มรอบ ให้ปล่อยวางการหมุน จิตจะเข้าถึง “มรรค” ซึ่งผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ด้วยอุบายของ “การหมุนธรรมจักร” จะทำให้จิตของผู้ฝึกปฏิบัติฯ เหวี่ยงพ้นออกจากสภาวะการปรุงแต่ง หรือพ้นจากการยึดติดในขันธ์ ๕ ได้ใน ๒ ลักษณะ คือ ๑. จิตหลุดด้วยแรงเหวี่ยง คือการที่ผู้ฝึกปฏิบัติฯหมุนเร็ว และแรงมาก จนกระทั่งมีสติเต็มรอบ สะสมแรงเหวี่ยงได้มาก ทำให้จิตเหวี่ยงหลุดออกไปจากวงกลมของการหมุน ที่หมุนวนระหว่างอายตนะต่างๆกับใจ อาจทำให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ล้มหงายหลังลงไป และมีแสงสว่างที่ ไม่เคยเห็นมาก่อนเกิดขึ้น ซึ่งผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ๒. จิตหลุดพ้นด้วยการปล่อยวาง เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯ หมุนเหวี่ยงไปเรื่อยๆ จิตจะเกิดปัญญา ยอมรับความจริงว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น เพราะมีอารมณ์เข้ามาปรุงแต่งจิตทำให้ไม่เห็นการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลาย ไปตามกาละ จะยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ปล่อยวางอดีต ปัจจุบัน อนาคต ทุกสิ่งเกิดขึ้น เพราะมีปัจจัยหนุนเนื่องอยู่ ปล่อยวางอุปทานทุกอย่าง รวมทั้งอุบายของการหมุน จิตจะลอยขึ้นๆ ให้ละตัวดู จิตจะพลิกเข้าถึงซึ่งความพ้นทุกข์ เห็นมรรคเห็นทางเดิน คุณประโยชน์ ๑. การหมุนธรรมจักร เป็นอุบายเรืองปัญญาที่ช่วยให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ เข้าถึงมรรคได้เร็วมาก ๒. การหมุนธรรมจักร เป็นวิธีฝึกปฏิบัติฯ ที่ฝึกให้จิตไม่ติดอยู่ที่หนึ่งที่ใดที่เดียว เป็นการคลายเกลียวน็อต ทำให้กิเลสไม่รวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อน สามารถขับอนุสัยกิเลส โลภ โกรธ หลง อารมณ์และความคิด ในอดีตที่อยู่ลึกที่สุดออกมาได้เร็ว ๓. ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติฯ ได้หมุนธรรมจักรอย่างสม่ำเสมอ แม้จิตยังไม่เข้าถึง “มรรค” จะสามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมให้อยู่ในศีลธรรม ละเว้นและลดอบายมุขทั้งปวง ปล่อยวางสิ่งต่างๆที่เคยหลงยึดติดไว้ได้ จะเห็นโทษจากการที่จิตเข้าไปยึดติดในสิ่งต่างๆ และพยายามทำให้จิตเป็นอิสระ ให้ขันธ์ ๕ ยึดตัวเรา ได้น้อยที่สุด เปรียบเสมือนการลบรอยเท้าตนเอง เช่นเดียวกับการเจริญสติเกิด-ดับ หรือตั้งอยู่นั้นเอง ข้อแนะนำ ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติฯต้องการฝึกการหมุนธรรมจักร โดยการใส่เจตนาให้ร่างกายหมุนตามไปด้วยแรงๆ ตามจังหวะ การเคลื่อนที่ของจิต ควรบอกให้ผู้ใกล้ชิดทราบก่อนว่า กำลังจะทำสิ่งใด เพราะผู้ที่ดูคนอื่นหมุนธรรมจักร จะรู้สึกเวียนศีรษะ และ ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นจึงต้องหมุนติ้ว ติ้วๆ ทำให้เกิดการเข้าใจผิด และพูดต่อไป อย่างผิดๆได้ง่าย ๒.๒ ไหว นิ่ง ว่าง เป็นอุบายหรือวิธีฝึกปฏิบัติฯ เพื่อสลัดหรือเหวี่ยงสิ่งที่ยึดติดให้สลาย กลายเป็นความว่าง เป็นวิธีฝึกปฏิบัติฯที่ใช้มานาน และใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เป็นอีกรูปแบบหนี่งของ “การหมุน” ที่คล้ายคลึงกับการหมุนธรรมจักร มีจังหวะการทำงานของจิต ใน ๑ รอบวินาที ด้วยกัน ๓ ขั้นตอน ไหว คือ การเริ่มเคลื่อนที่ของจิต นิ่ง คือ ตัวปัญหา หรือ ตำแหน่ง ที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่นตำแหน่งเวทนาของขันธ์ ได้แก่ ความเจ็บปวด เมื่อย หนัก ชา มะเร็ง ปอดอักเสบ ฯลฯ และอารมณ์ของกิเลสตัณหา ว่าง คือ จังหวะที่จิตดันตัวนิ่งออกไปเป็นความว่าง วิธีฝึกปฏิบัติฯ ๑. ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ เลือกท่านั่งที่คิดว่าจะนั่งได้นานที่สุด หลับตาเบาๆปล่อยความรู้สึก นึก และคิด เป็นความว่างไปสักระยะหนึ่ง ๒. ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติฯมีความรู้สึก “ว่าง” ได้ ผู้ฝึกปฏิบัติฯ จะสัมผัสได้ว่าจิตจะถูกดึงไปยังตำแหน่ง ที่มีปัญหาทันที ให้จำไว้เพราะจะใช้ตำแหน่งนั้นเป็นตัว “นิ่ง” (หากมีปัญหาหลายตำแหน่ง ให้ใช้ตำแหน่งที่รับความรู้สึกได้มากที่สุดเป็น ตัว “นิ่ง”) ๓. เคลื่อนจิต (ความรู้สึก) ออกไปพร้อมกับคำว่า “ไหว” ฉะนั้นใช้ “ไหว” เข้าไปกำกับ การเคลื่อนที่ของจิตหรือ ใช้ “ไหว” เข้าไปกำกับขณะที่จิตกำลังเคลื่อนออกไป ๔. จิต “ไหว” ออกมาหาตัว “นิ่ง” พร้อมทั้งคำกำกับว่า “นิ่ง” และให้จิตนิ่ง อยู่ที่ตัวปัญหานั้น และ ๕. จิต (ความรู้สึก) ดันตัว “นิ่ง” ออกไปเป็นความว่าง พร้อมกับคำว่า ว่าง ๖. ฝึก ๓ จังหวะซ้ำ คือจิตเคลื่อนที่ออกพร้อมกับคำว่า ไหว และถึงจุดตำแหน่งที่มีปัญหาใช้ จิตจับ หรือ กุมไว้ พร้อมกับคำว่า นิ่ง แล้วนึกดันตัวนิ่งให้สลายออกไปพร้อมกับคำว่า ว่าง (โปรดสังเกตว่า ทั้ง ๓ จังหวะไม่เกี่ยวข้องกับจังหวะของลมหายใจแม้แต่สักนิด หากทำแล้วรู้สึกเหนื่อย แสดงว่าทำผิด) ๗. เมื่อฝึกปฏิบัติฯต่อเนื่องไปสักระยะหนึ่ง เกิดความคล่องตัว จังหวะลื่นไหลไม่ติดขัด จังหวะ ไหว นิ่ง ว่าง จะเคลื่อนที่เป็นวงกลม หรือรูปหยดน้ำ ใช้เวลา ๑ รอบ ประมาณ ๑ วินาที ๘. ตำแหน่ง “นิ่ง” จะถูกเหวี่ยงทิ้งออกไป หากทำได้สำเร็จ ความเจ็บปวด หรือกิเลสจะ จางคลายหรือ หายเป็นปลิดทิ้ง (อย่าเติมความอยากหายให้กับ “จิต”) ๙. เมื่อทำ ไหว นิ่ง ว่าง ที่กิเลสอารมณ์ และตำแหน่งเจ็บปวดแล้ว ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องตามมาแก้ไขที่ กายละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้หายขาด หายสนิท โดยให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ หลับตานอกลืมตาใน ส่งจิตเคลื่อนไป “นิ่ง” ที่ตำแหน่งเดิม นึกถึงความรู้สึกโลภ โกรธ หลง ทุกข์ ปวดเจ็บ ฯลฯ ที่เคยมีหรือยังมีเหลืออยู่ ให้มาถึงผนังตา ซึ่งจะรับภาพเป็นแสงสี (ถึงแม้ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะไม่เห็นแสงสีใดๆก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ให้เชื่อว่า สามารถส่งความรู้สึกไปยังผนังตาได้แล้วจริง) ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ นึกทำ ไหว นิ่ง ว่าง ที่ผนังตา ด้วยเทคนิค ๓ จังหวะ เหมือนอย่างที่เคยทำ จะสามารถถอนรากถอนโคนตัวทุกข์อย่างได้ผลจริง ๑๐. หากฝึกปฏิบัติฯ ได้อย่างสม่ำเสมอ ขุดทิ้งได้ทั้งกิเลสหยาบและละเอียด สามารถ ถอนราก ถอนโคน ถอนอนุสัย จนเบาบางหรือหมดไป เท่ากับเป็นการลบรอยเท้าตนเอง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีโอกาสเข้าถึงมรรคได้เช่นเดียวกับการเจริญสติ หรือ การหมุนธรรมจักร คุณประโยชน์ ไหว นิ่ง ว่าง สามารถเหวี่ยง สลัด กิเลสและการยึดติดที่ฝังรากลึกได้อย่างรวดเร็วและชะงัดที่สุด
  7. ๑. แรงดัน เป็นอุบายของการเข้าถึง “มรรค” ด้วยการเจริญสติ เพื่อให้เห็นความจริงว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา จุดมุ่งหมายของการเจริญสติ มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น - สามารถดับทุกข์ที่จุดเกิดเหตุได้เป็นปัจจุบันขณะ - เพื่อให้เห็นอาการเกิด-ดับ ของทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการกระทบ ระหว่างตัวรู้และสิ่งถูกรู้ ซึ่งนำไปสู่การยึดติดและมีตัวตน - เพื่อให้เห็นการกระทบเป็นปัจจุบันขณะ และอย่าเผลอไปติดตัวรู้และตัวว่าง เพราะจะยิ่งไปเพิ่มอำนาจให้แก่ใจมากขึ้นอีก - เพื่อให้จิตเคลื่อนที่เห็นอาการเกิด-ดับ ที่อายตนะทั้ง ๖ ทวาร เห็นว่าการเกิด-ดับ เกิดขึ้นสลับไป-มา เป็นสิ่งไม่เที่ยง ยึดมั่น ถือมั่น ไม่ได้ การเจริญสติเพื่อสะสมแรงดัน มีวิธีฝึกปฏิบัติฯ ด้วยกัน ๒ วิธี คือ ๑.๑ การเจริญสติ เพื่อให้เห็นอาการเกิด-ดับ เป็นปัจจุบันขณะ ของความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ซึ่งในปัจจุบันการฝึกปฏิบัติฯวิธีนี้งดใช้ชั่วคราว (อ่าน “แสงสว่างที่ปลายทางรอด”) และ เปลี่ยนเป็นการเจริญสติ เพื่อให้เห็นอาการเกิด-ดับเป็นปัจจุบันขณะของการตั้งอยู่ (ทุกขัง) ๑.๒ การเจริญสติ “ตั้งอยู่” เพื่อให้เห็นว่าอาการตั้งอยู่ของทุกข์ เกิดขึ้นเนื่องจากจิตไปรวมเป็นหนึ่งเดียว กับอายตนะ หรือตัวปวด ตัวเจ็บ ทำให้ไม่เห็นความเป็นปกติ เกิด-ดับ ของอาการตั้งอยู่ วิธีฝึกปฏิบัติฯ (ควรฝึกปฏิบัติฯได้ ๔๕ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง) ท่านั่งสำหรับการฝึกปฏิบัติฯ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคล หลักสำคัญของ การฝึก “ตั้งอยู่” คือ ไม่พลิกแปรเปลี่ยนท่าขณะกำลังฝึก ท่านั่งที่สุภาพ สวยงาม ถูกต้อง คือการนั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบ ตัวตั้งตรง มือขวาซ้อนบนมือซ้าย วางบนตัก หลับตาเบาๆ สร้างความรู้สึกว่า พร้อมแล้ว ที่จะลงมือฝึกปฏิบัติฯ ๑. ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ เตรียมความพร้อมให้กับ “จิต” ด้วยการปล่อยวางความรู้สึก นึก และ คิด ให้ไหลออกไป พร้อมกับลมหายใจออกเป็นความว่างไปสักระยะหนึ่ง ๒. ถ้าอาการของเวทนา (เจ็บ ปวด เมื่อย ชา หนัก ฯลฯ) มีมาก ความรู้สึก (จิต) จะวิ่งไปหาจุดหรือ ตำแหน่งที่เจ็บปวดทันที ถ้าร่างกายปกติไม่มีความเจ็บปวด หากแต่ทุกคนต้องมีความนึกซึ่งมีฐานอยู่ที่ “ใจ” หรือความคิดที่ติดอยู่ใน “สมอง” หรืออายตนะที่รับการกระทบ แต่ละคนต้องหาโจทย์ หาตำแหน่ง ภายในร่างกายเพื่อนำมาใช้ฝึกปฏิบัติฯ ๓. ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ นึกไปยังตำแหน่งที่หาไว้ได้แล้ว และส่งจิต คือความรู้สึก (ไม่ใช่ลมหายใจเข้า-ออก) ไปแตะ กระทบ หรือชนยังตำแหน่งนั้นเพียงตำแหน่งเดียว เมื่อส่งจิตไปถึงยังตำแหน่งที่ต้องการได้แล้ว ให้ใช้คำกำกับว่า “ตั้งอยู่” และถอนความรู้สึกออกมา ทำซ้ำวิธีเดิม ที่เดิม ด้วยจังหวะประมาณ ๑ วินาที ทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่ฟุ้งซ่านไปยังที่อื่น เรื่องอื่น ลองจินตนาการถึงการตีเทนนิสใส่ผนังกำแพง การใช้ค้อนตอกตะปู จังหวะที่ลูกเทนนิส ถูกตีออกไปกระทบกำแพงแล้ว ค้างไว้ จังหวะที่ค้อนตอกลงไป บนหัวตะปูแล้วค้างไว้ คือจังหวะที่จิตส่งไปถึงตำแหน่งที่มีปัญหาพร้อมกับคำว่า ตั้งอยู่ และจังหวะที่ลูกเทนนิส กระดอนออกมาหาผู้เล่นอีกครั้ง จังหวะที่ค้อนถูกยกพ้นออกมาจากหัวตะปู คือจังหวะที่ผู้ฝึก ผู้ป่วย ถอนจิต ถอนความรู้สึก ออกมาจากตำแหน่งที่มีปัญหา ๔. ไม่ใส่เจตนา หรือเครียด กับการฝึกปฏิบัติฯมากจนเกินไป ปล่อยความรู้สึกสบายๆ ๕. ผู้ฝึกปฏิบัติฯ อาจจะยังไม่ชำนาญ หรือลื่นไหลไปกับจังหวะที่มี ๒ จังหวะ คือ จังหวะส่งจิตเข้าไปถึง และ จังหวะถอนจิตออกมา จังหวะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เพลิดเพลินไปกับการฝึกปฏิบัติฯ เหมือนไม่ถูกบังคับ หรือจำใจทำ ในช่วงแรกๆอาจจะทำไปช้าๆ (ช้ากว่า ๑ วินาที) จิตตั้งมั่นอยู่กับตำแหน่ง และหน้าที่ ในการส่งจิตไปถึงตำแหน่งที่ต้องการอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายอาจจะโยกหรือส่ายเล็กน้อย ตามจังหวะ การเคลื่อนที่ของจิต ให้คล้อยตามอย่าเกร็งหรือต้าน ๖. หากส่งจิตไปถึงพร้อมกับคำว่า ตั้งอยู่ แล้ว แต่รู้สึกว่า การกระทบ การชน ไม่แรงพอ ให้เพิ่มตัวเลขเข้าไปอีก เป็นตั้งอยู่ ๑ ตั้งอยู่ ๒ ตั้งอยู่ ๓ … ตั้งอยู่ ๑๐๐ ๗. อาการทุกข์ “ตั้งอยู่” ของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน เหมือนการผูกเชือก อาจจะมีเทคนิคในการผูก เช่น ผูกหลวม ผูกแน่น ตามแรงและจุดมุ่งหมายที่มี หากทำได้สำเร็จ ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะสัมผัสได้ว่า อาการตั้งอยู่มีการตอบรับ คือมีแรงดีดกลับเป็นระลอกๆ โดยอัตโนมัติ นั่นหมายความว่า การเจริญสติเริ่มได้ผล ความรู้สึก ตึ๊บๆๆ ตึ๊บๆๆ ของแรงสืบต่อได้เกิดขึ้นแล้ว และไม่จำเป็นต้องกำหนด ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ อีกต่อไป คงมีแต่อาการ ตึ๊บๆๆ ตึ๊บๆๆ ที่ค่อยๆ เพิ่มความเร็วและแรง เป็นขั้นตอนของการเร่งสติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ ๗.๑ เกิดขึ้น ณ จุดที่กำหนดตั้งอยู่ เมื่ออาการ ตึ๊บๆๆ ตึ๊บๆๆ เร่งเร็วขึ้น และสะสมแรงใว้ได้มาก จนสามารถทำลายตัวทุกข์ที่รวมตัวเป็นก้อนให้ระเบิด วาบ ดันทิ้งออกไป ด้วย “แรงดัน” แสดงว่า ปมเชือกที่ผูกไว้ ถูกทำลายได้แล้ว ๑ ปม ๗.๒ ความรู้สึก ตึ๊บๆๆ ตึ๊บๆๆ เร่ง เร็วมากขึ้น และกระจายออกไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย มีสติเต็มรอบ แรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นทั่วตัว เหมือนกาน้ำเดือด ใจจะขาด ให้ปล่อยวางความกลัวตาย ปล่อยวางร่างกาย เกิดการระเบิดใหญ่ หรือ วาบใหญ่ สลายทุกข์ที่เคยมี หมดไปในพริบตา และ ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน หากผู้ฝึกปฏิบัติฯ ผ่านได้เพียง ๗.๑ ให้ ๘. ลองสำรวจให้ทั่วตัวดูว่า มี “ปม” ทั้งปมหยาบ และ ปมละเอียด ถูกผูกไว้ที่ใดบ้าง ให้แก้ไข ทีละปม ทีละตำแหน่ง จะทำได้สำเร็จมากน้อยขนาดไหน อาการวาบหรือดันระเบิดเป็นอย่างไร ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน สิ่งสำคัญคือ “อย่าเปลี่ยนท่าฝึกปฏิบัติฯ” ข้อ ๑-๘ เป็นวิธีฝึกปฏิบัติฯเพื่อแก้ไขในส่วนที่หยาบกว่า หรือกายหยาบ ผู้ฝึกปฏิบัติฯควรแก้ไข ส่วนที่เป็นกายละเอียด หรือ กายในกายอีกเปลาะหนึ่งด้วย ๙. ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย หลับตานอกลืมตาใน และส่งความรู้สึก (จิต) ไปยังตำแหน่งเดิม หรือที่ปมปัญหาเดิม และนึก ส่งความรู้สึกที่ได้ เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย ชา ฯลฯ ไปยังผนังตา ซึ่งผนังตาจะรับภาพเป็นแสงสี เช่น สีเทา ดำ นวลหรือ ขาว ฯลฯ ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย ใช้แสงสีที่ปรากฏ ที่ผนังตาเป็นตำแหน่งกำหนด ตั้งอยู่ๆๆ ไปจนกว่าสิ่งผิดปกติที่ผนังตาหาย หมดไป ผู้ฝึก ผู้ป่วย จะสัมผัสได้ว่าเวทนาที่มีได้ทุเลาลงไปมาก ในระหว่างฝึกปฏิบัติฯ ข้อ ๑-๙ หากมีเสมหะให้บ้วนทิ้ง ๑๐. การทำลายทุกข์ที่ “ตั้งอยู่” บางท่านอาจจะใช้เวลาเพียง ๔๕ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง บางท่านอาจจะเป็น ๑ วัน ๑ เดือน หรือ ๑ ปี หรือ หลายปี อย่าท้อหรือขี้เกียจ บอกตัวเองว่า “สิ่งนี้คือหน้าที่เพื่อตนเอง” อานิสงส์ของการฝึกปฏิบัติ ฯ “ตั้งอยู่ ” ๑. ในระดับปกติธรรมดา จะช่วยแก้ไขความบกพร่องทางกาย-จิต คือ ลดเจ็บลดปวด หรือลดกิเลสลงได้ ตามความเพียรที่หมั่นฝึกปฏิบัติฯ เห็นความจริงว่า ทุกข์ ตั้งอยู่ได้ไม่นาน ๒. ส่งผลให้บุคคลนั้นเข้าถึง “ทาง” หรือ “มรรค” หรือ “มีดวงตาเห็นธรรม” และใช้ “ทาง” ที่ได้นั้นเป็นประดุจอาวุธไปประหารกิเลสอื่นๆไปตามลำดับ จากหยาบไปหาละเอียด และผู้ที่เห็นธรรมเห็นได้ด้วย “ดวงตาของจิต” ไม่ใช่ตาเนื้อ
  8. ค่ะ แล้วแต่ดุลพินิจค่ะ
  9. วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง แนวทางหรือวิธีการฝึกจิตให้เกิดปัญญา เพื่อถึงซึ่ง “ทาง” พ้นทุกข์ ด้วยอุบายใด อุบายหนึ่ง ตามความถนัดของครู อาจารย์ผู้สอน โดยยึดหลักตาม กฎไตรลักษณ์ ๓ อย่าง ให้ผู้ฝึกจิตได้มีโอกาสเห็นความเป็นอนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง มีการ เกิด-ดับอยู่เป็นปัจจุบันขณะ หรือ ทุกขัง เห็นอาการของทุกข์ ที่ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ได้เพียงชั่วคราว หรือ อนัตตา เห็นการสลายของทุกข์ เป็นความว่างเพราะไม่มีตัวตนที่ถาวร เหตุเพราะจิตมนุษย์มีความไม่รู้ (อวิชชา) และมี อายตนะทั้งภายนอกและภายใน อยู่ ๖ ช่องทาง เป็นปัจจัยหนุนเนื่องอยู่ จึงเกิดความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ เพราะได้เข้าไปยึดแรงกระทบของแรงสืบต่อ (แรงสันตติ) ที่มีการส่งออกมาและสะท้อนกลับภายในเวลา ๑ วินาที เป็นแรงหรือพลังงานที่ไร้เจตนา ไม่ได้ใส่เจตนาในการส่งพลังงานมากระทบ สักแต่ว่าเป็นไปตามกระบวนการทำงานจากศูนย์กลาง ของวงกลมที่ใหญ่กว่าเท่านั้น เมื่อจิตมนุษย์เข้าไปยึดการกระทบ เกิดกิเลสสะสมเป็น โลภะ โทสะ โมหะ ฯลฯ จึงหมดโอกาสเห็น “ทาง” หรือ “มรรค” ซึ่งเป็นภาวะจิตเดิมของมนุษย์ทุกคน ในสมัยพุทธกาล ด้วยความเป็นสัพพัญญู พระพุทธองค์จะทรงรู้วาระจิตของแต่ละบุคคลที่ทรงไปโปรด ว่ายึดติดในสิ่งใดมากเป็นพิเศษ เช่น ติดในความสวยความงาม ติดในทรัพย์สมบัติติดในกาม ฯลฯ พระพุทธองค์จะทรงใช้วิธีเทศนากระทุ้งโปรด เพื่อคลายความยึดติด จนการยึดติดคลายลง จิตเกิดการปล่อยวางเข้าถึงมรรค เป็นการออกจากทุกข์ด้วยแรงเฉื่อย สำหรับช่วงเวลาที่คงเหลือไว้แต่พระธรรมคำสอน เช่น ในยุคนี้ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ได้ให้อุบายวิธีฝึกปฏิบัติฯ เพื่อเข้าสู่ “วิถีแห่งมรรค” ด้วยการใช้แรง ๓ แรง ได้แก่ แรงดัน แรงเหวี่ยง และ แรงความเป็นกลาง มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้แต่ละบุคคลได้เห็นธรรมชาติ ของแรงสืบต่อ หรือแรงสันตติก่อนเป็นลำดับแรก แล้วจึงสะสมแรง เร่งสติจนสติเต็มรอบไปตามลำดับ ฐานที่มาของการใช้แรงทั้ง ๓ แรง มนุษย์มีอวัยวะรับสัมผัส หรือ อายตนะ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่เป็นอายตนะภายนอก ตั้งอยู่ภายนอกร่างกาย และ ทำงานหนุนเนื่องตามเหตุตามปัจจัย มีด้วยกัน ๕ ช่องทาง (ทวาร) ได้แก่ ตาเห็นรูป หูรับเสียง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และ กายรับสัมผัส สำหรับอายตนะภายในมีเพียง ๑ ช่องทาง (ทวาร) คือ ใจ เพื่อรับรู้อารมณ์ เพราะเป็นแหล่ง ของธาตุรู้ที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ดังนั้น เมื่อจิตมนุษย์มีอวิชชา การยึดติดจึงเกิดขึ้นทั้ง ๒ ส่วน คือถ้าไม่ติดนอกที่อายตนะภายนอก ๕ ทวาร ก็จะต้องติดใน ที่ใจซึ่งเป็นอายตนะภายใน และโดยธรรมชาติของแรงดึงดูดระหว่างวงกลม ทำให้ธาตุรู้จากอายตนะวงกลมที่เล็กกว่า เคลื่อนที่เข้าหาธาตุรู้ของใจ ซึ่งเป็นศูนย์กลางวงกลม ที่ใหญ่กว่าเสมอ
  10. สวัสดีค่ะพี่ปุณณ์ ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยม ตัวเองก็อ่านหลายรอบ แต่ละครั้งก็จะค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ การคลายอารมณ์ ไม่ใช่คะยังไปไม่ถึงตรงนั้น เป็นขั้นตอนแรกเริ่ม เมื่อเราจะเริ่มปฏิบัติ ปกติคนเรามีขยะอารมณ์ ตัวนึก ตัวคิด มากมาย ฉะนั้นก่อนจะไปถึงการทำสมาธิ จึงควรปัด กวาด ขยะ (หยาบๆ) ออกไปก่อน เพื่อจะได้ทำสมาธิได้อย่างมีสมรรถนะดีขึ้น ลองทำตามดูนะคะ พักเงื่อนใขความรู้ต่างๆ ที่เคยรู้ เคยทำ ใว้ข้างๆก่อน แล้วทำตามวิธีนี้ดู เป็นเรื่องปกติค่ะ ตัวเองทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง ค่อยๆทำไป วิปัสสนาบ้าง วิปัสสนึกบ้าง
  11. ขอบคุณคะ คุณ MOR LEK ไหนๆ ก็หลวมตัวแวะเข้ามาอ่านแล้ว ใจเย็นๆ ช่วยติดตามต่อจนจบด้วยนะคะ หนังสือเล่มนี้ มุ่งเรื่อง วิธีปฏิบัติ ถ้าไงลองทำตามดูไหมละค่ะ
  12. สมถกรรมฐาน การฝึกจิตตามแนวทางของ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ในเบื้องต้นได้เพิ่มวิธีการ เตรียมความพร้อมให้กับจิต ด้วยวิธีการคลายอารมณ์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จากนั้นจึงนำจิตไปสู่การฝึก ปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ตามลำดับ สมถกรรมฐาน เป็นวิธีฝึกปฏิบัติฯเพื่อให้จิตเกิดความนิ่ง สงบ และสามารถนำจิตเข้าไปอยู่ ในศูนย์กลางของวงกลมได้ ทั้งใน ระดับตื้น และ ลึก ตั้งแต่เซลล์ชั้นนอก ชั้นกลาง และ จุดศูนย์กลางเซลล์ ตามลำดับ หรือ เป็นวิธีทำจิตให้นิ่งสงบเป็นหนึ่งเดียวกับฐานที่กำหนดได้ หรือ หมายถึงการนำจิตเข้าไปอยู่ในฐานที่มีธาตุรู้มากๆ โดยใช้วิธีบังคับ และปรับลมหายใจเข้าและลมหายใจออก จากลมหยาบให้เป็นลมละเอียด จิตจึงพลอยละเอียดตามไปด้วย เพราะจิตอาศัยอยู่กับลม และ เมื่อจิตนิ่งสงบที่ฐานธาตุหนักๆจะระบายออกทางผิวหนัง (รูขุมขน) ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ตราบจนปัจจุบันนี้ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ได้ชี้แจง กับลูกศิษย์และผู้สนใจเข้าฝึกปฏิบัติฯ รับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของพลังงานในโลกที่ส่งผล กระทบทำให้มนุษย์สืบลมหายใจเข้าได้ยาก ไม่ลึกถึงท้อง และ ลมหายใจหดสั้นขึ้นมาตามลำดับ จนมาอยู่ที่ระดับเพียงแค่คอในขณะนี้ ความผิดปกติของธรรมชาติเช่นนี้ ได้เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ร่วม ๑๐ ปี และทวีความรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นภาวะวิกฤตของพลังงานในปัจจุบันนี้ (อ่าน “ทางรอด” และ “แสงสว่างที่ปลาย ทางรอด”) จากภาวะที่มนุษย์สืบลมหายใจเข้าได้แค่คอ หรือ แค่จมูก ทำให้การฝึกปฏิบัติฯไม่สามารถเห็น ลมสั้นลมยาวได้จริง จึงทำให้การฝึกสมถกรรมฐานไม่เกิดผลจริงดังเช่นในอดีต แต่ผู้เขียนจะให้หลัก วิธีฝึกปฏิบัติฯการเป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์ หรือ ลมสงบ และ การเป็นหนึ่งเดียวกับใจ หรือใจสงบไว้ด้วย เพราะถ้าหากเมื่อใด ธรรมชาติปรับเปลี่ยนความสมดุลคืนกลับมา วิธีฝึกสมถกรรมฐานโดยการดูและ บังคับลมหายใจเข้า-ออก คงได้นำกลับมาฝึกปฏิบัติฯ กันอีกครั้ง พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ให้อุบายการฝึกสมถกรรมฐาน ไว้ ๓ วิธี ตามลำดับ ดังนี้ ๑. การฝึกจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์ หรือ ลมสงบ ๒. การฝึกจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกับใจ หรือ ใจสงบ ๓. เมื่อวิธีที่ ๑ และ ๒ ไม่สามารถฝึกปฏิบัติฯ และเกิดผลได้จริงเช่นในขณะนี้ จึงเปลี่ยน เป็น “การดึงธาตุว่าง” ๑. การฝึกจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์ หรือ ลมสงบ หลักการ เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติคลายอารมณ์ปล่อยความนึก คิด เจ็บปวด ออกไปสู่ความว่างได้พอสมควรแล้ว จะรู้สึกง่วงนอน เพราะความฟุ้งซ่านที่เป็นอาหารของจิตค่อยๆหมดไป ถ้าปล่อยให้เป็นอยู่เช่นนี้สักครู่เดียว จะรู้สึกง่วงนอนและ จะหลับทันที ฉะนั้นก่อนที่จะถึงการหลับ ต้องรีบนำ “จิต” ที่ได้ป้ดฝุ่นตะกอนขยะออกไปได้บ้างแล้ว นำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ ตามความต้องการของเจ้าของ ขั้นตอนลำดับนี้เรียกว่า “สมถกรรมฐาน” ตำแหน่งต่างๆของร่างกาย ใช้เป็นฐานของการฝึกได้ทุกจุดขึ้นอยู่กับครูอาจารย์ ผู้สอน แต่ละองค์ แต่ละท่านจะเลือกใช้ฐานใด วิธีฝึกปฏิบัติฯ ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯเริ่มขั้นตอนแรก คือการหาจุดกึ่งกลางของฐานอารมณ์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในโพรงจมูก การหาจุดนี้ทำได้ไม่ยาก ดังนี้ ๑. ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯหายใจออกมาจากจมูกให้สุดลม ทำหลายๆครั้ง จนสามารถจับความ รู้สึกได้ว่า เมื่อหายใจออกจนหมดแล้ว ลมที่ค่อยๆหดสั้นขึ้นมาในโพรงจมูกนั้น สัมผัสที่ตรงจุดใด ให้จำไว้ ๒. และจุดนี้ คือจุดที่เรามีอาการคัดจมูก เมื่อเวลาเราเป็นหวัด นั่นเอง ๓. ดูรูปภาพประกอบ เมื่อได้จุด “ฐานอารมณ์” ฐานที่ลมหายใจเข้า และลมหายใจออกไหลผ่านแล้ว ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯนำความรู้สึกหรือ จิตไปตั้งไว้บนฐานอารมณ์ ค่อยๆผ่อนลมหายใจ เข้า-ออก ให้เบาลงๆ ช้าลงๆ ตามลำดับ จนมีความรู้สึกว่า ลมหายใจเข้า-ออก หายเข้าไปรวมอยู่ที่จุดกึ่งกลางโพรงจมูก คล้ายกับไม่มีลมหายใจเข้า-ออกผ่านทาง รูจมูก ไม่ต้องตกใจกลัว เพราะลมหายใจหยาบๆ หมดไปกลายเป็นลมหายใจละเอียด สามารถระบายเข้า-ออกได้ ทุกรูขุมขน หากผู้ฝึกปฏิบัติฯสังเกตดูอารมณ์ของตนเองในขณะนั้น จะพบว่าความนึก – คิด (ความฟุ้งซาน) ได้คลายไปมาก จิตนิ่งสงบเป็นหนึ่งเดียวกับลมหายใจเข้า-ออก เมื่อลมสงบอารมณ์จะสงบตามไปด้วย ยิ่งสามารถบังคับให้จิตนิ่ง อยู่ที่ฐานได้นานเท่าใด ความสงบระงับจะยิ่งมีมากขึ้นๆตามลำดับ จนรู้สึกว่าจมูกได้ขยายใหญ่ขึ้นๆ และมีแสงสว่าง นวลๆปรากฏขึ้นในโพรงจมูก แสงสว่างแผ่ขยายกว้างออกไปๆ ตามกำลังของสมาธิ หรือความนิ่งสงบ ที่ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ทำได้ คุณประโยชน์ ๑. ความฟุ้งซ่าน ที่มีสาเหตุมาจากความนึก-ลมหายใจเข้า ความคิด-ลมหายใจออกจะค่อยๆ หมดไป ทำให้เกิด ความสงบ และ ความสุข ๒. แสงสว่างนวลๆที่เกิดขึ้นที่ฐานอารมณ์ ในโพรงจมูกแผ่ขยายไปได้ทั่วร่างกาย สามารถทำลายความเจ็บปวดของขันธ์ ๓. เกิดอารมณ์สงบ เพราะลมสงบ ซึ่งเป็นพื้นฐานของจิตที่จะยกระดับไปสู่การเรียน “วิปัสสนา” ในลำดับต่อไป ๒. การฝึกจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกับใจ หรือ ใจสงบ ผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถผ่านขั้นตอนของการทำให้ลมสงบ หรือ อารมณ์สงบได้แล้ว หากกำหนดจิตอยู่ในโพรงจมูกนานๆ จิตอาจเลื่อนไหลออกไปรับความฟุ้งซ่านได้ง่าย เพราะฐานอารมณ์อยู่ตื้นเป็นต้นทางของลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ผู้ฝึกปฏิบัติฯควรหาฐานที่อยู่ลึกเข้าไปอีก คือ “ฐานใจ” ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “หัวใจ” ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯเริ่มขั้นตอนใหม่ ตามลำดับ ๑. ค่อยๆ ดึงความสงบที่ได้จากฐานอารมณ์ลงมาที่หัวใจช้าๆ และ กดความรู้สึกนิ่งสงบลงไปทับที่หัวใจเบาๆ คือให้จิตนิ่ง อยู่ที่หัวใจเพียงที่เดียว (ถ้าดึงความรู้สึกลงมาเร็ว และ กดทับที่หัวใจแรงเกินไป จะทำให้รู้สึกอึดอัดและเจ็บที่หัวใจ) ๒. ค่อยๆ รีดลม ระบายลมออกจากหัวใจ ด้วยการหายใจออกยาวๆ และ สืบลมหายใจเข้าเพียงนิดเดียว พยายาม ปรับลมเช่นนี้ ไปเรื่อยๆ จนสามารถบังคับให้ลมนิ่งสงบ กระทั่งจิตและใจรวมเป็นหนึ่งเดียวกันเรียกว่า “ใจสงบ” ๓. เมื่อใจสงบนิ่ง จิตและใจรวมเป็นหนึ่งเดียว ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะรู้สึกได้ถึงความสงบ ปิติสุข และอุเบกขา (ความว่าง) ที่เกิดขึ้นมา ตามลำดับ สิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์ของ “ใจ” โดยมีใจเป็นผู้เสพอารมณ์ ยังมี “ผู้รู้” และ “สิ่งถูกรู้” เป็นของคู่กัน จึงเป็นเพียงโลกียธรรมไม่ใช่โลกุตรธรรม ข้อดี ๑. เกิดความสุขมาก เพราะสามารถรวมจิตกับใจเป็นหนึ่งเดียวได้แล้ว จนสามารถเข้าไปเจอตัว “สุข” เป็นแสงสว่าง บริสุทธิ์ สีออกนวลๆ ๒. เป็นการเตรียมจิตให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอุบายเรืองปัญญาเพื่อการพ้นทุกข์ หรือ การฝึกจิตให้มีพลังมากขึ้น เพื่อเป็นฐานของการใช้พลังจิตรักษาโรค และ สร้างภูมิต้านทานให้กับตนเอง ข้อเสีย ๑. ผู้ฝึกปฏิบัติฯจำนวนมาก เมื่อสามารถดิ่งเข้าไปสู่อารมณ์ของใจ ความสงบนิ่งมีมากขึ้นตามลำดับ ได้สัมผัสความสะอาด สว่าง สงบ และว่าง มักจะคิดว่าตนเองได้พบ “ธรรม” หรือ “มรรค” หรือ “ตถาตา” แล้ว ทำให้เข้าใจผิดและ พูดต่อไปอย่างผิดๆ เพราะสิ่งที่พวกเขาได้เข้าไปสัมผัสเป็นเพียงอารมณ์ของใจที่มีตัวรู้ ธาตุรู้ทำงานอยู่ และ ยังอยู่ในความเป็นของคู่ เช่น ถ้ามีความสะอาด ของคู่คือ ความสกปรก จะปรากฏขึ้น ถ้ามีความสว่าง ของคู่คือ ความมืด จะปรากฏขึ้น ถ้ามีความสงบ ของคู่คือ ความวุ่นวาย จะปรากฏขึ้น ถ้ามีความว่าง ของคู่คือ ความมีอยู่ จะปรากฏขึ้น ๒. การเรียนสมถกรรมฐาน คือการเรียนบังคับลมให้หยุดนิ่ง ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติของร่างกาย โดยเฉพาะการกำหนดฐานที่ฐานใจ(หัวใจ) เป็นการบังคับให้อากาศไหลเข้าสู่หัวใจและร่างกายน้อยที่สุด ถ้าปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาพขาดออกซิเจน วันละ หลายๆชั่วโมง และ ฝึกปฏิบัติฯติดต่อนานหลายๆปี จะทำให้ร่างกายอ่อนแอเป็นโรคหัวใจหรืออัมพาตได้ง่าย เนื่องจาก หัวใจไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ สำหรับทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายตามปกติ ๓. เมื่อผู้ปฏิบัติฯเข้าไปถึงตัว “สุข” จะพบแสงสว่างนวลๆใน หัวใจ และ ตัวแสงสว่างนี้สามารถทำให้เกิดภาพนิมิต หรือเป็นฉากสำหรับสร้างภาพ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ “หลงทาง” ได้ง่าย ๔. ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติฯ ติดความ “สุข” และ “อุเบกขา” (ว่าง) เปรียบเหมือนกับการเข้าไปอยู่ในห้องปรับอากาศ เย็นสบาย ไม่อยากออกมาสัมผัสกับความร้อน ความวุ่นวายภายนอกห้อง ปัญหาทั้งหลายที่มี ไม่ได้รับการแก้ไข เพราะจิตมีความเคยชินคิดแต่จะหลบเข้าไปหาความสงบสุขอยู่ร่ำไป กิเลสยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ไม่ลดน้อยลงแต่อย่างใด สรุป การเรียนสมถกรรมฐานมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังได้กล่าวมาแล้ว ถ้าผู้ปฏิบัติฯเรียนรู้ เข้าใจ และ สัมผัสในอารมณ์เหล่านั้นของใจได้แล้ว จะสามารถเลือกทางที่ควรก้าวเดินต่อไป โดยใช้พลังสมถะที่ได้ เป็นพื้นฐานสำคัญของการฝึกปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง และหากเมื่อใด อยากพักผ่อนหาความสุขใส่ตัวบ้างเป็นครั้งคราว ผู้ฝึกปฏิบัติฯสามารถไปถึงความสะอาด สว่าง สงบ และ ว่างได้ เพราะรู้ทางไปอย่างชัดเจนแล้ว ๓. การดึงธาตุว่าง สืบเนื่องจาก เมื่อมนุษย์หายใจได้ลึกเพียงแค่คอ การฝึกสมถกรรมฐานด้วยการปรับลมหายใจให้สั้นและยาว ไม่สามารถฝึกปฏิบัติฯ และเห็นผลได้จริงเหมือนดังในอดีต พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ จึงแนะนำวิธีการ ดึงธาตุว่าง หรือความว่าง จากบรรยากาศภายนอกรอบๆตัวเรา เพื่อช่วยทำความสะอาดให้กับ “จิต” ก่อนที่จะนำจิตไปใช้งาน หลักการ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เป็นสาเหตุของการสะสม ความนึก(อนาคต) และความคิด (อดีต) ซึ่งรวมเรียกว่า ความฟุ้งซ่าน หรืออารมณ์ซึ่งเป็นอาหารจานโปรดของ “จิต” ธาตุว่างจึง ถูกนำมาใช้เพื่อสลายอารมณ์ ความนึก ความคิด ให้ลดเบาบางลง หรือหมดไป ให้คืนความมีสมรรถนะให้แก่จิต จนสามารถรับงานมาทำ และนำไปสู่ ความนิ่งสงบได้ตามเป้าหมาย ธาตุว่างหรือความว่าง มีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศรอบๆตัวเรา เช่น ลานบ้าน สวน ไร่ นา ทะเล ภูเขา ฯลฯ แม้กระทั่งในห้องพักในบ้าน ต่างมีธาตุว่างแทรกอยู่ในทุกบรรยากาศของความมีอยู่ที่ปรากฏให้เห็นจับต้องได้เป็น รูปธรรม เพราะธาตุว่างเป็นลักษณะตรงกันข้ามของความมีอยู่ ฉะนั้น หากมีการปรากฏให้เห็นเป็นวัตถุ รูปร่าง ท้องฟ้า มหาสมุทร ฯลฯ หรือสิ่งใด ก็ตาม ความเป็นของคู่ของความมีอยู่ คือ ความว่าง หรือ ธาตุว่าง จะมีแทรกอยู่ในสิ่งเหล่านั้นเสมอ วิธีฝึกปฏิบัติ ๑. เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯ ปล่อยความรู้สึก นึก – คิด ออกไปพร้อมกับลมหายใจออก หรือนึกลมหายใจออกไป สักระยะหนึ่งแล้ว ให้เริ่ม ขั้นตอนใหม่ โดยนึกปล่อยความรู้สึก(จิต) ให้พ้นออกไปจากตนเอง สู่ธรรมชาติ หรือ บรรยากาศภายนอกที่เป็นความโล่ง โปร่ง สบายๆ ที่ตนเองเคยไปสัมผัส และยังอยู่ในความทรงจำ หรือ เป็นบรรยากาศ จริงๆในขณะที่ตนเองกำลังนั่งอยู่ ๒. นึกธาตุว่างมาลงที่จุดกึ่งกลางโพรงจมูก ซึ่งเป็นฐานรวม ของอารมณ์ ความนึก ความคิด นึกดึงเข้ามาเป็นจังหวะๆ ๓. จิตตั้งมั่นอยู่กับการเคลื่อนที่ ๒ จังหวะ คือ ระหว่าง ธาตุว่าง กับ จุดกึ่งกลางโพรงจมูก สะสมธาตุว่าง ไปสักระยะหนึ่ง จนกระทั่งความว่างมีจำนวนมากพอ สามารถผลักดัน อารมณ์ ความนึก ความคิด ที่มีอยู่ให้ เลื่อนไหลออกไป เป็นการปัด กวาด ขยะอารมณ์ ตะกอนของจิต ทำให้จิตมีความพร้อม และเลื่อนขั้นตอน ไปสู่การฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในลำดับต่อไป
  13. คุณMOR LEK ค้าาาาาาาาา ติดคำตอบไว้ก่อนนะคะ ขอต่อเนื้อหาก่อน ศัพท์ที่ควรรู้ (ต่อ) ๑๑. อวิชชา ๘ หลักสูตรบังคับของการศึกษาตามแนวทางของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ เรียกว่า อวิชชา ๘ แปลว่าความไม่รู้ ๘ อย่าง ผู้เข้ามาศึกษาจำต้องทำความไม่รู้ ๘ อย่างเหล่านั้น ให้กระจ่างไป ทีละอย่าง ตามลำดับ รางวัลที่ได้คือจำนวนกิเลสที่ลดน้อยลง และ ความมีคุณธรรมเพิ่มมากขึ้น จนท้ายที่สุดจะได้รับรางวัล เกียรติยศด้วยการคืนทั้งรูปและนามสู่ธรรมชาติ หมดโอกาสหวนกลับมาเวียนว่ายในสังสารวัฏอีกต่อไป อวิชชา ๘ ได้แก่ วิชากลุ่มแรกที่ต้องทำความกระจ่างให้ได้ก่อน คือ อริยสัจ ๔ ๑. การไม่รู้จัก ทุกข์ ๒. การไม่รู้จัก สมุทัย ๓. การไม่รู้จัก นิโรธ ๔. การไม่รู้จัก มรรค เมื่อบุคคลเข้าถึง “มรรค” ได้แล้ว จึงมีทั้งสิทธิ์ และ ความสามารถมากพอที่จะเข้าไปศึกษาต่อ ในระดับต่อไป คือ ๕. การรู้ อดีต ๖. การรู้ อนาคต ๗. การผูกโยง อดีต กับ อนาคต เข้าด้วยกัน ๘. การเห็นการวนรอบของปฏิจจสมุปบาท สิ่งที่เป็นอวิชชาทั้ง ๘ อย่าง จะกระจ่างได้ด้วยการลงมือฝึกปฏิบัติฯ หรือฝึกจิต ไม่ใช่สำเร็จได้ด้วย การอ่าน การท่อง และ ทำความเข้าใจ ๑๒. ปฏิจจสมุปบาท หมายถึงการวนรอบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่มีจุดสิ้นสุด ตามเหตุและปัจจัย ที่อาศัยเชื่อมโยงถึงกัน เนื่องมา จากเหตุ คือ จิตที่มีอวิชชา จิตที่มีความไม่รู้ หรือ มีอวิชชา เป็นปัจจัยเชื่อมโยงทำให้เกิดสิ่งต่างๆตามมา เรียกว่า สังขาร และเพราะจิต หลงยึดในสังขาร เป็นปัจจัยส่งต่อทำให้เกิดความรู้สึก หรือวิญญาณ และเพราะจิต หลงยึดในวิญญาณ จึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดความรู้ทั้ง นาม และรูป คือรู้ในสิ่งที่ละเอียดและหยาบ และเพราะจิต หลงยึดในนาม-รูป จึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดความรู้ทางประสาทสัมผัส หรืออายตนะ และเพราะจิต หลงยึดในอายตนะ จึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดการกระทบที่ประสาทสัมผัส เรียกว่า ผัสสะ และเพราะจิต หลงยึดในผัสสะ จึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดเวทนา คือความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉย และเพราะจิต หลงยึดในเวทนา จึงเป็นปัจจัยดึงจิต ให้เกิดแรงรัดในสิ่งๆต่างๆตามมา เรียกว่า ตัณหา เพราะจิต หลงยึดในตัณหา จึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดความมี ตัวตน หรืออุปทาน และเพราะจิต หลงยึดในอุปทาน จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตัวตน จากเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต เรียกว่า ภพ และเพราะจิต หลงยึดถือภพ จึงเป็นปัจจัยทำให้มีตัวตนเกิดขึ้น เรียกว่า ชาติ และเพราะจิต หลงยึดถือชาติ จึงเป็นปัจจัยต่อเนื่องทำให้เกิดสิ่งต่างๆตามมา เช่น ความทุกข์ ความโศก ความตาย ฯลฯ เพราะความไม่รู้ของจิตหรืออวิชชา และวนไปสู่สังขาร วิญญาณ นาม-รูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ อวิชชา ตามลำดับ อย่างไม่มีจุดสิ้นสุด หากเมื่อใดจิตมีปัญญา เห็นการเกิด-ดับ หรือความเป็นปกติ หรือแรงสืบต่อ ของการวนรอบอย่างชัดเจนว่า เป็นเรื่องของธรรมชาติ ตามเหตุ ตามปัจจัย ที่หนุนเนื่องกันอยู่ จิตไม่ยึดติด และปล่อยวางแรงสืบต่อ หรือแรงสันตติ เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง ดังบทสรุปที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป” การคลายอารมณ์ องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการฝึกปฏิบัติฯเพื่อแสวงหาธรรม หรือ เข้าถึงมรรค ถึงทาง คือ “ จิต ” จิตดวงนี้ เป็นจิตที่ไม่เป็นอิสระ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการครอบงำของขันธ์ ๕ มีจริตหรืออุปนิสัยคล้ายคลึงกับ นก หรือลิง คือมีความซุกซน ว่องไว ไม่หยุดนิ่ง แต่สามารถฝึกให้เชื่องและช้าลง จนสามารถนำมาใช้งาน ให้เป็นประโยชน์ได้ ฉะนั้นจึงต้องมีวิธีการ อุบาย หรือเทคนิคอย่างเป็นพิเศษ เพื่อให้ “จิต” มีความพร้อม และ นำไปใช้งานได้อย่างมีสมรรถนะ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการทำความสะอาดห้องพักที่ไม่มีคนอยู่มาอย่างยาวนาน สะสมความสกปรกไว้ทุกซอก ทุกมุม ทุก ตารางนิ้ว กระบวนการทำความสะอาดจึงถูกนำมาใช้แทบทุกวิธี ทั้งการ ปัด กวาด เช็ด ถู ซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะสามารถนำ เก้าอี้ ตู้ เตียง ฯลฯ อุปกรณ์ใช้สอยอื่นๆ เข้าไปจัดวาง ใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม กระบวนการเตรียมความพร้อมให้กับ “ จิต ” จึงเริ่มต้น จากการคลายอารมณ์ หลักการ การคลายอารมณ์ มีความหมายตรงตัวอยู่แล้ว หมายถึง การคลาย การปล่อยสิ่งที่ “จิต” เข้าไปยึด ให้จางคลาย เบาบางลงไปได้บ้าง โดยเฉพาะอารมณ์ของความนึก ความคิด และ อาการของเวทนาที่เกาะยึดอย่างบางเบา แน่นหนา น้อยหรือมาก แตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละบุคคล ฉะนั้นการรับมือหรือวิธีแก้ไข จะต้องปรับใช้ ให้สอดคล้องกับสภาพการยึดติด การหายใจของมนุษย์มีด้วยกัน ๒ จังหวะคือ การหายใจเข้า และ การหายใจออก ซึ่งสัมพันธ์เป็นอัตโนมัติกับ แรงดึงเข้า (แรงยืด) และแรงผลักออก (แรงหด) สิ่งที่ตามมาพร้อมกับ ๒ จังหวะนี้ คือ ความนึก และ ความคิด เป็นความฟุ้งซ่านของจิต เป็นตะกอนขยะของอารมณ์ ความนึก คือความเป็นอนาคต เกิดขึ้นได้เนื่องจากการมี ลมหายใจเข้า อารมณ์ความนึก จะถูกส่งไปเก็บสะสมไว้ที่ธนาคารข้อมูล ภายใน “ใจ” ความคิด คือความเป็นอดีต เกิดขึ้นได้เนื่องจากการมีลมหายใจออก อารมณ์ความคิด จะถูกส่งไปกักเก็บไว้ที่ธนาคาร “สมอง” เวทนา เป็นความรู้สึกที่ผูกยึด และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏเห็นชัดเจนเป็นรูปร่าง ความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉย จึงเป็นอารมณ์ที่คละเคล้าอยู่กับชีวิตประจำวัน สัมพันธ์กับ กฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เนื่องจากความยึดติดของจิตในอารมณ์หยาบๆ เบื้องต้นของ แต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันหลายระดับ อุบายของการคลายอารมณ์ จึงแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน อย่างเหมาะสม ได้แก่ ๑. นึกคลายอารมณ์ ความคิด ความนึก อดีต ปัจจุบัน อนาคต ฯลฯ ให้ไหลออกไปพร้อมกับการ นึกลมหายใจออก ๒. นึกจี้ไปยังฐานที่สมอง ใจ และ ตำแหน่งของเวทนา ๓. การกลั้นลมหายใจ คำว่า นึก ลมหายใจออก เป็นการใช้ จิต ทำงาน เป็นการนึก หรือ จินตนาการว่าเป็นจังหวะของการหายใจออก ซึ่งในบางครั้งจังหวะนั้น อาจไม่ใช่การหายใจออกเพื่อคายก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ออกจากปอด ในบางครั้งคุณนั่งทำงาน ที่บริษัท แต่คุณกลับนึกถึงของสำคัญที่ลืมหยิบมาด้วยเมื่อตอนเช้า ของชิ้นนั้นวางอยู่ที่ หัวเตียงด้านซ้ายมือ ใกล้กับโคมไฟ คุณสามารถนึกกลับไปที่บ้าน และหยิบของได้สำเร็จภายใน ๑ วินาที ฉะนั้น เมื่อใช้คำว่า “ นึก ” เมื่อใด ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเกิดขึ้นได้ทันที อย่างปราศจากเงื่อนไขใดใดทั้งสิ้น ตามความต้องการของเจ้าของ “จิต” วิธีการฝึกปฏิบัติฯ เริ่มต้นจากการหาท่าฝึกปฏิบัติฯ ที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล ตามวาระ โอกาส และสถานที่ ถ้าเป็นที่เฉพาะส่วนตัว และเป็นผู้ป่วย ท่านสามารถนั่ง หรือนอนฝึกปฏิบัติฯได้ตามความพร้อมของร่างกาย สำหรับท่าฝึกปฏิบัติฯที่เป็นปกติและสุภาพเรียบร้อย เป็นท่านั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย และ มือขวาทับมือซ้ายวางบนตัก ตัวตั้งตรงเพื่อสร้างสมดุลของร่างกาย(หรือนั่งพับเพียบ) ทอดสายตามองไปข้างหน้าประมาณ ๑ เมตร แล้วหลับตาลงเบาๆ ไม่บีบกล้ามเนื้อตา ผ่อนคลายร่างกาย ไม่เกร็งกล้ามเนื้อ และ ปล่อยวางความรู้สึก ทั้งความนึก ความคิด ความกังวล ความทุกข์ ความรัก ความชัง ความดี ความชั่ว บาป บุญ ฯลฯ รวมทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่เคยยึดติด ให้ไหลออกไปสู่ความว่างของธรรมชาติภายนอก พร้อมกับการนึกลมหายใจออก ค่อยๆ ทำเป็นจังหวะๆๆ การที่แนะนำให้นึกเฉพาะลมหายใจออก (ความคิด) เพียงอย่างเดียว เพื่อช่วยลดอารมณ์ ความนึก (ลมหายใจเข้า) ให้จางลง ทำให้ จิต ทำงานน้อยลงด้วย และ ในทางกายภาพการนึกลม หายใจออก เป็นการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป แต่ถ้านึกลมหายใจเข้า ร่างกายจะได้รับก๊าซออกซิเจน ซึ่งเป็นธาตุความเกิด จะกระตุ้นทำให้ตื่น หากความคิด ซึ่งมีฐานอยู่ที่ “สมอง” ความนึกมีฐานกักเก็บอยู่ที่ “ใจ” รวมทั้ง อาการเวทนาที่เกิดจากการนั่ง เช่น เหน็บชา หรือความเจ็บปวดจากโรคภัยที่กำลังคุกคามอยู่ มีมาก จนทำให้อารมณ์ยึดติดเหล่านั้น ไม่สามารถปล่อยคลายออกไปเป็นความว่างได้ด้วยการนึกลมหายใจออก ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องมีวิธีการที่เข้มขึ้น โดยการนึกลมหายใจเข้า แล้วนึกจี้ไปที่สมอง หรือใจ หรือจุดบกพร่องที่เจ็บปวด และนึกปล่อยอารมณ์ ความคิด ความนึก ความรู้สึกเจ็บปวดเหล่านั้น ให้ไหลออกไปพร้อมกับการนึกลมหายใจออก เป็นจังหวะๆๆ โดยไม่คาดหวัง หรือใส่เจตนา ตอกย้ำลงไปอีกว่า “ฉันต้องทำได้” หรือ “อารมณ์ต้องหมดไป” ฯลฯ ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างภาระหนัก เพิ่มให้กับ “จิต” โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ให้ฝึกปฏิบัติฯ จนการยึดจางคลายไปทีละอย่าง ไม่ใช่ฝึกปฏิบัติฯสลับกันไป มา หรือ ทำพร้อมกันทีเดียวทุกตำแหน่ง ถ้ายังไม่สามารถปล่อยคลาย ความยึดติดออกไปเป็นความว่างได้ ตามที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๒ วิธี ให้ใช้วิธีสุดท้าย ด้วยการกลั้นลมหายใจ โดยให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯนึกไปยังตำแหน่ง หรือ สิ่งที่ตนเองติดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความคิดในสมอง ความนึกในใจ และตำแหน่งของอาการเวทนา ฯลฯ เมื่อนึกไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้แล้ว ให้กลั้นลมหายใจ และนิ่งอยู่ที่ตำแหน่งนั้น นึกจี้ลงไปในสิ่งที่ตนเองยึดติดกลั้นลมหายใจไว้ให้นานพอสมควร เท่าที่ผู้ฝึกปฏิบัติฯสามารถทนได้ และนึกให้อารมณ์ติดค้างเหล่านั้นไหลออกมาพร้อมกับลมหายใจออก ทำเป็นจังหวะๆ สม่ำเสมอ ทีละจุด ทีละตำแหน่ง จนอารมณ์ค่อยจางคลายไป จึงค่อยเลื่อนความรู้สึกไปแก้ ที่ตำแหน่งอื่นๆ ต่อไปตามลำดับ คุณประโยชน์ ธรรมชาติของจิตนั้นจะรับอารมณ์ต่างๆที่มากระทบเสมอ การคลายอารมณ์ จึงเป็นการปล่อยความทุกข์ ความรู้สึกในใจ คลายความคิดที่ติดค้างในสมองออกไปให้หมด เพื่อไม่ให้จิตเสียพลังไปกับการยึดติดสิ่งต่างๆ ทำให้จิตอ่อนตัว และสงบเร็วขึ้น การคลายอารมณ์จึงเป็นวิธีการเร่งจิตให้สงบ ก่อนที่จะใช้จิตไปทำงานต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของ ผลพลอยได้ที่สำคัญคือ ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับ จะสามารถหลับได้ง่าย และ หลับได้สนิทมากขึ้น โดยก่อนนอน ให้นำความรู้สึกมาตั้งไว้ที่จมูก แล้วปล่อยคลายความนึกและความคิดออกไปเรื่อยๆ พร้อมกับการนึกลมหายใจออก เมื่อคลายความนึก ความคิด ออกไปหมดแล้ว จะสามารถหลับไปเองในที่สุด สำหรับผู้ที่ต้องการให้สมองมีความจำดี เพื่อเพิ่มสมรรถนะของการทำงาน หรือจำบทเรียนได้เร็ว วิธีการคลายอารมณ์ เปรียบเสมือนการลบหน่วยความจำที่ไม่ต้องการทิ้งไป อุปสรรค บางท่านคลายอารมณ์ไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจคำว่า “นึกลมหายใจเข้า” “นึกลมหายใจออก” และ “ปล่อย” คือทำอย่างไร ขออธิบายดังนี้ ลมหายใจเข้า เพื่อการนำก๊าซออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ และ ลมหายใจออก เพื่อการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจาก ร่างกาย ต้องมีลมผ่านเข้า-ออกทางจมูก แต่การ “นึกลมเข้า-ลมออก” เป็น เพียงการนึกหรือเป็นการสร้าง จินตนาการ เมื่อเป็นการ “นึก” ความรู้สึกของการนึกลมเข้าและลมออก จึงไม่จำเป็นต้องมีลมเข้า-ออก จริงๆ ผ่านทางจมูก เป็นแต่เพียงการปลดปล่อยความรู้สึกบางอย่างออกไปจากร่างกาย ในขณะที่ผู้ปฏิบัติฯ กำลังคลายอารมณ์อยู่ ความรู้สึกหรือจิตในขณะนั้นกำลังจดจ่ออยู่กับการปล่อยความนึกและความคิด รวมทั้งความเจ็บปวดที่มีออกไป พร้อมกับการนึกลมหายใจออกเป็นจังหวะๆ สม่ำเสมอ “ปล่อย” คือ การนำความรู้สึก ที่มีอยู่ในขณะนั้น ทิ้งออกไปจากสมอง และ หัวใจ หรืออวัยวะที่เจ็บปวด
  14. ศัพท์ที่ควรรู้ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สอนเรื่อง เหตุ และ ผล สามารถเข้าถึงได้ตามความพร้อมของแต่ละบุคคล ตั้งแต่เบื้องต้น (บริจาคทาน) เบื้องกลาง (รักษาศีล) และ เบื้องปลาย (การฝึก สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน) หนังสือ “วิถีแห่งมรรค” เล่มนี้ ผู้เขียนขอเน้นเฉพาะการปฏิบัติตนเบื้องปลาย ผู้สนใจฝึกปฏิบัติฯ จึงควรรู้ความหมายของศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต รวมทั้ง ศัพท์เฉพาะที่ใช้กับการฝึกจิต เช่น ๑. อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก เกิดจากการครอบงำของขันธ์ ๕ สมุทัย สาเหตุของการเกิดทุกข์ เพราะจิตหลงยึดมั่นใน ขันธ์ ๕ นิโรธ ความดับทุกข์ คือวิธีการที่ทำให้จิตไม่หลงยึดมั่นใน ขันธ์ ๕ โดยให้จิตรู้ เท่าทันการกระทบ เห็นการเกิดดับของขันธ์ ๕ เป็นปัจจุบันขณะ มรรค ทางพ้นทุกข์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเจริญวิปัสสนาจนสติเต็มรอบ ทำให้ จิตหลุดพ้นออกมาจาก การครอบงำของขันธ์ ๕ มีดวงตาเห็นธรรม(เห็นทางเดิน) ๒. ขันธ์ ๕ ที่ครอบงำทำให้มนุษย์ยึดติด ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และได้อธิบายไว้โดยละเอียดแล้วใน “บทนำ” ๓. อายตนะ หมายถึง เครื่องรู้ เครื่องสืบต่อ หรือ ประสาทสัมผัส แบ่งออกเป็นอายตนะ ภายนอก และภายใน อายตนะภายนอกมี ๕ อย่าง ได้แก่ ตา ที่เห็นรูป หู เครื่อง รับเสียง จมูก สำหรับรับกลิ่น ลิ้น เพื่อรู้รสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ฯลฯ และ กาย รับสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อายตนะภายในมี ๑ อย่าง ได้แก่ ใจ เพื่อรับรู้อารมณ์ เป็นแหล่งธาตุรู้ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย หลักการทำงาน เมื่อ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ถูกส่งไป กระทบหรือชน กับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทำให้ธาตุรู้ในนิวเคลียส ของอวัยวะ หรือ ประสาทสัมผัสเหล่านั้นเกิดการสั่นสะเทือน ส่งคลื่นไปยังแหล่งของธาตุรู้ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย คือ “ใจ” และ ใจ จะทำ หน้าที่เป็นเครื่องแปลงสัญญาณ ให้ความหมายของการกระทบ เหล่านั้น เช่น นายมั่นเห็นรถยนต์สีแดงยี่ห้อโตโยต้า หากเมื่อมีแสงมากระทบที่ตา และ นายมั่นดับได้ทันที่ตาเป็นปัจจุบันขณะ นายมั่นจะสัมผัสได้เพียงว่า มีแสงมากระทบที่ตาเท่านั้น แต่ ถ้านายมั่นเห็นเป็นรูปรถยนต์ และ รู้จักทั้งสีและยี่ห้อ นั่น หมายความว่าการกระทบครั้งนั้น ไม่สามารถดับได้เป็นปัจจุบันขณะ ปล่อยให้ธาตุรู้ในใจได้ทำงาน และ กักเก็บเป็นอารมณ์ รัก ชอบ โกรธ เกลียด ฯลฯ ไว้เรียบร้อยแล้ว ๔. เหตุและปัจจัย ศัพท์ทั้งสองคำ มีความหมายคล้ายคลึงกัน แปลว่า เหตุ หนทาง หรือ ช่องทาง ทั้งเหตุ และ ปัจจัยเป็นสิ่งที่ต้อง อาศัยเชื่อมโยง หนุนเนื่องซึ่งกันและกัน ถ้าขาดอย่างหนึ่งอย่างใด การกระทบก็ไม่สมบูรณ์ เปรียบได้กับการตบมือข้างเดียวไม่ดัง ตัวอย่างเช่น เหตุเพราะหูไม่หนวก จึงได้ยินเสียง หูเป็นเหตุ และ เสียงเป็นปัจจัย แต่ถ้าหากหูหนวกเสียแล้ว ถึงแม้เสียงจะยังมีอยู่ การได้ยินก็ไม่เกิดขึ้น ๕. แรงสันตติ หรือ ตัวสันตติ เป็นแรงสืบต่อ มีศัพท์เรียกอย่างอื่น อีก เช่น ตัวปกติ ตัวเกิด-ดับ หรือตัวปัจจุบันขณะ เป็นแรง หรือ พลังงานที่ส่งออกมาจากศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาดใหญ่กว่า ไปยังวงกลมที่เล็กกว่าในจักรวาลนี้ไปตามลำดับ โลกและมนุษย์ต่างได้รับแรงสืบต่อ หรือตัวปัจจุบันขณะ ที่มีการเกิด-ดับ ตามวาระที่พลังงานถูกส่งออก และ ดึงกลับเข้าสู่ศูนย์กลาง ด้วยความเร็ว ประมาณ ๑ วินาที ต่อครั้ง แรงสันตติ เป็นพลังงานที่ไม่มีแรงดึงดูด เพราะเป็นแรงที่ไร้เจตนา ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องเห็นแรงสืบต่อนี้ก่อนว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วจึงสะสมแรงและเร่งสติให้มีความเร็วมากกว่า ๑ วินาที จนสติเต็มรอบ เข้าถึงมรรค ดำรงองค์มรรค และ เห็นธรรมชาติของแรงสันตติ หรือแรงสืบต่อ ตามการวนรอบของปฏิจจสมุปบาท และ ท้ายที่สุด ต้องละแรงสืบต่อนี้จึงจะเข้าสู่การหลุดพ้นอย่างสมบูรณ์ ๖. มรรค หรือ ทาง ยังมีคำเรียกอย่างอื่นได้อีก แต่ให้ความหมายอย่างเดียวกัน เช่น ตถตา ตถาตา จิตอิสระ จิตหลุดพ้น และ ดวงตาเห็นธรรม ซึ่งทั้งหมดเป็นสภาวะที่บุคคลสามารถพลิก หรือ หงาย หรือ ดัน หรือ เหวี่ยง สิ่งที่ครอบอยู่ให้กระเด็น หลุดออกไป ซึ่งในที่นี้ หมายถึงการที่ จิต สามารถหลุดพ้นเป็นอิสระออกไปจากการครอบงำของขันธ์ ๕ ที่มี ใจเป็นหัวหน้า และ ได้พบ “ทาง” ที่เป็นเช่นนั้นเอง ไร้การปรุงแต่ง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ความ สะอาด สว่าง สงบ ว่าง หรือบริสุทธิ์ ไม่มีโลภ โกรธ หลง ไม่อยู่ ภายใต้กฎแห่งธรรมชาติ หรือ สมมุติบัญญัติใดๆทั้งสิ้น เป็นสิ่งเหนือ สมมุติ เป็นวิมุตติ เป็นความหลุดพ้นที่ไม่มีอวิชชา มรรค กับ อริยมรรค ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ๗. อริยมรรค มีความหมายว่า “ทางเดินของพระอริยะ” มีด้วยกัน ถึง ๘ อย่าง เป็นสิ่งประเสริฐ เพื่อช่วยเหลือประคองให้ “ทาง” หรือ “มรรค” ที่เคยได้ สามารถดำรงสภาวะอยู่ได้ ไม่เพลี่ยงพล้ำ ก้าวพลาดจนสุดโต่งไปข้างหนึ่งข้างใดเสียก่อน จนกว่าจะไปถึง เส้นชัย เรียกกระบวนการดำรงทางนี้ว่า “การดำรงองค์มรรค” ผู้เขียนขอนำความรู้จากหนังสือ “เราจะทำดวงตาให้ เห็นธรรมได้อย่างไร” หน้า ๒๙-๓๐ เขียนโดย รตนญาโณ ภิกขุ หรือ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ซึ่งท่านได้เขียนไว้ตั้งแต่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นข้อเขียนที่ให้ความกระจ่างอย่างชัดเจน ถึงความหมายของอริยมรรค สิ่งสำคัญ ๘ อย่าง เพื่อใช้ประคอง “ทาง” สำหรับผู้ที่เคยเข้าถึง “มรรค” ดังนี้ การดำเนินทางเพื่อที่จะให้ทางเปิดโล่ง ควรดำเนินดังนี้ี้ ๗.๑ ความเห็น (สัมมาทิฐิ) ไม่มีความแตกต่างระหว่าง ผู้เห็นและสิ่งที่ถูกเห็น สภาวะทางก็เปิดโล่ง ความเห็นเป็นแค่กิริยาอาการของสิ่งนั้น เป็นกระบวนการเห็น ถ้าใส่เจตนา ถึงจะเห็นเป็นเรื่องราว ถ้าไม่ใส่เจตนา จะหมุนวนอยู่ข้างล่าง ๗.๒ ความคิด (สัมมาสังกัปปะ) ไม่มีความแตกต่างระหว่าง ผู้คิดกับสิ่งที่ถูกคิด สภาวะทางก็เปิดโล่ง ความคิดเป็นเพียงอาการของสัญญาในสมองเท่านั้น ถ้าใส่เจตนา ความคิดจะเป็นเรื่องราว ถ้าไม่ใส่เจตนา จะหมุนวนอยู่ข้างล่าง ๗.๓ การพูด (สัมมาวาจา) ไม่มีความแตกต่างระหว่าง ผู้พูดและสิ่งที่ถูกพูด สภาวะทางก็เปิดโล่ง กระบวนการพูดเป็นเพียงแต่ กิริยาอาการของเสียง ถ้าใส่เจตนา ก็จะพูดเป็นเรื่องเป็นราว ถ้าไม่ใส่เจตนา จะหมุนวนอยู่ข้างล่าง ๗.๔ การงาน (สัมมากัมมันตะ) ไม่มีความแตกต่างระหว่าง ผู้ทำและสิ่งที่ถูกกระทำ กระบวนการที่ทำงานเป็นแต่อาการกิริยาเท่านั้น ถ้าใส่เจตนางานนั้นจะมีผลออกมาตามที่เราต้องการ ถ้าไม่ใส่เจตนา ก็จะเป็นอาการของงานทำ ซ้ำไปซ้ำมา ๗.๕ อาชีพ (สัมมาอาชีวะ) อาชีพนั้นไม่ไปทำลายสมมุติ และ บัญญัติของผู้อื่นและตนเอง ๗.๖ ความเพียร (สัมมาวายามะ) การไม่พยายามไปสุดโต่ง ในการกระทำต่างๆ ตั้งจุดประสงค์ไว้แล้ว ดำเนินไปตามแนวทางจนบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ไม่มีผู้รับและปฏิเสธ จากการกระทำนั้น ๗.๗ ความระลึก (สัมมาสติ) ไม่มีความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่ล่วงมาแล้วกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ความนึกก็จะหมุนเป็นเรื่องราว ซ้ำไปซ้ำมา ๗.๘ ความตั้งใจ (สัมมาสมาธิ) การใช้ใจทำงาน ควรใช้เป็นบางครั้ง เมื่อหมดเหตุที่จะต้องทำแล้ว ก็ปล่อยให้ใจเป็นอิสระ อย่าเอาจิตยึดติดในอารมณ์ของใจนั้นๆ เมื่อบุคคลดำเนินทาง ๘ อย่างนี้ในชีวิตประจำวันได้ ทางนั้นจะโล่งเตียนทุกวินาที ที่เกี่ยวข้องกับโลก ทางนี้จะเป็นทางสายกลาง อยู่ตลอดเวลา หมดกิจที่จะต้องทำเกี่ยวกับทางเดิน ถึงความหลุดพ้น โดยสมบูรณ์ (“เราจะทำดวงตาให้เห็นธรรมได้อย่างไร” โดย รตนญาโณ ภิกขุ) ๘. สติสัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อม หรือระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา เป็นการทำงานของ ขันธ์ ๕ คือ วิญญาณ ซึ่งเป็นธาตุรู้ ในใจ (ตัวรู้) ๙. สติเต็มรอบ หมายถึง ภาวะของจิตที่ได้ฝึกปฏิบัติฯและสะสม “แรง” ไว้จนมีพลังมากพอที่จะพลิก ดัน เหวี่ยงจิตให้พ้นจากแรงรัด ยางเหนียวของธาตุรู้ในใจ ขันธ์ ๕ ที่ครอบอยู่ หรือภาวะของจิตที่ สะสม “แรง” ได้มาก มีความพร้อมที่จะพุ่งพ้นออกไปจากศูนย์กลาง ของวงกลม (ควอนตัม- Quantum) ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะไปถึง “ทาง” หรือ “มรรค” ได้ ต้องผ่านขั้นตอนของการมีสติเต็มรอบก่อน ๑๐. สติเว้นรอบ เป็นภาวะจิตของอริยบุคคล ที่อยู่กับมรรค เป็น วิมุติ พ้นไปจากการกระทบ การกระทุ้งของขันธ์ ๕ ที่พยายามส่งแรงกระทบไปชนกับภาวะวิมุติ เพื่อดึงจิตที่เป็นมรรคให้ลงมาร่วมกับ ขันธ์ ๕ แต่การส่งแรงกระทบนั้น ทำไม่สำเร็จ ความนึก คิด จึงถูกตัดขาด เกิดญาณทัสนะเป็นความรู้ที่ไม่ต้องใช้ใจและสมอง ใช้แรงสืบต่อ หรือ แรงสันตติ สาวหาความต่อเนื่อง ของแต่ละเรื่องๆ เป็นสายๆ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ยังไม่จบ ศัพท์ที่ควรรู้ ค่อยมาต่อนะคะ
  15. ไม่ใช่ จิต เฉยๆนะคะ หมายถึงว่า ภาวะนี้ มีคนเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น จิตหลุดพ้น ฯลฯ เหมือนในที่นี้เรียกเฮียว่า MOR LEK แต่ที่ทำงานหรือ ที่บ้าน หรือคนในบ้านก็เรียกเฮียไม่เหมือนกันสรรพนามต่างกันออกไป แต่ก็รู้ว่าเรียกเฮียใช่เปล่า ตกลง งง ยิ่งกว่าเดิมหรือเปล่า
×
×
  • สร้างใหม่...