ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

จูกัดเหลี่ยง

ขาอ่อน
  • จำนวนเนื้อหา

    13
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

คะแนนนิยม

30 ดีมาก

เกี่ยวกับ จูกัดเหลี่ยง

  • คะแนนนิยม
    น้องใหม่

Profile Information

  • เพศ
    ชาย
  • ที่อยู่
    กรุงเทพมหานคร
  1. ประจำวันที่ 27 ม.ค. 54 ก่อนอื่นต้องขออภัยครับ เมื่อวานไม่มีเวลาได้แตะคอมฯ เลย สรุป : กลับมีมุมมองในเชิงบวกหลังผ่านแนวต้านแรก โดยราคาน่าจะขึ้นทดสอบแนวต้านหลัก US$1,350 ซึ่งรอบนี้คาดว่าผ่านได้ และขึ้นไปเคลื่อนไหวแถว US$1,365 อีกครั้ง เหตุผลสนับสนุน - ราคาไม่สามารถลงต่ำกว่าแนวรับหลัก US$1,320 จัวหวะ Rebound แถวแนวรับมีแรงซื้อกลับสูงกว่าค่าเฉลี่ย - ราคาสามารถผ่านแนวต้านแรก US$1,340 - RSI สามารถผ่านขึ้นเหนือ trend line ของตัวเอง แนวต้าน 1,350, 1,365 แนวรับ 1,335, 1,320
  2. ประจำวันที่ 25 ม.ค. 54 (ขอเดาด้วยคน ^^) สรุป : ราคาน่าจะ Rebound กรอบแคบ ๆ ระหว่าง 1,335-1,340 หลังจากลงมาทดสอบแนวรับที่ให้ไว้เมื่อวันก่อน 1,330 หลังจาก Rebound ขึ้นในกรอบแคบ น่าจะมีการลงพักฐานอีกครั้งใกล้ 1,320-1,330 ซึ่งเป็นฐานเดิมแล้วน่าจะรับอยู่ แต่ต้องรอลุ้นขึ้นทดสอบแนวต้านขาลงอีกครั้งว่าสามารถผ่านได้หรือไม่ เหตุผลสนับสนุน : - กราฟรายสี่ชั่วโมงเครื่องมือ Oscillator ใกล้เขตขายมากไป - ราคายังยืนอยู่ในกรอบแนวโน้มขาลงหลังไม่สามารถผ่านแนวต้านหลัก - Oscillator รายวันลงได้อีกเล็กน้อย (RSI 33.5) จุดเปลี่ยน : ถ้าราคากลับขึ้นเหนือ 1,360 จะสามารถ break downtrend หมายเหตุ : เงินบาทระยะสั้นยังอยู่ในกรอบของการปรับอ่อนค่า
  3. ขออภัยนะครับ ตอบช้ามาก ในเรื่องข้อตกลงระหว่างจีน กับ สหรัฐ ขอนำเสนอตามความเห็นส่วนตัวนะครับ เหตุผลดังนี้ครับ 1. ประเทศจีนกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอต่อการเติบโต จะเห็นได้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจีนได้พัฒนาระบบขนส่งอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนนในส่วนกลางของประเทศที่ยังไม่เจริญเท่ากับฝั่งตะวันออก การสร้างสนามบินในหลายเมือง การพัฒนาระบบขนส่งแบบราง ฯลฯ ซึ่งการจัดซื้อเครื่องบินเองก็น่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโครงสร้าง 2. เพื่อลดแรงกดดันของสหรัฐในเรื่องการขาดดุลการค้า เนื่องจากสหรัฐขาดดุลการค้าจีนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากเหตุผลหลัก 2 ประการคือต้นทุนด้านแรงงานในจีนถือว่าต่ำกว่าสหรัฐมากดั้งนั้นจีนจึงเป็นฐานการผลิตสำคัญ แม้กระทั้งบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐยังเปิดโรงงานในจีน (อย่าง Apple) เมื่อผลิตสินค้าเสร็จก็ส่งเข้าสหรัฐทำให้สหรัฐขาดดุลการค้าอย่างมาก อีกประการสำคัญคือค่าเงินหยวนที่อ่อนค่ากว่าความเป็นจริงและถูกต่อต้านจากสหรัฐอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา การทำข้อตกลงที่จะนำเข้าสินค้าจากสหรัฐหลายชนิดในมูลค่าประมาณ 4.5 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐจะเป็นการลดส่วนต่างทางการค้าและเพื่อปิดปากสหรัฐด้วยเช่นกัน 3. จีนมีเงินสำรองระหว่างประเทศเยอะมากครับ จากการที่ได้ดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง นั้นส่งผลให้จีนต้องมีการสำรองเงินตราอื่น ๆ ในการใช้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเยอะมากเช่นกัน ซึ่งจากเหตุการณ์ Subprime ที่เกิดขึ้นทำให้จีนเองก็ตระหนักดีว่าการสำรองเงินตราเป็นดอลล่าร์เริ่มไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร ดังนั้นการดำเนินการในการปรับพอร์ตเงินทุนสำรองเลยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จะเห็นว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจีนเดินหน้าซื้อเหมือง บ่อน้ำมัน (ผ่านทางบริษัทที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลจีน) รวมถึงซื้อทองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการซื้อสินค้าที่สามารถใช้เพื่อการพัฒนาในระยะยาวก็อาจจะเป็นวิธีในการบริหารจัดการเงินทุนสำรองอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้ 4. เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการเจรจาอื่น ๆ ที่ (อาจจะมองไม่เห็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงว่าต่อรองอะไรกับสหรัฐบ้างในการซื้อครั้งนี้) ผลกระทบต่อราคาทองคำ : อาจจะไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงครับ แต่ถ้าดูจากผลกระทบตามที่คาดการณ์กัน (สหรัฐจะขาดดุลการค้าน้อยลง มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 235,000 อัตรา) ส่วนนี้น่าจะทำให้ในระยะ 3-6 เดือน ความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐปรับดีขึ้น แต่ก็เชื่อว่าน่าจะกระทบไม่เยอะครับ
  4. ขออภัยนะครับ จริงมีเรื่อง Update เยอะมาก แต่มีเวลาเข้ามาอธิบายค่อนข้างน้อย ก็ขออนุญาติที่จะค่อย ๆ เล่าละกันนะครับ วันนี้ขอพูดเรื่องจีนกันหน่อยครับ หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วส่งผลต่อตลาดการลงทุนรวมถึงราคาทองได้รับผลจากความกังวลว่าจีนอาจจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยหลังเศรษฐกิจเติบโตในระดับสูง และเจอแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ จากการเติบโตของเงินเฟ้อในช่วงปี 2010 ที่ออกมาสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางจีนที่ระดับ 3% โดยค่าเฉลี่ยทั้งปีของอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 3.3% จะเห็นว่าธนาคารกลางจีนมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในช่วงท้ายของปีในเดือน ตุลาคมและธันวาคม เนื่องจากเงินเฟ้อเริ่มเร่งตัวในช่วงครึ่งหลังของปี นอกจากนี้จีนยังชะลอเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มเพดานสำรองธนาคารอีก 7 ครั้ง เพื่อที่จะชะลอการขยายตัวของปริมาณเงินในระบบ (M2)โดยทั้งปี 2011 จีนตั้งเป้าปริมาณเงินในระบบของจีนในการปรับขึ้นไว้ 16% ซึ่งแน่นอนว่าการกำหนดกรอบในรูปแบบนี้จะทำให้มีความเป็นไปถึงมาตรการอื่น แนวทางในอนาคต : โดยส่วนตัวเชื่อว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีนคงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับนี้จะเลี่ยงแรงกดดันจากเงินเฟ้อได้ยาก ยิ่งการกำหนดกรอบการเพิ่มของปริมาณเงินด้วยแล้วยิ่งเป็นการทำให้ในระดับของการปฎิบัติจำเป็นต้องมี action เมื่อมีการเร่งตัว เนื่องจากนโยบายเหล่านี้จะไม่ส่งผลทันทีแต่จะมีผลหลังจากออกนโยบายระยะหนึ่ง ดังนั้นถ้าจะควบคุมเงินเฟ้อหรือปริมาณเงินอาจจะต้องมีการออกนโยบายล่วงหน้าเพื่อชะลอไว้ก่อน ทำให้คาดว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีน่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง ขณะในช่วง 6 เดือนแรกน่าจะมีการปรับประมาณ 2 ครั้ง (ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ) นัยสำคัญ : เป็นการแสดงให้เห็นว่าจีนมีการเปลี่ยนท่าทีจากการใช้นโยบายแบบผ่อนคลายเป็นแบบระมัดระวังมากขึ้น และจะมีต่อเนื่องไปเพื่อลดลงแรงกดดันจากเงินเฟ้อในระบบลง ผลกระทบต่อราคาทองคำ : เลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการกระทบราคาทองคำเป็นระยะเนื่องจากการชะลอเศรษฐกิจนั้นเป็นการส่งผลต่อสภาพคล่องที่ส่งเสริมราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง
  5. ประจำวันที่ 21 ม.ค. 54 สรุป : ราคาหลุดผ่านกรอบสามเหลี่ยมล่าง 1,365 ทำให้กรอบแนวโน้มราคายังอยู่ในขาลง ช่วงสั้น Rebound ในกรอบแคบ ใกล้ 1,350-1,352 ก่อนปรับตัวลงอีกครั้ง กรอบล่าง 1,330 จุดเปลี่ยนสำคัญ ถ้าราคาสามารถขึ้นเหนือ 1,365 ราคาจะกลับสู่ขาขึ้นย่อย และเบรคเทรนขาลง เหตุผลสนันสนุน : - กราฟรายสี่ชั่วโมง RSI ยืนต่ำกว่าระดับ 30 จังหวะที่ราคาลงจุดต่ำสุด 1,343 มีแรงซื้อกลับค่อนข้างหนาแน่น - ราคาหลุดแนวรับหลัก 1,365 และหลุดฐานเก่า 1,352 จึงทำให้น่าจะลงไปทดสอบฐานถัดไป 1,330 แนวต้าน 1,353, 1,365 แนวรับ 1,340, 1,330
  6. ประจำวันที่ 20 ม.ค. 54 สรุป : กรอบแนวโน้มยังไม่ต่างจากเมื่อวานครับแนวโน้มยังเป็นเชิงบวกราคาเป้าหมาย 1,385 แต่รอผ่าน 1,375 อีกครั้งจะเป็นการ Confirm ขาขึ้นย่อย โดยน่าจะทะลุผ่าน 1,375 ได้ในกรอบวัน จุดเปลี่ยนสำคัญถ้าลงต่ำกว่า 1,365 อาจจะลงไปย้ำฐานแถว 1,355 อีกครั้ง เหตุผลสนับสนุน : - เมื่อวานราคาขึ้นตามกรอบแนวต้านแต่ทำขาขึ้นเหนือกรอบแนวโน้มขาลงแถวระดับ 1,379 (เหนือแนวต้านที่ 1,378) - การย่อตัวลงหลังจากทดสอบแนวต้าน volum ไม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทำให้ไม่น่าลงต่ำกว่าแนวต้านแรกที่ระดับ 1,365 แนวต้าน : 1,375, 1,385 แนวรับ : 1,365, 1,355
  7. โดยส่วนตัวคิดว่าในกรอบ 3-6 เดือน ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ครับ หลังจากนั้นต้องคงต้องดูลมฟ้าอากาศอีกที เหตุผลสนับสนุน - ในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้าประเทศสำคัญมีประสบปัญหาหนี้ในกลุ่มยูโรโซน จะต้องมีการ Refinance ในวงเงินที่มากพอสมควร - ผลกระทบของ QE2 ที่จะไปสิ้นสุดประมาณเดือน 6 (สิ้นไตรมาส 2) - อัตราเร่งของเงินเฟ้อในช่วงต้นปี สำหรับการลงทุนทองแท่ง กลยุทธ์การซื้อแล้วถือยาว ผมว่ายังไม่เหมาะตอนนี้ครับ เนื่องจากราคาทองไม่ได้ปรับตัวขึ้นตามพื้นฐานที่สมเหตุสมผล ถ้าทองคำที่มีอยู่สะสมมาในช่วงต้นทุนต่ำ ๆ อาจจะทยอยรับรู้กำไรบางส่วน ส่วนการลงทุนใหม่เน้นการเล่นในกรอบสั้น ๆ เนื่องจากผมมองว่า "ในช่วงที่ผ่านมาราคาใช้เวลาปรับตัวขึ้น 3-4 ปี แต่ตอนลงอาจจะใช้เวลาเพียง 3-4 เดือน" ปล. ในการลงทุนสิ่งสำคัญที่มักถูกมองข้ามคือการกำหนดนโยบายในการลงทุน อย่างการประมาณการณ์กำไรที่ต้องการ หรือจุดขาดทุนที่รับได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ถึงเรียกได้ว่าเป็นนักลงทุนมืออาชีพ ^^ ขอให้โชคดีนะครับ
  8. ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ

    แต่ยังไงก็ยินดีนะครับ แนะนำกันบ้างนะครับ

  9. ยินดีรู้จักคะจะติดตามผลงานของท่านจูกัดเหลียงปราชญ์ผู้เลื่องลือเชี่ยวชาญกลยุท

    ธข้าน้อยขอน้อมคารวะ

  10. ติดตามความคืบหน้าการประชุม EU ประเด็นการเพิ่มวงเงินการปล่อยกู้ของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) หรือ European Financial Stability Facility ซึ่งเป็นกองทุนที่ปล่อยกู้ให้กับประเทศสมาชิกในยูโรโซนเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน สรุปผลการประชุม : ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด โดยวงเงินที่จะใช้ในการปล่องกู้ยังคงเดิมที่ระดับ 2.5 แสนล้านยูโร (ระดับความสามารถในการปล่อยกู้ที่แท้จริง 4.4 แสนล้านยูโร)เนื่องจากประเทศสมาชิกยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มวงเงินเนื่องจากการประมูลพันธบัตรครั้งล่าสุดของโปรตุเกส และสเปนเป็นไปด้วยดี ผลกระทบ : ระยะสั้น : ทำให้การคาดการณ์ปัญหาหนี้สินยุโรปยังอยู่ในเชิงลบเพราะระดับการปล่อยกู้ในปัจจุบันคาดว่าจะไม่เพียงพอถ้าโปรตุเกสและสเปนมีการเข้าขอกู้เงิน และจะส่งผลให้ค่าพรีเมียมของพันธบัตรเพิ่มขึ้นอีกครั้ง (ส่งผลดีต่อราคาทองคำ) การติดตาม : คาดว่าผลที่แน่นอนน่าจะนำไปคุยในการประชุม EU ในช่วงวันที่ 25-26 มีนาคมนี้
  11. อันข้าน้อยคิดว่า กำลังข้าศึกครานี้มิอาจดูเบา อันกำลังของเราที่มีก็มิอาจที่จักมีชัยอย่างเบ็ดเสร็จได้ พิชัยสงครามกล่าวไว้ เมื่อมิอาจจะมีชัยเหนือข้าศึกได้ ก็จงทำให้ข้าศึกมิอาจรุกกลับได้ กลศึกครานี้จึงเน้นรุกรับสลับไป ทำกำไรใกล้แนวต้าน แล้วถอยร่นมาเก็บอีกครั้งแถวแนวรับ รอจนสามารถหักด่านสำคัญ (แนวต้านหลัก) จึงจักรวบรวมกำลังเข้าทำโรมรันให้มีชัยต่อไป ^^ ปล.ยินดีครับ ถ้าความรู้อันน้อยนิดของผมจะมีประโยชน์กับผู้อื่นบ้างก็ยินดีครับ
  12. ขอบคุณขาใหญ่ทุกท่านครับ ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี มีคำแนะนำดี ๆ เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ ความแตกต่างทำให้เราเกิดปัญญา (แต่เราไม่แตกแยกนะครับ ^^)
  13. มุมมองทางเทคนิค 19-1-54 สรุปความเห็น : ระยะสั้นราคารอผ่าน 1,374 เพื่อทดสอบแนวต้านสำคัญที่ 1,378 ซึ่งแนวนี้น่าจะมีโอกาสขึ้นทดสอบ แต่ถ้าทดสอบไม่ผ่านทำกำไรกันก่อนครับ โดยเฉพาะ GF แต่ถ้าผ่าน 1,378 เห็นกันแนวต้านถัดไป 1,385 ซึ่งเป็นเป้าหมายครับ เหตุผลสนับสนุน : - รูปแบบกราฟทำ Double bottom - MACD เริ่มมีการกลับตัว - ราคาผ่านแนวต้านแรกและยืนเหนือ Downtrend ย่อย แนวต้าน : 1,378, 1,385 แนวรับ : 1,365, 1,355
  14. มุมมองทองปี 2554 สวัสดีครับสมาชิก Thaigold ทุกท่าน อาจจะไม่คุ้นชื่อกันเท่าไหรนะครับ เนื่องจากเป็นสมาชิกใหม่ เห็นพี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ ใน Thaigold แบ่งปันความรู้ และมุมมอง เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ แล้วก็อยากที่จะร่วมแชร์บ้าง เลยขออนุญาติที่จะร่วมแสดงความคิดผ่านกระทู้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ หวังว่ารุ่นพี่ทุกท่านจะไม่รังเกียจนะครับ สำหรับเรื่องการวิเคราะห์ราคาทองคำ โดยส่วนตัวนั้นสนใจทั้ง 2 ศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านพื้นฐาน และปัจจัยทางด้านเทคนิค จึงจะขอนำเสนอทั้งสองรูปแบบ ถ้าสมาชิกท่านใดมีความเห็นแตกต่างหรือเพิ่มเติมส่วนที่ตก ๆ ขาด ๆ รบกวนที่จะปรับปรุง แก้ไขให้ครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง ในกระทู้แรกอยากจะเล่าความกว้าง ๆ ด้วยภูมิปัญญาอันน้อยนิด ถึงทิศทางราคาทองคำในช่วงปี 2554 จากปัจจัยทางพื้นฐาน ซึ่งหลายท่านอาจจะเคยชินกับการลงทุนในกรอบสั้น ๆ จนขาดเวลาที่จะถอยกลับมามองภาพใหญ่และอาจจะทำให้พลาดช่วงตอนสำคัญไปได้ โดยส่วนตัวมุมมองราคาทองคำในกรอบปีนี้จะยังสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักลงทุน รวมถึงสร้างความท้าทายแก่บรรดากรูรูในการคาดเดาราคาทองอย่างแน่นอน แต่ส่วนตัวยังเชื่อว่าในกรอบ 3-6 เดือนราคายังคงอยู่ในกรอบแนวโน้มขาขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งมีแนวความคิดที่สนับสนุนดังนี้ครับ 1. การปรับเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน (สภาพคล่องในระบบ) ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐ ทำให้เกิดการผ่อนคลายเชิงนโยบายทั้งการเงินและการคลังอย่างมหาศาล โดยเฉพาะการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อมูลค่าของสกุลเงิน และแนวความคิดในการเสริมสภาพคล่องยังคงไม่หมดไป ในช่วงปีที่ผ่านมาทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่า QE2 (Quantitative easing Package 2) เป็นการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อที่จะลดระดับของอัตราผลตอบแทน ที่ใช้เป็นอัตราผลตอบแทนอ้างอิงในตลาดในลงต่ำลงมา ในวงเงินกว่า 6 แสนล้านดอลล่าร์ โดยเป็นการทยอยซื้อในช่วงเวลาประมาณ 6-8 เดือน สิ้นสุดเดือน 6 ปี 2554 ซึ่งก่อนหน้านั้นธนาคารกลางสหรัฐได้ดำเนินการเข้าซื้อใน QE1 แล้วกว่า 1.7 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ และยังมีการพูดกันถึง QE3 ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปียังคงไม่เป็นที่น่าพอใจ ทำให้แนวโน้มของปริมาณดอลล่าร์ในระบบยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะผลต่อราคาทองคำอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยการอ่อนค่าลงของดอลล่าร์จะทำให้ราคาทองคำที่กำหนดเป็นสกุลเงินดอลล่าร์ปรับเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณเองก็ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์โดยร่วมเช่นกัน 2. แนวโน้มเพิ่มเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากราคาสินค้าเกษตรและราคาพลังงานเป็นสำคัญ โดยราคาน้ำมันในตลาดโลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาขยับเพิ่มขึ้นจากราคาเปิดในปี 2552 ประมาณ 43 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับปัจจุบันประมาณ 90 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล และยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคต แม้อัตราการใช้น้ำมันจะชะลอลงจากกำลังการใช้ของประเทศในฝั่งตะวันตกอย่างสหรัฐ และยุโรปเนื่องจากกำลังเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ในฝั่งตะวันออกกลับเติบโตอย่างรวมเร็ว โดยเฉพาะจีน อินเดีย และรัสเซีย ที่ระดับรายได้ของชนชั้นกลางมีการปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นย่อมส่งผลให้มีการบริโภคเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และส่งผลต่อความต้องการในการใช้พลังงาน ขณะอัตราการผลิตยังมีแนวโน้มคงที่แม้หลายประเทศจะเริ่มมีการส่งออกน้ำมันเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่ส่วนที่น่ากังวลจริง ๆ น่าจะมาจากเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากราคาสินค้าเกษตร หลังจากเกิดภาวะโลกร้อนทำให้ความถี่ในการเกิดภัยธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร และส่งให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ความต้องการอาหารเองก็ปรับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจากความต้องการของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างจีนและอินเดีย ทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาอาหารเป็นอีกประเด็นที่น่าจับตา แต่คำถามคือเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแล้วเกี่ยวกับทองคำอย่างไร ซึ่งมุมนี้อยากให้มองเป็น 2 ประเด็นครับ อย่างแรกถ้าเราใช้วิธีทางสถิติย้อนหลังไป 30-40 ปี จะเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อโดยรวมกับราคาทองคำมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ประกอบกับความเชื่อของนักลงทุนในตลาดที่คิดว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ จึงทำให้เวลาที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก็จะทำให้นักลงทุนสะสมทองคำเพิ่มเติมและส่งผลต่อราคาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ประเด็นที่สองเมื่อเวลาเราพูดถึงเงิน เราก็จะนึกถึงธนบัตร เงินดอลล่าร์ เงินบาท เงินยูโร ซึ่งวิธีในการคิดอัตราเงินเฟ้ออย่างง่ายคือดูที่ตัว CPI Index หรือดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นการนำเอาการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าในตลาดมาเทียบกับปีฐานและคิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเปอร์เซ็นและถ่วงน้ำหนักสินค้าแต่ละหมวด หมายความว่าอำนาจซื้อของเงินลดลงถ้าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นนั้นเอง ดังนั้นเมื่อแนวโน้มอำนาจซื้อของเงินมีความเป็นไปได้ที่จะลดลงในอนาคต นักลงทุนอาจจะเปลี่ยนการถือครองสกุลเงินไปเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าด้วยตัวของมันเองอย่างทองคำ และส่งผลต่อราคาเช่นกัน 3. ความต้องการทองคำในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งในประเด็นนี้ก็ต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเช่นกัน อย่างแรกในภาคธนาคารกลางเริ่มมีการกลับมาสะสมทองคำเพิ่มขึ้น โดยถ้าเรามองย้อนหลังไป 10-20 ปีก่อนหน้าจะเห็นว่าภาคธนาคารกลางมีการขายทองคำออกอย่างต่อเนื่อง ขณะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านกลับมีการลดลงของการขายทองออกอย่างเห็นได้ชัด โดยมีหลายประเทศที่กลับมีการสะสมเพิ่มอย่างเห็นได้ชัด อย่างจีน อินเดีย รัสเซีย ศรีลังกา เป็นต้น ซึ่งก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีเงินทุนสำรองเพิ่มขึ้น การรักษาระดับความสมดุลของเงินทุนสำรองถือเป็นเรื่องที่จำเป็น เนื่องจากถ้าเราย้อนมองไปในช่วงเกิดวิกฤติสหรัฐ ดอลล่าร์ปรับอ่อนค่าลงอย่างมากดังนั้นประเทศที่มีการสำรองเป็นสกุลเงินดอลล่าร์สูง ๆ จะได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าอย่างมาก ดังนั้นแนวความคิดในการปรับพอร์ตเงินสำรองจึงเป็นที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลาย ประเด็นที่สอง การเพิ่มขึ้นของราคาทองคำในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนที่สูงมาก โดยเมื่อเทียบราคาเปิดในช่วงต้นปี 2550 ที่ระดับ 636 ดอลล่าร์ต่อออนซ์ กับราคาปัจจุบันแถว 1,360 ดอลล่าร์ต่อออนซ์ หรือ 114% ในช่วงเวลาเพียง 4 ปี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีผู้สนใจเข้ามาลงทุนในทองคำเพิ่มขึ้น โดยเงินที่ไหลเข้ามาสู่ตลาดทองคำยิ่งส่งผลให้ราคาทองคำเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยสัดส่วนความต้องการทองคำเพื่อการลงทุนในตลาดโลกในช่วงปี 2550 อยู่ที่ประมาณ 20% เมื่อเทียบกับความต้องการใช้ทองคำทั้งหมด แต่กลับเพิ่มขึ้นมาในช่วงปี 2552 อยู่ที่ประมาณ 40% สะท้อนให้เห็นได้ชัดความพฤติกรรรมของผู้ลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงไป และปัจจัยสุดท้ายมาจากความต้องการทองคำจากการใช้จริงทั้งในด้านของการใช้เป็นเครื่องประดับ ซึ่งการเพิ่มขึ้นมาจากกลุ่มประเทศเกิดใหม่อย่างจีนและอินเดียเป็นสำคัญ เนื่องจากชนชั้นกลางมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประกอบกับวัฒนธรรมของสองประเทศนี้มีความผูกผันกับทองคำเป็นอย่างมาก ส่งผลให้การซื้อทองคำเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับและของขวัญจะเพิ่มขึ้นส่วนนี้ นอกจากนั้นการกลับมาของอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคที่ชะลอตัวในช่วงวิกฤติจะทำให้การใช้ทองคำที่เป็นส่วนประกอบของพวก semi-conductor มีเพิ่มมากขึ้น 4. ความเสี่ยงในตลาดการลงทุน โดยเฉพาะประเด็นปัญหาหนี้ในยุโรปที่เชื่อว่าจะยังคงสร้างแรงกดดันต่อตลาดการลงทุน และสกุลเงินยูโรต่อเนื่องไป เนื่องจากปัญญานี้ค่อนข้างลึกอยู่ทีเดียว เนื่องจากเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง การใช้เวลาในการแก้ไขอาจจะกินเวลานาน 2-3 ปี ประกอบกับประเทศในกลุ่มยูโรโซนนั้นขาดเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาโดยตรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่เวลาที่ประเทศประสบปัญหาหนี้ภาครัฐ วิธีที่ง่ายที่สุดในการแก้ปัญหาคือการลดค่าเงินตัวเองลง แต่ 16 ประเทศในกลุ่มยูโรโซนไม่สามารถทำได้ เนื่องจากใช้สกุลเงินร่วมกัน ทำให้ไม่สามารถกำหนดนโยบายทางการเงินเองได้ ประกอบกับหลายประเทศอย่างกรีซและโปรตุเกส รวมถึงไอร์แลนด์ยังคงมีระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับต่ำ แต่ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มได้อย่างเต็มที่เนื่องจากต้องตัดลดรายจ่ายเพื่อควบคุมระดับหนี้ ในประเด็นนี้เองอาจจะทำให้เศรษฐกิจมีปัญหาอย่างหนักและกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ในที่สุด ทำให้โดยรวมแล้วแนวโน้มของราคาทองคำในระยะสั้นยังคงได้รับผลดีจากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมา
×
×
  • สร้างใหม่...