ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

thidarat

ขาประจำ
  • จำนวนเนื้อหา

    62
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

คะแนนนิยม

0 ปานกลาง

เกี่ยวกับ thidarat

  • คะแนนนิยม
    ขาประจำ

Profile Information

  • เพศ
    ชาย
  1. โรคหัวใจเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในคนทุกช่วงวัย แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย อาการของโรคหัวใจ มักมีสัญญาณเตือนเช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก แต่ก็มีบางคนที่มีอาการคล้าย ๆ กันเช่น กดเจ็บบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกซี่โครงใกล้ ๆ ทรวงอก แต่เมื่อเข้ารับการตรวจแล้วพบว่านั่นไม่ใช่อาการของโรคหัว แล้วอาการเจ็บหน้าอกแบบไหน ที่เข้าข่ายว่าใช่อาการของโรคหัวใจล่ะ วันนี้เรานำข้อมูลความรู้จากทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธนมาฝาก เพื่อให้ได้ทราบว่าอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ที่เป็นอยู่จะเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ เป็นโรคอะไรกันแน่ รีบเช็ก!ด่วน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบเฉียบพลันเป็นระยะเวลานานกว่า 20-30 นาทีถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีไขมันสะสมเพิ่มพูนขึ้นภายในผนังหลอดเลือดเกิดการอุดตันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติเฉียบพลัน ภาวะดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์อย่างทันที เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก เป็นอาการที่เกิดจากการเจ็บปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่การเจ็บปวดตรงส่วนด้านหลังของทรวงอก อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่งของอาการทั้งหมดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ - เจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน และเป็นระยะเวลานาน - มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก - เจ็บหน้าอก และรู้สึกปวดร้าวไปถึงบริเวณหัวไหล่ - เจ็บหน้าอกหากทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก - มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบ เดินใกล้ ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต้องระวังอาจจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) จะมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกนำมาก่อน แต่โดยส่วนมากจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง มีอาการคลื่นไส้อยากอาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลมและเหงื่อออกผิดปกติ หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเกินกว่า 20 -30 นาที ถือว่าอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิธีตรวจให้รู้ว่าอาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพผู้ตรวจและของบุคคลภายในครอบครัว พร้อมกับตรวจร่างกายโดยละเอียดซึ่งจะช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นได้ รวมไปถึงแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ดังนี้ - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ - การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ - การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก - การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่ เจ็บหน้าอกแน่นหน้าอกแค่ไหนต้องรักษาด้วยบอลลูนหัวใจ ในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก โดยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น หายใจไม่ค่อยออก มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ รวมทั้งมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจเร็วโดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบเดินใกล้ ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น รวมทั้งได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้วพบว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือ มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งการรักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ด้วยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ทั้งนี้การทำบอลลูนหัวใจแพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สามารถเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคปอดบวม โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือ เกิดจากภาวะความเครียด กังวล เป็นต้น ทางที่ดีที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าว เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และทันท่วงที สำหรับท่านมีอาการเตือนเช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก มีความกังวลใจเกี่ยวกับโรคหัวใจต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : www.nakornthon.com/article/detail/เจ็บหน้าอก-แน่นหน้าอก-อาการเริ่มปัญหาของหัวใจ
  2. ปัจจุบันมีโรคร้ายแรงเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้เพียงไม่กี่วินาทีหนึ่งในนั้นคือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน โดยเฉพาะผู้ที่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด และมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ ตัน บางคนมีอาจมีอาการแขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด อาจกำลังสงสัยว่าใช่อาการเส้นเลือดในสมองตีบแตกหรืออุดตัน หรือไม่? เพื่อคลายความสงสัยไปฟังคำตอบจากทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธนได้เลยค่ะ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดและออกซิเจนที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke) 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? - มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า - มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย - พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด - มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น - มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ - มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว - มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน - มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น - เพศ ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าหญิง - เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ - โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ - รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด - โรคอ้วน และภาวะนอนกรน - การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด - ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน - การซักประวัติอาการของผู้ป่วย - การตรวจร่างกายเบื้องต้น - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ - การตรวจด้วยเครื่องมือเฉพาะทางรังสีวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain), การฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง (Cerebral Angiogram), การตรวจหลอดเลือดแดงที่คอ (Carotid Doppler Ultrasound) การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้ 1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่ - การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง - การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้ - รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก - ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง - ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ - กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ - หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ หากคุณหรือคนใกล้ชิดอาการแขนขาอ่อนแรง มีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุ อย่าวางใจ รีบไปโรงพยาบาล หรือพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมทั้งแพทย์ชำนาญการ บุคลากรทางการแพทย์สหสาขา พร้อมดูแลให้คำปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถติดต่อสอบถามได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย
  3. อาการปวดหลังเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย อาการปวดหลังมีหลายระดับความรุนแรง เช่น เริ่มจากแค่ปวดหลังธรรมดาจากการใช้ชีวิตประจำวัน ทานยาแก้ปวดอาการปวดก็ทุเลาลงได้ บางคนมีอาการปวดหลังรุนแรงร่วมกับแขน-ขา ชา หรือไม่มีแรง และบางคนมีอาการปวดหลังเรื้อรัง เป็นมานานรักษาไม่หายเสียที แบบนี้นับว่าอันตรายเพราะ อาจนำไปสู่โรคกระดูกสันหลังได้ วันนี้เรานำข้อมูลความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธนมาฝากเกี่ยวกับอาการปวดหลังเรื้อรัง อันตราย อย่ามองข้าม อาการปวดแบบไหน ควรรีบพบแพทย์ด่วน มาฝากกันค่ะ อาการปวดหลังเรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป และพบได้บ่อยมากขึ้น ทั้งจากพฤติกรรมการยืน นั่ง นอน อาชีพการทำงาน โดยคนส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากอาการปวดหลังบ้าง ซึ่งลักษณะการปวดหลังเรื้อรังนั้นสามารถเป็นได้ตั้งแต่การปวดแบบธรรมดาแต่ไม่รุนแรง ไปจนถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน แต่ก็มีหลายคนที่อาการปวดหลังเรื้อรังมีความรุนแรง กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ หรือมีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาการชาตามมา อาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ หากปล่อยไว้นานอาจถึงขั้นเคลื่อนไหวไม่ได้ ระบบการขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจและรักษาโดยทันที ปวดหลังเรื้อรังเป็นอย่างไร โดยปกติอาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบในบุคคลทั่วไปสามารถทุเลาได้เองในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ และมักจะมีอาการค่อยๆ ดีขึ้น หลังจากได้รับการรักษา แต่สำหรับอาการปวดหลังเรื้อรังนั้นจะเป็นอาการปวดหลังที่ไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ปวดหลังเป็นๆ หายๆ ปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน หรืออาการปวดหลังดังกล่าวไม่บรรเทามีแต่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุอาการปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดหลังเรื้อรัง ที่มาจากปัญหาของกระดูกสันหลัง ได้แก่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งสามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ปัจจุบันพบบ่อยที่สุดในกลุ่มวัยทำงาน เกิดจากการฉีกขาดของเปลือกหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง เวลาไอ จาม หรือเบ่งจะยิ่งปวด และหากส่วนเนื้อด้านในปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทซึ่งอยู่ด้านหลังหมอนรองกระดูก ก็จะทำให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมด้วย กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากความเสื่อมตามวัย ของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีกระดูกงอกหรือเคลื่อนมาทับเส้นประสาทส่งผลให้มีปวดหลังเรื้อรัง หรือปวดหลังร้าวจนเกิดอาการปวดขาตามมา ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ กระดูกหลังเคลื่อน เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้า หรือด้านหลังมากกว่าปกติ โดยส่วนมากมักพบการเคลื่อนของกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 และข้อที่ 5 เนื่องจากข้อกระดูกสันหลังส่วนนี้จะรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง มักเกิดในขณะที่มีการขยับหลังมาก เช่น การก้ม เงย หรือเดิน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะในกระดูกสันหลัง ทั้งหมอนรองกระดูก เส้นเอ็น และข้อต่อ เมื่อมีการเสื่อมอวัยวะเหล่านี้จะขยายขนาดขึ้นก็จะทำให้โพรงประสาทที่มีเส้นประสาทอยู่ด้านในถูกเบียดหรือกดทับได้ ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งอาการปวดมักอยู่ที่ส่วนกลางของเอวและมักเป็นมากขึ้นในท่ายืน เดิน หรือเมื่อมีการแอ่นหลังไปด้านหลังมาก ๆ ปวดหลังเรื้อรังแบบไหนอันตราย ควรรีบพบแพทย์ มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป โดยอาการไม่บรรเทามีแต่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น มีอาการปวดหลังร้าวลงขาติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง พร้อมทั้งอาจมีอาการขาชา กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ปวดขณะเปลี่ยนอิริยาบถ ปวดรุนแรงมากตอนกลางคืน กระดกข้อเท้าไม่ได้ มีปวดขา ขาชาและขาอ่อนแรงชัดเจน ขาลีบเล็กลง เบื่ออาหารและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้หรือปัสสาวะไม่ออก การตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังเรื้อรัง สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังเรื้อรัง แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว สามารถบอกขอบเขตของโรคได้ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาโรคต่อไปได้ ให้ภาพคมชัด ละเอียด แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง มีแนวทางการรักษาหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และโรคที่เป็น โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบประคับประคอง - จะเป็นการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังในระยะแรก ด้วยการรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด พร้อมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลย หรืออาการปวดไม่หายไปในเวลา 3 เดือน อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น ๆ การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบไม่ต้องผ่าตัด การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง เพื่อลดอาการปวดหลังเรื้อรัง ลดอาการอักเสบและบวมของปมประสาทที่เกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับหรือโพรงประสาทตีบ การฉีดยาข้อต่อฟาเซ็ตหรือเข้าเส้นประสาทฟาเซ็ต จะใช้การฉีดยาชาที่อาจผสมกับยาเสตียรอยด์ไปบริเวณข้อต่อฟาเซ็ตหรือเส้นประสาทฟาเซ็ตที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุที่ปวดหลังเรื้อรัง การใช้คลื่นความถี่วิทยุ หรือที่เรียกว่า Radiofrequency Ablation (RFA) ลดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลัง และบรรเทาอาการปวดบริเวณคอและหลังด้วยการใช้ความร้อนที่ได้จากคลื่นความถี่วิทยุจี้ตำแหน่งของข้อต่อกระดูก ข้อต่อเชิงกราน หรือเส้นประสาทที่เป็นสาเหตุของความปวด การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบผ่าตัด จะทำในกรณีรักษาแบบวิธีที่ 1 และ 2 แล้วอาการไม่ดีขึ้น และมีอาการรุนแรงมากขึ้น การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป การผ่าตัดจะทำผ่านกล้องเอ็นโดสโคปความละเอียดสูงโดยสอดกล้องผ่านแผลเล็ก ๆ ทางผิวหนังเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาที่มีแผลผ่าตัดเล็ก อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด และผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการปวดหลังที่ถึงแม้อาการดูเหมือนปวดหลังธรรมดา แต่อาการปวดหลังเรื้อรังมานานไม่หายเสียที แนะนำว่าไม่ควรละเลยปล่อยไว้นานควรรีบทำการรักษา เพราะหากอาการเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคกระดูกสันหลังรักษายาก ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามไปค่ะ สำหรับใครที่มี ข้อสงสัย มีคำถามเพิ่มเติมกับทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดหลังเรื้อรัง-อาการอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
  4. เส้นเอ็น คือส่วนปลายของกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่กับกระดูก เส้นเอ็นจะทำงานหนักทุกครั้งที่เราขยับเขยื้อน หรือทำกิจกรรมที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อนาน ๆ หรือใช้งานบริเวณข้อต่อบ่อย ๆ มีโอกาสที่จะเกิดเส้นเอ็นอักเสบได้ ซึ่งอาการเส้นเอ็นอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดด้วยกัน เช่น บริเวณ ไหล่ ข้อศอก ข้อมือ สะโพก และส้นเท้า เมื่อเส้นเอ็นอักเสบจะมีอาการเจ็บปวดมาก หากอักเสบรุนแรงจะขยับเขยื้อนบริเวณนั้นลำบาก โดยปกติอาการปวดจะค่อย ๆ ทุเลาลงเมื่อรีบทำการรักษาเบื้องต้นได้ดี แต่ในรายที่เส้นเอ็นอักเสบรุนแรงมีอาการเส้นเอ็นฉีกขาดร่วมด้วย หากปล่อยไว้นานอาการปวดอาจเรื้อรังได้ ดังนั้นหากใครที่มีอาการเส้นเอ็นอักเสบจากอุบัติเหตุ ปวดมากกว่า 3 วันแล้วยังไม่หาย ควรรีบพบแพทย์ทันที วันนี้เรามีข้อมูลความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน เกี่ยวกับอาการเอ็นอักเสบมาฝากกัน ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis) เกิดขึ้นได้ง่ายโดยที่เราอาจไม่ทันระวังตัว ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทุกกิจกรรมที่ทำ ไม่เพียงแต่เกิดกับนักกีฬาเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากการที่เส้นเอ็นถูกใช้งานหนักเกินไป หรือได้รับบาดเจ็บที่ซ้ำ ๆ จนเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด กดเจ็บ บริเวณเส้นเอ็น โดยปกติอาการของเส้นเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากกว่า 3 วัน อาจเกิดภาวะเส้นเอ็นฉีกขาดได้ โดยแพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเส้นเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เส้นเอ็นอักเสบเกิดจากสาเหตุใดบ้าง เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis) สามารถเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ - จากการเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณหนึ่ง ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะการทำอาชีพหรืองานอดิเรกที่ต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเอ็นซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เอ็นบริเวณที่ถูกใช้งานตึงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดการอักเสบขึ้น - อุบัติเหตุ ส่วนใหญ่จะได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลันจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา และอาจเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเอ็นฉีกขาดได้ - การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือผิดท่า ทำให้เอ็นต้องเกร็งตัวตลอดเวลา ก็ทำให้เส้นเอ็นอักเสบได้ เช่น นั่งทำงานผิดท่า นอนผิดท่า - อายุที่เพิ่มมากขึ้น จะมีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้เกิดเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย หรือเส้นเอ็นอักเสบได้ง่ายขึ้น อาการของเส้นเอ็นอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ ส่วนใหญ่จะเป็นการเจ็บนอกข้อ และพบได้บ่อยในบริเวณ เอ็นข้อศอก เอ็นไหล่ เอ็นหัวเข่า และเอ็นร้อยหวาย โดยจะมี อาการปวดตรงที่เกิดเส้นเอ็นอักเสบ โดยจะปวดตื้อ ๆ บ่อยครั้ง อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการขยับในข้างที่เป็น มีอาการบวม บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงร่วมด้วยแต่จะไม่บวมในข้อ มีก้อนบวมนูนตามเอ็นกล้ามเนื้อนั้น ๆ บางครั้งขยับแล้วเจ็บมาก เนื่องจากมีเอ็นฉีดขาด การวินิจฉัยเส้นเอ็นอักเสบ การวินิจฉัยเส้นเอ็นฉีกขาดนั้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและซักประวัติ สอบถามอาการเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น กิจกรรมที่ทำก่อนจะมีอาการ ลักษณะของอาการปวด ความถี่และระยะเวลาที่เกิดอาการ นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มด้วยเครื่องมือที่จำเป็น อาทิ การตรวจเอกซเรย์ และ การตรวจภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป การรักษาเส้นเอ็นอักเสบ โดยปกติอาการของเส้นเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ซึ่งการรักษา แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้ 1.ภาวะเส้นเอ็นอักเสบที่ไม่รุนแรง และยังสามารถขยับท่าทางเคลื่อนไหวได้บ้าง แพทย์จะแนะนำให้พักและดูแลรักษาตนเองด้วยการประคบร้อน หรือเย็น รวมไปถึงการรับประทานยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบ ในบางกรณีอาจมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ถ้าเป็นมาก ปวดมาก แพทย์อาจพิจารณาใส่เฝือกอ่อนเพื่อให้อวัยวะนั้นได้พัก ลดการขยับ แต่จะใส่ระยะสั้นๆ ไม่เกิน 2 สัปดาห์ จะได้ไม่เกิดภาวะข้อยึดติด 2.ภาวะเส้นเอ็นอักเสบรุนแรง จากอุบัติเหตุ หรือมีอาการเส้นเอ็นอักเสบต่อเนื่อง และพักมา 2 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการปวดมาก บวมมาก มีจ้ำเลือดขนาดใหญ่ ขยับข้อได้ลดลง รู้สึกอ่อนแรง ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ อาจจะมีภาวะเส้นเอ็นอักเสบจนฉีกขาดได้จำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม รวมทั้งแพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเส้นเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เป็นวิธีผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็นที่ขาด หรือสร้างเอ็นใหม่ โดยนำเส้นเอ็นจากบริเวณอื่นมาทดแทน โดยศัลยแพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กแล้วใช้กล้องขนาด 4 มิลลิเมตรส่องเข้าไปดูภายในบริเวณที่มีการฉีกขาดของเส้นเอ็น ภาพที่ได้จะถูกส่งขึ้นจอภาพที่อยู่ในห้องผ่าตัด ทำให้แพทย์สามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งมาช่วยเสริมในการจับและเย็บเส้นเอ็นที่ฉีกขาด โดยแผลที่เกิดจากการผ่าตัดส่องกล้องจะมีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ขนาด 0.5 -1 เซนติเมตร จำนวน 3-4 รู ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีรอยโรคมากน้อยเพียงใด ซึ่งการผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) จะมีข้อดีตรงแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อผู้ป่วยจะมีอาการบาดเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นสั้น แผลเล็กมาก เกิดรอยแผลเป็นน้อย และมีโอกาสในการติดเชื้อที่ต่ำกว่า ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้รวดเร็วกว่า ยกระดับการระงับความเจ็บปวด หลังจากการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเส้นเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เทคนิคการระงับความเจ็บปวดหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะไม่ต้องเผชิญกับอาการปวดแผลหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย โดยเป็นการใช้เข็มหรือใส่สายคาเพื่อให้ยาชาที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย เพื่อให้ยาชาออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง จะทำภายใต้การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง(ultrasound) โดยแพทย์จะทำการตรวจสอบตำแหน่งเส้นประสาทก่อนจะให้ยา จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัด ซึ่งมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง จากจุดเริ่มต้นแค่มีอาการเส้นเอ็นอักเสบที่ดูเหมือนเล็กน้อย หากเราละเลยปล่อยไว้นานไม่รีบทำการรักษา อาการอักเสบอาจเรื้อรังลุกลามรักษายากก็เป็นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม สำหรับใครที่มีอาการเส้นเอ็นอักเสบอยู่ มีข้อสงสัย มีคำถามเพิ่มเติมกับทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/เส้นเอ็นอักเสบ-ปล่อยไว้นานเรื้อรังอาจรุนแรงถึงขั้นเอ็นฉีกขาดได้
  5. หลายคนสงสัยโรคหลอดเลือดสมอง ทำไมพบได้บ่อยในเพศชาย โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่มักมีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีรูปร่างอ้วนลงพุง และมีภาวะนอนกรน ยิ่งคนที่สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย อีกทั้งยังมีความเครียดสะสมจากหน้าที่การงาน บางคนมีโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน พออายุมากขึ้นเริ่มมีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง จะเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ แล้วโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? ทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีคำตอบมาให้คุณแล้ว ไปรับข้อมูลความรู้พร้อมกันได้เลยค่ะ โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke) 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? - มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า - มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีก - มีอาการแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย - พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด - มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น - มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ - มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว - มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน - มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น - เพศ ผู้ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าผู้หญิง - เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ - โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ - รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด - โรคอ้วน และภาวะนอนกรน - การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด - ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน - การซักประวัติอาการของผู้ป่วย - การตรวจร่างกายเบื้องต้น - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain) การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้ 1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่ - การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง - การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้ - รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก - ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง - ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ - กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ - หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ อยากย้ำเตือนว่าการตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการตรวจสอบสุขอนามัยของตนเองอยู่เสมอ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน สามารถสอบถามกับทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย
  6. ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่แข่งขันสูงในปัจจุบัน ส่งผลให้ทุกคนใช้ชีวิตเร่งรีบเคร่งเครียด จนอาจหลงลืมมองข้ามไม่ใส่ใจในสุขภาพร่างกายของตน จนกระทั่งมีอาการของโรครุนแรงแล้วจึงจะเข้ารับการรักษาซึ่งมันอาจจะสายเกินแก้ไขก็ได้ อย่างเช่น โรคที่เกี่ยวกับระบบการทำงานของหัวใจ อาจเป็นเพราะบางรายไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆจึงไม่ทราบว่าร่างกายตนมีปัญหา แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียน หน้ามืด เป็นต้น ซึ่งอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นภัยเงียบเสี่ยงหัวใจล้มเหลวได้ ดังนั้นก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้เราจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ไว้เพื่อป้องกัน วันนี้เราได้นำความรู้ดี ๆจากทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธนมาฝาก ไปทำความรู้จักกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และสาเหตุของโรคพร้อมกันได้เลยค่ะ รู้จักภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ หัวใจเต้นปกติ กับ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นอย่างไร? หัวใจปกติ จะเต้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามกิจกรรมของร่างกาย โดยในขณะพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60 -100 ครั้งต่อนาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นประมาณ 100 - 120 ครั้งต่อนาที และมากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในขณะวิ่ง อย่างไรก็ตามนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังเป็นประจำ อาจมีชีพจรในขณะพักระหว่าง 50 - 60 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้นผิดปกติ คือ ภาวะใดที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจโดยหัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิด ปกติเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความผิดปกติทั้งอัตราการเต้น และจังหวะการเต้นของหัวใจก็ได้ เช่น เต้นๆ หยุดๆ และเต้นเร็ว ในบางรายอาจมีเต้นช้าสลับกับเต้นเร็วก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีกี่ชนิด ? หัวใจเต้นผิดปกติมีไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดจะมีกลไกการเกิด สาเหตุการเกิด อาการ วิธีการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติเป็นสองแบบใหญ่ ๆ คือ - หัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที - หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที - โดยแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้ - หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หัวใจจะเต้นไม่เป็นจังหวะและเร็วผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้มาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีโรคหัวใจ เป็นต้น - ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ (Supraventricular Tachycardia) อัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที - ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที - Heart Block หัวใจจะเต้นช้าผิดปกติ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ - หัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติและไม่เป็นจังหวะ (Ventricular Fibrillation) เป็นสาเหตุทำให้หมดสติและเสียชีวิตกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้น้อย อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที) หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที) เจ็บหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ การจะรู้ว่าเรามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่นั้น แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) 2.การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) 4.การเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจ 5.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถทำได้ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงและควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยในบางรายที่อาการยังเป็นไม่มาก คือ ยังไม่ได้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะจนทำให้เกิดอาการของหัวใจวาย หรือหัวใจขาดเลือด จะมีแค่ใจสั่นๆ เป็นบางเวลา แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือชากาแฟ ควบคุมความเครียดและลดการกังวล 2.การใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ในรายที่เป็นมากขึ้นอาจจะต้องใช้ยาเพื่อลดอันตราการเต้นของหัวใจร่วมด้วย เช่น ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (betablocker) 3.การจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา จะกระทำได้โดยการสวนสายสวนหัวใจ จากบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งแพทย์จะขยับสายสวนหัวใจดังกล่าวไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของหัวใจ เพื่อหาตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ อาจทำร่วมกับการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งแล้ว จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 – 60 วินาที คลื่นเสียงความถี่สูงดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายสายสวนหัวใจ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของน้ำอุ่น 4.การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ในกรณีที่มีการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลม หรือเหนื่อยง่าย 5.การฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติ (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) ในรายที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วอย่างมาก เช่น Ventricular Tachycardia, Ventricular Fibrillation หากเราดูแลสุขภาพให้ดีใช้ชีวิดที่สมดุล เช่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอไม่เครียดหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยง ก็จะสามารถห่างไกลกับโรคนี้ได้ แต่หากคุณหากพบว่ามีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งความเสี่ยง แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยก่อนแต่เนิ่น ๆ กับ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน เพราะที่นี่มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ เรายินดีให้บริการค่ะสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/หัวใจเต้นผิดจังหวะ-ภัยเงียบเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว
  7. การจัดฟันมีข้อดีหลายอย่าง นอกจากช่วยแก้ปัญหาการบดเคี้ยวของฟันที่สบกันจนทำให้การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด แก้ไขปัญหาเหงือกสบฟัน ฟันยื่น ฟันเก ยังช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดฟันผุ นอกจากนั้นผลดีทางอ้อมยังได้เรื่องความสวยงาม เพิ่มความมั่นใจให้คุณยิ้มได้อย่างมั่นใจ สาว ๆ หลายคนไว้วางใจเลือกจัดฟันใส invisalign อินวิสไลน์ กับทางศูนย์ทันตกรรม รพ.นครธน เพราะเนื่องจากเคยจัดฟันแบบเหล็กและลวดแล้ว ทำให้รู้สึกยุ่งยาก และรำคาญใจ ไม่ต้องการให้ใครอื่นมองเห็นเหล็กจัดฟัน หรือเครื่องมือจัดฟันอื่น ๆ บนตัวฟัน ถึงตรงนี้คุณอาจสงสัยว่าสถานที่เปิดให้บริการเกี่ยวกับทันตกรรมนั้นมีหลากหลายที่ แต่ทำไมจึงต้องเลือกจัดฟันใส Invisalign กับ ศูนย์ทันตกรรม รพ.นครธนด้วย บทความนี้มีคำตอบมาให้แล้วไปดูคำตอบพร้อมกันได้เลยค่ะ จัดฟันใส invisalign ® เป็นเครื่องมือจัดฟันแบบกำหนดเองที่ผลิตจากพลาสติกเกรดพิเศษทางการแพทย์ที่ปรับฟันของคุณ ให้ตรงเพื่อแทนที่เครื่องมือจัดฟันโลหะธรรมดา อินวิสไลน์ ให้การจัดแนวฟันด้วยความแม่นยำ และการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ Clincheck® เมื่อตรวจพบการเรียงตัวของฟันหรือการสบฟันที่ผิดปกติที่จำเป็นต้องแก้ไขด่วน เช่น ฟันซ้อน ฟันเก ฟันห่าง ฟันล่างสบคร่อมฟันบน ฟันกัดเบี้ยว หรือฟันบนที่ยื่นมากผิดปกติ ทันตแพทย์จะวางแผนการเคลื่อนฟันด้วยซอฟต์แวร์ ClinCheck ซึ่งสามารถจำลองการเคลื่อนตัวของฟันได้แม้การขยับเพียงเล็กน้อย เริ่มตั้งแต่ตอนที่คุณสวมอุปกรณ์จัดฟันชิ้นแรก จนกระทั่งคุณจัดฟันเสร็จและได้รับรอยยิ้มใหม่ ไม่ต้องคาดเดา ไม่ต้องรอจนจัดฟันเสร็จ ก็ทราบผลลัพธ์ได้ - จำลองภาพ 3 มิติ ช่วยให้ทันตแพทย์สามารถปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะกับคุณ - การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมจะคำนวณหาแรงที่เหมาะสมสำหรับทุกการเคลื่อนที่ของฟัน - ด้วยซอฟต์แวร์นี้ และข้อมูลจากทันตแพทย์ ฟันทุกซี่จะเคลื่อนตัวตามแผนที่วางไว้ ในเวลาที่เหมาะสม จัดฟันใส invisalign ® ทำงานอย่างไร - วินิจฉัย และวางแผนการรักษา อย่างละเอียด โดยทันตแพทย์จัดฟัน ทันตแพทย์จัดฟันมีหน้าที่วางรูปแบบการเคลื่อนฟันให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เพื่อให้การเคลื่อนฟันจากภาพสามมิติ เกิดขึ้นได้จริงในช่องปาก - ผลิตชิ้นงานที่เป็นเฉพาะของคุณเพียงคนเดียวในโลก โดยคอมพิวเตอร์ เมื่อสร้างแผนการรักษาเสร็จ เครื่องมือทุกชิ้นของคนไข้แต่ละราย จะถูกสร้างขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์สามมิติที่มีความแม่นยำสูงที่ห้องปฏิบัติการในต่างประเทศ - เดินทางสู่รอยยิ้มสวยงามไปด้วยกันกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจัดฟันของคุณ เริ่มขั้นตอนการเคลื่อนฟันด้วยอินวิสไลน์ โดยทันตแพทย์จัดฟันแนะนำวิธีการใส่เครื่องมือให้ผู้ป่วย ติดอุปกรณ์เพิ่มเติมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด ข้อดีการจัดฟันใส Invisalign สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ - รับประทานอาหารจานโปรดได้เหมือนเดิม - ยังคงเล่นกีฬาและทำกิจกรรมสุดโปรดได้ทุกอย่าง - เหตุฉุกเฉินที่ทำให้คุณต้องกลับมาพบทันตแพทย์จะน้อยลง แทบไม่ต้องกังวลว่าเหล็กจัดฟันหลุดหรือลวดหักอีกต่อไป - อุปกรณ์จัดฟันแบบใส invisalign แทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ดังนั้นคนอื่นแทบจะไม่รู้เลยว่าคุณสวมอุปกรณ์จัดฟันอยู่ ทำไมต้องเลือกจัดฟันใส invisalign กับ ศูนย์ทันตกรรม รพ.นครธน เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถติดเครื่องมือจัดฟันแบบโลหะได้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดว่าเหล็ก และลวดจัดฟันจะทำให้คุณยุ่งยาก และรำคาญใจ หรือด้วยบทบาทอาชีพของคุณไม่สามารถให้ใครอื่นมองเห็นเหล็กจัดฟัน หรือเครื่องมือจัดฟันอื่น ๆ บนตัวฟันคุณได้ “อินวิสไลน์” อาจเป็นคำตอบสำหรับคุณ เพราะว่าคุณสามารถถอด “อินวิสไลน์” ออกได้ทุกเมื่อ คุณจึงมีอิสระสูงสุดที่จะรับประทานอาหารจานโปรดจานไหน ๆ จะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันเมื่อใดก็ใช้ได้สะดวก และสะอาดหมดจดดังใจ “อินวิสไลน์” จึงทำให้คุณยิ้มได้สวยสดใส ไม่ต้องพะวงหรือเก็บซ่อนรอยยิ้มนั้นอีกต่อไป อินวิสไลน์ไม่เหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร ที่ใครก็ได้จะมายืนกดปุ่มแล้วให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน การเลือกทันตแพทย์ผู้รักษาอินวิสไลน์ ควรหาข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจัดฟันหรือไม่ โดยค้นหารายชื่อได้จากฐานข้อมูลของ ราชวิทยาลัยทันตแพทย์สภา หรือจาก สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย ทพ.วุฒิพงษ์ เหล่าอมต และ ทญ.พิมพ์สิริ กันต์พิทยา เป็นทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันที่ได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญจากทั้งทันตแพทยสภา และสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย อีกทั้ง ได้รับการฝึกอบรมการจัดฟันแบบใสอินวิสไลน์ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ผลการรักษาจัดฟันใส invisalign ของ ทพ.วุฒิพงษ์ เหล่าอมต ได้รับเลือกให้ลง international gallery ของบริษัท invisalign ซึ่งเป็น gallery ที่คัดสรรเฉพาะเคสที่จบการรักษาได้สวยงามจากทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีทันตแพทย์เพียง 3 ท่านเท่านั้นที่ได้รับเลือกให้เข้าสู่ international gallery จะเห็นได้ว่าการจัดฟันใส Invisalign สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ อุปกรณ์จัดฟันแบบใส invisalign แทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ดังนั้นคนอื่นแทบจะไม่รู้เลยว่าคุณสวมอุปกรณ์จัดฟันอยู่ และทำไมต้องจัดฟันใส Invisalign กับ ศูนย์ทันตกรรม รพ.นครธน เพราะที่นี่มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ เรายินดีให้บริการ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/invisalign-จัดฟันใสไร้เหล็กแบบสามารถถอดได้
  8. ปัจจุบันการจัดฟันไม่ใช่ทำเพียงเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เรามีสุขภาพของเหงือกและแข็งแรงได้ในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีการจัดฟันร่วมผ่าตัดขากรรไกร ที่สามารถแก้โครงหน้าและฟันที่ผิดปกติ เช่น ฟันไม่สบกัน คางยื่น หน้าเบี้ยว เพื่อทำให้การเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับคนที่มีความต้องการที่จะแก้ไขโครงหน้าหรือจุดที่มีความบกพร่องอยู่ หรือหากคุณกำลังหาข้อมูลในเรื่องการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรก่อน เพื่อตัดสินใจเข้าทำการรักษาและแก้ไขในจุดนี้ เรามีข้อมูลมาแนะนำเกี่ยวกับการผ่าตัดขากรรไกร แก้โครงหน้าและฟันที่ผิดปกติ ปลอดภัยระดับสากล ต้องที่โรงพยาบาลนครธนเท่านั้น เพราะที่นี่มีศูนย์ทันตกรรมที่ได้มาตรฐานมีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจได้เลยค่ะ การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรคืออะไร การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery) คือ การผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อปรับตำแหน่งของขากรรไกร ร่วมกับการจัดฟันเพื่อช่วยแก้ไขและปรับปรุงโครงหน้าที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นการรักษาที่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การรักษาโครงสร้างใบหน้าขากรรไกร และ รักษาการสบฟันที่ผิดปกติ โดยผู้ที่มีความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง ได้แก่ ใบหน้าส่วนกลางสั้น ใบหน้าส่วนกลางยาว คางเบี้ยว คางยื่นยาว หรือ ใบหน้าไม่สมมาตร ซึ่งการจัดฟันเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดร่วมด้วย เพื่อให้กระดูกขากรรไกรบนและล่าง อยู่ในตำแหน่งใหม่ที่เหมาะสม โดยจะเป็นการวางแผนการรักษาร่วมกันระหว่างทันตแพทย์ผ่าตัดและทันตแพทย์จัดฟัน โดยทั่วไปจะทำการผ่าตัดเมื่อมีอายุ 20-22 ปีขึ้นไป โดยอาจผ่าตัดที่ขากรรไกรเดียว หรือทั้งสองขากรรไกร และอาจผ่าตัดเสริมที่คางได้ด้วย ข้อดีของการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร - ช่วยปรับแก้ไขโครงหน้าที่ผิดปกติ เช่น ฟันไม่สบกัน คางยื่น หน้าเบี้ยว เพื่อทำให้การเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - แก้ไขเรื่องความผิดปกติของรูปหน้าได้ - ช่วยให้ริมฝีปากสามารถหุบได้สนิท มีส่วนทำให้การออกเสียงได้ดีขึ้น ชัดขึ้น มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น - ช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่อเนื่อง ที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (TMJ) - ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ทั้งด้าน การสบฟัน การรับประทานอาหาร การพูด การหายใจ รวมถึง การมีใบหน้าที่สมส่วน สวยงาม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วิธีการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร สามารถทำได้ 2 วิธี ซึ่งการเลือกวิธีในการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของขากรรไกร และดุลยพินิจของทันตแพทย์ และในผู้ป่วยบางรายอาจพิจารณาการผ่าตัดกระดูกคางร่วมด้วย เพื่อแก้ไขใบหน้าส่วนล่างให้มีความสวยงามมากขึ้น ได้แก่ 1.การจัดฟันก่อนแล้วค่อยผ่าตัดขากรรไกร ผู้ป่วยจะได้รับการจัดฟันให้เรียงตัวได้เหมาะสมก่อน โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี เพื่อแก้ไขการซ้อนเกและปรับแนวแกนฟัน แต่อาจจะทำให้มีรูปร่างใบหน้าและการสบฟันที่ผิดปกติมากขึ้นแต่จะเป็นแค่ชั่วคราว ก่อนการได้รับการผ่าตัดขากรรไกร และเมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากอีกครั้ง เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด ซึ่งข้อดีของการจัดฟันก่อนทันตแพทย์ผ่าตัดจะสามารถประเมินรูปร่างใบหน้า และการสบฟันของผู้ป่วยได้ง่ายกว่า และวางแผนการผ่าตัดได้อย่างเหมาะสม โดยภายหลังการผ่าตัดส่วนใหญ่การกัดสบฟันเกือบจะสมบูรณ์แล้ว แต่ผู้ป่วยจะได้รับการจัดฟันต่อเป็นระยะเวลา 6 เดือน - 2 ปี 2.การผ่าตัดขากรรไกรก่อนและจัดฟันหลังผ่าตัด วิธีนี้จะสามารถลดระยะเวลาขั้นตอนจัดฟันก่อนผ่าตัดได้ 6-12 เดือน และยังเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะช่วงที่การสบฟันที่ดูผิดปกติมากจากการจัดฟันก่อนผ่าตัด เมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปาก เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด หลังจากนั้นเมื่อผู้ป่วยหายดีแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการ การจัดฟัน เพื่อปรับการเรียงฟัน และการสบฟันให้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่ต้องพิจารณาทำวิธีนี้เป็นกรณีๆ ไป ไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทุกคนเนื่องจากบางครั้ง ต้องจัดตำแหน่งฟันก่อนผ่าตัดอยู่ดี ตัวอย่างเคส การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดขากรรไกร 1.ตรวจประเมินสุขภาพทั่วไป ได้แก่ การตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจภาพรังสีทรวงอก รวมกับการประเมินความพร้อมในการดมยาสลบ 2.ผู้ที่มีโรคประจำตัวจะต้องได้รับการเตรียมความพร้อมจากแพทย์ประจำตัวก่อนการผ่าตัด 3.ผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพให้ดีก่อนวันผ่าตัด หากผู้ป่วยมีไข้ ไอ จาม มีเสมหะ อาจต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไป 4.ดูแลสุขอนามัยให้พร้อม ทั้งอาบน้ำ สระผม และจะต้องล้างสีเล็บมือ เล็บเท้าออกก่อนการผ่าตัด 5.1 วันก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องนอนรพ. เพื่อเตรียมความพร้อม และงดน้ำ และอาหาร 8 ชม. ก่อนเข้าห้องผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัดขากรรไกร ก่อนการผ่าตัดขากรรไกรจะต้องได้รับการดมยาสลบก่อน และทันตแพทย์จะผ่าตัดในช่องปากจึงไม่เกิดแผลเป็นบนใบหน้า ซึ่งจะทำการผ่าตัดเปิดเหงือกด้านใน กรอและเลื่อนกระดูกขากรรไกรให้อยู่ตำแหน่งที่เหมาะสม และยึดกระดูกด้วยแผ่นโลหะดามกระดูก เพื่อให้กระดูกอยู่นิ่งและเชื่อมติดกัน แล้วจึงใส่สายระบายเลือดและเย็บปิดแผลผ่าตัด การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดขากรรไกร 1.จะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วันหลังการผ่าตัด ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล 2.ทันตแพทย์อาจใช้ยางยึดขากรรไกรบนและล่างไว้ด้วยกัน ในกรณีที่กัดฟันไม่ลงหรือฟันไม่สบกันประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้การกัดสบฟันดีขึ้น ทำให้ไม่สามารถอ้าปากได้ แต่สามารถรับประทานอาหารเหลวได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการกัดสบฟันหลังผ่าตัด 3.ภายในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดอาจมีอาการบวมหรือฟกช้ำบนใบหน้าซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัด จากนั้นอาการบวมจะค่อยๆ ลดลงใกล้เคียงภาวะปกติประมาณ 1 เดือน และจะมีรูปร่างใบหน้าที่คงที่ในระยะเวลา 6 เดือนหลังผ่าตัด 4.ประคบเย็นที่แก้มซ้ายและขวา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นให้ประคบอุ่นต่ออีก 1 สัปดาห์ 5.สามารถเริ่มแปรงฟันได้ในวันที่ 2-3 หลังการผ่าตัด โดยใช้แปรงสีฟันขนาดเล็กขนนิ่ม ของเด็กและควรแปรงอย่างนุ่มนวล ระมัดระวัง อาจใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 6.ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานอาหารเหลว ห้ามเคี้ยวอาหาร เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ 7.หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก เช่น เล่นกีฬาที่กระทบกับขากรรไกร 6-8 สัปดาห์ 8.ไหมที่อยู่ในช่องปาก จะนัดมาตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด 9.ต้องมาพบทันตแพทย์ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อตรวจติดตามอาการ จากนั้นจะนัดทุก ๆ 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี 10.ภายหลังการผ่าตัด 9-18 เดือน ทันตแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดถอดแผ่นโลหะดามกระดูกออก สำหรับใครที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับโครงหน้าและฟันที่ผิดปกติ เช่น ฟันไม่สบกัน คางยื่น หน้าเบี้ยว ซึ่งทำให้การเคี้ยวอาหารได้ไม่ดีไม่มีประสิทธิภาพต้องการที่จะแก้ไข อยากสอบถามในเรื่องเกี่ยวกับจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรเพิ่มเติม ทางศูนย์ทันตกรรมโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร-แก้ปัญหาโครงสร้างใบหน้าและฟัน
  9. ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับคนทุกคน แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากโรคสมองเสื่อมเกี่ยวกับระบบสมอง และเป็นโรคที่ไม่มีสัญญานเตือนให้รู้ล่วงหน้า ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูงวัย นอกจากจะต้องหมั่นสังเกตอาการของท่านอยู่เสมอแล้ว ยังต้องแยกให้ออกว่าอาการหลง ๆ ลืม ๆ ที่ผู้สูงวัยเป็นอยู่บ่อย ๆ นั้น เกิดจากความเสื่อมตามวัย หรือท่านเริ่มเข้าสู่กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ แล้วโรคอัลไซเมอร์ อาการจะเป็นอย่างไร วันนี้เรามีความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เพื่อที่คุณจะได้นำมาเช็คลิสต์ความเสี่ยงหลงลืมแบบไหน? กำลังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มาฝาก ไปรับข้อมูลความรู้เพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ หากผู้สูงอายุที่บ้านของคุณ มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ พฤติกรรมเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญให้ระวังการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยข้อแตกต่างสำคัญระหว่างผู้ที่มีอาการขี้ลืมหรือหลงลืมตามวัย กับการเริ่มเข้าสู่กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีข้อสังเกตที่ต้องใช้ความใส่ใจและวิเคราะห์อย่างใกล้ชิด ความแตกต่างระหว่างหลงลืมตามวัยกับโรคอัลไซเมอร์ หากเป็นการหลงลืมตามวัยแบบทั่วไปแล้ว โดยปกติเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี สมองของเรามักจะถดถอยตามวัย อาจมีการคิดช้า ใช้เวลาในการนึก ตัดสินใจแย่ลง อาจจะเริ่มมีหลงลืม เช่น หากุญแจไม่เจอ จำที่จอดรถไม่ได้ หรืออาจจะนึกชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนาน ๆ ไม่ออก แต่เมื่อมีการบอกใบ้ ก็จะสามารถดึงข้อมูลนั้นออกมาได้ ที่สำคัญ คือ ยังช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้ หากมีอาการหลงลืมแบบเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์ มักจะจำไม่ได้เลยว่ามีเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น นึกอย่างไรก็นึกไม่ออก หรือลืมแล้วลืมเลย ลืมแม้กระทั่งทักษาการใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะถึงกับลืมชื่อคนในครอบครัว เช่น เปิดฝักบัวไม่เป็น ลืมวิธีกดรีโมท ซึ่งการเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สาเหตุอาการอัลไซเมอร์ อาการของโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากอัลไซเมอร์นั้น จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ การสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์อาจแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็นสามระยะ ได้แก่ - ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำ ๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า - ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย เป็นต้น - ระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นระยะรุนแรง ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่าย ๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ เป็นต้น รวมทั้งภูมิคุ้มกันอ่อนแอเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อน ภาวะการติดเชื้อที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ เช็คลิสต์ความเสี่ยงหลงลืมแบบไหน กำลังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ - อาการหลงลืม เช่น หลงลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา - สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล กลับบ้านไม่ถูก หลงทิศทาง หรือไม่รู้ว่าจะไปสถานที่นั้น ๆ ได้อย่างไร - จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า - มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร หรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำ ๆ - ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก - มีปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์ การดูนาฬิกา - มีพฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว - ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น - ซึมเศร้า ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล โรคอัลไซเมอร์ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดอย่างไร โรคอัลไซเมอร์ ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยความจำถดถอยเท่านั้น ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้แก่ - ด้านการเคลื่อนไหว สมองที่ควบคุมในส่วนความเคลื่อนไหว ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ จะค่อยๆ เสื่อมลง เช่น การรับรู้ ทางหู ตา ประสาทสัมผัส การเดิน สมดุลของร่างกาย - ด้านภาษา ความสามารถในการสื่อสารจะด้อยลง ไม่สามารถสื่อสารเป็นประโยค นึกคำศัพท์ไม่ออก - ด้านสมาธิ และการให้ความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีสมาธิสั้น ไม่สามารถทำกิจกรรมได้นาน ๆ - ด้านการตีความ เกิดความสับสนในการตีความ เช่น การที่คนเดินเข้ามาใกล้ คิดว่าจะมาทำร้าย - ด้านการตัดสินใจ ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การขับรถ - ด้านความเข้าใจในนามธรรม เกิดความสับสนใจเรื่องของเวลา อดีต ปัจจุบัน ไม่สามารถเข้าใจคำพูดเปรียบเปรยได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิดที่จะต้องมาคอยดูแล อาจก่อให้เกิดความอ่อนล้า ความเครียด ความซึมเศร้า หงุดหงิด ต่อผู้ดูแลและอาจทำให้มีปัญหาทางสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ ความแตกต่างระหว่าง โรคอัลไซเมอร์กับ สมองเสื่อม หลายท่านสงสัยว่า โรคสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์ เหมือนกันหรือไม่ โดยมีความสับสนว่าโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคเดียวกัน แต่ความจริงแล้วโรคสมองเสื่อมไม่ใช่โรคเดียวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคสมองเสื่อม โดยผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุจากอัลไซเมอร์ จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ไม่เป็นที่สังเกต จนเมื่อผ่านไปราว 5-6 ปี ความผิดปกติต่าง ๆ จะแสดงออกมาชัดเจนขึ้น เช่น ไม่สามารถการอาบน้ำแต่งตัวได้เอง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และจะเป็นมากขึ้นตามระยะอาการ สำหรับ โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) หรือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นความถดถอยในการทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วนซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่งในการทำงานของสมองขั้นสูง 6 ด้าน คือ ด้านสมาธิ ด้านการคิด ตัดสินใจ และการวางแผน ด้านความจำ ด้านการใช้ภาษา ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าสังคม ถ้าหากการทำงานของสมอง 1 ใน 6 ด้าน อย่างใดอย่างหนึ่งสูญเสียการทำงานไปหรือเสียมากถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย เราเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะสมองเสื่อม” ประเภทของโรคสมองเสื่อม สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามสาเหตุ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด และ กลุ่มที่รักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หรือเกิดจากการมีน้ำคั่งในโพรงสมองมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการมีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง จะรู้ได้อย่างไร อาการแบบไหนเป็นสมองเสื่อม? กรณีผู้ป่วยมีอาการที่เข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์มาระยะหนึ่ง หรือเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน อาจสงสัยว่าอาการที่เป็นอยู่ปัจจุบันเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อมแล้วหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากอาการเหล่านี้ - ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง - สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร - ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี - บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้ - บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ - บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้ - บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง หากคุณมีผู้ใกล้ชิดที่มีอาการของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งจุดเริ่มต้นภาวะโรคสมองเสื่อม ควรได้เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ หากต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม กับทางศูนย์สมองและระบบประสาทของโรงพยาบาลนครธนมีความพร้อมเป็นอย่างมาก มีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคสมองเสื่อมรู้ทันป้องกันได้
  10. “โอ๊ย ๆ ทำไมถึงได้รู้สึกปวดหลังร้าวไปถึงเอวจังเลย” ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินเสียงบ่น ๆ เรื่องการปวดหลัง ปวดเอว ประมาณนี้มาจากผู้สูงวัย ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อเราอายุเพิ่มมากขึ้นร่างกายก็ทรุดโทรมไปตามวัย แต่ก็มีบางคนที่อายุน้อย ๆ แต่กลับมีอาการปวดหลับบ่อย ๆ ปวดหลังร้าวลงขา ปวดหลังเรื้อรัง บางคนเคยใช้วิธีรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังนี้ ด้วยการกินยาคลายกล้ามเนื้อ หรือไปนวดเพื่อแก้อาการ แต่อาการปวดหลังก็ไม่ได้ดีขึ้นเลย เริ่มสงสัยว่าอาการปวดหลังที่เป็นอยู่นี่ เป็นแค่การปวดหลังธรรมดา ๆ หรือจะเป็นอาการปวดหลังที่นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือไม่ เพื่อคลายความสงสัย วันนี้เรานำความรู้ดี ๆ จากทางทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธนมาฝาก เกี่ยวกับอาการปวดหลังเรื้อรังเป็นอย่างไร? แบบไหนอันตราย ควรรีบพบแพทย์ด่วนไปดูข้อมูลพร้อมกันเลยค่ะ อาการปวดหลังเรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป และพบได้บ่อยมากขึ้น ทั้งจากพฤติกรรมการยืน นั่ง นอน อาชีพการทำงาน โดยคนส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากอาการปวดหลังบ้าง ซึ่งลักษณะการปวดหลังเรื้อรังนั้นสามารถเป็นได้ตั้งแต่การปวดแบบธรรมดาแต่ไม่รุนแรง ไปจนถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน แต่ก็มีหลายคนที่อาการปวดหลังเรื้อรังมีความรุนแรง กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ หรือมีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาการชาตามมา อาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ หากปล่อยไว้นานอาจถึงขั้นเคลื่อนไหวไม่ได้ ระบบการขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจและรักษาโดยทันที ปวดหลังเรื้อรังเป็นอย่างไร โดยปกติอาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบในบุคคลทั่วไปสามารถทุเลาได้เองในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ และมักจะมีอาการค่อยๆ ดีขึ้น หลังจากได้รับการรักษา แต่สำหรับอาการปวดหลังเรื้อรั้งนั้นจะเป็นอาการปวดหลังที่ไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ปวดหลังเป็นๆ หายๆ ปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน หรืออาการปวดหลังดังกล่าวไม่บรรเทามีแต่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุอาการปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดหลังเรื้อรัง ที่มาจากปัญหาของกระดูกสันหลัง ได้แก่ - หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งสามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ปัจจุบันพบบ่อยที่สุดในกลุ่มวัยทำงาน เกิดจากการฉีกขาดของเปลือกหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง เวลาไอ จาม หรือเบ่งจะยิ่งปวด และหากส่วนเนื้อด้านในปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทซึ่งอยู่ด้านหลังหมอนรองกระดูก ก็จะทำให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมด้วย - กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากความเสื่อมตามวัย ของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีกระดูกงอกหรือเคลื่อนมาทับเส้นประสาทส่งผลให้มีปวดหลังเรื้อรัง หรือปวดหลังร้าวจนเกิดอาการปวดขาตามมา ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ - กระดูกหลังเคลื่อน เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้า หรือด้านหลังมากกว่าปกติ โดยส่วนมากมักพบการเคลื่อนของกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 และข้อที่ 5 เนื่องจากข้อกระดูกสันหลังส่วนนี้จะรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง มักเกิดในขณะที่มีการขยับหลังมาก เช่น การก้ม เงย หรือเดิน - โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะในกระดูกสันหลัง ทั้งหมอนรองกระดูก เส้นเอ็น และข้อต่อ เมื่อมีการเสื่อมอวัยวะเหล่านี้จะขยายขนาดขึ้นก็จะทำให้โพรงประสาทที่มีเส้นประสาทอยู่ด้านในถูกเบียดหรือกดทับได้ ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งอาการปวดมักอยู่ที่ส่วนกลางของเอวและมักเป็นมากขึ้นในท่ายืน เดิน หรือเมื่อมีการแอ่นหลังไปด้านหลังมาก ๆ ปวดหลังเรื้อรังแบบไหนอันตราย ควรรีบพบแพทย์ - มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป โดยอาการไม่บรรเทามีแต่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น - มีอาการปวดหลังร้าวลงขาติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง พร้อมทั้งอาจมีอาการขาชา กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง - ปวดขณะเปลี่ยนอิริยาบถ ปวดรุนแรงมากตอนกลางคืน กระดกข้อเท้าไม่ได้ มีปวดขา ขาชาและขาอ่อนแรงชัดเจน ขาลีบเล็กลง เบื่ออาหารและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้หรือปัสสาวะไม่ออก การตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังเรื้อรัง สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังเรื้อรัง แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว สามารถบอกขอบเขตของโรคได้ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาโรคต่อไปได้ ให้ภาพคมชัด ละเอียด แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง มีแนวทางการรักษาหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และโรคที่เป็น โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1.การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบประคับประคอง - จะเป็นการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังในระยะแรก ด้วยการรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด พร้อมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลย หรืออาการปวดไม่หายไปในเวลา 3 เดือน อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น ๆ 2.การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบไม่ต้องผ่าตัด - การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง เพื่อลดอาการปวดหลังเรื้อรัง ลดอาการอักเสบและบวมของปมประสาทที่เกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับหรือโพรงประสาทตีบ - การฉีดยาข้อต่อฟาเซ็ตหรือเข้าเส้นประสาทฟาเซ็ต จะใช้การฉีดยาชาที่อาจผสมกับยาเสตียรอยด์ไปบริเวณข้อต่อฟาเซ็ตหรือเส้นประสาทฟาเซ็ตที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุที่ปวดหลังเรื้อรัง - การใช้คลื่นความถี่วิทยุ หรือที่เรียกว่า Radiofrequency Ablation (RFA) ลดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลัง และบรรเทาอาการปวดบริเวณคอและหลังด้วยการใช้ความร้อนที่ได้จากคลื่นความถี่วิทยุจี้ตำแหน่งของข้อต่อกระดูก ข้อต่อเชิงกราน หรือเส้นประสาทที่เป็นสาเหตุของความปวด 3.การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบผ่าตัด จะทำในกรณีรักษาแบบวิธีที่ 1 และ 2 แล้วอาการไม่ดีขึ้น และมีอาการรุนแรงมากขึ้น - การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป การผ่าตัดจะทำผ่านกล้องเอ็นโดสโคปความละเอียดสูงโดยสอดกล้องผ่านแผลเล็ก ๆ ทางผิวหนังเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาที่มีแผลผ่าตัดเล็ก อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด และผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว - การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว หรือ TLIF จะรักษาในกรณีที่มีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนเป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะยึดตรึงกระดูกสันหลังเข้าด้วยกันผ่านทางแผลผ่าตัดขนาดเล็กบนผิวหนัง โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นำวิถี (O-arm Navigation) เข้ามาช่วยในการผ่าตัด แสดงตำแหน่งต่าง ๆ บริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งทำให้ความแม่นยำในการใส่เครื่องมือเพิ่มมากถึง 99% - การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถี (O-arm Navigation) เป็นการฉีดซีเมนต์ผ่านผิวหนัง ผ่านทางแผลเล็ก ๆ ที่มีขนาดราวหลอดกาแฟ เข้าไปเสริมกระดูกส่วนที่หักโดยไม่ต้องยึดสก สำหรับท่านใดที่กำลังรู้สึกทรมานกับอาการปวดหลังอยู่ มีอาการปวด ๆ หาย ๆ นานกว่า 3 เดือน จนกระทั่งมีอาการปวดหลังร้าวลงขา มีอาการชาตามมา และอาการปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดไม่ดีขึ้นเลย หรือมีข้อมูลที่สงสัยอยากสอบถามในทางการรักษาเพิ่มเติม ทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน โดยความร่วมมือกับบำรุงราษฎร์เฮลท์เน็ตเวิร์ค มีความพร้อมและมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดหลังเรื้อรัง-อาการอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
  11. ภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งทางฝ่ายสามี และฝ่ายภรรยา หรือเกิดได้จากทั้งสองฝ่ายร่วมกัน และสาเหตุอาจเกิดมาจากหลาย ๆ ปัจจัย หากคุณเป็นสามีภรรยาอีกหนึ่งคู่ ที่กำลังเจอกับปัญหามีลูกยาก ลองมาแล้วสารพัดวิธีแล้วก็ยังไม่ได้ผล เราขอแนะนำให้คุณลองศึกษาวิธีทำเด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ (ICSI) สามารถเพิ่มโอกาสให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ บางทีเรื่องการมีลูกอาจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีเด็กหลอดเเก้ว ICSI และด้วยความเชี่ยวชาญของทางศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลนครธน เรามีข้อมูลรายละเอียดมาให้คุณแล้ว ลองไปศึกษาเพิ่มเติมกันเลยค่ะ เด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร ? การทำเด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ (ICSI, Intracytoplasmic sperm injection) คือ การคัดเอาตัวอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ผสมกับไข่แบบเจาะจงด้วยเข็มขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยมีเทคนิคการใช้อสุจิตัวที่แข็งแรงและเคลื่อนที่ดี 1 ตัวดูดเข้าไปในเข็มแก้วเล็ก ๆ แล้วใช้เข็มนั้นเจาะเข้าไปในไข่ฟองเดียวและฉีดอสุจิที่อยู่ในเข็มเข้าไปในไข่ เป็นการช่วยปฏิสนธิ ในรายที่มีจำนวนอสุจิน้อยมาก หรืออสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปในไข่เองได้ หรืออาจมีความหมายว่า เป็นวิธีการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรงเพื่อเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิ การทำอิ๊กซี่ (ICSI) นั้นเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยากให้สามารถมีบุตรได้ เด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ (ICSI) เหมาะกับใคร ? - ฝ่ายชายมีปัญหาปริมาณอสุจิค่อนข้างน้อย อสุจิไม่สมบูรณ์ และการเคลื่อนที่ผิดปกติรุนแรง - ฝ่ายชายเป็นหมัน หรือทำหมันแล้วแต่อยากมีลูกอีก แต่ยังคงสามารถนำอสุจิออกมาได้โดยการผ่าตัด - ฝ่ายหญิงที่มีเปลือกไข่หนา อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกไข่เพื่อเข้าไปปฏิสนธิได้ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่การทำเด็กหลอดแก้วธรรมดาแล้วไม่ได้ผล - คู่สมรสที่มีปัญหาโรคทางพันธุกรรมที่ต้องได้รับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน - ผู้ที่มีปัญหามีบุตรยาก - คู่สมรสที่ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี การทำเด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ (ICSI) มีขั้นตอนดังนี้ 1.การกระตุ้นไข่ หลังจากฝ่ายหญิงมาตรวจเพื่อดูความพร้อมของร่างกายว่าเหมาะสมกับการทำอิ๊กซี่ (ICSI) แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นรังไข่ให้ฟองไข่โตพร้อมกันหลายๆ ใบ จะเริ่มกระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2-3 ของรอบเดือน ด้วยการฉีดยาติดต่อกันเฉลี่ยแล้วจะฉีดประมาณ 8-10 วัน เพื่อกระตุ้นให้ไข่โตหลายๆ ใบ ซึ่งมากกว่าจำนวนไข่ที่ตกในแต่ละรอบเดือนตามธรรมชาติ โดยปกติจะต้องการไข่จำนวน 8-15 ใบ 2.ตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่ แพทย์จะทำการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่ โดยใช้เครื่อง อัลตราซาวด์ ร่วมกับการประเมินระดับฮอร์โมน โดยการตรวจเลือดทุก 4-5 วัน เมื่อพบว่าขนาดของถุงไข่โตเต็มที่แล้ว แพทย์จะให้ฉีดยาฮอร์โมน ซึ่งจะไปเหนี่ยวนำให้เกิดการสมบูรณ์ของฟองไข่ 3.กระบวนการเก็บไข่ หลังจากฟองไข่โตสมบูรณ์แล้ว จะทำการเจาะเก็บไข่ภายใน 34-36 ชั่วโมง ผ่านทางช่องคลอด โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์บอกตำแหน่ง แล้วใช้เข็มเล็ก ๆ เจาะไข่ออกมาจากรังไข่ ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมื่อได้เซลล์ไข่จะถูกนำออกมาทำความสะอาดในน้ำยาสำหรับเพาะเลี้ยง และเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปปฏิสนธิกับอสุจิ 4.เก็บอสุจิของฝ่ายชาย โดยหลั่งอสุจิภายในภาชนะที่จัดไว้ จากนั้นน้ำเชื้อไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรองอสุจิเพื่อเลือกตัวที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด แล้วนำมาปฏิสนธิกับไข่ในห้องปฏิบัติการ โดยนำเอาเชื้ออสุจิ 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ที่สมบูรณ์ โดยใช้เครื่องมือและกล้องที่มีความละเอียดมากภายในห้องปฏิบัติการ หากฝ่ายชายเคยทำหมัน หรือตรวจไม่พบตัวอสุจิ จำเป็นต้องเจาะดูดจาดอัณฑะโดยตรง 5.เลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ หรือ การเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย (BLASTOCYST CULTURE) เมื่อได้ตัวอ่อนแล้ว โดยทั่วไปจะทำการเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 3-5 วัน ในห้องปฏิบัติการที่ควบคุมปัจจัยที่เหมาะสมกับตัวอ่อน ที่ปลอดเชื้อโดยการควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้นและแรงดัน ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในน้ำยาพิเศษที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ภายในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง และก๊าซ ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนนี้จะเป็นกระบวนการเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับสภาวะภายในร่างกายมากที่สุด จนถึงระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) คือ ระยะเวลา 5 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ตัวอ่อนมีความแข็งแรง แล้วจึงค่อยใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ทั้งนี้ก่อนการย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก นักวิทยาศาสตร์จะเลือกตัวอ่อนโดยการสังเกตพัฒนาการของตัวอ่อน และเลือกตัวอ่อนนั้นจะมาตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนย้ายกลับ หรือ พีจีที (PGT) ก่อน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถเลือกตัวอ่อนจากผลการตรวจอย่างละเอียดในระดับโครโมโซมและระดับยีน เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่พันธุกรรมผิดปกติออกไป สำหรับการตรวจ PGT จำเป็นต้องมีการตัดและดึงเซลล์ของตัวอ่อนในระยะวันที่ 5 หรือเรียกว่า ระยะบลาสโตซีสท์ ซึ่งในระยะนี้ตัวอ่อนมีเซลล์เป็นร้อยเซลล์หรือมากกว่า จึงสามารถดึงเซลล์ 5-10 เซลล์จากโทรเฟคโตเดิร์ม (trophectoderm) ของตัวอ่อนซึ่งจะเจริญต่อเป็นรก เพื่อนำไปตรวจ การใช้วิธีอิ๊กซี่ (ICSI) ร่วมกับการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน จะช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสเลือกตัวอ่อนที่ปลอดภัย หรือโครโมโซมปกติ หรือมีเพียงยีนแฝงเท่านั้นในการย้ายกลับสู่โพรงมดลูก และยังช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ต่อรอบการใส่ตัวอ่อนอีกด้วย 6.ย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก การใส่ตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูก จะทำโดยการใช้หลอดพลาสติกเล็ก ๆ สอดผ่านทางช่องคลอดปากมดลูกและเข้าไปในโพรงมดลูก แล้ววางตัวอ่อนลงไปภายใต้การอัลตราซาวด์ดูตำแหน่งที่เหมาะสม วิธีการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ 1.รอบสด คือ เมื่อนำไปเลี้ยงตัวอ่อนครบ 3-5 วัน แพทย์จะย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกรอบเดียวกับการกระตุ้นไข่ 2.รอบแช่แข็ง คือ เป็นการย้ายตัวอ่อนในรอบถัดไป ซึ่งตัวอ่อนจะสามารถเก็บแช่แข็งไว้ได้นานถึง 5-10 ปี ทั้งนี้การย้ายตัวอ่อนรอบสดหรือรอบแช่แข็ง แพทย์จะดูความเหมาะสมจากสภาวะของฮอร์โมนและโพรงมดลูกในรอบกระตุ้นไข่ ว่าสามารถใส่ตัวอ่อนกลับได้หรือไม่ หรือในกรณีที่ต้องการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน จำเป็นต้องแช่แข็งตัวอ่อนระหว่างรอผลโครโมโซม 7.ตรวจการตั้งครรภ์ หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้ว 9-11 วัน แพทย์จะนัดเจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยตรวจปัสสาวะเพื่อการตั้งครรภ์เอง เนื่องจากอาจมีความผิดพลาดได้ การปฏิบัติตัวหลังการใส่ตัวอ่อน หลังจากใส่ตัวอ่อนฝ่ายหญิง ควรนอนพักอย่างน้อย 15-20 นาที ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์และไม่ควรสวนล้างช่องคลอด ไม่ออกกำลังกายหักโหมหรือยกของหนัก ๆ เพราะอาจมีผลต่อการฝักตัวของตัวอ่อนได้ ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติ ต้องเข้าพบแพทย์ทันที การทำเด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ (ICSI) ถือเป็นเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรยากที่มีโอกาสท้องมากที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามอัตราที่จะเกิดความสำเร็จของแต่ละคู่นั้นอาจแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งสภาวะร่างกายและความพร้อมของแต่ละบุคคล หากอายุไม่เกิน 35 ปี ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ถึง 40-50% สำหรับอายุเกิน 35 ปี และตรวจโครโมโซม มีโอกาสการตั้งครรภ์สูงขึ้น ประมาณ 50-75% สำหรับคู่รักสามีภรรยา คู่ไหนที่สนใจหรือมีข้อมูลที่อยากสอบถามในเรื่องเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ (ICSI) เพิ่มเติม ทางศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/7-ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่-เทคโนโลยีรักษาภาวะมีบุตรยาก
  12. เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ มีความเครียดสะสมที่เกิดจากการแข่งขันสูง รวมถึงการบริโภคของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป หลาย ๆ อย่างส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย เช่นการนิยมบริโภคอาหารประเภทจานด่วนฟาสต์ฟู้ด ที่มีไขมันสูง ทำให้เกิดเป็นโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ส่วนแนวทางการรักษาที่เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ นั่นคือการรักษาด้วยวิธีขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เพื่อรักษาผู้ที่มีภาวะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ใช้เวลาไม่นานเนื่องจากไม่ต้องผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลายคนยังมีความกังวลใจเพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในวิธีการรักษาแบบนี้จะดีจริงหรือไม่? วันนี้เรานำข้อมูลความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์หัวใจของรพ.นครธน เกี่ยวกับการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบด้วย บอลลูน มีขั้นตอนการทำและข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? เพื่อจะได้มีความรู้เท่าทันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และทำการรักษาได้ทันเวลาค่ะ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ในอดีตมักพบมากในวัยสูงอายุ แต่ปัจจุบันพบภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเพราะมักไม่มีอาการในระยะแรก กว่าจะรู้ก็มีอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบที่ชัดเจน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจพบหลังประสบภาวะหัวใจวายไปแล้ว โดยแนวทางการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบนั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหัวใจ ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด และมีความปลอดภัย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ ใช้เวลาพักฟื้นน้อย สาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบเกิดจากการที่เส้นเลือดตีบแคบลงจากความเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือ มีการสะสมของคราบหินปูน หรือ ไขมันไปเกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในจนเกิดการอุดตัน ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากเส้นเลือด แดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ปัจจัยที่เสริมให้เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น - อายุที่เพิ่มมากขึ้น มักเกิดกับคนที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป - ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ - มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน - การสูบบุหรี่ - การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง - ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง - มีความเครียดเรื้อรัง อาการที่ตามมาหากเกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ - อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ หรือมีแรงดันจำนวนมากที่บริเวณกลางอกหรือที่อกข้างซ้าย โดยอาการอาจจะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีแล้วก็หาย แต่จากนั้นก็อาจจะกลับมาเป็นอีก - อาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขนซ้ายหรือร้าวไปที่กราม - อาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น วิงเวียน จะเป็นลม หมดแรง - อาการคลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน การตรวจวินิจฉัยเส้นเลือดหัวใจตีบ แนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติก่อน จากนั้นจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ - การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก - การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ - การตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) และคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง โดยภาพที่ได้จากการตรวจจะคมชัด เนื่องจากเครื่องมือที่มีความเร็วในการจับภาพสูงมาก ซึ่งสามารถจับภาพขณะที่หัวใจเต้นได้ดี และสามารถบอกถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ แม้จะมีปริมาณน้อยก็ตาม เพื่อใช้บ่งบอกแนวโน้มถึงโอกาสในการที่จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที - การฉีดสีสวนหัวใจ จะเป็นขั้นตอนการตรวจลำดับสุดท้าย โดยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบหรือหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ และทำการฉีดสารละลายทึบรังสีผ่านท่อเล็ก ๆ นี้ เพื่อถ่ายภาพเส้นเลือดหัวใจให้เห็นบริเวณที่มีการตีบตันของเส้นเลือด หากพบความผิดปกติของหลอดเลือดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวนหัวใจ แพทย์จะทำการใส่สายสวนหัวใจ เพื่อทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบด้วยบอลลูนหัวใจและขดลวดถ่างขยาย (Stent) ได้ในทันที บอลลูนหัวใจ ทางเลือกการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด แนวทางการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาหลายแบบ และแต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป แต่วิธีการรักษาที่แพทย์นิยมทำโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด คือ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย ซึ่งเป็นการหัตถการการรักษาที่สามารถทำได้เลย ต่อจากการฉีดสีดูการตีบของเส้นเลือดหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจและใส่ขดลวดนั้น จะช่วยดันไขมัน หรือคราบหินปูนที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ บอลลูนหัวใจมีวิธีการรักษาอย่างไร การทำบอลลูนหัวใจรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ สามารถทำได้โดยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย เพื่อป้องกันการกลับมาอุดตันอีก ทุกท่านคงได้ทราบเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการทำบอลลูนกันแล้ว หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่มีความเสี่ยง หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ เป็น ๆ หาย ๆ หากมีความกังวลสงสัย อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ามาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางหรือมารับการรักษากับทางศูนย์หัวใจ รพ.นครธน ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เส้นเลือดหัวใจตีบ-ภัยใกล้ตัว-รู้ทัน-รักษาได้
  13. ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุหลายคนที่เริ่มมีอาการแต่ไม่รีบรักษา ปล่อยทิ้งไว้นานจนมีอาการปวดข้อเข่าเรื้อรัง เนื่องจากผิวข้อเข่าเริ่มสึกกร่อนเสื่อมไปจนถึงระยะสุดท้าย ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เดินลำบาก มีเสียงดังในเข่า หลายคนสงสัยว่าแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะช่วยแก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้ายได้จริงหรือไหม? วันนี้เราได้รวบรวมความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ รพ.นครธน เกี่ยวกับวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ด้วยเทคนิคระงับปวด ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัด จะมีแนวทางเป็นอย่างไร ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมกันได้เลยค่ะ ข้อเข่า เป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะ ยืน เดิน หรือนั่ง หากข้อเข่ามีความผิดปกติ หรือข้อเข่าเสื่อมสภาพลง อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเวลาเคลื่อนไหว และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty: TKA) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง ทำโดยการนำผิวข้อเข่าที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดี ทั้งนี้ผู้ป่วยจะไม่เจ็บปวดหลังผ่าตัดเหมือนในอดีต เพราะผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและระงับอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ทำให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง สัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) อาการเริ่มจากปวดเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อได้พักการใช้เข่า อาการปวดก็จะทุเลา และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมาก ในรายที่เป็นมากอาการปวดจะเป็นตลอดเวลา เกิดภาวะข้อฝืด มีเสียงดังในเข่า ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด ตามมาด้วยการเกิดข้อผิดรูป หัวเข่าเสื่อมบวมโต บางรายมีขาโก่งออกมา ปวดเข่าบ่อย ๆ และปวดมากขึ้นตอนนั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ ขึ้นลงบันได หรือคุกเข่า เข่าบวม เข่าอุ่น รู้สึกร้อนบริเวณเข่า และมีปัญหาในการใช้งานข้อเข่า เช่น ลุกนั่งม้าเตี้ย ขึ้นลงบันได รวมทั้งการเดิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิม และอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ - อายุ – อายุมากก็มีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก - เพศ - เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย 2 เท่า - น้ำหนัก – ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว - การใช้ข้อเข่า – ผู้ที่นั่งยอง ๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนาน ๆ จะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว - การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า - ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ เนื่องจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกลดลง เทคโนโลยีการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบัน การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเป็นที่นิยมมาก เพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก ซึ่งผิวข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนนั้นทำมาจากสเตนเลสผสมจำพวกนิเกิล โคบอล ไททาเนียม ส่วนหมอนรองกระดูกเทียมทำจากวัสดุจำพวกพลาสติกชนิดพิเศษ (Polyethylene) ไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกาย น้ำหนักเบา และใช้งานได้คงทน เป็นที่รู้จักของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ทั่วโลก ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด มีดังนี้ - มีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่มีการสึกหรอและเสื่อมสภาพซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสี - อาการปวด บวม ตึงข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย - ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม 1.ด้านร่างกาย - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่แต่พออิ่ม ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน และยังคงต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม - บริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนให้แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขา ออกกำลังให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดิน เดินเร็ว ว่ายน้ำ - ขี่จักรยาน รวมถึงการบริหารปอดโดยการหายใจลึกๆ ยาวๆ บ่อย ๆ - ระวังการติดเชื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อาจไปสู่ข้อเทียม หากมีปัญหาควรพบแพทย์รักษาก่อนผ่าตัด เช่น แผลตามร่างกาย ปวดแสบขัดเวลาปัสสาวะซึ่ง อาจเกิดจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ รวมถึงสุขภาพในช่องปาก ควรทำฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด - งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด - งดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน งดก่อนผ่าตัด 7 วัน หรือตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกมากขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด 2.ด้านจิตใจ - ควรทำจิตใจให้ สงบ ผ่อนคลาย - หากมีเรื่องวิตกกังวล สงสัยเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง ค่าใช้จ่าย หรืออื่น ๆ ควรซักถาม ปรึกษาแพทย์หรือ พยาบาล 3.การเตรียมผู้ดูแลหลังผ่าตัด และเตรียมปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม - ควรเตรียมผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลือในระยะหลังผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือตามความเหมาะสม - ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น ควรนอนบนเตียงที่มีความสูงเสมอเข่า ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่าง ดูแลบ้านให้สะอาด เรียบร้อย ไม่มีของวางเกะกะ เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม ส้วมควรเป็นชักโครก เป็นต้น ขั้นตอนในการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะผิวของกระดูกทั้ง 3 ส่วนที่ประกอบกันเป็นข้อเข่า (กระดูกส่วนของต้นขา หน้าแข้ง และสะบ้า) โดยแพทย์จะตัดส่วนของผิวข้อที่สึกหรอหรืออักเสบออกไป ซึ่งมีความหนาประมาณ 8-10 มิลลิเมตร แต่งกระดูกให้ได้มุมรับกับผิวข้อเทียม แล้วจึงใส่ข้อเทียมด้านกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้งซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ทำด้วยโลหะอย่างดี โดยมีพลาสติกชนิดพิเศษซึ่งทำหน้าที่คล้ายกระดูกอ่อน คั่นอยู่ระหว่างข้อเทียมที่เป็นโลหะ ส่วนข้อเทียมที่ใส่ด้านหลังของกระดูกสะบ้าทำด้วยพลาสติกเช่นกัน และใช้ซีเมนต์พิเศษยึดระหว่างข้อเทียมกับกระดูกไว้ ดังนั้นข้อเทียมจึงมีความแข็งแรงและทนทานยาวนาน ผลการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมมากกว่า 90% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจะรู้สึกเจ็บปวดลดลง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ ยกระดับการผ่าตัด ด้วยตัวช่วยระงับความเจ็บปวด ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัด สิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกังวล คือ การปวดแผลหลังผ่าตัด แต่ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่จะช่วยไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บปวดหลังผ่าตัดเหมือนในอดีต โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและระงับอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย ที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการระงับปวดด้วยวิธีผสมผสาน (multimodal analgesia) คือ การใช้ยาที่มีกลไกการ ออกฤทธิ์แตกต่างกันร่วมกัน จึงระงับปวดได้ดี และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) ได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการฉีดยาชาลดปวด จะใช้เข็มหรือใส่สายคาเพื่อให้ยาชาที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย ยาชาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง จะทำภายใต้การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสอบตำแหน่งเส้นประสาทก่อนจะให้ยา จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูง สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ช่วยให้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล เนื่องด้วยแนวทางดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในปัจจุบัน นอกจากคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยแล้ว ยังมุ่งเน้น ส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด การสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Blocks) จึงเป็นวิธีที่ช่วยควบคุมความปวดระหว่าง และ หลังผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ช่วยให้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด หลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน ประมาณวันที่ 1-2 หลังทำผ่าตัดจะเริ่มหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดบ้านให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย และพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อหลังการผ่าตัด ข้อเข่าหลวมหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง เป็นต้น ทุกท่านคงจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย ด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกันแล้ว หากยังมีความกังวลสงสัย หรือต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์กระดูกและข้อ รพ.นครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เฉพาะทางไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ก้าวใหม่ได้อีกครั้งกับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม
  14. ปัจจุบันโรคหัวใจนับเป็นภัยใกล้ตัว และเป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตสูงขึ้นทุกปี และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เนื่องจากการใช้ชีวิตในปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย เช่น ชื่นชอบเครื่องดื่มรสหวาน อาหารทอดไขมันสูง สูบบุหรี่ ส่งผลให้ น้ำหนักเกิน ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูง เกิดโรคเบาหวาน เป็นต้น บางคนเริ่มมีอาการแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหอบ มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน บางครั้งมีอาการหน้ามืดบ่อย ๆ ทำให้เกิดความกังวลใจสงสัยว่าอาการ “เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก” อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติ ของโรคหัวใจหรือไม่? แล้วอาการเจ็บหน้าอกแบบไหน? ที่คุณควรจะต้องรีบเข้าพบแพทย์ด่วน วันนี้ทางศูนย์หัวใจ รพ.นครธน มีคำตอบมาให้คุณแล้ว ไปรับความรู้เพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบเฉียบพลันเป็นระยะเวลานานกว่า 20-30 นาทีถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีไขมันสะสมเพิ่มพูนขึ้นภายในผนังหลอดเลือดเกิดการอุดตันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติเฉียบพลัน ภาวะดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์อย่างทันที เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก เป็นอาการที่เกิดจากการเจ็บปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่การเจ็บปวดตรงส่วนด้านหลังของทรวงอก อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่งของอาการทั้งหมดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ - เจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน และเป็นระยะเวลานาน - มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก - เจ็บหน้าอก และรู้สึกปวดร้าวไปถึงบริเวณหัวไหล่ - เจ็บหน้าอกหากทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก - มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน - หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบ เดินใกล้ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต้องระวังอาจจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) จะมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกนำมาก่อน แต่โดยส่วนมากจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง มีอาการคลื่นไส้อยากอาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลมและเหงื่อออกผิดปกติ หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเกินกว่า 20 -30 นาที ถือว่าอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิธีตรวจให้รู้ว่าอาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพผู้ตรวจและของบุคคลภายในครอบครัว พร้อมกับตรวจร่างกายโดยละเอียดซึ่งจะช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นได้ รวมไปถึงแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ 2.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก 4.การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่ เจ็บหน้าอกแน่นหน้าอกแค่ไหนต้องรักษาด้วยบอลลูนหัวใจ ในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก โดยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น หายใจไม่ค่อยออก มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ รวมทั้งมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจเร็วโดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบเดินใกล้ ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น รวมทั้งได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้วพบว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือ มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งการรักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ด้วยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ทั้งนี้การทำบอลลูนหัวใจแพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สามารถเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคปอดบวม โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือ เกิดจากภาวะความเครียด กังวล เป็นต้น ทางที่ดีที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าว เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และทันท่วงที หากคุณมีข้อสงสัยต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม ทางศูนย์หัวใจของรพ.นครธน มีความพร้อมทั้งทีมแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางคอยให้คำปรึกษา ตลอดจนห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ 24 ชั่วโมง เพื่อสามารถรักษาทุกท่านได้อย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : www.nakornthon.com/article/detail/เจ็บหน้าอก-แน่นหน้าอก-อาการเริ่มปัญหาของหัวใจ
  15. การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬา นอกจากช่วยให้ผู้เล่นมีสุขภาพดี และมีร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังทำให้ผู้ที่เล่นมีความสุข รู้สึกสนุกและเพลิดเพลินได้ด้วย นอกจากนั้นการเล่นกีฬายังได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มผู้เล่นกีฬาด้วยกันอีกด้วย และหนึ่งในกีฬาที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นมาก ๆ นั่นก็คือ การเล่น Surf Skate เซิร์ฟสเก็ต เนื่องจากวัยรุ่นส่วนใหญ่ชอบเล่นกีฬาที่โลดโผน ตื่นเต้น ท้าทาย แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ทุกเมื่อ หรืออาจเป็นเหตุให้ผู้เล่น มีปัญหาเส้นเอ็นอักเสบ เอ็นฉีกขาดได้เช่นกัน ทางศูนย์กระดูกและข้อของรพ.นครธน มีแนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับคนที่ชอบการเล่น Surf Skate แล้วหากมีอาการบาดเจ็บ เมื่อปล่อยไว้อาจถึงขั้นรุนแรงเอ็นฉีกขาดได้ แล้วจะต้องตูแลรักษาอย่างไรบ้าง ไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ เซิร์ฟสเก็ต (Surf Skate) กีฬาและกิจกรรมสุดฮิตที่โดนใจหนุ่มสาวทุกวัย ทั้งได้ออกกำลังกาย สนุกและเท่ไปพร้อม ๆ กัน แต่ถ้าเล่นไม่ถูกวิธี เล่นแล้วไม่มีความปลอดภัยมากเพียงพอ หรือเล่นหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะ “เส้นเอ็นอักเสบ” หรืออาจถึงขั้นรุนแรงเอ็นฉีกขาด จากการเสียหลักการทรงตัวทำให้ ล้ม กระแทก จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อถึงกับต้องมาโรงพยาบาลได้ อาการบาดเจ็บจาก Surf Skate การเล่น Surf Skate นั้น ด้วยต้องใช้หลักการทรงตัว การบิดตัว และการเหวี่ยงสะโพกในการเล่นอยู่ตลอดเวลา เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในบริเวณที่ใช้งานหนักๆ จนอาจจะนำไปสู่การปวดเมื่อยในส่วนต่าง ๆ ทั้งอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้น ปวดเมื่อยต้นขา รวมทั้งข้อเข่าและข้อเท้า ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น มักเกิดจากการล้ม การกระแทก สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ตั้งแต่อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ แผลถลอก แผลแตก เอ็นอักเสบ หรือรุนแรงถึงขั้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก หรือสมองกระทบกระเทือนได้เช่นกัน โดยสามารถพบการบาดเจ็บได้ทั่วทั้งร่างกาย เส้นเอ็นอักเสบจาก Surf Skate สาเหตุที่เอ็นอักเสบมักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำ ๆ จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อ โดยการเล่น Surf Skate ต้องใช้การทรงตัว การบิดตัว และการเหวี่ยงสะโพกในการเล่นเป็นหลัก ผู้เล่นบางรายมีการเล่นท่าทางเสริมเข้าไป มีการกระโดด จนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่าง ๆ ดังนี้ เส้นเอ็นข้อเท้าอักเสบ จากข้อเท้าพลิกเข้าด้านในเมื่อเสียหลักจากการทรงตัว เกิดอาการเจ็บที่ด้านนอกบริเวณตาตุ่ม เนื่องจากเส้นเอ็นในบริเวณดังกล่าวเกิดการยืด บวม แดง เกิดการอักเสบ หากถึงขั้นฉีกขาด อาจเกิดอาการบวมที่เนื้อเยื่อ และมีอาการปวดร่วมด้วย โดยอาการของข้อเท้าพลิกมักส่งผลกระทบที่เส้นเอ็นโดยตรง ไม่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อหรือกระดูก เส้นเอ็นข้อเข่าอักเสบ จากการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วนผิดท่าบ่อยครั้ง การกระโดด การหดตัวของกล้ามเนื้อต้นขาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ก่อให้เกิดการกระชากของเส้นเอ็นใต้กระดูกสะบ้า ส่งผลให้เส้นเอ็นเกิดการอักเสบได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดบริเวณข้อเข่าทางด้านหน้า โดยเฉพาะตำแหน่งใต้ลูกสะบ้าหรือรอบ ๆ กระดูกสะบ้า ซึ่งอาการจะแสดงเมื่อเวลาเดินหรือวิ่ง แต่หากมีการฉีกขาดมาก อาการปวดจะเกิดขึ้นตลอดเวลา แม้ตอนที่นั่งพักเฉยๆ เอ็นเข่าฉีดขาด หรือเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด เอ็นไขว้หน้าจะทำหน้าที่รักษาความมั่นคงของข้อเข่า คอยควบคุมการทรงตัวของข้อเข่าในขณะที่เราวิ่ง กระโดด หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวกะทันหัน หากเคลื่อนไหวผิดท่า หรือได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง โอกาสที่เอ็นไขว้หน้าจะได้รับบาดเจ็บก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน เมื่อเอ็นเข่าเกิดความผิดปกติ หรือได้รับบาดเจ็บ จะมีอาการปวดบวมอย่างรุนแรงบริเวณข้อเข่า เดินลงน้ำหนักไม่ได้หรือปวดเสียวมาก ไม่สามารถงอเข่าได้เนื่องจากมีเลือดออกในข้อเข่า เมื่อปล่อยทิ้งไว้อาการอาจค่อยๆ ดีขึ้น แต่มักมีอาการเวลาที่ทำกิจกรรมที่หัวเข่าต้องบิดหมุน การวินิจฉัยเส้นเอ็นอักเสบ เบื้องต้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและสอบถามอาการเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บข้อเท้า หรือ ข้อเข่า เช่น กิจกรรมที่ทำก่อนจะมีอาการ ลักษณะของอาการปวด ความถี่และระยะเวลาที่เกิดอาการ นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มด้วยเครื่องมือที่จำเป็น อาทิ การตรวจเอกซเรย์และการตรวจภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป การรักษาเส้นเอ็นอักเสบจาก Surf Skate การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการปวด หากวินิจฉัยแล้วเป็นเพียงเส้นเอ็นอักเสบที่ข้อเข่า หรือข้อเท้า และยังสามารถขยับออกท่าทางเคลื่อนไหวได้บ้าง ก็จะรักษาด้วยการให้พักใช้ข้อเข่า ข้อเท้าที่เจ็บนั้นร่วมกับการรับประทานยาลดการอักเสบ การประคบร้อนหรือประคบเย็น ในบางกรณีอาจมีการทำกายภาพบำบัดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้หัวเข่าขยับได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในกรณีผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เจ็บปวดมากไม่สามารถใช้งานหัวเข่าได้ หรือเกิดจากภาวะเอ็นฉีกขาดหรือเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด อาจจำเป็นต้องพิจารณาผ่าตัด แพทย์จะใช้การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดปลูกถ่าย หรือซ่อมเอ็นข้อเข่า เพื่อให้กลับมาเดินได้ปกติเท่าเดิม รักษาเส้นเอ็นเข่าฉีดขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า การผ่าตัดส่องกล้องรักษาเอ็นเข่าฉีกขาด เทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย จะทำให้แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ทำการดูแลรักษาได้ง่าย ด้วยวิธีผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็น หรือสร้างเอ็นใหม่ โดยนำเส้นเอ็นจากบริเวณอื่นมาทดแทน ศัลยแพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กแล้วใช้กล้องขนาด 4 มิลลิเมตรส่องเข้าไปดูภายในข้อเข่าตรงที่เส้นเอ็นฉีก ภาพที่ได้จะถูกส่งขึ้นจอภาพที่อยู่ในห้องผ่าตัด ทำให้แพทย์สามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ในข้อเข่าได้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งมาช่วยเสริมในการจับและเย็บเส้นเอ็นที่ฉีกขาด โดยแผลที่เกิดจากการผ่าตัดส่องกล้องจะมีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ขนาด 0.5 -1 เซนติเมตร จำนวน 2-4 รู ขึ้นอยู่กับว่ามีความรุนแรงของการฉีกขาดมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ การเล่น Surf Skate ควรเล่นในเวลาที่เหมาะสม ไม่ฝืนร่างกาย ควรเลือกตัว Surf Skate ให้เหมาะสมกับผู้เล่น สวมอุปกรณ์ความปลอดภัยทุกครั้ง ผู้เล่นใหม่ควรเล่นภายใต้ผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ ในสถานที่ที่ปลอดภัย ไม่ลืมที่จะวอร์มอัพและคูลดาวน์ หากเกิดอุบัติเหตุควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น กรณีมีความรุนแรงควรรีบพบแพทย์ทันที ศูนย์กระดูกและข้อรพ.นครธน อยากเห็นทุกท่าน เล่นกีฬาอย่างมีความสุข มีความปลอดภัย มีสุขภาพจิตดี และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ดังนั้นการเล่นกีฬาอะไรก็ตาม จึงควรต้องเรียนรู้ในวิธีการการเล่นที่ถูกต้อง และควรเล่นอย่างระมัดระวังคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อนเสมอ แต่หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนมีอาการบาดเจ็บ ถึงแม้จะดูเหมือนอาการเล็กน้อย ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนอาการบาดเจ็บลุกลามรักษายาก หากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม ทางศูนย์กระดูกและข้อรพ.นครธนมีความพร้อมทุกด้าน และยินดีให้คำปรึกษา ผู้ที่รักในการเล่นกีฬาชื่นชอบการออกกำลังกายทุกท่านค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เอ็นอักเสบ-เอ็นฉีกขาด-บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา-surf-skate
×
×
  • สร้างใหม่...