ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

mai_pppp

ขาประจำ
  • จำนวนเนื้อหา

    86
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

คะแนนนิยม

5 ปานกลาง

เกี่ยวกับ mai_pppp

  • คะแนนนิยม
    ขาประจำ

Profile Information

  • เพศ
    ชาย
  • ที่อยู่
    นครปฐม
  1. ทำน้อยได้มาก : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ทำน้อยได้มาก ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หนทางสู่ความสำเร็จ ความร่ำรวย และความสุข โดยที่ไม่ต้องทำงานหนักหรือดิ้นรนมากเกินไปนั้น ผมคิดว่าอยู่ที่การรู้จักเลือกทำอะไรที่มีคุณค่ามากซึ่งทำแล้วจะได้ผลลัพธ์หรือผลตอบแทนมาก พูดง่าย ๆ ก็คือ “ทำน้อยได้มาก” และหนทางที่ทำให้เราเหนื่อยยากและทำแล้วก็ไม่ได้มรรคผลเท่าที่ควรก็คือการทำสิ่งที่ไร้ประโยชน์หรือก่อให้เกิดผลน้อยกว่าแรงงานที่ใส่ลงไป เราทำมันโดยที่ไม่ได้คิดไตร่ตรอง ทำมันตามที่คนอื่นบังคับให้เราทำ ทำเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่การงาน หรือทำเพราะความเคยชิน เป็นต้น หลักของการ “ทำน้อยได้มาก” นั้น มาจากหลักการ 80/20 ซึ่งค้นพบโดย Vilfredo Pareto นักเศรษศาสตร์ชาวอิตาลี หลักการนี้พูดถึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่าง สาเหตุและผล สิ่งที่ใส่เข้าไปกับสิ่งที่ได้ออกมา และงานที่ทำกับผลตอบแทนที่ได้รับ โดยที่ความไม่เท่าเทียมนั้นโดยคร่าว ๆ ก็คือ ประมาณ 80 ต่อ 20 ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเอาคนที่ดื่มเหล้าหนักที่สุด 20% ของคนดื่มเหล้าทั้งหมดมานับรวมกันดูก็จะพบว่าพวกเขาดื่มเหล้าคิดเป็นประมาณ 80% ของการบริโภคเหล้าทั้งหมด หรือเอาปัญหาทางการผลิตที่สำคัญเพียง 20% มาแก้ไขปรับปรุงก็จะได้ผลผลิตที่ดีขึ้น 80% หรือมากกว่า ว่าที่จริงกฏ 80/20 นั้น เริ่มจากการพบสิ่งที่ไม่สมดุลของรายได้และความมั่งคั่งของประชากร โดยที่พาเรโตพบว่ามีความเหลื่อมล้ำกันมากคือ คนที่มีรายได้สูงที่สุด 20% มีรายได้รวมกันถึงประมาณ 80% ของรายได้ทั้งหมดของประเทศ นั่นคือเรื่องที่เป็นเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว ถึงวันนี้ผมคิดว่ามันก็ยังคงเป็นอยู่หรือเป็นมากขึ้นด้วยซ้ำ หลักการ 80/20 หรือหลักของความไม่สมดุลนี้ เกิดขึ้นมากมายในชีวิตประจำวัน ในธุรกิจ และแม้แต่ในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ แน่นอนว่าความไม่สมดุลในแต่ละเรื่องนั้นไม่ใช่ 80/20 พอดี อาจจะเป็น 75/25 หรือ 70/30 แต่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นความเหลื่อมล้ำที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น ถ้าเราค้นพบ เราก็สามารถใช้ประโยชน์จากมันได้มาก เช่นนักการตลาดทำโปรแกรมโฆษณาหรือส่งเสริมการขายเน้นไปที่ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคหนักที่สุด 20% แรก ซึ่งเป็นลูกค้าที่สร้างรายได้ให้บริษัทถึง 80% พูดถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงบริษัทประกันภัย GEICO หรือ Government Employee Insurance Company ของวอเร็น บัฟเฟตต์ ที่ขายประกันโดยเฉพาะประกันรถยนต์ให้กับพนักงานของรัฐโดยไม่ผ่านนายหน้า นี่ก็เป็นวิธีคิดแบบ 80/20 เหมือนกัน เพราะพนักงานของรัฐนั้น โดยสถิติพบว่าเป็นนักขับรถที่ดีเยี่ยมประสบอุบัติเหตุน้อยกว่าคนกลุ่มอื่นมาก ดังนั้น GEICO จึงสามารถขายประกันให้ในราคาเบี้ยประกันที่ต่ำ นอกจากนั้น ยังสามารถลดต้นทุนด้านการขายซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมากโดยไม่ผ่านนายหน้าด้วย ในฐานะของ VI นั้น ผมคิดว่าเราน่าจะต้องเป็นคนที่คำนึงถึงเรื่องหลัก 80/20 มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง เพราะความสามารถของเราหรือสิ่งที่เราค้นหาตลอดเวลาก็คือ เราต้องการหาการลงทุนที่เราใช้เงินน้อยแต่ในที่สุดมันจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าปกติ เราไม่ต้องการอะไรที่เป็นแบบ 50/50 หรือลงทุน 10 บาทแล้วในที่สุดก็ได้ผลตอบแทนประมาณ 1 บาทต่อปีหรือ 10% หรือลงไปแล้วขาดทุน นั่นคือปรัชญาสำคัญของ VI แต่ VI นั้นไม่ใช่ดูเฉพาะเรื่องของการลงทุนทางการเงินเท่านั้น VI ที่แท้จริงเป็นสิ่งที่ครอบคลุมทั้งชีวิต ดังนั้น เวลาเราพูดถึงหลัก 80/20 VI ก็จะมองหาว่ามีอะไรในชีวิตที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากหลักการนี้ได้ ผมคงไม่สามารถบอกได้ทุกเรื่องว่าเรื่องไหนมีช่องที่เราจะสามารถนำหลักการ 80/20 มาใช้สำหรับทุกคน เป็นเรื่องที่แต่ละคนจะต้องคิดเอง แต่อยากจะลองยกตัวอย่างเพื่อให้นำไปคิดต่อเช่น ในการเรียนหนังสือนั้น มีคนบอกว่าวิธีที่จะทำให้สามารถ “ทำน้อยได้มาก” ก็คือ เวลาอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบนั้น ให้อ่านคำนำกับบทสรุปหลาย ๆ เที่ยวเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นที่สำคัญก่อน ส่วนเนื้อหาก็ให้เน้นอ่านเฉพาะที่เป็นเรื่องสำคัญ ส่วนรายละเอียดหรือเรื่องที่ไม่ได้เน้นไว้ในบทสรุปก็ให้อ่านผ่าน ๆ ไปหรือไม่ต้องอ่าน เหตุผลก็เพราะว่า ข้อสอบนั้น 80% หรือมากกว่านั้น จะออกเฉพาะในเรื่องที่สำคัญที่อยู่ในบทสรุป ในเรื่องของการทำงานนั้น ว่ากันว่า คนที่มีคุณค่ามากในบริษัทเพียง 20% เท่านั้นที่ทำกำไรให้กับบริษัท ส่วนคนส่วนใหญ่นั้นสร้างคุณค่าน้อยและอาจจะไม่คุ้มค่าด้วยซ้ำ งานจำนวนมากในบริษัทนั้นไม่ก่อให้เกิดคุณค่าจริง ๆ ดังนั้นบริษัทหลายแห่งจึงใช้วิธี Outsource หรือจ้างคนอื่นทำงานทั่ว ๆ ไป ตัวเองทำเฉพาะงานสำคัญที่ตนเองมีความสามารถจริง ๆ เช่นเดียวกัน ในแง่ของส่วนบุคคล เราก็ควรต้องเน้นทำเฉพาะงานที่เป็นความเชี่ยวชาญของเราจริง ๆ และลดงานที่ไม่ถนัดลงถ้าเราจะสามารถ “ทำน้อยได้มาก” และประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องเหนื่อยยากเกินไป ในเรื่องของการลงทุนนั้น ความชัดเจนประการแรกก็คือ หุ้นนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เรา “ทำน้อยได้มาก” เพราะในระยะยาวแล้ว หุ้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารการเงินอื่นมาก สมมุติว่าเรามีเงิน 1 ล้านบาทและอายุ 30 ปี ถ้าเราลงทุนในหุ้นไปเรื่อย ๆ โดยซื้อกองทุนรวมหุ้นที่อิงกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เมื่อเราเกษียณที่ 60 ปี เราจะมีเงินประมาณ 17.4 ล้านโดยที่แทบไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะหุ้นจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นประมาณปีละ 10% แต่ถ้าเราฝากไว้ในธนาคารแบบฝากประจำเราน่าจะมีเงินเพียง 2.4 ล้านบาทเพราะเงินฝากน่าจะให้ผลตอบแทนเพียง 3 % ต่อปี และถ้าเราลงทุนเป็นพันธบัตรรัฐบาล เงินที่เราจะมีในวันเกษียณก็อาจจะเป็นเพียง 4.3 ล้านบาทเพราะพันธบัตรน่าจะให้ผลตอบแทนเพียงปีละ 5% ความแตกต่างของเม็ดเงินระหว่างหุ้นกับเงินฝากหรือพันธบัตรก็ประมาณ 80 ต่อ 20 ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงหลักการและตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นการจุดประกายให้เห็นถึงความสำคัญของกฏ “ทำน้อยได้มาก” VI ที่จะประสบความสำเร็จจากการลงทุนสูงจริง ๆ นั้นจะต้องเชี่ยวชาญในเรื่องนี้จริง ๆ นั่นคือ หาอะไรที่ทำหรือลงทุนแค่ 20% แล้วให้ผล 80% ซึ่งด้วยวิธีนี้เขาสามารถทำงาน 40% ของพลกำลังแล้วได้ผลตอบแทน 160% เปรียบเทียบกับอีกคนหนึ่งที่ทำงาน 120% แล้วได้ผลตอบแทน 120% แล้ว ผมคิดว่าคนแรกนั้นน่าจะมีความสุขและร่ำรวยกว่ามาก ********************** ทำน้อยได้มาก ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ Value Investor 25 ตุลาคม 52
  2. ซื้อหุ้นต่างประเทศ : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ซื้อหุ้นต่างประเทศ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในอดีตนั้น การลงทุนในหุ้นสำหรับ Value Investor ค่อนข้างจำกัดอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น แต่ปัจจุบันเรามีทางเลือกที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ การลงทุนในต่างประเทศนั้น ดูเหมือนจะไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนอาจจะกลัวกันอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีโบรกเกอร์ หลายรายให้บริการการซื้อขายหุ้นต่างประเทศสำหรับนักลงทุนรายย่อยที่มีเงินเพียงประมาณห้าแสนหรือหนึ่งล้านบาทขึ้นไป การซื้อขายก็ทำกันทางอินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้แตกต่างจากการซื้อขายหุ้นไทยเท่าใดนัก ผมคงยังไม่วิจารณ์ว่า Value Investor ควรจะลงทุนในหุ้นต่างประเทศหรือไม่ แต่อยากจะวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของการลงทุนในหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะในกรณีของการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกาเป็นหลัก ข้อดีข้อแรกของการลงทุนในตลาดหุ้นอย่างตลาดนิวยอร์กก็คือ เรามีโอกาสในการเลือกลงทุนในหุ้นจำนวนมาก นอกจากจำนวนของบริษัทที่มีมากมายแล้ว เรายังมีโอกาสหาหุ้นที่มีลักษณะเฉพาะที่เราต้องการลงทุนได้มากมายซึ่งหาไม่ได้จากตลาดหุ้นไทย ยกตัวอย่างเช่น หุ้นของกิจการที่ “ดีเยี่ยม” แบบ “Great Company” ที่มีโอกาสที่จะกลายเป็น “Super Stock” ที่ให้ผลตอบแทนมหาศาลในระยะยาวอย่างที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ ชอบลงทุนนั้น ถ้าเรานำมาใช้ในตลาดหุ้นไทย เราอาจจะหาได้ค่อนข้างยาก แต่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้นที่มีคุณภาพสูงระดับโลกนั้นมีมากมายให้เลือก ไล่ตั้งแต่หุ้น Google ไปถึง ไมโครซอพท์ ที่เป็นหุ้นไฮเท็ค ถึงหุ้นโค๊กที่เด่นทางด้านยี่ห้อ และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงินระดับโลกอย่างหุ้นที่ให้บริการบัตรเครดิตเช่น หุ้นวีซ่า เป็นต้น ข้อดีข้อสองก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐโดยเฉลี่ยในระยะยาวนั้นดูเหมือนจะสูงกว่าผลตอบแทนที่ได้จากตลาดหุ้นไทย โดยที่ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นของอเมริกานั้นให้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10-11% ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยน่าจะให้ผลตอบแทนประมาณปีละ 8-9% ผลต่างประมาณปีละ 2% นั้นในระยะยาวก็ถือว่าค่อนข้างต่างกันมาก และนั่นก็อาจจะเป็นผลจากคุณภาพที่สูงกว่าของบริษัทจดทะเบียนในอเมริกาเทียบกับบริษัทไทย ข้อดีข้อสามก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศด้วยนั้น ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนลง เพราะการขึ้นลงของราคาหุ้นของไทยกับหุ้นต่างประเทศนั้นโดยทั่วไปมักจะไม่ตรงกัน บางช่วงที่ตลาดหุ้นไทยคึกคัก หุ้นต่างประเทศอาจจะซบเซา และช่วงที่หุ้นต่างประเทศดี หุ้นไทยอาจจะแย่ โดยรวมแล้ว ถ้าเรามีหุ้นอยู่ในทั้งสองตลาด ผลตอบแทนการลงทุนของเราจะมีความสม่ำเสมอขึ้นหรือก็คือความเสี่ยงลดลง ข้อดีข้อที่สี่ ระบบบัญชีและการรายงานต่าง ๆ ของบริษัทในอเมริกามีความโปร่งใสและผู้บริหารสามารถให้ข้อมูลแก่นักลงทุนได้มากกว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารสามารถคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทได้เป็นรายไตรมาศซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถนำมาใช้ประกอบในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นได้ นอกจากนั้น สังคมของนักวิเคราะห์ที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นก็ทำให้การคาดการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับผลประกอบการมักจะไม่ค่อย “มั่ว” ถ้าผู้บริหารคาดการณ์ผิดบ่อยหรือผิดไปมากก็จะเสียเครดิต ข้อเสียของการไปลงทุนนอกประเทศนั้นก็มีไม่น้อยกว่ากัน ข้อแรกก็คือ ความเข้าใจในตัวกิจการหรือบริษัทที่เราจะลงทุนในต่างประเทศนั้นอาจจะมีน้อยกว่าในกรณีของบริษัทในประเทศไทย จริงอยู่ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือรายงานต่าง ๆ ของบริษัทต่างประเทศอาจจะดี มีมาก และหาได้ง่ายกว่าโดยที่เราเพียงแต่เข้าไปดูผ่านหน้าเว็บดัง ๆ อย่าง YAHOO FINANCE ได้ แต่ข้อมูลที่เราจำเป็นต้อง “สัมผัส” เช่นในเรื่องของผลิตภัณฑ์ การตลาด หรือการพบปะกับผู้บริหารนั้น เราไม่สามารถทำใด้ นอกจากนั้น สำหรับหลายคนที่ภาษาอังกฤษยังไม่แข็งแรงพอ การทำความเข้าใจในตัวบริษัทก็จะยากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ข้อเสียข้อที่สองก็คือ การซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นอเมริกามีต้นทุนค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายสูงกว่าในตลาดไทย โดยที่ค่าคอมมิชชั่นรวมกับค่าบริการอื่น ๆ แล้ว อาจจะขึ้นถึง 0.5% ในกรณีที่ซื้อขายครั้งละไม่มาก ในขณะที่ของไทยอยู่ที่ประมาณ 0.2 – 0.27% รวมภาษี อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างนี้ก็อาจจะไม่ถึงกับมากถ้าเราไม่ได้ซื้อขายหุ้นบ่อย ข้อเสียข้อสามก็คือ การซื้อขายหุ้นในตลาดสหรัฐนั้น เรามีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินดอลลาร์กับเงินบาทซึ่งคาดการณ์ไม่ได้ นอกจากนั้น เราต้องมีการแลกเงินในกรณีซื้อขายครั้งแรกและตอนที่จะเอาเงินกลับซึ่งทำให้เราเสีย Spread หรือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายเงินตราที่ธนาคารคิดกับเราซึ่งก็มักจะต่างกันพอสมควร ข้อเสียที่สี่ก็คือ การลงทุนในต่างประเทศนั้น กฏก็คือ ถ้าเราได้กำไรจากการขายหุ้นและนำเงินเข้ามาในประเทศในปีภาษีเดียวกัน เราจะต้องนำกำไรที่ได้ไปคิดคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลที่จะต้องเสียภาษีรายได้ประจำปี ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการเสียภาษีนี้ก็ต้องนำเงินเข้ามาในปีต่อไป ซึ่งทำให้การโอนย้ายเงินไม่คล่องตัวนัก ข้อเสียสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ความเสี่ยงในเรื่องของกฏระเบียบและวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับภาษีต่าง ๆ ของการลงทุนซื้อขายหุ้นในต่างประเทศ ในขณะนี้อาจจะมีการสรุปแนวทางปฏิบัติเป็นที่ตกลงกันระหว่างโบรกเกอร์กับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกันแล้ว แต่ก็เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ เรื่อง ความเห็นและความเข้าใจกันในวันนี้อาจจะไม่ได้รับการยอมรับหรือมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปหรือมีเจ้าหน้าที่คนใหม่เข้ารับหน้าที่ต่อ ความเสี่ยงตรงนี้ไม่มีใครบอกได้ว่าสูงต่ำแค่ไหน แต่ถ้าเกิดขึ้น ความยุ่งยากคงจะมีไม่น้อย และนี่อาจจะเป็นข้อเสียที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งสำหรับคนที่ระมัดระวังและไม่ค่อยไว้วางใจกับระบบของราชการไทยอย่างผม กล่าวโดยสรุปสำหรับตัวผมเองนั้น ในขั้นนี้ผมคงจะรอดูไปก่อน และตราบใดที่ยังพอหาหุ้นดีที่คุ้มค่าน่าลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้พอสมควรผมก็คงไม่ไปลงทุนในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าการลงทุนในต่างประเทศนั้น มีประโยชน์และมีคุณค่าพอสมควรทีเดียว และวันหนึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นที่ผมจะต้องไปลงทุนด้วยเหมือนกัน ************************** ซื้อหุ้นต่างประเทศ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ Value investor !031 !031
  3. อาหารหรือขยะ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คนที่จะเป็น “เซียน” ในวิถีทางแบบ Value Investment นั้น ดูเหมือนว่าจะต้องเป็นนักอ่านตัวยง วอเร็น บัฟเฟตต์ เป็นตัวอย่างที่สำคัญ เพราะเขาอ่านหนังสือมากมายมหาศาลและเป็นคนที่อ่านได้เร็วมาก นอกจากหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงแล้ว ผมเชื่อว่าเขาอ่านหนังสืออื่น ๆ อีกมาก เพราะถ้าจำไม่ผิด เขาเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการชื่อดังอย่าง The Selfish Gene ของ Richard Dawkins เช่นเดียวกัน ชาลี มังเกอร์ เพื่อนซี้และหุ้นส่วนของ วอเร็น บัฟเฟตต์เองก็อ่านหนังสือหลากหลายและน่าจะมากกว่า บัฟเฟตต์ ในแง่ของความหลากหลายทางวิชาการอื่น ๆ เขาบอกว่าการลงทุนนั้น คุณต้องอาศัยความรอบรู้รอบด้านมากกว่าความรู้ที่เจาะจงเฉพาะอย่าง การอ่านหนังสือมากนั้น ผมคิดว่าไม่พอที่จะทำให้เราเป็นนักลงทุนที่ดี การอ่านที่ได้ประโยชน์และได้ความรู้ที่ถูกต้องแท้จริงต่างหากที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การเลือกอ่านหรือเลือกที่จะเชื่อหรือยอมรับในสิ่งที่เราอ่านจะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เราเก่งขึ้น รอบรู้ขึ้น การอ่านในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่จริงนั้น ถ้าดีหน่อยก็ทำให้เราเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่ถ้าแย่ก็คือ ทำให้เราเสียหาย ขาดทุน และรู้น้อยลง เปรียบไปก็เหมือนกับการที่สมองเรานั้น แทนที่จะได้ “อาหาร” ก็กลายเป็นได้ “ขยะ” หรือได้ “ยาพิษ” และต่อไปนี้ก็คือข่าวสารข้อมูลบางส่วนที่ผมคิดว่าเราควรใส่ใจมากน้อยแค่ไหน และเราควรเชื่อหรือไม่ เอาเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับหุ้นและการลงทุนโดยตรง ข้อมูลข่าวสารเรื่องแรกที่เรามักพบเจอเป็นประจำก็คือ การคาดการณ์ภาวะตลาดหุ้นหรือดัชนีหุ้นในปีนี้หรือปีหน้า สำหรับผม นี่เป็น “ขยะ” เพราะการคาดการณ์ตลาดหุ้นอย่างถูกต้องหรือใกล้เคียงนั้น เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะมีใครทำได้ดูจากสถิติที่ผ่านมา เหตุผลก็คือ ภาวะตลาดหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับเหตุการณ์มากมายที่จะเกิดขึ้นในประเทศและในโลก เหตุการณ์เหล่านั้นมักจะเกิดขึ้นโดย “ไม่คาดฝัน” ดังนั้น ภาวะตลาดหุ้นก็มักจะเป็นไปอย่าง “ไม่คาดฝัน” ก็ใครจะไปคิดว่าปี 2552 ที่ทุกคนคิดว่าจะเป็นปี “เผาจริง” ของภาวะเศรษฐกิจโลกและไทยนั้น จะกลายเป็น “ปีทอง” ที่ทำให้ตลาดหุ้นคึกคักกันทั่วโลก ด้วยเหตุผลดังกล่าว เวลาฟังใครคาดการณ์เกี่ยวกับดัชนีตลาดในปีนี้หรือปีหน้า อย่าไปคิดจริงจังอะไร พวกเขาต้องคาดเพราะมีคนจำนวนมากอยากฟังเท่านั้น ไม่ได้แตกต่างอะไรกับหมอดูที่ต้องตอบคำถามของคนที่กำลังสับสนและกังวลกับชีวิตในอนาคตของตนเอง เรื่องของ “Dr. Doom” หรือคนที่มาบอกว่า “โลกกำลังจะแตก” ประเทศไทยกำลังวิบัติ เกิด “กลียุค” ถึงกับล่มสลาย เหล่านี้ ฟังแล้วก็อย่าไปเชื่อหรือกังวล เพราะหลายคนที่พูดนั้นก็พูดกันเกือบทุกปี ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลอะไร ความจริงก็คือโอกาสที่จะเกิดนั้นน่าจะต่ำมาก เช่นเท่ากับโอกาสที่เราจะเดินออกนอกบ้านแล้วถูกฟ้าผ่าตาย ถ้าเราก็ยังเดินออกนอกบ้านทุกวันผมก็ไม่เห็นเหตุผลอะไรที่จะยังลงทุนในตลาดหุ้นเป็นปกติ จำไว้ว่า “ดร. ดูม” นั้นมีอยู่ทุกประเทศ และก็แน่นอน นาน ๆ ก็มี ดร. ดูม ที่พยากรณ์ถูกต้อง ก็คงเป็นอย่างที่พูดกันว่า แม้แต่นาฬิกาตายก็ยังบอกเวลาได้ถูกต้องวันละหนึ่งครั้ง ดังนั้น อย่าสนใจการพยากรณ์แบบ ดร. ดูม ถ้าไม่แน่ใจในอารมณ์ของตัวเองก็อย่าไปอ่าน เพราะมันเป็น “ขยะข่าวสาร” เรื่องของเท็คนิคใหม่ ๆ ในการลงทุนที่จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยม นี่ก็เป็นข้อมูลข่าวสารที่มีการเสนอออกมามากมาย ส่วนใหญ่ที่เห็นก็เป็นเรื่องของประสบการณ์ของเจ้าตัวที่อ้างว่าสามารถทำกำไรได้งดงามจากเท็คนิคที่ “ค้นพบเอง” เท็คนิคเหล่านั้นเกือบทั้งหมดมักจะไม่มีเหตุผลที่เข้มข้นรองรับแต่ชื่อที่ใช้เรียกก็มักจะน่าประทับใจชวนให้คิดว่าเป็นเทคนิคที่ตอบโจทย์ที่คนหลายคนกำลังแสวงหาคำตอบอยู่ สำหรับผมแล้ว เท็คนิคใหม่ ๆ แปลก ๆ นั้นเกือบทั้งหมดก็เป็น “ขยะ” มีคนเคยถาม วอเร็น บัฟเฟตต์ ว่ามีเท็คนิคอะไรพิเศษจึงสามารถสร้างผลงานสุดยอด เขาบอกว่า เท็คนิคก็เป็นเรื่องเก่าที่มีคนอื่นโดยเฉพาะ เบน เกรแฮม ได้คิดไว้แล้วทั้งนั้นไม่มีอะไรใหม่ เขาเพียงแต่เอามันมาใช้ได้อย่างถูกต้องเท่านั้น ข้อมูลอีกเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าต้องระวังเวลาอ่านก็คือเรื่องของ ผลการลงทุน ของ “เซียน” หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องของการศึกษาทางวิชาการจริง ๆ มีตัวเลขข้อมูลที่สนับสนุนชัดเจน เช่น ผลการลงทุนของกองทุนรวมที่มีข้อมูลเปิดเผยและเป็นตัวเลขจริง ข้อมูลของบริษัทอย่าง เบิร์กไชร์ ของ วอเร็น บัฟเฟตต์ หรือการศึกษาทางวิชาการเปรียบเทียบผลตอบแทนของกลยุทธ์แบบ Value กับ Growth ที่มีเกณฑ์แน่นอนและทำอย่างมาตรฐาน แบบนี้ เราก็พอเชื่อถือได้ แต่การ “อ้าง” ว่าได้ผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้โดยไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้สนับสนุน หรือการทำโพล์ทางอินเตอร์เน็ตนั้น ผมคิดว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่น่าเชื่อถือ เหตุผลก็คือ มันจะมี Bias หรือความลำเอียง นั่นก็คือ คนที่ได้ผลตอบแทนดีก็จะมาตอบแบบสอบถามมากกว่าคนที่มีผลงานแย่ คนบางคนก็บอกผลตอบแทนที่อาจจะไม่จริงแต่มีแนวโน้มไปในทางสูงเพื่อที่จะแสดงว่าตนเองมีความสามารถสูงซึ่งก็เป็นเรื่องของแรงจูงใจของมนุษย์ทุกคน ดังนั้น เมื่ออ่านข้อมูลเหล่านั้น อย่าไปเชื่อ พูดถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงสงครามเวียตนามที่ทหารสหรัฐและเวียตนามต่างก็คุยว่าสังหารศัตรูได้มากมายในการรบทุกครั้ง แต่มีคนให้ข้อสังเกตว่าถ้าเป็นจริงตามที่ว่า กองทัพเวียตนามและอเมริกาคงหมดไปนานแล้ว สุดท้ายก็คือข้อมูลหุ้นรายตัวพร้อมการวิเคราะห์ นี่คือข้อมูลที่มองภายนอกนั้นคือ “อาหาร” แน่ เพราะส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของข้อมูลตัวเลขที่เป็นจริงพร้อมการวิเคราะห์ตามข้อมูลที่มีอยู่ ดังนั้น คนที่อ่านข่าวสารข้อมูลก็น่าจะได้ความรู้เกี่ยวกับบริษัท ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรที่จะเสียหายหรือเสียเวลาได้ อย่างไรก็ตาม เราก็ควรพิจารณาแรงจูงใจของคนที่นำเสนอข้อมูลนั้นด้วยเพราะคงไม่มีใครยอมเสียเวลานำเสนอข้อมูลให้คนอื่นโดยไม่ได้อะไรตอบแทน ดังนั้น เมื่ออ่านข้อมูลแล้วก็ต้องคิดด้วยตนเองว่าข้อมูลที่ปรากฏนั้นสมเหตุผลหรือไม่ ราคาหุ้นที่เห็นนั้นคุ้มค่าหรือไม่ ที่สำคัญมีปัจจัยอะไรอื่นไหมที่ทำให้ราคาหุ้นไม่สะท้อนพื้นฐานของกิจการทำให้หุ้นมีราคาต่ำกว่าที่ควรเป็น มิฉะนั้น การใช้ข้อมูลที่รับมาลงทุนอาจจะกลายเป็นกับดัก สิ่งที่เราคิดว่าเป็นอาหารอาจจะกลายเป็น “เหยื่อล่อ” ที่ทำให้เรา “ติดกับ” หรือขาดทุนได้ อาหารหรือขยะ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ Value Investor 10 มกราคม 53 !031 !031
  4. การวิเคราะห์ทางเทคนิค ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คนที่ติดตามเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นแทบทุกคน คงต้องเคยได้ยินการวิเคราะห์หุ้น "ทางเทคนิค" ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หุ้น โดยอาศัยเส้นกราฟที่นักวิเคราะห์สามารถที่จะเรียกขึ้นมาดูได้ทันทีจากจอคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์สามารถที่จะตอบได้ทันทีว่า หุ้น หรือดัชนีน่าจะไปที่ราคาเท่าไร และราคาหุ้นหรือดัชนีจะมี "แนวรับ" หรือ "แนวต้าน" ซึ่งจะเป็นราคาที่หุ้น หรือดัชนี จะไม่ตกลงมาต่ำกว่า หรือวิ่งขึ้นไปเกินจุดนั้น แต่ถ้าตกหรือวิ่งเกินแนวรับหรือแนวต้าน ราคาหุ้นหรือดัชนีก็จะวิ่งไปที่จุดไหน การวิเคราะห์ทางเทคนิคคืออะไร? มันมีเหตุผลไหม? และที่สำคัญมันบอกว่าหุ้นจะไปทางไหน และไปที่ราคาเท่าไร ได้แม่นยำพอที่จะทำให้เราทำกำไรจากการซื้อขายหุ้นได้จริงไหม? นี่คือ สิ่งที่ผมจะพยายามอธิบายอย่างคนที่ไม่เชื่อ ไม่ได้ปฏิบัติ และแน่นอน ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ เพียงแต่ได้ศึกษามาบ้างในฐานะของนักวิชาการ นักวิเคราะห์ทางเทคนิค จะศึกษาความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น และปริมาณการซื้อขายหุ้นที่ผ่านมาในอดีต เพื่อที่จะดูว่าทิศทางและราคาหุ้นในอนาคตจะไปทางไหน พวกเขาเชื่อว่าในตลาดหุ้นนั้น ความมีเหตุมีผลมีเพียง 10-20% ราคาหุ้นส่วนใหญ่ 80-90% เป็นเรื่องของจิตวิทยา ดังนั้น เกมของหุ้น คือ เกมที่เราจะต้องคาดว่า คนอื่นจะคิด และทำอย่างไร และกราฟข้อมูลราคาหุ้นที่ผ่านมานั้น เป็นตัวบอกที่ดีที่สุดว่าคนอื่นได้ทำอะไร นักเทคนิคหวังว่าการศึกษาอย่างรอบคอบของสิ่งที่คนอื่นได้ทำ จะเป็นสิ่งที่บอกว่าฝูงชนเหล่านั้น น่าจะทำอย่างไรในอนาคต นักเทคนิคพันธุ์แท้ จะไม่สนใจว่าพื้นฐานของกิจการเป็นอย่างไร บริษัทขายสินค้าอะไร กำไรที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ความเข้มแข็งของธุรกิจอยู่ตรงไหน ผู้บริหารเป็นอย่างไร ว่าที่จริงเขาไม่สนใจด้วยซ้ำว่าบริษัทชื่ออะไร แต่นี่ไม่ได้หมายความว่านักเทคนิคไม่เชื่อว่าพื้นฐานของกิจการเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดราคาหุ้น เพียงแต่พวกเขาเชื่อว่า ราคาหุ้นได้รวมพื้นฐาน และข้อมูลทั้งหมดของกิจการเอาไว้แล้ว ดังนั้นแค่เขาดูราคาหุ้นที่ผ่านมาก็พอแล้ว และนี่ก็นำไปสู่หลักการใหญ่สองข้อของการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั่นคือ ข้อแรก ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับกำไร ปันผล และผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท ได้ถูกสะท้อนเข้าไปในราคาหุ้นของบริษัทหมดแล้ว ถ้ากิจการแย่ราคาก็ลง กิจการดี ราคาก็ขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นจากกราฟราคาและปริมาณการซื้อขายที่ผ่านมาในอดีต ข้อสอง ราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวเป็นแนวโน้ม หุ้นที่กำลังขึ้นต่อเนื่อง จะมีแนวโน้มที่จะขึ้นต่อไป หุ้นที่กำลังลงต่อเนื่องก็จะลงต่อไป และหุ้นที่นิ่งๆ ก็จะนิ่งต่อ หุ้นจะเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้มจนกว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นที่จะเปลี่ยนสมดุลของแรงซื้อ และแรงขายของหุ้นตัวนั้น หน้าที่ของนักวิเคราะห์ทางเทคนิค ก็คือ การมองหาแนวโน้มจากเส้นกราฟของราคาที่ผ่านมาย้อนหลังซึ่งอาจจะเป็นร้อยๆ วันหรือไม่กี่วัน แนวโน้มที่มีชื่อ และเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายว่าสามารถทำนายทิศทางหุ้นได้ชัดเจน ก็เช่น รูปแบบที่เรียกว่า HEAD-AND-SHOULDERS หรือหัวและไหล่ นอกจากรูปแบบนี้ซึ่งมีมาเก่าแก่แล้วก็ยังมีรูปแบบมากมาย ที่นักเทคนิคจะสามารถคิดค้นขึ้นได้ และตั้งชื่อให้เก๋ไก๋ เช่น แบบแท่งเทียน ผมก็เคยได้ยิน เหตุผลที่นักเทคนิคให้ว่า ทำไมการวิเคราะห์แบบนี้จึงใช้ได้นั้น อยู่ที่เรื่องของจิตวิทยา และเรื่องของนิสัยหรือพฤติกรรมของคน เช่น เมื่อนักลงทุนเห็นราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปต่อเนื่อง เขาก็เข้าไปซื้อเพราะไม่อยาก "ตกรถ" ดังนั้นทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปต่อทำให้ราคาหุ้นขึ้นแบบเป็นแนวโน้ม หรืออย่างในกรณีของแนวรับแนวต้านนั้น ก็เป็นเพราะพฤติกรรมของคน ตัวอย่าง เช่น หุ้นตัวหนึ่งราคาอยู่ที่ 5 บาทมานาน และมีคนที่ซื้อในราคานี้จำนวนมาก และสมมติว่าราคาตกลงมาเหลือ 4 บาท ซึ่งทำให้คนติดหุ้นจำนวนมาก และอยากขายเอาทุนคืน ดังนั้น เมื่อราคาวิ่งกลับมาที่ 5 บาทคนเหล่านี้ ก็จะขายหุ้นซึ่งทำให้ราคาขึ้นไปเกิน 5 บาทยาก และนี่ก็คือ "แนวต้าน" ในทางตรงกันข้าม ถ้าหุ้นอยู่ที่ราคาค่อนข้างต่ำมานานแล้ววิ่งขึ้นไประยะหนึ่งแล้วกลับตกลงมาใกล้จุดเดิม คนที่ขายหุ้นไปก่อนในราคาสูง และคนที่รู้สึกว่าได้พลาด "ตกรถ" ที่ไม่ได้ซื้อในช่วงก่อนก็ถือโอกาสเข้ามาช้อนซื้อ ทำให้ราคาไม่ตกต่ำลงกว่าจุดเดิมก่อนหุ้นขึ้น และนี่ก็คือ "แนวรับ" ทั้งแนวต้านและแนวรับนั้น นักเทคนิคยังให้เหตุผลต่อว่า ถ้าราคาหุ้นไม่ผ่านหลายๆ ครั้ง มันก็จะเป็นแนวต้าน และแนวรับที่แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ข้างต้นนั้นก็เป็นเรื่องที่สามารถอธิบายไปได้ แต่ถ้าถามนักเทคนิคว่า มันเป็นเรื่องจริง หรือที่คนทำอย่างนั้น เขาก็มักจะตอบว่าไม่รู้เหมือนกัน เขาเพียงแต่เชื่อว่า ประวัติศาสตร์มันมักซ้ำรอย ซึ่งทำให้การวิเคราะห์ด้วยราคาหุ้นในอดีตสามารถบอกอนาคตได้ จากการศึกษาของนักวิชาการในต่างประเทศที่ตลาดทุนก้าวหน้ามายาวนาน ข้อสรุปนั้นชัดเจนว่า การวิเคราะห์ทางเทคนิคไม่สามารถที่จะทำกำไรให้กับผู้ใช้ได้ พูดง่ายๆ ข้อมูลของราคาหุ้นในอดีต ไม่สามารถบอกราคาในอนาคตได้ และคนที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการซื้อขายหุ้นมักจะขาดทุนมาก เนื่องมาจากค่าคอมมิชชั่นที่ต้องจ่ายมากกว่าปกติ เพราะการซื้อขายหุ้นด้วยเทคนิคนั้นทำให้ต้องซื้อๆ ขายๆ บ่อย ว่าที่จริงระยะหลังๆ นี้ แทบจะไม่มีคนสนใจเทคนิคนี้แล้ว แต่ในเมืองไทย การเล่นหุ้นโดยอาศัยการวิเคราะห์แบบเทคนิค ยังน่าจะอยู่กับเราอีกนาน ผมเองคิดว่า VALUE INVESTOR ไม่ควรสนใจการใช้การวิเคราะห์แบบเทคนิค ในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น แม้ว่าจะเป็นแค่ปัจจัยประกอบ เพราะผมคิดว่า มันอาจจะทำให้เราไขว้เขวจากปัจจัยพื้นฐานของกิจการ และการลงทุนระยะยาว ที่เรายึดถืออย่างมั่นคงที่น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในการลงทุน การวิเคราะห์ทางเทคนิค โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วันอังคารที่ 05 มิถุนายน พ.ศ. 2550 !thk !thk
  5. Value + Growth ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในโลกของการลงทุน มีแนวความคิดใหญ่ๆ น่าจะประมาณ 3 แบบ นั่นคือ Value Investment ซึ่งเป็น "โรงเรียน" ที่เก่าที่สุด นำโดย เบน เกรแฮม Growth Investment หรือการลงทุนในหุ้นที่เติบโตเร็วนำโดย ฟิลิปส์ ฟิสเชอร์ และ Passive Investment หรือการลงทุนที่ไม่ต้องเลือกหุ้นแต่ซื้อหุ้นทุกตัวที่อยู่ในดัชนีหรือในตลาด ซึ่งเป็น “โรงเรียน” ล่าสุดที่นำโดยนักวิชาการการเงินแต่คนที่มีชื่อเสียงน่าจะเป็นกองทุนอิงดัชนี Vanguard ที่ก่อตั้งและบริหารโดย จอห์น โบเกิล ส่วนแนวทางอื่นๆ นั้น มักเป็นแนวทางเล็กๆ ที่แตกแขนงออกไป มีคนใช้และศึกษาน้อยเกินกว่าที่จะเรียกว่าเป็น “โรงเรียน” แนวทางของ Value Investment มีหลักการที่เข้มข้นเป็นเรื่องเป็นราว เป็นตำราที่ต้องใช้ศาสตร์หลายๆ อย่าง เฉพาะอย่างยิ่งทางการเงินในการวิเคราะห์หามูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ ดังนั้น คนที่ศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้หลายอย่าง รวมถึงความสามารถในการคำนวณทางการเงินถึงจะเข้าใจได้ลึกซึ้ง หนังสือที่เป็น “ไบเบิล” ของ Value Investment เช่น Securities Analysis ของ เบน เกรแฮม นั้น หนามากและอ่านยากเท่า ๆ กับความ “น่าเบื่อ” ซึ่งแม้แต่คนที่เรียนมาทางการเงินโดยตรง ก็พบว่ากว่าจะอ่านจบก็เหนื่อยทีเดียว หัวใจของ Value Investment นั้น อยู่ที่การซื้อหุ้นที่มีราคาถูกหรือราคาต่ำกว่า “พื้นฐาน”ของกิจการ โดยที่พื้นฐานของกิจการนั้นมักเน้นไปที่ข้อมูลหรือตัวเลขทางการเงิน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน กำไรที่เป็นตัวเลขในอดีตที่ผ่านมาเป็นต้น ส่วนความถูกของราคาหุ้นก็มักจะดูจากค่า PE และ PB ว่าจะต้องต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น เวลาเลือกหุ้นโดยใช้มาตรฐานแบบนี้ หุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้น Value จึงเป็นหุ้นที่มีค่า PE และ PB ต่ำเป็นหลัก ซึ่งหุ้นประเภทนี้ส่วนมากมักเป็นหุ้นที่นักลงทุนไม่ค่อยสนใจจะลงทุน เนื่องจากเหตุผลหลายอย่างแต่ที่สำคัญ ก็คือ เป็นหุ้นของกิจการที่มี “คุณภาพต่ำ” และคำว่าคุณภาพต่ำก็มีความหมายกว้างมากเช่น เป็นกิจการที่ไม่โตหรือเป็นกิจการ “ตะวันตกดิน” ผู้บริหารมีปัญหาในด้านของบรรษัทภิบาล หรือกำไรลุ่มๆ ดอน ๆ ไม่แน่นอน เป็นต้น หัวใจของ Growth Investment นั้น อยู่ที่การซื้อหุ้นที่เติบโตเร็ว บริษัทมีคุณภาพดีหรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่า ก็คือ มีศักยภาพสูงในการที่จะเติบโตในอนาคตด้วยเหตุผลต่างๆ รวมถึงผู้บริหารที่มีความสามารถสูง มีตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย สิ่งเหล่านี้จะทำให้บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และในที่สุด จะทำกำไรมหาศาล ดังนั้น การซื้อหุ้นไว้จะทำให้ได้กำไรงดงามเมื่อบริษัทประสบความสำเร็จและเติบโตไปตามที่คาด ส่วนเรื่องของราคาหุ้น แม้ว่าอาจจะดูว่ามีราคาแพงในวันนี้ โดยที่ค่า PE และ PB อาจจะสูงหรือสูงมากในวันนี้ เนื่องจากกำไรของบริษัทยังอาจจะน้อยหรือไม่มีกำไรเลย แต่ในอนาคตเมื่อกำไรเพิ่มขึ้น ค่า PE ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นหุ้นที่ไม่แพง อย่างไรก็ตาม Growth Investor นั้น สนใจค่า PE น้อยกว่าการเติบโตของรายได้และกำไร ผมคงไม่พูดถึง Passive Investment เพราะเขาไม่เลือกหุ้นอยู่แล้ว พวกเขาคิดว่าตลาดหลักทรัพย์นั้นเป็นตลาดที่มี “ประสิทธิภาพ” ในการกำหนดราคาหุ้นให้เหมาะสมกับพื้นฐานของหุ้นทุกตัว ดังนั้น ไม่ต้องไปเลือก ซื้อเฉลี่ยไปทุกตัวและถือไว้ตลอดเวลา ซึ่งก็จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม คือ ประมาณปีละเกือบ 10% ในระยะยาว จุดอ่อนของความคิดแบบ Value Investment ก็คือ การเน้นไปที่ความถูกของหุ้นเพียงอย่างเดียว ทำให้มักเลือกหุ้นที่มีคุณภาพต่ำ หุ้นเหล่านี้อาจจะให้ผลตอบแทนพอใช้ได้ แต่ก็ไม่โดดเด่นนัก หุ้นถูกหรือถูกมากเหล่านั้นเมื่อเวลาผ่านไปมันก็ยังคงถูกอยู่อย่างเดิม ดังนั้น นักลงทุนก็อาจจะไม่ได้อะไร เวลาของการรอคอยเพื่อที่จะให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาสะท้อนพื้นฐานบางครั้งมันนานมากจนไม่คุ้มที่จะรอ เพราะว่าเงินนั้นมีต้นทุนและมีค่าเสียโอกาส จุดอ่อนของ Growth Investment ก็คือ มันไม่ค่อยคำนึงถึงราคาหุ้นที่อาจจะแพงเกินไป มันอิงอยู่กับการคาดการณ์อนาคตของบริษัทว่าจะโตแบบก้าวกระโดด ถ้าสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นไปตามคาด หุ้นก็อาจจะตกลงมาอย่างแรงได้ เหนือสิ่งอื่นใด ศาสตร์ของการมองอนาคตนั้นไม่หนักแน่นมั่นคง โอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมีมหาศาลและหลายเรื่องไม่อาจคาดได้ ดังนั้น การซื้อหุ้นโดยไม่สนใจหรือสนใจน้อยในเรื่องของราคารวมถึงปัจจัยพื้นฐานทางการเงินหรือตัวเลขอื่นๆ จึงเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทางเลือก ก็คือ จับแนวความคิดของ Value มารวมกับ Growth เพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อนของการลงทุนทั้งสองแบบ ขณะเดียวกัน ได้จุดแข็งของแต่ละแนวทางมาใช้ในการลงทุน แนวทางของ Value+Growth Investment นั้น เราจะเน้นการวิเคราะห์ที่เป็น “แก่น” โดยใช้ Value Investment ที่มีการตรวจสอบบริษัทอย่างเข้มข้นเป็นหลัก หลังจากนั้น เราจะมองทางด้านของคุณสมบัติทางด้านคุณภาพ โดยเฉพาะโอกาสในการเติบโตของบริษัท ในแบบของ Growth Investment ซึ่งจะต้องมองถึงศักยภาพด้วยไม่ใช่ดูแต่ตัวเลขในอดีต เช่นเดียวกัน จะต้องมองไปถึงความสามารถในการแข่งขันของบริษัทและคู่แข่ง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในภาวะแวดล้อม และตลาดของสินค้าในอนาคต การเลือกลงทุนแบบ Value + Growth นั้น เราจะไม่เลือกโดยยึดถือปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเป็นหลัก เราจะไม่เลือกเพราะว่ามันเป็นหุ้นที่ถูกที่สุดหรือดีที่สุดในด้านของคุณสมบัติและการเติบโตของบริษัท แต่เราจะเลือกเพราะหุ้นนั้นเป็นกิจการที่ดีและแข็งแรงมีการเติบโตที่ดีพอในขณะเดียวกันหุ้นมีราคาถูกหรือมีราคาที่เหมาะสม นี่เป็นศาสตร์ที่เราจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ใช้แนวทางนี้ เซียนหุ้นจำนวนมากใช้แนวทางนี้ ผมเองก็ใช้แนวทางนี้ แต่คนที่ใช้ส่วนใหญ่ก็ไม่เคยบอกว่าตนเอง “เปลี่ยนสี” บัฟเฟตต์บอกว่า Growth กับ Value นั้นเหมือนกับแฝดสยามที่มีตัวติดกันที่ “สะโพก” นั่นก็คือ Growth หรือการเจริญเติบโตนั้น ที่จริงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของ Value มันแยกกันไม่ออก ถ้าจะพูดไป เมื่อเป็น Value Investor ถึงจุดหนึ่ง คุณก็จะรู้ว่า Value Investment นั้น แท้ที่จริงเป็น “กระบวนการในการคิด” ที่ต้องมีเหตุผลในด้านของการลงทุนรองรับ มันไม่มีเรื่องของ Growth เรื่องของ โมเมนตัม และเรื่องอื่น ๆ ร้อยแปดที่แยกออกมาต่างหาก ทุกเรื่องเป็นเรื่องเดียวกัน คือ มัน “Make Sense” หรือไม่ Value + Growth ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ Value Investor วันที่ 1 มิถุนายน 2553 !031 !031
  6. ชีวิตชีวาของหุ้น ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ทุกครั้งที่ผมซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผมคิดเสมอว่า ผมกำลังลงทุนในธุรกิจ ผมไม่ได้ซื้อกระดาษที่เรียกว่า "หุ้น" แผ่นเล็กๆ ที่มีราคาขึ้นๆ ลงๆ ทุกวัน ธุรกิจนั้นเป็น "ของจริง" ที่มีโรงงาน หรือสำนักงาน มีพนักงาน มีระบบการบริหารและข้อมูล มีแหล่งป้อนวัตถุดิบหรือสินค้าเพื่อนำมาขายต่อ และสุดท้าย ก็คือ มีร้านหรือช่องทางที่จะขายให้กับ "ลูกค้า" ซึ่งบ่อยครั้ง ก็คือ ตัวผมเองและคนในครอบครัว ดังนั้นสำหรับผมแล้ว การลงทุนซื้อขายหุ้น ผมสามารถ "สัมผัส" กับมันได้ผ่านการได้เห็นร้าน และการใช้สินค้าหรือบริการของบริษัท นอกจากผมเองที่สามารถ "สัมผัส" กับกิจการได้แล้ว ผมยังมักจะถามความเห็นของภรรยา และโดยเฉพาะลูกสาวที่ยังเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยว่ากิจการที่ผมสนใจนั้น เขามีความ "รู้สึก" อย่างไรด้วย เหตุผลก็คือ ถ้าผมคิดเอง ความรู้สึกของผมอาจจะผิด เนื่องจากอายุที่มาก และอาจจะรู้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขมากจนทำให้มีความลำเอียงในความดีเด่นหรือความด้อยของกิจการ ในขณะที่ฐานะและความแข็งแกร่งทางด้านการตลาดนั้น เด็กวัยรุ่นกับผู้หญิงที่ไม่ได้เล่นหุ้นน่าจะรู้ดีที่สุด และต่อไปนี้ก็คือบางประเด็นที่ผมมักใช้ทดสอบว่า หุ้นตัวนั้นมีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหนจากการ "สัมผัส" โดยที่ประเด็นต่างๆ เหล่านั้น ผมจะมองที่หุ้นของกิจการที่มี "อนาคต" และ "มีชีวิตชีวา" มองจากสายตาของ "คนรุ่นใหม่" หรือคนที่สามารถ "ใช้สามัญสำนึกได้โดยไม่ลำเอียง" ข้อแรกที่เป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกหุ้น ก็คือ ธุรกิจนั้น เรา "ภูมิใจ" ที่จะได้เป็นเจ้าของหรือไม่ หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่า ก็คือ ลูกเรารู้สึกภูมิใจที่จะไปคุยกับเพื่อนฝูงว่า เขาเป็นเจ้าของหรือไม่ ถ้าเขารู้สึกว่ากิจการที่เรากำลังพิจารณาซื้อนั้น เป็นกิจการที่ดูเชยหรือโบราณหรือไม่น่าสนใจ พูดไปเพื่อนฝูงก็ไม่รู้จัก แบบนี้ก็แสดงว่าเป็นกิจการที่ "ไม่เท่" ในสายตาของคนรุ่นใหม่ ตรงกันข้าม ถ้าเขารู้สึกว่าการเป็นเจ้าของกิจการที่กำลังพูดถึงนั้นจะทำให้เขาดูดีมาก เป็นที่อิจฉาของเพื่อนฝูงและน่าจะทำให้เขาดูป๊อปปูล่าร์มาก แบบนี้ก็แสดงว่าหุ้นที่เรากำลังพิจารณานั้น น่าจะเป็นหุ้นที่มีอนาคตที่ดีอย่างน้อยก็ในแง่ของตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ข้อสอง ธุรกิจนั้น เป็นสินค้าที่คนรุ่นใหม่กำลังนิยมใช้มากหรือไม่ มันเป็นเทรนด์หรือเป็น "แฟชั่น" หรือไม่ ถ้าคำตอบก็คือ นี่เป็นสินค้าที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยได้ใช้แล้ว คนรุ่นใหม่ไม่สนใจหรือกำลังเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้อย่างอื่น แบบนี้ก็ต้องระวังว่าอนาคตอุตสาหกรรมอาจจะกำลังตกต่ำลง ตรงกันข้าม สินค้าหรือบริการที่คนรุ่นใหม่กำลังนิยมใช้หรือเริ่มเข้ามาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ หรือแสดงความสนใจศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ แบบนี้ก็แสดงว่าสินค้าหรือบริการนั้น กำลังอยู่ในเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ อนาคตและการเติบโตของอุตสาหกรรมน่าจะดีขึ้น ข้อสาม กิจการมีการเติบโตต่อเนื่องเห็นได้จากการ "เปิดร้านสาขาใหม่ๆ" เพิ่มขึ้นตลอดทั้งในทำเลที่ใกล้เคียงและในทำเลใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเปิดมาก่อน ความคึกคักของร้านนั้น สามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจนจากร้านที่ "ดูใหม่" และทันสมัย มีสินค้าใหม่ๆ มากมายที่ลูกค้า ซึ่งอาจจะรวมถึงครอบครัวเราด้วย อยากเข้าไปใช้บริการมากกว่าร้านอื่นๆ ที่ขายสินค้าคล้ายคลึงกัน ข้อสี่ เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้วรู้สึก "โดน" มาก คือรู้สึกประทับใจและถ้าเลือกได้ก็จะใช้ของบริษัทนี้ นอกจากนั้นเพื่อนๆ หรือคนอื่นก็พูดคล้ายๆ กัน คำว่าประทับใจหรือพอใจนั้นต้องดูโดยรวมและเทียบกับราคาของสินค้าหรือบริการนั้นด้วย กิจการที่ให้บริการที่ "โดน" นั้น จะสามารถผูกใจให้ลูกค้ามีความภักดีต่อสินค้าหรือบริการซึ่งจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัททั้งในระยะสั้นและยาว ข้อห้า รู้สึกว่าบริษัทมี "ความมั่นคงมาก" ความรู้สึกนี้มักจะมาจากการที่บริษัท ก่อตั้งมานาน มีระบบการจ้างงานที่ดี ให้เงินเดือนหรือสวัสดิการดี องค์กรจ้างคนที่มีคุณสมบัติสูงเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นที่จ้างคนที่มีระดับการศึกษาเดียวกัน เราไม่ต้องไปดูข้อมูลเหล่านี้ เราเพียงแต่ใช้หรือฟังภรรยาและลูกพูดถึงบริษัทว่ารู้สึกอย่างไรก็พอ ข้อหก พนักงานของบริษัท "ดูดี" เช่น ขยันและเอาใจใส่กว่าบริษัทคู่แข่ง แต่งตัวดีและหน้าตาดีกว่าบริษัทอื่นในระดับเดียวกัน บางทีผมก็พยายามมองดูว่าพนักงานของบริษัทนี้รู้สึกจะมีความภูมิใจในตัวเองมากกว่าพนักงานของบริษัทคู่แข่งหรือไม่ ถ้าใช่ก็ถือว่าดี ข้อเจ็ด กิจการมีการ "เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด" เช่นเดิมทีต้องรอนานและพนักงานไม่สนใจลูกค้า กลายเป็นเร็วขึ้นและต้อนรับลูกค้าอย่างดีและมีบริการใหม่ ๆ มาเสนอต่อลูกค้าตลอด ข้อนี้ถ้าเราเห็นหรือรู้สึกได้ตั้งแต่ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ก็จะเป็นโอกาสในการซื้อหุ้นที่งดงามได้ การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนั้น ครอบคลุมกว้างมากและรวมไปถึงกิจการทุกประเภทที่เราจะสามารถสัมผัสได้ ดังนั้นในแง่ของการลงทุนแล้ว ทุกครั้งที่เราซื้อสินค้าหรือใช้บริการ เราควรจะต้องสังเกตและวิเคราะห์เสมอว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปไหม ดีขึ้นหรือเลวลง มากน้อยแค่ไหน ถ้าคำตอบคือ ดีขึ้นมากละก็ ลองพิจารณาอย่างจริงจังที่จะซื้อหุ้นดู ผมคงไม่สามารถที่จะพูดได้หมดว่ามีประเด็นอะไรอีกบ้าง ที่จะเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าบริษัทหรือหุ้นตัวนั้นมีความน่าสนใจมองจาก "การสัมผัส" กับสินค้าหรือบริการนั้น แต่สิ่งที่จะเน้นย้ำอีกครั้งก็คือ เราจะต้องเห็นถึงความ "มีชีวิตชีวา" ของตัวกิจการ ซึ่งสิ่งนี้มักจะอิงหรือเกี่ยวข้องกับคนที่มีอายุน้อยและเป็นคนรุ่นใหม่ และก็เช่นเคย การวิเคราะห์โดยการสัมผัสนั้น แม้จะเป็นการวิเคราะห์ที่สำคัญมากแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด นักลงทุนยังคงต้องวิเคราะห์ในเรื่องของการเงินและอื่นๆ รวมถึงราคาหุ้นตามมาตรฐานที่เข้มงวดแบบ VI ด้วย โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 !thk !thk
  7. Blitzkrieg : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (**บทความล่าสุด**) Blitzkrieg ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยเวลานี้ทำให้ผมนึกไปถึงสงครามโลกครั้งที่สอง เปรียบเทียบประเทศไทยก็คล้าย ๆ กับฝรั่งเศสหรืออังกฤษขึ้นอยู่กับว่าผลของน้ำท่วมสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ส่วนน้ำนั้นก็คือเยอรมัน สงครามโลกครั้งที่สองนั้นเป็นมหาสงครามระหว่างฝรั่งเศส อังกฤษและพันธมิตรอื่น ๆ กับเยอรมัน ส่วนน้ำท่วมใหญ่นั้นเป็น “มหาสงคราม” ระหว่างประเทศไทยกับมวลน้ำมหาศาลที่กำลังบุกเข้าโจมตีกรุงเทพ สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มจริง ๆ ในเดือนกันยายน ปี 1939 เมื่อฮิตเลอร์บุกโปแลนด์ซึ่งทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสต้องประกาศสงครามกับเยอรมัน แต่ในความเป็นจริงการรบระหว่างสองค่ายยังไม่เกิดขึ้น คนในอังกฤษและฝรั่งเศสก็ไม่ได้รู้สึกว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไป ยังคงใช้ชีวิตและฉลองคริสต์มาศกันตามปกติ ช่วงเวลาหลายเดือนต่อจากนั้นจึงถูกเรียกกันว่า Phony War หรือ “สงครามเก๊” แต่ในทางตรงกันข้าม เยอรมันนั้นกำลังเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์และฝึกซ้อมทหารอย่างขะมักเขม้นเพื่อเตรียมบุกยึดประเทศศัตรู ถ้าเปรียบไปก็คงเหมือนช่วงประมาณเดือนมิถุนายนปีนี้ที่น้ำเริ่มท่วมในชนบทของไทยหลายแห่งแต่ก็ไม่ใคร่มีใครคิดว่ามันจะกลายเป็นการท่วมที่ใหญ่โตอะไรนัก ในเวลาเดียวกัน น้ำฝนก็เริ่มตกลงมาและสะสมพลังน้ำไว้มหาศาลโดยที่ไม่มีใครตระหนัก และเขื่อนต่าง ๆ ยังกักเก็บน้ำตามปกติ มหาสงครามโลกครั้งที่สองกำลังจะเริ่มแล้ว.. เช่นเดียวกับ “มหาสงครามน้ำ” ในประเทศไทย ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม 1940 เยอรมันก็เริ่มสงครามเปิดศึก “Blitzkrieg” หรือการรุกแบบ “สายฟ้าแลบ” เข้ายึดประเทศต่าง ๆ เช่นเดนมาร์ก นอร์เวย์ เบลเยี่ยม ประเทศยุโรปที่อยู่ทางใต้หลายประเทศ และยึดฝรั่งเศสได้ในวันที่ 22 มิถุนายน 1940 ใช้เวลาเพียงประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นก็เตรียมบุกอังกฤษซึ่งมี “ป้อมปราการ” ที่เป็นช่องแคบอังกฤษขวางอยู่ Blitzkrieg นั้น เป็นกลยุทธ์การรบที่เยอรมันใช้หน่วยรถถังแพนเซอร์ที่เคลื่อนที่เร็วและทรงพลานุภาพพร้อม ๆ กับกองกำลังทหารจำนวนมหาศาลบุกเข้าโจมตีแนวป้องกันต่าง ๆ ของฝ่ายตรงข้ามจุดแล้วจุดเล่า ทุกแห่งนั้นไม่สามารถป้องกันได้และ “แตก” อย่างรวดเร็ว ในกรณีของฝรั่งเศสนั้น “แนวป้องกันมายิโนต์” ซึ่งฝรั่งเศสสร้างเอาไว้อย่างยิ่งใหญ่และแข็งแกร่งมากและคิดว่า “ไม่มีใครสามารถผ่านไปได้” ก็ถูก “อ้อม” และผ่านไปในที่สุด ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรสามารถต้านทานกองทัพเยอรมันได้ ประมาณ เดือนสิงหาคม 2554 น้ำก็เริ่ม “บุก” จังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยตั้งแต่เชียงใหม่ และต่อมาที่นครสวรรค์ อยุธยา ปทุมธานี ทุกเมืองต่างก็สร้าง “เขื่อน” ป้องกันและ “ต่อสู้” กับน้ำในทุกรูปแบบแต่ก็ล้มเหลว เช่นเดียวกัน นิคมอุตสาหกรรมซึ่งเปรียบเสมือนเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญเทียบได้กับโรงงานผลิตอาวุธหรือแหล่งแร่หรือพลังงานที่จำเป็นในสงครามที่เราพยายามป้องกันอย่างเต็มที่นั้น ต่างก็ “แตก” อย่างง่ายดายทุกที่ที่น้ำผ่าน แห่งแล้ว แห่งเล่า มวลน้ำมหาศาลที่ไหลบ่ามานั้นก็คงเหมือนรถถังแพนเซอร์และกองกำลังของเยอรมันที่มีประสิทธิภาพสูงจนไม่มีใครสามารถทานได้ ในเวลาเพียง 2-3 เดือนน้ำก็มาจ่ออยู่ที่กรุงเทพซึ่งได้สร้าง “ป้อมปราการ” เป็นแนวป้องกันที่แข็งแกร่งและหวังว่าจะ “ไม่มีมวลน้ำที่จะสามารผ่านไปได้” ขณะที่เขียนบทความนี้ ผมเองก็ยังไม่ทราบว่ากรุงเทพโดยเฉพาะในเขตชั้นใน จะรอดพ้นจากภาวะน้ำท่วมรุนแรงได้หรือไม่ ถ้าไม่สำเร็จ กรุงเทพก็คงจะเปรียบเหมือนฝรั่งเศส ที่ถูกยึดครองอย่างรวดเร็วเมื่อกองทัพเยอรมันเคลื่อนพลมาถึง แต่ถ้ากรุงเทพรอดพ้นจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ไปได้ก็คงจะเหมือนกับอังกฤษ ที่รอดพ้นจากการยึดครองของเยอรมันเนื่องจากมีช่องแคบอังกฤษขวางอยู่ แต่สิ่งที่ทำให้อังกฤษรอดไปได้นั้นอยู่ที่กองทัพเรือและกองทัพอากาศที่มีประสิทธิภาพในการที่จะยับยั้งฝ่ายเยอรมันไม่ให้รุกข้ามช่องแคบมาได้ เหนือสิ่งอื่นใด กำลังใจที่เข้มแข็งและความสามัคคีอันยิ่งใหญ่ของชาวอังกฤษที่พร้อมจะต่อสู้และปกป้องประเทศจากข้าศึกเป็นปัจจัยชี้ขาดทำให้อังกฤษสามารถปกป้องประเทศไว้ได้ และในที่สุดก็เอาชนะฝ่ายเยอรมันได้สำเร็จ ความพ่ายแพ้ของเยอรมันนั้น ถ้ามองกันในภาพใหญ่จริง ๆ แล้วก็คือ เยอรมันมีทรัพยากรหรือกำลังไม่พอที่จะทำสงครามยืดเยื้อยาวนานได้ เช่นเดียวกัน น้ำนั้นก็มีพลังเพียงเท่าที่มันยังอยู่ในที่สูงและอยู่บนพื้นดิน ซึ่งในไม่ช้าน้ำทั้งหมดก็จะต้องไหลลงทะเลเป็นส่วนใหญ่และก็จะหมดพลังไปในที่สุด เรารู้ว่าในที่สุดเยอรมันก็ต้องแพ้โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับอังกฤษฝรั่งเศส เรารู้ว่าในที่สุดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยก็ต้องจบลงไป แต่ในขณะนี้สิ่งที่ต้องทำก็คือ ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ในแง่ของผู้คนทั่วไป ผมดูแล้วผลกระทบก็น่าจะคล้ายกัน ในสงครามมีผู้อพยพและศูนย์ผู้ลี้ภัย มีการอพยพไปอยู่กับญาติในต่างจังหวัด น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ก็คล้ายกัน ในสงครามผู้คนต่างก็ต้องกักตุนอาหาร เช่นเดียวกัน น้ำท่วมครั้งนี้สินค้าจำนวนมากถูกกวาดจากชั้นวางของในห้าง ซึ่งรวมถึงน้ำ อาหารแห้งและอาหารกระป๋อง เราเห็นความแตกตื่นของผู้คนที่หนีการสู้รบและหนีน้ำไม่ต่างกัน แต่ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเสียหายของทรัพย์สินที่มากมายมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านและของใช้ภายในบ้านที่จะหายไปกับสงครามและสายน้ำ แต่ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป ในมหาสงครามโลกครั้งที่สองนั้น แน่นอน ถือเป็นวิกฤติที่ยิ่งใหญ่ แต่วิกฤตินั้นมีโอกาสอยู่เสมอโดยเฉพาะในตลาดหุ้น ตลาดหุ้นทั้งในอเมริกาและอังกฤษในช่วงของสงครามมีราคาขึ้นลงหวือหวารุนแรงตามสภาวการณ์ของสงคราม ในช่วงที่ฝรั่งเศสและอังกฤษเพลี่ยงพล้ำ ตลาดหุ้นตกต่ำอย่างแรง แต่ในยามที่เยอรมันปราชัย ตลาดหุ้นก็วิ่งขึ้น เช่นเดียวกัน ราคาหุ้นของบางบริษัท เช่นผู้ผลิตอาวุธและยุทธปัจจัยในอเมริกาต่างก็ได้ประโยชน์และวิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกิจการหลายอย่างโดยเฉพาะที่เป็นสิ่งฟุ่มเฟือยก็ถูกกระทบเพราะคนคงลดการใช้ลงไปมาก น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ก็เช่นกัน บางบริษัทได้ประโยชน์แม้ว่าส่วนใหญ่จะเสียหาย อย่างไรก็ตาม กรณีของน้ำท่วมนี้ เรารู้ผลลัพธ์ชัดเจนอยู่แล้วว่าในไม่ช้าน้ำก็จะลดลงหรือแพ้ไปตามธรรมชาติ ดังนั้น สิ่งที่เราจะต้องพิจารณาจึงมีเพียงว่าบริษัทจะได้รับความเสียหายแค่ไหนและความเสียหายนั้นจะต่อเนื่องต่อไปอีกนานเท่าไร ภาพโดยรวมแล้วผมคิดว่าบริษัทที่น่าจะเสียหายมากที่สุดก็คือบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมหรือมีทรัพย์สินอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมรุนแรง เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ บริษัทที่มีโรงงานส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ที่ที่โดนน้ำท่วมหนักและบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีที่ดินและโครงการจมอยู่ใต้น้ำ ส่วนบริษัทอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบรองลงมาก็คือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับบริษัทอื่นที่ถูกกระทบรุนแรงและการผลิตหรือการดำเนินงานต้อง “สะดุด” หยุดลงชั่วคราว ส่วนบริษัทที่ได้ประโยชน์หรือเสียหายน้อยก็คือบริษัทที่อาจจะมียอดขายลดลงบ้างในช่วงนี้แต่จะกลับมาขายดีขึ้นเมื่อน้ำลดเช่นบริษัทขายวัสดุก่อสร้างหรือบริษัทที่ขายสินค้าจำเป็นทั้งหลาย แต่สิ่งที่จะเป็นโอกาสจริง ๆ นั้นก็คือ เราจะต้องพิจารณาว่าราคาหุ้นของแต่ละบริษัทที่เรากำลังพิจารณานั้นตกลงมาแค่ไหนเมื่อเทียบกับผลกระทบที่บริษัทได้รับ Blitzkrieg โลกในมุมมองของ Value Investor Wednesday, 26 October 2011 !53 !53
  8. บทความน่าอ่านคับ Blog 8 : ปัจจัย 4 ในการลงทุน เมื่อเดือนก่อน ผมได้โพสตอบกะทู้ โดยเนื้อหาที่โพสคือ ปัจจัยสำคัญในการลงทุน (ในมุมมองของผมเอง) พอดีเห็นว่าน่าจะนำมาเขียนขยายความต่อได้ ประกอบกับนานๆจะได้อัพ blog ซักทีนึง ฮ่าๆๆ เลยถือโอกาสนี้เขียนขยายความเรื่องเดิมครับ (กะทู้ที่ว่าคือ : มือใหม่อยากลงทุนหุ้นแนว VI ต้องอ่านหนังสืออะไรบ้างมาดูกันครับ) ปัจจัยหลักๆที่สำคัญในการลงทุนในมุมมองของผม ก็คือ หลักการ, ความรู้, EQ และ ประสบการณ์ ผมว่าปัจจัย 4 อันนี้มีความสำคัญเท่าๆกันหมด จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ (แต่สามารถมีมากกว่า 4อย่างได้) ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในการลงทุน เราต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้ และต้องพัฒนาไปทุกๆด้านครับ 1. หลักการ : อยู่ที่ว่าคุณเล่นหุ้นแนวไหน ก็ให้นำหลักการของสายนั้นมาใช้ ดูกราฟก็เชื่อกราฟ ดูพื้นฐานก็เชื่อพื้นฐานครับ หรือจะเป็นแนวผสมก็ได้ ผมสังเกตุว่าเดี๋ยวนี้คนเล่นแนวผสมมีเยอะมากครับ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือประหลาดอะไร ใครถนัดใช้เครื่องมืออะไรก็ใช้ไปครับ แต่ขอให้คุณลงทุนอย่างมีความสุข และได้กำไรก็เพียงพอแล้วครับ ที่สำคัญคืออย่าขาดทุนนะครับ แต่ทั้งนี้ ทุกคนควรจะมีหลักการลงทุนเป็นของตัวเองนะครับ สไตล์ใครสไตล์มัน ซึ่งของแบบนี้ผมว่าเลียนแบบกันไม่ได้ เมื่อถึงจุดนึงผมเชื่อว่า ทุกคนจะมีแนวทางการลงทุนเป็นของตัวเองครับ ถึงแม้จะยึดหลักการเดียวกันก็ตาม 2. ความรู้ : เมื่อมีหลักการแล้ว ก็ต้องมีความรู้จริงในหลักการที่เราใช้นะครับ หรือ เข้าถึงแก่นแท้ของหลักการนั่นเอง บางคนรู้อย่างผิดๆ ใช้อย่างผิดทาง พอขาดทุนก็มาโทษหลักการซะงั้น รวมไปถึงมีความรู้รอบตัว และควรจะรู้เรื่องธุรกิจ-เศรษฐกิจ, เศรษฐศาสตร์ เอาไว้บ้าง เพราะเราจะสามารถนำความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆได้ครับ เพราะในตลาดหุ้นมักเกิดสถานการณ์พิเศษที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนอยู่เสมอๆ 3. EQ : จิตใจต้องหนักแน่น มั่นคงในหลักการที่เราเลือกใช้(ถ้าไม่เชื่อในหลักการ แล้วเราจะเลือกใช้ไปทำไม) นอกจากนั้น สิ่งสำคัญคือ คุณต้องไม่หวั่นไหวไปตามกระแสฝูงชน(ไม่แห่ตามโดยไม่มีเหตุผล) มีความคิดที่เป็นอิสระ และเป็นตัวของตัวเองครับ นักลงทุนหลายๆท่านที่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะมี EQ ที่สุดยอดนี่ละครับ 4. ประสบการณ์ : ยิ่งลงทุนนาน ประสบการณ์ก็ยิ่งมากตามครับ เริ่มลงทุนก่อน เริ่มลงทุนเร็ว ได้เปรียบเห็นๆครับข้อนี้ ผมว่าเรื่องจำนวนเงินเริ่มต้นไม่สำคัญเท่าประสบการณ์นะครับ หลายคนชอบเกี่ยงว่าไม่มีเงินจะมาเล่นหุ้น เพราะเงินน้อย รอมีเงินมากๆก่อนค่อยมาลงทุน แต่ผมมองแบบนี้นะครับ สมมติ มีเรากับเพื่อน เริ่มแรกเงินเราน้อยมาก แต่เราเริ่มลงทุนเลย ไม่สนว่าเงินน้อยเงินมาก ในขณะที่เพื่อนบอก ขอรอมีเงินเยอะๆก่อนค่อยมาสนใจด้านนี้(ด้านการลงทุน) เพราะเห็นว่าเงินทุนน้อย เวลาได้กำไรก็ได้น้อย(คนส่วนใหญ่จะคิดกำไรเป็นตัวเงิน ไม่ได้คิดผลตอบแทนเป็น % แล้วเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ เช่น เงินฝาก) เวลาผ่านไปซัก 5 – 10 ปี ถ้าเราลงทุนอย่างถูกวิธี มีหลักการที่ดี ก็ควรจะได้เงินมามากพอสมควร(ตามผลตอบแทนที่ทำได้) ในขณะที่เพื่อนเราเพิ่งเริ่มมีเงินก้อน แล้วเริ่มคิดมาลงทุนบ้าง ถามว่า ในเวลานั้นใครได้เปรียบครับ เทียบกับเราที่ประสบการณ์เริ่มโชกโชน แน่นอนว่าเราได้เปรียบเห็นๆ เพราะต่อให้คุณมีเงินทุนเริ่มต้นมากขนาดไหน ยังไงทุกคนก็ต้องลองผิดลองถูกไปอีกซักระยะครับ บางคนอาจจะเสียเวลา เสียเงินไปมากด้วยกับช่วงแรกๆ กว่าที่จะเริ่มลงทุนได้เก่ง หรือเริ่มจับทางได้แล้ว 4 ข้อด้านบนนั้น ผมว่าเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญ ที่นักลงทุนทุกคนควรจะมีติดตัวครับ ขาดข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้ เหมือนปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการในการดำรงชีวิต ทั้งนี้ บางคนอาจจะเสริมปัจจัยที่ 5 หรือ 6 หรือมากกว่านั้น เข้ามาเสริมตัวเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน เช่น คุณมีปัจจัย 4 ครบถ้วนแล้ว คุณก็เพิ่มปัจจัย 5 และ 6 คือ คุณมีเงินลงทุนเยอะมาก หรือ คุณมี connection ที่ดี กว้างขวาง คนรู้จักเยอะ คุณก็เหมือนติดปีกเลยนะครับ เปรียบเหมือนกับที่คนเราเสริมความสบายด้วย รถยนต์ หรือ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ที่ทำให้ชีวิตของเราง่ายและสะดวกมากขึ้นครับ การเพิ่มปัจจัยที่ 5 6 และอื่นๆเพิ่มมา ก็จะทำให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น รวมไปถึงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นด้วยครับ แต่สุดท้ายแล้วผมเชื่อว่า ขอแค่คุณมีปัจจัย 4 ให้ครบ และมีพัฒนาการไปเรื่อยๆ คุณก็จะสามารถใช้ชีวิตในโลกการลงทุนได้สบายๆแล้วละครับ ปัจจัย 4 ในการลงทุน i_sarut !031 !031
  9. เอาบทความดีๆมาฝากคับ เส้นทางความมั่งคั่งของ บัฟเฟตต์ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตำนานความมั่งคั่งของ วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น เป็นแรงบันดาลใจให้กับ Value Investor ทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ในเมืองไทย จุดเด่นของบัฟเฟตต์นั้น นอกจากจำนวนเงินที่มหาศาลติดอันดับต้นๆของเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกแล้ว ยังเป็นเพราะเขาไม่ได้เป็นคนที่มีฐานะทางบ้านที่ร่ำรวยมาก่อน หรือแต่งงานกับคนที่ร่ำรวย นอกจากนั้น เขาไม่ได้เป็นคนที่สร้างตัวจาก “ธุรกิจ” เขาเป็นแค่ “นักลงทุน” มาตลอดชีวิต ดังนั้น นักลงทุนหนุ่มๆจำนวนมากจึงอาจจะคิดว่า พวกเขาก็สามารถรวยมหาศาลได้เช่นกันโดยการยึด “อาชีพ” การเป็น “นักลงทุน” ตั้งแต่ยังอายุน้อย และด้วยเงินเริ่มต้นที่น้อยมากแบบเดียวกับบัฟเฟตต์ แต่นี่เป็นหนทางของ วอเร็น บัฟเฟตต์ จริงหรือ? ลองมาดูเส้นทางการสร้างความมั่งคั่งของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ดูว่าเขารวยจนมีเงินประมาณ 47,000 ล้านเหรียญ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ได้อย่างไร พูดถึง “เงินเริ่มต้น” ของบัฟเฟตต์ก่อน ตาม “ตำนาน” นั้นบอกว่า บัฟเฟตต์ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเพียง 100 เหรียญ หรือไม่กี่พันบาทไทย แต่ถ้ามีเงินเพียงแค่นี้และไม่มี “รายได้อื่น” เพิ่มเติมเข้ามาอย่างมีนัยสำคัญ ทำอย่างไรผมก็คิดว่าบัฟเฟตต์ไม่มีทางรวยได้ขนาดนี้ บางทีเขาอาจจะมีเงินในวันนี้สัก 50-60 ล้านเหรียญ และเป็นคนที่ไม่มีใครรู้จัก แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ในช่วงต้นๆของชีวิตการลงทุนของบัฟเฟตต์นั้น รายได้จากการลงทุนด้วยเงินของตนเองนั้นน่าจะเป็น “รายได้ส่วนน้อย” รายได้สำคัญนั้นน่าจะเป็น “รายได้อื่น” ที่เกิดจากการทำงานด้วยน้ำพักน้ำแรง นั่นก็คือ เป็นรายได้จากการ “รับจ้างลงทุน” ซึ่งก็คือ ส่วนแบ่ง 25 เปอร์เซ็นต์ของกำไรที่เกินกว่า 6% ที่บัฟเฟตต์คิดจากคนที่เอาเงินมาให้เขาบริหาร รายได้ส่วนนี้ บัฟเฟตต์จะนำมาลงทุนทบต้นเข้าไปเรื่อยๆ และทำให้เงินในส่วนของตนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะเขาทำกำไรให้กับพอร์ตที่เขารับบริหารสูงมาก ผลตอบแทนของพอร์ตโตปีละ 40-50% ทำให้เงินของบัฟเฟตต์เพิ่มขึ้นมาเป็นเงินถึง 25 ล้านเหรียญ เมื่อเขาอายุ 38 ปี และนี่คือการจบ “บทที่หนึ่ง” ในชีวิตการลงทุนของบัฟเฟตต์ บทเรียนของ “บทที่หนึ่ง” ก็คือ ในช่วงแรกๆที่คุณยังมีเงินน้อยมากนั้น คุณควรจะต้องทำงานหาเงิน ในเมืองไทยเองนั้น การรับบริหารพอร์ตเป็นเรื่องเป็นราวนั้นทำได้ยากเนื่องจากข้อจำกัดของกฏหมาย ยิ่งกว่านั้น การบริหารพอร์ตที่มีตลาดหรือมีคนสนใจให้บริหารนั้น มักจะเป็นเรื่องของการบริหารแบบเก็งกำไรที่คนทำจะต้องมีชื่อเสียงเป็น “เซียนหุ้น” ที่สามารถสร้างราคาหุ้นหรือมีอิทธิพลชี้นำราคาหุ้นได้ การบริหารการลงทุนแบบ Value Investment นั้น ช้าเกินไปและคงหาคนมาลงทุนแบบที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ ทำได้ยาก ว่าที่จริง บัฟเฟตต์เองก็ได้เงินส่วนใหญ่มาจากญาติพี่น้องและคนที่รู้จักมักคุ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ดังนั้น ถ้าคุณยังไม่เก่งหรือดังพอที่จะรับจ้างลงทุน สิ่งที่ควรทำก็คือ ทำงานหาเงินมาเพิ่ม “พอร์ตเริ่มต้น” ให้มากพอจนกระทั่ง “เงินจากการลงทุน” จะมากกว่าเงินจากการทำงานมากๆ และเมื่อถึงเวลานั้นค่อยเริ่ม “บทที่สอง” บทที่สองของ บัฟเฟตต์ ก็คือ การลงทุนเพียงอย่างเดียว นั่นก็คือ การใช้บริษัทเบิร์กไชร์เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ รวมถึงหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และนั่นคือช่วงประมาณปี 1969 ที่บัฟเฟตต์ปิดกองทุนและคืนเงินให้คนที่มาให้บริหาร ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ขึ้นไปสูงสุดและกำลังจะตกลงมา กลายเป็นตลาดหมีในช่วง 10 ปี นับจากปี 1969 ถึง 1979 ที่บัฟเฟตต์เริ่มลงทุนเพียงอย่างเดียวจากเงินต้น 25 ล้านเหรียญนั้น ตลาดหลักทรัพย์อยู่ในภาวะที่ยากลำบากมาก เนื่องจากเกิดตลาดหมีที่รุนแรงถึงสองช่วงคือ ในปี 1969-71 และในช่วง 1973-74 ซึ่งเป็นวิกฤติตลาดหุ้นที่ร้ายแรง เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง ทำให้ผลตอบแทนของตลาดในช่วงสิบปีนั้นอยู่ที่ประมาณ 4.7% ต่อปีโดยเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม พอร์ตของบัฟเฟตต์คิดจากราคาหุ้นของเบิร์กไชร์นั้น กลับเพิ่มขึ้นถึง 22.5% เอาชนะดัชนีตลาดถึง 17.8% และนี่คือศิลปะแห่งการ “เอาตัวรอด” ในยามวิกฤติของบัฟเฟตต์ ช่วงสิบปีที่สอง ของการลงทุนเพียงอย่างเดียวของ บัฟเฟตต์ คือช่วงปี 1979-1989 นั้น เป็นช่วง “ฟื้นตัว” ของตลาดหุ้น ดัชนี S&P ปรับตัวขึ้นเฉลี่ยปีละ 12.5% แต่พอร์ตของบัฟเฟตต์ปรับตัวขึ้นเฉลี่ยปีละ 39.1% ชนะตลาดถึง 26.6% ทำให้บัฟเฟตต์กลายเป็นอภิมหาเศรษฐีของอเมริกาโดยมีความมั่งคั่ง 3.4 พันล้านเหรียญ ในปี 1989 ช่วงสิบปีที่สาม คือปี 1989-1999 นั้น เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นอเมริกาบูมมากและถือเป็นทศวรรษของการลงทุน ดัชนี S&P ปรับเพิ่มขึ้นปีละ 15.4% โดยเฉลี่ย พอร์ตของบัฟเฟตต์เองนั้นก็ปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะไม่ดีเท่าช่วงสิบปีก่อนหน้านั้น ส่วนหนึ่งก็คือ ในช่วงสิบปีนี้เป็นช่วงของหุ้นไฮเท็คและหุ้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ซึ่ง บัฟเฟตต์เองไม่ยอมลงทุน ดังนั้น ผลตอบแทนของบัฟเฟตต์จึงเท่ากับประมาณ 20.5% โดยเฉลี่ย และชนะดัชนีตลาดเพียง 5.1% ในปี 1998 บัฟเฟตต์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคนที่รวยที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ด้วยความมั่งคั่ง 33.6 พันล้านเหรียญ เขากลายเป็นสัญญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของนักลงทุนและบรรษัทของอเมริกา ช่วงสิบปีสุดท้าย คือตั้งแต่ปี 1999 ถึง 2009 นั้น เป็นปีวิกฤติของตลาดหุ้น ทั้งวิกฤติจากหุ้นอินเตอร์เน็ตและวิกฤติซับไพร์ม ทำให้ช่วงสิบปีนี้ตลาดหุ้นไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยแต่กลับลดลงปีละ 2.7% โดยเฉลี่ย พอร์ตของบัฟเฟตต์เองนั้นยังโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 5.9% อานิสงค์จากการที่ไม่ได้ลงทุนในหุ้นไฮเท็ค จึงไม่ถูกกระทบมากนัก ผลตอบแทนที่เหนือกว่าตลาดประมาณ 8.6% นั้นถึงแม้ว่าจะยังสูง แต่ก็ห่างจากที่เคยทำได้ในช่วง 20 ปีแรกของการลงทุน นี่อาจจะเป็นผลจากการที่พอร์ตของบัฟเฟตต์โตขึ้นมามาก จนการทำผลตอบแทนที่สูงมากนั้น ทำได้ยากขึ้นมาก ตลอดช่วง 40 ปีของการลงทุนเพียงอย่างเดียวนั้น ผลตอบแทนต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้นของบัฟเฟตต์สูงถึง 21.43% เงินหนึ่งเหรียญจะกลายเป็น 2,362 เหรียญ ในขณะที่ผลตอบแทนของตลาดอยู่ที่ประมาณ 7.24% ต่อปี เงินหนึ่งเหรียญกลายเป็น 16.4 เหรียญ ผลต่าง 14.19% ต่อปีนั้น เป็นสถิติที่แทบจะหาคนเทียบไม่ได้โดยเฉพาะสำหรับเม็ดเงินมหาศาลอย่างของ บัฟเฟตต์ การ “เดินทาง” ของบัฟเฟตต์นั้น เป็นเส้นทางที่ “ขีดเขียน” ขึ้นด้วยฝีมือ และแน่นอน ด้วยดวงชะตา เส้นทางของ VI จำนวนไม่น้อยก็กำลังถูก “ขีดเขียน” ขึ้น โดยเฉพาะในช่วงแรกๆของชีวิต ว่าที่จริง VI เกือบทั้งหมดในเมืองไทยนั้น เพิ่ง “เริ่มเดินทาง” หลายคนประสบความสำเร็จอย่างสูง บางคนสูงกว่าของบัฟเฟตต์ด้วยซ้ำ แต่ความสำเร็จที่แท้จริงนั้น ต้องวัดด้วยระยะเวลาที่ยาวมาก และความยากนั้นอยู่ที่ช่วงเวลาที่พอร์ตใหญ่ขึ้นมากๆ ซึ่งทำให้ผลตอบแทนโตช้าลงมาก ไม่เว้นแม้แต่ในกรณีของบัฟเฟตต์ เส้นทางความมั่งคั่งของ บัฟเฟตต์ โลกในมุมมองของ Value Investor ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 20 มีนาคม 2553 !54 !54
  10. ผลตอบแทน VS ความเสี่ยง ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนผู้มุ่งมั่นนั้น จำเป็นที่จะต้องประเมินผลงานการลงทุนของตนเองอยู่ตลอดเวลา เหตุผลก็คือ ข้อแรก จะได้รู้ว่าผลตอบแทนที่ทำได้นั้นดีและน่าพอใจแค่ไหน ข้อสอง รู้ว่าเรามีความเสี่ยง หรือได้เข้าไปรับความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และข้อสาม เพื่อให้รู้ว่าผลตอบแทนที่ได้นั้น เกิดจากฝีมือหรือความบังเอิญ และมันคุ้มค่าไหมที่จะรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น การประเมินเรื่องผลตอบแทนการลงทุน ดูเหมือนจะง่ายที่สุด เพราะเราเพียงแต่คำนวณว่า เราได้กำไรเท่าไรรวมถึงเงินปันผลแล้ว ก็นำมาตั้งหารด้วยเงินลงทุนตอนต้นงวด หรือต้นปีก็จะได้ว่าเราได้กำไรกี่เปอร์เซ็นต์ต่องวดหรือต่อปี แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ถ้าเราลงทุนระยะยาวหลายๆปีอย่างที่เราทำอยู่ การคิดผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีนั้น ต้องคิดผลตอบแทนทบต้น ไม่ใช่ผลตอบแทนเฉลี่ยธรรมดา ซึ่งจะทำให้ตัวเลขของผลตอบแทนนั้นลดลง เช่น ถ้าผลตอบแทนเฉลี่ยธรรมดาอาจจะได้ 15% ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นอาจจะได้เพียง 12% ต่อปีเท่านั้น ผลตอบแทนการลงทุนที่เราได้มาแต่ละปี จะบอกว่าดีหรือไม่จะต้องดูข้อมูลอย่างน้อยสองตัว นั่นก็คือ ผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสามารถคำนวณได้ โดยการนำดัชนีตลาดตอนปลายปี ลบด้วยดัชนีตอนต้นปีแล้วหารด้วยดัชนีตอนต้นปี จะได้กำไรจากการที่ดัชนีปรับตัวขึ้นไปคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เสร็จแล้ว จะต้องบวกด้วยผลตอบแทนจากปันผล หรือ Dividend Yield ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ประมาณ 3-4% จะได้ผลตอบแทนรวมของตลาดต่อปี การที่จะบอกว่าผลตอบแทนของเราดีหรือไม่ ก็ดูว่าผลตอบแทนของเราดีกว่า หรือแย่กว่าตลาด วอร์เรน บัฟเฟตต์ ในช่วงที่เริ่มลงทุนใหม่ๆนั้น เขาตั้งเป้าว่า ผลตอบแทนของเขาควรจะดีกว่าตลาดประมาณ 10% ต่อปี ซึ่งปรากฏว่าเขาทำได้ในช่วงเกือบ 50 ปีที่ผ่านมาและน่าจะเป็นสถิติที่ดีที่สุดในโลกคนหนึ่ง การที่ผลตอบแทนดีกว่าตลาดนั้น ในความเห็นของผมก็ยังไม่พอ จะต้องมีข้อสอง นั่นก็คือ เราจะต้องไม่ขาดทุน การที่ผลงานการลงทุนของเราดีกว่าตลาดแต่ขาดทุนนั้น ถ้าดูแล้วก็ไม่มีประโยชน์และความมั่งคั่งของเราจะลดลง อย่าลืมว่า ตลาดหุ้นนั้นโดยเฉลี่ย 10 ปี จะขาดทุนประมาณ 4 ปี และกำไร 6 ปี ถ้าตลาดขาดทุนแล้ว เราทำได้ดีกว่าตลาด แต่ก็ขาดทุนเหมือนกัน แบบนี้โอกาสที่พอร์ตของเราจะได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวก็น้อยลงไปมาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่มีความโดดเด่นมากนั้น ส่วนสำคัญที่คนอาจจะลืมไปก็คือ ในช่วงเกือบ 50 ปี ที่ลงทุนเขาน่าจะเคยขาดทุนไม่เกิน 3-4 ปี ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นผลงานที่ยิ่งกว่าเรื่องของผลตอบแทนที่เขาทำได้ เรื่องของความเสี่ยงในการลงทุน มองโดยภาพรวมจะบอกว่า เรารับความเสี่ยงสูงหรือไม่นั้น สามารถมองได้สองเรื่อง เรื่องแรกก็คือ เรากู้เงินหรือใช้มาร์จินในการซื้อขายหุ้นหรือไม่ ถ้าใช่และใช้มากด้วย นี่ก็เป็นการบอกว่าเราเสี่ยงสูง ถ้าไม่ใช้เลยแปลว่า ความเสี่ยงเราต่ำหรือเราไม่เสี่ยง อีกจุดหนึ่งที่พอจะมองได้ ก็คือ ผลตอบแทนของพอร์ตของเราในอดีตที่ผ่านมา ถ้าผลตอบแทนที่ได้ปีต่อปีของเรานั้น มีการผันผวนสูงและเคยมีการ “ขาดทุนร้ายแรง เป็นครั้งคราว แบบนี้อาจจะมองได้ว่าที่เราทำมานั้น เรามีความเสี่ยงสูงถึงแม้ว่าโดยรวมเรายังมีผลตอบแทนที่ดี แต่ความเสี่ยงนั้นแปลว่า อาจจะมีวันในอนาคต ที่เราจะประสบกับความเสียหายหนัก หรือหายนะที่อันตรายได้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นั้นใช้เงินกู้น้อยมาก แต่นั่นก็อาจจะเป็นเพราะเขามีเงินที่ “ไม่มีดอกเบี้ย” จากเบี้ยประกันของบริษัทประกันภัยของเขามาใช้ลงทุนมากมาย มองความเสี่ยงในภาพเล็กลงมาเรา อาจจะมองจากจำนวนและขนาดของหุ้นแต่ละตัว ที่เราถือหรือเคยถืออยู่ ถ้าเรามักถือหุ้นจำนวนน้อยมากเช่น ถือเพียงตัวเดียวหรือสองตัว หรือถือหลายตัวแต่ตัวที่ถือหนักๆมีเพียงตัวเดียว หรือสองตัว แบบนี้ ก็ต้องบอกว่าเรารับความเสี่ยงมากกว่า การที่จะถือหุ้นถึง 4-5 ตัวกระจายกันไปโดยไม่มีตัวที่มากขนาดเป็น 50% ของพอร์ต บางคนอาจจะบอกว่าตนเอง “ไม่เสี่ยง” เพราะได้พิจารณาและวิเคราะห์เป็นอย่างดี ความเสี่ยงสำหรับเขา ก็คือ “ความไม่รู้ ถ้ารู้ก็ไม่เสี่ยง” นี่อาจจะเป็นเรื่องของความมั่นใจในความสามารถของตนเอง แต่คนเรานั้นย่อมไม่สามารถรู้อะไรทั้งหมด และหุ้นนั้นเป็นอะไร ที่จะถูกผลกระทบจากปัจจัยภายนอกได้มากมาย ดังนั้น สำหรับผมแล้ว การถือหุ้นน้อยตัวเกินไป หรือหนักเกินไปในบางตัวนั้น เป็นความเสี่ยงเสมอ เช่นเดียวกับการถือหุ้นมากตัวเกินไปที่มีความเสี่ยงที่เกิดจากการที่เรา “ไม่รู้” เพราะศึกษาไม่ดีพอ บัฟเฟตต์ เองนั้น แม้จะเป็นคนที่ถือหุ้นน้อยตัว แต่แทบไม่เคยที่เขาจะลงทุนในหุ้นตัวเดียวถึง 50% ของพอร์ต ยกเว้นในช่วงสั้นๆที่เขาเคยถือหุ้นอเมริกันเอ็กซ์เพรสที่กำลังเกิดปัญหารุนแรงและราคาหุ้นถูกอย่างเหลือเชื่อ ความเสี่ยงนั้น บางทีก็ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่างที่พูดว่า “ถ้าไม่เข้าถ้ำเสือจะได้ลูกเสืออย่างไร” ดังนั้น Value Investor หลายๆคนจึงยอมเสี่ยงมากกว่าปกติ เช่น ใช้มาร์จินซื้อขายหุ้น ซื้อหุ้นลงทุนในแต่ละช่วงเพียงตัวเดียว หรือสองตัว หลายคนมีผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนขึ้นๆลงๆ ไม่ต่างกับนักเก็งกำไร ผลที่ออกมา หลายคนอาจจะน่าประทับใจมาก จนกลายเป็น Role Model หรือตัวอย่างให้คนทำตาม แต่หลายคนก็อาจจะขาดทุนผิดหวัง และเก็บตัวเงียบอยู่คนเดียวอย่างที่เรียกว่า “คนตายไม่ได้พูด” ถ้าเช่นนั้น ในฐานะของ Value Investor เราควรรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหรือไม่ พูดอีกอย่าง มันคุ้มไหมที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น คำตอบของผมก็คือ มันขึ้นอยู่กับแต่ละคน ถ้าเงินที่เราลงทุนในหุ้นเป็นเงินจำนวนไม่มากในแง่ของเรา หรือมันอาจจะมาก แต่เรายังมีทางหามาใหม่ได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ถ้าหากว่ามันหมดหรือลดลงไปมาก ในลักษณะแบบนี้ เราสามารถที่จะเสี่ยงได้มาก แต่ถ้าเม็ดเงินที่มีอยู่มีจำนวนมาก และเราพอใจที่จะมีความมั่งคั่งในระดับนั้นมากอยู่แล้ว การเสี่ยงเพื่อให้พอร์ตโตเร็วขึ้นอีกก็อาจจะไม่คุ้ม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เราต้องรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีความเสี่ยงแค่ไหน และโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนเพิ่ม จะมีมากน้อยแค่ไหน บ่อยครั้งที่เราลงทุน เราอาจจะคิดว่าความเสี่ยงมีน้อยทั้งที่มันอาจจะมาก การที่เราเคยทำแล้วประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงต่ำ เพียงแต่ว่าผลร้ายมันยังไม่เกิด ความสำเร็จที่เกิดขึ้นหลายๆ ครั้งอาจทำให้เราชะล่าใจคิดว่าเราเก่งเราเข้าใจดี แต่อาจจะมีวันที่เราทุ่มลงทุนอย่างหนักด้วยความมั่นใจสูง แต่ผลอาจจะเป็นทางตรงกันข้ามและนั่นอาจจะหมายถึงหายนะ พูดถึงเรื่องนี้ ทำให้ผมนึกถึงกรณีบริษัทเงินทุน Fin One ของคุณปิ่น จักกะพาก ซึ่งครั้งหนึ่งประสบความสำเร็จสูงมาก จากการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในตอนนั้น คุณปิ่นเคยให้สัมภาษณ์ว่า Fin One ทำงานอย่างอนุรักษนิยมมาก และเน้นความปลอดภัยสูงสุด Fin One ไม่ “Take Risk” หรือรับความเสี่ยงสูง แต่แล้วก็อย่างที่ทราบกัน Fin One ล่มสลายในยามที่มันโตสุดขีด บทเรียนเรื่องนี้สอนให้ผมตระหนักว่า หายนะอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมันมักจะเกิดตอนที่เรามั่นใจสุดขีด ผลตอบแทน VS ความเสี่ยง โลกในมุมมอง Value Investor ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551 !031 !031
  11. สุนทรพจน์ของลี ลู (ตอนที่ 2) : เข้าใจธุรกิจอย่างถ่องแท้ วิบูลย์ พึงประเสริฐ ลี ลู บรรยายเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในเดือนเมษายน ปี 2553 ผู้บันทึกการบรรยายครั้งนี้คือ Tariq Ali เจ้าของ blog ชื่อ Street Capitalist : Even Driven Value Investments ส่วนคุณ Grandslam จากเว็บ Thaivi ถ่ายทอดเป็นภาษาไทย ต่อไปนี้เป็นสุนทรพจน์ของ ลี ลู ต่อจากฉบับที่แล้ว “การค้นหาความเฉียบคมมาจากกรอบของความคิดที่ถูกต้อง และการศึกษาอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี แต่เมื่อไหร่ที่คุณพบอย่างถ่องแท้ตลอดเส้นทางในการเรียนรู้ คุณต้องมีความกล้าที่จะไม่สนใจต่อความเห็นของคนอื่น การเป็นนักลงทุนที่ดีคุณต้องยืนหยัดได้ด้วยตัวคุณเอง คุณไม่เพียงแต่แค่ลอกการบ้านคนอื่น ไม่ช้าก็เร็วมันจะย้อนกลับมาทำร้ายคุณ ถ้าคุณไม่เข้าใจในตัวธุรกิจนั้น ถ้าราคาหุ้นตกลงมาจาก $100 เป็น $50 คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่ามันจะกลับเป็น $100 หรือ $200 หรือเปล่า มันจึงเป็นอะไรที่ยากมาก แต่มองอีกแง่ มันก็ให้ผลตอบแทนที่มากเช่นกัน บัฟเฟตต์ กล่าวว่า ถ้าคุณลงทุนได้ดีเพียงแค่ 10 ครั้ง ตลอด 40 ปีในชีวิตการทำงาน คุณจะร่ำรวยมหาศาล มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ นี่คือสิ่งที่ทำให้การลงทุนแบบเน้นคุณค่าแตกต่างจากทุกสิ่ง แล้วคุณจะเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ได้อย่างไร? เลือกธุรกิจที่คุณเข้าใจมันอย่างแท้จริงมาหนึ่งธุรกิจ ธุรกิจอะไรก็ได้ ขอให้เข้าใจมัน ผมบอกกับนักศึกษาฝึกงานว่า ลองจินตนาการตามผมว่า ถ้าญาติห่างๆของคุณได้เสียชีวิตลง และคุณได้รับมรดกตกทอดมาเป็นธุรกิจที่เค้าเป็นเจ้าของ 100% คุณจะจัดการกับมันอย่างไร? นี่คือสิ่งที่ต้องนึกเมื่อคุณมองดูธุรกิจใดๆ ผมแนะนำให้คุณเริ่มและทำความเข้าใจใน 1 ธุรกิจ จากภายในสู่ภายนอก วิธีนี้ดีกว่าการอบรมใดๆทั้งสิ้น มันไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจที่สุดยอด เป็นธุรกิจอะไรก็ได้ คุณต้องมีความรู้สึกให้ได้ว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของมัน 100% คุณจะทำอย่างไร ถ้าคุณสามารถทำได้ คุณจะสามารถยืนหยัดในการแข่งขันได้อย่างมาก คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้แนวคิดที่ถูกต้องตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก คนส่วนใหญ่มองมันแค่แผ่นกระดาษและซื้อๆขายๆ เพียงเพราะว่ามันซื้อขายง่าย แต่ถ้ามันเป็นธุรกิจที่คุณสืบทอดมรดกมา คุณจะไม่ซื้อๆขายๆ คุณต้องเริ่มหาความรู้อย่างจริงจังว่า ธุรกิจนี้ควรดำเนินการอย่างไร มันทำงานอย่างไร ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยวิธีนี้ ในที่สุดคุณก็จะรู้ว่าธุรกิจนั้นมีมูลค่ามากเท่าไหร่ เมื่อผมเริ่มต้นธุรกิจในปี 1997 มันเป็นช่วงเวลาท่ามกลางวิกฤตการเงินที่เอเชีย ไม่กี่ปีต่อมาเกิดฟองสบู่อินเทอร์เน็ต เมื่อ 2 ปีก่อนเกิดการล่มสลายรุนแรงในช่วงปี 2007-2008 เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นร้ายแรงในรอบศตวรรษ แต่เกิดห่างกันไม่กี่ปี ทุกครั้งที่เกิดมันส่งผลกระทบกับคุณ ทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าการลงทุนของคุณอาจจะลดลง 50% นี่คือช่วงเวลาที่ความเข้าใจและอารมณ์เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม ตามสัญชาตญาณ คุณต้องมั่นใจในการตัดสินใจของคุณระดับหนึ่ง และไม่โอนเอียงไปกับความคิดของคนอื่น มันไม่ง่ายหรอก แต่นี่แหละคือชีวิต มันคือสิ่งที่ให้เรามา มันเกิดขึ้นกับทุกคน อย่างน้อย 3 ครั้ง ที่ราคาหุ้นของบริษัทเบิร์กไชน์ได้ตกลงกว่า 50% มันเคยเกิดขึ้นกับ แอนดรู คาร์เนกี้ และ ร็อคกี้เฟลเลอร์ ด้วยเช่นกัน มันเกิดขึ้นกับทุกคน ถ้าคุณทำพลาด มันจะไม่หยุดที่ 50% แต่มันจะไปที่ 0 เลยทีเดียว สิ่งนี้เกิดขึ้นไม่เว้นแต่บริษัทที่เข้มแข็ง ดูบริษัทในอเมริกา 50 อันดับแรกสิ ทุกๆ 10 ปี ตลอดเวลา 20-40 ปีย้อนหลัง 2/3 ของบริษัทเหล่านี้ได้หายไป ผ่านไปอีก 100 ปี มันอาจจะเหลือเพียงแค่ 2 บริษัท มันเป็นอย่างนี้แหละ ดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับบริษัทที่เคยยิ่งใหญ่อย่าง เจนเนอรัล มอเตอร์ส สิ นี่คือสิ่งที่ทำไมผมถึงพูดว่า การลงทุนเป็นขั้นตอนการเรียนรู้อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น เพราะการลงทุนของคุณกำลังเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ดังนั้น สำหรับคุณที่มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น เกมนี้อาจจะไม่ค่อยเหมาะกับคุณ ระบบทุนนิยมให้รางวัลกับคนที่มีความสามารถในการจัดสรรเงิน ฉะนั้น ถ้าคุณมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ นี่เป็นเกมที่สุดยอดที่สุด ถ้าคุณไม่มีแล้วละก็ ผมแนะนำว่าอย่าเล่นให้หงุดหงิด นี่คือสิ่งที่พวกวอลล์สตรีททำ เขาไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาเลย เขาแค่เคลื่อนย้ายเงินทุน การปล่อยให้อุตสาหกรรมการเงินใหญ่โตเกินไป เป็นสิ่งที่เลวร้ายสำหรับระบบเศรษฐกิจ มันเลวร้ายพอๆกับการเข้าบ่อนติดการพนัน ติดยา และสุรา มันเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ มันเป็นแค่การโยกย้ายความมั่งคั่งเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่ผมคิดว่าได้เกิดขึ้นที่วอลล์สตรีทตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดังนั้น จงหลีกเลี่ยงมันก่อนที่คุณจะเจ็บตัว สุนทรพจน์ของลี ลู (2) เข้าใจธุรกิจอย่างถ่องแท้ Value Way ฉบับวันที่ 12 กรกฏาคม 2553 โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ !031 !031
  12. เอามาฝากคับ สุนทรพจน์ของ ลี ลู (ตอนที่ 1 ) วิบูลย์ พึงประเสริฐ วอร์เรน บัฟเฟตกล่าวว่า เมื่อเขาเกษียณ มีบุคคล 3 คนที่เขาอยากจะให้บริหารเงินของเขา คนแรกคือ เซจ คาร์เมน (Seth Klarman) จาก Baupost Group คนต่อไปคือ เกรก เอล็กซานเดอร์ (Greg Alexander) และคนที่สามคือ ลี ลู (Li Lu) ปัจจุบันชาร์ลี มังเกอร์ (Charlie Munger) หุ้นส่วนของบัฟเฟตได้ให้ ลี ลู ทำการบริหารเงินของเขาทั้งหมด ภายในสี่ปี ลูสามารถทำผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้นถึง 400% ทำให้ลูเป็นนักลงทุนที่น่าจับตามองอย่างยิ่งในยุคนี้ ลี ลู บรรยายเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในเดือนเมษายน ปี 2010 ต่อไปนี้เป็นสุนทรพจน์ของเขาที่กล่าวในงานนี้ “มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย คือสถานที่ที่ชีวิตทั้งหมดของผมในอเมริกาได้เริ่มต้นขึ้น ในขณะนั้นผมแทบจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย โคลัมเบียเป็นสถานที่ที่ผมมีชีวิตใหม่ มันเป็นการเรียนในวิชาการลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่ทำให้ผมเริ่มอาชีพในการเป็นนักลงทุน ในขณะนั้นผมค่อนข้างเป็นกังวลเกี่ยวกับเงินกู้เพื่อการศึกษา ในขณะที่เพื่อนผมคนหนึ่งบอกผมเกี่ยวกับวิชานี้ และกล่าวว่าผมจำเป็นต้องดูการบรรยายของวอร์เรน บัฟเฟต สิ่งที่ผมได้ฟังในคืนนั้นเปลี่ยนแปลงชีวิตของผมไปอย่างสิ้นเชิง เขาได้กล่าวไว้ 3 ข้อ 1. หุ้นไม่ใช่แผ่นกระดาษ มันเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นเจ้าของในบริษัท 2. คุณต้องมีส่วนต่างเพื่อความปลอดภัย (Margin of Safety) เพื่อที่ว่าถ้าคุณผิดพลาด คุณจะเสียหายไม่มาก 3. คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นเป็นพวกเล่นระยะสั้น ดังนั้น การลงทุนแบบเน้นคุณค่าช่วยให้คุณมีกรอบในการจัดการกับความผันผวนในแต่ละวัน นั่นคือ 3 แนวคิดที่ทรงพลังมาก ผมไม่เคยมองตลาดหุ้นแบบนั้นมาก่อนเลย ผมมองมันในแง่ลบว่าเป็นสถานที่ที่มีคนมาปั่นราคาด้วยเงินในกระเป๋า ผมจึงทุ่มเทศึกษาอย่างเข้มข้นในทุกสิ่งที่เกี่ยวกับบัฟเฟต เป็นระยะเวลา 2 ปี 2 ปีหลังจากที่ผมซื้อหุ้นตัวแรก หลังจากที่ผมเรียนจบและผมได้ทำงานที่ธนาคารเพื่อการลงทุน 1 ปี และตระหนักว่ามันเป็นความผิดพลาด ผมพยายามเริ่มตั้งกองทุนแต่ผมยังไม่มีประวัติผลงานให้ติดตาม ปีแรกที่ผมบริหารเงิน ผมขาดทุนไป 19% การเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าหมายถึง คุณมองที่ด้านลบ (Downside) ก่อนที่จะมองด้านบวก (Upside) ก่อนที่คุณจะเป็นนักลงทุน คุณจำเป็นต้องรู้ว่าคุณจะพลาดได้อย่างไรในเกมนี้ มันมีหลายทางที่คุณจะพลาดได้ คุณจำเป็นต้องตรวจสอบว่าคุณเป็นใคร และดูว่าคุณสามารถทำในสิ่งนั้นได้ดีหรือไม่ ถ้าคุณเคยค้นหาบางสิ่งบางอย่างที่คุณสามารถทำได้ดีและชอบมันอย่างแท้จริง นั่นน่าจะเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดของคุณ คุณจะทำได้ดีกว่าคู่แข่ง ถ้าคุณสามารถทำมันด้วยความหลงใหลอย่างแท้จริง นั่นจะเป็นการเพิ่มคุณค่าได้อย่างมหาศาลให้กับตัวคุณเองตลอดช่วงเวลานั้น กลับมาสู่เกมในการลงทุน แนวความคิดของส่วนต่างเพื่อความปลอดภัย (Margin of Safety) เป็นแนวคิดที่จำเป็นในการที่จะเป็นนักลงทุนที่ดี อนาคตเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ คุณมักจะต้องจัดการกับความไม่แน่นอนเสมอๆ ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ ส่วนใหญ่เป็นแบบหลัง คุณต้องอยู่ในสถานะที่ปลอดภัยเพื่อที่ว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คุณจะไม่เละเป็นโจ๊ก ถ้าคุณประสบความสำเร็จในการรู้ว่าคุณกำลังอยู่กับอะไร คุณจะสามารถผ่านมันไปได้อย่างสวยงาม คนส่วนใหญ่มีปัญหากับสิ่งที่เขาไม่รู้ โลกแบ่งคนออกเป็นคนที่รู้กับคนที่ไม่รู้ ถ้าคุณเป็นฝ่ายที่รู้จริง คุณจะไม่เหนี่ยวไกแบบนักค้าหุ้นที่วอลล์สตรีท ถ้าคุณซื่อสัตย์ในความรู้อย่างแท้จริง คุณจะไม่ทำสิ่งเหล่านั้น ชั้นเรียนนี้สอนคุณว่า คุณกำลังเล่นอยู่กับอะไร โดยเฉพาะยอมรับว่าสิ่งไหนที่คุณไม่รู้ เกมการลงทุนเป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ทุกสิ่งทุกอย่างมีผลกระทบกับการลงทุน มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คุณไม่ได้ลงทุนในอดีต แต่คุณกำลังสะสมกระแสเงินสดในอนาคต คุณต้องมีความต้องการในการค้นหาสิ่งที่คุณรู้ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ มีหลายอย่างที่ผมไม่รู้แต่มันก็ไม่มีผลกับการซื้อ เพราะผมมีส่วนต่างเพื่อความปลอดภัยไว้มาก ผมกำลังซื้อเงิน 1 เหรียญด้วยเงิน 50 เซ็นต์ ฉะนั้น ถ้าสิ่งนั้นมันไม่เป็นไปตามที่คุณคิด คุณก็ยังรอด มันไม่ง่ายหรอก ธุรกิจนี้แข่งขันกันอย่างเหี้ยมโหด มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้ทุกอย่างและรู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นแน่นอนในธุรกิจจากนี้ไป จนกว่าในที่สุดคุณต้องยอมรับจริงๆว่า อะไรที่คุณไม่รู้” สุนทรพจน์ของ ลี ลู (1) Value Way วิบูลย์ พึงประเสริฐ 5 กรกฏาคม 2553 !031 !031
  13. Perfect Storm – Perfect Stock : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ข่าวร้ายในตลาดสำหรับคนเล่นหุ้นแล้ว มันคือเวลาของการขายหุ้น ยิ่งร้ายเท่าไรก็ต้องรีบขายเร็วเท่านั้น ผลของการขายทำให้ราคาหุ้นที่เจอกับข่าวร้ายตกลงมาอย่างหนัก หลายๆครั้งหนักเกินความเป็นจริง และนั่นคือโอกาสของนักลงทุนระยะยาวที่จะเข้ามาเก็บหุ้น ประเด็นสำคัญก็คือ คุณจะต้องมั่นใจจริงๆว่า ข่าวร้ายนั้นเป็นเรื่องชั่วคราว มันไม่ได้ทำให้พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนไปและไม่ช้าก็เร็วบริษัทก็จะสามารถกลับมาทำกำไรได้อย่างที่มันเคยเป็น และด้วยราคาหุ้นที่ตกลงมามาก การลงทุนจะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า ข่าวร้ายในตลาดที่ส่งผลต่อหุ้นอย่างแรงอาจจะแบ่งได้เป็น 3 แบบด้วยกันคือ หนึ่ง ข่าวร้ายจากภาพรวมของเศรษฐกิจหรือตลาด ข่าวนี้ทำให้ตลาดเกิด Panic หรือตกใจ เกิดการขายหุ้นทั่วทั้งตลาด สิ่งนี้มักจะเกิดขึ้นจากภาวะการเงินหรือเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุลอย่างแรง เช่น เกิดภาวะเงินตึงตัว เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสูง หรือการที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างแรงอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ข่าวร้ายประเภทนี้มักทำให้หุ้นเกือบทั้งหมดตกลง แม้ว่าหุ้นบางตัวหรือบางกลุ่มอาจจะไม่ได้รับผลกระทบจริงหรือถูกกระทบน้อย หน้าที่ของ Value Investor ก็คือ มองหาหุ้นที่ถูกกระทบน้อยแต่ราคาหุ้นตกลงมามากพอๆกับดัชนีตลาด ข่าวร้ายแบบที่สองก็คือ ข่าวร้ายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ความตกต่ำหรือถดถอยของอุตสาหกรรมทำให้นักลงทุนเทขายหุ้นในกลุ่มทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งหรืออ่อนแอ แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริษัทที่แข็งแกร่งจะฟื้นตัวกลับมายิ่งใหญ่เหมือนเดิมในขณะที่บริษัทที่อ่อนแอจะล้มหายตายจากหรือลดระดับของการดำเนินงานลง กระบวนการนี้อาจจะใช้เวลาบ้างขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม หน้าที่ของเราก็คือต้องวิเคราะห์ว่าอุตสาหกรรมจะใช้เวลาเท่าไรที่จะฟื้นตัว แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ต้องหาว่าบริษัทไหนจะถูกกระทบน้อยและกลับมายิ่งใหญ่และทำกำไรได้มากแค่ไหนเมื่ออุตสาหกรรมฟื้นตัว ข่าวร้ายแบบสุดท้ายก็คือ ข่าวร้ายที่เกิดขึ้นกับตัวบริษัทเอง นี่คือข่าวร้ายที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบริษัทเองที่อาจจะทำอะไรบางอย่างผิดพลาดอย่างร้ายแรง หรือถูกกระทบโดยความโชคร้าย แต่ความผิดพลาดนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นครั้งเดียวและเป็นเรื่องชั่วคราวที่บริษัทน่าจะแก้ไขได้ เมื่อเกิดเรื่องขึ้น นักลงทุนมักจะเทขายหุ้นกันอย่างหนักทำให้ราคาหุ้นตกลงมามาก อย่างที่ “ไม่เคยปรากฏ” มาก่อน หน้าที่ของ VI ก็คือ พิจารณาว่าเหตุการณ์นั้นไม่ได้กระทบกับธุรกิจหลักของบริษัทที่ยังสามารถทำกำไรได้อย่างแข็งแกร่งเมื่อเหตุการณ์ชั่วคราวนั้นผ่านพ้นไปหรือบริษัทได้แก้ไขไปแล้ว และราคาหุ้นที่ตกลงมานั้นจะทำให้การลงทุนของเราให้ผลตอบแทนสูงในช่วงเวลา 3-5 ปีข้างหน้า นั่นก็คือ อย่างน้อยถ้าเราซื้อหุ้นแล้วถือไว้ 5 ปี ราคาหุ้นน่าจะปรับขึ้นไปหนึ่งเท่าตัวจากราคาที่เราซื้อ หุ้นที่เราจะซื้อนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด เราต้องมั่นใจว่ามันจะต้อง “ฝ่าวิกฤติ” ไปได้ไม่ว่าจะด้วยอะไร เช่น เป็นบริษัทที่มีฐานะทางการเงินดีมีเงินสดมากและมีหนี้น้อย เป็นกิจการที่จำเป็นและมีผู้ให้บริการที่จำกัด เป็นกิจการที่มีผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่งสนับสนุนอย่างหุ้นรัฐวิสาหกิจบางแห่ง หรือแม้แต่เป็นกิจการที่ “ใหญ่เกินไปที่จะล้ม” นี่จะเป็นเครื่องค้ำประกันว่า เหตุร้ายแรงที่อาจจะดำเนินไปหลายปีนั้นไม่ทำให้บริษัทต้องล้มละลายไปก่อนที่สถานการณ์จะฟื้นตัว บางที สำหรับบางบริษัท ข่าวร้ายนั้นเกิดเป็นชุดอย่างต่อเนื่องพร้อมกัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่อย่างในปัจจุบันนั้น โอกาสที่บริษัทจะเจอ “2 เด้ง” คือภาวะตลาดแพนิคและภาวะอุตสาหกรรมตกต่ำเกิดขึ้นพร้อมกันมีสูง บางครั้งซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก บางบริษัทอาจจะเจอกับข่าวร้ายทั้งด้านของภาวะตลาดหุ้น ภาวะอุตสาหกรรม และบริษัทเองก็เจอกับข่าวร้ายเฉพาะตัวเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็คือ บริษัทประสบกับ “Perfect Storm” ความร้ายแรงประดังกันเข้ามาอย่างที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญขนาดนั้น หุ้นที่ประสบกับข่าวร้ายมากๆ หลายเรื่องหรือทุกเรื่องอย่างหุ้น Perfect Storm นั้น ราคาหุ้นจะตกลงไปมากจนแทบจะไม่เหลือค่าเมื่อเทียบกับขนาดของธุรกิจ หุ้นเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็อาจจะไม่น่าสนใจโดยเฉพาะถ้าเราไม่มั่นใจว่ามันจะไปรอดหรือไม่ หรือรอดได้แต่ก็ไม่กลับมาเป็นอย่างเดิม หรือรอดและกลับมาทำกำไรได้แต่ก็ต้องมีการเพิ่มทุนมหาศาลซึ่งทำลายมูลค่าหรือความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นเดิมไปหมด ถ้าเป็นแบบนั้น การลงทุนในหุ้น Perfect Storm ก็จะเป็นความเสี่ยงมหาศาล ตรงกันข้าม ถ้าเราเจอหุ้น Perfect Storm และราคาหุ้นสะท้อนข่าวนั้นแล้วโดยที่ราคาตกลงไปต่ำกว่าที่เคยเป็นในภาวะปกติมาก ในขณะเดียวกัน พื้นฐานของกิจการของบริษัทไม่เปลี่ยนและเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งทางการตลาดมาก ประกอบกับความเชื่อมั่นว่าบริษัทจะไม่ล้มละลายและไม่ต้องเพิ่มทุนมหาศาล และสุดท้าย เราเชื่อว่า ข่าวร้ายทุกอย่างจะต้องหมดไปเมื่อเวลาผ่านไป 3-5 ปี และเมื่อนั้นกิจการของบริษัทก็จะกลับมาเหมือนเดิมก่อนที่ข่าวร้ายจะเกิดขึ้น ในสถานการณ์แบบนี้ การลงทุนในหุ้น Perfect Storm ก็อาจจะเป็นโอกาสยิ่งใหญ่ที่จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าปกติและหุ้นนั้นกลายเป็น “Perfect Stock” หรือเป็นโอกาสทองของการลงทุนในหุ้นตัวนั้น แน่นอน การลงทุนในหุ้นที่มีข่าวร้ายมากๆย่อมมีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะในระยะสั้นเพียงปีหรือสองปี คนที่สามารถลงทุนในหุ้นแบบนี้จะต้องมีจิตใจที่มั่นคงมาก นั่นคือ จะต้องทนดูหุ้นที่อาจจะตกลงไปต่ออีกมากได้ หรือต้องสามารถถือหุ้นที่อาจจะไม่ได้ผลตอบแทนเป็นเวลานานพร้อมๆกับผลการดำเนินงานที่อาจจะไม่น่าประทับใจของบริษัท และถ้าทนไม่ไ
  14. เอามาฝากคับ ลงทุนแบบผู้หญิง โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ความแตกต่างในการลงทุนระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง มีการพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ ในสังคมไทยดูเหมือนจะมีการยอมรับพอสมควรว่า ผู้ชายเป็นนักลงทุนที่ดีกว่า โดยมีเหตุผลหลายๆ อย่างเช่น ผู้ชายตัดสินใจได้ “เด็ดขาด” กว่า ไม่ “ลังเล” แบบผู้หญิง ผู้ชายกล้าได้กล้าเสียกว่า ผู้ชายมีความมั่นใจในตนเองสูงกว่า ผู้ชายฟังคนอื่นน้อยกว่า และผู้ชายเก่งกว่าในด้านตัวเลข ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น ด้วยความคิดนี้ ประกอบกับการที่คนมองเห็น แต่ “เซียนหุ้น” ที่เป็นผู้ชายเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ “การลงทุนแบบผู้หญิง” เป็นวิธีการลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นการลงทุนที่พึงหลีกเลี่ยง ถ้าไม่อยากขาดทุน หรือไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุน ทั้งหมดที่พูดถึงนี้ เป็นความคิดของคนไทยที่โลกของการลงทุนยังถูกครอบงำโดยบุรุษเพศ ในต่างประเทศมีการศึกษาเรื่องจิตวิทยาของผู้หญิงกับการลงทุนมากมาย พบว่า สิ่งที่คนไทยจำนวนมากอาจจะคิดนั้นไม่เป็นจริง การลงทุนแบบ “ผู้หญิง” เขาพบว่าเป็นวิธีการลงทุนที่เหนือกว่าการลงทุนแบบ “ผู้ชาย” และสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ชาย “แพ้” มีสาเหตุสำคัญหลายๆ อย่าง เรื่องหนึ่ง ก็คือ ผู้ชายมีความมั่นใจในตนเองสูงเกินไป และสำคัญตนเองผิดว่า ตนเองมีความเก่งเหนือกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย ทำให้ผมนึกถึงการศึกษาที่ให้คนจัดเกรดตนเองว่า ขับรถได้ดีแค่ไหน ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ตนเองขับรถได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยซึ่งทางทฤษฎีแล้วเป็นไปไม่ได้ เพราะความเป็นจริง ก็คือ ต้องมีคนครึ่งหนึ่งที่ขับรถดีกว่าค่าเฉลี่ย และอีกครึ่งหนึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มาลองดูกันว่าการศึกษาเรื่องการลงทุนระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายเป็นอย่างไร การศึกษาในตลาดสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้หญิงซื้อขายหุ้นบ่อยน้อยกว่าผู้ชาย แปลว่าผู้หญิงถือหุ้นยาวกว่าผู้ชาย นี่คงเป็นเรื่องการตัดสินใจที่ผู้ชายมักจะทำเร็วและเด็ดขาดกว่า แต่การซื้อๆ ขายๆ หุ้นบ่อย ทำให้เกิดค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายสูง การ “ขาดทุน” จากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายก็จะ “กินกำไร” ที่ควรจะได้ไปไม่น้อย ยิ่งในตลาดอเมริกาที่ต้องเสียภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้นด้วย ยิ่งทำให้ผลตอบแทนของผู้ชายลดลงเมื่อเทียบกับผู้หญิง คุณสมบัติข้อต่อมาของผู้หญิง ก็คือ มักกลัวความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย คนที่ลงทุนแบบผู้หญิงมักต้องการ Margin of Safety หรือส่วนต่างเผื่อความปลอดภัยสูงกว่า นี่ก็เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้การลงทุนแบบผู้หญิงเหนือกว่าการลงทุนแบบที่ “กล้าได้กล้าเสีย” แบบผู้ชาย จริงอยู่ การลงทุนแบบที่กล้าเสี่ยงมากๆ เช่น การลงทุนในหุ้นที่ผันผวนมาก หรือการใช้มาร์จินซื้อหุ้นเหล่านี้ อาจทำให้นักลงทุนแบบผู้ชาย “รวยไปเลย” แต่หลายคนที่ผิดพลาดก็ “จนไปเลย” มองในแง่ค่าเฉลี่ยระยะยาวแล้ว การลงทุนที่เน้นความปลอดภัยสูงน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ผู้หญิงนั้นจะมองโลกในแง่ที่ดีน้อยกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมองโลกในแง่ที่เป็นจริงมากกว่า เวลาที่ตลาดสดใสมาก ผู้หญิงก็จะไม่ “ฝันเฟื่อง” มากเท่าผู้ชาย เช่นเดียวกัน เวลาที่ตลาดเลวร้าย ผู้หญิงก็มักจะไม่ “หดหู่” เท่าผู้ชาย มองในแง่นี้ ผู้หญิงก็จะไม่เป็น “เหยื่ออารมณ์” ของ “นายตลาด” เท่าผู้ชาย พูดง่ายๆ ผู้หญิงจะไม่ซื้อขายตามภาวะตลาดมากเท่าผู้ชาย ซึ่งมักทำให้ผู้หญิงมีแนวโน้มน้อยกว่าผู้ชาย ที่จะซื้อตอนตลาดแพงและขายตอนตลาดถูก ผู้หญิงมีความละเอียดลออมากกว่าผู้ชายในเรื่องของการศึกษาหาข้อมูลเพื่อการลงทุน การ “คิดแล้ว คิดอีก” “อ่านแล้ว อ่านอีก” จนมั่นใจว่าไม่พลาดแน่ เป็นวิธีการลงทุนระยะยาวที่ดีกว่าการรีบตัดสินใจซื้อขายโดยที่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบ ดังนั้น นิสัยผู้หญิงแบบนี้ จึงเป็นนิสัยการลงทุนที่น่าจะประสบความสำเร็จสูงกว่านิสัยแบบผู้ชายที่มักเอาเร็วเข้าว่า สุดท้ายที่ผมจะพูดถึง ก็คือ ผู้หญิงมักจะเปรียบเทียบตนเองกับเพื่อน หรืออยู่ใต้อิทธิพลของเพื่อน น้อยกว่าผู้ชาย พูดง่ายๆ ผู้ชายเวลาตัดสินใจอะไร ถ้ามีเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานจับตาดูอยู่ เขาจะมี “แรงกดดัน” มากกว่าผู้หญิงที่ต้องทำตามแนวทางของกลุ่ม ตัวอย่างเช่น ถ้าเขารู้ว่าผลตอบแทนการลงทุนของเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานกำลังโดดเด่นมาก เพราะพวกเขากำลังเล่น หรือลงทุนหุ้นบางกลุ่มในภาวะตลาดที่กำลังร้อนแรง ก็ยากที่ผู้ชายจะอยู่ “นิ่งเฉย” ไม่ยอมเปลี่ยนแนวทางการลงทุนของตนเอง และยอมรับผลตอบแทนที่ต่ำกว่า มองในแง่นี้ การลงทุนแบบผู้หญิงน่าจะมีหลักการที่มั่นคง และเป็นสิ่งที่ตนเองมีความชำนาญมากกว่า ผู้หญิงน่าจะตัดสินใจที่อิสระมากกว่าผู้ชาย ผลการลงทุนของผู้หญิงโดยทั่วไปในอเมริกา เพราะซื้อขายหุ้นน้อยกว่า นั่นอาจจะเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ผลตอบแทนดีกว่าผู้ชาย แต่ด้านของมืออาชีพที่บริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ที่ต้องอาศัยฝีมือและอารมณ์ขั้นสูงสุด ก็พบว่า ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ที่เป็นผู้หญิง สามารถสร้างผลงานเฉลี่ยที่ดีกว่าผู้ชาย รวมถึงผลตอบแทนสม่ำเสมอกว่าผู้บริหารชาย ที่สำคัญ ในยามที่ตลาดเลวร้ายมาก ผลตอบแทนของผู้บริหารหญิง จะเลวร้ายน้อยกว่าของผู้บริหารชายมาก หลายคนยังอาจจะสงสัยว่า ทำไมนักลงทุนเอกของโลก ที่สร้างผลตอบแทนระยะยาวได้สูงมากอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปีเตอร์ ลินช์ และอีกหลายๆ คนจึงมีแต่ผู้ชาย แล้วจะบอกได้อย่างไรว่าการลงทุน “แบบผู้หญิง” มีประสิทธิภาพเหนือกว่า ประเด็นนี้ คำตอบน่าจะมีได้สองทาง ทางแรก คือ การลงทุนแบบผู้ชาย มีความผันผวนสูงมาก คนที่ทำได้ดีก็ดีมากๆ แต่คนที่ทำได้แย่ ผลงานก็ “ตกเหว” ไปเลย โดยค่าเฉลี่ยต่ำกว่าการลงทุนของผู้หญิง คำอธิบายอีกทางหนึ่ง ก็คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ หรือเซียนหุ้นที่ประสบความสำเร็จระดับโลกที่เป็นผู้ชาย แท้ที่จริงแล้ว เขาใช้แนวทางการลงทุนแบบ “ผู้หญิง” ส่วนการที่ยังไม่มีผู้หญิงก้าวขึ้นมาเป็น “เซียนระดับโลก” อาจจะเป็นเรื่องของ “เวลา” ก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใด ผู้หญิงเพิ่งจะก้าวเข้ามาในโลกของการลงทุนไม่นานนัก ในอนาคต อาจจะได้เห็นเซียนที่เป็นผู้หญิงก็ได้ นี่รวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ผมคิดว่า ในที่สุดต้องมี “เซียนหุ้นหญิง” เหมือนกัน
  15. เอามาฝากคับ Dividend VS Value Stock : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คนจำนวนมากในตลาดหุ้นมักจะเข้าใจผิดคิดว่า Value Stock หรือหุ้นคุณค่าก็คือหุ้นที่มีการจ่ายปันผลที่ดี ยิ่งปันผลสูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นมากเท่าไรหุ้นนั้นก็เป็นหุ้น Value มากขึ้นเท่านั้น บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะตลาดไม่คึกคัก โบรกเกอร์และหนังสือพิมพ์ก็จะนำเสนอหุ้นที่จ่ายปันผลงามที่สุด 10-20 อันดับ และแนะนำว่า เป็นหุ้นที่น่าลงทุน บางครั้งผมเองก็เคยพูดว่า “ปันผลเป็นคำตอบสุดท้าย” นั่นคือมีหุ้นที่จ่ายปันผลดีบางตัวน่าสนใจเข้าข่ายเป็น Value Stock และต่อมาก็พิสูจน์ว่าสิ่งนั้นเป็นจริงคือ หุ้นที่จ่ายปันผลดีเหล่านั้นทำกำไรให้กับคนที่ถืออย่างงดงาม พูดไปพูดมามากๆเข้า คนจำนวนไม่น้อยก็เลยเข้าใจผิด คิดว่าหุ้น Value ก็คือหุ้นปันผล และคิดว่าผมในฐานะ Value Investor “พันธุ์แท้” ชอบลงทุนซื้อหุ้นที่จ่ายปันผลงาม และจะถือเก็บเพื่อกินปันผลเป็นหลักโดยไม่สนใจกำไรจากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้น นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะคำว่า Value Stock นั้น ความหมายก็คือเป็นหุ้นที่มีคุณค่า(มูลค่า)สูงกว่าราคาหุ้นมาก โดยที่คุณค่านั้นคิดจากความสามารถในการทำกำไร และ / หรือ การสร้างกระแสเงินสดของบริษัทในอนาคตระยะยาว ส่วน “หุ้นปันผล” ที่พูดกันนั้น มักจะเป็นปันผลที่จ่ายในปีที่แล้วหรือปีที่กำลังถึงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบัน ความแตกต่างระหว่าง หุ้นปันผล กับ Value Stock นั้นชัดเจนก็คือ ใน Value Stock เราพยายามหาความสามารถในการทำกำไรหรือเงินสดในระยะยาวของบริษัท ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆมากมายตั้งแต่เรื่องของภาวะอุตสาหกรรม การตลาด การผลิต การบริหารงาน และการเงินของบริษัท ความได้เปรียบเสียเปรียบของบริษัทเทียบกับคู่แข่ง และอื่นๆอีกมาก ในขณะที่ หุ้นปันผล ดูเฉพาะการจ่ายปันผลปีที่แล้วปีเดียวเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลของอดีตที่ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรเลย ในสายตาของ Value Investor แล้ว ปันผลเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งหรือเป็นคุณค่าของหุ้นที่นำมาพิจารณาประกอบกับองค์ประกอบอื่นอีกหลายๆอย่าง บางคนคิดว่าผลตอบแทนจากปันผลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก บางคนก็เฉยๆ ส่วนผมเองนั้น ผมคิดว่าปันผลเป็นเพียง “ ผลตอบแทนของการรอคอย ” นั่นก็คือ เวลาผมซื้อหุ้นที่เป็น Value Stock นั้น ผมซื้อเพราะผมเชื่อว่าเป็นกิจการที่ดีราคาถูก แต่ผมไม่รู้ว่าราคาหุ้นจะวิ่งขึ้นไปเมื่อไร บางครั้งผมต้อง “รอคอย” นานมาก ซึ่งถ้าในระหว่างนั้นผมไม่ได้อะไรตอบแทนเลยผมก็จะรู้สึกแย่มาก และก็ทำใจได้ยาก ดังนั้น หุ้นที่มีการจ่ายปันผลน้อยนิดเมื่อเทียบกับราคาหุ้นจึงเป็นหุ้นที่ผมไม่ชอบเลย แต่ผมเองก็ไม่ชอบและมักจะไม่สนใจหุ้นที่จ่ายปันผลอย่างงดงามมากเมื่อเทียบกับราคาหุ้น เช่น จ่ายถึง 10% ของราคาหุ้นที่เรียกกันว่าหุ้นปันผล เหตุผลไม่ใช่เพราะผมรังเกียจปันผล หรือคิดว่านี่เป็นผลตอบแทนที่น้อยเทียบกับการขึ้นของราคาหุ้น แต่เป็นเพราะว่า “หุ้นปันผล” เหล่านั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลมาก “ชั่วคราว” นั่นก็คือ จ่ายมากเฉพาะปีที่ผ่านมา แต่อนาคตคงไม่สามารถที่จะจ่ายได้เท่าเดิม เนื่องจากกำไรของบริษัทในอนาคตจะลดลง เพราะฉะนั้น “หุ้นปันผล” ของวันนี้ อาจจะกลายเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลน้อยในวันข้างหน้า บริษัทบางแห่งทำกำไรปีที่แล้วได้ 8 บาทต่อหุ้น และจ่ายปันผล 8 บาทต่อหุ้นเหมือนกัน เพราะไม่มีความจำเป็นต้องเก็บกำไรเอาไว้ลงทุนต่อ ราคาหุ้นของบริษัทที่ซื้อขายในตลาดเท่ากับ 100 บาท ดังนั้น ผลตอบแทนปันผลเท่ากับ 8% คนพูดว่านี่คือหุ้นที่จ่ายปันผลดีมากเป็นหุ้นปันผล อีกบริษัทหนึ่งกำไร 10 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้นเท่ากับ 100 บาทเท่ากัน แต่จ่ายปันผลเพียง 3 บาท เพราะต้องนำกำไรส่วนที่เหลืออีก 7 บาทต่อหุ้นไปลงทุนขยายงานต่อ คำนวณดูแล้วผลตอบแทนปันผลเพียง 3% แต่มองดูแล้วบริษัทนี้น่าจะดีกว่าบริษัทแรกและมีคุณค่ามากกว่า เพราะบริษัทน่าจะเติบโตมากกว่าเพราะมีการลงทุนขยายกิจการ และราคาหุ้นเมื่อคิดจากค่า PE ก็ถูกกว่า คือเท่ากับ 10 เท่า (100/10) ในขณะที่บริษัทแรกนั้นค่า PE เท่ากับ 12.5 (100/8) หุ้นที่จ่ายผลตอบแทนปันผลสูงนั้นคงจะไม่เลวร้ายดังตัวอย่างข้างต้นเสมอไป แต่หุ้นหลายตัวก็มีลักษณะดังกล่าว ดังนั้น ก่อนที่จะซื้อหุ้น “ ปันผล ” ควรที่จะศึกษาตัวบริษัทอย่างถี่ถ้วนเสียก่อนว่าปันผลที่ได้รับนั้นจะไม่ลดลงในอนาคต ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การได้ปันผลงามก็ไม่มีประโยชน์ เพราะในวันที่เราได้รับปันผล ราคาหุ้นกลับลดลงมากกว่า ปันผลดีกลายเป็นกับดัก และนี่ไม่ใช่หุ้น Value ที่เราเสาะแสวงหาเลย !031 !031
×
×
  • สร้างใหม่...