ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'สตง ปตท'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 2 รายการ

  1. ท่อก๊าซ ปตท. สำคัญไฉน โดย ฉกาจนิตย์ จุณณะภาต นักกฎหมายพลังงาน สตง ปตท ชี้แจงเรื่องแบ่งแยกท่อก๊าซของ ปตท. ไปให้รัฐ จากการเดินสายชี้แจงเรื่อง hot issue ที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องการให้ ปตท. แบ่งแยกท่อก๊าซของ ปตท. ไปให้รัฐ ในช่วงที่ผ่านมา นั้น ผมเริ่มมองเห็นภาพว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของ ปตท. กับ รัฐ อย่างที่เคยเข้าใจเสียแล้ว แต่การหาทางออกที่ไม่ถูกต้องของเรื่องนี้ จะกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนทุกคนมากทีเดียว ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือ ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยจะเกิดความปั่นป่วนอย่างมาก เพราะขนาดของกลุ่ม ปตท. ในตลาดมีขนาดถึง 1 ใน 4 ของภาพรวม เอกชนและนักลงทุน จะสูญเสียความเชื่อมั่นและไม่กล้าลงทุนในโครงการใหญ่อีก เพราะไม่รู้ว่าจะโดนรัฐยึดไปเมื่อไหร่ นอกจากนั้น ระบบคุ้มครองสิทธิ์ของเอกชนโดยศาลจะสั่นคลอน เพราะคำพิพากษาของศาลไม่ถูกเชื่อถือโดยหน่วยงานของรัฐ เรื่องย่อๆ เกี่ยวกับท่อก๊าซ ปตท. นี้ เพจ ‘สรุป’ ได้จัดทำไว้แล้วค่อนข้างดีสำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามมาก่อน #สรุป #สรุปเดียว ลองอ่านกันได้ครับ สำหรับในโพสต์นี้ ผมจะขอสรุปเรื่องนี้อีกครั้ง เพื่อจะเสริมให้พอเห็นภาพว่า เรื่องท่อก๊าซ ปตท. เริ่มต้นจากตรงไหน และหน่วยงานรัฐออกมาขอให้ ปตท. แบ่งแยกท่อก๊าซ โดยใช้หลักการอะไร 1. เมื่อปี 2544 ปตท. ได้แปลงสภาพตัวเองจากองค์การของรัฐให้เป็นบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ถามว่าทำให้ประสิทธิภาพต่างกันตรงไหนกับของเดิม เพื่อนๆ ลองเทียบการรถไฟ องค์การโทรศัพท์ กับ ปตท. การท่าอากาศยาน ทุกวันนี้ดูครับ 2. ในการแปลงสภาพ ปตท. ต้องใช้กฎหมายฉบับหนึ่ง เรียกย่อๆว่า ‘กฎหมายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ’ ซึ่งกำหนดว่า ทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ให้โอนมาเป็นของ ปตท. ที่แปลงสภาพแล้วทั้งหมด กฎหมายกำหนดไว้แบบนี้ เพื่อให้บริษัทที่แปลงสภาพมีทุนในการดำเนินการต่อ มิเช่นนั้น ก็ต้องมาแบบตัวเปล่าๆ ซึ่งถ้าต้องหมดตัวเช่นนั้น ก็ไม่รู้ว่า ปตท. จะแปลงสภาพมาเพื่ออะไร 3. หลังจากนั้นอีก 5 ปี มีกลุ่ม NGO ยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุด บอกว่า ปตท. แปรรูปไม่ได้ ผิดกฎหมาย ศาลท่านก็ตัดสินว่า การแปรรูป ปตท. เดินมาไกลถึงขนาดนี้แล้ว คงไม่ต้องให้เดินถอยหลังกลับไปอีก 4. แต่ครั้งนี้ ศาลได้วางหลักกฎหมายขึ้นมาบอกว่า แม้ ปตท. จะแปรรูปแล้ว แต่ก็ต้องแบ่งแยกทรัพย์สินที่ใช้ ‘อำนาจมหาชน’ ที่ได้มาก่อนแปรรูป ปี 2544 ให้กับรัฐนะจ๊ะ ซึ่งตอนนั้น ปตท. ก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะไม่แฟร์กับนักลงทุน ก็ตอนที่ ปตท. เปิดขายหุ้นให้นักลงทุนทั่วไป ได้รวมมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดไปแล้ว ไม่เห็นมีใครออกมาทักท้วงอะไร แต่พอผ่านมา 5 ปี จะมาแบ่งทรัพย์สิน ปตท. ไปเฉยเลย ก็เท่ากับว่านักลงทุนถูกหลอกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่ศาลก็คือศาล ทุกคนต้องเคารพ มันคือกติกา ปตท. ก็ไม่มีปัญหาอะไร แบ่งแยกทรัพย์สินคืนไป 5. หลักการแบ่งทรัพย์สิน หน่วยงานต่างๆ ก็มาตกลงกันตามที่ศาลบอก คือ อันไหนที่ใช้ ‘อำนาจมหาชน’ ได้มาก่อน ปตท. แปรรูป ก็ให้กับรัฐไป ได้แก่ การเวนคืนที่ดิน การรอนสิทธิที่ดินเอกชน และทรัพย์สินที่อยู่บนที่ดินเหล่านั้น (ซึ่งก็คือ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. นั่นเอง) 6. พอ ปตท. แบ่งแยกเสร็จ ก็ส่งคืนให้กับรัฐไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดก็เห็นด้วยว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซให้รัฐตามคำพิพากษาครบแล้ว 7. แต่ปรากฏว่าวันที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งว่า ปตท. ส่งครบแล้ว สตง. กลับส่งหนังสือไปถึงศาลบอกว่า ปตท. ยังส่งคืนไม่ครบนะ โดยเฉพาะท่อก๊าซในทะเล แต่ สตง. ก็ดันไปสัญญากับศาลว่า เรื่องที่ว่าจะคืนครบหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาละกันขอรับ สตง. เพียงแต่ให้ข้อมูลเพิ่มว่าศาลอาจจะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ตอนที่รับรองว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบแล้ว 8. ศาลปกครองสูงสุดก็ดูข้อมูลที่ สตง. ส่งมาให้ แล้วพิจารณาว่า ท่อก๊าซในทะเลไม่เข้าหลัก ‘อำนาจมหาชน’ ที่ศาลตัดสินเอาไว้ ดังนั้น ที่ศาลรับรองว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบ จึงถูกต้องแล้ว ศาลก็เลยส่งหนังสือไปแจ้ง สตง. ว่า ศาลพิจารณาความเห็น สตง. แล้ว ก็ยังยืนยันแบบเดิมว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบแล้ว ‘ตามหลักกฎหมาย’ 9. เรื่องท่อส่งก๊าซ ปตท. ก็เงียบไปอยู่หลายปี และ สตง. ก็รับรองงบการเงิน ปตท. ต่อตลาดหลักทรัพย์มาตลอดไม่มีประเด็นเรื่องท่อส่งก๊าซอีก ทุกอย่างดูเหมือนจะจบตามที่ศาลปกครองสูงสุดบอก 10. ปรากฏว่าหลัง คสช. ยึดอำนาจปี 2557 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่อง ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. อีกครั้ง คราวนี้ไปไกลกว่าเดิม ยิ่งกว่า สตง. คือ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง (อีกครั้ง) ขอให้ ปตท. แบ่งแยกท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าก่อนหรือหลังแปรรูป มูลค่า 68,000 ล้านบาท พูดง่ายๆ ว่าขอให้ ปตท. มอบท่อก๊าซทั้งหมดให้รัฐนั่นเอง เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินบอกว่าท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ประชาชนใช้ร่วมกันก็ต้องตกเป็นของแผ่นดิน! 11. พอกระแสถูกจุดขึ้นมาอีกครั้ง สตง. ที่เคยเงียบไป ก็ลืมสัญญาที่ตัวเองให้ไว้กับศาล ออกมาร่วมวงกับเขาด้วย โดยขอให้ ปตท. มอบท่อก๊าซในทะเลที่ สตง. เคยบอกไว้นานมาแล้วให้กับรัฐ แต่เนื่องจาก สตง. ไม่มีอำนาจไปฟ้องเรียกท่อก๊าซเอง จึงบังคับเชิงข่มขู่ว่า ให้คณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน ไปเอามาแทน สตง. มิเช่นนั้น สตง. จะฟ้องศาลให้เอาผิด! เมื่อตอนนี้อำนาจศาลถูกท้าทาย ก็ต้องดูกันต่อไปครับว่า เรื่องนี้จะหาทางออกกันอย่างไร สรุปคือ เรื่องท่อก๊าซธรรมชาติ ปตท. ก็กลับมาเป็นมหากาพย์ด้วยประการฉะนี้ครับ สาเหตุหลักเกิดจากมีบุคคลและหน่วยงานบางกลุ่มไม่เชื่อตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเมื่อหลายปีก่อนนั่นเอง สำหรับในความเห็นส่วนตัวของผม การเอาท่อส่งก๊าซของ ปตท. ไปได้สำเร็จ นั้น อาจจะได้แค่เพียงความสะใจในช่วงสั้นๆ แต่ถ้ามองระยะยาวแล้ว มันไม่คุ้มกันเลยกับมูลค่าท่อเพียงไม่กี่หมื่นล้าน กับ ความพังพินาศของระบบความเชื่อมั่นของประเทศไทย ซึ่งประเมินค่าไม่ได้ทุกวันนี้จึงได้แต่ภาวนาขอให้ผู้นำประเทศไทย ยึดมั่นในหลักกฎหมายและนิติรัฐอย่างมั่นคงครับ ที่มา: Facebook: Pum Chakartnit สามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/สตง-ให้-ปตท-ชี้แจงเรื่อง/
  2. หากท่านผู้อ่านได้เคยอ่านรายงานประจำปี ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ อย่างหนึ่งที่ต้องมีคือ การตรวจสอบเอกสาร รับรองทรัพย์สินและค่าใช้จ่ายต่างๆ และในกรณีของบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจด้วยแล้ว รายงานประจำปี ย่อมมีความเข้มงวดในการตรวจสอบจาก หน่วยงานต่างๆ กลับมาที่เรื่อง การคืนท่อส่งก๊าซ ที่เป็นคดีกันอยู่ขณะนี้ระหว่าง ปตท. กับ คตง. ที่ได้มีการออกสื่อไปต่างๆ ซึ่งขัดกับการระบุลงไปในรายงานประจำปี ของ ปตท. โดยสิ้นเชิง ดังนั้นน่าจะต้องกลับมาตั้งข้อสังเกตุที่เป็นหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบบัญชีว่า มีจุดประสงค์ใดกันแน่ 1. สตง. ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากที่ให้ความเห็นเรื่องท่อในทะเลถือเป็นสาธารณะสมบัติ เป็นการตีความโดยไม่เป็นไปตามคำสั่งศาลและการพิจารณาของ ครม. หรือไม่? 2. สตง. บกพร่องในหน้าที่ เนื่องจากได้รับข้อมูลแบ่งแยกทรัพย์สินจาก ปตท. ตั้งแต่เดือนม.ค. 2551 แต่ดำเนินการล่าช้า โดยให้ความเห็นไม่ทันกำหนดเวลาที่ต้องรายงานศาลในเดือน ธ.ค. 51 หรือไม่? 3. สตง. ปกปิดความบกพร่องของตนเอง กล่าวร้ายผู้อื่น ขาดจริยธรรมและจรรยาบรรณของการปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานตรวจสอบของรัฐ โดยกล่าวหา ปตท. ว่าให้ข้อมูลไม่ครบต่อศาล ทั้งที่เป็นผู้ให้ข้อมูลล่าช้าเอง และยังปกปิดข้อเท็จจริงที่ศาลมีความเห็นยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรกลับไปที่ผู้ว่า สตง. หรือไม่? 4. สตง. ไม่รักษาจุดยืน ขาดดุลยพินิจในความเหมาะสมของการปฏิบัติหน้าที่ โดยเคยมีหนังสือยอมรับคำตัดสินศาลเป็นที่สิ้นสุด แต่ยังมีความเห็นขัดแย้งตลอดมา สร้างปัญหาให้กับข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชน ในการปฏิบัติราชการ และสร้างความสับสนให้กับสังคม และความเสียหายกับเศรษฐกิจ หรือไม่? 5. สตง. กระทำความผิดร้ายแรง ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้รับสอบบัญชี ไม่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ผู้รับสอบบัญชีให้บริษัทมหาชนต่อไป เพราะในฐานะผู้รับสอบบัญชีของ ปตท. ที่ได้รับแต่งตั้งโดยผู้ถือหุ้น เมื่อมีความเห็นว่าท่อในทะเลเป็นทรัพย์สินที่จะต้องคืนให้รัฐ แต่กลับรับรองงบดุลต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 โดยไม่บันทึกความเห็นใดๆ ประกอบงบ กระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนไทยและต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ สร้างความสับสนและเสียหายต่อผู้ถือหุ้นและบริษัทจดทะเบียน หรือไม่? 6. สตง. ขาดสำนึกในเรื่องการดำเนินการโดยมีผลประโยชน์ทับซ้อน ในกรณีการตรวจสอบทรัพย์สินของ บมจ.ปตท. จากการแปลงสภาพการปิโตรเลียมฯ เนื่องจากบทบาทผู้ตรวจสอบที่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐ และผู้รับสอบบัญชีที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น มีประโยชน์ขัดแย้งกัน ควรที่จะต้องประกาศต่อผู้ถือหุ้น และไม่รับเป็นผู้รับสอบบัญชีให้ ปตท. ตั้งแต่ปี 2552 หรือไม่? 7. สตง. ใช้อำนาจโดยมิชอบ สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ โดยกล่าวหาว่าละเลย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งที่ครม.มีมติมอบหมายการปฏิบัติตามคำสั่งศาลอย่างเป็นทางการ และผู้รับมอบหมายได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน หรือไม่? 8. ผู้ว่า สตง. กระทำการเกินอำนาจหน้าที่ ผิดมารยาทและจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบ โดยให้สัมภาษณ์สื่อสาธารณะและให้ข้อมูลบุคคลภายนอกเกี่ยวกับผลการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่ คตง.จะเห็นชอบอย่างเป็นทางการ หรือไม่? และหากเป็นเช่นนี้ การที่ให้ข้อมูลเรื่องการพิจารณานำคืนท่อก๊าซในส่วนเส้นที่ไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิคืนนั้น อาจจะยังส่งผลให้ต้องตีความเรื่องอื่นๆ ของ สตง. เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นสาธารณะสมบัติซึ่งต้องคืนให้รัฐ จะมีผลลูกโซ่ถึงรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพเป็น บมจ. อื่นๆ ตามมาอีกหรือไม่? หมายเหตุ เอกสารรายงานผู้สอบบัญชีโดย สตง. ในรายงานประจำปีของ ปตท. ตั้งแต่ปี 2550 – 2558 จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2550 – 2551 มีการระบุเรื่องการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีปรากฏรายละเอียดเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ที่มาจาก http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ข้อสงสัย-สตง-รายงาน-ปตท/
×
×
  • สร้างใหม่...