ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

Technical Analysis

 

 

Introduction

 

 

Technical analysis is the rigorous analysis of past market data, usually using charts, to forecast future market movement.

 

 

Technical analysis is based on the following three assumptions:

 

 

1. The market takes all relevant information into account

 

Everything that influences the market price of a stock or currency exerts either upward or downward pressure on the price. The market price then is the point at which these pressures meet.

129_484.gif

Price and factors influencing it.

 

 

2. Prices move in trends

 

This means that prices move in a particular direction over the course of time. Prices will move in the same direction until something happens to change the trend. Generally speaking, there are three types of trend:

 

129_485.jpg

 

Uptrend (bullish). Price moves upwards.

 

129_486.jpg

 

Downtrend (bearish) Price moves downwards.

 

129_487.jpg

 

Sideways or flat. Price fluctuates up and down with no distinct trend forming.

 

3. Related to the idea that prices move in trends, technical analysis assumes that history tends to repeat itself

 

Because markets are driven by humans whose reactions to certain events and circumstances are, as history has demonstrated, predicatable, market movement today due to a certain circumstance is likely to mirror movement in the past in the face of a similar circumstance. Many chart patterns are based on the idea that history will repeat itself.

 

 

 

 

ขอบคุณ ...ที่มา

 

http://alpari-forex....nical_analysis1

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Dow Theory

 

 

Dow Theory is a form of technical analysis derived from the work of American journalist and founder of the Wall Street Journal Charles Dow and articulated by William Hamilton and Robert Rhea.

 

The basic tenets of Dow Theory:

 

 

1.
Indices discount all available information
as soon as the information becomes available.

 

2.
There are three types of movements
: primary movements, secondary movements and daily fluctuations (short swing). The primary movement may last anywhere from a few months to a few years and represents the primary trend of the market. The secondary movement lasts from a few weeks to a few months and represents a reaction against the primary trend. Daily fluctuations can move in any direction but generally only last from a few hours up to a week.

 

3.
There are three phases of the primary trend
: accumulation phase, public participation phase, distribution phase. During accumulation stage, informed investors begin buying even as the market at large is at a low point. The accumulation phase generally begins at the end of a downturn and is often mistaken for a correction. Eventually the market catches on to what the early investors saw and a rapid rise in price ensues. This ushers in the public participation phase where trend followers jump onboard and the price enters a sustained climb. The third stage is marked by rampant speculation. At this point the "smart money" begins to get out, finding willing buyers among the speculators. The ideas are the same for the beginning of a bear market, only reversed.

 

4.
Indices must confirm each other.
The idea is that various sectors of the economy depend on each other should experience the same ups and downs. If manufacturing slows down, railroads and shipping should slow down as well. A diversion in performance is often seen to signal changing economic conditions.

 

5.
Trends are confirmed by volume.
Price movement during times of low volume trading carries less weight than movement during periods of high trading. Dow believed that market movement accompanied by high volume represented the "true" market view.

 

 

6. Trends continue until definitive signals to the contrary appear. Markets may fluctuate over the short term and even show movement against the trend, but in the abscence of clear signals to the contrary, the trend will resume. Determining where a reversal is temporary or the beginning of a new trend is one of the most difficult things a trader faces

 

 

12153_423.png 12153_424.png 12153_425.png

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อยากได้ไฟล์ pdf เกี่ยวกับ technical analysis เลยไปหาค่ะ อ่านคร่าวๆ เห็นว่าค่อนข้างดีค่ะ เอามาฝากค่ะ แต่จาก

link - alpari ข้างบนยังมีอีกมากค่ะ

 

 

http://www.spytrdr.c...nalysisAtoZ.pdf

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับคุณมดแดง ความรู้ทั้งนั้น

:_Rd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Trend Analysis.

 

 

There are three types of trend.

  • 1. Uptrend (bullish) where prices are rising.
  • 2. Downtrend (or bearish) where prices are falling.
  • . Flat or Range where prices are neither rising nor falling.

Within a trend, there may be temporary movement with the trend (impulsive movement) or against the trend (corrective movement).

 

Support / Resistance Levels

 

Support and resistance levels are points on a graph where supply meet demand. As the price moves up and down through time, the support and resistance levels can be thought of as containing the price. In other words it is the point that is believed to be where the price will stop and reverse. during a

 

Resistance: lines are drawn connecting the peaks of the chart. This indicates the price at which sellers outnumber buyers, thus driving the price back down. Traders watch resistance points very carefully. Once the price breaks through the resistance level, it usually keeps rising until finding a new resistance point.

 

12154_426.gif

 

Support: are lines drawn connecting low points on the chart.

 

These are points at which the price finds buyers, thus bringing the price back up. As with resistance points, if the price breaks through the support points, it often continues to go down until new support points are found.

12154_427.png

 

Channel Lines

 

Channel lines are drawn parallel to the main trendline and indicate points at which the price begins to diverge from the current trend line. If the price does not reach the trend line, it could be a sign that the current trend is losing momentum.

12154_428.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ มีใครช่วยแปลหน่อยได้ป่าว :32

 

จริงๆแล้ว เรื่องบทเรียนภาษาไทยก็หาอ่านได้มากมาย แต่จุดประสงค์ที่เอาภาษาต่างด้าวมาโพส เพราะอยากอ่าน dow theory ว่ามันมีใจความอย่างไร ... บางประโยคจะได้ยินบ่อยๆ ก็อย่ากระนั้นเลย เอามันมาหมด เพราะเห็น link นี้มันอ่านง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนจนน่าเวียนหัว เลยนำเอามาไว้ที่นี่ค่ัะ

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)

 

 

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)เกิดจากการรวบรวมและเรียบเรียงข้อความจากบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ "The wall street journal" ซึ่ง Charles Henry Dow และเพื่อนที่เป็นหุ้นส่วนชื่อ Edward Jones เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมฉบับนั้น เมื่อปี ค.ศ. 1882 Charles Henry Dow เป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการ เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเงิน ที่เมื่อก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ต้องการเขียนรายงานข่าวเศรษฐกิจการเงิน ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีดัชนีอะไรทั้งสิ้น ดาวจะรายงานถึงตลาดหุ้นว่าดีหรือเลวอย่างไรขึ้นหรือลงแค่ไหน ก็เป็นเรื่องยากที่จะสื่อให้ผู้อ่านได้รู้ เขาจึงคิดดัชนีตัวหนึ่งขึ้นมา โดยใช้ชื่อเขาและหุ้นส่วน เรียกว่าดัชนีดาวโจนส์ โดยใช้หุ้นชั้นนำ (bluechip) จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนีไว้เป็นตัวอ้างอิง จะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด

 

Dow.gif

 

ปกติดาวเป็นนักวิเคราะห์การเงิน ซึ่งถ้าเป็นในสมัยนี้ก็ถือว่าเป็นนักวิเคราะห์ที่อิงปัจจัยพื้นฐาน เขาได้เขียนบทบรรณาธิการอยู่หลายปี และได้นำตัวเลขดัชนีดาวโจส์มาทำเป็นกราฟเพื่อรายงานให้ผู้อ่านได้เห็นภาพ พจน์ และแล้วดาวก็ได้สังเกตการเคลื่อนที่ของดัชนีดาวโจนส์ที่ได้นำเสนอผู้อ่าน เป็นกราฟ ว่ามันมีรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา ว่ามันมีรูปแบบ(Price Pattern) ที่คาดคะเนแนวโน้มได้ เขาจึงได้เขียนบทวิเคราะห์วิจารณ์หุ้นด้วยกราฟ จึงนับได้ว่าดาวเป็นบิดาของการวิเคราะห์ทางเทคนิคของฝ่ายตะวันตก ซึ่งก่อนหน้านี้ในประเทศญี่ปุ่นก็มีผู้ที่ใช้กราฟแท่งเทียน ( Candlestick Chart) ในการวิเคราะห์ราคาข้าวและพืชผลทางการเกษตรกันแล้ว

 

ต่อมาเมื่อดาวเสียชีวิตลง เพื่อนๆและแฟนประจำคอลัมน์ในของเขาได้ช่วยกันรวบรวมบทบรรณาธิการนั้นขึ้นมา ใหม่ จนกลายเป็น ทฤษฎีดาว (Dow Theory)

 

ตามความคิดของดาวนั้น เขามองการขึ้นลงของหุ้นเปรียบเสมือนการขึ้นลงของน้ำทะเล กล่าวคือ ช่วงที่น้ำกำลังขึ้นนั้นคลื่นที่ซักเข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะถูกขยับสูงกว่าสูง กว่าคลื่นครั้งก่อนๆ ในทางกลับกัน ช่วงที่น้ำทะเลเริ่มลดลง ลูกคลื่นที่เข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะค่อยๆมีระดับทีี่ลดลง การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก็มีลักษณะเดียวกับการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำในทะเล ตอนขาขึ้นระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้นจะสูงกว่าระยะทางที่หุ้นตกลง แต่ตอนขาลงระยะทางที่หุ้นตกลงจะยาวกว่าจะระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้น จากแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นลำดับ เนื่องจากวัฒนธรรมการเผยแพร่ความรู้แบบตะวันตกทำให้เกิดกลุ่มที่มีความเชื่อ ทางทฤษฎีนี้มากมายจนถึงทุกวันนี้ และมีผู้ที่เชื่อว่าทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ก็เป็นทฤษฎีที่แตกสาขามาจากทฤษฎีดาว(Dow Theory)นั่นเอง เพียงแต่ ทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ได้ขยายความละเอียดลึกลงไป จนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งและนำความรู้ที่เพียงบางส่วนมาใช้ จะให้เกิดความผิดพลาดได้อย่างมาก

dow-theory-2.png

 

 

 

เมื่อ H= High จุดสูงสุด

L = Low จุดต่ำสุด

 

Dow ได้แบ่งแนวโน้มราคาหุ้นเป็น 3 ประเภทตามระยะเวลา คือ

 

1. แนวโน้มใหญ่ ( Primary trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะยาว

 

2.แนวโน้มรอง (Secondary or Intermediate trend) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะกลาง

 

3.แนวโน้มย่อย (Minor trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มของราคาระยะสั้นๆ เป็นการเคลื่อนไหวของราคาประจำวัน

 

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)ได้กล่าวไว้ว่า

 

1.แนวโน้มใหญ่ (Primary Trend)

 

หรือแนวโน้มระยะยาว ปกติจะใช้เวลา 1 ปี หรือ 200 วันขึ้นไปอาจจะยาวนานถึง 4 ปี

 

Uptrend (แนวโน้มขึ้น )

 

 

dow-theory-up.png

1. Low ใหม่ จะสูงกว่า Low เก่า (จุด L2 สูงกว่า L1) และ L3 ก็สูงกว่า L2 เช่นเดียวกัน

 

2.High ใหม่ จะสูงกว่า High เก่า ( จุด H2 สูงกว่า H1) และ H3 ก็สูงกว่า H2 เช่นเดียวกัน

 

3. ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นจะยาวกว่าระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลง ( ระยะระหว่าง L1 ถึง H2 จะยาวกว่าระยะระหว่าง H2 ถึง L2)

 

ก่อนเปลี่ยนแนวโน้ม จุดต่ำสุดและสุดสูงสุดใหม่กับเก่า อาจจะอยู่ในระดับเดียวกัน

dow-theory-1.png

 

แนวโน้มลง Down Trend

 

 

 

Dow_Theory_down.png

 

1. Low ใหม่จะต่ำกว่า Low เก่า ( จุด L2 ต่ำกว่า จุด L1) และ จุด L3 ก็อยู่ต่ำกว่า L2 เช่นเดียวกัน

 

2. High ใหม่ จะอยู่ต่ำกว่า High เก่า ( จุด H2 อยู่ต่ำกว่า จุด H1) และ จุด H3 ต้องอยู่ต่ำกว่า H2 เช่นเดียวกัน

 

3.ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลงจะยาวกว่าระยะทางที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป ( H1L2 มากกว่า L2H2)

 

 

2.แนวโน้มรอง (Secondary หรือ Intermediate Trend)

 

เป็นแนวโน้มระยะกลางที่เบี่ยงเบนจากแนวโน้มใหญ่ใช้เวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์หรือหลายเดือน 25วัน ถึง 200 วัน แนวโน้มรองนี้รวมตัวกันแล้วก่อนให้เกิดเป็นแนวโน้มใหญ่ อันประกอบด้วยแนวโน้มรองขึ้น และแนวโน้มรองลง

ตอนหุ้นขึ้น แนวโน้มรองจะยาวกว่าแนวโน้มรองลง

ตอนหุ้นขาลง แนวโน้มรองขึ้นจะสั้นกว่าแนวโน้มรองลง

 

3.แนวโน้มย่อย (Minor Trend)

 

เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มรอง เป็นการแกว่งตัวของราคาในระยะสั้นรายวัน แต่ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ในหลักวิชาแล้วนักวิเคราะห์ถือว่าไม่มีนัยสำคัญ มองเพียงเป็นส่วนประกอบของแนวโน้มรองและแนวโน้มใหญ่เท่านั้น

 

ผมขอเสริมนะครับ ในส่วนนี้ ถ้าเรานำทฤษฎีนี้มาใช้กับตลาดฟอเร็ก Forex Market แนวโน้มใหญ่ที่เราควรจะมองคือ Month week แนวโน้มรองหรือแนวโน้มระยะกลาง คือ Daily แนวโน้มย่อยคือ ต่ำกว่า 4 H

 

พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม

 

 

การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทุกๆแนวโน้มจะเป็นผลจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental factors) และจะปรากฏเป็นจิตวิทยามวลชน (mass psychology)ที่จะอธิบายแต่ละช่วงของแนวโน้มอันประกอบเป็นแนวโน้มใหญ่ ซึ่งแนวโน้มใหญ่มี สองชนิดคือ แนวโน้มขาลงหรือตลาดกระทิง (bull market) และแนวโน้มขาลงหรือ ตลาดหมี (bear market ) และแต่ละแนวจำแนกออกเป็น 3 ระยะ (phase) ดังนี้คือ

 

 

:uu ตลาดกระทิง (Bull Market)

 

 

1. ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase)

 

เมื่อราคาหลักทรัพย์หรือดัชนีบ่งชี้ตกต่ำถึงที่สุด เกิดเนื่องจากภาวะหุ้นตกต่ำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนมูลค่าซื้อขายน้อยลงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในช่วงนี้หุ้นหลายตัวจึงไม่คึกคักเพราะหาคนขายยากเนื่องจากขายหมดแล้วหรือ ขาดทุนมาก จึงเก็บไว้เป็นการลงทุนในระยะยาว ส่วนคนซื้อก็น้อยเพราะเข็ดเขี้ยว

ระยะนี้เป้นรอยต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐาน (fundamental factors) ครั้งสำคัญ สภาวะการณ์ต่างๆไม่ดีไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่อืมครึม เศรษฐกิจโดยทั่วไปไม่ดี ผลกำไรของบิษัทออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ช่วงนี้นี่เองที่นักลงทุนมองเห็นการณ์ไกล สายป่านยาว หรือทุนหนา เริ่มเข้ามาซื้อในลักษณะสะสมหุ้นโดยไม่ซื้อไล่ขึ้น แต่จะซื้อเมื่อหุ้นปรับตัวลงมาถึงราคาเป้าหมาย (Target Price) แรงซื้อนี้ทำให้หุ้นขยับขึ้นลงเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ต่ำกว่าราคาที่นักลงทุนจ้องซื้อ

ทุกครั้งเมื่อหุ้นตกถึงระดับนี้ เมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง หรืออื่นๆ จะเลงร้ายถึงขีดสุด จนเป็นระยะที่นักลงทุนคิดว่าไม่มีอะไรเสียหายมากกว่านี้อีกแล้ว อย่างมากก็เสียเวลารอคอยเท่านั้น เป็นโอกาสทองของนักลงทุนที่เห็นการณ์ไกลหรือนักลงทุนหน้าใหม่ จังหวะนี้นับว่าน่าลงทุนที่สุดระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของแนวโน้มใหญ่ขาลง (Final phase of the bear market)

 

2.ระยะกักตุนหุ้น (Correction Phase)

 

ในระยะนี้มูลค่าซื้อขายจะเริ่มเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ราคาหุ้นแต่ละตัวมีแนวโน้มขยับฐานเพิ่มสูงขึ้นทีละนิด ข่าวดีเริ่มมีให้เห็น เศรษฐกิจทั่้วไปดูดีขึ้น ผลการดำเนินการของบริษัทได้เรียกร้องความสนใจของนักลงทุน ส่งผลให้จำนวนนักลงทุนและมูลค่าการซื้อขายสูงมากขึ้นเป็นลำดับ

 

3. ช่วง "ตื่นทอง (Boom Phase)"

 

ช่วงนี้หุ้นแทบทุกตัวจะขยับขึ้นในอัตราที่สูงและติดต่อกันหลายวัน บางหุ้นขยับขึ้นไปติดเพดาน มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้นหลายสิบเท่า จำนวนคนในตลาดสูงขึ้นเป็นทวีคูณ เป็นระยะที่ข่าวดีรวมทั้งข่าวลือจะประดังเข้ามาไม่ขาดระยะ ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ผลกำไร ของบริษัทที่คาดว่าเพิ่มขึ้น จังหวะนี้เองที่บริษัทในตลาดถือโอกาสเพิ่มทุนขนานใหญ๋ นักเก็งกำไรเข้ามามากที่สุด ในขณะที่นักลงทุนระยะยาวและกองทุนเริ่มทยอยออก เนื่องจากส่วนใหญ่เริ่มมีกำไรในอัตราที่พอใจแล้ว สื่อมวลชนเริ่มลงข่าวออกมา วิจารณ์ว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ในที่สุดช่วงนี้เองที่แนวโน้มเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางลง

 

 

:bye ตลาดหมี (Bear Market)

 

 

1.ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase)

 

เป็นระยะแรกของตลาดหมี อันเป็นช่วงที่นักลงทุนรายใหญ่ทำการแจกจ่ายหุ้นที่มีอยู่ เนื่องมาจากเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นมากจนเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานจะอำนวยให้ นักลงทุนทั่วไปเริ่มหวั่นไหว เพราะเห็นว่าราคาขึ้นมาสูงเกินอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ก่อนจะเป็นตลาดหมี (Bear Market) จะมีสัญญาณเตือนโดยมีการแกว่งตัวระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุดห่างกันมาก ตอนราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดสูงขึ้นแต่มูลค่าของการซื้อขายกลับลดลง แสดงว่าไปได้อีกไม่ไกล และถ้าราคาหุ้นต่ำลงในขณะที่ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้น ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีให้พยายามขายลดพอร์ต (port) ลง

 

2.ระยะขวัญเสีย (Panic Phase)

 

ระยะนี้นักลงทุนรู้สึกว่าตลาดหุ้นจะไปไม่ไหว ข่าวต่างๆเริ่มออกมาทางลบ ข่าวลืมประเภทไม่ดีเริ่มแพร่หลาย เป็นเหตุให้ราคาหุ้นตกอย่างแรง คนเล่นหุ้นที่ขายตัดขาดทุน (Cut loss) ไม่ทันก็จะติดหุ้นในราคาที่สูง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มที่ชอบเก็งกำไรราคาจะตกลงอย่างรวดเร็ว แม้แต่หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีก็ยังตกลงมาเหมือนกัน เพียงแต่ตกลงมาในอัตราที่ช้ากว่าเท่านั้น หลังการตกของราคาหุ้นครั้งใหญ่อาจมีการดีดตัวขึ้นของราคาหุ้น แต่เป็นการปรับตัวขึ้นชั่วคราว (Rebound) ช่วงนี้ห้ามเข้าไปซื้อเด็ดขาด ถ้ายังไม่อยากขาดทุนหนัก

 

3.ระยะรวบรวมกำลัง (Consolidation Phase)

 

 

ขณะที่หุ้นมีราคาต่ำมาก อาจจะต่ำกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชี (book value) หรือราคาพาร์ ทำให้กองทุนต่างๆเริ่มเก็บหุ้น แม้ว่าสภาวะทั่วไปยังไม่ดีขึ้นก็ตาม แต่นักลงทุนก็จะไม่ยินดียินร้ายกับข่าวลืมหรือข่าวจริง ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ระยะที่สามของแนวโน้มใหญ่ขาลงนี้คาบเกี่ยวกับระยะแรกของแนวโน้มขาใหญ่ขึ้น (accumulation)ซึ่งเกิดการประลองกำลังกันของความกล้าและความกลัวในใจของตัว เอง เพราะระยะนี้ถ้าไม่สังเกตอย่าใกล้ชิด จะวิเคราะห์ยากมากจนดูแทบไม่ออก

 

ในการเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับ ผู้เริ่มต้นนั้น แนะนำว่าให้หัดมองภาพรวมของตลาดก่อนว่ามีทิศทางใด โดยใช้หลักการของทฤฤฎีดาว (Dow Theory) และพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม ควบคู่ไปกับการใช้ Indicators เพื่อเป็นจุดชี้วัด ยืนยันสัญญาณในการเทรด Indicators ที่แนะนำ คือ Relativa Strength Index (RSI) , MACD , Moving Average (MA) ครับ

 

ผมหวังว่าบทความเรื่องทฤษฎีดาว (Dow Theory) คงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ นะครับ

เพื่อนๆสามารถติดตามบทความเกี่ยวกับ ทฤษฎีดาว(Dow Theory) ในหมวดหมูของบทความหัวข้อ ทฤษฎีดาว (Dow Theory ) ได้ครับ

 

Credit:www.9professionaltrader.blogspot.com

ทฤษฎีดาว(Dow Theory)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

chart pattern

 

 

ภาษาไทย พิมพ์ไปอ่านได้เลยค่ะ น่าสนใจมาก

 

 

 

http://www.efuturesthai.com/portals/0/educations/2.3%20Chart%20Pattern_1.pdf

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

  • Chart Patterns
     
     
    The key to using charts is to recognize patterns. Given that the basis of technical analysis is that price movement (and therefore its reflection on charts) repeats itself and is therefore predictable with proper analysis. Chart patterns are tools used to predict trend reversal or trend continuation.
     
     
    Head and Shoulders
     
    Head and shoulders is a well-known reversal pattern - meaning that the currency is likely to move against the previous trend (for the Head and Shoulders to apply, there must be an established trend, otherwise the pattern doesn't apply here). As the name suggests, the pattern resembles a head and two shoulders. There is a third element called a "neckline" which is drawn by connecting the low of the left shoulder (which is also the beginning of the head), and the end of the head (also marking the beginning of the right shoulder). There are two versions of the head and shoulders pattern- a "top" (showing a currency's price is about to fall) and "bottom" (anticipating a rise in price). Below we see a "top" pattern indicating a likely fall in the price.
     
     
    12155_429.png
     
    Below we see the opposite type of pattern, a "botton". When the price breaks through the neckline, it will be expected to rise, thus marking the beginning of a new trend.
     
    12155_430.png
     
    Volume is used to confirm the pattern. Theoretically, volume should be higher where the left shoulder is ascending than during the ascension of the head. Final confirmation comes when volume rises higher still during the decline of the right shoulder.
     
    12155_431.png 12155_432.png
     
     
    Triple and Double Tops and Bottoms
     
    Double Tops and Bottoms, like Head and Shoulders, is a reversal pattern. The pattern consists of two roughly equal peaks with a moderate trough in between. Reduced volume on the second peak following by increased volume on the decline is considered to be a confirmation. Double Tops are considered difficult to trade because of their similarity to Triple Stops, a much rarer but nevertheless often confusing pattern for traders. Below is shown a Double Botton. Note the rise in price following the second trough. This is in line with the same principle mentioned above with the Double Top.
     
     
    12155_433.png
     
     
    V-Reversal Pattern (Spike)
     
    Spike V's are sharp and definite direction reversals creating a pattern on the chart as shown below. V-Tops are more common than V-bottoms for the simple reason that once everyone is invested, there's nowhere to go but down, whereas when an asset is at the botton, it usually takes time for it to build momentum. While predicting spikes are very difficult, traders should know how to react when they do occur.
    12155_434.png

http://alpari-forex....nical_analysis4

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Triangle

 

 

 

Triangle (Chart Pattern)

 

A "triangle" is a pattern showing an increasingly narrow price range on a chart. There there are three types of triangle: ascending, decending and symmetrical. The most important aspect of analysis with triangles is not necessary the shape of the triangle itself, but where the market goes when when it breaks out of the triangle.

 

12156_435.png

 

The image above shows an ascending triangle. The highs increase gradually while the lows stay roughly the same indicating increasing buying pressure. In an uptrend, an ascending triangle is seen as a confirmation of the trend. In a downtrend, a ascending triangle can be a powerful signal of a reversal.

 

12156_436.png

 

Here we see a descending triangle. Using the same logic as with the increasing triangle, a descending triangle in a downtrend is a continuation of the trend but in an uptrend it may signal a reversal.

 

 

12156_437.png

 

A symmetrical triangle is one in which the highs are higher and the lows are lower and is common in directionless markets. The key here is which direction the market breaks to out of this pattern.

 

Flags

 

The Flag formation is a short term continuation pattern that marks a consolidation and is marked by sharp movement in either direction on heavy volume.

 

 

12156_438.png

 

 

Pennants

 

 

Penants are brief periods of sideways motion after a sharp increase or decrease. Penants resemble symmetrical triangles and are considered to be a continuation pattern.

12156_439.png

 

 

Wedge

 

The wedge pattern is a common chart pattern showing a contracting range of prices. The prices may be moving upwards or downward with the wedge being called an upward or downward wedge accordingly.

12156_440.png

 

 

Rectangles

 

 

12156_441.png

 

The rectangle is a pattern in which the price oscillates consistently within the resistance and support lines without breaking through on either side. A breakthrough on either side is considered a good entry point.

 

 

http://alpari-forex.com/en/market/technical_analysis/#technical_analysis4

 

 

 

 

อ่านเพิ่มเติมค่ะ

 

 

http://www.chartpatterns.com/

 

http://stockcharts.com/school/doku.php?id=chart_school:chart_analysis:chart_patterns

 

http://www.investopedia.com/university/charts/#axzz1pvjXOr00

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หนังสือออนไลน์

 

 

 

Essential Technical Analysis (2002)

 

 

 

http://issuu.com/tod...alysis__2002_/1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Trend Indicators.

 

 

 

Moving Average.

 

The moving average indicator takes the average price over a period of time. Because price fluctuations can often obscure the true movement of a currency, moving averages are used to smooth out the chart data.

 

 

Simple Moving Average — SMA:

 

The simple moving average is the most basic moving averages using in trading. The SMA tracks the price of a currency over a certain period of time by dividing the average closing price by the number of time frames.

 

Weighted Moving Average (WMA):

 

Is a moving average in which more weight is given to more recent data. Each daily average is given a weight before being plugged into the formula which produces the average.

 

Exponential Moving Average (EMA):

 

An Exponential Moving Average is similar to a Weighted Moving Average except that more weight is given to recent data which allows it to react faster to changes in the market. The significance of each day's data increases exponentially thus

 

How to analyze Moving Averages:

 

Moving averages can be very effective in determining the trend of a currency through the noise of market fluctuations. There are a few technical signals to be aware of.

If the price crosses the Moving Average line from below, then this is a signal to buy. By the same token, when the price crosses from above, it may be time to sell.

 

12157_442.png

 

The moving average line can, however give false signals especially in a fast moving market. Often, cross-points of two Moving Average indicators of different periods are used (n1 and n2);

 

 

12157_443.png

 

It the Moving Average uses a longer time period, it may be able to to determine the trend though it will be less sensitive to price movements;

 

12157_444.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average icon0001.gif

 

 

นับเป็นเครื่องมือสำคัญ เครื่องมือหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยมีส่วนช่วยในการมองเห็นถึงแนวโน้มการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น รวมถึงจุดที่เปลี่ยนแนวโน้ม เพื่อเป็นสัญญาณซื้อขาย รวมถึงแนวรับแนวต้าน ของราคาหุ้นในช่วงเวลาต่างๆ

ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนนั้น จะกำหนดเส้นค่าเฉลี่ย ในจำนวนวันที่แตกต่าง กัน ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการลงทุนของแต่ละบุคคล หรือรอบการเคลื่อนที่ของหุ้นตัวนั้น ว่าการกำหนดด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเท่าใด ที่น่าจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุด

 

โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้กันทั่วไปมีตั้งแต่

 

5 วัน (1 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น

10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น

25 วัน (ประมาณ1 เดือน) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง

75 วัน (ประมาณ1 ไตรมาส) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง

200 วัน (ประเมาณ 1 ปี) ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว

 

 

ซึ่งจำนวนวันเหล่านี้จะเป็นตัวบอกถึงราคาต้นทุนเฉลี่ยของคนที่ถือหุ้นมาแล้วในช่วงระยะเวลา แตกต่างกันเช่น

ปัจจุบัน ราคาหุ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25วัน ดังนั้นจึงบอกได้ว่า มีคนที่ถือหุ้นในช่วง 25วันที่ผ่านมา หรือนักลงทุนระยะกลางที่ยอมถือหุ้นนานกว่า 1 เดือน มีต้นทุนต่ำกว่า ราคาปัจจุบัน ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ ยังมองว่าหุ้นเป็นแนวโน้มขาขึ้นตราบที่ราคาหุ้นยังยืน เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25วัน

 

ดังนั้นการหาสัญญาณ ซื้อหรือขายหุ้นจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

 

 

hemraj%20SMA.gif

 

 

สัญญาณซื้อ คือ

  • เมื่อราคาเคลื่อนขึ้น และทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยตามช่วงระยะเวลาต่างๆ เช่น 5วัน, 10 วัน
  • เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว
    เรียกว่า (Golden cross)

สัญญาณขายคือ

  • เมื่อราคาเคลื่อนลงและทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยตามฤฤฉช่วงระยะเวลาต่างๆ เช่น 5วัน, 10 วัน
  • เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว
    เรียกว่า (Dead cross)

set%20mva.gif

 

ดังในภาพจะเห็นว่า ดัชนี SET index ปรับตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน (สีเขียว) 10วัน(สีแดง) และ 25วันสีฟ้า นับแต่ต้นเดือนเมษายน หรือ (4/2 จากตารางกราฟ) ซึ่งจะเห็นว่าเกิดแรงขายจากนักลงทุนระยะสั้น บางครั้งเมื่อหุ้นต่ำกว่า เส้นค่าเฉลี่ย 5วัน แต่เมื่อราคาถึงเส้นค่าเฉลี่ย 10วัน หุ้นจะสามารถเด้ง กลับได้หาก นักลงทุนระยะ 10วันยังมองว่า หุ้นยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอยู่ ดังนั้นเมื่อถึงระดับดังกล่าว จะมีแรงซื้อ ซ้ำเพราะราคาหุ้นยังถูกอยู่กว่าราคาในอนาคต ส่วน นักลงทุนระยะกลาง เช่น 25วัน จะยังคงถือหุ้น ตราบที่ SET index ไม่หลุด 730 จุด ดังที่เห็นในกราฟเป็นต้น

 

ซึ่งตัวอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่าบางครั้ง การซื้อขายระยะสั้น ตามสัญญาณ 5 วัน และ 10วันอาจให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการถือระยะยาวเป็นรอบ จากการดูเส้นค่าเฉลี่ยที่ยาวขึ้น แต่อย่างไร เส้นค่าเฉลี่ย ไม่มีกำหนดตายตัวว่า ค่าไหนดีที่สุด ขึ้นอยู่กับนิสัยหุ้นตัว นั้น สภาวะตลาดโดยรวม

 

ดังนั้นกลยุทธ์การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการถือครองหุ้น ซึ่งจะเป็นตัวเลือกด้วยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยจาก จำนวนวันที่ต่างๆกัน แต่ ความแม่นยำ นั้นอาจขึ้นจากนิสัยของหุ้นตัวนั้น หรือ ผู้ที่ลงทุนในหุ้นตัวนั้นส่วนมาก เขาใช้เส้นค่าเฉลี่ยเท่าไหร และแบบใด

 

ส่วนจุดอ่อนของการใช้เส้นค่าเฉลี่ย อาจเกิดขึ้นได้ หากหุ้นในช่วงนั้น เป็นลักษณะ Side way หรือแกว่งตัวในกรอบนานๆ อาจจะทำให้เส้นพันไป มา จึงเกิดทั้งสัญญาณหลอก ให้ ซื้อขาย ได้บ่อย ก็ได้ ดังนั้น เส้นค่าเฉลี่ยนั้นจะเหมาะสำหรับการวิเคราะห์ในช่วงตลาดที่ มี Trend หรือแนวโน้ม

 

 

ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย

 

ประเภท ของเส้นค่าเฉลี่ย มีด้วยกันหลายแบบ ซึ่ง ผู้ลงทุนอาจจะใช้ราคา เปิด หรือ ราคาปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด หรือ ราคาเฉลี่ย มาเป็นตัวกำหนด สำหรับ การหาค่าเฉลี่ยก็ได้ ซึ่ง ส่วนใหญ่ที่ เราใช้อยู่ทั่วไป จะนำราคาปิดของหุ้นในแต่แท่งเทียน มาเป็นข้อมูลสำหรับการคำนวนค่าเฉลี่ย ดังเช่น

 

การหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบธรรมดา (SMA, Simple Moving Average)

 

เส้นค่าเฉลี่ยแบบธรรมดา มาจากการหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้น ในช่วงเวลาที่กำหนด เป็น N วัน

SMA คำนวณมาจาก

SMAt = 1/N(Pt+..........+Pt-N+1)

โดย P = ราคา

T = วัน t

N = จำนวนวันในค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

sma.gif

 

ส่วนการหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบ EMA (Exponential Moving Average)

 

นั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น

ซึ่งวิธีนี้เป็นการพยายามแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิด ขึ้นจากวิธี SMA กล่าวคือ EMA นั้น จะถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด และจะเอาค่าทุก ๆ ค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยจะไม่ทิ้งข้อมูลเก่าที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ค่าทุกค่าสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา

 

หลักการคำนวนคือ

 

ขณะที่ค่า เฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อคาบเวลา แต่ EMA จะให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่เรียกว่า SMOOTHING FACTOR (SF) หรือ SMOOTHING CONSTANT โดยที่ SF = 2/(n+1) ซึ่งวิธีการสร้าง EMA มีสูตรการคำนวณคือ

EMA = EMAt-1 + SF(Pt - EMAt-1)

เมื่อ EMAt คือ ค่าของ Exponential Moving Average ณ เวลาปัจจุบัน

EMAt-1 คือ ค่าของ Exponential Moving Average ณ คาบเวลาก่อนหน้า

SF คือ ค่าของ Smoothing Factor = 2/(n+1)

Pt คือ ราคาปัจจุบัน

n คือ จำนวนวัน

 

* หมายเหตุ : การคำนวณค่าเฉลี่ยของวันแรก จะใช้ราคาในวันแรกนั้นเป็น EMA

 

ซึ่งทั้ง EMA และ SMA นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่ต่างก็จะเลือกใช้แบบใด แบบหนึ่ง จากทั้งสองแบบนี้ เพียงแต่ อาจจะขึ้นอยู่กับวิธีการวิเคราะห์

 

• โดยการวิเคราะห์ แบบ SMA นั้นจะเห็นได้การเคลื่อนที่ของเส้นค่าเฉลี่ย มักจะช้ากว่า EMA ซึ่งการหาสัญญาณ ซื้อขายจากการตัดของเส้น EMA จะแม่นยำกว่า

 

• ส่วนการวิเคราะห์แนวรับแนวต้านจากเส้นค่าเฉลี่ยนั้น SMA จะดีกว่า เนื่องจากเป็นการคำนวน ฐานต้นทุนของนักลงทุนที่แท้จริง จึงทำให้บ่อยครั้ง เป็นแนวรับแนวต้านที่สำคัญ

 

• ส่วนหุ้นบางตัวนั้น อาจจะวิเคราะห์ด้วย EMA ดีกว่า SMA หรือ SMA ดีกว่า EMA นั้นขึ้นอยู่กับ ผู้เล่นหุ้นส่วนใหญ่ของตัวนั้น จะใช้ เส้นอะไร ดู เพราะจากมุมมองที่เหมือนกัน จึง ทำให้เกิดสัญญาณ ที่เหมือนกัน จนเป็น ความแม่นยำที่เกิดขึ้นก็เป็นได้

 

 

set%20sma.gif

 

 

set%20ema.gif

1176889747investorchartcom.gif

 

 

 

ขอบคุณ

.

http://www.investorchart.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=500358&Ntype=4

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

MOVING AVERAGE ( ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ )

 

 

 

เป็นการนำเอาราคาของหุ้นย้อนหลังตามจำนวนวันที่เราต้องการพิจารณา นำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อดูทิศทางของราคาหุ้น ณ วันที่เราพิจารณา เช่น MA10 หมายถึง ราคาหุ้นย้อนหลังจากวันที่เรากำลังพิจารณาไป 10 วัน เป็นการนำเอาราคาแต่ละวันมาเฉลี่ยกัน เหตุที่เรียกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ก็เพราะในวันถัดไปค่าเฉลี่ยก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน

จำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ยเป็นที่นิยมกันได้แก่ MA5, MA12, MA26, MA75, MA200 จำนวนวันจะบ่งบอกว่าเป็นการพิจารณาราคาในระยะสั้น กลาง หรือ ระยะยาว ความเห็นส่วนตัวผม และผมก็ใช้อยู่เป็นประจำมีด้วยกัน 3 ตัวคือ

 

 

MA5, MA12, MA26 เป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น

MA 75 เป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะกลาง

MA200 เป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว

 

 

 

 

 

วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นิยมทำกัน 2 แบบคือ

1.) Simple Moving Average เป็นการให้น้ำหนักการเฉลี่ยเท่าๆกัน

2.) Exponential Moving Average เป็นการให้น้ำหนักราคาค่อนมาทางเวลาใกล้ปัจจุบันมากกว่าราคาในช่วงอดีต ส่วนสูตรการหาค่าเฉลี่ยแบบ simple หรือ exponential ผมไม่ขอนำมาแสดงในหนังสือเล่มนี้ เพราะการหาค่า SMA หรือ EMA สามารถใช้โปรแกรมเช่น MetaStock คำนวนและแสดงกราฟได้ แต่สิ่งที่ผมอยากให้รับรู้ก็คือ การนำมันไปใช้ทำนายหุ้นมากกว่าครับ

 

ประโยชน์ของ Moving Average

1.) เมื่อนำค่า moving average แต่ละวัน นำมาเขียนกราฟ ก็จะได้เส้น MA Line ซึ่งสามารถบอก trend ของราคาได้

2.) สามารถบอกสภาวะตลาดได้ว่าเป็น Bullish State หรือ Bearish State โดยสังเกตจากการเรียงตัวของเส้น MAฺ

 

Bullish State ( สภาวะกระทิง )

MABULL.gif

 

 

 

 

 

 

จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT สภาวะที่แถบเงาสีน้ำเงิน เป็นสภาวะตลาดกระทิง ( Bullish State ) โดยสังเกตจากเส้นค่าเฉลี่ยที่มีการเรียงตัวของเส้น MA5(cyan) MA12 (magenta) MA26 (blue) โดยที่เส้น MA ระยะสั้นจะอยู่บนสุด และเส้น MA ระยะยาวจะอยู่ล่างสุด ซึ่งในที่นี้การเรียงตัวจากบนมาล่างของเส้น MA คือ MA5,MA12,MA26

 

Bearish State

MABEAR.gif

 

 

 

 

 

 

จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT สภาวะที่เป็นแถบสีแดงเป็นสภาวะตลาดหมี (Bearish State) โดยสังเกตจากเส้นค่าเฉลี่ยที่มีการเรียงตัวของเส้น MA26 (blue), MA12 (magenta) , MA5 (cyan) โดยที่เส้น MA ระยะยาวจะอยู่บนสุด และเส้น MA ระยะสั้นจะอยู่ล่างสุด ซึ่งในที่นี้การเรียงตัวจากบนมาล่างของเส้น MA คือ MA26, MA12, MA5

 

3.) ใช้เป็นสัญญาณในการซื้อหรือขาย

สัญญาณซื้อ ( Buy Signal)

buysig.gif

เมื่อราคาหุ้นทะลุและอยู่เหนือเส้น MA เป็นสัญญาณซื้อ จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT โดยเราใช้ MA26 วันเป็นตัวพิจารณา เมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้น MA26 และอยู่เหนือเส้น MA26 ได้ ลักษณะนี้เกิดสัญญาณซื้อโดยที่เราสามารถเข้าซื้อหุ้น ณ ระดับราคาจุดตัดได้แลย

สัญญาณขาย ( Sell Signal )

sellsig.gif

เมื่อราคาหุ้นทะลุและอยู่ใต้เส้น MA จะเป็นสัญญาณขาย จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT โดยเราใช้ MA26 วันเป็นตัวพิจารณา เมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้น MA26 และอยู่ใต้เส้น MA26 ลงมา ลักษณะนี้เกิดสัญญาณขายโดยที่เราควรจะขายหุ้นออก ณ ระดับราคาจุดตัดได้แลย

 

4.)ใช้เป็นสัญญาณเตือนว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่รุนแรงทั้งในแง่ราคาขึ้นแรง หรือราคาลงแรง

MAmeet.gif

 

จากรูปเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MA5,MA12,MA26 มาบรรจบกัน ซึ่งมันกำลังสื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรง (กว่าปกติ ) ตัวอย่างในรูปเส้น MA ทั้งสามเส้นมาบรรจบกัน หลังจากนั้นราคามันก็ดิ่งลงอย่างมาก

 

ผมว่านะ แค่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพียงตัวเดียวมันก็ทำให้เราสามารถทำนายหุ้นได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้ว indicators เพียงตัวเดียวไม่สามารถทำนายได้แม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์หรอกครับ ยังต้องอาศัยตัวอื่นๆมาช่วยทำนายเพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกันได้

ความรู้พื้นฐานของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จะทำให้เราเข้าใจตัว indicators ตัวอื่นๆได้เป็นอย่างดี

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...