ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

หัวใจทองคำกับรอยหยักของสมอง

โพสต์แนะนำ

หัวใจทองคำกับรอยหยักสมอง

 

Golden_Heart_by_rormnsa2gether.jpg

 

 

ความเท่าเทียมกัน

ความเสมอภาค

ดุลยภาพ

ความสมดุล

150738_498161690242881_948271380_n.jpg

Soul Expressions

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สูตรสำเร็จในการลงทุน

หากจะถามหาคงต้องตอบว่าไม่มี

จงอย่ายึดมั่น ถือหมั่น ใดใด

ความโลภ โกรธ หลง ดุจม่านบัง

จงฝึกใจให้มีสติ มิหลงตัวตน

มิใหลไปตามอารมณ์ ตลาด แสงสีของกราฟ

เสียงปี่กลอง เสียงวิของใครๆ

เพราะอาจทำให้ฮึกเหิม กล้าหรือกลัวเกินเหตุ

จงทำความรู้จักเข้าใจในตน

การชนะตนได้เนื่องด้วยเข้าใจในธรรม

หากถามว่าธรรมมาเกี่ยวอะไรกับการลงทุน

คงตอบได้ว่าคุณจะเห็นความจริงพิจารณา ไตร่ตรองได้ดีขึ้น

ginger

 

60968_506137499430381_2010896498_n.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตั้งใจรวบรวมสิ่งที่น่าจะรู้ เข้าใจ

เป็นอีกที่เพื่อสะดวก หาได้ง่าย

น่าจะมีประโยชน์สำหรับพี่น้อง ญาติมิตร

537537_453094154751790_601435930_n.jpg

มีความสุข โชคดีกับการลงทุน

 

ขอขอบคุณ

เฮียกัม เฮียแบท พี่ซี และผู้ใหญ่ทุกท่าน พี่น้องชาวเวปไทยโกลด์ ทุกกระทู้ ทีมงานทุกท่าน

เจ้าของบทความทุกท่าน ภาพทุกภาพ ศิลปินทุกท่าน

 

bg_line2.gif

ทฤษฎี Elliott Wave

 

เป็นการตีความรูปแบบการลงทุนในตลาดโดยอ้างอิงจากรูปแบบโครงสร้างราคา

โดยปกติ วงรอบการลงทุนในตลาดในแต่ละวงรอบนั้นจะแบ่งคลื่นเป็น 2 ชุดคือ

 

- Impulse Wave (คลื่นแรงดัน) ถูกแบ่งเป็นคลื่น 5 ลูก เป็นชุดคลื่น 1-2-3-4-5

- Corrective Wave (คลื่นปรับฐาน) ถูกแบ่งเป็นคลื่น 3 ลูก เป็นชุดคลื่น a-b-c

 

ew1.gif

 

 

 

คลื่นย่อยในคลื่นชุดใหญ่

 

เป็นลักษณะสำคัญของ Elliott Wave โดยที่โครงสร้างตลาดถูกสร้างมาจากรูปแบบเดียวกันไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว ดังนั้นเราจึงสามารถดูรูปแบบ Elliott Wave ได้ทั้งระยะยาวแบบกราฟรายปี หรือระยะสั้นแบบกราฟรายชั่วโมงก็ได้

 

ดังนั้นคลื่นในกราฟระยะสั้นจะเป็นคลื่นย่อยในคลื่นชุดใหญ่ของกราฟระยะกลางและระยะยาว

 

ew2.gif

 

 

 

กฎในการนับคลื่น

 

- คลื่นลูกที่ 2 ไม่ควรอยู่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่นลูกที่ 1

- คลื่นลูกที่ 3 ไม่ควรเป็นคลื่นที่สั้นที่สุดระหว่างคลื่นลูกที่ 1, 3 และ 5

- คลื่นลูกที่ 4 ไม่ควรเหลื่อมล้ำกับคลื่นลูกที่ 1 ยกเว้นคลื่นลูกที่ 1, 5, a หรือ c อยู่ในลักษณะที่มีองศาที่สูง

 

 

 

รูปแบบคลื่นใน Impulse Wave มี 3 รูปแบบหลักดังนี้

 

1) รูปแบบคลื่นที่แผ่ยาวออกไป

ระหว่างคลื่นลูกที่ 1, 3 และ 5 จะต้องมีคลื่นลูกเดียวเท่านั้นที่แผ่ยาวออกไปในองศาที่สูงขึ้น

 

ew3.gif

 

2) รูปแบบสามเหลี่ยมทแยงมุมที่คลื่นลูกที่ 5

บางครั้งโมเมนตัมของคลื่นลูกที่ 5 อ่อนกำลังเกินไป ทำให้คลื่นย่อยลูกที่ 2 และ 4 เหลื่อมล้ำกัน ทำให้เกิดรูปแบบสามเหลี่ยมทแยงมุมขึ้น

 

3) คลื่นลูกที่ 5 ล้มเหลว

 

ew4.gif

 

ในบางกรณี คลื่นลูกที่ 5 อ่อนกำลังเกินไปทำให้ไม่สามารถผ่านยอดคลื่นลูกที่ 3 ได้ เป็นเหตุให้เกิดรูปแบบ Double Top ขึ้นที่จุดสิ้นสุดของเทรนด์ เมื่อการสร้างคลื่นลูกที่ 5 ล้มเหลวจะตามมาด้วยรูปแบบคลื่นปรับฐาน

 

 

รูปแบบคลื่นปรับฐาน

 

คลื่นปรับฐานมีลักษณะที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยจะแบ่งเป็น 6 รูปแบบคือ

 

Zig-Zag : คลื่นรูปแบบ abc ประกอบด้วยคลื่นย่อยชุด 5 ลูก - 3 ลูก - 5 ลูก

Flat : คลื่นรูปแบบ abc ประกอบด้วยคลื่นย่อยชุด 3 ลูก - 3 ลูก - 5 ลูก โดยคลื่น b เท่ากับคลื่น a

Irregular : คลื่นรูปแบบ abc ประกอบด้วยคลื่นย่อยชุด 3 ลูก - 3 ลูก - 5 ลูก โดยคลื่น b ยาวกว่าคลื่น a

Horizontal Triangle : รูปแบบคลื่น 5 ลูกรูปแบบสามเหลี่ยม ประกอบด้วยคลื่นย่อยชุด 3 ลูก - 3 ลูก - 3 ลูก - 3 ลูก - 3 ลูก

Double Three : รูปแบบคลื่น abc 2 ชุดโดยมีคลื่น x เป็นตัวเชื่อมระหว่าง 2 คลื่น

Triple Three : รูปแบบคลื่น abc 3 ชุดโดยมีคลื่น x 2 ชุดเป็นตัวเชื่อม

 

ew5.gif

 

 

 

การปรับฐานเพื่อขึ้นต่อแบบSymmetric Triangle

st.gif

 

 

การปรับฐานแบบ Head & Shoulder

 

headandshoulder.gif

 

 

ที่มา : acrotec

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

tsi

Inv_KnowYourself_meun3_03.jpgInv_KnowYourself_meun3_04.jpg

คุณทราบหรือไม่ว่า... การวิเคราะห์เชิงจิตวิทยาการลงทุน สามารถบอกได้ว่าคุณเป็นผู้ลงทุนแบบไหน

และมีสไตล์การลงทุนเป็นแบบใด โดยผ่านการวิเคราะห์ 2 รูปแบบ ได้แก่

Inv_KnowYourself_meun3_07.jpgInv_KnowYourself_meun3_08.jpg Inv_KnowYourself_meun3_09.jpgInv_KnowYourself_meun3_10.jpgInv_KnowYourself_meun3_11.jpgInv_KnowYourself_meun3_12.jpg Inv_KnowYourself_meun3_14.jpg

Inv_KnowYourself_meun3_15.jpg

มักจะหลีกเลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือยอมรับความเสี่ยงได้

ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น ผู้ลงทุนประเภทรอรับผลจึงมักมอบหมายหน้าที่ในการ

จัดการลงทุนให้แก่มืออาชีพที่มีนโยบายการลงทุนในโครงการที่มีความเสี่ยงต่ำ

และยอมรับอัตราผลตอบแทนในระดับต่ำ มากกว่าที่จะจัดการลงทุนด้วยตนเอง

 

ผู้ลงทุนประเภทนี้ ได้แก่...

 

- ผู้ที่มีเงินทุนโดยไม่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคหรือสร้างด้วยมือตนเอง เช่น ได้รับเงินมรดก หรือขายที่ดินที่มีราคาสูงขึ้นจากการที่ถนนตัดผ่าน ฯลฯ

- ผู้ที่มีเงินทุนน้อย และกลัวขาดทุน

- ลูกจ้างที่มีหน้าที่การงานดี (ตำแหน่งสูงๆ) ในบริษัทขนาดใหญ่

- แพทย์

Inv_KnowYourself_meun3_19.jpg

มักชื่นชอบความเสี่ยงมากกว่าความมั่นคงของเงินลงทุน โดยมีความเห็นว่าถ้าเงินลงทุนต้องสูญไปก็สามารถ

สร้างใหม่ได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนประเภทมุ่งหวังผลจึงมักจัดการลงทุนด้วยตนเอง เพราะมีความมั่นใจในตนเองสูง

 

ผู้ลงทุนประเภทนี้ ได้แก่…

 

- ผู้ที่ร่ำรวยโดยสร้างธุรกิจด้วยมือของตนเอง

- ผู้ที่ทำงานอิสระ ไม่ได้เป็นลูกจ้างในสายอาชีพต่างๆ เช่น ทนายความอิสระ นักบัญชี ฯลฯ

- ลูกจ้างที่มีหน้าที่การงานดี (ตำแหน่งสูงๆ) ในบริษัทขนาดใหญ่

- ศัลยแพทย์มือดี Inv_KnowYourself_meun3_22.jpg Inv_KnowYourself_meun3_23.jpg Bailard, Biehl & Kaiser (BB&K) แยกประเภทของผู้ลงทุนออกเป็น 5 ประเภท โดยดูจากระดับความมั่นใจและแนวปฏิบัติของบุคคลนั้นๆ

จากการวิเคราะห์จะพบว่า... บุคคลแต่ละคนมีปฏิกิริยาในการลงทุนที่แตกต่างกัน โดยอาจมี “ความมั่นใจ” หรือมี

“ความวิตกกังวล” ต่อการลงทุน ซึ่งความมั่นใจหรือความวิตกกังวลที่บุคคลมี จะสะท้อนไปยัง “แนวปฏิบัติ” ของบุคคลนั้นๆ

ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง หรือลงทุนอย่างหุนหันพลันแล่น ขาดความระมัดระวัง จึงสามารถแบ่ง

แกนจิตวิทยามนุษย์ออกเป็น 2 แกน ได้แก่

 

แกนตั้ง (เส้นทึบ) --> ด้านบนสุดแสดงความมั่นใจสูง และด้านล่างสุดแสดงความวิตกกังวล

 

แกนนอน (เส้นประ) --> ด้านซ้ายสุดแสดงความรอบคอบ ระมัดระวัง และด้านขวาสุดแสดงความหุนหันพลันแล่น Inv_KnowYourself_meun3_26.jpg Inv_KnowYourself_meun3_27.jpg Inv_KnowYourself_meun3_28.jpg

ส่วน “พวกที่อยู่คาบเส้น” (Straight Arrow) ได้แก่ ผู้ลงทุนที่ไม่ตกอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งข้างต้น

แต่จะมีลักษณะกลางๆ

 

ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงหลักเกณฑ์กว้างๆ ในขณะใดขณะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนตกอยู่ในสถานการณ์การลงทุน

ที่แตกต่างกัน ผู้ลงทุนอาจเปลี่ยนแนวความคิดไปบ้าง แต่ก็จะไม่ต่างไปจากที่เป็นอยู่เดิมมากนัก

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เปิดสูตรลงทุน..พระพุทธเจ้า นัยอันลึกล้ำกับ ท่านว.วชิรเมธี

 

 

ขอบคุณความ 'ผิดพลาด' ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม ขอบคุณความ 'ไม่รู้'ทำให้รู้จักครูชื่อประสบการณ์

 

 

news_img_74782_1.jpg

หน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย มีนัดหมายกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek แม้การลงทุนตามแนวทางของพระพุทธเจ้าจะไม่ใช่หัวข้อหลักแห่งเจตนาที่เรามากราบขอความกระจ่าง แต่พระอาจารย์ก็ให้ความสว่างตอบได้ฉะฉานโดยประยุกต์พระคัมภีร์เข้ากับภูมิรู้ร่วมสมัย อีกทั้งใช้ภาษาที่แม้แต่คนที่รู้เรื่องพระพุทธศาสนาเพียงผิวเผินก็ตื่นรู้ได้

 

"พระยุคใหม่ต้องปรับพระพุทธศาสนาให้ร่วมสมัยถึงจะอยู่ร่วมกับสังคมไทยต่อไปได้ อาตมาเรียกว่าจุดยืนเดิมแต่บนบริบทใหม่ มิเช่นนั้นพระจะอยู่อย่างมีตัวตนแต่ไม่มีความหมาย" ท่านว่า

 

ทุกๆ วันท่าน ว.วชิรเมธี จะอ่านหนังสือพิมพ์วันละ 6-7 ฉบับ ท่านบอกว่าวิถีชีวิตประจำวันเราต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่ศึกษาหาความรู้เราก็ไม่มีเครื่องมือมาอธิบายชีวิต ชีวิตคนเราอย่ามีแต่ความรู้ ต้องมีความลึก สิ่งที่อาตมาทำเรียกว่าการเผยแผ่ศาสนา "เชิงรุก" ให้ทั้งความรู้และความลึก

 

ในทางพุทธศาสนามีคำว่า เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ หรือ ธัมมิกเศรษฐศาสตร์ หรือ Buddhist Economics มีมั้ย! คำว่า Buddhist Investment...?? เราถามท่าน

 

"มี" ท่านว่า ค้นดูก็พบว่ามีการปรับใช้ หลักโภควิภาค 4 ในทางพระพุทธศาสนาคือการใช้จ่ายทรัพย์โดยจัดสรรเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1 ส่วน ใช้จ่ายเลี้ยงตัวเองและทำประโยชน์ 2 ส่วน ใช้ลงทุนประกอบการงาน อีก 1 ส่วน เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น

 

ท่าน ว.วชิรเมธี ไม่ได้พูดถึงหลักโภควิภาค 4 ตรงๆ แต่ได้เกริ่นนำด้วย คุณสมบัติของนักลงทุนที่ดี 3 ประการ ท่านว่าต้องมี

 

 

1. จักขุมา คือ วิสัยทัศน์ ต้องมีสายตาที่ยาวไกลเป็นคนมองการณ์ไกล

 

2. วิธุโร เป็นนักบริหารจัดการที่ดีและมีความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ ซึ่งรวมความถึงต้องมีธรรมาภิบาลด้วย

 

3. นิสสยสัมปันโน ต้องมีกัลยาณมิตรเกื้อกูลอุปถัมภ์ ภาษาสมัยใหม่เรียกว่าต้องมี กู้ดคอนเนคชั่น ถ้าไม่มีคอนเนคชั่นจะทำมาค้าขายกับใครได้ล่ะ..ใช่มั้ย!

 

พระพุทธเจ้าตรัสว่าต้องมีคุณสมบัติ 3 อย่างนี้ถึงจะเป็นนักลงทุนที่ดีได้

 

ทีนี้มาพูดถึงการบริหารจัดการเรื่องการเงินบ้าง นี่มาถึงหลักพุทธเศรษฐศาสตร์แล้วนะ ถ้าเราได้เงินมาแล้วจะบริหารจัดการยังไง! ในทางพระพุทธศาสนาแนะนำว่า...

 

1. เก็บเป็นเงิน สำรองคงคลัง สำหรับความมั่นคงให้ชีวิตยามเจ็บป่วย ยามฉุกเฉิน

 

2. ใช้เงินนั้นมาซื้ออาหารการกินเครื่องอุปโภคบริโภคจับจ่ายใช้สอยเพื่อดูแลตัวเอง และบุคคลอันเป็นที่รัก ให้กินอิ่มนอนอุ่น

 

3. นำเงินนั้นไปลงทุนในลักษณะ เงินต่อเงิน

 

4. เสียภาษีท่านใช้คำว่า "ราชพลี" (ทำเพื่อสังคม) เมื่อเราได้ผลประโยชน์จากผืนแผ่นดินนี้ก็ต้องแบ่งปันให้กับแผ่นดิน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้มาคุณเป็นหนี้บุญคุณประเทศนี้ทั้งนั้น

 

5. บำรุงสมณะชีพราหมณ์นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ที่เป็น เสาหลักในทางธรรม ในทางสติปัญญาให้กับคนในสังคม

 

"นี่คือหลักการใช้เงินของพระพุทธเจ้า ห้าข้อนี้ไม่มีทางล้าสมัย ถ้าทำได้ชีวิตจะมีแต่เป็นสุข"

 

พระอาจารย์ไขปริศนาธรรมเรื่องการลงทุนต่อไปว่า ในโลกความเป็นจริงถ้าเรามีเงินก้อนหนึ่งเราก็ต้องฝากแบงก์ พระพุทธเจ้าแนะนำว่าต้องเอาเงินมาสร้างความมั่นคงก่อน และแบ่งส่วนหนึ่งมากินมาใช้ครอบครัวต้องกินอิ่มนอนอุ่นตรงนี้สำคัญ ท่านบอกว่า มีเงินให้เอามาใช้เพราะเงินเป็น "ปัจจัย" ไม่ใช่ "เป้าหมาย" เพราะฉะนั้นมีเงินต้องใช้เงิน เงินอีกส่วนหนึ่งให้เอาไปทำธุรกิจหรือลงทุนทำให้มัน "งอกเงย"

 

วัฏจักรของการลงทุนก็คือวัฏจักรของการเวียนว่ายแห่งชีวิต พระอาจารย์ อธิบายเรื่องการหากำไรในทางพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องผิดขออย่างเดียวให้มันเป็นสัมมาอาชีพ ไม่ทำให้ผู้อื่นมีความทุกข์ หรือทำกำไรบนความเดือดร้อนของผู้อื่นอันนี้รับไม่ได้ หลักในการทำธุรกิจในทางพระพุทธศาสนาได้ให้ไว้สั้นๆ คือ ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้าหากินโดยสุจริตก็ขึ้นชื่อว่าเป็นนักธุรกิจที่ดีได้

 

คำว่า ไม่เบียดเบียนตน หมายความว่า คุณต้องเป็นนักธุรกิจหรือนักลงทุนที่ดีและเป็นมนุษย์ที่ดี คุณทำมาหากินไป สุขภาพคุณต้องดี ถ้าคุณประสบความสำเร็จแต่ชีวิตเครียดจัด คนในครอบครัวไม่พูดหากัน ต้องกินยานอนหลับทุกคืน อันนี้เรียกว่าเบียดเบียนตัวเอง

 

คำว่า เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสังคม อาชีพของคุณต้องไม่ทำให้สังคมเสียหาย เอาเปรียบคนอื่น มัวเมาสังคม ทำให้คนเป็นทาสสุรายาเสพติด ทำให้คนในสังคมมีค่านิยมที่ผิดๆ แล้วถ้าคุณได้เงินมาจากการคอร์รัปชัน เหล่านี้คือการเบียดเบียนสังคม ถ้าคุณไม่เบียดเบียนตน และไม่เบียดเบียนสังคมคุณจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

 

"นักลงทุนหรือนักธุรกิจที่ดีจะต้อง "เจริญสติ" (ระลึกรู้ในสิ่งที่ทำ) อยู่เสมอ ถ้าคุณไม่เจริญสติอยู่เสมอคุณอาจจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแต่คุณจะเป็นมนุษย์ที่ล้มเหลว"

 

พระพุทธศาสนาบอกว่า "การลงทุนมนุษย์" เป็นการลงทุน สูงที่สุด และสำคัญที่สุด ยกตัวอย่าง ถ้าคุณมีลูก

 

1. ต้องห้ามปรามจากความชั่ว

2. สั่งสอนให้เขาเป็นคนดี

3. ให้ศึกษาหาความรู้

4. ดูแลให้เขาเลือกคู่ครองที่ดี

5. เมื่อถึงเวลาให้เขียนพินัยกรรมมอบมรดกให้ถูกต้อง นี่คือการลงทุนมนุษย์

 

"ในทางพุทธศาสนาเน้นมากว่า ก่อนที่จะลงทุนทำธุรกิจใดๆ ให้ลงทุนในตัวมนุษย์ให้ได้เสียก่อน ถ้ามีคนคุณภาพก็จะมีธุรกิจที่มีคุณภาพ แต่ถ้าคุณไม่มีคนที่มีคุณภาพก็จะไม่สามารถสร้างธุรกิจที่มีคุณภาพขึ้นมาได้

ฉะนั้นการลงทุนในทางพุทธศาสนาจึงเริ่มต้นที่การลงทุนในตัวมนุษย์ก่อน ถามว่ามนุษย์คนไหนล่ะ!มนุษย์คนแรกที่จะต้องถูกลงทุนก่อนคือ..ตัวเราเอง"

 

ท่าน ว.วชิรเมธี ยกคำให้ฟังว่า ถ้าเราสร้างตึก 10 ชั้น ผ่านไป 10 ปีตึกนี้ก็ยังสูง 10 ชั้นเหมือนเดิม แต่การลงทุนให้ความรู้เราส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ 10 ปี เขาอาจจะกลับมาพร้อมกับธุรกิจหมื่นล้านก็ได้ใครจะรู้ คนนั้นมีพัฒนาการแต่วัตถุนั้นอยู่แค่ไหนก็หยุดนิ่งอยู่แค่นั้น การลงทุนที่ดีที่สุดก็คือ การลงทุนพัฒนา (คน) มนุษย์ ลงทุนดีก็เป็นมนุษย์ที่ดี ถ้าลงทุนไม่ดีก็เป็นมนุษย์ที่แย่ ในต่างประเทศเขาให้ความสำคัญมากกับ "ทุนมนุษย์" คำว่า "ทุน" ที่จริงอย่าไปมองแค่ "เงิน" มองแค่นี้มันจะทำให้ชีวิตเรา แคบ และไม่ลึก

 

หลักการลงทุนสูตรพระพุทธเจ้านอกจากไม่ล้าสมัยแล้ว ยังเปิดกว้างและร่วมสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ!! เรา "ตื่นรู้" ขึ้นมาอีกนิด ขณะที่ ท่าน ว.วชิรเมธี ยังคงทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของท่านต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และไม่รู้เหน็ดเหนื่อยด้วยรอยยิ้มแห่งธรรมและศรัทธาอันแรงกล้า

 

 

ขอบคุณกรุงเทพธุรกิจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

hared Namfon Phuangphet's photo.

ทำได้ง่ายๆ ลองแล้วยัง?

 

481498_496136533763744_408392142_n.jpg

สิ่งดีๆในชีวิตเรา สร้างได้ง่ายๆและฟรี ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

icon7.gif 4 ความผิดพลาดซ้ำซากในการลงทุน

 

 

 

4 ความผิดพลาดซ้ำซากในการลงทุน และวิธีเลี่ยงความผิดพลาดเหล่านั้น

 

บทความนี้เขียนโดย Ivan Hoff ผมอ่านแล้วเห็นว่าเนื้อหาดีและมีประโยชน์มากๆ เลยให้เพื่อนช่วยแปลแล้วเอามาลงเวบครับ

 

 

 

 

 

mistakes-hiring.jpg

 

1. ซื้อขายหุ้นโดยไม่มีหลักการ

 

ถ้าคุณไม่มีจุดยืน คุณก็ไม่มีแก่นหรือสิ่งใดให้ยึดถือปฏิบัติ ถ้าคุณไม่มีเป้าหมายว่าจะไปที่ใด คุณก็ไม่มีวันไปถึงจุดหมาย… จงกำหนดหลักการ วางแผนการลงทุน และทำตามแผนที่คุณวางไว้เสมอ เพราะถ้าคุณไม่มีแผนการของตนเอง คุณก็จะต้องตกอยู่ในแผนการของคนอื่น

 

 

“ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงซื้อหุ้นตัวนั้น คุณก็จะไม่รู้ว่าควรขายมันตอนไหน ซึ่งนั่นมักจะทำให้คุณขายหุ้นทิ้งตอนที่ราคาของมันทำให้คุณกลัว ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกลัวราคาหุ้นในขณะนั้น มันคือโอกาสซื้อ ไม่ใช่จุดบ่งชี้ว่าคุณควรขายมันทิ้ง”

 

– Martin Taylor -

 

 

2. เข้าซื้อหุ้นไม้ใหญ่เกินไป (Trading too big)

 

การเข้าซื้อหุ้นครั้งเดียวในสัดส่วนที่เยอะของพอร์ต จะทำให้คุณขายหุ้นเพราะความกลัวของคุณ ไม่ใช่เพราะระบบลงทุนของคุณบอกให้ขาย

 

ดังนั้น ก่อนที่จะซื้อหุ้น คุณควรกำหนดจำนวนเงินที่คุณสามารถยอมรับขาดทุนได้ให้อยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยงมากไป ตัวอย่างเช่น คุณยอมรับขาดทุนได้ 20,000 บาท โดยที่จุดตัดขาดทุนของคุณคือ เมื่อราคาหุ้นตกลงไปต่ำกว่าต้นทุน 5 บาท ดังนั้น คุณควรซื้อหุ้นตัวนี้จำนวน 4,000 หุ้น

 

 

“นักลงทุนมักจะให้ความสำคัญเกือบทั้งหมดไปที่จุดเข้าซื้อ (entry price) ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว ขนาดของการเข้าซื้อ (entry size ) ในแต่ละครั้งมีความสำคัญกว่าจุดเข้าซื้อ เพราะหาก entry size แต่ละครั้งใหญ่มากเกินไป เวลาที่หุ้นปรับตัวลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ มันก็มักจะทำให้คุณกลัวและขายหุ้นที่ยังมีแนวโน้มดีนั้นทิ้งไป ดังนั้น ยิ่งขนาดของการเข้าซื้อใหญ่มากไปเท่าไร ความกลัวจะเข้ามาครอบงำการตัดสินใจของคุณ แทนที่จะตัดสินใจจากแผนการและประสบการณ์ที่พิจารณาอย่างดีแล้ว”

 

– Steve Clark -

 

 

3. ซื้อขายมากเกินไป (Overtrading)

 

การที่เราจะซื้อขายหุ้นบ่อยขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับแนวทางการลงทุนของเรา แต่ไม่ว่าคุณจะใช้แนวทางลงทุนแบบไหนก็ตาม การซื้อขายน้อยครั้งย่อมดีกว่าเสมอ (less is more)

 

อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิดไป เพราะไม่ว่าคุณจะทำการบ้านหรือเตรียมตัวมาอย่างดีแค่ไหนก็ตาม แต่ตลาดหุ้นนั้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่บ่อยๆ ดังนั้น คุณควรจะมีไอเดียหรือหุ้นที่จะเลือกลงทุนมากกว่า 1 ตัวอยู่เสมอ

 

แต่การที่คุณซื้อๆขายๆในหุ้นทุกตัวที่เกิดสัญญาณ ทำให้เงินลงทุนและพลังงานของคุณถูกกระจายออกไปในหุ้นหลายตัวมากจนเกินไปนั้น คงไม่ใช่การตัดสินใจที่ฉลาดนัก

 

คุณควรยึดมั่นอยู่กับสิ่งที่คุณรู้และเข้าใจ เลือกใช้วิธีการที่คุณทำแล้วได้ผล อย่าหลงไปตามกระแสข่าวลือหรือการลงทุนที่คุณไม่ได้เปรียบ และหลีกเลี่ยงการลงทุนใดๆก็ตามที่คุณไม่ได้มีความเข้าใจในสิ่งนั้นเลยแม้แต่น้อย

 

ในบางครั้ง การเทรดที่ดีที่สุดก็คือ การไม่เทรดเลย และตั้งมั่นอยู่กับหุ้นที่เราถือ ผมรู้ดีว่าในช่วงตลาดกระทิงดุนั้น มันมีสิ่งที่เย้ายวนใจมากที่จะทำให้คุณซื้อๆขายๆบ่อยครั้ง เมื่อหุ้นเกือบทุกตัวขึ้นไปทะลุ High เดิม คุณรู้สึกเหมือนเด็กที่อยู่ในร้านขนมหวานแล้วไม่รู้จะเลือกหยิบขนมชิ้นไหนดี

 

จงเลือกหุ้นเพียงไม่กี่ตัวในจังหวะเวลาที่เหมาะสม อย่าพยายามที่จะไล่ซื้อหุ้นทุกๆตัว เพราะคุณไม่สามารถทำได้ (ยกเว้นว่าคุณเป็นคอมพิวเตอร์!!!)

 

เบื้องหลังของความผิดพลาดในข้อที่ 2 และ ข้อที่ 3 มักจะเกิดจากความมั่นใจที่มากเกินไป

 

ถึงแม้้ว่าความมั่นใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการทำตามแผนและระบบลงทุนของคุณ แต่ถ้ามีความมั่นใจที่มากเกินพอดี (Overconfidence) มันจะก่อให้เกิดผลเสีย เพราะความมั่นใจที่มากเกินไปนั้น เป็น 1 ในเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมนักลงทุนและนักเก็งกำไรที่มีประสบการณ์จึงยังสามารถขาดทุนได้

 

เมื่อไรก็ตามที่คุณรู้สึกว่า ความสำเร็จของคุณในตลาดมาจากการที่คุณเป็นอัจฉริยะ ไม่ได้มาจากความคิดที่รอบคอบและไตร่ตรองอย่างระมัดระวังในการลงทุน ก็เท่ากับว่าคุณใกล้ถึงเวลาที่จะขาดทุนแล้ว

 

 

4.) เฝ้าดูราคาหุ้นมากเกินไป (Watching your stocks too closely)

 

 

ถ้าคุณเป็นนักลงทุนแบบ day trader นั่นคือสิ่งคุณควรทำ แต่ถ้าคุณใช้กรอบการลงทุนที่ยาวนานกว่านั้น การเฝ้ามองราคาหุ้นตลอดเวลาจะก่อให้เกิดผลเสียซะมากกว่า

 

เมื่อคุณตัดสินใจใดๆแล้วคุณต้องให้เวลากับมัน เพื่อให้หลักการหรือไอเดียการลงทุนของคุณนั้นได้โชว์ผลลัพธ์ของมันจริงๆออกมาเสียก่อน

 

 

“การเฝ้ามองราคาหุ้นบนหน้าจอทั้งวันนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆและเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ผมเชื่อว่าการเฝ้าดูทุกคำสั่งซื้อขายจะทำให้คุณขายหุ้นก่อนเวลาอันควร (ขายหมู) และ มักทำให้คุณซื้อหุ้นในราคาที่สูงเกินไปหรือขายหุ้นในราคาที่ต่ำเกินไปของวันนั้น รวมถึงทำการซื้อขายมากเกินไป (Overtrading) ผมแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการเฝ้ามองราคาหุ้นตลอดเวลา และหันไปทำสิ่งอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนและต่อตัวของคุณเองในช่วงเวลาซื้อขาย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น”

 

- Steve Clark -

 

การเฝ้ามองราหาหุ้นอย่างใกล้ชิดจะทำให้เกิดผลเสียต่อผลตอบแทนของคุณ เมื่อคุณเข้าซื้อหุ้นแล้ว คุณไม่ควรซื้อขายเพียงเพราะเห็นคำสั่งซื้อขายเล็กๆน้อยๆที่สวนทางกับ Position ของคุณ การเฝ้ามองราคาหุ้นมากเกินไปนั้น ก็เปรียบเหมือนคุณนั่งอยู่ในร้านเบเกอรี่แสนอร่อยขณะที่คุณกำลัง diet

 

 

“หากคุณใช้เวลาอยู่ในร้านตัดผมสักพักหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็วคุณจะคิดว่าคุณต้องตัดผม ทั้งๆที่คุณหัวล้าน”

 

– Warren Buffett -

 

 

โซรอส เคยกล่าวไว้่ว่า

 

“ถ้าคุณออกไปทำงานทุกวัน เพียงเพราะคิดว่าคุณต้องทำอะไรซักอย่าง ผลก็คือ มันทำให้คุณมักจะทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรเพื่อไม่ให้เบื่อไปวันๆ ซึ่งผมคิดว่าคุณควรจะอยู่เฉยๆดีกว่า ปกติแล้วผมจะไปทำงานเฉพาะเวลาที่มีงานให้ทำ ในเวลาที่มันควรค่าแก่การทำจริงๆ ผลก็คือ ผมเรียนรู้ที่จะสามารถแยกแยะได้ว่า วันไหนที่มีงานสำคัญกว่าวันอื่นๆ และรู้ว่าเวลาไหนที่ควรมุ่งมั่นกับงานเป็นพิเศษ”

 

ดังนั้น ถ้าคุณเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรที่ไม่ใช่ Day Trader คุณควรหาสิ่งอื่นทำแทนที่จะนั่งเฝ้าดูราคาหุ้นทั้งวัน อย่างเช่นการอ่านหนังสือ ออกกำลังกาย หรือ อะไรก็ตามที่ทำให้ไม่ต้องยุ่งกับการดูราคาหุ้นระหว่างวันมากเกินไป

 

ความไม่รู้ไม่ใช่อุปสรรคของคนส่วนใหญ่ในตลาด เพราะทุกคนต่างก็สามารถศึกษาหาความรู้ได้เหมือนๆกัน แต่เป็นความพยายามที่จะนำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจังต่างหาก เหมือนกับที่ทุกคนรู้ดีว่า ควรทำตัวอย่างไรเพื่อลดน้ำหนัก แต่จะมีสักกี่คนที่มีวินัยมากพอที่จะทำตามแผนของตนเองได้อย่างจริงจังและสม่ำเสมอ…

 

โดย Tent How

www.sarut-homesite.net

แปลจากบทความ Four Common Trading Mistakes and How to Avoid Them

http://www.stock2mor...ead.php?t=39328

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

‎"ผมเชื่อว่าคนที่ลงทุนในหุ้น ในทองคำ และในสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ

 

ในสัดส่วนสูงจะพบกับภาวะที่มีคนขายทำกำไรออกไปบ้าง

 

เมื่อเงินเฟ้อเกิดขึ้น มันก็มีวันต้องจบสิ้นทุกครั้ง

เพียงแต่เราไม่รู้ว่าเมื่อไรฟองสบู่มันจะระเบิดเท่านั้น

 

ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากการบริโภคในยุค 1970`s

ไม่ว่าราคาหุ้นใน Nasdaq ที่พุ่งกระฉูดในปี 2000

 

ไม่ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่บูมมากในช่วงปี 2007-2008

หรือฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่กี่ปีนี้

 

ทุกครั้งล้วนมีจุดจบ

 

แม้ว่าเงินทองจะหลั่งไหลไปสู่มือคนรวยๆ ในตลาดเงินตลาดทุน

แต่มันก็ทำให้ผมนึกภาพออกเลยว่า

 

ในวันหนึ่งข้างหน้า พวกที่ร่ำรวยเหล่านี้จะเจ็บปวดที่สุดจากการโดนเพิ่มภาษีอย่างหนัก

 

ไม่เช่นนั้นก็จากการที่สินทรัพย์ที่มีอยู่มีราคาตกต่ำลงอย่างมาก"

 

.... Marc Faber

 

(สรุปความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ CEO กองทุนบัวหลวง

============================

 

แนวต้านแนวรับคืออะไรครับ

 

"แนวรับ รับไว้ไม่ให้ตก" หมายถึง บ่อยครั้งที่ราคาหุ้นได้อ่อนตัวลงมาถึง ระดับน้ทีไร

ก็มีแรงซื้อมาช่วยผลักดันให้ราคาหุ้นมีการดีดตัวกลับทุกที

หรือ อาจกล่าวได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมา มีความต้องการซื้อเกิดขึ้น เมื่อราคามาถึงระดับนี้

 

 

"แนวต้าน ต้านไว้ไม่ให้ขึ้น" หมายถึง บ่อยครั้งที่ราคาหุ้นได้ขึ้นมาถึง ระดับนี้ทีไร

ก็มีแรงเทขายออกมากดให้ราคาหุ้นมีการอ่อนตัวลงไปทุกที

หรือ อาจกล่าวได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมา มีความต้องการขายเกิดขึ้นมา ณ ระดับนี้

 

 

"ต้านกลายเป็นรับ รับกลายเป็นต้าน"

 

เมื่อมีราคามีการทะลุแนวต้าน แนวต้านนั้น จะกลายเป็นแนวรับ

และ ในทางกลับกัน ถ้าราคาทะลุแนวรับ แนวรับนั้น ก็จะกลายเป็นแนวต้าน

 

 

ดัดแปลงข้อมูลจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดย คุณ สุรชัย ไชยรังสินันท์

http://topicstock.pa...0/I3618490.html

=======

 

แนวรับ แนวต้าน สามารถบอกถึงเป้าหมายในอนาคตได้ คือ อดีตเคยขึ้นไปเป็นแนวต้านตรงไหน อนาคตก็จะขึ้นไปที่แนวต้านเดิมที่เคยขึ้น เช่นเดียวกัน อดีตเคยลงไปตรงไหนเป็นแนวรับ อนาคตก็จะลงไปที่แนวรับเดิมที่เคยลงไปถึง เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นรอบๆของการขึ้น ลง อดีตเคยเป็นยังไงอนาคตกราฟก็จะวิ่งไปที่เดิมที่เคยขึ้นและลงเสมอ ๆ

Double top เกิดจากการที่แนวต้าน (อดีต) และแนวต้านปัจจุบันมาชนที่เดียวกันมักจะดีดตัวกลับลงแรงๆ เสมอ คล้ายๆ กับตัว M บางครั้งจะเป็นตัว M หางยาว

 

support_resistance.gif

 

 

 

 

 

หากราคาวิ่งมาถึงระดับแนวต้านเดิม 2 ครั้ง แล้วไม่ผ่าน แสดงว่ามีแนวโน้มจะลง

ในทางกลับกันหากราคาวิ่งมาถึงระดับแนวรับเดิม 2 ครั้ง แล้วไม่ผ่าน แสดงว่ามีแนวโน้มจะขึ้น

 

การหาจุดเข้าซื้อ ขาย โดยการใช้ แนวรับ แนวต้าน เข้ามาช่วย

เมื่อทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ เรียกว่า break out ซื้อ

เมื่อทะลุแนวรับลงมาได้ เรียกว่า break out ขาย

หลังจากที่รู้การลากเส้นแนวโน้มไปแล้ว เราจะเอาการลากเส้นแนวโน้มมาผสมกับการหาจังหวะเข้าซื้อ ขายที่ปลอดภัย

เริ่มแรกปลอดภัยสุด พึ่งเกิดแนวโน้มขาขึ้นแล้วมีจังหวะ break out ทะลุแนวต้าน (อดีต) ขึ้นไปได้ เป็นจังหวะซื้อที่มักจะถูกทางเสมอๆ

พึ่งเกิดแนวโน้มขาลงแล้วมีจังหวะ break out ทะลุแนวรับ (อดีต) ลงไปได้ เป็นจังหวะขายที่มักจะถูกทางเสมอ ๆ

ปลอดภัยน้อยลงมา คือช่วงที่ขึ้นไปสูงและไปต่ำแล้วในแนวโน้มขาขึ้นและขาลง เรามาไม่ทันในการทะลุ (เกิด break out) ครั้งก่อนๆ (ตกรถ) ไปเข้าจังหวะใกล้หมดรอบแนวโน้มของขาขึ้นขาลงนั่น ต้องรู้และพิจารณาเสมอๆว่า เรามาซื้อขายสูงและต่ำเกินไปต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยการเข้าเร็วออกเร็วแล้วมองหาเป้าหมาย (TP) ในอดีตที่เคยขึ้นลงไปที่ระดับราคาไหน (แนวรับ แนวต้าน ในอดีต)

support_resistance2.gif

 

 

 

 

การใช้ แนวรับ แนวต้าน ในการหา stop loss วินัยเรื่องนี้ถือว่าสำคัญที่สุด

การเข้าเทรดทุกครั้ง เราต้องคิดเสมอด้วยเหตุและผล ว่าเราเทรดเพราะอะไร วางแผนในเทรดครั้งนี้ยังไง เป้าหมายตรงไหน และจุดยอมรับการขาดทุนอยู่ตรงไหน นึกเสมอว่าเข้าเทรดต้องชนะตลาด เมื่อแพ้ก็ยอมมอบตัวให้เร็ว เมื่อชนะตลาดก็รีบเก็บกำไรให้ได้ รู้ว่าตอนไหนควรอยู่เฉย ๆ ตอนไหนควรเล่นสั้น ตอนไหนควรเก็บยาว

จะเห็นว่าแค่เรารู้พื้นฐาน การลากเส้นและแนวรับแนวต้าน สามารถหาได้ทั้งจุดเข้าซื้อ ขาย เป้าหมาย จุดยอมขาดทุน

ฝึกมองภาพกว้างให้ออก โดยไปมองที่ระยะยาว มาถึงระยะสั้น บางครั้ง 15m หาเป้าหมายไม่เจอก็ลองไปเปิดกราฟ 30m 1h 4h เพื่อหาเป้าหมาย (แนวรับแนวต้านที่เคยขึ้นลงมาก่อน)

แนวรับแนวต้านในแนวนอน (HORIZONTAL SUPPORT AND RESISTANCE)

ระดับราคาจะวิ่งอยู่ภายในช่วงแนวรับและแนวต้านในแนวนอน โดยเมื่อราคาเคลื่อนตัวขึ้นและไปพบกับเส้นต้าน ราคาหุ้นจะดีดตัวลง ในทางตรงกันข้ามเมื่อราคาเคลื่อนที่ไปจนพบกับแนวรับ ก็จะดีดตัวขึ้น โดยเคลื่อนตัวสลับขึ้นลงไปมาในลักษณะแนวระนาบ support_resistance3.gif

 

 

ที่มา : thaispeculator.com

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

FED คิดว่าพิมพ์เงินออกมาแล้วเงินจะสะพัดไปอยู่ในมือคนบนท้องถนน มันไม่ไปแน่ๆ

 

เพราะเงินจะไปอยู่ในมือคนส่วนน้อยที่ร่ำรวยมีสินทรัพย์ ทำให้ราคาสินทรัพย์พุ่งสูงขึ้น

 

ขอแสดงความยินดีต่อ Ben Bernanke ที่ทำให้คนรวยและมีสินทรัพย์ มีความสุขมากๆ

 

นั่นก็ดีมากต่อ FED ใช่ไหม และผมก็มีความสุขมากด้วย

 

ขณะนี้ผมไม่ชอบพันธบัตร และผมก็ไม่ชอบหุ้นด้วย แต่ลงทุนในหุ้นก็ยังดีกว่าลงทุนในพันธบัตร"

 

..... Marc Faber

 

(สรุปความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ CEO กองทุนบัวหลวง)

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

‎"“มาตรการรัดเข็มขัดต่างๆ กำลังจะนำยุโรปไปเส้นทางสู่หายนะ อันเป็นการฆ่าตัวตาย

 

การรัดเข็มขัดอย่างรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงไปอีก ซึ่งจะยิ่งทำให้หนี้เพิ่ม

 

ไม่ใช่ทำให้ลด และจะทำให้อัตราว่างงานพุ่งสูงขึ้น

ซึ่งจะส่งผลกดดันทางการเมืองที่ยอมรับไม่ได้

 

สุดท้ายก็จะยิ่งทำให้การขาดดุลย์ยำแย่ลงไปอีก"

 

.... Joseph Stiglitz นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล

 

(สรุปความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ CEO กองทุนบัวหลวง)

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พิจารณาจากการเมืองอเมริกาที่เป็น 2 ขั้วกับนโยบายที่ตีบตัน ทำให้คาดเดาได้ว่า 2 พรรคนี้จะต่อสู้กันอย่างหนักอีกครั้งในเรื่องของงบประมาณ เรื่องเพดานหนี้ และเรื่องจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถืออีกครั้ง

 

เราคาดหวังได้ว่า 2 พรรคนี้จะตกลงกันได้เฉพาะในขอบเขตที่ขัดแย้งกันน้อยที่สุดเท่านั้น

 

จนกว่าผู้ลงทุนในพันธบัตรจะไหวตัวตื่นแล้วทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยาวสูงขึ้น จนกดดันให้ต้องปรับนโยบายการคลัง"

 

...... Nouriel Rubini

 

(สรุปความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ CEO กองทุนบัวหลวง)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

‎"การพิมพ์แบงค์ออกมาก็เหมือนการเก็บภาษีมากขึ้นในอีกรูปแบบหนึ่ง

 

เพราะแทนที่รัฐบาลจะขโมยเงินประชาชนโดยตรงด้วยการขึ้นภาษี

 

รัฐบาลกลับทำทางอ้อมด้วยการพิมพ์แบงค์กงเต้กออกมา

แล้วทำให้กำลังซื้อของพวกเราลดลง"

 

..... Peter Schiff

 

(สรุปความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ CEO กองทุนบัวหลวง)

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อย่าใช้เงินทุกเม็ดที่มีไปซื้อทองคำ เพราะทองคำไม่ได้ให้ปันผลหรือกระแสเงินสด

 

การลงทุนในทองคำจึงลงทุนเพื่อหวังกำไรจากการขึ้นของราคาเพียงอย่างเดียว

ซึ่งต่างจากการลงทุนในหุ้นที่มีปันผลสัก 5% ต่อปี ที่เราจะลงทุนได้ในเอเชีย"

 

..... Marc Faber

 

(สรุปความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ CEO กองทุนบัวหลวง)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

spacer.gif

spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif spacer.gif Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r2_c2.jpg spacer.gif

Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r2_c11.jpgการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) เป็นการศึกษาพฤติกรรมของราคาหุ้น หรือพฤติกรรมของตลาดในอดีตโดยใช้หลักสถิติ เพื่อนำมาใช้คาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในอนาคต และช่วยให้ผู้ลงทุนหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม โดยข้อมูลหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้แก่ ระดับราคา และปริมาณการซื้อขายหุ้น

ทั้งนี้ ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคมีอยู่อย่างหลากหลาย

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะทฤษฎีหรือแนวคิดพื้นฐานสำคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในเบื้องต้นInv_KnowProduct_EQ_Technical_r3_c13.jpg spacer.gifInv_KnowProduct_EQ_Technical_r4_c2.jpg spacer.gifInv_KnowProduct_EQ_Technical_r5_c2.jpg spacer.gif Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r6_c2.jpg

แนวคิดการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะอยู่บนสมมติฐาน 3 ประการ คือ...

  • ราคาเป็นผลรวมที่สะท้อนให้ทราบถึงข่าวสารในด้านต่างๆ ทั้งหมดแล้ว
  • ราคาจะเคลื่อนไหวอย่างมีแนวโน้ม และจะคงอยู่ในแนวโน้มนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มใหม่
  • พฤติกรรมการลงทุนของผู้ลงทุน จะยังคงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพฤติกรรมการลงทุนในอดีต

Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r6_c20.jpg spacer.gif spacer.gif Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r8_c5.jpg spacer.gif spacer.gifInv_KnowProduct_EQ_Technical_r10_c2.jpg spacer.gifInv_KnowProduct_EQ_Technical_r11_c2.jpg spacer.gifInv_KnowProduct_EQ_Technical_r12_c2.jpg spacer.gif Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r13_c2.jpg

เป็นการบ่งบอกถึงลักษณะการเคลื่อนไหวโดยรวมของราคาหุ้นภายในช่วงเวลาสั้นๆ ระยะหนึ่ง โดยรูปแบบ

การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอาจเคลื่อนไหวโดยมีแนวโน้มเป็นเส้นตรงในระยะยาว หรือมีแนวโน้มการเคลื่อนไหวที่

ต่างรูปแบบออกไป ดังต่อไปนี้

  • เส้นแนวโน้มขึ้นเป็นเส้นตรง (Uptrend) ให้จินตนาการเหมือนคุณกำลังเดินขึ้นบันไดก้าวไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น
    เปรียบเหมือนหุ้นที่มีแนวโน้มของราคาสูงขึ้น โดยพิจารณาจากคุณลักษณะสำคัญ คือ ราคาหุ้นสูงสุดจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาสูงสุดครั้งก่อน หรือราคาหุ้นต่ำสุดก็จะอยู่สูงกว่าราคาหุ้นต่ำสุดครั้งก่อน นั่นคือ ราคาหุ้น
    เคลื่อนไหวเป็นแนวลาดขึ้น หรือแปลความได้ว่าราคาหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นนั่นเอง

Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r13_c20.jpg spacer.gif spacer.gif Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r15_c4.jpg Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r15_c7.jpg Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r15_c9.jpg spacer.gif

เพื่อเป็นการยืนยันถึงทิศทางแนวโน้มขึ้น ให้ผู้ลงทุนลากเส้นเชื่อมอย่างน้อย 3 จุด เริ่มจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 3 โดยให้

ส่วนปลายจุดที่ 3 เลยออกไป หากราคามีการปรับตัวถึงจุดที่ 5 จะเป็นสัญญาณยืนยันของแนวโน้มขึ้น ดังนั้น หากราคามีการปรับตัวลงมาใกล้เส้นแนวโน้มขึ้นอีกครั้งที่จุดที่ 7 จะเป็นจุดที่ผู้ลงทุนควร “ซื้อ” ตามสัญญาณทางเทคนิค

  • เส้นแนวโน้มลงเป็นเส้นตรง (Downtrend) ให้จินตนาการเหมือนคุณกำลังเดินลงบันไดก้าวไปสู่ขั้นที่ต่ำกว่า เปรียบเหมือนหุ้นที่มีแนวโน้มของราคาต่ำลง โดยพิจารณาจากคุณลักษณะสำคัญ คือ ราคาหุ้นต่ำสุดจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาต่ำสุดครั้งก่อน หรือราคาหุ้นสูงสุดก็จะอยู่ต่ำกว่าราคาหุ้นสูงสุดครั้งก่อน นั่นคือ ราคาหุ้น
    เคลื่อนไหวเป็นแนวลาดลง หรือแปลความได้ว่าราคาหุ้นอยู่ในช่วงขาลงนั่นเอง

Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r17_c4.jpg Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r17_c7.jpg Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r17_c9.jpg spacer.gif

เพื่อเป็นการยืนยันถึงทิศทางแนวโน้มลง ให้ผู้ลงทุนลากเส้นเชื่อมจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 3 โดยให้ส่วนปลายของ

จุดที่ 3 เลยออกไป หากราคาหุ้นไม่สามารถข้ามเส้นแนวโน้มลงในจุดที่ 5 ได้จะเป็นสัญญาณยืนยันแนวโน้มลง ดังนั้น

หากราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นมาใกล้เส้นแนวโน้มลงอีกครั้งที่จุดที่ 7 ผู้ลงทุนควร “ขาย” หุ้น ณ จุดนี้

  • เส้นแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง หรือแนวโน้มราบ (Sideways) จะแสดงให้เห็นลักษณะการปรับตัวของราคาหุ้นในช่วงแคบๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่มีอุปสงค์และอุปทานในหุ้นนั้นใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ราคาหุ้นที่สูงขึ้นครั้งใหม่จะเท่ากับที่เคยสูงขึ้นครั้งก่อน หรือราคาหุ้นต่ำลงครั้งใหม่จะเท่ากับหรือใกล้เคียงกับราคาที่ต่ำลงครั้งก่อน

Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r19_c4.jpg Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r19_c8.jpg Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r19_c10.jpg spacer.gif

หากเห็นได้ชัดว่า หุ้นกำลังเคลื่อนที่ในลักษณะคล้ายฟันปลา แสดงว่าหุ้นนั้นกำลังเคลื่อนที่อยู่ระหว่างจุดยอดและ

ก้นบึ้ง ผู้ลงทุนควรตัดสินใจ “ซื้อ” หุ้นนั้น เมื่อราคาหุ้นอยู่ใกล้เคียงกับก้นบึ้ง แล้วรอ “ขาย” เมื่อราคาเข้าใกล้จุดยอดอีกครั้งหนึ่ง

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ ให้ผู้ลงทุนลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดยอดเก่า (จุดที่ 1) ไปยังจุดยอดใหม่ (จุดที่ 3 และ 5) พร้อมทั้งให้ลากเส้นเชื่อมระหว่างก้นบึ้งเก่า (จุดที่ 2) ไปยังก้นบึ้งใหม่ (จุดที่ 4 และ 6) คุณจะเห็นกรอบ

การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น ซึ่งนักวิเคราะห์ทางเทคนิคทั่วไปใช้เรียกว่า “แนวรับ – แนวต้าน” (แนวรับ = จุดซื้อ,

แนวต้าน = จุดขาย) Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r21_c2.jpg spacer.gifInv_KnowProduct_EQ_Technical_r22_c2.jpg spacer.gifInv_KnowProduct_EQ_Technical_r23_c2.jpg spacer.gif Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r24_c2.jpg

แนวคิดนี้มีหลักการ คือ เมื่อราคาหุ้นลดลงมาถึง ณ ระดับราคาที่เป็นแนวรับ (Support Level) แล้ว ก็จะมีแรงซื้อเข้ามารองรับ ทำให้ระดับราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะไม่ลดต่ำลง

ในทางตรงกันข้าม เมื่อระดับราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นไปถึง ณ ระดับราคาที่เป็นแนวต้าน (Resistance Level) จะเป็นระดับราคาที่มีแรงขายมาก โดยแรงขายนั้นอาจเพียงพอที่จะหยุดราคาหุ้นไม่ให้สูงไปกว่าระดับราคานี้ได้ Inv_KnowProduct_EQ_Technical_r24_c20.jpg spacer.gif spacer.gifInv_KnowProduct_EQ_Technical_r26_c6.jpg spacer.gif

โดยทั่วไป ราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวจากแนวรับขึ้นไปสู่แนวต้าน และจากแนวต้านลงมาสู่แนวรับ กล่าวคือ เคลื่อนไหว

อยู่ในช่วงระหว่างแนวรับและแนวต้าน และภายหลังช่วงเวลาหนึ่ง ราคาหุ้นอาจสูงขึ้นจนทะลุแนวต้าน หรือลดต่ำลงกว่าแนวรับ

เทคนิคการลงทุน คือ ควรพิจารณาซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นอยู่บริเวณแนวรับ และขายเมื่อราคาหุ้นอยู่บริเวณ

แนวต้าน และควรวิเคราะห์ว่าราคาหุ้นกำลังจะเคลื่อนไหวทะลุแนวรับหรือแนวต้านเมื่อใด เพื่อที่จะสามารถวางแผน

การลงทุนในระยะต่อไปได้

นอกจากทฤษฎีหรือแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีทฤษฎีหรือแนวคิดอื่นๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคที่น่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น...


    • ทฤษฎีดาว (Dow’s Theory)
    • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages)
    • รูปแบบราคา (Price Pattern)
    • แผนภูมิแท่งเทียน (Candlesticks)
    • แผนภูมิ Point & Figure
    • ดัชนีบ่งชี้ (Indicators)
    • เครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆฯลฯ

ซึ่งผู้ลงทุนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหลักสูตรอบรมสัมมนา หรือตามเว็บไซต์ต่างๆ spacer.gifInv_KnowProduct_EQ_Technical_r28_c2.jpg spacer.gif

กล่าวโดยสรุป... “การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค” เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์ทิศทาง

การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น รวมทั้งสามารถหาจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อขายหุ้น หรือระยะเวลาในการถือครองหุ้นได้

ในทางปฏิบัติ ผู้ลงทุนจึงควรวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อค้นหาหุ้นที่น่าลงทุน ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค

เพื่อหาจังหวะในการเข้าลงทุน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนในหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เจาะลึกลักษณะตราสารทุน

 

indent1.pngปัจจัยที่มีผลกระทบกับราคาหุ้น

indent1.pngขั้นตอนการลงทุนในหุ้น

indent1.pngวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : ภาพรวม

indent1.pngวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : ข้อมูลเศรษฐกิจ

indent1.pngวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : ข้อมูลอุตสาหกรรม

indent1.pngวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : ข้อมูลบริษัท

indent1.pngการประเมินมูลค่าหุ้น

indent1.pngวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

indent1.pngดัชนีราคาหุ้น

indent1.pngกลยุทธ์ลงทุนในหุ้น

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...