ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

หัวใจทองคำกับรอยหยักของสมอง

โพสต์แนะนำ

สอนได้ดีมากๆเลยครับ :gd

 

สวัสดีจะปีใหม่แล้ว สุขกาย+ใจ โชดดี สามารถ สมหวังดังใจ

 

http://www.stockmand...mmวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

 

สอนหุ้นมือใหม่: เทคนิควิเคราะห์กราฟ

 

 

วันนี้ตีกราฟตามคำขอจากเพจเพื่อนบ้านครับผม

อันประกอบด้วย: BTS, PF, MAJOR, STPIครับผม

bts.jpg

BTS: กราฟภาพใหญ่เป็น Uptrend มาตั้งแต่ต้นปี เราก็ลากแนวรับผ่านจุดต่ำสุดยิงยาวไปเรื่อยๆ ถ้าหลุดแนวรับใหญ่ก็ถือว่าดูไม่ดีเพราะหลุด uptrend.....ใครที่ถืออยู่อาจวางจุด stoploss ไว้ต่างกัน อย่างในช่วงนี้แนวรับใกล้สุดก็เห็นจะเป็น 5.65บ.ที่วงไว้เพราะราคาลงมาปิดระดับราคานั้นบ่อยในช่วง 2เดือนที่ผ่านมา.....แต่บอกตรงๆว่าตัวนี้เหมาะกับการเล่นภาพใหญ่มากกว่าครับ โดยรอดักเก็บบริเวณแนวรับ(เส้นดำ) เพราะหุ้นสวิงค่อนข้างแรง ดังนั้นสัญญาญต่างๆจึงใช้ได้ไม่ค่อยดีนัก ไม่ว่าจะเป็น"เส้นค่าเฉลี่ย ema" หรือ "macd ตัด signal line"

 

pf.jpg

 

PF: หุ้นตัวนี้ FreeFloat 75% แสดงว่าเจ้าของถืออยู่เพียง 25% นั่นหมายถึงหุ้นหนักลากยาก แต่ในที่สุดก็ลากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นก็ทุบเมื่อศุกร์ที่ผ่านมา "เจ็บ"เอาเป็นว่าจากกราฟเราก็จะใช้ high เดิมจาก "แนวต้านเปลี่ยนมาเป็นแนวรับ" วันจันทร์รอลุ้นว่าราคาจะปิดหลุดแนวรับหรือไม่ ถ้าหลุดก็ไม่สวยครับ" สำหรับเพื่อนๆที่ดู bid offer เป็น ก็อาจนั่งลุ้นราคา 1.18บ.ไปเลยว่ามีคนไล่เก็บ offer ตรง 1.18หรือเปล่าถ้ามีก็ยังพอมีแววลุ้นต่อครับ^^

ปล. แต่ถ้าราคาวันจันทร์เปิดต่ำกว่า 1.18 จากแนวรับจะกลายเป็นแนวต้านทันทีเพราะราคาไปเปิดต่ำกว่าเส้นดำ ในcase นั้นน่ากลัวครับ

 

 

 

 

 

major.jpg

MAJOR: ตัวนี้แท่งเทียนขึ้นยืนทะลุ high เดิมได้...แต่สังเกตดูจะพบว่าเป็นการโดดขึ้นแบบมี gap ( gap:คือเกิดช่องว่างระหว่างแท่งเทียน 2วันโดยไม่มีราคาเชื่อมต่อกัน) แต่มีVolumeเข้า(วงกลมแดงที่แท่ง volumeยาวๆ)

แสดงว่าเป็นการขึ้นที่มีแรงซื้อสนับสนุน ดังนั้นสามารถเข้าซื้อโดยอาศัยราคาเปิดของแท่งเทียนยาวล่าสุดเป็นแนวรับได้

สรุปคือ: ตัวนี้ซื้อตามได้แต่ต้องวางแนวรับไว้ที่ 19.3บ.ถ้าหลุดก็ควร cutloss เพราะแสดงว่าเดาผิดทาง แต่ถ้าซื้อแล้วราคาไปต่อก็ต้องคอยดูสัญญาณที่เราจะขายออกทำรอบเอากำไร โดยอาจใช้สัญญาณ macd ตัด signal (เส้นส้มตัดเส้นปะ) หรือรอ rsi เข้าเขต overbought แล้วขายตอนตัดออก (เส้นแดงทะลุเส้น 70แล้วรอขายตอนตัดลง) เป็นต้น

 

 

 

stpi.jpg

STPI: เวลากราฟขึ้นชันไปเรื่อยๆ นอกจากวิธีการตีแนวรับ (แนวรับ:ลากเส้นจากจุดต่ำสุดลากขึ้นไปจุดต่ำสุดถัดไป)

เรายังสามารถอาศัยแท่งเทียนยาวเป็นจุดเข้าซื้อและขายออกได้

อย่างในตอนนี้ถ้าเราเข้าซื้อให้เอา "ราคาปิดของแท่งเทียนยาว" (สีขาว) เป็นแนวรับ ถ้าราคาหลุดต่ำกว่านี้ให้ cutloss แต่ถ้าราคาวิ่งขึ้นต่อ ก็ต้องลุ้นแนวต้านคือ "ราคาปิดของแท่งเทียนยาว"ถัดไป(เส้นดำ) ทั้งนี้ถ้าราคาทะลุขึ้นไปได้เราก็ใช้แนวต้าน(เส้นสีดำ)กลับมาเป็นแนวรับแทน

======

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากถามเพิ่มนิดครับ ว่าส่วนใหญ่แล้วเราจะดูกราฟเดือนกันเหรอครับ พวกวัน กับนาที สิบนาที พวกนี้ใช้งานตอนไหนดีครับ

Manday กล่าวว่า...

การจะเลือก timeframeเป็นวันหรือเดือนนั้นแล้วแต่นักลงทุนเลยครับ เช่นถ้าเป็น timeframe แบบweek ใน1เดือนเราก็จะเห็นแท่งเทียนแค่4แท่ง ทำให้เราสรุปเป็นภาพรวมได้ง่ายกว่ามานั่งลุ้นจ้องราคาปิด-เปิดเป็นวันๆ...ส่วนรายนาทีมักจะใช้กับ daytrade ครับ

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

  • 7mul9.jpg
    • slol8.jpg

     

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากค่ะ คุณginger

ดีมากๆเลยค่ะ

ดีจ้า พวงชม

 

สอนหุ้นมือใหม่: หัดวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค

 

เมื่อ 2-3วันที่ผ่านมา มีข่าวให้รอลุ้นอยู่หลายข่าว...แต่ส่วนใหญ่ผลออกมาจะเป็นข่าวดี จึงส่งผลให้หุ้นไทยวิ่งขึ้นไม่ลืมหูลืมตา พอใกล้วันประชุม Fed ผมกะไว้ว่า qe3 ไม่ออกแน่ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่ผมคาดหุ้นจะหล่นแรง เพราะมันวิ่งขึ้นรับข่าวดีไปกันหมดแล้ว หุ้นในพอร์ตตัวไหนกำไรสูงๆผมก็ขายทำกำไร.....ที่ไหนได้ qe3ออกหุ้นพุ่งต่อ555 (หัวเราะทั้งน้ำตา) อย่างว่าครับของอย่างนี้มันมีแค่เส้นบางๆกั้นครับ "ขายหรือไม่ขาย" ถ้าไม่ขายแล้วหุ้นร่วง ก็จะ "โธ่..รู้ทั้งรู้นะ ทำไมไม่ขายฟระ".....แต่พอตอนนี้หุ้นพุ่งก็ "โธ่..รู้งี้นะ" ei ei

ที่เกริ่นมามันก็ส่งผลให้ตอนนี้ถือเงินอยู่ในมือ แต่หาหุ้นเล่นต่อไม่ได้ (><") จึงเป็นที่มาของการนั่งตีกราฟหาหุ้นในวันนี้ครับ แต่ไหนๆก็ตีแล้ว เลยเอามาโพสต์ทิ้งไว้ เผื่อเพื่อนๆมือใหม่จะได้หัดดูกราฟตามเราไปด้วย....ผมไม่ยืนยันนะครับว่า การอ่านกราฟของผมจะถูกต้องเสมอไป เพียงแต่แค่ให้มือใหม่ได้มี guide ในการหัดอ่านกราฟก็เท่านั้นเอง

 

ปล.หุ้นทั้งหมดนี้มีความเสี่ยงหมดทุกตัวนะครับ เพราะเพิ่งผ่านเหตุการณ์พุ่งรับข่าวดี ทั้งนี้อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลในการเข้าซื้อ

 

bec.jpg

BEC: น่าจับตาครับ

- ตัวนี้วิ่งไต่ขึ้นตามกรอบ uptrend มาตลอด ซึ่งราคายังไปไม่ไกลจากกรอบล่างเท่าไหร่นัก จึงถือว่ามีโอกาสวิ่งต่อได้อีก

 

- macd(เส้นสีส้ม) ตัดขึ้นเส้นศูนย์ เป็นสัญญาณซื้อ(ในระยะกลาง)ที่ดี

- stoch (เส้นน้ำเงิน) ตัวนี้จะบอกรอบระยะสั้น ซึ่งตอนนี้สุดรอบแล้วอยู่ที่ว่าจะกระชากขึ้นต่ออีกซัก 2-3วันหรือเปล่า หลังจากนั้นอาจต้องมีการย่อของราคา....ใครถือเล่นยาวอาจต้องทนเห็นกำไรขึ้นมาแล้วก็หายไป แต่ไอ้ที่จะขายเล่นรอบสั้นมากๆนั้น ขึ้นอยู่กับฝีมือการกะระยะแล้วล่ะครับ

 

พื้นฐาน: แม้งบจะดี แต่ราคาไปสูงครับ P/E = 28, P/BV = 14.85

 

 

kgi.jpg

 

 

 

KGI: เฝ้าจับตา....ส่วนไอ้ที่จะมีมือที่มองไม่เห็นกระชากพรุ่งนี้,มะรืนนี้ ก็สุดแล้วแต่จะคาดเดาครับ

- ราคาวิ่ง sideway มาเป็นเวลานาน แต่จุดที่จะทำให้น่าสนใจคือ 2.16บ. แท่งเทียนต้องขึ้นไปยืนให้อยู่แล้วค่อยเข้าครับ (หมายถึงราคาเปิดกับราคาปิด ต้องไม่ต่ำไปกว่า 2.16) เพราะจะเห็นว่าก่อนหน้านี้มันเป็นแนวรับที่แข็งครับ ดังนั้นตอนนี้มันจึงกลับมาเป็นแนวต้าน

- กราฟ volume ยังไม่ยาวพอที่จะดึงดูดให้สนใจครับ...สรุปคือ รอดูการทดสอบแนวต้านของเที่ยวนี้ให้ดี

 

พื้นฐาน: ไม่มีประเด็นครับ

 

 

AAV.jpg

 

AAV: ตัวนี้น่าสนครับ ***

- ราคากำลังขึ้นทดสอบ high เป็นครั้งแรก ตั้งแต่เปิดขายหุ้นมา...ตอนนี้ระดับราคาที่ต้องลุ้นคือ 3.76บ. ต้องยืนให้อยู่(แท่งเทียนต้องขึ้นยืนเต็มแท่ง โดยดูได้จากราคาเปิดกับปิดต้องไม่ต่ำกว่า 3.76บ.) พูดง่ายๆ พรุ่งนี้ถ้าราคาเปิดสูงกว่า 3.76 ก็อาจซื้อลุ้นได้ครับ ถ้าช่วงเที่ยงราคาตกลงมาต่ำกว่า 3.76 ก็ดูทีท่าไปก่อน...หรือถ้าใครอยากเอาชัวร์ ก็รอดูราคาปิดแล้วค่อยตัดสินใจอีกทีก็ได้ครับ^^

ส่่วนในกรณีที่ทดสอบไม่ผ่านแล้วร่วงกลับลงมา ผมก็มีราคาที่น่าเก็บอยู่ในใจคือ 3.42บ. เป็นแนวรับแข็ง...อธิบายง่ายๆถ้าผมเก็บได้ที่ราคาแนวรับ แล้วมันหลุดลงไปอีก ผมก็ cutloss ก็จะเจ็บตัวไม่มาก แต่ถ้ามันเด้งขึ้นผมก็กินได้ในกรอบราคากว้างๆ

 

พื้นฐาน: บริษัทฯหนี้ไม่เยอะ ราคายังไปไม่ไกลมาก P/E=1.18, P/BV= 1.04 ถ้าใครบอกจะเก็บเป็น VI ก็ลองดูครับน่าสนเลยทีเดียว เดี๋ยวก็ใกล้ปลายปีละคนเที่ยวกันอีกมากครับ

 

เขียนโดย Manday ที่
icon18_email.gif

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

 

สอนหุ้นมือใหม่: มาหัดตี Fibonacci กันเถอะเรา

 

ผมเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “แนว Fibo” มาก่อนและก็เชื่อว่าแทบทุกคนมีข้อข้องใจเกี่ยวกับ Fibonacci แล้วก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว Fibo นี้ใช้กันยังไง ซึ่งในส่วนของประวัติความเป็นมาผมแนะนำให้เพื่อนๆลอง search หาเพิ่มเติมจากอากู๋ (google) ดูนะครับ เพราะรับรองว่าอากู๋จะให้ข้อมูลที่แม่นยำกว่าผมแน่นอน ei ei

 

 

Fibonacci Retracement ไว้ใช้คาดคะเนเป้าหมายในการปรับฐาน

วิธีการใช้ Fibonacci คือ เราต้องมองหา wave ก่อนหน้านี้ให้ได้ว่าจุดสูงสุดและต่ำสุดของ wave ก่อนหน้านี้อยู่ที่ตรงไหน

 

ในกรณีที่หุ้นวิ่งเป็นขาขึ้นและมีการย่อตัวลง เราจะสามารถคาดคะเนแนวรับของราคาเป้าหมายได้จาก Fibo โดยหวังว่าเมื่อราคาลดลงมาถึงระยะเป้าหมายในระดับต่างๆ ราคาจะมีการดีดตัวกลับขึ้นไปต่อ ซึ่งวิธีการลาก คือ เราต้องลากจาก Wave กอ่นหน้านี้ตรงจุดที่ราคาต่ำสุด ลากขึ้นมาตรงจุดสูงสุด จากนั้นเครื่องมือ Fibonacci จะปรากฎแนวระดับเปอร์เซ็นต์ต่างๆออกมาตามภาพตัวอย่าง

16.21.jpg

 

จากภาพตัวอย่าง เราจะสามารถคาดคะเนราคาเป้าหมายไว้ที่ 38.2% โดยมองว่าเมื่อราคาย่อลงมาชนแนวรับระดับ 38.2%แล้วราคาอาจมีการเด้งกลับขึ้นไปได้ แต่หากแนวรับ ณ จุดนั้นเอาไม่อยู่ เราก็จะสามารถคาดคะเนการดีดกลับของราคาโดยมองที่แนวรับไล่เรียงลงมาตามลำดับ

ส่วนใหญ่นักเทคนิคจะให้ความสำคัญที่ระดับ 38.2% และ 61.8% เป็นสำคัญ...ซึ่งในกรณีนี้หมายถึงว่า ถ้าราคาหลุดแนวรับ 38.2%แล้วล่ะก็ ราคาน่าจะมีแนวรับแข็งๆอีกจุดหนึ่งที่บริเวณ 61.8% แต่ถ้าหากยังหลุดแนวรับ 61.8% ก็ถือว่าน่าจะเป็นการกลับตัวเป็นขาลงเต็มรูปแบบ

 

คราวนี้เรามาดูกรณีหุ้นเป็นขาลงกันมั่ง เราจะสามารถใช้ Fibo ได้ก็ต่อเมื่อราคามีการลงมาจนสุด และเกิดการรีบาวด์ขึ้น ซึ่งเราจะใช้ Fibo ในการคาดคะเนเป้าหมายการรีบาวด์ขึ้นของราคา โดยกำหนดให้แนวระดับเปอร์เซ็นต์ต่างๆเป็นแนวต้าน ตามภาพต่อไปนี้

16.22.jpg

 

จากภาพตัวอย่างเราจะมองว่า ณ ระดับราคา 38.2% เป็นแนวต้านแรกของการรีบาวด์ขึ้น เมื่อราคาสามารถผ่านขึ้นไปได้ก็จะมีแนวต้านเป็นระดับ% ถัดขึ้นไป โดยหากราคาสามารถทะลุผ่านแนวต้านที่ระดับใดขึ้นไปได้ แนวต้านนั้นจะกลับมาทำหน้าที่เป็นแนวรับทันที และก็เช่นเดียวกันหากราคาสามารถทะลุผ่านระดับ 61.8% ขึ้นไปได้ ก็มีโอกาสที่หุ้นจะกลายเป็นขาขึ้นเต็มรูปแบบ

 

ปล. หลักการลากเส้น Fibonacci นั้นจะต้องลากจาก "ซ้ายไปขวา" เท่านั้นนะครับ....ไม่สามารถลากย้อนกลับจากทางขวามาซ้ายได้

 

 

 

เขียนโดย Manday ที่
icon18_email.gif

 

 

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

 

สอนหุ้นมือใหม่...หัดดูแนวรับแนวต้านและจังหวะเข้าซื้อ

 

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนเลยครับว่า มิได้มีอคติใดๆกับหุ้นตัวที่นำมายกตัวอย่างนี้ แถมจริงๆมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันด้วยซ้ำ (ขอบคุณพี่ช่วงน้ำท่วมนะครับ) แต่ที่ยกกราฟตัวนี้มาให้ดูเพราะเห็นว่ามันเป็นตัวอย่างของเส้นแนวรับแนวต้านได้หลายๆแบบในกราฟเดียว ซึ่งหุ้นตัวนี้ถ้าคนไม่เข้าใจกราฟก็จะรู้สึกว่าช่วงไม่กี่วันนี้ราคาขึ้นเอาๆ...มันช่างน่าตามซะนี่กระไร อย่าเชียวนะครับ เพราะอะไรน่ะเหรอเรามาดูกัน

 

true.jpg

1.ราคากำลังจะขึ้นทดสอบแนวต้านของภาพใหญ่ (เส้นแดง) โดยเทคนิคแล้วเขาไม่ได้แนะนำให้เข้าซื้อหุ้นที่แนวต้านครับ..แต่จุดที่น่าตามคือ เมื่อราคาสามารถ Break Trendline ขึ้นไปได้แล้วต่างหาก...เพราะถ้าทะลุขึ้นไปได้แสดงว่าราคาเบรคขาลงภาพใหญ่ได้ แถมแนวต้านจะกลับมาเป็นแนวรับให้เราได้อีก

 

2.กรอบ Uptrend สีขาวแม้จะเป็นช่วงวิ่งขึ้นแต่ก็ใกล้ถึงแนวต้านแล้วเช่นกัน มือใหม่อาจสงสัยว่าแล้วเส้นแนวต้านตีมาจากอะไร ก็ง่ายๆครับถ้าจะตีแนวต้าน เราก็ลากจุด high มาชน newhigh ล่าสุด(เชื่อมผ่านซัก 2 จุดขึ้นไป) เพื่อเป็นกรอบว่า "ราคาไม่น่าจะเกินแนวนี้..เพราะเราลากมาจากจุดสูงสุดในอดีตแล้ว"

 

3.แนวต้านเส้นปะน้ำเงิน อันนั้นลากจากที่มันร่วงลงมาแบบมี gap (บริเวณลูกศรน้ำเงินชี้อยู่: ผมไม่ได้ไปเช็คว่าgap นั้นเกิดจากอะไร รู้แต่ว่ามันมี Volume)

 

สรุปคือ เมื่อแนวต้านมาตัดกับแนวต้าน(ดังภาพ) ส่วนใหญ่แล้วเมื่อราคาขึ้นชนตรงจุดนั้นก็จะร่วงครับ... เท่าที่ผมมองไว้จะอยู่แถวๆ 4.88-5.00บ. ดังนั้นต่อให้อยากเข้าซื้อ ผมก็จะแนะนำว่า "มันได้ไม่คุ้มเสียหรอกครับ" เหมือนการ์ตูนสุนทรหุ้นที่ผมวาดไว้ตอนฝ่าระเบิดไปเอาแบงค์สิบนั่นล่ะ

 

%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99102.jpg

 

ทำไมผมถึงบอกว่าได้ไม่คุ้มเสีย...ก็เพราะว่าถ้าเราเข้าซื้อแถวๆแนวต้านโอกาสชนแล้วไม่ผ่านมีสูง แล้วเราก็ต้องรอมันย่อลงมา ซึ่งก็ต้องลุ้นให้มีแรงซื้อเข้ามาเยอะเพื่อขึ้นทดสอบแนวต้านอีกรอบ

แต่ถ้าผ่านแนวต้านได้ล่ะ มันก็แค่นั้น ราคาก็แค่ไปต่อ....ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็รอให้มันทะลุไปได้ก่อนแล้วค่อยซื้อตามไม่ดีกว่าหรือ....เพราะสมมติว่ามันทะลุขึ้นไปได้ที่ 5บ. เราก็เอาแนวต้าน 5บ.นั่นกลับมาเป็นแนวรับซะ ถ้าสุดท้ายมันขึ้นมาได้ 2วันแล้วราคาตกต่ำกว่า 5บ. เราก็ cutloss ซะเพราะถือว่าเราเดาผิดทาง...ดูจะเล่นได้เข้าท่ากว่า.....หรือเพื่อนๆว่าไงครับ(^^)

 

 

 

เขียนโดย Manday ที่
icon18_email.gif

 

 

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

 

 

วิธีโหลดข้อมูล Metastock

 

วิธีโหลดข้อมูลMetastockของวันที่ 3ก.ย.55

1.ไปที่ Link นี้ครับ จากนั้นทำตามขั้นตอนดังภาพตัวอย่าง

http://www.mediafire...ve9mqnqpzphpj3r

 

1.jpg

 

2.jpg

เมื่อได้ file ข้อมูลหุ้นแล้ว ให้นำไป save เก็บไว้ที่แฟ้ม Stockmanday => folder ชื่อ txt_zip.... ซึ่งบางเครื่องอาจอยู่ใน drive (C:) ไม่ก็ (D:)

 

3.jpg

 

เมื่อนำข้อมูลที่โหลดมาไปเก็บไว้แล้ว จากนั้นให้ออกมาที่หน้าจอเพื่อแปลงข้อมูล

 

4.jpg

 

จากนั้นก็เริ่มขั้นตอนการแปลงไฟล์ ปฎิบัติตามภาพตัวอย่างได้เลยครับ

 

5.jpg

6.jpg

 

7.jpg

8.jpg

9.jpg

10.jpg

 

 

เมื่อแปลงข้อมูลเสร็จเรียบร้อย อย่าลืมตั้งระบบให้กลับเป็นแบบเดิมนะครับ

วิธีตั้งค่ากลับตามเดิม ปฎิบัติตามภาพไปเลยครับ

 

 

11.jpg

12.jpg

13.jpg

14.jpg

 

15.jpgกดเลือกเฉพาะไฟล์ที่ไม่มีตัว –f นะครับ......วิธีกดเลือกคือให้กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วก็คลิ๊กเลือกไปทีละตัวให้ครบ 5 ตัวนะครับ.....จากนั้นก็กด Ok.

 

 

16.jpg

17.jpg

 

ประเด็นที่ผมห่วงก็คือ..พวกพี่ๆที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องคอมฯเนี่ยน่ะสิ....เฮ้อ รู้สึกไม่สบายใจที่ทำได้เท่านี้

(-..-") ได้แต่ภาวนาให้เว็บหายล่มเร็วๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

 

ศัพท์/ชื่อย่อ ที่ควรรู้ก่อนเริ่มเล่นหุ้น

 

เคยมั้ยครับ พอเราเริ่มสนใจอยากเรียนรู้การลงทุน/หุ้น ก็ไปหาซื้อหนังสือมาอ่าน แต่อ่านแล้วไม่เข้าใจ หลายคนคงเคยสงสัย "มันเขียนอะไรของมันนะ ภาษาไทยแท้ๆ แต่อ่านไม่เข้าใจ" อย่าไปโทษเขาเลยครับ มันเหมือนเด็กป.6 อ่านการ์ตูนวัยรุ่นนั่นแหล่ะ การ์ตูนก็ลายเส้นเหมือนกัน ใช้ภาษาไทยเหมือนกัน แต่ไม่อินกับเนื้อหา

ผมกำลังจะบอกว่าผมก็เคยเป็นครับ โดยเฉพาะหนังสือที่ขายดิบขายดีอยู่ในขณะนี้ เช่น "แกะรอยหยักฯ"ของคุณแพท ภาววิทย์ กลิ่นประทุม (ขออนุญาตเอ่ยนามครับ 555 เลียนแบบพี่เสกโลโซ เอ่ยนามเขาไปทั่ว แต่เขาอนุญาตรึเปล่าไม่รู้) ใครๆก็ว่าเขียนสนุก อ่านเข้าใจง่าย ผมก็ซื้อมาอ่านครับ แต่หลายครั้งที่ไม่เข้าใจ ตอนแรกก็จะโทษคุณแพทคับ แต่นั่งนึกไปนึกมาก็โทษตัวเองดีกว่า "โทษคนอื่นแก้ไขไม่ได้ แต่โทษตัวเองแก้ไขได้ครับ" มาถึงบางอ้อทีหลัง แล้วก็ได้แต่ร้องเพลง "ก็เรามันโง่เอง"

เข้าเรื่องเลยละกันครับ ผมจะบอกว่าเพื่อไม่ให้เพื่อนๆที่เริ่มเข้ามาสนใจเล่นหุ้นหลังจากผม ต้องมาคอยอ่านวนไป (ปล.ห้ามใครที่มีความรู้แล้วแต่เผลอเข้ามาอ่านแล้วแอบคิดว่า "ไอ้โง่...คนอื่นเขาไม่โง่เหมือนเอ็งหรอก" ใครทำอย่างนั้นผมแช่งให้หุ้นที่อยู่ในพอร์ตทั้งหมดตกเหวนะครับ555)

 

ศัพท์/ชื่อย่อ ที่ควรรู้ก่อนเริ่มเล่นหุ้น

 

1. นักลงทุนแนว VI (Value Investment) คือนักลงทุนที่สนใจแต่หุ้นพื้นฐานดีเท่านั้น นักลงทุนประเภทนี้จะเข้าไปซื้อหุ้นที่เขาประเมินแล้วว่ามีพื้นฐานดี โดยจะเข้าซื้อในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือราคาหุ้นตัวนั้นๆตกไม่ว่าจะด้วยเหตุใด และจะถือครองเป็นเวลานาน ไม่เน้นกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นในช่วงสั้นๆ

 

2. นักลงทุนแนว Technical คือ นักลงทุนที่ใช้กราฟหรือเทคนิคต่างๆเข้าช่วยในการตัดสินใจซื้อหุ้น นักลงทุนประเภทนี้จะอาศัยกราฟเพื่อดูรอบขึ้น-ลงของหุ้นและจะเข้าทำการซื้อ-ขายเป็นรอบสั้นๆ โดยต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าหุ้นตัวนั้นยังมี Gapของราคาให้เล่นอยู่ (ซื้อแพง ขายแพงกว่า)

 

3. Commodity สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำ, น้ำมัน, ข้าว, แป้ง, อาหารสัตว์, สังกะสีและเหล็ก......สินค้าโภคภัณฑ์จะมีคุณภาพที่คล้ายกันจนแยกไม่ออกว่าใครเป็นผู้ผลิต และมีการซื้อขายกันทั่วโลกราคาเดียว โดยราคาซื้อขายจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทานของสินค้าในช่วงนั้นๆ เช่น ของขาดตลาดและมีความต้องการใช้ ราคาก็จะแพงเป็นต้น

 

4. Fundamental พื้นฐาน, รากฐานของหุ้น (นักลงทุนแนว VI ต้องใช้ในการวิเคราะห์)

 

5. Dividend เงินปันผล (นักลงทุนแนว VI จะสนใจในส่วนนี้)

 

6. Capital gain กำไรส่วนต่างของราคาในการขายหลักทรัพย์ (นักลงทุนแนว Technical จะเล็งในส่วนนี้)

 

7. Yield ผลตอบแทน(ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย)

 

8. Indicator ตัวชี้วัด...เป็นส่วนประกอบในChart แสดงออกมาในรูปกราฟเพื่อบอกถึง Trendของหุ้นตัวนั้นๆ เช่น MACD, RSI

 

9. Divergence สัญญาณกลับตัวในทิศทางตรงกันข้ามของหุ้น

 

10. Uptrend หุ้นในช่วงขาขึ้น

 

11. Downtrend หุ้นในช่วงขาลง

 

12. Sideways เป็นช่วงที่กราฟหุ้นวิ่งออกข้าง เคลื่อนไหวไม่ชัดเจนว่าราคาจะขึ้นหรือจะลง

 

13. MACD = Moving Average Convegence Divergence เส้นบอกจุดที่ควรซื้อขายหุ้น โดยให้ใช้ประกอบกับเส้น EMA หรือสามารถดูจังหวะการเข้าซื้อ-ขายจากChartของMACDเอง

 

14. EMA = Exponential Moving Average เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาหุ้น โดยสามารถเลือกเป็นรอบๆ เช่น EMA25 คือ ค่าเฉลี่ยของราคาในรอบ 25วันที่ผ่านมา

 

15. RSI = Relative Strength Index...เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ใช้ในการดูการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้น

-ถ้าเกิน 70ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over bought หรือ ซื้อกันมากเกินไป เมื่อซื้อกันมากเกินก็แสดงว่าราคาสูงไปแล้ว ราคาหุ้นก็จะเริ่มตกลง (แต่ให้รอดูสัญญาณให้แน่ชัด)

-ถ้าต่ำกว่า 30ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over sold หรือ ขายกันมากเกินไป ซึ่งแสดงว่าราคาหุ้นถูกจนเกือบต่ำสุด ต่อจากนี้ราคาก็จะเริ่มขึ้น ให้เตรียมตัวซื้อ (แต่ให้รอดูสัญญาณให้แน่ชัด)

* * * * * ปล. บางตำราบอกไว้ว่า “การซื้อขายโดยการใช้ RSI ตัดกับ 30,70 หรือ 20,80 จริงๆไม่สมควรเท่าไหร่ เพราะในระยะยาวโอกาสขาดทุนมากกว่ากำไร จริงๆแล้วให้จับตามองว่าหุ้นมีโอกาสกลับตัวเกิด Top หรือ Bottom แต่ไม่ใช่จุดซื้อขาย เพราะเวลาหุ้น Bullish RSI จะวิ่งเหนือ 70 ได้นานๆ หรือเวลา Bearish ก็ลงมาวิ่งต่ำกว่า 30 ได้นานๆเช่นกัน (หมายถึงให้ถือ holdไว้ก่อน รอดูว่าเมื่อเกิดจุดกลับตัวของราคาหุ้นแล้วค่อยซื้อ-ขาย)”

 

16. ค่า P/E ....ในที่นี้ P = Price E = Earnings per share (ราคา/กำไรต่อหุ้นตัวนั้น) ก็จะทำให้เรารู้ว่าเราซื้อหุ้นตัวนั้นมาแพงหรือถูก ในอีกทางหนึ่งก็จะทำให้รู้ว่าต้องถือไว้อีกกี่ปีถึงคุ้มทุน

เช่น หุ้น ก.ราคา 100บ. กำไรต่อหุ้น 20บ./ปี => 100/20 = 5 เท่า

หุ้น ข.ราคา 40บ.(ถูกกว่า) แต่กำไรต่อหุ้นเพียง 2บ./ปี => 40/2 = 20 เท่า

**แสดงให้เห็นว่าในที่นี้ หุ้น ข. ถือว่าซื้อมาแพงกว่า และหุ้น ก. สามารถได้ทุนคืนเร็วกว่าด้วย

 

17. ค่า P/BV....Price / Book Value “มูลค่าทางบัญชี”.....(ราคา/เงินทุนที่บริษัทใส่ลงไป)

เช่น หุ้นราคา 100 / เงินลงทุนที่ใส่ลงไป 200 => 100/200 = 0.50 เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าเราซื้อหุ้นในขณะนั้นที่ราคา 100บ. (ค่า P/BV =0.50) เหมือนเราลงทุนถูกกว่าเจ้าของ 50สตางค์ ต่อหุ้น
ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์หุ้นด้วยตัว indicator...ปฐมบทของการสอนหุ้น / เริ่มเล่นหุ้น

 

 

 

 

 

 

 

“มาทำความรู้จักกับ indicator ทั้ง STOCH, RSI และ MACDกันเถอะ” .....สวัสดีครับสำหรับเพื่อนๆนักลงทุนหน้าใหม่ และนักลงทุนหน้าเก่าที่เริ่มต้นเล่นหุ้นจากครูพักลักจำ....ที่ผมแซวนี้ไม่ได้หมายถึงว่าการใช้วิธีครูพักลักจำมันไม่ดีนะครับ (เพราะผมก็ทำei ei) แต่จะบอกว่าถ้าเราทำแล้วควรที่จะหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อมา support สิ่งที่เราลักจำมาด้วยว่า “เพราะอะไรจึงเป็นแบบนั้น” และ “สิ่งนั้นมันเกิดขึ้นมาจากไหน”...มิเช่นนั้นแล้วท่านก็จะไม่ต่างอะไรกับนกแก้วนกขุนทองครับ

 

 

%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%9961.jpg

 

 

มีหลายคนที่สามารถใช้ indicator ในการจับจังหวะเข้าซื้อทำกำไรได้ แต่เชื่อว่าลึกๆแล้วก็มีหลายคนเช่นกันที่ไม่รู้ว่า “แล้วทำไมพอมันตัดขึ้น ถึงเป็นจังหวะเข้าซื้อ?” “แล้วเพราะอะไรเส้นrsi แผ่วลงแต่ยังบอกว่ามันดี?” ถ้าอยากเข้าใจอย่างถ่องแท้ต้องรู้ที่มาของมันครับ

 

 

 

 

หลักการเบื้องต้นในการคำนวณ STOCHASTIC

 

 

เครื่องมือ STOCHASTICS ประกอบด้วย

- เส้น %K เป็นเส้น STOCHASTICS

- เส้น %D เป็นเส้นค่าเฉลี่ยของเส้น %K

 

STOCHASTICS คือ ใช้หลักการสังเกตุราคาปิดในช่วงเวลาหนึ่ง โดยดูว่า"

* ในกรณีที่เส้น Stochastic ขึ้นสูงไปเรื่อย... แสดงว่า ราคาปิดของหุ้นนั้นจะต้อง “ปิดใกล้กับราคาสูงสุด” ติดต่อกันมาหลายวัน (Time period ปกติอยู่ประมาณ 5วัน)

* ในทางตรงกันข้าม...ถ้าราคาปิดอยู่ใกล้กับราคาต่ำสุดของวัน แนวโน้มเส้น Stoch ก็จะลดต่ำลงเรื่อยๆ

 

%K = ราคาปิด (วันนี้) - ราคาต่ำสุด (ในช่วง 5 วัน)

ราคาสูงสุด(ในช่วง 5 วัน) - ราคาต่ำสุด (ในช่วง 5 วัน)

 

 

ยกตัวอย่าง สมมติให้ ในช่วง5วัน มีราคาสูงสุด (ไม่ใช่ราคาเฉลี่ยสูงสุดนะครับ) อยู่ที่ 80บ. และต่ำสุด(ไม่ใช่ราคาเฉลี่ยต่ำสุดนะครับ) อยู่ที่ 20บ. เมื่อเข้าสูตร

 

วันนี้ราคาปิดที่ 40 = 40 - 20 = 20/60 = 0.33 (จะเห็นว่าค่า Stoch ต่ำเพราะปิดใกล้จุดต่ำสุด)

80 – 20

วันต่อมาปิดที่ 60 = 60 - 20 = 40/60 = 0.6 (จะเห็นว่าค่า Stoch สูงขึ้นเพราะปิดใกล้จุดสูงสุด)

80 - 20

 

 

*( ส่วน %D(เส้นปะ) = ค่าเฉลี่ย (5 วัน) ของค่า %K)

 

หลักการอ่าน STOCHASTICS

 

 

 

17.1.jpg

สัญญาณ“ซื้อ” เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERSOLD ที่บริเวณระดับต่ำกว่า 20% และควรซื้อเมื่อเกิดสัญญาณ “ซื้อ” จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ขึ้น (บริเวณเส้นเหลือง)

 

สัญญาณ“ขาย” เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERBOUGHT ที่บริเวณระดับสูงกว่า 80% และควรขายเมื่อเกิดสัญญาณ “ขาย” จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ลง (บริเวณเส้นขาว)

 

(ปล. หุ้นบางตัวไม่สามารถใช้เส้น stoch เป็นตัวตัดสินใจซื้อ-ขายได้ เพราะบางตัวมีการสวิงถี่เกินไป)

 

 

“เป็นไงครับ...แอบเห็นส่วนต่างของราคารึยังครับ ถ้าทำได้อย่างนี้ก็กำไรเห็นๆ”

 

 

 

 

หลักการเบื้องต้นในการหาค่า RSI

 

RSI = Relative Strength Index...เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ใช้ในการดูการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้นและสามาถใช้ดูค่าความแกร่งของหุ้น

 

 

วิธีคำนวนหา RSI

 

ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงในวันที่หุ้น
“ขึ้น” (Time Period ปกติอยู่ที่ 14วัน)

ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงในวันที่หุ้น “ลง” (Time Period ปกติอยู่ที่ 14วัน)

 

 

- ถ้าเกิน 70ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over bought หรือ ซื้อกันมากเกินไป เมื่อซื้อกันมากเกินก็แสดงว่าราคาสูงไปแล้ว ราคาหุ้นก็จะเริ่มตกลง

ในความเป็นจริง: ที่ RSI พุ่งขึ้นไปได้นั้นอาจมีนัยยะว่ามันเป็นหุ้นที่แกร่งมาก บางคนไปตั้งขายเมื่อ RSI>70 นั่นก็เหมือนกับคุณไปฝืนแนวโน้มใหญ่ ทำให้กลายเป็นขายหมูไปในที่สุด

 

-ถ้าต่ำกว่า 30ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over sold หรือ ขายกันมากเกินไป ซึ่งแสดงว่าราคาหุ้นถูกจนเกือบต่ำสุด ต่อจากนี้ราคาก็จะเริ่มขึ้น ให้เตรียมตัวซื้อ

ในความเป็นจริง: RSI ใช้บอกความแกร่งของหุ้น แต่คุณกลับพยายามมาซื้อในช่วงที่มันอ่อนแรง ซึ่งจะทำให้คุณขาดทุนซะมากกว่า (วิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อเป็นช่วงเวลาที่ตลาดแกว่งอยู่ในกรอบแคบๆ หรือ sideway นั่นเอง) การเข้าซื้อช่วงนี้นั้น บางทีคุณอาจทำกำไรได้หลายครั้งแต่ในความเป็นจริง หากภาพใหญ่มันเป็น“หุ้นอ่อนแรงและเป็น downtrend” ถ้าคุณพลาดเพียงครั้งเดียว อาจขาดทุนยาวนาน

 

 

"ในช่วงที่ RSI มีนัยยะสำคัญคือ ช่วง 33.33 กับ 66.66 – 66.67" นั่นเพราะว่า “ช่วง 50-66.67” นั้น ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงการขึ้นลงอยู่ที่ 1:1 แต่เมื่อค่า RSIอยู่สูงกว่า 66.67นั้น อัตราส่วนค่าเฉลี่ยจะเป็น 2:1 ซึ่งแปลว่า ค่าเฉลี่ยการขึ้นของราคาจะมีโอกาส “ขึ้น > ลง” ถึง2เท่า(อัตราส่วน 2:1) หรือหมายถึง “แรงซื้อมากกว่าแรงขาย”

ในทางตรงกันข้าม ถ้า RSI เข้า “ช่วง50 – 33.33” นั่นหมายถึง อัตราส่วนที่ราคาจะลงมีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 2เท่า หรือหมายถึง “แรงขายมากกว่าแรงซื้อ”

 

*** เมื่อใดก็ตามที่ RSI มาถึงระดับสำคัญ 2 จุดนี้ก็ยากที่จะกลับตัวไปในทิศทางตรงกันข้าม ส่วนมากก็จะเด้งกลับได้แบบแรงอ่อนๆไม่สามารถไปถึงฝั่งตรงกันข้ามได้ (ส่วนใหญ่จะไปเด้งที่ระดับ 33.33 -> 50 ->ท้ายสุดจะกลับมาที่ 33.33 หรือ 66.66 ตกลงมา 50 และเด้งกลับขึ้นต่อที่ 66.66)

 

17.3.jpg

 

 

จากกราฟตัวอย่างจะเห็นว่า จังหวะการเข้าซื้อ คือ “เส้นเหลืองแนวตั้ง” และ RSI ก็วิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ตัดเส้น 66.67 จนกระทั้งเข้าเขต over bought ซึ่งถือว่าหุ้นขึ้นอย่างมีความแข็งแกร่ง ....หลังจากนั้น จะเห็นว่าเส้น RSI ก็ตกลงมาอยู่หลายรอบมาก แต่ส่วนใหญ่จะลงมาแค่ประมาณเส้น 50 ไม่เคยลงมาแตะเส้น 33.33 “เส้นเหลืองด้านล่าง” เลย

 

ปล. อย่ายึดติดว่าหุ้นทุกตัวจะต้องมีกราฟเป็นแบบนี้...ผมเพียงแต่ให้ข้อสังเกตุไว้ เพื่อที่จะรู้จัก indicator ในหลายๆมุมมองครับ

 

 

 

 

 

หลักการเบื้องต้นในการคำนวน MACD

 

17.7.jpg

 

 

MACD = Moving Average Convegence Divergence เส้นบอกจุดที่ควรซื้อขายหุ้น โดยให้ใช้ประกอบกับเส้น EMA หรือสามารถดูจังหวะการเข้าซื้อ-ขายจากChartของMACDเอง

 

MACD = EMA12 – EMA26

 

จุดเข้าซื้อแนะนำให้เข้าซื้อเมื่อ MACD ตัดเส้น 0 ขึ้น......เพราะนั่นแสดงว่า “ราคาเฉลี่ย12วัน”(ema12) จะต้องมีค่ามากกว่า“ราคาเฉลี่ย26วัน”(ema26) มาติดต่อกันหลายวัน ซึ่งนั่นแสดงว่าราคาช่วงล่าสุดต้องค่อยๆเพิ่มขึ้น ค่าของMACD จึงเป็นบวกได้เรื่อยๆ พอมากขึ้นๆ ก็pot จุดไล่สูงขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งตัดเส้นศูนย์นั่นเอง …

 

SIGNAL LINE = EMA9 ของ MACD

 

อธิบายง่ายๆ.... Signal Line(เส้นปะ) ก็คือ เส้นค่าเฉลี่ย 9วันของเส้น MACD นั่นเอง....ดังนั้น เมื่อ MACD ตัดเส้นค่าเฉลี่ย9วันของตัวเองขึ้น แสดงว่า MACD ณ.เวลานี้มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อ 9วันก่อนแล้วนะนั่นเอง

สังเกตุจากกราฟจะเห็นว่าจังหวะเข้าซื้อ คือ MACD ตัดศูนย์ขึ้นที่เส้นเหสือง ราคาก็ยังไปต่อเรื่อยๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายถึงให้ใช้ macd เป็นสัญญาณในการขาย เพราะมันช้า ประโยชน์ของมัน คือ สามารถบอกแนวโน้มเราได้ว่า น่าจะขึ้นชัวร์...แต่จังหวะขายควรใช้สัญญาณอื่นๆแทน เช่น EMA15 ตัดลงเส้น EMA35 เป็นต้น

 

 

EMA.gif

 

 

เป็นยังไงกันบ้างครับ...อ่านกันเข้าใจมั้ยเอ่ย (^^) ถ้าไม่เข้าใจแนะนำให้ไป click ตารางสอนดูวันที่ว่างแล้วโทรมาลงเรียนเลยครับ เพราะเวลาผมสอนผมจะมี option เสริม คือ การใช้ภาษามือเข้าช่วย555+ (ล้อเล่นนะครับ) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนๆจะสามารถเข้าใจและนำ indicator ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

 

 

“หุ้นตัวเดียวกันแต่เห็นต่างกัน คนมีพื้นฐานเห็นเป็นขาลง...คนไม่มีพื้นฐานกลับเห็นเป็นขาขึ้น”

 

 

 

 

 

 

 

เขียนโดย Manday ที่
icon18_email.gif

 

 

 

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

 

 

 

 

หุ้นแนะนำ, วิธีเลือกหุ้นเด่น, เล่นหุ้นอย่างไรให้ได้กำไร

 

 

 

 

 

%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C+%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2+%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C.jpg

 

“เราต้องคิดให้เป็นหลักวิทยาศาสตร์ การ"เบ่ง" ของวอลุ่ม จะต้องสอดคล้องกับ "การขึ้น" ของราคาหุ้น นักลงทุนที่ก้าวขึ้นมาเป็นรายใหญ่ ต้องเข้าใจหลักการข้อนี้ หุ้นจะเป็นขาขึ้น"ราคา" และ "ปริมาณ" จะต้องเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

 

จั่วหัวด้วยคำสอนของเซียนหุ้นพันล้าน "คุณวิชัย วชิรพงศ์ "หรือที่รู้จักกันในวงการว่า "เสี่ยยักษ์” ผมต้องบอกว่าคำพูดนี้ถือเป็นสูตรสำเร็จก็ไม่ผิดนัก แต่จะมีกี่คนที่ทำได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ

 

ตั้งแต่ผมเริ่มเล่นหุ้นมาจนถึงเดี๋ยวนี้ ผมถือว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ยังไม่เคย “ขายขาดทุน” และที่ไม่ขาดทุนไม่ใช่ว่าผมติดดอยและดื้อถือมาขายตอนได้กำไร แต่ผมมีหลักในการเข้าเทรดโดยดูรอบขึ้นลงของหุ้นเป็นสำคัญ ....จะว่าไปก็ยังมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมยอมขายขาดทุน สาเหตุไม่ใช่เพราะผมซื้อพลาด แต่ที่ผมยอมขายเพราะผมเห็นหุ้นตัวนึงกำลังเด้งแนวรับขึ้นซึ่งเปรียบเทียบกำไรแล้ว ผมสู้ขายขาดทุนและเอาเงินต้นมาลงหุ้นตัวใหม่นี้ดูจะมีกำไรมากกว่า “ซึ่งผมตัดสินใจถูก” ส่วนที่ตัดขาดทุนไปนั้น ผมได้คืนกลับมาภายในเช้าวันรุ่งขึ้น (^^) ...ประเด็นที่เล่าไม่ใช่อยู่ตรงกำไรของผม แต่อยู่ตรงหุ้นตัวที่ซื้อนั้นเป็นหุ้นที่มี fundamental ดีมาก แถมอยู่ช่วงขาขึ้น แต่ที่กำไรไม่วิ่งนั้นเป็นเพราะ Volume ไม่มี

Logo-Homepro-Expo.jpg

 

ขั้นตอนในการเลือกหุ้นทางด้านพื้นฐาน และเทคนิคการดูกราฟเบื้องต้นนั้น..ผมขออนุญาตข้ามไปนะครับเพราะมีเขียนอยู่ในบทความ “อยากเล่นหุ้นฯ”แล้ว ดังนั้นผมขอผ่านมาขั้นตอนหลังจากเลือกหุ้นได้แล้วนะครับ

 

เวลาที่ผมเลือกหุ้นนั้น Mind Map ผมจะเป็นตามนี้ครับ

1. ผมเลือกจากความชอบส่วนตัว เพราะชื่อที่ติดอยู่ในหัวนั้น อย่างน้อยๆผมถือว่ามันต้องมีจุดเด่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น นึกถึงน้ำมันก็ PTT, IRPC นึกถึงบันเทิงก็ Grammy, RS นึกถึงสื่อสารก็ AIS, DTAC ประมาณนี้ครับ

 

2. ผมก็จะเปิดดูงบการเงิน (ตามอ่านได้ในบทความ “อยากเล่นหุ้นฯ”) ของแต่ละบริษัทฯ ว่าภาพที่ผมรู้จักกับความเป็นจริงนั้นแตกต่างกันอย่างไร

 

3. เปิดกราฟดู Trend ณ ตอนนั้น (ถ้าใครไม่มีprogram หลักๆ..ก็ดู Link ตามบทความเช่นเดียวกันครับ)

 

IRPC+%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg

 

4. หลังจากเช็คตัว indicator ต่างๆ และเห็นแล้วว่าเป็น Uptrend ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นน่าสนใจ ผมก็จะตี trendline เพื่อกำหนดกรอบ”แนวรับ” และ “แนวต้าน” ถ้าเห็นว่าอยู่ในรอบที่ทำกำไรได้ผมก็เข้าซื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเข้าช่วงย่อตัวลงมาเด้งแนวรับเพื่อขึ้นทดสอบแนวต้าน พอถึงบริเวณแนวทดสอบผมก็ค่อยพิจารณาปัจจัยต่างๆ ณ เวลานั้นๆอีกที (กราฟตัวอย่างที่ผมยกมา...ผมเข้าซื้อช่วงเส้นแนวตั้งสีเหลือง เพราะย่อลงมาสุดแล้ว และราคากำลังกลับขึ้นไปยืนบน EMA 5 เส้นเขียว)

 

Board_Wide.jpg

 

5. ขั้นตอนต่อไปก็อยู่ตรง Mainหลักของบทความนี้ คือ “เรื่อง Volume” ครับ หุ้นที่ผมซื้อแล้วต้องยอมขายขาดทุนไปนั้นผ่านเกณฑ์ตามที่ผมแจ้งทั้ง 4 ข้อมาหมด แต่กลับไม่มีคนเล่น...ผมถึงบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ

จากนั้นผมลองมาไล่เช็คหุ้นใน Port ตัวเองดู ปรากฎว่าหุ้นทุกตัวที่ทำกำไรให้ผมเป็นกอบเป็นกำนั้น ส่วนใหญ่ติดอันดับต้นๆของ หุ้นที่มีปริมาณซื้อขายสูงสุดของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ....นั่นแสดงว่า “คำพูดข้างต้นนั้น เป็นความจริง”

 

6. วิธีการเช็คดูว่าหุ้นมีVolumeเป็นอันดับที่เท่าไหร่ของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ก็ให้ไปที่ Linkนี้ครับ

=

แล้วไปใส่ชื่อหุ้นตรง ช่อง”ค้นหาข้อมูลหลักทรัพย์” (มุมขวาบน) แล้วกด”go” จากนั้นไปที่ “อันดับในอุตสาหกรรม” (มุมบนซ้าย)

 

%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99+(5).PNG

 

 

7. จากนั้นก็ไปเลือกตรงช่อง “จัดลำดับตาม” ซึ่งเมื่อClick เข้าไปจะมีให้เลือก “ %เปลี่ยนแปลง, ปริมาณ, มูลค่า,ฯลฯ” ในที่นี้เราเลือก “ปริมาณ” แล้วไป click เลือกตรง”มากไปน้อย” แล้วกด “GO”

 

%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3.PNG

 

 

ขั้นตอนนี้เราจะสามรถรู้ว่าหุ้นตัวที่เราเลือกนั้นอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ (โดยการจัดเรียงเราสามารถกำหนดได้เองว่าจะให้จัดเรียงตามอะไร) .....คราวนี้เพื่อนๆก็จะสามารถเลือกหุ้นที่มี Volume ได้ตามที่ต้องการแล้ว

 

หลักสำคัญอีกอย่างหนึ่ง อย่าลืม check ด้วยว่าปริมาณที่ว่านั้น เป็นปริมาณ “ขาย”หรือ”ซื้อ” ...อย่างที่บอกตั้งแต่ตอนต้นว่า “ปริมาณและราคา จะต้องไปในทิศทางเดียวกัน” สังเกตุโดยแบ่งได้เป็นหลายกรณี ดังนี้

 

- ราคาขึ้น ...Volume ซื้อขึ้น => หมายถึง ราคายังมีช่องว่างในการเก็งกำไร คนเลยยังซื้อเพิ่มเพื่อรอขายออก

 

- ราคาลง ... Volume ซื้อลง => หมายถึง ราคาเริ่มลง คนเริ่มรู้ว่าตลาดไม่ต้องการ เลยเลิกซื้อและเริ่มขายออก

 

- ราคาลง... Volumeซื้อขึ้น => หมายถึง มีคนเก็บของ สงสัยไว้เลยว่าเป็นรายใหญ่ทุบราคาลงมาเพื่อเก็บของ

 

- ราคาลง.. ไม่มีVolumeขาย => หมายถึง มีคนเก็บของไว้ไม่ยอมขายออก...เราก็อย่าปล่อย

 

- ราคาลง.... Volumeขายขึ้น => หมายถึง ถ้าเราเข้าไปซื้อก็แสดงว่า เรากำลังเข้าไปรับหุ้นที่คนเขาเริ่มไม่ต้องการ.....

และถ้าขืนเผลอไปซื้อเข้าจริง

 

“ ถึงเวลานั้นถ้าเพื่อนตะโกนเรียกว่า “เม่า” ก็อย่าลืมหันไปขานรับซะล่ะ ei ei

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

 

 

 

อยากเล่นหุ้นต้องอ่านกราฟให้เป็น

....เทคนิควิเคราะห์กราฟหุ้นเบื้องต้นสำหรับมือใหม่

 

(สอนหุ้นมือใหม่)

 

%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599+%25288%2529.PNG

 

 

 

 

 

มาต่อกันครับ...จากบทความคราวที่แล้วที่สอนมือใหม่เล่นหุ้น เพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีประสบการณ์ก็เริ่มเล่นหุ้นเองได้(ขอย้ำครับ เล่นหุ้นต้องพึ่งตัวเอง อย่าพึ่งมาร์/โบรกฯ ไม่มีใครดูแลเงินเราได้ดีเท่าตัวเราเอง) คราวที่แล้วเราร่ายกันมาตั้งแต่ขั้นตอนเลือกโบรกฯ, เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหุ้น, วิธีดูงบฯแบบคร่าว, วิธีคัดเลือกหุ้น จนไปจบตรงการดูกราฟ คราวนี้เราจะมาดูว่าการวิเคราะห์กราฟเพื่อดูว่าหุ้นตัวนั้นดีไม่ดี เขาดูกันยังไง

เข้าไปที่ http://www.doohoon.com/yahoochart.htm เลือกกราฟมา 1 ตัวครับ

 

%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C1.PNG

 

 

 

 

จากกราฟที่เราเลือกมา...เรามาดูช่องบนสุดครับ “เป็นChartราคา” ในภาพแท่งเทียนก็คือราคาในแต่ละวันนั่นเอง ต่อไปมองที่มุมบนซ้ายจะเห็น สีแดง คือ EMA25, สีม่วง คือ EMA50, สีเหลือง คือ EMA100 “มันคืออะไร?”....มัน คือ พืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งมี.....ล้อเล่นครับ555

เส้น EMA ย่อมากจาก Exponential Moving Average คือ เส้นค่าเฉลี่ยของราคาที่มีการให้น้ำหนักราคาค่อนมาทางเวลาใกล้ปัจจุบันมากกว่าราคาในช่วงอดีต...ยิ่งอธิบายยิ่งปวดหัว(-..-“) เอาง่ายๆครับ EMA25 ก็คือ “เส้นค่าเฉลี่ย 25วันแบบเกาะติดสถานการณ์” ละกัน.....หมายถึง ราคาหุ้นเริ่มตั้งแต่วันที่เข้าตลาดวันที่1 ถึงวันที่25 เอามาหาค่าเฉลี่ย แล้วเราก็พล็อตจุดได้ 1จุด จากนั้นวันที่ 2-26 หาค่าเฉลี่ยนเราก็จะพล็อตได้อีก 1 จุด จากนั้นก็วันที่ 3-27หาค่าเฉลี่ยแล้วพล็อตอีก 1จุด...ทำอย่างนี้ต่อกันมาเรื่อยๆก็จะลากได้เป็นเส้น EMA25.......หมายถึง ถ้าเราเห็นราคาในวันนี้เทียบตรงจุดกับ EMA25 แล้วราคาอยู่สูงกว่าเส้นEMA25 นั่นก็หมายความว่า ราคาวันนี้มีคนสนใจซื้อจนสามารถขึ้นราคาสูงกว่า 25วันก่อนได้

 

 

man-question-mistake.jpg

 

พักสายตาซักแป๊ปครับ (^^,)

 

 

พักสายตาซักแป๊ปครับ (^^,)

 

ถ้าไม่เข้าใจอ่านทวนช้าๆจนกว่าจะเข้าใจครับ(^^,) ถ้าเข้าใจแล้วเพื่อนๆก็จะเข้าใจว่า EMA50 ก็คือ เส้นค่าเฉลี่ย 50วัน และEMA100 ก็เฉกเช่นเดียวกัน....โดยมีจุดสังเกตุคือ “เมื่อใดที่ราคาสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยไปได้เรื่อยๆ หุ้นตัวนั้นราคาก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อไหร่ก็ตามที่เส้นค่าเฉลี่ยค่าน้อยตัดเส้นค่าเฉลี่ยมากกว่าขึ้นไปได้ แสดงว่าหุ้นตัวนั้นยิ่งน่าสนใจ เพราะราคามีแต่สูงขึ้นเรื่อยๆ”

*** ถ้าไม่เข้าใจ พักไว้ก่อนครับ หยิบมือถือขึ้นมาโทรมานัดเรียนกับผม555 เพราะผมถือว่าได้ลองพยายามเต็มที่แล้วกับการอธิบายผ่านการเขียนแล้ว(><,”) แต่ไม่สำเร็จ***

 

%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C2.PNG

 

 

 

 

คนที่เข้าใจกลับมาต่อกันครับ....จากchartราคาของ PS(พฤกษา)เห็นมั้ยครับว่า กราฟราคาเริ่มขึ้นมายืนเหนือเส้นEMA25วันได้พักใหญ่ๆแล้ว(เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาปี54) ผมเข้าซื้อช่วงนั้นแหล่ะครับ อิ อิ...จากนั้นราคาก็ทรงตัวยืนบนเส้นมาตลอด จนกระทั่งจุดที่สมบูรณ์ที่สุดคือ “จุดที่เส้นEMA25(แดง)ตัดขึ้นเส้นEMA50(ม่วง)นั่นเอง จนกระทั่งตอนนี้ก็ใกล้ตัดขึ้นเส้นEMA100วันเข้าไปแล้ว...”หุ้นดีจริงๆครับ”

คราวนี้เรามาดูว่าทำไมผมถึงเลือกหุ้นตัวนี้ได้ถูกอย่างกับตาเห็น “ผมใช้ MACDครับ” (กราฟถัดลงมา) ผมขอข้ามชื่อเต็มรวมถึงประวัติความเป็นมาของMACDละกันนะครับ...เอาเป็นว่าวิธีการเลือกหุ้นจาก MACD ก็คือ ถ้าMACDมันพุ่งขึ้นก็แสดงว่าหุ้นตัวนั้นๆมีแนวโน้มที่ราคาจะสูงขึ้นครับ โดยมีเส้นศูนย์เป็นแกนสำคัญ...ในที่นี้ผมถือเส้นศูนย์เป็นผิวน้ำ ตอนที่ผมเลือกซื้อหุ้นตัวนี้ช่วงกลางเดือนธันวา เห็นมั้ยครับว่าMACDกำลังจะตัดขึ้นผิวน้ำ จินตนาการเหมือนปลาโลมาที่ดำน้ำมานานแล้วโผขึ้นผิวน้ำมานั่นแหล่ะครับ... “พอผมเห็น MACDกำลังจะโผพ้นผิวน้ำ + แท่งราคาขึ้นมายืนบนเส้นEMA25ได้...ผมก็เก็บเข้าพอร์ตทันทีครับ” (= =,)

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C3.PNG

 

 

 

 

เอาล่ะ..เพื่อไม่ให้เสียเวลา เรามาดูตัวindicatorตัวถัดไปพร้อมๆกัน นั่นก็คือ “RSI” กับ “Stoch” ....2กราฟนี้คล้ายกันคือ มีแกนแบ่งบนล่างที่ 80 กับ 20...บางคนใช้แกนแบ่ง 70 กับ 30 ครับ

วิธีดูก็คือ เส้น RSI จะวิ่งขึ้นเพื่อบอกtrendราคา และถ้าเมื่อไรตัดแกน80ขึ้น นั่นแสดงว่าเข้าเขต Over bought หรือ “เขต(คนแห่)ซื้อมากเกินไป” ให้ระวังราคาจะตก และเมื่อไหร่ที่เข้าเขตและตัดเส้น 80ลงมาสังเกตุที่กราฟราคาก็จะเห็นว่าราคาก็ตกลงเช่นกัน........(. . )””” (- - )””” (^^) รอ..ร๊อ..รอ...พอเส้นRSI วิ่งลงมาเรื่อยๆจนกระทั่งตัดลงไปในแกน 20..นั่นแสดงว่าเข้าเขต Over sold หรือ “เขต(คนแห่)ขายเยอะเกินไป” อธิบายง่ายๆตามหลักธรรมชาติ สิ่งใดก็ตามที่คนซื้อกันเยอะๆราคามันก็ขยับขึ้น พอมันขึ้นมากๆคนก็เลิกซื้อ ราคามันก็จะตกลง....พอราคาตกลงเรื่อยๆจนเห็นว่ามันต่ำเกินไปแล้ว คนก็หันกลับมาซื้อ....เป็นอย่างนี้ไปตามกลไกตลาด

ส่วนChart Stoch ก็คล้ายๆกับ RSI ต่างกันแค่ Stoch จะมี2เส้น คือ “เส้น K” กับ “เส้น D” ถ้าเส้นKตัดเส้นD ลงราคาก็อาจจะลง....ถ้าตัดขึ้นราคาก็อาจจะขึ้น....ส่วนแกน 80 กับ 20 ก็คล้ายๆ RSI ครับ....แต่มีแอบกระซิบนิดนึงครับ Chart Stoch ผมไม่ค่อยไปดูมากนัก เพราะมันไวเกินไปถ้าจะไปซื้อขายตามที่เขาตัดขึ้นตัดลง นิดหน่อยก็ตัดแล้วครับ...chartสำออยผมไม่ค่อยยุ่ง555

ส่วนChart ล่างสุดก็แสดงถึง Volumeในการซื้อขายของแต่ละวัน อันนี้มีนัยสำคัญแค่ ถ้าไม่มีVolume ก็แปลว่าไม่ค่อยมีคนเล่นหุ้นตัวนั้น ถ้าคุณเข้าไปซื้อเก็บก็ไม่รู้เมื่อไหร่ราคาจะขยับ555......แนะนำครับ “เล่นหุ้นให้เล่นตัวที่มี Volumeครับ”

 

%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99.jpg

 

 

เป็นไงครับเหนื่อยกันหรือยังครับ...ผมเหนื่อยแล้ว(-..-“)ei ei พอแค่นี้ก่อนดีกว่าครับ ท้ายสุดผมหวังว่าเพื่อนๆจะเข้าใจและสามารถวิเคราะห์หุ้นได้ด้วยตัวเองอย่างหลวมๆ.....อย่างน้อยก็ยังดีกว่าโทรศัพท์คุยกับมาร์/โบรกฯ....ฟังเขาแนะนำหุ้นมา.....เข้าซื้อ.....ราคาขึ้น......ดีใจ.....ราคาลง....ใจดีสู้เสือ....ราคาลงอีก....หวังลึกๆถ้ามันขึ้นมาจะขายเท่าทุนก็ยอมละ.....ราคาลงไปอีกนิด......ใจเสีย.....ราคาตกต่ำ......ติดดอย.....”ขอให้วงจรนี้หมดไปจากนักลงทุนชาวไทยครับ”

 

ปล. ถ้าอ่านจบก็........กดLike(ในFacebook Fanpage ชื่อ StockManday)......ติดตามอ่านหุ้นแนะนำฉบับย่อ.....หมั่นเปิดดูทุกเช้า.....หมั่นเข้าพูดคุย..ชื่นชม(^^).......ก้าวลงจากดอยอย่างองอาจ.....ขอบคุณครับ

 

 

เขียนโดย Manday ที่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99.gif

 

 

นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นแนว VI (Value Investment) หรือแนว Technical ท้ายที่สุดจะต้องมีการผสมผสานวิธีการเทรดบางอย่างเข้าด้วยกัน...แนว VI บางทีก็จำเป็นต้องอาศัยกราฟเพื่อดูแนวโน้มภาพใหญ่(อาจจะ5ปี)ว่าตอนนี้เหมาะที่จะเข้าเก็บหุ้นถูกหรือยัง หรือแนวเทคนิคก็จำเป็นต้องดูพื้นฐานบ้างเพื่อให้แน่ใจว่าเราไม่ได้เล่นอยู่กับหุ้นขยะ ผมจึงมักจะแนะนำผู้ที่เข้าอบรมว่าให้ยึดหลักทางสายกลางเข้าไว้

โปรแกรม Metastock ภาพรวมที่นิยมใช้หลักๆเรามักจะเปิดกราฟ 4 กราฟ ประกอบด้วย กราฟราคา 1กราฟและกราฟ indicator อีก 3กราฟ (Stoch, RSI, MACD) ซึ่งทั้ง 4กราฟล้วนมีสัญญาณเข้าซื้อ-ขายในแบบของตัวเอง (หาอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความอื่นๆใน www.stockmanday.com ได้ครับ)

 

 

 

%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.gif

 

 

ซึ่งในที่นี้ผมจะขอยกตัวอย่างการเข้าซื้อโดยอาศัยกรอบ Trendline เป็นแนวทางในการซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไรระยะสั้น ดังนั้นหากท่านมีโปรแกรม Metastockและผ่านการฝึกอบรมวิธีใช้อย่างถูกวิธีแล้ว ท่านก็จะสามารถตีกราฟและกำหนดกรอบในการวิ่งขึ้นลงของราคาได้

 

TrendlineSIDEWAY.jpg

 

 

 

 

หลังจากสามารถกำหนดกรอบการวิ่งของราคาได้ ท่านก็จะรู้ได้ว่า ณ ตอนนี้ราคาอยู่ช่วงไหนของกรอบTrendline หากราคาวิ่งลงมาสู่ “แนวรับ”(ด้านล่างของกรอบที่มีนัยยะ) ก็จะรู้ได้ทันทีว่าเมื่อราคาชนกรอบแนวรับแล้วก็จะมีการเด้งตัวกลับ เพื่อขึ้นไปทดสอบ “แนวต้าน”(กรอบด้านบน)อีกรอบ ดังนั้นสำหรับการเก็งกำไรระยะสั้นก็ให้เข้าซื้อราคาที่บริเวณแนวรับและไปขายออกที่บริเวณแนวต้าน ในกรณีที่ราคาเป็น Uptrend (ขาขึ้น) ท่านยังมีโอกาสถือลุ้นให้ราคาทะลุกรอบแนวต้านเพื่อเก็บกำไรเพิ่มเติมได้

 

 

mlink.jpg

 

 

การเห็นกราฟในภาพรวมยังสามารถช่วยให้ท่านรอดพ้นจากการติดหุ้นราคาสูง หรือที่พูดกันคุ้นหูว่า “ติดดอย” ได้...ดังตัวอย่างที่เห็นในภาพ หากท่านมีโปรแกรมที่สามารถวิเคราะห์หุ้นได้ด้วยตัวเอง ท่านจะเห็นถึงนิสัยการขึ้นลงของราคาและการทิ้งหุ้นได้ ดังนั้นกราฟจึงบอกให้ท่านรู้ว่า ณ ตอนนี้ยังควรที่จะเข้าซื้อหุ้นตัวนั้นๆอยู่อีกหรือเปล่า (ภาพตัวอย่างจะเห็นว่าราคาพุ่งขึ้นสูงและร่วงลงอย่างหนักเป็นรอบๆ และในวงกลมสุดท้ายราคาก็อยู่ในช่วงที่พุ่งขึ้นไปสูง ณ ระดับเดียวกันก่อนหน้านี้....”กล้าซื้อมั้ย”)

 

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประโยชน์จากการที่ท่านสามารถตีกราฟ+วิเคราะห์กราฟหุ้นได้ด้วยตัวเอง หลักสูตรของผมหวังเพียงแค่ให้นักลงทุนสามารถพัฒนาและช่วยเหลือตัวเองได้ และซื้อขายหุ้นผ่านการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลของตัวเอง ไม่ใช่การเทรดที่อ่านจากโพสต์แนะนำที่ขาดเหตุผลประกอบ เลิกซะเถอะครับกับการเทรดหุ้นเพียงเพราะเห็นคำว่า “หุ้น......GOOOOOOOOOOOOOOODD” (^^)

 

ปล. ในคอร์ส..ผู้เรียนจะได้รับข้อมูลราคา 5 ปีย้อนหลังของหุ้นทุกตัว “ฟรี”! เพื่อนำไปใช้ในการตีกราฟและเริ่มอาชีพนักลงทุนอย่างเต็มตัวได้ทันที

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

I Will Do for King added a new photo.

 

481578_565071190174270_2036007219_n.jpg

 

 

318543_570167399664649_555772002_n.jpg

 

 

8637_570134803001242_540984584_n.jpg

 

602752_569148109766578_705019937_n.jpg

 

 

540827_569531376394918_808838459_n.jpg

 

 

64553_569043129777076_298603629_n.jpg

 

 

31580_568070163207706_2133366135_n.jpg

 

66704_569533353061387_288745549_n.jpg

 

 

181880_569534723061250_659638202_n.jpg

ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อะไรคือแรงขับเคลื่อนตลาด

 

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายอย่าง ปัจจัยอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เกิดความผันแปรของอัตราแลกเปลี่ยน คือ ธนาคารกลาง รัฐบาลใช้เงินจำนวนมากในการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของค่าเงิน และยังรวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น อัตราดอกเบี้ย สภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง การเก็งกำไรของนักลงทุน

เราจะคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตลาดได้อย่างไร?

มี 2 วิธีหลักๆ ในการวิเคราะห์ตลาดการเงิน คือ การวิเคราะห์พื้นฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิค, การวิเคราะห์พื้นฐาน จะวิเคราะห์บนพื้นฐานของเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ในขณะที่การวิเคราะห์ทางเทคนิค จะใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหวต่อไป ยังไม่แน่ชัดว่าเทคนิค 2 วิธีนี้ แบบไหนดีกว่ากัน การเทรดระยะสั้น มักจะสนใจการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยเน้นการเคลื่อนไหวของราคา ในขณะที่การวิเคราะห์พื้นฐานจะดูที่มูลค่าของค่าเงินนั้นๆ ในปัจจุบัน ถึงอนาคต เป็นเรื่องสำคัญ หากเราจะพิจารณาทั้ง 2 วิธี ในขณะที่การวิเคราะห์พื้นฐาน ช่วยอธิบายการเคลื่อนไหว ในแนวทางของการวิเคราะห์ทางเทคนิค เช่นการปลี่ยนหรือทะลุแนวรับ-แนวต้าน และเทคนิคช่วยอธิบายตลาดในช่วงที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก แนวรับ-แนวต้าน หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว

การวิเคราะห์พื้นฐาน

การวิเคราะห์พื้นฐาน จะรวมไปถึงปัจจัยทางเศษฐกิจมหภาค มูลค่าสินทรัพย์ และการเมือง, ปัจจัยทางเศษฐกิจมหภาคนั้น รวมไปถึง อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ การว่างงาน เงินสำรองคงคลัง ความสามารถในการผลิต ตลาดทุน ตลาดหุ้น พันธบัตร รวมไปถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยทางการเมือง ดูถึงนโยบาย และความมั่นคงของรัฐบาล

นอกเหนือจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค การวิเคราะห์อีกทาง คือ การวิเคราะห์พื้นฐาน, การวิเคราะห์พื้นฐานจะพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ มูลค่าสินทรัพย์ และการเมือง กุญแจสำคัญในการวิเคราะห์พื้นฐาน คือ การรวมรวบข้อมูลต่างๆ วิเคราะห์ และเข้าสู่ตลาดก่อนที่ข่าวนั้น จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาด ซึ่งช่วงก่อนที่ผลของข่าวจะแสดงออกในตลาดนั้น คือช่วงที่เหมาะในการเข้าสู่ตลาด

ตัวอย่างของปัจจัยพื้นฐาน ที่ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน:

  • การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ ธนาคารกลางแห่งยุโรป
  • การเติบโตของ GDP รายไตรมาศ เฉพา GDP ในภาพรวมของประเทศจึงจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาด
  • อารมณ์ของตลาด การคาดการณ์ของตลาด ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ จนถึง 2 วัน ก่อนถึงวันประกาศข่าว และความคาดหวัง จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของตลาด ก่อนการประกาศ และหลังประกาศข่าว
  • การเคลื่อนไหวทางการเมือง การเลือกตั้ง การก่อการร้าย เป็นตัวอย่างของข่าวที่มีผลต่อตลาด
  • ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลักๆ เช่น Institute of Supply Management (ISM) ของสหรัฐอเมริกา และ Purchasing Management Index (PMI) ในยุโรป
  • ภาคการผลิตระดับประเทศ
  • ข่าว US nonfarm payrolls (ดูการจ้างงานใหม่) ข่าว Michigan sentiment ในสหรัฐอเมริกา, IFO index ของเยอรมัน และ Tankan quarterly survey ของญี่ปุ่น

 

ช่องว่างของอัตราแลกเปลี่ยน อาจเกิดขึ้นได้ในตลาด ซึ่งธนาคารกลาง จะเข้ามาทำการซื้อ-ขาย สกุลเงินของตน เทียบกับสกุลอื่น หรือประสานงานกับธนาคารกลางอื่น หรืออาจทำให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น หรือ ลดลง

การวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิค จะดูจากราคาในอดีต และแรงซื้อ-ขายในปัจจุบัน เพื่อหาทิศทางในอนาคต การวิเคราะห์จะเน้นจากการพิจารณากราฟ และแนวโน้ม (ทั้งสั้น และยาว) เพื่อดูโอกาสในการเข้าซื้อ-ขาย เมื่อตลาดเปลี่ยนทิศทาง ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณากราฟระยะสั้น-ยาว เช่นกราฟ 5 นาที, 15 นาที 1 ชั่วโมง หรือกราฟรายวัน

ผู้บริหารกองทุน นักเทรด และนักลงทุน จะพัฒนาแนวทางการเทรดอยู่เสมอ เพราะเทคนิคที่ใช้ได้เมื่อวาน อาจใช้ไม่ได้ในวันนี้

การเริ่มต้นกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ ทฤษฎีดาว์น ได้เข้ามาเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งเกิดจากการรวบรวมข้อมูลของตลาดหุ้นนานหลายปีของ Charles Dow

การวิเคราะห์ทางเทคนิค เชื่อว่า การเคลื่อนไหวของราคา เป็นผลมาจากข้อมูลทั้งหมด เพราะด้วยข้อมูล จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกราฟ ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ราคาที่เคลื่อนไหวในตลาด เกิดจากส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนักเทรด นักลงทุน ผู้บริหารกองทุน การวิเคราะห์ทางเทคนิค การวิเคราะห์พื้นฐาน และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะพิจารณาการเคลื่อนไหวของกราฟ โดยรวม เพื่อมองภาพในอนาคต

การวิเคราะห์ทางเทคนิค เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ ในการดูแนวโน้มตลาด และจุดเปลี่ยนแนวโน้ม นักลงทุน หรือ นักเทรด จะดูพื้นฐาน และทำรายได้จากการดูแนวโน้ม หรือจุดเปลี่ยนแนวโน้ม เพราะเทคนิคสามารถใช้ได้ในหลายกราฟเวลา ซึ่งสามารถพิจารณาได้ทั้งแนวโน้มระยะสั้น และแนวโน้มระยะยาว

อะไรคือสิ่งที่สำคัญกว่า "ทำไม"?

มีคำกล่าวอยู่ว่า “การวิเคราะห์ทางเทคนิค รู้ที่ราคา แต่ไม่รู้ถึงคุณค่า” นักเทคนิค ที่วิเคราะห์ทางเทคนิค มองอยู่เพียง 2 เรื่อง:

  • ราคาปัจจุบันอยู่ที่เท่าไหร่?
  • ที่ผ่านมา อะไรทำให้ราคาเคลื่อนไหว?

 

ราคา คือ ผลที่เกิดขึ้นของการต่อรองระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ เพื่อหาทิศทางของราคาในอนาคต และด้วยการพิจารณาเฉพาะราคา การวิเคราะห์ทางเทคนิค จึงเป็นการนำเสนอทางตรง ส่วนพื้นฐานนั้น จะดูถึงเหตุผลของราคานั้น สำหรับนักวิเคราะห์ทางเทคนิค การพิจารณาเหตุผลที่ราคาอยู่ตรงไหนนั้น ดูจะไม่จำเป็น และยุ่งยากเกินไป บางครั้ง อาจทำให้คาดการณ์สูง หรือต่ำเกินไป นักวิเคราะห์ทางเทคนิค จึงสนใจเฉพาะ อะไร มากกว่า ทำไม – ทำไมราคาวิ่งขึ้น นั่นก็เพราะคนซื้อมากกว่าคนขาย นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ราคาของสิ่งใดๆ ก็คือมูลค่าองสิ่งนั้น ที่คนเต็มใจจ่าย ใครจะต้องการรู้ว่าทำไม เพราะคุณอาจไม่มีทางรู้ว่า ทำไม

นักวิเคราะห์ ส่วนมาก จะพิจารณาแนวโน้มระยะยาวก่อน แล้วจึงมาพิจารณาระยะสั้น ซึ่ง การวิเคราะห์ อาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน:

  • พิจารณาจากดัชนีตลาดหุ้นใหญ่ๆ เช่น S & P 500, Dow Industrials, NASDAQ and NYSE Composite, โลหะมีค่าต่างๆ หรือ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • วิเคราะห์ตามกลุ่มของอุตสาหกรรม
  • วิเคราะห์แต่ละตัว เทียบกับกลุ่ม

 

ความสวยงามของการวิเคราะห์ทางเทคนิค อยู่ที ความยืนหยุ่นในการวิเคราะห์ เพราะไม่ว่าจะพิจารณาอะไร ยังคงใช้พื้นฐานในการวิเคราะห์แบบเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางด้สนเศรษฐศาสตร์ เพื่อการวิเคราะห์กราฟ เพราะกราฟ ก็ คือ กราฟ ไม่สำคัญว่าจะดูที่กราฟ 2 วัน หรือ 2 ปี ไม่สำคัญว่าจะเป็นตลาดหุ้น ตลาดฟิวเจอร์ เพราะพื้นฐานของเทคนิค คือ แนวโน้ม แนวรับ แนวต้าน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกกราฟ อาจดูไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย การที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยการศึกษาอย่างจริงจัง เปิดกว้าง เพราะการวิเคาะห์ทางเทคนิคอาจจะยุ่งยาก หรือ ง่าย ขึ้นอยู่กับตัวนักลงทุนเอง

ภาพรวมของแนวโน้ม:

ขั้นตอนแรกคือการพิจารณาแนวโน้ม “แนวโน้ม คือเพื่อน” ซึ่งสามารถหาได้จากการใช้เส้นแนวโน้ม หรือเส้น moving average หรือทั้งสองเส้น – เส้น moving average คือ ค่าเฉลี่ยของราคาในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่เสมอ เพราะเราใช้เวลา X ย้อนหลังจากปัจจุบัน หากราคายังคงอยู่เหนือเส้น moving average แสดงว่า ยังคงเป็นแนวโน้มขาขึ้น หากเส้นแนวโน้ม อยู่เหนือเส้นราคา ก็เป็นสัญญาณแนวโน้มลง ในแนวโน้มขาขึ้นเมื่อจุดต่ำสุด ยังคงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และในทางกลับกัน หากจุดสูงสุด ค่อยๆ ลดลงมาเรื่อยๆ ก็จะพิจารณาเป็นแนวโน้มขาลง

แนวรับ และแนวต้าน:

แนวรับ และแนวต้าน เป็นจุดสำคัญที่นักวิเคราะห์จะพิจารณา แนวรับ และแนวต้าน เป็นพื้นที่ ที่ราคาอาจไม่สามารถเคลื่อนผ่านไปได้ง่าย ทั้งลง และขึ้น (รับ และต้าน) ซึ่งเป็นจุดที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ในการเข้าซื้อ-ขาย แนวรับ คือแนวราคาเดิมที่ ต่ำว่าราคาในปัจจุบัน ซึ่งมองว่าเป็นแนวรับ การที่ราคาทะลุแนวรับลงไป จะพิจารณาเป็นขาลง ส่วนแนวต้าน เป็นแนวราคาเดิม ที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน การที่ราคาทะลุแนวต้านขึ้นไป อาจพิจารณาเป็นขาขึ้น แนวคิดพื้นฐาน ของแนวรับ แนวต้าน คือแนวของราคาในอดีต ที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต

ทฤษฎีสุ่ม:

แนวคิด “ทฤษฎีเดินสุ่ม” กล่าวว่า ราคานั้น เคลื่อนไหวแบบสุ่ม โดยการเคลื่อนไหวนั้น ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับในแต่ละช่วง ซึ่งการเคลื่อนไหวนั้น เร็วเกินกว่าที่จะคาดเดาได้ อีกทั้ง ข้อมูลพื้นฐาน (ข่าว-กิจกรรมทางเศรษฐกิจ) ก็เกิดขึ้นแบบสุ่ม การคาดเดานั้นไร้ความหมาย แต่ก็ยังมีจุดดีในทฤษฎีนี้ คือการที่มันอาจจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการลงทุน ทฤษฎีเดินสุ่ม ถูกนำเสนอขึ้นเมื่อ 25 ปี ก่อน ในสภาวะของตลาดอีกแบบ เมื่อสถาบันการเงินใหญ่ๆ และโบรกเกอร์ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ และนักลงทุนรายย่อย ยังคงรับข้อมูลจากสถาบัน และโบรกเกอร์ แต่ด้วยเทคโนโลยีของระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ข้อมูลได้เปิดกว้างสำหรับนักลงทุนทุกระดับ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำ หรือ ไม่มีเลย ไม่เพียงแต่การเข้าถึงข้อมูล แต่อินเตอร์เน็ท ยังทำให้ทุกคนเข้าถึงได้พร้อมๆ กัน ซึ่งทำให้ทุกคนได้รับข้อมูลแบบทันที และสามารถตัดสินใจในการลงทุนได้อย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน

การวิเคราะห์กราฟพื้นฐาน:

 

 

กราฟคืออะไร?

กราฟราคา คือการวาดรูปของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด อธิบายลึกกว่านั้น กราฟ คือการแสดงจุดราคาในช่วงเวลา โดยจะมีข้อมูล ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด

รูปแบบกราฟ:

ความเข้าใจส่วนมากขอพวกเรา เกี่ยวกับรุปแบบของกราฟ มาจากการศึกษาของ Richard Schabacker การวิเคราะห์ทางเทคนิค และการทำกำไรจากตลาดหุ้น อยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์รูปแบบกราฟ ในการวิเคราะห์กราฟหุ้น แนวโน้ม (ปี 1948) Edwards และ Mageeให้เครดิต Schabacker สำหรับแนวคิดใน 1 ใน 4 ส่วนแรก ของหนังสือของพวกเขา เรายังยอมรับ Messrs. Schabacker, Edwards และ Magee, และ John Murphy ที่นำเสนอแนวคิดรูปแบบกราฟ

การวิเคราะห์รูปแบบกราฟ อาจจะดูชัดเจน แต่ไม่ง่าย ต้องอาศัยเทคนิคในการอ่านกราฟ อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรมากไปกว่าการจดจำรูปแบบของกราฟ และนำมาใช้ โดยทั่วไปจะเป็นการผสมรวมของรูปแบบกราฟต่างๆ บางรูปแบบ อาจบอกความต่อเนื่อง บางรูปแบบบอกการกลับตัว การวิเคราะห์จึงขึ้นกับการศึกษา และประสบการณ์ รวมทั้งเทคนิค และพื้นฐาน และรวมไปถึงการเลือกใช้ที่เหมาะสม รวมทั้งการจดจำ และมองหารูปแบบของกราฟ

ตัวอย่างรูปแบบกราฟ เช่น Double tops และ bottoms, Head และ Shoulder,ธง, สามเหลี่ยม, Channels, Key Reversals, Island reversals และอื่นๆ ซึ่งแต่ละแบบมีวิธีการมอง และวิเคราะห์ที่ต่างกัน แต่บนพื้นฐานเดียวกัน คือ ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด

ยังมีเครื่องมืออื่นๆ อีก เช่น เส้นแนวโน้ม แนวรับแนวต้าน, percentage retracements, Fibonacci retracements, Time cycles, Elliot Wave Theory Analysis, Gann Analysis และอื่นๆ รวมทั้งการวิเคราะห์เครื่องมือชี้วัดต่างๆ:

ซึ่งมีหลากหลายวิธีในการนำมาใช้ร่วมกันได้

นี่เป็นตัวอย่างของอินดิเคเตอร์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย:

  • Accumulation Distribution
  • Advance-Decline lines and ratios
  • Arms Index (TRIN)
  • Bollinger Bands
  • Commodity Channel Index
  • Moving Averages (of various types)
  • Moving Average Convergence Divergence
  • McClellan Osc
  • Momentum
  • On Balance Volume
  • Parabolic SAR
  • Relative Strength Index (RSI)
  • Stochastic (fast and slow)
  • Volatility

  • FXOpen Forex - What Moves Forex

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...