ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ผวาโรคระบาดการเงิน!!! สะพัดแบงก์ใหญ่จีนเลิกค้าตราสารกับแบงก์ยุโรป!!!

 

 

BNP%20Paribas%20and%20Credit%20Agricole%20in%20Geneva%20-%20Reuters.jpg

 

รูปภาพ : อาคารของบีเอ็นพี พาริบาส์และเครดิต อะกริโคลในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2008

 

ที่มาภาพ : Reuters

ธนาคารแบงก์ออฟไชน่า ผู้ทำตลาด (Market Maker) รายใหญ่ในตลาดเงินตราต่างประเทศในประเทศจีนได้หยุดการทำธุรกรรมฟอร์เวิร์ดเงินตราต่างประเทศและการซื้อขายสวอปส์กับธนาคารหลายแห่งในยุโรปเนื่องจากวิกฤตหนี้ที่ขยายตัวมากขึ้นในยุโรป แหล่งข่าว 3 รายที่ใกล้ชิดเรื่องนี้โดยตรงเปิดเผยกับรอยเตอร์เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน 2011 ที่ผ่านมา

 

ขณะที่ธนาคารจีนอีกแห่งหนึ่งก็ได้หยุดการค้าสวอปส์อัตราดอกเบี้ยกับธนาคารยุโรปบางแห่งด้วยเช่นกัน แหล่งข่าวจากธนาคารดังกล่าวระบุ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าธนาคารจีนหลายแห่งได้ร่วมวงกับสถาบันการเงินจำนวนมากขึ้นๆในการลดส่วนเปิดความเสี่ยงที่มีต่อประเทศในกลุ่มเงินยูโรที่กำลังเผชิญวิกฤตอยู่ แหล่งข่าวนี้ไม่ขอเปิดเผยตัวตนและธนาคารที่เขาสังกัดอยู่กับรอยเตอร์เนื่องจากประเด็นความอ่อนไหวของเรื่องนี้

 

ขณะที่แหล่งอื่นๆระบุว่า ธนาคารแบงก์ออฟไชน่าได้หยุดการซื้อขายฟอร์เวิร์ดและสวอปส์กับธนาคารยุโรปหลายแห่ง แต่พวกเขาระบุเพียงชื่อของธนาคารยักษ์ใหญ่จากฝรั่งเศสอย่าง โซซีเอเต้ เจเนอรัล, เครดิต อะกริโคล และ บีเอ็นพี พาริบาส์

 

แหล่งข่าวยังบอกอีกว่า การตัดสินใจของแบงกืออฟไชน่าส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินเหล่านี้โดยมูดี้ส์

 

หนึ่งในแหล่งข่าวยังบอกอีกว่า การตัดสินใจของธนาคารแบงก์ออฟไชน่าอาจมีการบังคับใช้กับสาขาต่างๆของะนาคารรวมถึงตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศด้วย

 

"นอกเหนือจากการซื้อขายในตลาดทันที (Spot Trading) การซื้อขายสวอปส์และฟอร์เวิร์ดทั้งหมด (กับธนาคารหลายแห่งๆในยุโรป) จะถูกหยุดทั้งหมด" แหล่งข่าวอีกรายที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้กล่าวกับรอยเตอร์

 

แหล่งข่าวทั้งหลายปฏิเสธที่จะเปิดเผยตัวตนเพราะพวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พูดออกสื่อ ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของแบงก์ออฟไชน่าปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อเรื่องนี้

 

นอกจากนั้นแล้วแบงก์ออฟไชน่าก็ได้หยุดการซื้อขายกับยูบีเอส เอจีด้วย หลังจากธนาคารยักษ์ใหญ่ของสวิสรายนี้ประกาศว่า การซื้อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตของนักค้าตราสารรายหนึ่งส่งผลให้เกิดความสูเญสียกว่า 2,300 ล้านดอลลาร์ แหล่งข่าวระบุ

 

หลังจากข่าวนี้ถูกเผยแพร่ รอยเตอร์ได้ติดต่อไปยังโฆษกของโซซีเอเต้ เจเนอรัล, ยูบีเอส, เครดิต อะกริโคล และ บีเอ็นพี พาริบาส์ แต่ทั้งหมดปฏิเสธที่จะให้ความเห็น

 

"นี่เป็นการย้ำเตือนว่า คู่ค้าบางรายในตลาดเริ่มรู้สึกไม่สบายใจบ้างแล้ว ... เรามีธนาคารหลายแห่งซึ่งมีการกู้เงินมากไป (Over-Leveraged)" นายเอเดรียน ฟอสเตอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดการเงินของธนาคารราโบแบงก์ในเอเชียกล่าวกับรายการรอยเตอร์อินไซเดอร์ทางโทรทัศน์

 

"ผมเดาว่า ธนาคารจีนหลายแห่งไม่ใช่ผู้ให้สภาพคล่องหรือแหล่เงินทุนรายใหญ่แก่ธนาคารในยุโรป ดังนั้นแล้วมันจึงไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจของธนาคารเหล่านั้นหากคุณจะมองเช่นนั้น แต่มันเป็นการส่งคำเตือนที่สำคัญไปว่า มันมีความเสี่ยงอยู่มากมายจากการกระทำเช่นนี้"

 

ความตึงตัวในตลาดระหว่างธนาคาร

 

ธนาคารในเอเชียและที่อื่นๆกำลังตัดลดวงเงินสินเชื่อและส่วนเปิดความเสี่ยงต่อธนาคารในยุโรปในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงในกรณีที่กรีซหรือประเทศชายขอบอื่นๆในยุโรปเกิดการผิดนัดชำระหนี้ขึ้น

 

ธนาคารในยุโรปได้หันเข้าหาการทำสวอปส์กับธนาคารกลางยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการระดมเงินดอลลาร์ในตลาดซึ่งขณะนี้มีต้นทุนในการกู้ยืมสูงและความกังวลในวงกว้างเกี่ยวกับความเสี่ยงจากคู่สัญญาในตลาดการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร

 

จนถึงตอนนี้การตัดสินใจหยุดการค้าสวอปส์อัตราดอกเบี้ยได้เผยถึงความกังวลที่มากขึ้นและการตรวจสอบแม้กระทั่งการซื้อขายที่ไม่ได้มีการชำระเงิน

 

"ความเคลื่อนไหวของแบงก์ออฟไชน่าเพียงแค่เน้นย้ำถึงสิ่งที่เป็นแนวโน้มโดยทั่วไปในตลาดการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารในช่วงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น: กล่าวคือ ธนาคารยุโรปบางแห่งกำลังพบว่ามันยากมากที่จะระดมเงินดอลลาร์และความเชื่อมั่นจากคู่สัญญาในตัวพวกเขาก็กำลังเหือดแห้งไปอย่างรวดเร็ว" นักกลยุทธ์ท่านหนึ่งในธนาคารญี่ปุ่นในสิงคโปร์กล่าวกับรอยเตอร์โดยไม่เปิดเผยชื่อเพราะเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พูดออกสื่อ

 

"การเทขายตราสารหนี้ในเอเชีย พันธบัตรในประเทศ เงินตราต่างประเทศ ทั้งหมดคืออาการของการที่พวกเขาพยายามที่จะสร้างกันชนให้กับการระดมเงินทุนที่เป็นดอลลาร์ ขณะที่ผมไม่คาดคิดว่า สิ่งนี้จะมีผลกระทบอะไรมากมายต่องบกำไรขาดทุนของพวกเขา มันเพียงชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้ความเชื่อมั่นโดยรวมของตลาดเปราะบางแค่ไหน"

 

บรรดาโบรกเกอร์ต่างกล่าวว่า ความระมัดระวังที่มากขึ้นที่มีต่อคู่สัญญาไม่ได้กระทบต่อการซื้อขาย นั่นก็เป็นเพราะ การซื้อขายยังคงสามารถผ่านไปยังบุคคลที่ 3 ที่มีความประสงค์มากกว่าได้ แต่ในที่สุดอันอาจส่งผลกระทบก็ได้

 

"ด้วยความที่มีข่าวร้ายๆมากมายมาจากยุโรป ผมคิดว่าจะมีธนาคารมากขึ้นที่ทำตามนี้ (ทำตามแบงก์ออฟไชน่า)" นักค้าเงินรายหนึ่งที่ไม่เปิดเผยชื่อกล่าวกับรอยเตอร์เมื่อถามถึงตลาดสวอปส์เงินตราต่างประเทศ

 

ธนาคารใหญ่ๆรายอื่นๆของจีนอย่างอินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า, ไชน่าคอนสตรักชั่นแบงก์ และอกริคัลเจอรัลแบงก์ออฟไชน่า ทั้งหมดกล่าวกับรอยเตอร์ว่า พวกเขายังคงดำเนินธุรกิจตามปกติ

 

ที่มา ข่าว Real Time จากโปรแกรม Reuters 3000 Xtra

 

ไอดีข่าว nL3E7KK08A

 

แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ซิงเจียยู่อี่ ซิงนี้ฮวกไช้

ขอให้มั่งมีศรีสุข แข็งแรง

ได้พบสิ่งดีๆตลอดปีมังกร และตลอดไปค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใช่ที่เป็นแดงเขียวหรือเปล่าครับ หรือใช้ 3 เส้นที่น้ำเงินแดง ครับ กำลังศึกษาอ่านไล่มาเรื่อยๆ อยู่ครับแต่เยอะจริงๆๆ ตั้งใจสู้ๆๆครับ ขอบคุณทุกคนนะครับ จากมือใหม่ :gd

 

 

 

สีเขียวเเดงเป็นเเ สีเท่านั้นนะครับ ที่บ่งบอกจุดเข้าซื้อเเละขาย คุณจะตั้งเป็นสีอะไรก็ได้ เพราะสีพวกนี้มันมาจากการเขียน program สั่งมันอะครับ

มันเป็นเเค่การนิยาม จุดเข้าซื้อเเละจุดขายเท่านั้น เเต่หัวใจการลงทุนอยู่ที่ การคุมความเสี่ยง จำนวนเงินที่เราลงไปเเล้วเราสามารถคุมเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง ไม่เล่นเกินตัว นั้นคือหัวใจของการลงทุนมากกว่าครับ

 

กราฟสำคัญไม่มาก เพราะไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าราคาจะขึ้นลงหรือไปทิศทางไหนที่เเน่นอนได้ เเต่เราสามารถคุมความเสี่ยงได้ด้วยตนเองครับ

ลองอ่านบทความหรือข้อความในกระทู้นี้เเต่เเรก ไล่ๆมาเรื่อยๆครับ

 

ไม่เข้าใจส่วนไหน ถามได้เสมอครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชอบเพลงที่คุณเสม เอามาจัง เด๊กๆๆ ที่ร้องน่ารัก ขอบคุณค่ะ

 

ซินเจี่ยยู่อี่ ซินนี่ฮวกใช้นะ ค่ะ คุณกระบี่ไร้ใจ ขอให้ร่ำรวยเงินทอง

 

และความสุข ตลอดปีค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

万事如意 ว่านซื่อหยูอี้ ….สมความปรารถนา

 

 

恭喜发财 กงสี่ฟาไฉ..ขอให้ร่ำรวย

 

财源广进 ไฉเหยียนกว่างจิ้น…เงินทองไหลมา

 

招财进宝 เจาไฉ่จิ้นเป่า..เงินทองไหลมา

 

年年有余 เหนียนเหนียนโหย่วหยวี๋..เหลือกินเหลือใช้

 

事事顺利 ซื่อซื่อซุ่นลี่..ทุกเรื่องราบรื่น

 

金玉满堂 จินยวี้หม่านถัง..ร่ำรวยเงินทอง

 

一本万利 อิ้เปิ่นว่านลี่…กำไรมากมาย

 

大吉大利 ต้าจี๋ต้าลี่…ค้าขายได้กำไร

 

年年发财 เหนียนเหนียนฟาไฉ…รำรายตลอดไป

 

龙马精神 หลงหม่าจินเสิน..สุขภาพแข็งแรง

 

吉祥如意 จี๋เสียงหยูอี้..สมปรารถนา

 

好运年年 เห่ายวิ่นเหนียนเหนียน..โชคดีตลอดไป

 

四季平安 ซื่จี้ผิงอัน..ปลอดภัยตลอดปี

 

一帆风顺 อี้ฝันฟงซุ่น..ทุกอย่างราบรื่น

 

万事如意 ว่านซื่อหยูอี้ ….สมความปรารถนา

 

恭喜发财 กงสี่ฟาไฉ..ขอให้ร่ำรวย

 

财源广进 ไฉเหยียนกว่างจิ้น…เงินทองไหลมา

 

招财进宝 เจาไฉ่จิ้นเป่า..เงินทองไหลมา

 

年年有余 เหนียนเหนียนโหย่วหยวี๋..เหลือกินเหลือใช้

 

事事顺利 ซื่อซื่อซุ่นลี่..ทุกเรื่องราบรื่น

 

金玉满堂 จินยวี้หม่านถัง..ร่ำรวยเงินทอง

 

一本万利 อิ้เปิ่นว่านลี่…กำไรมากมาย

 

大吉大利 ต้าจี๋ต้าลี่…ค้าขายได้กำไร

post-4901-0-93837700-1327293459.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เคราะห์ ต่างประเทศ

 

 

 

แบงก์ยุโรปกักเงินทุบสถิติ ชนวนวิกฤตสินเชื่อรอบใหม่

 

 

 

 

 

 

โดย...นันทิยา วรเพชรายุทธ

แม้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะย่ำตามรอยธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ทั้งการอัดฉีดเงินเข้าระบบครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ 4.89 แสนล้านยูโร และการหั่นอัตราดอกเบี้ยลงมาต่ำสุด 1% เพื่อช่วยให้เกิดสภาพคล่องหมุนเวียนในระบบได้อย่างต่อเนื่อง ทว่าสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในตลาดยุโรปกลับตรงกันข้ามและดูจะย่ำแย่กว่า ที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้เสียด้วย

เพราะปริมาณเงินฝากของบรรดาแบงก์พาณิชย์ยุโรปในอีซีบีเมื่อวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา กลับพุ่งสูงสุดทุบสถิติเป็นประวัติการณ์ที่ 5.28 แสนล้านยูโร...!

เป็นสถิติใหม่ที่เกิดขึ้นแทบจะรายวัน ทั้งที่ปกติแล้วแบงก์พาณิชย์ไม่นิยมฝากเงินกับอีซีบี เพราะได้ดอกเบี้ยแค่ 0.25% ซึ่งน้อยกว่าปล่อยกู้กันเองระหว่างแบงก์พาณิชย์ด้วยกัน

ตัวเลขนี้จึงเป็นสัญญาณ (น่าวิตก) อย่างชัดเจนว่า ยุโรปอาจต้องเผชิญวิกฤตการณ์สินเชื่อ (Credit Crunch) ทับซ้อนกับวิกฤตการณ์หนี้สาธารณะ (Public Debt Crisis) ที่กำลังย่ำแย่อยู่

คำอธิบายหนึ่งที่อาจช่วยให้เห็นสถานการณ์นี้ได้กระจ่างมากขึ้นก็คือ วิกฤตการณ์หนี้ยุโรปไม่ใช่ปัญหาเรื่องระดับหนี้สูงเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของ “ปัญหาด้านความเชื่อมั่น” ที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่และฉุดให้สถานการณ์ยุโรปในภาพรวมย่ำแย่ลง อาทิ ความไม่เชื่อมั่นว่ายุโรปจะแก้ปัญหาได้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในหลายชาติสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงต้นทุนการกู้ยืมเงินของรัฐบาลนั้นๆ แพงขึ้นไปด้วย จนกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ไม่สามารถระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรและต้องหันไปขอกู้เงินจากกลุ่มประเทศยู โรโซนและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เป็นทางเลือกสุดท้ายแทน

B3E6DBDFA271444DB01CD18A0E1846DE.jpg

และขณะนี้ ปัญหาความไม่เชื่อมั่นก็กำลังขยายวงไปถึงภาคการธนาคาร เมื่อแบงก์พาณิชย์ไม่ยอมปล่อยกู้ให้กับทั้งลูกค้าทั่วไปและแบงก์พาณิชย์ด้วย กันเอง

ในภาวะปกตินั้น แบงก์พาณิชย์จะไม่นิยมฝากเงินกับอีซีบี เพราะได้ดอกเบี้ยต่ำสุด แต่มักจะปล่อยกู้ระหว่างแบงก์พาณิชย์ด้วยกันเองเพื่อกินดอกเบี้ยกู้ยืมข้าม คืนที่สูงกว่า ทว่าความไม่เชื่อมั่นว่ายุโรปจะแก้วิกฤตหนี้ที่ยืดเยื้อมากว่า 2 ปีได้ ทำให้แบงก์พาณิชย์ต่างไม่มั่นใจกัน และหันไปลงทุนกับช่องทางที่ปลอดภัยที่สุดด้วยการฝากเงินกับอีซีบี

สเตฟาน ชิลเบอ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารเอชเอสบีซี ทรินคอส ในเยอรมนี ได้กล่าวกับเอเอฟพีไว้ว่า ความไม่เชื่อมั่นภายในภาคธนาคารด้วยกันเองเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้ เกิดการฝากเงินกับอีซีบีในปริมาณมหาศาลเช่นนี้

ขณะที่ไจล์ส โมเอ็ค นักวิเคราะห์จากธนาคารดอยช์แบงก์ เปิดเผยกับเอเอฟพีว่า แบงก์พาณิชย์เหล่านี้อาจตุนเงินสดไว้เพื่อนำไปจ่ายหนี้ของตัวเองที่ไม่ได้ น้อยหน้าไปกว่าหนี้ของภาครัฐ

ปัจจุบัน แบงก์พาณิชย์ในกลุ่มประเทศยูโรโซน 17 ประเทศ มีหนี้ที่ต้องรีไฟแนนซ์ในไตรมาสแรกของปี 2555 นี้ ถึงราว 2 แสนล้านยูโร หรือคิดเป็นหนี้ที่ต้องรีไฟแนนซ์ตลอดทั้งปีนี้ 6 แสนล้านยูโร และยิ่งไปกว่านั้น แบงก์พาณิชย์ชั้นนำราว 70 แห่งทั่วยุโรปยังถูกภาครัฐกดดันให้เพิ่มสัดส่วนการกันสำรองหนี้เพื่อเพิ่ม ภูมิต้านทานในยุโรปให้มากขึ้นด้วย

แนวโน้มดังกล่าวเริ่มย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่อีซีบีออกโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำชนิดซูเปอร์โลว์ 3 ปี วงเงิน 4.89 แสนล้านยูโร เมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว เพื่อหวังกระตุ้นสภาพคล่องในตลาดไม่ให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัว โดยหวังว่าแบงก์จะนำเงินก้อนนี้ไปปล่อยสินเชื่อให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจ เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว และยังหวังว่าแบงก์จะนำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างอิตาลีหรือสเปน เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ตลาดด้วย

งานนี้มีแบงก์ให้ความสนใจกันอย่างล้นหลาม 523 แห่ง ทว่าเงินที่ได้กลับไม่ได้ถูกนำไปหมุนเวียนในระบบอย่างที่คาดหวัง

และความน่ากลัวหากเกิดวิกฤตสินเชื่อก็คือ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเต็มๆ กับผู้บริโภคและภาคธุรกิจในยุโรป ที่อาจเกิดภาวะชอร์ตหรือขาดเงินมาหมุนเพราะขอสินเชื่อกับแบงก์ไม่ได้ และจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่อีก 2 ประการตามมาคือ เศรษฐกิจยุโรปอาจดิ่งลงสู่ภาวะถดถอยและการค้าระหว่างประเทศจะซบเซาลง โดยเฉพาะบรรดาเอกชนที่เป็นคู่ค้าโดยตรงกับยุโรป

ซึ่งไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย...

แม้ปัจจุบันยุโรปจะไม่ใช่ประเทศคู่ค้าหรือตลาดส่งออกรายใหญ่ 1 ใน 10 ของไทยอีกต่อไป ทว่าปริมาณการส่งออกของไทยไปยังตลาดยุโรปก็ยังนับว่าเป็นจำนวนเงินมหาศาล กว่า 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป ซึ่งปัญหาหนี้ยุโรปได้ฉุดให้การส่งออกของไทยไปยังทวีปยุโรปลดต่ำลงอย่างต่อ เนื่องติดต่อกัน 5 เดือน ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2554 จาก 8.13 หมื่นล้านบาท มาอยู่ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท ในเดือน ธ.ค.ที่เพิ่งผ่านมา

นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมว่าปัญหาการค้าและการส่งออกของไทยยังอาจถูกกระทบชิ่งมาจากประเทศ คู่ค้าหลักของยุโรป อาทิ สหรัฐและจีน ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจอันดับ 1 และ 2 ของโลกอีกต่อหนึ่งได้ด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่า หากเศรษฐกิจยุโรปถดถอย การค้าของยุโรปไม่ดี ก็อย่าหวังว่าการค้าโลกจะยังดีอยู่ได้

จึงไม่น่าแปลกใจที่ธนาคารโลกจะออกมาเตือนบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ใน เอเชียว่า อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตในยุโรปมากกว่าที่คาดไว้ และได้ประกาศลดคาดการณ์จีดีพีทั่วโลกจาก 3.6% เหลือ 2.5% ไปเรียบร้อยโรงเรียนเวิลด์แบงก์แล้ว

วิกฤตนี้จึงไม่ใช่ปัญหาไกลตัวที่ยากต่อการทำความเข้าใจ ขอคนไทยโปรดรับทราบด้วย...

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อิหร่านเล็งเงินค่าน้ำมันเป็นเยนจากอินเดีย

 

 

Hindustan%20Petroleum%20Oil%20Storage%20-%20Bloomberg.jpg

 

รูปภาพ : คลังน้ำมันของฮินดูสถาน ปิโตรเลียม

ที่มาภาพ : Bloomberg

อิหร่านได้ร้องขอให้อินเดียจ่ายเงินค่าน้ำมันบางส่วนในรูปของเงินเยนญี่ปุ่นเนื่องจากทั้ง 2 ชาติมองหาข้อตกลงในการที่ว่า ทำอย่างไรที่จะยังคงรักษาการค้าระหว่างกันเอาไว้ท่ามกลางมาตรการคว่ำบาตรจากนานาชาติที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แหล่งข่าว 3 รายที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้เปิดเผยกับบลูมเบิร์ก

ในระหว่างการหารือกันในกรุงเตหะรานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อินเดียได้เสนอที่จะจ่ายอิหร่านซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ให้อินเดียว่า จะจ่ายในรูปของเงินรูปีผ่านบัญชีธนาคารในอินเดีย แหล่งข่าวระบุ โดยปฏิเสธที่จะเปิดเผยชื่อเนื่องจากข้อมูลเปฌนความลับ เจ้าหน้าที่ทางการอิหร่านได้มองหาช่องทางการชำระเงินบางส่วนในรูปเงินเยนเนื่องจากว่า พวกเขากังวลว่าอิหร่านอาจไม่ได้รับมูลค่าการชำระที่เพียงพอจากรูปี ซึ่งไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินได้เสรี แหล่งข่าวกล่าว

ทั้ง 2 ประเทศดิ้นรนที่จะรักษาการค้าน้ำมันดิบในแต่ละปีมูลค่ากว่า 9,500 ล้านดอลลาร์หลังจากที่ธนาคารกลางอินเดียปิดช่องทางปกติที่มักใช้ชำระค่าน้ำมันในรูปยูโรและดอลลาร์ในเดือนธันวาคม 2010 ลง ปัจจุบันธุรกรรมต่างๆทำผ่านธนาคาร Turkiye Halk Bankasi AS (HALKB) ในนครอังการา ประเทศตุรกี ซึ่งได้บอกกับบิรษัทโรงกลั่นในอินเดียแล้วว่า ทางธนาคารอาจไม่สามารถให้บริการเป็นตัวกลางในการช่วยชำระค่าน้ำมันระหว่างอิหร่านและอินเดียได้แล้ว แหล่งข่าว 4 คนที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้เปิดเผยกับบลูมเบิร์กเมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา

รัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกสหภาพยุโรปมีกำหนดประชุมกันในวันนี้ (จันทร์ที่ 30 มกราคม 2012) เพื่อพิจารณามาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านและมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินเพิ่มเติมต่ออิหร่านในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ ขณะนี้อิหร่านอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตร 4 รอบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สหรัฐฯและชาติพันธมิตรกล่าวว่า พวกเขาสงสัยว่าโครงการนิวเคลียร์อิหร่านนั้นครอบคลุมไปถึงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่อิหร่านได้กล่าวปฏิเสธเรื่อยมา โดยกล่าวว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางพลเรือน

ค่าเงินรูปีอินเดียร่วงลงกว่า 9.7% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ร่วงลงมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินเอเชีย จากข้อมูลของบลูมเบิร์ก ขณะที่เงินเยนญี่ปุ่นได้แข็งค่ากว่า 6.5% ในช่วงเวเลาเดียวกัน ถือเป็นเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในเอเชีย จากข้อมูลของบลมเบิร์ก

ทางเลือกเยน

อินเดียกำลังสำรวจว่า อินเดียจะสามารถชำระค่าน้ำมันกับอิหร่านเป็นเงินเยนได้อย่างไร แม้ว่าแผนดังกล่าวจะยังไม่มีการตัดสินใจก็ตาม แหล่งข่าวระบุ

อิหร่านกำลังศึกษาถึงทางเลือกในการเปิดบัญชีกับธนาคารในอินเดีย ซึ่งบัญชีดังกล่าวบริษัทโรงกลั่นสามารถฝากเงินค่าน้้ำมันในรูปรูปีและช่วยเป็นแหล่งเงินทุนในการนำเข้าสินค้าจากอินเดียของอิหร่านได้

ธนาคารกลางอินเดียจำเป็นต้องให้การอนุมัติแก่อิหร่านในการเปิดบัญชีในประเทศอินเดีย แหล่งข่าวกล่าว ธนาคารกลางอินเดียกำลังพิจารณาทางเลือกอื่นๆเพื่อแก้ปัญหาการชำระเงินค่าน้ำมันจากอิหร่าน นาย K.C. Chakrabarty รองผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดียกล่าวเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา

อิหร่านกังวลว่า เงินค่าน้ำมันดิบทั้งหมดที่อินเดียต้องจ่ายไม่สามารถจ่ายผ่านการส่งออกสินค้ามาให้อิหร่านได้ แหล่งข่าวกล่าว การนำเข้าจากอินเดียของอิหร่านมีมูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์ต่อปี ขณะที่ยอดการขายน้ำมันในแต่ละปีของอิหร่านให้อินเดียอยู่ที่ราว 9,500 ล้านดอลลาร์ แหล่งข่าวระบุ

นอกจากนั้นแล้วอิหร่านยังต้องการให้อินเดียลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มิใช่ทางยุทธศาสตร์เป็นการตอบแทนกับการส่งน้ำมันดิบให้ แหล่งข่าวกล่าว

สัญญาสวอปเงิน

ธันวาคมปีที่แล้ว ญี่ปุ่นตกลงที่จะจัดสรรเงินจำนวน 15,000 ล้านดอลลาร์ให้กับอินเดียในข้อตกลงสวอปสกลุเงินระหว่างกันเนื่องจากวิกฤตยุโรปที่รุนแรงขึ้นมีความสุ่มเสี่ยงต่อการปิดกั้นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปดอลลาร์ของอินเดีย นายโยชิฮิโกะ โนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ลงนามต่อสัญ ญาสวอปกับนายมันโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีอินเดีย ณ กรุงนิวเดีลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2011 ที่ผ่านมา ทั้ง 2 ประเทศเคยลงนามในสัญญาสวอปมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนมิถุนายน 2008 ซึ่งหมดอายุลงไปแล้ว

นายกฯซิงห์ได้หารือถึงทางเลือกในด้านการชำระเงินอื่นกับทางการรัสเซียในระหว่างการเยือนมอสโคว์ของเขาในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว อินเดียซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน 11% ของการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมดกำลังสำรวจทางเลือกของการชำระค่าน้ำมันดิบจากอิหร่านผ่านธนาคาร Gazprombank OJSC (GZPR) ของรัสเซีย อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ แหล่งข่าว 3 คนเผยเมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา

ตึงเครียดกว่าเดิม

ความตึงเครียดกับอิหร่านทวีความรุนแรงขึ้น หลังจากคำเตือนโดยนายเรซา ราฮีมี (Reza Rahimi) รองประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า อิหร่านซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ในกลุ่มโอเปกรองจากซาอุดิอาระเบียอาจปิดช่องแคบฮอร์มุสหากว่าชาติตะวันตกตัดสินใจบล็อกการขายน้ำมันดิบของอิหร่าน

ความเป็นไปได้ที่สหภาพยุโรปจะตัดสินใจอายัดทรัพย์ของธนาคารกลางอิหร่านและดำเนินมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านต้องการเสียงสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ในหมู่ชาติสมาชิกทั้ง 27 ชาติ การระงับการนำเข้าน้ำมันจะส่งผลเสียหายต่อกรีซ อิตาลี และสเปนซึ่งต่างก็พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านและจำเป็นต้องหาแหล่งน้ำมันแหล่งใหม่

ประธานาธิบดีบารัก โอบามาของสหรัฐฯได้ลงนามในกฎหมายคว่ำบาตรสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งทำธุรกรรมกับธนาคารกลางอิหร่านเมื่อวันที่ 31 ธันวาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับดังกล่าวก็เปิดช่องให้ประธานาธิบดียกเลิกมาตรการคว่ำบาตรได้หากเขาเห็นว่า นั่นอาจจะกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ

อินเดียคัดค้านการใช้มาตรการคว่ำบาตรจากใครก็ตามนอกเหนือจากที่ออกโดยสหประชาชาติ นาย Ranjan Mathai ปลัดกระทรวงการต่างประเทศอินเดียกล่าวเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา เขากล่าวอีกว่า อินเดียจะยังคงซื้อน้ำมันจากอิหร่านต่อไป

ที่มา Bloomberg

http://www.bloomberg.com/news/2012-01-22/iran-said-to-seek-yen-oil-payment-from-india-amid-tighter-global-sanctions.html

แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากค่ะ คุณกระบี่ไร้ใจ และทุกท่าน :uu :gd :57

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...