ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ก่อนหน้านั้น มารับผมลงดอยก่อนได้มั้ยงะ ปอดผมชื้นแย่แล้วอยุ่ดอยมานานงะ !_02

ถูกแก้ไข โดย AunTonio

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับคุณเสม มาหาอ่านของคุณเสมทุกวันเลย ไม่ได้อ่านของคุณเสมน๊านนาน คิดถึ้ง...คิดถึง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มองต่างมุมเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

 

ผมได้รับอีเมลบทความเรื่อง “2011-The Year of Catch 22” โดย Jim Quinn จากเว็บไซต์ The Burning Platform ซึ่งมีมุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐในแง่ลบแตกต่างจากความเห็นของสื่อกระแสหลักอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ แต่มีข้อมูลและสาระที่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์และมีการวิเคราะห์มีเหตุมีผล ผมจึงขอนำมาสรุปให้อ่านกันในครั้งนี้ครับ

 

เศรษฐกิจสหรัฐนั้นตกอยู่ในวังวนของความขัดแย้งหลายประการ เช่น

 

๐ เศรษฐกิจจะต้องฟื้นตัวเพื่อที่รัฐบาลจะเก็บภาษีได้มากขึ้นเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ แต่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว ดอกเบี้ยก็จะต้องปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ และภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสำหรับทั้งภาครัฐและประชาชน

 

๐ การฟื้นตัวซึ่งมาจากการเพิ่มการผลิตและการบริโภคย่อมจะกดดันให้ราคาน้ำมันและวัตถุดิบอื่นๆ ปรับขึ้นไปอีกซึ่งจะเป็นผลลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

๐ คนอเมริกันจะต้องออมเงินมากขึ้นเพราะปัจจุบันสังคมอเมริกันกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว (ผู้ที่เกิดในยุค Baby Boom 1947-1962 กำลังเข้าสู่วัยชรา คืออายุ 65 ปีทุกๆ วัน วันละ 10,000 คน) แต่หากอัตราการออมปรับเพิ่มขึ้นจาก 6% ไปเป็น 10% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมในระยะยาว ก็จะทำให้การบริโภคลดลงซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้นและจะทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

ปัจจุบันสื่อกระแสหลักประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2011 จะขยายตัว 3-4% มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 2 ล้านตำแหน่ง กำไรของบริษัทจะขยายตัวทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 10-15% (ทำให้เชื่อกันว่าตลาดหุ้นอื่นๆ รวมทั้งไทยจะสามารถปรับตัวได้ 15-20% ในปี 2011 เช่นกัน) แต่การฟื้นตัวในปี 2010 เป็นภาพลวงที่ก่อขึ้นมาจากการกู้เงินจำนวนมหาศาลโดยรัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐ ตัวอย่างเช่นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2010 หนี้สาธารณะของสหรัฐเท่ากับ 12.3 ล้านล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2010 หนี้สาธารณะของสหรัฐเท่ากับ 13.9 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 2.28 ล้านล้านมากเป็น 2.46 ล้านล้านหรือเพิ่มขึ้น 180,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน รวมแล้วสหรัฐใช้เงินถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2010 แต่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวจริงเพียง 2.7% หรือ 350,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน กล่าวคือรัฐบาลกับธนาคารกลางสหรัฐ “ลงทุน” เท่ากับ 13% ของจีดีพีเพียงเพื่อทำให้จีดีพีสหรัฐขยายตัว 2.7%

 

หากมองกลับไปช่วงก่อนวิกฤติในเดือนกันยายน 2008 ก็จะพบว่าหนี้สาธารณะของสหรัฐอยู่ที่ 9.7 ล้านล้านดอลลาร์ แปลว่าในช่วงกอบกู้วิกฤตินั้นรัฐบาลสหรัฐกู้เงินเพิ่มขึ้นถึง 4.2 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 43% ในเวลาเพียง 27 เดือน ส่วนธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินออกมาซื้อสินทรัพย์ (ที่คนอื่นไม่อยากซื้อ) ทำให้งบดุลเพิ่มขึ้นจาก 963,000 ล้านดอลลาร์เป็น 2.46 ล้านล้านดอลลาร์หรือเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ (155%) รวมเม็ดเงินที่ใช้อุ้มเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา เท่ากับ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์ แต่สิ่งที่ได้คืนมาคือจีดีพีจริง (หักเงินเฟ้อ) ในไตรมาส 3 ปี 2010 หากคำนวณเฉลี่ยเต็มปี (annualized) จะเท่ากับ 13.3 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ 13.2 ล้านล้านดอลลาร์ในไตรมาส 3 ของปี 2008 กล่าวคือทางการสหรัฐกู้เงิน 5.7 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อ “ยัน” ให้เศรษฐกิจกลับไปที่เดิมก่อนเกิดวิกฤติ ซึ่งผู้เขียนเปรียบเทียบว่าเสมือนกับการที่หมอรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็ง (กู้เงินมากเกินไปมาเก็งกำไรบ้าน) โดยการฉีดเชื้อมะเร็งเพิ่มให้คนไข้ (รัฐบาลกู้เงินจากลูกหลานมาใช้) พร้อมกับฉีดมอร์ฟีนขนานใหญ่คือการพิมพ์เงินเพื่อดึงดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์ การ “ฟื้นตัว” ของเศรษฐกิจในปี 2010 ควรเข้าใจให้ถูกต้องว่ามีพื้นเพมาเช่นนี้

 

สรุปได้ว่า นายเบอร์นันเก้ (ผู้ว่าการธนาคารกลาง) นายไกน์เนอร์ (รมว.คลัง) และ นายโอบามา กำลังเดิมพันว่าประชาชนสหรัฐจะหลงเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังดีวันดีคืน และหันมาใช้จ่าย ทุกภาคส่วนเกิดความเชื่อมั่น มีการผลิตและจ้างงานเพิ่ม ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจบูมอีกครั้ง รัฐบาลก็จะเก็บภาษีได้เพิ่มและรายจ่ายสวัสดิการสำหรับผู้ตกงานก็จะลดลง สามารถลดการขาดดุลและลดหนี้สาธารณะได้ แต่คำถามคือการสร้างภาพลวงดังกล่าวจะประสบความสำเร็จต่อเนื่องในปี 2011 หรือไม่

 

ยอดขายสินค้าในสหรัฐปรับเพิ่มขึ้น 6.5% ในปี 2010 จากการที่ผู้บริโภคเริ่มเกลับมารูดบัตรเครดิตมากขึ้นเพื่อซื้อไอแพด โทรทัศน์จอแบน รองเท้า เครื่องประดับ ฯลฯ พร้อมกับการที่สถาบันการเงินของภาครัฐพยายามปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง (แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะกำลังไล่ตามยึดบ้านจากลูกหนี้ที่เบี้ยวหนี้) ทำให้ปัจจุบันอัตราการออมของชาวอเมริกันกำลังปรับลดลงอีกแล้ว แสดงว่าประชาชนเริ่มกลับเข้าสู่นิสัยเดิมคือ “รูดก่อนจ่ายทีหลัง” แต่การออมของชาวสหรัฐที่ 5.9% ของรายได้นั้น มาจากการให้เปล่าของภาครัฐ (transfer payment) 3.9% หมายความว่าหากรัฐบาลสหรัฐไม่ได้กู้เงินอนาคตมาแจก คนอเมริกันก็จะออมเงินแค่ 2% เท่านั้น ตั้งแต่กันยายน 2008 ถึงปลายปี 2010 นั้นเงินเดือนของประชาชนโดยรวมลดลง 127,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่รัฐบาลแจกเงินผ่านมาตรการรัฐสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 441,000 ล้านดอลลาร์

 

ปัจจุบันสัดส่วนของการบริโภคต่อจีดีพีของสหรัฐอยู่ที่ 70% ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าเป็นสัดส่วนที่สูงเกินไปควรลดลงมาที่ 65% และอัตราการออมควรกลับขึ้นไปอยู่ที่ 8-10% (การที่คนอเมริกันใช้จ่ายเกินตัวนั้นเห็นได้จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ 3.5% ของจีดีพี) แต่ที่สำคัญคือการใช้จ่ายเกินตัวดังกล่าวเกิดขึ้นจากการกู้เงินโดยภาครัฐ ซึ่งยิ่งอันตราย ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ยั่งยืน แม้ว่าความรู้สึกของคนทั่วไปในครึ่งแรกของปีนี้คงจะเห็นพ้องต้องกันว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แต่ก็จะเป็นผลมาจากการปั๊มเงินเข้าระบบโดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของนายเบอร์นันเก้เดือนละ 75,000 ล้านดอลลาร์ ประกอบกับการลดภาษีและเงินอุดหนุนผู้ตกงานของนายโอบามารวมทั้งสิ้นกว่า 800,000 ล้านดอลลาร์

 

แต่ในครึ่งหลังของปีนี้สถานการณ์อาจพลิกผันไปในทางลบได้ เช่นราคาบ้านในสหรัฐที่แม้จะปรับตัวลดลงไปแล้ว 33% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็น่าจะลดลงได้อีก 23% เพื่อให้ราคาบ้านกลับไปสู่ระดับปกติ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึงปลายปี 2012 แปลว่าปัญหาการยึดทรัพย์และขายทอดตลาดยังจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อที่ถึงกำหนดจะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นซึ่งมีมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์ พร้อมกับบ้านที่ถูกยึดและรอขายอยู่แล้ว 3.9 ล้านหลัง จากการประเมินของธนาคารกลางสหรัฐสาขาดาลาส คาดว่ามีบ้านที่จะถูกยึดเนื่องจากผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้อีก 6 ล้านหลัง

 

นายเบอร์นันเก้ ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2010 ว่านโยบายพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลของเขา (คิวอี 2) นั้นมีวัตถุประสงค์หลักคือ “การกดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลงเพื่อทำให้การเป็นเจ้าของบ้านทำได้ง่ายขึ้นและผู้ที่กู้บ้านอยู่แล้วจะมีภาระลดลง” แต่ปรากฏว่าดอกเบี้ยเงินกู้บ้านกลับปรับตัวสูงขึ้นจากวันที่ 2 พ.ย. ที่ระดับ 4.2% เป็น 5% ในปัจจุบัน กล่าวคือภาระของประชาชนเพิ่มขึ้นมิได้ลดลง

 

หาก นายเบอร์นันเก้ จะพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาเพิ่มขึ้นอีกก็ไม่แน่ใจว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะตั้งแต่วิกฤติที่ธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินออกมาจนทำให้งบดุลธนาคารกลางเพิ่มขึ้นถึง 23 เท่าตัวนั้น ปรากฏว่าราคาสินค้าในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นราคาน้ำมันเพิ่มจาก 1.62 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เป็น 3.05 ดอลลาร์ ราคาทองเพิ่มจาก 814 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มาเป็น 1,421 ดอลลาร์ ราคาทองแดง เงิน ข้าวโพด กาแฟ ข้าวสาลี ฯลฯ ต่างเพิ่มขึ้น 30-90% สำหรับธนาคารกลางของสหรัฐเองนั้นการพิมพ์เงินออกมาซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงหรือแม้แต่การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นนั้นกำลังจะทำให้เกิดความเสียหายต่อธนาคารกลางสหรัฐและอาจต้องพิมพ์เงินออกมาล้างขาดทุน ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อไปอีก และอาจทำให้ราคาน้ำมัน และวัตถุดิบสำคัญๆ เพิ่มขึ้น สร้างแรงกดดันให้เศรษฐกิจตกต่ำลงได้อีก

 

ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปปัญหารัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐและความขัดแย้งทางการเมืองที่จะรุนแรงขึ้นในสหรัฐ ทำให้ผู้เขียนเชื่อว่าการเดิมพันของผู้นำสหรัฐจะประสบความล้มเหลวในที่สุด ดังนั้นการวาดภาพอันสวยหรูว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3-4% การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 2 ล้านตำแหน่งและการที่ตลาดหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้น 10-15% นั้น หากนายเบอร์นันเก้ ต้องกล่าวถึง คิวอี 3 เมื่อใดก็แปลว่าการเดิมพันนั้นได้ถูกเปิดโปงและปัญหาใหญ่กำลังคืบคลานมาถึงแล้วครับ

 

 

ขอบคุณคะคุณส้มโอมือ ต้องติดตามต่อปาย.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองลงฮวบ แต่บาทแข็งโ้ป้ก สบายๆ ครับพี่น้อง ^_^ ^_^ ^_^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กับดักเงินด่อง

ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย นักเศรษฐศาสตร์นอกกรอบ อดีตนักเรียนทุนญี่ปุ่น กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 06 มกราคม พ.ศ. 2554

 

เงินด่องซึ่งเป็นสกุลเงินของเวียดนามกำลังจะประสบปัญหาครั้งใหญ่แล้วในปี 2011 นี้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น... ตอบง่ายๆ ก็คือ เวียดนามได้เดินอยู่บนเส้นทางเดียวกับเม็กซิโก ไทย และอาร์เจนตินา ในอดีต และประเทศทั้ง 3 นี้ก็ไม่สามารถจะหลบเลี่ยงวิกฤติค่าเงินมาได้เลย

 

การผูกค่าเงินด่องกับเงินดอลลาร์ แม้จะมีการลดค่าเงินด่องลงถึง 3 ครั้ง แต่เทียบไม่ได้เลยกับส่วนต่างเงินเฟ้อของประเทศเวียดนามกับอเมริกา โดยเงินเฟ้อล่าสุดเดือนธันวาคม 2553 นั้นสูงถึง 11.75% สูงที่สุดในรอบ 22 เดือน ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง เวียดนามอาจขาดดุลการค้าถึง 12 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2553 ซึ่งเป็นระดับถึง 12% GDP ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศก็ร่อยหรอลดน้อยลงจนน่ากังวล รัฐวิสาหกิจต่อเรืออย่าง Vinashin ก็เข้าขั้นล้มละลาย ส่งผลให้เวียดนามถูกลดอันดับเครดิตลงอีกด้วย

 

เมื่อค่าเงินไม่สะท้อนความเป็นจริง จึงเกิดอัตราแลกเปลี่ยนใน "ตลาดมืด" ขึ้น ตามร้านขายทองคำซึ่งกำหนดค่าเงินที่ต่ำกว่าทางการอยู่ประมาณ 10% ประชาชนเวียดนามไม่มั่นใจในค่าเงินด่อง แทนที่จะฝากเงินกับธนาคารได้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากถึง 13-15% ต่อปี กลับเอาเงินนั้นไปซื้อทองคำเก็บเป็นสินทรัพย์แทน

 

"สัญญาณเตือน 333" (Triple 3 Signal) สัญญาณเตือนก่อนประเทศต่างๆ จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น คือ 1. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่า 3% GDP 2. การขาดดุลนั้นต่อเนื่องกันนานกว่า 3 ปี และ 3. ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี สูงกว่าประเทศอ้างอิงมากกว่า 3% แน่นอนว่า วิกฤติเตกีล่า และต้มยำกุ้ง ประเทศเม็กซิโกและไทยก็เข้าประเด็นนี้อย่างเต็มๆ เพราะการกำหนดค่าเงินให้แข็งค่าเกินระดับเหมาะสมเป็นเวลานาน ทำให้ขาดดุลการค้า และขาดดุลเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องหนักหน่วง การลงทุนอยู่สูงกว่าการออมอย่างมาก ประเทศจึงต้องระดมเงินจากต่างประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง เมื่อไปถึงจุดหนึ่งที่ทุนสำรองร่อยหรอจนนำไปสู่ความเชื่อมั่นที่ถดถอย และการไหลออกของเงินในที่สุด ซึ่งอาจเรียกชื่อได้ว่าเป็น "วิกฤติแห่งความไม่พอเพียง" (Insufficiency Crisis)

 

สภาพเศรษฐกิจของเวียดนาม เปรียบเหมือนกับรถยนต์ที่วิ่งมาอย่างเร็ว เข้าโค้งหักศอกบนถนนเปียก ซึ่งต้องใช้ความชำนาญในการขับขี่เป็นอย่างมาก จึงจะรอดพ้นมาได้อย่างปลอดภัย และสภาพเช่นนั้นในอดีตทั้งเม็กซิโก ไทย และอาร์เจนตินา ก็พิสูจน์มาแล้วว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะผ่าน "โค้งหักศอก" แบบนั้นได้โดยไม่เสียหายหนัก

 

ประเทศไทยควรแสดงบทบาทในการประเทศผู้นำด้านการป้องกัน และแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของโลก ด้วยการส่งผู้เชี่ยวชาญจาก ธปท.ซึ่งมีประสบการณ์สมัย "วิกฤติเงินบาท" เพื่อช่วยเหลือเวียดนามในการผ่อนหนักให้เป็นเบาสำหรับ "วิกฤติเงินด่อง" ในอนาคต ด้วยการถ่ายทอด "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" แนะนำให้เวียดนามลดค่าเงินด่องลงอย่างเร็วเท่ากับระดับตลาดมืด คือ ราว 10% จากนั้นก็ต้องพยายามรัดเข็มขัดการคลัง ส่งเสริมการออมผ่านระบบประกันสังคมและเงินบำนาญ รวมทั้งควบคุมสินเชื่อเพื่อการเก็งกำไรต่างๆ

 

เวียดนามจำเป็นที่จะต้องเติบโตให้ช้าลง เพื่อรักษาสมดุลบัญชีเดินสะพัดให้ได้ จะส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปัจจุบัน (11.75%) โดยอัตโนมัติ มันแทบไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับเวียดนาม...คือ เดินให้ช้าลง หรือว่าวิ่งอย่างเร็วแล้วแหกโค้ง...เท่านั้นเอง

 

หากค่าเงินด่องอ่อนค่าลง 10% นั่นอาจเป็นภาวะลำบากของชาวนาไทย ที่ต้องแข่งขันขายข้าวกับเวียดนาม แต่หากเวียดนามเกิดวิกฤติเงินด่องขึ้นมาจริงๆ แล้วละก็เงินด่องอาจอ่อนค่าลงได้ถึง 50% และนั่นคือ "นรก" ของชาวนาไทยอย่างแน่นอน เวียดนามอาจจะก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในการส่งออกข้าวแทนไทย และราคาข้าวเป็นดอลลาร์จะตกต่ำลงได้อีกมาก ดังนั้น การเข้าช่วยเหลือเวียดนามของ ธปท.จึงไม่เพียงแต่ช่วยเวียดนามเท่านั้น...แต่ยังเป็นการช่วยเหลือชาวนาไทยให้รอดพ้นจากหายนะอีกด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ILO เผยตัวเลขว่างงานปี 53 มีถึง 205 ล้านคน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มกราคม 2554 13:23 น.

 

 

 

 

 

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ ชี้ว่า แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นมากในหลายประเทศ แต่อัตราการว่างงานในโลกยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปี 2552 แต่ยังมากกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ในปี 2550 ถึง 27.6 ล้านคน โดยเมื่อปีที่แล้วมีอัตราการว่างงานในโลก 205 ล้านคน สูงเป็นประวัติการณ์ แสดงให้เห็นว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานใหม่

ไอแอลโอ คาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานของประชากรโลกในปีนี้ จะอยู่ที่ร้อยละ 6.1 หรือมีจำนวน 203.3 ล้านคน โดยกว่าครึ่งหนึ่งตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา เกิดขึ้นในประเทศอุตสาหกรรม และสหภาพยุโรป ซึ่งคนหนุ่มสาวจำนวนมากที่เข้าสู่วัยทำงาน ไม่สามารถหางานทำได้ ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา เช่น บราซิล คาซัคสถาน และไทย พบว่าการว่างงานอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...