ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ก็น้องท่านยังถือ ก้อนแร่สีทอง อยู่ในพอร์ต เมื่อไหร่ ที่น้องท่านแปลงก้อนแร่สีทอง เป็น ธนบัตรในหลวง รัชกาลที่ 9

สีเทาๆ เมื่อไหร่ พี่ว่า น้องท่านคงพาสาวๆ ไปกินตึกใบหยก 2 ที่สูงกว่า ก็ย่อมได้ ราคาต่อหัว / ขนหน้าแข้งเสี่ย Donjuan

ก็แค่ร่วง 1-2 เส้น แต่อนาคตของการติดต่อ จะราบรื่นยิ่งขึ้น

 

 

รู้ใจจัง...จุ๊บ จุ๊บ !30 :upstrong:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปัจจัยที่ต้องติดตามช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่องเก่าๆ ยังไม่มีเพิ่มเติม คือ

1. สถานการณ์ความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอย (Global Recession) ทั้งในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา

2. วิกฤตหนี้ยุโรป

 

ปฏิทินเศรษฐกิจสัปดาห์นี้ ที่มีความสำคัญ และต้องประเมินสถานการณ์ดีๆ (สหรัฐอเมริกา)

 

ISM Non-Mfg Index ( อังคาร 6 ) ก่อนหน้าอยู่ที่ 52.7 Consensus คาดครั้งนี้ 51

International Trade ( พฤหัสบดี 8 ) ก่อนหน้าอยู่ที่ -53.1B Consensus คาดครั้งนี้ -51.9B

Jobless Claim ( พฤหัสบดี 8 ) ก่อนหน้าอยู่ที่ 409,000 Consensus คาดครั้งนี้ 408,000

ประธานาธิบดีสหรัฐจะแจ้งนโยบายการกระตุ้นการจ้างงานวันพฤหัสบดีที่ 8

ปล. เดี๋ยวเพื่อนๆ สงสัยว่าจะเป็นอย่างไร

เด็กขายของ ขอกล่าวเฉพาะถ้าออกมาตามโพลฯ ตามหลักการ แค่นั้น กรณี

เหตุการณ์พลิก ตัวใครตัวมัน นะครับว่า

ถ้า ISM ออกมา 51 หรือ ต่ำกว่า. ราคาทองขึ้น

ดุลการค้าระหว่างประเทศ International Trade ราคาทองลง

ตัวเลขว่างงาน ลดลง. ราคาทองลง

โอบามา มาแจ้งนโยบาย. ราคาทองเฉยๆ เพราะต้องผ่านสภาคองเกรส แค่นโยบายฯ

ยังต้องผ่านอีกหลายด่าน เพราะนโยบายเหล่านั้น ต้องใช้เงินมหาศาลในการสร้างงาน

เช่น เรื่อง สร้างงานในด้านคมนาคม สร้างถนน สร้างสะพาน ซ่อมแซมถนน ทุกอย่าง

ใช้เงิน

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ Donjuan

ระวังไว้ก่อนดีนาพี่ ขอมันเรง

 

ขอบคุณครับ ทุกท่านก็ควรระวังและพิจารณานะครับ ผมกระโดดได้เร็วเพียงกดปุ่มขายในออนไลน์ ทำได้ทันทีไม่ต้องโทรครับ แต่ต้นทุนผมต่ำระดับ 23000 ต่อบาททองเองนะครับ พิจารณากันให้ดีๆนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้นำสหรัฐเรียกร้องสภาคองเกรส หนุนการใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค เพื่อสร้างงานมากขึ้น ท่ามกลางภาพลักษณ์ศก.อ่อนแอทำหุ้นตกทั่วโลก

 

ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐ กล่าวปราศรัยต่อสมาชิกสหภาพแรงงาน ในดีทรอยต์ เนื่องในวันแรงงานวานนี้ (5 ก.ย.)ว่า การแถลงเรื่องเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรส ในวันที่ 8 ก.ย.นี้ จะมุ่งเน้นไปในเรื่องวิธีการใหม่ๆ สำหรับการสร้างงาน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และทำให้ชาวอเมริกันจำนวนมากกลับมามีงานทำอีกครั้ง

 

ข้อเสนอที่จะยื่นต่อสภาคองเกรส รวมถึง การเพิ่มใช้จ่ายในเรื่องการสร้างถนน และโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ

 

ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้น หลังมีการเผยว่าตัวเลขว่างงานของสหรัฐ เดือน ส.ค. ยังทรงตัวในระดับสูงที่ 9.1% และนายโอบามาต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันมากขึ้น ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ก่อนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า

 

ตัวเลขว่างงานที่น่าผิดหวังของสหรัฐ เป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ร่วงลงอย่างหนักเมื่อวานนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐ ปิดทำการเนื่องในวันหยุดวันแรงงาน

 

ดัชนีหุ้นยุโรปดิ่งลงอย่างหนัก เพราะนอกจากจะวิตกเรื่องเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐ และหลายประเทศยุโรป จะมีความเสี่ยงตกอยู่ในภาวะถดถอยแล้ว ยังมีปัจจัยเสริมเรื่องวิกฤติหนี้กลุ่มประเทศยูโรด้วย

 

ดัชนีเอฟทีเอสอี 100 ของอังกฤษ ดิ่งลง 3.58% ที่ 5,102.58 จุด ส่วนซีเอซี 40 ของฝรั่งเศส ร่วงลง 4.73% ที่ 2,999.54 จุด และแด็กซ์ เยอรมนี ทรุดลงไปถึง 5.28% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ 5,246.18 จุด

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 6 กันยายน 2554)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลการสำรวจรายเดือนของบริษัทหลักทรัพย์ ทีดี ซิเคียวริตี้ส์ และ สถาบันเมลเบิร์นเพื่อการวิจัยสังคมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) เดือนส.ค.ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ ปรับตัวลง 0.1% หลังจากที่ร่วงลง 0.3% ในเดือนก.ค. เนื่องจากราคาผลไม้และผักปรับตัวลดลง

 

ส่วนดัชนีซีพีไอในช่วง 12 เดือนซึ่งสิ้นสุดเดือนส.ค.ที่ผ่านมา พุ่งขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.ที่ขยายตัว 3.2%

 

ทีดี ซิเคียวริตีส์ระบุว่า แม้ราคายานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ และการบริการภาคครัวเรือนปรับสูงขึ้นในเดือนส.ค. แต่การร่วงลงของราคาผักและผลไม้มีสัดส่วนที่มากกว่า และส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลงในเดือนส.ค. โดยราคาผักและผลไม้ลดลง 1.6% ในเดือนส.ค. หลังจากที่ร่วงลง 1.8% ในเดือนก.ค.

 

แอนเนตต์ บีชเชอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของทีดี ซิเคียวริตี้ส์ กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในออสเตรเลียปรับตัวลดลง โดยดัชนีซีพีไอซึ่งจัดทำโดยทีดี ซิเคียวริตี้ส์ และ สถาบันเมลเบิร์น บ่งชี้ว่า ราคาผู้บริโภคซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีแรกนั้น อาจจะชะลอตัวลงในไตรมาส 3

 

นอกจากนี้ บีชเชอร์กล่าวว่า เธอไม่คาดว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางออสเตรเลียมีกำหนดจะจัดประชุมประจำเดือนเพื่อตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันพรุ่งนี้

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ยอดค้าปลีกอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร ลดลง 0.4% ในเดือนก.ค. ส่วนยอดค้าปลีกที่ไม่ใช่อาหาร เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีแล้ว ยอดค้าปลีกเดือนก.ค. ลดลง 0.2%

 

สำหรับยอดค้าปลีกเดือนก.ค.ในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนมิ.ย. แต่ลดลง 0.2% จากปีที่แล้ว

 

ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกเป็นปัจจัยบ่งชี้ถึงความต้องการภาคครัวเรือน และยังเป็นหนึ่งในสามปัจจัยหลักที่ผลักดันเศรษฐกิจ

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นางฮิลดา โซลิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของสหรัฐ เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคเดโมแครทและพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรส ร่วมมือกันในการพลิกฟื้นการจ้างงานในสหรัฐ หลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรหยุดชะงักในเดือนส.ค. ในขณะที่อัตราว่างงานยังคงยืนอยู่ในระดับสูงถึง 9.1%

 

 

นางโซลิสกล่าวให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ NBC ของสหรัฐว่า เธอขอให้ทุกฝ่ายร่วมลงเรือลำเดียวกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในช่วงเวลาที่ประธานาธิบดีทุ่มเทความพยายามในการกระตุ้นการสร้างงาน นอกจากนี้ นางโซลิสยังเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่สภานิติบัญญัติของสหรัฐให้ความสำคัญกับการจ้างงานเป็นลำดับแรก

 

ประธานาธิบดีโอบามามีกำหนดจะแถลงสภาวะตลาดแรงงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้ โดยมีการคาดการณ์ในวงกว้างว่า โอบามาจะประกาศผลักดันแผนการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการสร้างงานภายในประเทศ รวมถึงการลงทุนด้านสาธารณูปโภค การให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่พนักงานที่ถูกยกเลิกสัญญาจ้างงาน และการลดหย่อนภาษี และมาตรการช่วยเหลือเจ้าของบ้าน

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานโดยอ้างความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ว่า ประธานาธิบดีโอบามาอาจจะเผชิญกับแรงกดดันจากพรรครีพับลิกันที่วิพากษ์วิจารย์ว่ามาตรการของรัฐบาลพรรคเดโมแครทไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว นอกจากนี้ คาดว่าโอบามาจะถูกกดดันให้ประกาศแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวที่จะสามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้

 

นักวิเคราะห์มองว่า อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับโอบามาคือการทำให้สภาผู้แทนราษฎรภายใต้การนำของพรรครีพับลิกัน สนับสนุนมาตรการต่างๆที่เขาพยายามนำเสนอ พร้อมกับตั้งข้อสังเกตุว่า ความขัดแย้งด้านนโยบายเศรษฐกิจระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกันได้ลุกลามจนกลายเป็นความตึงเครียดทางการเมือง และบ่งชี้ว่าทำเนียบขาวจะแทบไม่สามารถดำเนินมาตรการที่สำคัญได้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) – (วันที่ 6 กันยายน 2554)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในระยะสั้นราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI มีแนวรับแนวต้านอยู่ที่ 110-118 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลและ 83-90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลตามลำดับ จากความกังวลของนักลงทุนต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่ หลังจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรไม่ขยายตัวทั้งนี้อัตราว่างงานของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 9.1% ติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง นอกจากนี้นักลงทุนมีความกังวลต่อการชะลอตัวของภาคการผลิตในยุโรปซึ่งอาจทำให้อุปสงค์น้ำมันลดลง ขณะที่ลิเบียมีแนวโน้มกลับมาผลิตและส่งออกน้ำมันดิบได้เร็วขึ้น หลังจากประเทศและองค์กรนานาชาติกว่า 60 แห่ง ยกเลิกการอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลพันเอก Muammar Gaddafi ในประเทศต่างๆ มูลค่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่สภาการถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติลิเบีย เพื่อเป็นกองทุนในการฟื้นฟูประเทศ อีกทั้งสหภาพยุโรปยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร 28 บริษัทลิเบีย ประกอบไปด้วยบริษัทน้ำมัน, ธนาคาร, สายการบิน รวมถึงท่าเรือหลายแห่ง อย่างไรก็ตามให้ติดตามการเสนอแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อสภาครองเกรสในวันที่ 8 ก.ย. 54 และจับตาอิทธิพลของพายุเฮริเคนหากพัดผ่านบริเวณแหล่งผลิตน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกอาจส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบตึงตัว ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อราคาน้ำมัน

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 5 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การปรับตัวลดลงของราคาสินค้ามาจากการช่วยเหลือของการควบคุมทางการเงินและสภาพคล่องที่ลดลง

 

กระทรวงการพัฒนาและปฏิรูปของจีน (NDRC) ระบุว่าภาวะเงินเฟ้อในจีนกำลังใกล้ถึงระดับสูงสุด และสถานการณ์ในครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวขึ้น จากการผันผวนของวัฏจักรราคา โดยราคาที่ปรับขึ้นสูงในรอบนี้ใกล้เคียงกับจุดเปลี่ยนแปลง ซึ่งจีนควรระมัดระวังในครึ่งปีหลัง

 

นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการต่อสู้กับราคาที่สูงขึ้นคือภาระเบื้องต้นที่ควรดำเนินการ  อย่างไรก็ตามจากข้อมูลสถิติระบุ ปัจจัยที่เกิดภาวะเงินเฟ้อยังคงมีมาก โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายนสูง ๖.๔ เปอร์เซ็นต์จากช่วงต้นปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบสามปี และตัวเลขดังกล่าวเป็นผลมาจากราคาภายใต้การควบคุม แต่ราคาสินค้าทั่วโลกกลับปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับตัวเลขในเดือนเมษายน การใช้นโยบายทางการเงินของจีน ที่รัดกุมมีบทบาทในทางบวก และสภาพคล่องที่ลดลงเป็นตัวการสำคัญในการทำให้ราคามีเสถียรภาพ ในระยะนี้จีนมีสินค้าสำคัญจากการจัดหาภายในประเทศ ในช่วงฤดูร้อนผลผลิตเมล็ดพืชเพิ่มขึ้น ๒.๕ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เนื้อสัตว์ ไข่ไก่ ผัก และสินค้าอุปโภคบริโภคอุตสาหกรรมมีปริมาณการจัดหาที่เพียงพอ

 

จีนประสบเหตุการณ์ราคาสูงมาแล้วสามรอบ คือ ปี ๒๕๔๖, ๒๕๕๐ และปัจจุบัน โดยแต่ละรอบจะเกิดรวมระยะเวลา ๒๔ เดือน

 

นาย Zhou รองผู้อำนวยการกระทรวงการพัฒนาและปฏิรูปของจีนแผนกกำหนดราคาสินค้าเปิดเผยว่า ขณะที่อยู่ในระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งระบบประกันราคาผักที่มีความหลากหลาย เพื่อเป็นการการันตีผลกำไรของเกษตรกรและช่วยให้ราคาผักมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น โดยคาดการณ์ว่าปีหน้าราคาเนื้อหมูจะปรับตัวสูงขึ้นถ้าเกษตรกรเพิ่มการผลิตเพราะในขณะนี้ได้รับผลกำไรสูง ราคาเนื้อหมูที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้จะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงระยะการบริโภคสูงสุด ซึ่งเป็นช่วงตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนมกราคม

 

ถึงแม้ว่าราคาสินค้าจะลดลง แต่ราคาน้ำมันที่กลับปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายน และความเป็นไปได้ในรอบที่สามของการทำให้ผ่อนคลายขึ้นในเชิงปริมาณของสหรัฐอเมริกาจะยังคงกดดันราคาน้ำมันต่อไป ส่วนราคาเนื้อหมู ถึงแม้ว่าภายในประเทศจะไม่มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่สินค้าอื่นๆยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งการจำกัดราคาน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารของกระทรวงการพัฒนาและปฏิรูปของจีนจะหมดวาระในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งจะส่งผลให้หลังจากนี้ราคาจะปรับตัวสูงขึ้น

 

ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก (วันที่ 6 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (5 ก.ย.) โดยดัชนี Stoxx Europe 600 ดิ่งลงหนักสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2552 เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่ากรีซซึ่งกำลังประสบปัญหาหนี้ อาจจะไม่ได้รับความช่วยเหลือรอบสอง เนื่องจากกรีซยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณและปฏิรูปเศรษฐกิจ

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 4.1% ปิดที่ 223.45 จุด

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 2999.54 จุด ร่วงลง 148.99 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 5246.18 จุด ดิ่งลง 292.15 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5102.58 จุด ร่วงลง 189.45 จุด

 

ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่ากรีซอาจจะไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินรอบสองจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และสหภาพยุโรป (อียู) หลังจากกรีซไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนพื้นฐานและเงื่อนไขปลีกย่อยของอียูและไอเอ็มเอฟ รวมถึงการแปรรูปสินทรัพย์ของรัฐบาลไปเป็นเอกชน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นว่าอาจจะมีการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะของกรีซภายในเวลาอีกไม่เดือน

 

ตลาดหุ้นเยอรมนีร่วงลงอย่างหนักหลังจากผลการหยั่งเสียงนอกคูหาเลือกตั้ง (เอ็กซิตโพล) ปรากฎว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นในรัฐเมคเลนบูร์ก-เวสเทิร์น พอเมอราเนีย ซึ่งเป็นรัฐบ้านเกิดของนางแองเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีนั้น พรรคคริสเตียนเดโมแครต (ซีดียู) ของนางแมร์เคล ได้คะแนนเพียง 24% ลดลงจากที่เคยได้ถึง 28.8% ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2549 ขณะที่พรรคสังคมประชาธิปไตย (เอสพีดี) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ได้คะแนนนิยมถึง 37%

 

นักวิเคราะห์มองว่า การที่พรรคซีดียูของนางแมร์เคลได้รับคะแนนเสียงลดลงมากจากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยเฉพาะวิกฤติการเงินในกลุ่มยูโรโซน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจสร้างความยากลำบากให้กับนางแมร์เคลที่ต้องลงสู้ศึกเลือกตั้งทั่วไปในปี 2556

 

หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงหลังจากหลังจากสำนักงานบริการการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FHFA) เตรียมยื่นฟ้องธนาคารขนาดใหญ่ 17 แห่ง ในข้อหาเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเมื่อทำการขายหลักทรัพย์ที่ได้รับการ ค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีส่วนทำให้เกิดวิกฤติสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2551

 

ข่าวดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการประกันการผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรประเภท Credit-default swaps (CDS) ของรัฐบาลในยูโรโซนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และยังฉุดหุ้นดอยช์ แบงก์ ร่วงลง 8.9% หุ้นเครดิต สวิส ร่วงลง 8.1% หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ (RBS) ร่วงลง 12% หุ้นธนาคารบาร์เคลย์สร่วงลง 6.7% หุ้นโซซิเอเต เจนเนอรัล (ซอคเจน) ดิ่งลง 8.6% และหุ้นธนาคาร HSBC ร่วงลง 3.8%

 

หุ้นคลาเรียนท์ ซึ่งเป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก ร่วงลง 16% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ยอดขายและประสิทธิภาพในการทำกำไรปีนี้ อันเนื่องมาจากอุปสงค์ในตลาดบางแห่งชะลอตัวลง และสกุลเงินฟรังค์แข็งค่าขึ้น

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 6 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักข่าวเกียวโดรายงาน  นายโมโตฮิสะ ฟุรุคาวะ รัฐมนตรีเศรษฐกิจและนโยบายการคลัง ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า เขาและนายจุน อาซุมิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นรวมถึงนายโยชิโอะ ฮาชิโร่ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม และนายทัตสึโอะ ฮิราโนะ รัฐมนตรีผู้ดูแลด้านการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหวและสึนามิ เห็นพ้องต้องกันว่าต้องเร่งใช้มาตรการต่างๆ ระหว่างประชุมร่วมกันที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว          ทั้งนี้  รัฐมนตรีทั้ง 4 คนหารือกันเรื่องเงินเยนแข็งค่า, งบประมาณพิเศษงวดที่ 3 สำหรับปีงบประมาณซึ่งสิ้นสุดเดือนมีนาคม, การขึ้นภาษีชั่วคราว รวมถึงการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 6 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "การจ้างงานที่แย่เกินคาด...ย้ำการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งคงถ่วงตลาดการเงินโลกในอีก 12-15 เดือนข้างหน้า" ระบุว่า  หากกล่าวถึงเหตุการณ์ในตลาดโลกที่กำลังอยู่ในความสนใจในระยะนี้ คงหนีไม่พ้นปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เผชิญหลายสัญญาณลบและปัจจัยถ่วงพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ มุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มชัดเจนขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 2/2554 จากหลายปัจจัย กล่าวคือ ประการแรก การที่เครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญหลายๆ ด้านออกมาย่ำแย่กว่าความคาดหมาย อาทิ การร่วงลงของความเชื่อมั่นผู้บริโภค การทบทวนจีดีพี ไตรมาส 2/2554 และล่าสุด ได้แก่ ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payrolls) เดือนสิงหาคม 2554 ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งทำให้ตลาดตั้งคำถามถึงเสถียรภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

   

ประการที่สอง  ปัญหาภาคการคลังของสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น หลังจากการใช้หลากมาตรการทางการคลังเพื่อฟื้นเศรษฐกิจจากภาวะถดถอยในช่วงปี 2551 (2008) ซึ่งส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ พุ่งชนเพดานการก่อหนี้ตามกฎหมายในเดือนพฤษภาคม 2554  ท่ามกลางภาพความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสองพรรคใหญ่ที่ยังเป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่สร้างความไม่แน่นอนให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า     จนนำไปสู่นำไปสู่ปัจจัยลบประการที่สาม คือ การที่สหรัฐฯ ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (โดย S&P’s) จากระดับ AAA สู่ระดับ AA-Plus (AA+)

 

ท่ามกลางปัจจัยลบที่ยังคาดว่าจะถาโถมเข้าหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังกล่าว ย่อมกระทบต่อมุมมองและแนวโน้มของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตลอดจนเศรษฐกิจโลกอย่างเลี่ยงไม่ได้   ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมุมมองที่สะท้อนผ่านการปรับตัวของตลาดการเงิน ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงแนวโน้ม ดังนี้

 

 การปรับตัวของตลาดการเงินโลกในช่วงที่ผ่านมา ... สะท้อนการคาดการณ์ต่อÆ ‘การชะลอตัว’ ลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ยังไม่ถึง ‘ขั้นถดถอย’ ดังเช่นในปี 2551

 

 

จากหลากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะการปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา ตลาดการเงินโลกต่างก็ตอบรับไปในทิศทางที่รับรู้ความเป็นไปได้ของ แนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนกว่าเดิม ดังจะเห็นได้จาก

 

การปรับตัวลดลงของสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นสหรัฐฯ (DJIA) และราคาน้ำมัน (ภายใต้ความกังวลว่า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันอันดับต้นๆ ของโลก อาจกดดันอุปสงค์ในภาพรวม)  สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงเป็นที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ราคาทองคำดีดตัวขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ลดลง (ราคาปรับขึ้น) จนมีผลให้ ส่วนต่างผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรอายุ 2 ปี และ 10 ปี ปรับตัวแคบลง ซึ่งส่วนต่างผลตอบแทน   (สเปรด) ระหว่างตลาดตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้น (แสดงค่าความชันของเส้นผลตอบแทน หรือ Slope) ที่ลดลงดังกล่าว สามารถใช้เป็นมาตรวัดเชิงทฤษฎีถึงมุมมอง ‘เชิงลบ’ ของตลาดต่อภาวะเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าได้ เพราะโดยทั่วไปแล้ว ตลาดพันธบัตรมักมีลักษณะที่คาดการณ์ถึงเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น เมื่อตลาดมองว่าเศรษฐกิจชะลอลง ก็จะคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะมีทิศทางที่ลดลงตาม ซึ่งทำให้อัตราผลตอบแทนระยะยาวปรับตัวลดลง แรงกว่าผลตอบแทนระยะสั้น 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 6 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ ทุกๆท่าน

ขออนุญาตนำมุมมองของคุณน้องดำ จากเว็บน่ำเชียง มาให้อ่านนะครับ

 

 

Gold -Sep06-2011

ทดสอบ 1903-05 ก่อนทำ all time high 1915 1930

แนวรับ 1885 1850-5

 

Dow Jones -ปิด

 

ปิด  1900.30 เหรียญ  +16.10  หรือ  +0.85%          

 

Sep 05, 2011 13:15 NY Time

Bid/Ask 1900.30 - 1901.30

Low/High 1874.20 - 1904.20

Change +16.10 +0.85%

30daychg +236.90 +14.24%

1yearchg +653.70 +52.44%

 

การเคลื่อนไหวของราคาทองเมื่อวานนี้

06gr-1.jpg

 

 

ราคาทองแท่งไทยเมื่อวานนี้

 

26700-26800 ราคาเปลี่ยนแปลง   +200 บาท      

06gc-1.jpg

06tg-1.jpg

=======================

 

=======================

 

ทิศทางราคาทองต่างประเทศ  

ใช้ indicator  - PPO

ระยะสั้น   เริ่มเป็นแนวโนมขึ้น

ระยะสั้น-กลาง เป็น แนวโน้ม ขึ้น

=====================

=====================

 

 

 ภาพรวม

 

ราคาทองทะลุ แนวต้าน 1885 ขึ้นมาได้ เป้าหมาย ยังคง รอทำ all time high เหนือ 1913  และ  1930

เป้าหมาย ระยะสั้น-กลาง  คือ  1970  

 

อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากราคาทองปรับตัววิ่งขึ้นมามาก  เหนือ 1880 ขึ้นมา....

ต้องจับตาทางการ สรอ ..โอกาสประกาศเพิ่ม margin เป็นครั้งที่ 3 และตามมาด้วยครั้งที่ 4  มีสูง

รอหลัง  19.00 น เป็นต้นไป เวลาประเทศไทย เมื่อ อเมริกาเปิดทำการหลังวันหยุด labour day.

แต่เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น

 

 

ตลาด ชั่วโมงของ เวลา ..นิวยอร์คปรับตัวขึ้น  จากช่วง 1883 ไป 1903  ปิดสูง  1901   ดูดี  

 

06-1gr-1.jpg

 

 

 

ผู้เชียร์ขึ้น ลุ้น เป้าหมายต่อไป   1915 - all time high  และ  1930

ต้องเริ่มเหนื่อยกันอีกครั้ง ในการทำกำไร

 

เพิ่มเติม

http://namchiang.com/smf/index.php?topic=12503.msg65801;topicseen#msg65801

Sep 02 -2011 ระยะสั้น-กลาง หากทะลุ 1840 เป้าหมาย 1970..... แนวรับหลัก 1775

 

สำหรับผู้ชื่นชอบ GF .--  ต้องระวังส่วนต่างระหว่าง ราคาตลาดและราคายุติธรรม series ไกล  Z .. G .

จะเพิ่มขึ้นเมื่อบรรยากาศการเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้น

ระวัง บทเรียน ครั้งก่อน --  

ไม่ได้ห้ามไม่ให้  L  - สนับสนุนอย่างยิ่ง  แต่ต้อง หนีให้เร็ว หากราคาปรับตัวลง

โปรดอย่าถาม ว่าทำไมจึงลง แต่ถามตัวเองว่า เมื่อเริ่มลง หนีทันหรือยัง....

 

ผู้เชียร์ลง  

เริ่มไม่ค่อยมีความสุขนัก    หมดความสุขเลย ...

ต้องลุ้นให้ต่ำกว่า 1885   1850-55  -  แต่โอกาสเห็น 1850-55  มีน้อยมาก .ในวันนี้.    

ระวังการ S ....... โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคาขึ้นเหนือ 1885

 

ส่วนต่างของราคาตลาดกับราคายุติธรรมของ series ไกลๆ จะค่อยๆเพิ่มขึ้นมาอีก

แต่ไม่น่าจะมากเป็น พัน เหมือนคราวที่แล้ว

 

คว่ามหวังที่มีอยู่ คือ ข่าวการเพิ่ม มาร์จิ้น เป็นครั้งที่ 3 และตามมาด้วยครั้งที่ 4 ของอเมริกา

เมื่อราคาทอง ขึ้นเหนือ 1880 ขึ้นมา

แค่เป็นการคาดการณ์เท่านั้น  แต่โอกาสมีสูงกว่า 65%

 

การ S  โอกาสมีกำไรมีน้อยมาก

การปิด S  น่าจะเป็นทางเลือก ให้พิจารณา อย่างรีบด่วน ....

 

 

เบื้องต้น แนวโน้มระยะสั้น-กลาง  จะเปลี่ยนเป็นขาลง

หากราคาต่ำกว่า 1700  ลงมา เท่านั้น  

 

แนวรับ  1885  1850-55

แนวต้าน  1915   1930  1970

 

 

คาดว่าราคาทองเช้านี้น่าจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 50-100  บาท

ถูกแก้ไข โดย ห้างทองน่ำเชียง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ ทุกท่านก็ควรระวังและพิจารณานะครับ ผมกระโดดได้เร็วเพียงกดปุ่มขายในออนไลน์ ทำได้ทันทีไม่ต้องโทรครับ แต่ต้นทุนผมต่ำระดับ 23000 ต่อบาททองเองนะครับ พิจารณากันให้ดีๆนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าไม่กล้าทดสอบ....

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าทำการใดผิดพลาดบ้าง!!

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...