ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

บอร์ดกนง.มีมติตรึงดอกเบี้ย2.75%อีกรอบ ห่วงฟองสบู่ภาคอสังหา (04/04/2556)

บอร์ดนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.75%ห่วงเศรษฐกิจโลกเปราะบาง?ต้องดูแลเสถียงภาพการเงินให้เหมาะสม? หวั่นปล่อยดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นฟองสบู่อสังหา ?ส่วนส่งออกเชื่อยังไปได้ยันค่าบาทแข็งไม่ใช่ตัวถ่วง ด้านพาณิชย์เตือนไตรมาส2อาการหนักเจอทั้งกีดกันการค้า ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี? ขืนปล่อยบาทแข็งค่าไม่เลิกแย่แน่ เตรียมถกฑูตพาณิชย์ทั่วโลกช่วยผู้ส่งออกหาตลาดเพิ่ม

 

ถึงแม้จะมีเสียงเรียกร้องจากผู้ส่งออกและทางการโดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือบอร์ดกนง.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสกัดการไหลเข้าของเงินทุน ลดแรงกดดันไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก? แต่ในที่สุดที่ประชุมกนง.เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 ก็มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75%

 

โดยนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เลขานุการกนง.แถลงว่าที่ประชุมกนง.มีมติ 5 ต่อ 1เสียงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่? 2.75%โดยมี1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25%ส่วนกรรมการอีกหนึ่งท่านติดภารกิจที่ต่างประเทศ

 

ทั้งนี้กนง.มีความเป็นห่วงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบางดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังมีความเหมาะสม แต่ต้องระมัดระวังความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินคือปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมทั้งการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ภาวะการเงินที่คล่องตัว อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและผลตอบแทนที่ต่ำจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เร่งตัวขึ้น”

 

โดยเห็นได้จากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นเร็ว ซึ่ง ธปท. ได้มีการติดตามสถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อส่วนบุคคลยังขยายตัวในระดับสูงทำให้เกิดความกังวลว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำ ภาคครัวเรือนจะมีการกู้ยืมเพิ่มมากขึ้นหรือไม่

 

ส่วนปัญหาเรื่องของเงินทุนเคลื่อนย้ายและการแข็งค่าของเงินบาท กนง.มีความกังวลและให้ความสำคัญ เพราะอัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ซึ่งคณะกรรมการได้มีการประเมินผลกระทบความเสี่ยงของค่าเงินในระยะข้างหน้าไว้แล้ว และยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเข้มแข็งและสามารถปรับตัวได้

 

ส่วนแนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ตามภาวะเศรษฐกิจโลกและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ซึ่งเป็นปัจจัยหลักต่อการขยายตัวของส่งออก ขณะที่ผลกระทบของค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกชะลอตัว เพราะเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นมาโดยตลอด แต่การส่งออกยังขยายตัวได้ต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าผู้ส่งออกมีการปรับตัวและมีศักยภาพที่ดีขึ้น

 

นายไพบูลย์กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 จะขยายตัวลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่เร่งมากขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ โดยอุปสงค์ในประเทศและการลงทุนภาครัฐจากโครงการจัดการน้ำและโครงสร้างพื้นฐานที่จะเริ่มลงทุนในช่วงปลายปีนี้เป็นตัวขับเคลื่อน ดังนั้น ในวันที่ 12 เมษายนนี้ จะมีการแถลงปรับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากที่เคยคาดการณ์ว่าอยู่ที่ 4.9%

 

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ค่าเงินบาทขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการส่งออก แต่หากสถานการณ์เลวร้ายกว่านี้จะกระทบต่อการส่งออกอย่างแน่นอน เบื้องต้นได้หารือกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด และจับตาทิศทางเงินบาทต่อเนื่องเพื่อส่งสัญญาณให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาหากสถานการณ์เงินบาทกระทบต่อการส่งออก

 

ในส่วนการส่งออกไตรมาส 2 พบว่ามีปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดหลายปัจจัยซึ่งหลายอย่างเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สถานการณ์สงครามคาบสมุทรเกาหลีซึ่งขณะนี้ยังไม่กระทบต่อการส่งออก และการค้าการลงทุนโดยรวม แต่ได้สั่งการให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ยังมั่นใจว่าการค้าระหว่างไทยและเกาหลีใต้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 30,000ดอลลาร์สหรัฐภายใน 5 ปีได้ตามเป้าหมาย

 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการกีดกันทางการค้าซึ่งกำลังจะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศเพราะมีการนำมาตรการกีดกันทางการค้ามาใช้เพื่อชดเชยการเปิดเสรีทางการค้าที่ขยายตัวมากขึ้น การแข็งค่าของเงินบาท รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในตลาดสำคัญๆ ซึ่งประเมินว่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่อง และได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์รวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจและการค้ารายตลาดก่อนนำมาประชุมร่วมกันในปลายเดือนพฤษภาคมซึ่งขณะนี้ยังคงเป้าหมายการส่งออกทั้งปีขยายตัว 8-9% มูลค่า 2.6 แสนล้านบาทไว้ก่อน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 4 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับตอนเช้าครับป๋า

 

ราคาโหดเกิ๊นนนนน ช่วงนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อคืน รายงานห่วย ยังไม่ช่วยอะไรเลย อิทธิฤทธิ์รุนแรงมาก

 

 

ADP เผยภาคเอกชนสหรัฐจ้างงานเพิ่มขึ้นน้อยเกินคาดในเดือนมี.ค. (04/04/2556)

ADP ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดแรงงานในสหรัฐ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 158,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 190,000-200,000 ตำแหน่ง

 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.พ. ถูกปรับทบทวนเป็นเพิ่มขึ้นถึง 237,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้นเพียง 198,000 ตำแหน่ง

 

ADP ระบุว่า บริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงาน 1-49 คน จ้างงานเพิ่ม 74,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ส่วนบริษัทขนาดกลางที่มีพนักงาน 50-499 คน จ้างงานเพิ่ม 37,000 ตำแหน่ง และบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงาน 500 คนขึ้นไป จ้างงานเพิ่ม 47,000 ตำแหน่ง

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.ในวันศุกร์นี้ ซึ่งนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งคาดว่าตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ 7.7%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 4 เมษายน 2556)

 

ดัชนีภาคบริการสหรัฐเดือนมี.ค.ชะลอตัวลงแตะระดับต่ำสุดใน 7 เดือน (04/04/2556)

สถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐขยายตัวชะลอลงแตะ 54.4 ในเดือนมี.ค. ซึ่งต่ำสุดในรอบ 7 เดือน จากระดับ 56.0 ในเดือนก.พ. โดยก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าดัชนีจะขยายตัวใกล้เคียงกับในเดือนก.พ.

 

ส่วนดัชนีย่อยอื่นๆก็ชะลอตัวลงเช่นกัน โดยดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ชะลอลงแตะ 54.6 ในเดือนมี.ค. จาก 58.2 ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนีการจ้างงานร่วงลงแตะ 53.3 จาก 57.2 ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ขณะที่ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ/การผลิต ขยับลงแตะ 56.5 จาก 56.9

 

การเปิดเผยดัชนีภาคบริการเป็นไปในทิศทางเดียวกับข้อมูลภาคการผลิต โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ISM รายงานว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตของสหรัฐขยายตัวชะลอลงผิดคาดแตะ 51.3 ในเดือนมี.ค. จาก 54.2 ในเดือนก.พ. โดยก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าดัชนีภาคการผลิตสหรัฐจะมีการขยายตัวใกล้เคียงกับในเดือนก.พ. อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรมในภาคการผลิตสหรัฐยังคงมีการขยายตัว

 

ทั้งนี้ ภาคบริการคิดเป็นสัดส่วนถึงราว 90% ของระบบเศรษฐกิจสหรัฐ โดยครอบคลุมอุตสาหกรรมตั้งแต่สาธารณูปโภคและค้าปลีก ไปจนถึงการเคหะ บริการสุขภาพ และการเงิน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 4 เมษายน 2556)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมันดิบร่วงหนัก หลังสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ พุ่ง " (04/04/2556)

ราคาน้ำมันดิบร่วงหนัก หลังสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ พุ่ง "

 

เบรนท์ส่งมอบเดือน พ.ค.ปรับลดลง 3.58 ปิดที่ 107.11 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน พ.ค.ปรับลดลง 2.74 ปิดที่ 94.45เหรียญฯ

 

- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 มี.ค. 56 ปรับเพิ่มขึ้น 2.71 ล้านบาร์เรล มากกว่าคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันภายในประเทศที่อยู่ในระดับสูงถึง 7.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งนี้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังในปัจจุบันอยู่ที่ ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ที่ 388 ล้านบาร์เรล ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับปริมาณสูงสุดในประวัติการณ์ (ปี 1982) ที่ 391.9 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับตัวลดลง 572,000 บาร์เรล ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะลดลง 800,000 บาร์เรล

 

- ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น158,000 ตำแหน่ง ในเดือนมี.ค. ต่ำกว่าคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 190,000-200,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือน ก.พ. 56 ถูกปรับทบทวนเป็นเพิ่มขึ้น 237,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้นเพียง 198,000 ตำแหน่ง ซึ่งตัวเลขการจ้างงานในภาคเอกชนที่ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด ทำให้นักลงทุนกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจชะลอตัวลงและทำให้ความต้องการพลังงานในสหรัฐซบเซาลงด้วย

 

- นอกจากนั้น ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ เดือน มี.ค. 56 ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง มาอยู่ที่ระดับ 54.4 จุด ต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ระดับ 56.0 จุด

 

- การปิดท่อส่งน้ำมันดิบของบริษัทเอ็กซอนโมบิล เนื่องจากเหตุรั่วไหลของท่อส่งน้ำมันดิบเพกาซุสซึ่งมีกำลังส่งมากกว่า 90,000 บาร์เรลต่อวันและส่งน้ำมันดิบจากรัฐอิลลินอยส์มายังโรงกลั่นในแถบรัฐเทกซัส ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คอยกดดันราคาน้ำมันดิบ WTI เนื่องจากตลาดกังวลว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังอาจจะปรับตัวสูงขึ้นอีกในประเทศ สัปดาห์หน้า ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯ ได้สั่งการให้บริษัทเอ็กซอนโมบิลทำการซ่อมบำรุงท่อดังกล่าวให้แล้วเสร็จภาย ใน 45 วัน

 

- ตลาดยังคงกังวลและติดตามการเจรจาระดับหัวหน้าผู้แทนระหว่างอิหร่าน และ 6 ชาติมหาอำนาจที่จะมีขึ้นในวันที่ 5-6 เม.ย. นี้ ที่ประเทศคาซัคสถาน ทั้งนี้มีความคาดหวังว่าอิหร่านจะยอมเจรจาตกลงยอมรับข้อเสนอการลดมาตรการ คว่ำบาตรของชาติมหาอำนาจ เพื่อแลกกับการที่อิหร่านลดเก็บสะสมและลดสมรรถนะแร่ยูเรเนียมให้อยู่ในเกณฑ์ ที่ไม่สามารถสร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้

 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะจากเวียดนามและอินโดนีเซีย

ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

 

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้เบรนท์ 105-112 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 92-99 เหรียญ

วันนี้ ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางยุโรปและคืนนี้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจยอดขอรับ สิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ รวมทั้งดัชนีภาคบริการยูโรโซน

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันพฤหัส: การประชุมธนาคารกลางยุโรป ดัชนีภาคบริการยูโรโซน ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ

วันศุกร์: ยอดขายปลีกยูโรโซน ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมนี ดุลการค้า อัตราการว่างงานและตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร

 

- ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 4 เม.ย. ว่าจะมีนโยบายทางการเงินอย่างไร โดยเฉพาะนโยบายดอกเบี้ย หลังภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนยังอยู่ในภาวะเปราะบาง

- ติดตามผลกระทบต่อประเทศสมาชิกยูโรโซน หลังจากธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศอนุมัติเงินช่วยเหลือไซปรัสจำนวน 10,000 ล้านยูโร แลกกับการประกาศล้มละลายธนาคารใหญ่อันดับสองของประเทศ

- จับตาความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังจากไม่มีฝ่ายใดได้เสียงข้างมากทั้งสภาผู้แทนฯและวุฒิสภาหากไม่สำเร็จ อาจทำให้อิตาลีต้องมีการแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง

- ติดตามการเจรจาระดับหัวหน้าผู้แทนระหว่างอิหร่าน และ 6 ชาติมหาอำนาจในวันที่ 5-6 เม.ย.นี้ ว่าจะสามารถตกลงกันได้หรือไม่ โดย 6 ชาติมหาอำนาจยื่นข้อเสนอลดมาตรการคว่ำบาตรกับอิหร่าน เพื่อแลกกับการที่อิหร่านลดการเก็บสะสมและลด

 

ราคาน้ำมันดิบ (เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล)

-----------------------------------------------------------------

ราคาน้ำมันตลาดจร 2 เม.ย.56 3 เม.ย.56 เปลี่ยนแปลง

-----------------------------------------------------------------

เวสต์เท็กซัส (พ.ค.) 97.19 94.45 -2.74

เบรนท์ (พ.ค.) 110.69 107.11 -3.58

ดูไบ 108.20 107.67 -0.53

เงินดอลลาร์ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ยูโร)1.2818 1.2850 0.0032

ดัชนีอุตสหกรรมดาวโจนส์ (จุด) 14,662.01 14,550.35 -111.66

ราคาทองคำ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ออนซ์)1,575.10 1,552.80 -22.30

----------------------------------------------------------------

 

ราคาขายปลีกและค่าการตลาด (บาท/ลิตร)

-------------------------------------------------------

UG91 GSH95 GSH91 B5

-------------------------------------------------------

ราคาหน้าโรงกลั่น 24.12 23.82 23.72 23.75

ภาษี 10.76 9.52 9.36 1.97

กองทุน 9.45 4.25 2.15 3.05

ค่าการตลาด 2.31 1.84 1.76 1.22

ราคาขายปลีก 46.65 39.43 36.98 29.99

-------------------------------------------------------

ปตท.-บางจากปรับขึ้นราคาขายปลีกกลุ่มเบนซิน-โซฮอล์ 40 สต./ลิตร E85 ขึ้น 20สต./ลิตร มีผลวันที่ 4 เม.ย. 56

กบง.มีมติเก็บเงินกองทุนดีเซลเพิ่ม 60 สต. มีผลตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค. 56

 

ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์ (เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล)

----------------------------------------------------------------

ราคาน้ำมันตลาดจร 2 เม.ย.56 3 เม.ย.56 เปลี่ยนแปลง

----------------------------------------------------------------

เบนซินออกเทน 95 125.53 122.11 -3.42

น้ำมันก๊าดและอากาศยาน 123.14 123.33 0.19

น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (0.05%กำมะถัน)123.10 123.68 0.58

น้ำมันเตา (3.5% กำมะถัน) 101.48 100.64 -0.84

----------------------------------------------------------------

หมายเหตุ: เป็นราคาปิดเมื่อวันวันที่ 28 มี.ค. 56 ส่วนวันที่ 29 มี.ค. 56 ตลาดปิดเนื่องในวันหยุดอีสเตอร์

 

โดย หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน บมจ.ไทยออยล์ ประจำวันที่ 4 เม.ย. 2556

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เจ้าหน้าที่เฟดมองเศรษฐกิจสหรัฐกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น (04/04/2556)

เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) 2 รายแสดงความเห็นเชิงบวกอย่างระมัดระวังว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นที่ยาวนาน แต่ก็เสนอมุมมองที่แตกต่างกันว่า แนวโน้มดังกล่าวจะสนับสนุนโครงการซื้อพันธบัตร ของเฟดเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือไม่

 

 

"เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราจะลดอัตราการซื้อและยุติโครงการนี้" นายชาร์ลส อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก กล่าวกับผู้สื่อข่าว "สิ่งนี้อาจจะเกิดขึ้นในช่วงต่อไปของปีนี้"

 

 

ด้านนายเจฟฟรีย์ แลคเกอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ กล่าวว่า เขาประทับใจกับการฟื้นตัวของผู้บริโภคสหรัฐในช่วงไตรมาสแรก แต่ก็ยังไม่พร้อมที่จะปรับเพิ่มคาดการณ์ของเขาสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่สูงกว่าระดับ 2% ในปีนี้

 

 

นายแลคเกอร์เป็นผู้มีความเห็นสนับสนุนการคุมเข้มด้านเงินเฟ้อ ขณะที่นายอีแวนส์เป็นผู้ที่สนับสนุนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 4 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันดิบปิดร่วง 2.74ดอลล์ (04/04/2556)

น้ำมันดิบตลาดนิวยอร์ก ปิดร่วง2.74 ดอลล์ที่ 94.45 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่ง

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์ก ส่งมอบเดือนพ.ค.ร่วงลง 2.74 ดอลลาร์ หรือ 2.81% ปิดที่ 94.45 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 3.58 ดอลลาร์ หรือ 3.2% ปิดที่ 107.11 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ตลาดน้ำมันนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของความต้องการพลังงานในสหรัฐ หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 มี.ค.พุ่งขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรล แตะที่ 388.6 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 2.3 ล้านบาร์เรล

 

ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล แตะ 113 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 572,000 บาร์เรล สู่ระดับ 220.7 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่คาดว่าจะลดลง 800,000 บาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 0.6% แตะที่ 86.3% มากกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4%

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 4 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

04 เมษายน 2556

 

ตลาดหุ้นยุโรป:วิตกข้อมูลศก.สหรัฐอ่อนแอฉุดหุ้นยุโรปปิดร่วง

 

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงในวันพุธ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ เพิ่มความวิตกที่ว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะเผชิญความยากลำบาก

 

 

ดัชนี DAX ของตลาดหุ้นเยอรมนีปิดร่วงลง 69.12 จุด หรือ 0.87% สู่ 7,874.75 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 7,869.81-7,953.15

 

 

 

ดัชนี CAC-40 ของตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดร่วง 50.41 จุด หรือ 1.32% สู่ 3,754.96 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 3,752.71-3,806.30

 

ดัชนี FTSEurofirst 300 ของหุ้นกลุ่มบลูชิพทั่วยุโรปปิดลบ 10.49 จุด หรือ 0.87% สู่ 1,193.30 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,192.58-1,204.75

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**บาท/ดอลลาร์เช้านี้อ่อนค่าตามภูมิภาค, ยังมีแรงซื้อคืนดอลล์

 

 

 

 

*บาท/ดอลลาร์เช้านี้อ่อนค่า ตามทิศทางสกุลเงินและตลาดหุ้นในภูมิภาค

ขณะที่นักลงทุนยังกลับเข้าซื้อดอลลาร์ หลังจากที่ขายออกมามากในช่วง

ที่ผ่านมา

*เยนทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบดอลลาร์ ในการ

ซื้อขายที่ตลาดเอเชียช่วงเช้านี้ ขณะที่นักลงทุนมีท่าทีระมัดระวัง และ

รอดูว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) จะดำเนินการเชิงรุกมากเพียงใด

ในการจัดการกับภาวะเงินฝืด

*บีโอเจจะประกาศมติการประชุมในช่วงสายของวันนี้ และนายฮารุฮิโกะ

คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ จะแถลงข่าวในช่วงบ่าย

*ตลาดจะรอดูการประชุมนโยบายของธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) และ

ธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี) ด้วย ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางทั้งสองแห่ง

จะไม่ออกมาตรการกระตุ้นใหม่ในขณะนี้

*แต่นักวิเคราะห์คาดว่า อีซีบีอาจจะพยายามคลายความวิตกให้แก่ตลาด

ด้วยการประกาศอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารต่อไป หลังการ

จัดการกับภาวะล่มสลายทางการเงินของไซปรัส

*ดอลลาร์มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อคืนนี้ เมื่อเทียบกับเยนและยูโร หลังจาก

รายงานบ่งชี้ว่า การจ้างงานในภาคเอกชนของสหรัฐ เพิ่มขึ้นน้อยกว่า

ที่ตลาดคาดไว้ และการขยายตัวของภาคบริการ ชะลอตัวลงใน มี.ค.

ซึ่งเพิ่มความวิตกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

*อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร

ของ ธปท.วันนี้ อยู่ที่ 29.417 บาท

*09.08 น.บาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 29.41/45 จาก 29.35/38 เมื่อวาน

ขณะที่ใน offshore อยู่ที่ 29.405/455 จาก 29.35/38 เมื่อวาน

*เยน/ดอลลาร์ อยู่ที่ 92.96/97 จาก 92.92 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวาน

*ยูโร/ดอลลาร์ อยู่ที่ 1.2841/44 จาก 1.2845 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวาน

 

 

 

 

 

"สถานการณ์ช่วงนี้ดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ตลาดหุ้นภูมิภาคก็ปรับตัวลงมา แล้วมีเรื่องของเกาหลีที่ต้องระวังอยู่ ทำให้บาทช่วงนี้อ่อนค่า แล้ว flow(ซื้อบาท) ก่อนหน้านี้ก็ดูจะ over เกินไป ตอนนี้ก็เปลี่ยนมา support ดอลลาร์ แทน" ดีลเลอร์ กล่าว

 

 

เขา กล่าวว่า เงินบาทในระยะสั้นยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ตามทิศทาง สกุลเงินและตลาดหุ้นภูมิภาค ที่อยู่ในช่วงของการอ่อนตัว ขณะที่ความกังวลต่อความ ตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ก็เป็นปัจจัยกดดันสกุลเงินภูมิภาคเช่นกัน

ดีลเลอร์คาดว่า เงินบาทวันนี้จะมีแนวรับที่ 29.45 และแนวต้านอยู่ที่ 29.35

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดโลหะมีค่ายุโรป:ราคาทองปิดร่วงตามน้ำมันดิบ,ตลาดหุ้น

 

 

ราคาทองปิดตลาดยุโรปร่วงลงในวันพุธหลังดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนที่ 1,550 ดอลลาร์ โดยร่วงลงตามราคาน้ำมันดิบและตลาดหุ้น

 

ราคาโลหะเงิน, พลาตินั่มและพัลลาเดียมปิดตลาดร่วงลงเช่นกัน

 

ระดับปิดของราคาโลหะมีค่าในตลาดลอนดอนเป็นดังนี้

ทอง - ปิดที่ 1,557.35 ดอลลาร์/ออนซ์ ลบ 17.89 ดอลลาร์

เงิน - ปิดที่ 26.92 ดอลลาร์/ออนซ์ ลบ 0.28 ดอลลาร์

พลาตินั่ม - ปิดที่ 1,531.50 ดอลลาร์/ออนซ์ ลบ 38 ดอลลาร์

พัลลาเดียม- ปิดที่ 750.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ลบ 14 ดอลลาร์

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงเช้านี้ หลังนลท.ผิดหวังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ

 

 

ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังเมื่อคืนนี้ ทำให้นักลงทุนเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

 

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ลดลง 0.8% แตะ 133.89 จุด เมื่อเวลา 9.42 น.ตามเวลาโตเกียว โดยมีสัดส่วนหุ้นลบต่อหุ้นบวกราว 5 ต่อ 1 หุ้น

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 12,188.22 จุด ลดลง 173.98 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,963.39 จุด ลดลง 19.83 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,315.00 จุด ลดลง 6.77 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 6,816.48 จุด เพิ่มขึ้น 1.18 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,680.97 จุด ลดลง 4.43 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,949.90 จุด ลดลง 7.80 จุด

 

ตลาดหุ้นจีน ตลาดหุ้นฮ่องกง และตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดทำการวันนี้เนื่องในวันหยุด

 

หุ้นโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป ลดลง 2.2% หลังเยนแข็งค่าเทียบดอลลาร์ หุ้นมิซูโฮ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ร่วง 2.6% ก่อนธนาคารกลางญี่ปุ่นแถลงมติการประชุมวันนี้ และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ลดลง 1.4%

 

ตลาดหุ้นเอเชียได้รับแรงกดดันหลังจากที่ ADP ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดแรงงานในสหรัฐ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 158,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 190,000-200,000 ตำแหน่ง

 

ขณะเดียวกันสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐขยายตัวชะลอลงแตะ 54.4 ในเดือนมี.ค. ซึ่งต่ำสุดในรอบ 7 เดือน จากระดับ 56.0 ในเดือนก.พ. โดยก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าดัชนีจะขยายตัวใกล้เคียงกับในเดือนก.พ.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

EIA เผยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้นมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว (04/04/56)

สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้นมากเกินคาดในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 มี.ค.

 

โดยสต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรล แตะ 388.6 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล แตะ 113 ล้านบาร์เรล ขณะที่สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 572,000 บาร์เรล สู่ระดับ 220.7 ล้านบาร์เรล

 

ด้านอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 0.6% แตะ 86.3%

ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า สต็อกน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะลดลง 800,000 บาร์เรล และคาดว่าอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันจะเพิ่มขึ้น 0.4%

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสทื (04/04/56)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...