ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ทองปิดลบ $1.8 หลังสหรัฐเผยข้อมูลศก.แข็งแกร่ง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 29 เมษายน 2557 06:34:34 น.

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (28 เม.ย.) โดยสัญญาปิดร่วงหลุดจากระดับ 1,300 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐทำให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ นักลงทุนยังได้เทขายทำกำไรหลังจากสัญญาพุ่งขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการที่ผ่านมา

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 1.8 ดอลลาร์ หรือ 0.14% ปิดที่ 1,299.0 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 10.3 เซนต์ ปิดที่ 19.588 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 4.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 1419.70 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 10.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 800.70 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐทำให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย โดยสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (NAR) เผย ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว หรือในรอบ 9 เดือน ซึ่งส่งสัญญาณว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐกำลังกระเตื้องขึ้น หลังจากที่เผชิญกับภาวะซบเซาในช่วงต้นปี

 

ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัสเปิดเผยว่า ภาวะทางธุรกิจในภาคการผลิตของเท็กซัสในเดือนเม.ย.ทะยานขึ้นแตะ 11.7 จาก 4.9 ในเดือนมี.ค. หลังจากดัชนีย่อยหลายตัวได้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตมีการขยายตัวที่สดใสมากขึ้น

 

นักลงทุนจับตาดูสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกอย่างใกล้ชิด โดยมีรายงานว่าทำเนียบขาวประกาศมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียเมื่อวานนี้ โดยพุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่รัฐบาล 7 รายและบริษัท 17 แห่งที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าการคว่ำบาตรครั้งใหม่นี้อาจจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงมากนัก และคาดว่าสัญญาทองคำจะปรับฐานลงสู่กรอบ 1,287.50 - 1,282.99 ดอลลาร์/ออนซ์

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

http://www.ryt9.com/s/iq31/1886360

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จากเมื่อวานนี้ ที่ราคาทองลงมาประชิดเส้นด้านล่าง 1293 มาวันนี้ ในแนวรับแนวต้าน จากจุดต่างๆ ตามกราฟฯ อันนี้ http://www.fxstreet.com/analysis/todays-gold-forecast/2014/04/29/

 

แนวต้านด้านบน วันนี้ 1303 จะชนเมื่อไหร่ ทีเดียวแตกหรือไม่แตก แต่น่าจะวนเวียนรอ Fed หรือ ใครบางคนอาจเชื่อกันว่า รัสเซียและจีน กำลังใช้ตลาดทองคำ แก้เกมสงครามเศรษฐกิจกดดันสหรัฐฯ

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คาดตลาดหุ้นยุโรปเปิดปรับตัวขึ้น ขานรับผลประกอบการ

 

 

ตลาดหุ้นยุโรปมีแนวโน้มว่าจะเปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้นในวันนี้ ในขณะที่บริษัทต่างๆได้รายงานผลประกอบการ และธนาคารกลางสหรัฐได้เริ่มการประชุมนโยบายเป็นวันแรก

ดัชนี Euro Stoxx 50 บวก 0.5% แตะ 3,121 เมื่อเวลา 7.16 น.ตามเวลาลอนดอน

หุ้นดอยช์แบงก์อาจปรับตัวขึ้น ภายหลังจากที่ธนาคารได้รายงานผลกำไรไตรมาสแรกซึ่งลดลงน้อยกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ หุ้นโนเกียอาจเคลื่อนไหวรับการแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่

 

 

นักวิเคราะห์คาดเฟดลดวงเงินซื้อพันธบัตรลงอีก $1 หมื่นล้านในการประชุมสัปดาห์นี้

 

 

นักวิเคราะหึ์คาดว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) จะมีมติลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรรายเดือนลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ในการประชุมวันที่ 29-30 เม.ย.นี้

กระแสคาดการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงมา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการลดวงเงินในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายหลังจากที่ FOMC ได้ปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรรายเดือนลงมาแล้วในการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โกลเบล็ก แนะเก็งกำไรทองคำ ตามกรอบ 1,260-1,330 เหรียญต่อทอยออนซ์ ส่งซิกหุ้น GENCO – BWG – SUPER สัญญาณการฟื้นตัว ราคามีลุ้นไปได้ต่อ

 

 

บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ หรือ GBX แนะนักลงทุนจับตาผลการประชุมธนาคารสหรัฐ เหตุ มาตรการ QE ยังคงเป็นตัวแปรหลักกดดันการลงทุนในทองคำ พร้อมให้เก็งกำไร ตามกรอบสัญญาณ ที่ระดับ 1,260-1,330 เหรียญต่อทอยออนซ์ หรือ 19,260-20,330 บาท/บาททองคำ ขณะที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางด้านเทคนิค บล.โกลเบล็ก ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของหุ้น GENCO – BWG – SUPER แจงหุ้นดังกล่าวสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย Bollinger Top ได้ ลุ้นราคาวิ่งได้

 

นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GBX เปิดเผยถึงกรอบราคาทองคำในสัปดาห์นี้ ว่า ให้จับตาเรื่องผลการประชุมธนาคารสหรัฐ ที่จะเป็นปัจจัยกดดันทางจิตวิทยาหากมีการประกาศลด วงเงินมาตรการ QE ลงอย่างต่อเนื่อง โดยให้กรอบราคาทองคำไว้ที่ระดับ 1,260-1,330 เหรียญต่อทอยออนซ์ หรือ 19,260-20,330 บาท/บาททองคำ (อ้างอิงค่าเงินบาทที่ 32.25 บาท/$) โดยแนะนำให้เล่นเก็งกำไร ในกรอบโดยเน้นฝั่งซื้อ หลังราคาทองคำกลับมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน และ 10 วันอีกครั้ง ทำให้มีโอกาสรีบาวด์ขึ้นทดสอบแนวต้าน ที่ระดับ 1,330 เหรียญต่อทอยออนซ์ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดก่อนหน้าและเป็นเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน

 

ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองคำโลกปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อนประมาณ 5.87 เหรียญต่อทอยออนซ์ หรือคิดเป็น 0.45% มาซื้อขายที่ระดับ 1,304.06 เหรียญต่อทอยออนซ์ โดยมีจุดต่ำสุดที่ 1,268.47 เหรียญต่อทอยออนซ์ และมีจุดสูงสุดที่ 1,304.96 เหรียญต่อทอยออนซ์ โดยราคาทองคำเริ่มปรับตัวลงจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสเปนหลังธนาคารกลางสเปน ระบุว่า สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของภาคธนาคารสเปนอยู่ที่ 13.42% ในเดือนก.พ. โดยตัวเลขดังกล่าวปรับตัวลง 0.11% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน จากระดับ 13.53% ในเดือนม.ค. ซึ่งถือว่าเป็นการทรงตัวในระดับสูงคอยกดดันเงินยูโรและราคาทองคำ

 

อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำปรับตัวขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยหลังจากความตึงเครียดระลอกใหม่ระหว่างยูเครนและรัสเซีย ซึ่งถึงขีดสุดจากการที่รัสเซียซ้อมรบประชิดพรมแดนยูเครนเพื่อเป็นการตอบโต้ " ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย " ของยูเครน ซึ่งทำให้ผู้ประท้วงที่ฝักใฝ่รัสเซียเสียชีวิต 5 ราย ด้านนายจอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ ได้ออกมาแสดงความวิตกเป็นอย่างยิ่งที่ไม่มีความคืบหน้าที่เป็นบวกจากรัสเซีย

 

พร้อมกับย้ำว่า มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจะถูกยกระดับขึ้น หากรัสเซียไม่ออกมาตรการใดๆตามที่ได้ตกลงไว้ในการประชุมระหว่างสหรัฐ อียู รัสเซีย และยูเครนที่เจนีวา เมื่อวันที่ 17 เม.ย.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.26/28 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.23/25 บาท/ดอลลาร์

 

ล่าสุดอ่อนค่าไปอยู่ที่ 32.29/30 ทิศทางวันนี้บาทน่าจะยังอ่อนค่าต่อ หลังจากที่เมื่อวานนี้เงินบาทลงไปไม่ผ่าน 32.20 วันนี้จึงมีการซื้อคืน ขณะที่เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉพาะสกุลเงินในเอเชีย

 

"วันนี้คงต้องดูว่าจะผ่านแนวต้านที่ 32.30 ไปได้หรือไม่ แต่เชื่อว่าจะผ่านไปได้ไม่ไกลมาก เพราะขณะนี้ตลาดยังรอผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน(FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ในวันพฤหัสนี้ ส่วนปัจจัยบ้านเราคงต้องไปรอในเดือนหน้า" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะแกว่งอยู่ในกรอบ 32.25-32.35 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 32.2867 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M(28 เม.ย.) อยู่ที่ 1.87815% และ THAI BAHT FIX 6M(28 เม.ย.) อยู่ที่ 1.93361%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ ฝรั่งเขา ให้แนวทางขาเสี่ยงไว้แบบนี้ ก็ระวังกันหน่อย เพราะ ราคาทองขณะนี้ ถ้าตามฝรั่งคนนี้ เขามองว่า แทงลง แต่ผมไม่แทงขาลง และผมไม่มั่นใจ แทง Short ผมขอนิ่งนั่งมองไปก่อน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

::แดงเป็นเถือก

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อียูประกาศอายัดทรัพย์,คว่ำบาตรนักการเมือง,ผู้นำกองทัพรัสเซีย 15 คน

 

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศในวันนี้ว่า ได้ทำการอายัดทรัพย์สินและห้ามออกวีซ่าให้แก่ชาวรัสเซีย 15 คน ซึ่งรวมถึงนายดมิทรี นิโคลาเยวิช โคซัค รองนายกรัฐมนตรี และนายลุดมิลา อิวานอฟนา ชเวตโซวา รองประธานสภาดูมา

ส่วนบุคคลอื่นๆที่อยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าวได้แก่ นายวาเลรี วาซิเลวิช เกราซิมอฟ ประธานเสนาธิการกองทัพรัสเซีย รวมทั้งผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดน

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีเช้าวันที่ 30 เมษายน 2557 ก็เป็นอีกวันที่นักลงทุนสิ้นสุดการรอคอย ทั้งประกาศดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ และแผนงานที่ได้ประชุม เมื่อจบราย 4 เดือน เส้นรหัสฯ ที่ออกมาวันนี้ หลังจากผ่านมา 24 ชั่วโมง เส้นดำเส้นแดง ออกมาแบบวิ่งเป็นแนวตรงทับกัน ซึ่งทำให้ ดูว่า ข่าวฯ ที่ทุกคนรอคอยกับการเริ่ม เดือนที่ 5 ของปี น่าจะต้องมีการขยับกันเยอะระดับ 20-25 เหรียญ ทายแทงถูกตอนนี้ ก็คงรับทรัพย์เยอะ ทายผิดก็คงขาดทุนแยะ กล้าเสี่ยง รับสภาพได้หรือเปล่า ก็ขึ้นกับอย่าทุ่มแทงหมดทีเดียว ( รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง )

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในรหัส 7,5,2 เส้นแดงยังอยู่บนเส้นดำ ใช่ไหมครับ ใช่ในตอนนี้ที่เห็น มันก็บ่งบอกว่า " ไปต่อ " แต่วันนี้ วันสิ้นสุดการรอคอยอีกวัน ของนักลงทุนทั้งโลก และประกอบกับการดูเส้นทาง เส้นดำเส้นแดง ที่จะเกิดขึ้น งานนี้ จึงต้อง มโนในแง่ร้าย ........ ถ้าเส้นดำจะเงยขึ้น การเงยขึ้นของเส้นดำ ต้องใช้การขยับราคาเยอะ 20 เหรียญ นั้นคือราคาทองร่วง 20 เหรียญ และทุกครั้งในอดีตพอเส้นดำเงยขึ้นทีไร เส้นแดงจะอยู่ด้านล่าง ส่งผลทองร่วงทุกครั้ง มา มโน ในแง่ดี ......ถ้าเส้นดำพุ่งลงด้านล่าง เส้นแดงก็ยังอยู่บนเส้นดำต่อไป ส่งสัญญานทางขึ้น แต่ก็ต้องใช้การขยับราคาแยะ 20 เหรียญ นั้นคือราคาขึ้น 20 เหรียญ

 

ดังนั้น ส่วนตัว เล่นเอง เจ็บเอง ได้กันเอง ผมก็ยังมองทางขึ้นอยู่ดี ไอ้ขยับย่ออาจมีบ้าง 1290 ก็ต้องลุ้นกันต่อไป ในทองแท่งตัวเป็นๆๆ

 

ปล. วันนี้ บ่นเยอะไป เพราะ พรุ่งนี้ วันแรงงาน Mayday ใครๆ ในโลกอาจหยุดนะ

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตาางรายงานคืนนี้ GDP สหรัฐ ก็สิ้นสุดรู้ผลการรอคอยแล้ว ที่เขาคาด เขาว่า ขยายตัวต่ำ สิ่งที่เราได้รู้ รู้ทีหลังการประชุมเฟด เพราะเขาต้องเอารายงานมาดูก่อน เพื่อที่จะประชุมจัดการนโยบายการเงินในอนาคตของประเทศ

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาพการลงทุนในช่วงต้นเดือนเมษายน สินทรัพย์ส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก โดยตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (Developed Market) มีการปรับตัวลงเล็กน้อยจากแรงขายทำกำไรหลังจากที่มีการปรับขึ้นมาต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ ส่วนตลาดกำลังพัฒนา (Emerging market) กลับมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเม็ดเงินบางส่วนที่โยกจากตลาดพัฒนาแล้วเข้ามา หลังเห็นว่าตลาดหุ้นกำลังพัฒนามีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้ว

 

นอกจากนั้น การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของประเทศต่างๆ ที่ออกมาชะลอตัวลงกว่าที่ตลาดคาด ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มีการขายทำกำไรตลาดหุ้นหลักโยกมาลงทุนในตลาดกำลัง พัฒนามากขึ้น

 

ในขณะที่ตลาดเริ่มมีการคาดการณ์ว่า เฟดอาจมีการหยุดชะลอ QE ลงในการประชุมเฟดวันที่ 29-30 เม.ย.นี้ หลังจากที่ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในวันที่ 18-19 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มีมติลดวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ลงอีกเป็นครั้งที่ 3 จำนวน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เหลือเป็นวงเงิน 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากตัวเลขเศรษฐกิจหลายอย่างในช่วงนี้ที่ออกมาไม่ดี อย่างตัวเลขอัตราการว่างงานเดือนมีนาคมของสหรัฐที่ตลาดคาดว่าจะลดลงมาอยู่ ที่ 6.6% แต่ปรากฏว่าประกาศออกมา 6.7% และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ออกมามีการจ้างงานเพิ่ม 192,000 ตำแหน่งต่ำกว่าตลาดคาดที่ 200,000 ตำแหน่ง

 

จากผลดังกล่าวทำให้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าลง ส่งผลให้มีแรงซื้อเข้ามาในทองคำและน้ำมันจนปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3% ในช่วงที่ผ่านมา ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ ในช่วงต้นเดือนมีแรงขายออกมาเพื่อนำเงินไปลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี (Bond Yield) ปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 2.80 แต่ต่อมามีแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมาแล้วนำเงินกลับมาพักในตราสารหนี้ จึงทำให้ Bond Yield กลับมาลดลงอยู่ที่ 2.62

 

สำหรับแนวโน้มการลงทุน ของแต่ละสินทรัพย์ในช่วงปลายเดือนเมษายน เราประเมินว่าตลาดตราสารหนี้ในประเทศจะยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ขึ้นกับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ 23 เม.ย. ว่าจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.0% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกันที่ 1.97% แต่มีโอกาสปรับขึ้นไปถึงระดับ 2.5% ได้ในครึ่งปีหลัง

 

ดังนั้น ตลาดจึงมีมุมมอง 2 ด้าน ทั้งด้านที่คาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และอีกด้านที่คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก็จะทำให้ Bond Yield ปรับลดลงไปตาม ส่วนทองคำและน้ำมันทิศทางจะขึ้นกับสถานการณ์ความรุนแรงในยูเครนและการประชุม เฟดในวันที่ 29-30 เม.ย. โดยหากเฟดยังคงชะลอ QE ต่อไปก็จะเป็นผลลบต่อราคาทองคำและน้ำมันในระยะสั้นได้

 

ส่วนทิศทางตลาดหุ้นไทยในครึ่งเดือนหลัง คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากประเด็นการเมืองที่จะกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง ทั้งการตัดสินคดีต่างๆ ของศาลรัฐธรรมนูญและ ป.ป.ช. ที่จะส่งผลต่อตำแหน่งรักษาการนายกฯ และอาจรวมไปถึงการเลือกนายกฯที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง อีกทั้งทางกลุ่ม กปปส.และ นปช.ก็จะมีการนัดชุมนุมใหญ่ในช่วงปลายเดือนเมษายน ก็น่าจะสร้างความกังวลให้กับตลาดได้พอสมควร

 

ในกรณีดีที่สุดคือ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยลง เฟดชะลอการลด QE และการเมืองไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เราประเมินว่าตลาดจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,350-1,440 แต่ในกรณีแย่สุดคือ กนง.คงอัตราดอกเบี้ย เฟดชะลอ QE ลงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 และการเมืองมีความรุนแรงเกิดขึ้น เราคาดว่าตลาดจะปรับลดลงไปในระดับ 1,300-1,350 จุด

 

สำหรับการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนในเดือนนี้ เรายังแนะนำให้จัดพอร์ตการลงทุนในหุ้น 50% เนื่องจากหุ้นยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงที่สูงที่สุดใน ปัจจุบัน และให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อได้ รวมถึงหากมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงก็จะยิ่งหนุนการลงทุนในหุ้นให้มีความ น่าสนใจเพิ่มขึ้นจากการที่ผลตอบแทนของตราสารหนี้และเงินฝากจะปรับตัวลดลง

 

ขณะเดียวกัน ได้คงน้ำหนักการลงทุนในตลาดเงิน/ตราสารหนี้ 25% (เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นหลัก เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่า และมีความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าหากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใน ตลาดกลับมาเป็นขาขึ้นในปีหน้า) เพื่อสร้างสมดุลให้กับพอร์ตการลงทุน กองทุนน้ำมัน 15% กองทุนอสังหาฯ 5% และกองทุน LTF/RMF 5%

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (30/04/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและเยนเมื่อคืนนี้ (29 เม.ย.) ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มเปิดฉากการประชุมกำหนดนโยบายที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 29-30 เม.ย.

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3810 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3853 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นสู่ระดับ 1.6831 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.6812 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 102.57 เยน จากระดับ 102.43 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8837 ฟรังค์ จากระดับ 0.8800 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9274 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9253 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ขณะที่เฟดได้ยกเลิกการใช้อัตราว่างงานที่ 6.5% เป็นเกณฑ์สำหรับการพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยในระหว่างการประชุมนโยบายเมื่อ เดือนมี.ค.นั้น นักลงทุนจะให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับมาตรการสัญญาณชี้นำล่วงหน้า (forward guidance) ที่มีการปรับเปลี่ยนไป และกำหนดเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

 

ดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร หลังจากสำนักงานสถิติกลางของเยอรมนีเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเยอรมนีขยายตัว 1.1% ในเดือนเม.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 1.3% โดยข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้มีกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจดำเนินมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติม

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 30 เมษายน 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

3 สำนักวิจัยด้านเศรษฐกิจ ชี้ตรงกัน ไตรมาสแรก จีดีพีไทยติดลบ เหตุผลหลักการเมืองป่วนกระทบด้านลบเกือบทุกเซ็กเตอร์ ทั้งลงทุนภาครัฐ เอกชน การบริโภค การท่องเที่ยวขณะที่ส่งออกก็ขยายได้ไม่มาก สศค.ชี้การบริโภคร่วงต่ำรอบ 12 ปี ทำให้รายได้จากภาษีวูบ แบงก์ชี้เงินทุนไหลออก ดอกเบี้ยยังต่ำ กดค่าเงินบาททั้งปีอ่อนตัว

 

น.ส.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือ 1.6 % จากเดิมมองว่าโต 2.4 % ซึ่งการปรับลดจีดีพีในครั้งนี้ ทำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจลดลง 0.8 % หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่สูญไป 800,000 ล้านบาท และเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หากไม่มีความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นอีก

 

ทั้งนี้ สาเหตุหลักมาจากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อนานกว่าที่คาด จากเดิมคาดว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ที่มีอำนาจในการบริหารประเทศภายในไตรมาส 3 ปีนี้ แต่ต้องเลื่อนออกไปเป็นปลายปี ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า กระทบการลงทุนภาครัฐหดตัว 6.6 % และมีผลกระทบต่อไปยังการบริโภคภาคครัวเรือน หดตัว 0.5 % เห็นได้จากปริมาณการซื้อรถยนต์ไตรมาสแรกของปีนี้ มีเพียง 70,000 คัน จากเดิมคาดว่าจะมีการซื้อรถยนต์ใหม่ 90,000-100,000 คัน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนหดตัว 2.8 % เห็นได้จากการนำเข้าสินค้าทุนลดลง และกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมเหลือเพียง 61 % จาก 70 % ในปีก่อน

 

ส่วนการส่งออกที่เคยคาดหวังจะขยายตัวได้ดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ก็ไม่เป็นไปตามคาด เนื่องจากสินค้าเกษตรส่งออกลดลง เช่นยางพารา สินค้าเกษตรแปรรูป แต่คาดว่าจะยัง

 

มีปัจจัยบวกจากการส่งออกรถยนต์ในตลาดรอง คือ ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้มากขึ้น รวมทั้งการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การส่งออกปีนี้โต 4 % จากเดิมคาดการณ์ว่าโต 5 %

 

นอกจากนี้ยังมองว่า แม้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ยังไม่ถึงขั้นถดถอย เพราะแม้ไตรมาส 1 จีดีพีติดลบ 0.3 % แต่จีดีพีต้องหดตัวต่อเนื่องกัน 2 ไตรมาส จึงจะเข้านิยามเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตาม หากจีดีพีเติบโตต่ำต่อเนื่องจะกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในระยะยาวที่จะ ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งความสามารถทางการผลิตและแข่งขัน และยอมรับว่าในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตต่ำ มีโอกาสที่หนี้ครัวเรือนจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะรายได้ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะรายย่อยและเอสเอ็มอี แต่คุณภาพสินเชื่อยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่ากังวล แม้ตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะเพิ่มขึ้นบ้าง

 

สำหรับค่าเงินบาทในอนาคตมีแนวโน้มอ่อนค่าจากปัจจุบันเนื่องจากการไหลออก ของเงินทุนต่างประเทศที่เป็นผลมาจากอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจและผลประกอบการ ของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการเมือง แม้จะมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดทุนในช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาก็ตาม แต่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่เร็วกว่ากำหนด ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33 บาท/ดอลลาร์

 

ด้าน นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2557 ว่า เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง จากปัจจัยทางการเมือง ที่ยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ทำให้การใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง ตลอดจนการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่หดตัว ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงตามทิศทางการใช้จ่าย ภายในประเทศ และการส่งออกสินค้าที่หดตัวในช่วงที่ผ่านมา

 

“เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2557 คาดจะขยายตัวติดลบที่ -0.5% จากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปลายปี 56 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยัง

 

คาดว่าในครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยจะไม่ขยายตัว โดยในไตรมาสที่ 2 จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ เนื่องจากภาคการส่งออกที่เริ่มส่งสัญญาณจากเศรษฐกิจฟื้นตัวมากขึ้น โดยประเทศคู่ค้าอย่างสหรัฐ ญี่ปุ่น รวมถึงกลุ่มยุโรป และกลุ่ม CLMV เป็นความหวังที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเป็นบวกได้”

 

ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทำให้ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนมีนาคม 2557 ติดลบ 1.2 % ส่งผลทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2557 ติดลบ 0.2 % นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 58.7 เป็นผลทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2557 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 59.9 ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 12 ปี สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณหดตัวต่อเนื่อง ทั้งในหมวดการก่อสร้าง และหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนได้จากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมีนาคม 2557 หดตัวต่อเนื่องที่ ติดลบ 9.4 % ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 ติดลบ 6.6 %

 

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานส่งสัญญาณหดตัวเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม 2557 หดตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ติดลบ -10.4 % ส่งผลทำให้ใน ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 ติดลบ -7.0 % โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ปรับตัวลดลงในระดับสูง ได้แก่ การผลิตยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน และอาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

 

ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 30 เมษายน 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...