ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รหัส 5,35,9 ของราคาทองคำ เส้นดำเส้นแดง ยังไม่มีการตัดกันรอบใหม่ ดังนั้น สถานะยังคงอยู่ในด้านลบ ต่อราคาทองคำ ...... อย่าลืมนะว่า วันก่อนเกิด โดจิขึ้นมา หมีกระทิงปะทะกันแล้วกลับมาจุดเดิม อนึ่ง วันนี้ มุมมองการเล่นระยะสั้นคงเปลี่ยน จากการที่รหัส 5,35,9 ได้แสดงอาการตัดกันของเส้นดำแดง ที่ผ่านมา มาสูงก่อน ก่อนที่จะลงต่ำ มุมมองเปลี่ยนเป็น มาต่ำก่อน ก่อนที่จะขึ้นมาจากบ่อฯ ส่วนบ่อฯ จะลึกขนาดไหน เด็กขายของก็คงทยอยเก็บตามแนวรับ 1191-1182-1168-1156 ถ้าสมมุติมันจะมาจริงๆๆ หรือเปล่าไม่รู้ เพราะเดา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าบาทไทย ดอลล์แข็งแทนที่บาทจะอ่อนค่าทะลุ 33 บาท แต่ไม่เลย เกิดอะไรขึ้น ไหนบอกว่าไม่คุมไง ปรากฎมันอยู่แถวๆ 32.85-32.90 แค่นั้น ไม่อ่อนต่ำกว่า 33 บาท

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรป บ่าย 2 โมง ช่วงเปิดตลาดยุโรป ที่สำคัญ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานสหรัฐ ไม่มีอะไรมาเกี่ยวกับราคาทอง ในทางกระตุ้นทิศทาง จึงคงเป็นการวิเคราะห์ของขาใหญ่ว่าจะเล่นทางไหน ! อนึ่ง ฝากไว้เรื่องคือ ใครๆ ก็คงรู้ว่า ประเทศฝั่งตรงข้ามกับสหรัฐฯ แต่ละประเทศ เก็บสำรองทองคำจริงๆ ไว้มากมายขนาดไหน ทั้ง รัสเซีย และ จีน เป็นต้น ในขณะที่ สหรัฐฯ ก็มีทองเยอะมากกว่าใครเพื่อน แต่เป็นทองกระดาษ สหรัฐฯ พยายามอุ้มดอลล์สหรัฐฯ ให้เชิดหน้าชูตาในสังคมโลกใบนี้ เขาจะทำอะไรว่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำตลาดล่วงหน้าสหรัฐปิดตลาดปรับตัวขึ้นกว่า2%หลังเฟดระบุชัดยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย

 

ทองคำตลาดล่วงหน้าสหรัฐ ปิดตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 2% หลังธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ระบุในการประชุมครั้งล่าสุดว่า จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมอย่างน้อย 2 ครั้งข้างหน้า นอกจากนี้ ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงยังดึงดูดให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำด้วย

 

 

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ สหรัฐ ปรับตัวขึ้น 9.97 ดอลลาร์ หรือ 0.84% ปิดตลาดที่ราคา 1,198.17 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

สัญญาทองคำ ได้รับปัจจัยบวก การที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เผยมติการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อวานนี้ (17 ธ.ค.) โดยระบุว่า "เฟดสามารถอดทนรอต่อไปได้อีก ในการปรับท่าทีด้านนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ" พร้อมกับยืนยันว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับใกล้ศูนย์ต่อไป

 

นอกจากนี้ เฟด ยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวในอัตรา 2.3-2.4% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนก.ย.ที่ระดับ 2-2.2% และได้คงคาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้าไว้ที่ระดับ 2.6-3% ส่วนในด้านตลาดแรงงานนั้น เฟดคาดว่า อัตราว่างงานจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.8% ในปีนี้ และจะลดลงสู่ระดับ 5.2-5.3% ในปีหน้า

 

โดยปกติแล้ว ทองคำ จะได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นทางการเงินของธนาคารกลาง เนื่องจากนักลงทุนจะเข้าซื้อโลหะมีค่า เพราะวิตกว่า มาตรการเหล่านี้อาจทำให้มูลค่าของเงินลดลง นอกจากนี้ นักลงทุน มักใช้ทองเป็นตัวปกป้องความเสี่ยงจากเงินเฟ้อซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่างๆ

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 19 ธันวาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางรัสเซียตัดสินใจออกมาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาค่าเงินรูเบิลอ่อนค่า อย่างรุนแรง ด้วยการประกาศขึ้นดอกเบี้ยจากเดิมถึง 6.5% ช่วงกลางดึก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ธนาคารกลางรัสเซียออกประกาศในช่วง 1 นาฬิกาของวันอังคาร (16 ธันวาคม) ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงมอสโก ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 10.5% เป็น 17% นับเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งเดียวที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541 เมื่ออัตราดอกเบี้ยของรัสเซียอยู่ในระดับสูงเกิน 100% และรัฐบาลรัสเซียต้องผิดนัดชำระหนี้ ขณะเดียวกันยังเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเวลาเพียงไม่ถึง 1 สัปดาห์ หลังจากธนาคารกลางรัสเซียขึ้นดอกเบี้ยจาก 9.5% เป็น 10.5% ไปเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม

ข่าวการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางรัสเซียมีผลให้เงินรูเบิลแข็งค่าขึ้น เล็กน้อยในทันที แต่อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย ตลอดจนช่วงเวลาของการออกประกาศ แสดงให้เห็นว่ารัสเซียกำลังเสี่ยงเผชิญกับวิกฤติทางการเงิน ซึ่งถ้ารัสเซียจำเป็นต้องคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรของสหรัฐ อเมริกาและยุโรป รวมถึงราคาน้ำมันที่ลดลงเป็นอย่างมากอยู่แล้ว

ธนาคารกลางรัสเซียกล่าวว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยมีความจำเป็น เพื่อยุติการอ่อนค่าของเงินรูเบิลและแก้ปัญหาเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจรัสเซียจะแบกรับอัตราดอกเบี้ยในระดับ สูงเป็นระยะเวลานานได้

"แม้ว่าการออกมาตรการเพิ่มความเข้มงวดทางการเงินเช่นนี้จะส่งผลกระทบเพิ่ม เติมต่อเศรษฐกิจ แต่เรามองว่าการตัดสินใจเช่นนี้ไม่ใช่เพื่อการป้องกันการเกิดภาวะเศรษฐกิจถด ถอย แต่เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบที่มี สาเหตุจากค่าเงินรูเบิลอ่อนตัวอย่างรุนแรง" ปิออตร์ มาทิส นักยุทธศาสตร์การเงินจากโรโบแบงก์ อินเตอร์เนชันแนล ในกรุงลอนดอน กล่าว

ตลอดทั้งปีนี้ รัสเซียใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปแล้ว 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อพยุงค่าเงินรูเบิล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยค่าเงินรูเบิลในวันจันทร์ (15 ธันวาคม) อ่อนตัวลงอีก 9.7% ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ระดับเกิน 64 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นครั้งแรก ทำให้ตลอดทั้งปีนี้เงินรูเบิลอ่อนค่าลงไปแล้วถึง 49%

นักเศรษฐศาสตร์บางรายแสดงความกังวลว่า เวลานี้รัสเซียกำลังติดอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะงักงันพร้อมกับเงินเฟ้อระดับสูง หรือ stagflation ธนาคารกลางรัสเซียคาดการณ์ล่าสุดว่า เศรษฐกิจของประเทศจะหดตัวประมาณ 4.5-4.7% ในปีหน้า ถ้าราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งจะเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552

ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 10.1% ในเดือนธันวาคม และอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 11.5% ในไตรมาสถัดไป ก่อนที่จะเริ่มลดลงมา โดยธนาคารกลางรัสเซียเชื่อว่าเงินเฟ้อจะลดลงสู่เป้าหมาย 4% ได้ภายในสิ้นปี 2560 แม้ว่าปัจจัยภายนอกจะไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ดี นโยบายการเงินจำเป็นต้องเข้มงวดต่อไปในปี 2558

ปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าลงอย่างมาในช่วงที่ผ่านมา คือการปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปีของราคาน้ำมันดิบโลก โดยน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าประมาณ 2 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมดของรัสเซีย และทำรายได้ให้กับรัฐบาลประมาณครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและประเทศตะวันตกจนนำไปสู่การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเทขายเงินรูเบิลในปีนี้ ตลอดจนทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่เริ่มส่งสัญญาณเตรียมตัวปรับขึ้นดอกเบี้ย ก็ส่งผลให้การลงทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีความน่าสนใจลดน้อยลง

ธนาคารกลางรัสเซียคาดการณ์ว่า เงินทุนไหลออกนอกประเทศมีโอกาสแตะระดับ 1.34 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ เป็นมูลค่ากว่า 2 เท่าของเงินทุนออกนอกประเทศเมื่อปีก่อน แต่จะลดลงเหลือ 1.15-1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีหน้า

ชาร์ลส โมวิต นักวิเคราะห์จากไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ ให้ความเห็นว่า การขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้น่าจะเพิ่มเสถียรภาพให้กับค่าเงินรูเบิลในระดับ หนึ่ง อย่างไรก็ดี จะเกิดผลเพียงชั่วคราวเท่านั้นหากราคาน้ำมันยังลดลงและการคว่ำบาตรยังส่งผล ต่อเศรษฐกิจรัสเซีย ขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยเองจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจรัสเซีย

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 18 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้นำรัสเซียแสดงความมั่นใจเศรษฐกิจรัสเซียจะฟื้นตัวในเวลา 2 ปี โทษปัจจัยภายนอกต้นเหตุเศรษฐกิจแย่

 

 

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แสดงความมั่นใจ เศรษฐกิจรัสเซีย จะฟื้นตัวในเวลา 2 ปี ชี้ธนาคารกลาง และรัฐบาลดำเนินมาตรการอย่างเหมาะสมในการรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมโทษปัจจัยภายนอกต้นเหตุเศรษฐกิจในประเทศย่ำแย่

 

ผู้นำรัสเซีย จัดแถลงข่าวสิ้นปี ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ท่ามกลางการจับตามองจากทั่วโลกเกี่ยวกับ ท่าทีของเขาต่อความผันผวนของค่าเงินรูเบิลที่ดิ่งลง 60% ในปีนี้และสภาพเศรษฐกิจรัสเซียที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า ตลอดจนประเด็นวิกฤติในยูเครนและความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตก

 

นายปูติน บอกว่า ภายใต้สถานการณ์โลกที่ไม่ดีเลย ทำให้สภาพเศรษฐกิจรัสเซียอาจ เป็นอย่างนี้ต่อไปไปอีก 2 ปี แต่คาดว่าอาจฟื้นตัวเร็วกว่านั้น โดยเขาเชื่อว่า ธนาคารกลางและรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการอย่างเหมาะสมในการแก้ปัญหาแล้ว ขณะเดียวกันเขากล่าวโทษว่า สถานการณ์เศรษฐกิจรัสเซียขณะนี้เป็นผลกระทบจากปัจจัยภายนอก

 

นอกจากนี้ผู้นำรัสเซียกล่าว ถึงวิกฤติแบ่งแยกดินแดนในยูเครนด้วยว่า เขายังหวังว่ายูเครนจะยังคงเป็นรัฐเดี่ยว และความขัดแย้งในยูเครนจะสามารถแก้ไขได้ด้วยสันติวิธี แต่เขากล่าวโทษที่รัฐบาลยูเครนเลือกใช้กำลังทหารและการปิดล้อมทางเศรษฐกิจเพื่อกดดันกบฏ

 

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกว่า แม้พวกเขาพยายามล่ามโซ่ และถอดเขี้ยวเล็บหมีรัสเซีย เพื่อกดดันให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ แต่รัสเซียพร้อมยอมจ่ายต้นทุน

 

เพื่อคงรักษาความเป็นชาติอิสระไว้

 

ทั้งนี้ แม้หลายฝ่ายมองว่าวิกฤติรูเบิลอาจส่งผลกระทบต่อคะแนนนิยมของนายปูติน และมีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายค้านให้เขาลาออก แต่ผลสำรวจความคิดเห็นระหว่าง 22 พฤศจิกายน ถึง 7 ธันวาคมที่ผ่านมา ของเอพีและเอ็นโออาร์ซี เซนเตอร์ ฟอร์ พับลิก แอฟแฟร์ส รีเสิร์ช พบว่าชาวรัสเซียมากถึงเกือบ 80% ยังสนับสนุนนายปูติน ขณะที่ความมั่นใจต่อสภาพเศรษฐกิจลดลง

 

ขณะที่ค่าเงินรูเบิล ซื้อขายเมื่อวานนี้ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากจากราคาปิดตลาดเมื่อวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่นายปูตินไม่ ได้เสนอมาตรการอะไรใหม่ โดยเงินรูเบิลปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวันพุธและปิดตลาดที่เกือบ 61 รูเบิลต่อดอลลาร์ หลังจากสร้างสถิติอ่อนค่าลงไปถึง 80 รูเบิลต่อดอลลาร์ และ 100 รูเบิลต่อยูโรเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 19 ธันวาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักวิเคราะห์ชี้ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจตะวันออกกลางในวงจำกัด ระบุนักลงทุนวิตกเกินเหตุ

 

 

นักวิเคราะห์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระบุ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของตะวันออกกลางในวงจำกัด ชี้นักลงทุนอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์ในปัจจุบันมากเกินไป

 

นักวิเคราะห์จากริสก์ อินชัวแรนซ์ แมเนจเมนท์ นายธีโอดอร์ คาราซิก" แสดงความเห็นว่า ตลาดการเงินกำลังมีปฏิกิริยาที่มาเกินไป ต่ออิทธิพลของราคาน้ำมันที่ร่วงลง ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะการเดินสู่ขาลงของราคาน้ำมันในขณะนี้ เป็นเพียงแค่การปรับตัวทางกลยุทธ์ของผู้ผลิตน้ำมัน และคาดว่า ราคาน้ำมันจะฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับสูง ภายใน 6 เดือน

 

เช่นเดียวกับนักวิเคราะห์อีกรายหนึ่งจากในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี "นายกอราฟ แคชยาพ" ที่มองว่า การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน ส่งผลกระทบในวงจำกัดต่ำประเทศในตะวันออกกลาง เพราะประเทศเหล่านี้ต่างมีการเคลื่อนไหวในเชิงรุก เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ทั้งยังมีเงินสดสำรองอยู่ในมือจำนวนมหาศาล ซึ่งล้วนแต่เป็นเครื่องมือรับประกันได้ว่า จะช่วยป้องกันเศรษฐกิจภายในภูมิภาค ไม่ให้ตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ จากราคาน้ำมันที่ผันผวน

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 19 ธันวาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 18 ธ.ค.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 400 จุดเมื่อคืนนี้ (18 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ว่า เฟดสามารถอดทนรอในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,778.15 จุด พุ่งขึ้น 421.28 จุด หรือ +2.43% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,748.40 จุด พุ่งขึ้น 104.09 จุด หรือ +2.24% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,061.23 จุด เพิ่มขึ้น 48.34 จุด หรือ +2.40%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (18 ธ.ค.) ขานรับข่าวที่ว่าธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง สู่ระดับติดลบ เพื่อป้องกันการแห่ฝากเงินในลักษณะนำเงินมาพักเพื่อความปลอดภัย

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 3% ปิดที่ 339.05 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,249.49 จุด เพิ่มขึ้น 137.58 จุด หรือ +3.35% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,811.06 จุด เพิ่มขึ้น 266.63 จุด หรือ +2.79% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,466.00 จุด เพิ่มขึ้น 129.52 จุด หรือ +2.04%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันเมื่อคืนนี้ (18 ธ.ค.) ขานรับข้อมูลค้าปลีกที่แข็งแกร่งของอังกฤษ และความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีที่ปรับตัวดีขึ้น

 

ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 129.52 จุด หรือ 2.04% ปิดที่ 6,466.00 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (18 ธ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่าอุปทานพลังงานทั่วโลกจะมีมากกว่าอุปสงค์ หลังจากที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันไม่มีการส่งสัญญาณว่าจะปรับลดการผลิต

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.ร่วงลง 2.36 ดอลลาร์ ปิดที่ 54.11 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 1.91 ดอลลาร์ ปิดที่ 59.27 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (18 ธ.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดสามารถอดทนรอในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่าธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ประกาศลด อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงสู่ระดับติดลบ

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 30 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 1,194.8 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 0.6 เซนต์ ปิดที่ 15.934 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ร่วงลง 2.4 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,197.1 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 12.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 792.15 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบยูโรและเยนเมื่อคืนนี้ (18 ธ.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐส่วนใหญ่ปรับตัวแข็งแกร่ง ซึ่งหนุนมุมมองบวกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2283 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2324 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5670 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5560 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.81 เยน เทียบกับระดับ 118.61 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9800 ฟรังค์ จาก 0.9744 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8157 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8119 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,778.15 จุด เพิ่มขึ้น 421.28 จุด +2.43%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,748.40 จุด เพิ่มขึ้น 104.09 จุด +2.24%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประธานเครือสหพัฒน์ แนะนำรัฐบาลให้ปรับลดค่าเงินบาท เชื่อว่าจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้ เพราะจะช่วยเพิ่มรายได้จากการส่งออก

 

นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ เปิดเผยกับ "มติชน" แนะนำการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้รัฐบาลเข้าไปดูแลค่าเงินบาท โดยกระทรวงการคลังหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ค่าบาทอ่อนใกล้เคียงกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยค่าบาทไทยยังแข็งค่าห่างกับสกุลเงินอื่น 4 บาท ดังนั้น ควรมีการเข้ามาดูแลให้บาทอ่อนค่าอีก 4 บาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 32-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ให้เป็น 36-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะเมื่อบาทอ่อนลง รายได้ส่งออกที่เป็นบาทจะเพิ่มขึ้น จะช่วยเพิ่มรายได้กลุ่มสินค้าเกษตร และช่วยผู้ค้ารายย่อยให้มีรายได้เพิ่ม เมื่อกลุ่มเหล่านี้มีเงินเพิ่ม กำลังซื้อก็จะเพิ่มขึ้น

 

นายบุณยสิทธิ์กล่าวอีกว่า กรณีที่เงินบาทเเข็ง คนได้ประโยชน์คือ กลุ่มคนระดับบน แต่หากเงินบาทอ่อนกลุ่มได้ประโยชน์คือ คนระดับรากหญ้า แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ คนที่มีเงินแต่ไม่ได้ใช้จ่าย ขณะที่คนรากหญ้าก็แทบไม่มีเงินเลยที่จะใช้จ่าย โดยในอดีตกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำ บะหมี่สำเร็จรูปจะขายดี แต่ปีนี้ยอดขายกลับไม่เติบโตเลยเป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นดังนั้น การฟื้นกำลังซื้อให้เร็วที่สุดคือ ต้องทำให้คนมีเงินในกระเป๋า เร่งด่วนคือ ค่าบาทต้องอ่อนค่าลงอีก เหมือนหลายประเทศในเอเชียกำลังทำกัน

 

 

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (19/12/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความเป็นจริงคือราคาน้ำมันในตลาดโลกกำลังลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งราคาปัจจุบันและราคาในอนาคตผ่านราคาฟิวเจอร์ส

 

 

ไม่ ว่าการดิ่งลงของราคาน้ำมันจะมาจากการที่กลุ่มประเทศ OPEC ต้องการที่จะสกัดการเติบโตของบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี Shale Gas หรือต้องการที่จะทำให้รัสเซียเลิกแทรกแซงประเทศในตะวันออกกลาง โดยใช้ราคาน้ำมันที่เป็นสินค้าออกหลักเป็นตัวบีบก็ตาม ความเป็นจริงคือราคาน้ำมันในตลาดโลกกำลังลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งราคา ปัจจุบันและราคาในอนาคตผ่านราคาฟิวเจอร์ส ดังรูปที่ 1

 

แน่นอนว่างานดีเป็นทั้งข่าวดีและข่าวร้ายสำหรับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาคต่างๆ ของโลก ดังนี้

 

ขอเริ่มจากข่าวดีก่อน จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF พบว่าผลพวงจากการลดราคาน้ำมันทำให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจมี ต้นทุนที่ต่ำลง และผู้บริโภคที่ถือว่ามีรายได้สูงขึ้นจากการที่ค่าใช้จ่ายลดลง โดยรวม ทำให้ราคาน้ำมันโลกที่ลดลงทุก 20 ดอลลาร์ จะส่งผลดีต่อการเติบโตเศรษฐกิจโลกในระดับร้อยละ 0.4 ภายใน 2-3 ปี ดังนั้น การที่ราคาน้ำมันโลกที่ดิ่งลงในตอนนี้กว่า 40 ดอลลาร์ ทำให้การประมาณการเศรษฐกิจโลกที่ IMF ลดการคาดการณ์ลงร้อยละ 0.5 เมื่อกว่า 2 เดือนก่อนกลับมาเติบโตได้ดีกว่าการคาดการณ์เดิมเสียอีก และหากสามารถผ่องถ่ายไปสู่ความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นของผู้บริโภคก็จะทำให้ สามารถเติบโตได้ดีกว่านี้อีก

 

นอกจากนี้ ผลดีที่รับไปเต็มๆ จะไปตกกับประเทศที่นำเข้าน้ำมันหลักๆ อย่างอินเดีย และประเทศที่รัฐบาลมีการใช้เงินเข้าไปพยุงราคาน้ำมันอย่างอินโดนีเซีย โดยจะช่วยประเทศที่นำเข้าน้ำมันในกลุ่มตลาดเกิดใหม่มากกว่ากลุ่มประเทศที่ พัฒนาแล้ว เนื่องจากมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำมันสูงกว่าของประเทศที่พัฒนา แล้ว

 

ส่วนข่าวร้าย ที่รับไปเต็มๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

 

หนึ่ง เศรษฐกิจรัสเซีย ที่ตอนนี้เกิดวิกฤตอย่างหนักทั้งในเรื่องค่าเงินและปัญหาเงินเฟ้อ หากมองย้อนกลับไปเมื่อปี 1998 ซึ่งตอนนั้นได้ทำให้บริษัทในวอลล์ สตรีท ล้มลงไปหลายบริษัท มาในงวดนี้ แม้เศรษฐกิจโลกจะมีการพึ่งพารัสเซียอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับช่วงนั้น อีกทั้งรัสเซียยังมีสำรองเงินตราระหว่างประเทศอยู่กว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ ทว่าปัจจัยราคาน้ำมันที่ตกต่ำลงเรื่อยๆ และการคว่ำบาตรทางการค้าจากชาติตะวันตกที่ดูจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจัยหลัง ในปี 1998 ไม่มีนั้น รวมถึงหนี้ภาคเอกชนของรัสเซียที่มีอยู่กว่า 1.4 แสนล้านดอลลาร์ ภายใต้การอ่อนค่าของเงินรูเบิลอย่างไม่หยุดหย่อนในตอนนี้ อาจจะทำให้นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย อาจจะต้องตัดสินใจอะไรบางอย่างในเร็ววัน

 

สอง เศรษฐกิจยุโรปจะแก้ยากขึ้น ในตอนนี้ปัญหาเงินฝืดกลายเป็นความเสี่ยงอันดับที่หนึ่งของยุโรปไปเสียแล้ว หากราคาน้ำมันยังดิ่งอยู่เช่นนี้ ในขณะที่ยุโรปนำเข้าน้ำมันในปีนี้ด้วยมูลค่ากว่า 6 แสนล้านยูโร นับเป็นภูมิภาคที่มีการนำเข้าน้ำมันมากที่สุด ย่อมจะทำให้โอกาสที่จะเกิดปัญหาเงินฝืดอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นได้ไม่ยาก ถึงขนาดที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป ได้กล่าวเมื่อต้นเดือนนี้ว่าปัจจัยราคาน้ำมันนับเป็นความเสี่ยงใหญ่และใหม่ ที่ยุโรปต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ดูจากญี่ปุ่นจะเห็นได้ว่ายืดเยื้อและแก้ยากกว่าปัญหาเงินเฟ้อหลายเท่าตัว เนื่องจากประชาชนจะชะลอการใช้จ่ายโดยหวังให้ราคาสินค้าที่ตนเองจะซื้อลดลงไป กว่านี้ ซึ่งจะส่งผลให้จีดีพีของยุโรปที่เกือบจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอยู่แล้วนั้นยิ่ง กู่ไม่กลับไปใหญ่ จากการศึกษาพบว่า ณ ระดับราคาน้ำมันต่างๆ ประเทศที่จะประสบกับภาวะเงินฝืด เป็นไปดังรูปที่ 2 โดยหากราคาน้ำมันอยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะส่งผลให้ประเทศในยุโรปถึง 13 ประเทศมีแนวโน้มต้องเกิดภาวะเงินฝืดในปีหน้า

 

สาม บรรดาประเทศที่ส่งออกน้ำมัน จ่อจะมีปัญหาเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ หากราคาน้ำมันยิ่งดิ่งลงต่อไป

 

จากรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่าประเทศที่ส่งออกน้ำมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคล้ายกับประเทศในยูโร ได้แก่ กลุ่มที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งอย่างคูเวตที่มีงบดุลภาครัฐเกินดุลอยู่เกือบ ร้อยละ 25 ของจีดีพี และมีระดับราคาน้ำมันที่จะทำให้สามารถคุ้มทุนในมุมงบประมาณทางการคลังได้ที่ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับนอร์เวย์และอาบู ดาห์บี ที่มีงบดุลภาครัฐเกินดุลอยู่ในระดับที่ไม่ต่างกันนัก และมีระดับราคาน้ำมันที่จะทำให้สามารถคุ้มทุนในมุมงบประมาณทางการคลังได้ที่ ค่อนข้างต่ำ ในทางกลับกัน ประเทศที่มีความอ่อนแอทางพื้นฐานเศรษฐกิจ ได้แก่ บาห์เรน ที่มีอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่สูงขึ้น 2 เท่านับตั้งแต่ปี 2009 และพึ่งพาการส่งออกน้ำมันเป็นรายได้หลักเกือบจะเพียงอย่างเดียว

 

ที่ย่ำแย่หนักๆ ได้แก่ เวเนซุเอลาที่ต้องการราคาน้ำมันถึง 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลถึงจะอยู่ได้ อีกทั้งมีการขาดดุลทางการคลังถึงร้อยละ 5 ต่อจีดีพี และพึ่งพารายได้จากน้ำมันกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ประเทศทั้งหมด และมีรายรับของดุลบัญชีเดินสะพัดถึงร้อยละ 95 จากน้ำมัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ น่าจะต้องถูกลดอันดับเครดิตในเร็ววัน และจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ในระยะต่อไปครับ

 

หมายเหตุ : อ่านบทความ “แล้วรัสเซีย.. จะรอดไหม” ได้ทาง facebook.com/MacroView สำหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมเรื่อง “การลงทุนด้วยข้อมูลเชิงมหภาค (Macro Investing) โฟกัสที่มุมมองหุ้นต่างประเทศปี 2015 แบบเจาะลึก” ในวันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม 2557 ติดตามรายละเอียดได้ที่ LINE ID: MacroView ครับ

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 19 ธันวาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะ พี่เด็กขายของ ข่าวสารสำคัญเพียบทุกเช้า :_Rd ขอบคุณค่ะ ขออนุญาติ Save ผลกระทบต่อตลาดวันนี้เลยนะค่ะ ชัดเจนเข้าใจง่ายดีจริงๆ ค่ะ :01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...