ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

จุดสุดท้ายของราคาทอง 1194 ก็ยังไม่ย่อลงไปถึง แนวรับแรก 1191 ราคาทองเวียนไปด้านบน สูงกว่า 1200 นิดๆ แล้วก็ลงมาต่ำกว่า 1200 หน่อยๆ นิ่งสนิท นักลงทุนระยะยาวที่ยังมีทองในมือ ส่ายหน้า เสียวโว้ย

 

LONG GOLD above 1209 SL 1206 TP 1231-1248-1256

SHORT GOLD below 1202 SL 1205 TP 1191-1182-1168-1156

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ อยู่ในสถานะด้าน " แข็งค่า " ซึ่งไม่ได้ส่งผลดี ต่อราคาทองคำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของราคาทองคำ สถานะปัจจุบันอยู่ด้านขาย

 

 

ไม่มีทองในมือแบบเล่นระยะยาว ก็หาโอกาสไปเที่ยวฉลองคริสต์มาส ปีใหม่ กันเถอะ ยังไม่ต้องคาดหวังที่จะเข้าซื้อทองแท่งมาเป็นภาระติดตัว เวลาเดินทางไปไหน มันหนัก คงเหลือไว้เฉพาะกลุ่ม Daytrade ทายเดาทางถูกของได้ตังค์ กรณีตามน้ำไหล ก็เสียตังค์ อันนี้หมายถึง ราคาทองขึ้นไปแล้ว ไปกระโดดเกาะในจุดที่เตรียมหล่น ก็อ้วก 1209-1212 หรือ ทองร่วงไปแล้ว แต่ไปกระโดดขึ้น ช่วง 1194-1197 ก็อ้วก / ทั้ง 2 ฝั่ง พอถึง เด้งสลับทุกที ในอาทิตย์ที่ผ่านมา

 

อาทิตย์ต่อไป ช่วงเทศกาลคริสต์มาส และ ปีใหม่ ที่ไม่น่ามีอะไรตึงเครียดในแวดวงเศรษฐกิจ ไม่น่ามีอะไรจะมากระตุ้นความวิตกของนักลงทุนให้วิ่งหาสินทรัพย์ปลอดภัย สัญญานนำทาง 5,35,9 ทั้งดอลล์สหรัฐฯ และ ทองคำ ต่างออกมาด้านลบต่อราคาทอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กสิกรไทย คาด 22-26 ธ.ค. ค่าบาท 32.80-33.00/$

ข่าวเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2557 13:45น.

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ค่าเงินบาทสัปดาห์หน้า เคลื่อนไหวในกรอบ 32.80-33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 15-19 ธ.ค.ว่า เงินบาททยอยแข็งค่า หลังจากที่อ่อนค่าทะลุระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์ฯ ช่วงต้นสัปดาห์ ตามสถานะขายสุทธิหุ้น/พันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการอ่อนค่าของสกุลเงินในเอเชีย ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะความปั่นป่วนในตลาดการเงินรัสเซีย อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ สอดคล้องกับการฟื้นตัวขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยง โดยได้รับแรงหนุนจากการที่เฟดมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับ มีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เข้ามาอย่างต่อเนื่องจากนักลงทุนและกลุ่มผู้ส่งออก โดยวันศุกร์ที่ 19 ธ.ค. เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.84 เทียบกับระดับ 32.82 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า 12 ธ.ค.

 

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 22-26 ธ.ค. เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80-33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ สถานการณ์ของรัสเซีย และทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก น่าจะยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์เสี่ยงและสกุลเงินเอเชียในภาพรวม รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ปัจจัยในประเทศน่าจะอยู่ที่รายงานนโยบายการเงินของธปท. ในช่วงปลายสัปดาห์ คือวันที่ 26 ธ.ค. ซึ่งจะมีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย ในปี 2557-2558 ลง อนึ่ง ตลาดการเงินสหรัฐฯ จะปิดทำการในวันที่ 25 ธ.ค. เนื่องในวันคริสต์มาส

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาเดาแบบขาเสี่ยงสำหรับสถานการณ์วันหยุดเล่นๆ กัน เอาว่า ในมุมมองของใครก็ได้แล้วแต่

 

1. สมาคมฯ ตั้งราคาขายวันหยุด ขาย 18,650 บาท รับซื้อ 18,550 บาท ( ถือว่า ตั้งราคาขายที่สูงกว่า Fair Price 73 บาท )

2. ในขณะที่ ค่าเงินดอลล์ต่อยูโร 89.59 ( ดอลล์แข็งทองลง ดอลล์อ่อนทองขึ้น )

3. สมาคมฯ คนตั้งราคาซื้อขาย คงมองว่า ดอลล์แข็ง เดี๋ยวก็อ่อนก่อน แล้วก็เดี๋ยวแข็ง สลับกันไป ( แข็งมาทั้งคืน เปิดมาเช้าวันจันทร์ ยังไงก็อ่อนตัว )

4. ค่าเงินบาท 32.87 บาท เป็นไปได้ไง ดอลล์แข็งขนาดนี้ ตรรกะต้องบอกว่า ต้องมีสิ 33.00 หรืออ่อนกว่า ( คงเปรียบเทียบตัวเลข แบบบทบัญญัติไตรยางค์ ไม่ใช่ ตระกร้าเงิน หรือ การพยุงค่าเงินบาท หรือ การลดถือครองเงินบาท หรือ การขายเงินบาท ของเหล่าพ่อค้า นักธุรกิจ นักเดินทาง )

 

สมมุติว่า เอาว่ะ ไปซื้อคืนทองแท่งดีกว่าเว้ย ราคานิ่งๆ ในวันหยุดไม่ต้องลุ้นราคาขึ้นลง หรือ ไปรับบัตรคิวเข้าแถวซื้อ เอามันราคาตรงนี้ล่ะ 18,650 บาท ไว้ไปลุ้นขายวันจันทร์เปิดตลาดฯ

 

ผมสมมุติอีกล่ะ ในทางดี้ดี เปิดมาวันจันทร์ ราคาทองปรับสูงขึ้น จะขายทำกำไร ในภาวะที่ซื้อเข้ามาในราคาคิดเป็น US$ ประมาณ $1200-1202 เพราะอาแปะตั้งสูง / ราคาทองควรจะขึ้นไปเท่าไหร่ ถึงจะยิ้มรับกำไร 50 บาท คือ รับซื้อ 18,700 ขาย 18,800 บาท หรือประมาณ US$1213 ถึง $1215 อะไรทำนองนี้ ยังไม่ได้คิดถึงราคากั๊กต่ำ คือ ราคาปรับขึ้น แต่มีดึงแบบรีรอสัก 30 นาที หรือ 45 นาที ว่า เดี๋ยวมันก็ลงมา

 

เออเนอะ ! แล้วความจริงล่ะ จะเกิดขึ้นได้หรือเปล่า " กำไร "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.86/88 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.86/88 บาท/ดอลลาร์

 

ล่าสุดเงินบาทขยับแข็งค่ามาอยู่ที่ระดับ 32.83/84 บาท/ดอลลาร์ วันนี้คงต้องดูว่าจะมี flow จากด้านไหนบ้าง ดูว่า flow ในฝั่งขายดอลลาร์จากสัปดาห์ก่อนยังมีต่อเนื่องอีกหรือไม่ ถ้ายังมีต่อเนื่องก็อาจจะมีการขายดอลลาร์และทำให้บาทแข็งค่าได้ต่อ พร้อมมองว่าในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี ค่าเงินส่วนมากจะนิ่ง เพราะตลาดต่างประเทศก็เริ่มหยุดในเทศกาลคริสมาสต์ การทำธุรกรรมการเงินจึงไม่มาก ดังนั้นมองว่าจากวันนี้ถึงสิ้นปีเงินบาทน่าวิ่งจะอยู่ในกรอบ 32.80-33.00 บาท/ดอลลาร์

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.80-32.90 บาท/ดอลลาร์

 

*ปัจจัยสำคัญ

- เปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 119.41 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 119.38 เยน/ดอลลาร์

 

- ส่วนเงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.2238 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.2275 ดอลลาร์/ยูโร

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ 32.8350 บาท/ดอลลาร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางรัสเซียเผยเพิ่มทองคำสำรองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทองคำสำรองของประเทศเพิ่มขึ้นแตะ 38.2 ล้านออนซ์ ณ วันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา จากระดับ 37.6 ล้านออนซ์ในเดือนพ.ย.

 

ธนาคารกลางได้ใช้โอกาสที่ราคาทองปรับตัวลง เข้าช้อนซื้อทองคำ แม้ว่าก่อนหน้านี้ รัสเซียจะใช้เงินทุนสำรองเพื่อสกัดการร่วงลงของค่าเงินรูเบิลไปเมื่อเร็วๆนี้ก็ตาม

 

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ได้วิจารณ์ธนาคารกลางรัสเซียที่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที เพื่อที่จะหนุนค่าเงินรูเบิล ซึ่งร่วงลงมาตั้งแต่เดือนมิ.ย. ในขณะที่ราคาน้ำมันก็ปรับตัวลง และหลายประเทศต่างก็ใช้มาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซีย

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20/12/57)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายแฟรงค์-วอลเตอร์ สไตน์มายเออร์ รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี ได้แสดงความกังวลต่อการที่สหภาพยุโรป (อียู) ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออียูในระดับที่รุนแรงขึ้น โดยเตือนว่า เศรษฐกิจรัสเซียอาจจะเผชิญกับภาวะไร้เสถียรภาพหากยุโรปไม่ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร

 

นอกจากนี้ นายสไตน์มายเออร์กล่าวว่า คงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่จะมองว่า ความมั่นคงปลอดภัยของยุโรปจะเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย พร้อมกับเตือนว่า การใช้มาตรการคว่ำบาตรรุนแรงต่อรัสเซียมีแต่จะสร้างผลกระทบ และยุโรปจะไม่ได้ประโยชน์อะไรหากวิกฤตเศรษฐกิจรัสเซียทวีความรุนแรงจนยากที่จะควบคุม

 

สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่เมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่ากลุ่มประเทศสมาชิกอียูและบริษัทเอกชนในอียูจะไม่จัดหาเงินกู้ให้กับธนาคารของรัฐบาลรัสเซีย 5 แห่ง ขณะเดียวกันการซื้อขายพันธบัตรชุดใหม่, หลักทรัพย์ หรือตราสารหนี้ที่มีอายุการไถ่ถอนมากกว่า 30 วันซึ่งออกโดยธนาคารเหล่านี้ จะถูกระงับ

 

นอกจากนี้ เงินกู้ที่ปล่อยให้กับบริษัทที่จำหน่ายยุทธปัจจัยด้านกลาโหมรายใหญ่ 3 แห่งและบริษัทพลังงานรายใหญ่ 3 แห่งของรัสเซีย ก็จะถูกระงับด้วยเช่นกัน อีกทั้งจะระงับการให้บริการใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการออกตราสารหนี้

 

นอกเหนือจากการคว่ำบาตรในภาคการเงินแล้ว อียูยังได้คว่ำบาตรอุตสาหกรรมพลังงานของรัสเซียด้วย โดยระบุว่าการให้บริการใดๆก็ตามที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมการสำรวจและการผลิตน้ำมัน หรือโครงการน้ำมันในรัสเซีย จะถูกระงับ ขณะเดียวกันอียูจะขยายขอบข่ายมาตรการห้ามการส่งออกสินค้าและเทคโนโลยีทางการทหารในรัสเซีย

 

ส่วนการคว่ำบาตรบุคคลนั้น อียูได้เพิ่มรายชื่อบุคคลที่ถูกขึ้นบัญชียึดทรัพย์สินและห้ามเดินทางอีก 24 คน ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบในยูเครน ซึ่งรวมถึงผู้นำคนใหม่ในเมืองดอนบาสส์ รัฐบาลไครเมีย และผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจในรัสเซีย

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21/12/57)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รมต.พลังงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โจมตีประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปค ต้นเหตุทำราคาน้ำมันในตลาดโลกดิ่งหนัก

 

 

นายซูฮาอิล อัล มาซรูอีรัฐมนตรีพลังงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โจมตีประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปค ต้นเหตุทำราคาน้ำมันในตลาดโลกดิ่งหนัก

 

นายมาซรูอี ระบุว่า การผลิตน้ำมันในแบบที่ไร้ความรับผิดชอบ ของผู้ผลิตนอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือโอเปค บางราย เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันดิ่งลงมาอย่างหนัก ซึ่งผู้ผลิตเหล่านี้ รวมถึง ประเทศที่ถือเป็นหน้าใหม่ ในอุตสาหกรรมน้ำมันโลกด้วย

 

รัฐมนตรีรายนี้ เตือนด้วยว่า การปรับลดลงมาอย่างมากของราคาน้ำมัน จะสร้างภาระทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ให้กับประเทศผู้ผลิต พร้อมยืนยันว่า โอเปคตัดสิน ใจถูกแล้ว สำหรับการตัดสินใจเมื่อเดือนที่แล้ว ที่จะคงเพดานการผลิตไว้ในระดับเดิม เพื่อให้ตลาดมีเวลาที่จะปรับสมดุล ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะการตัดสินใจนี้ จะทำให้เกิดราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพ

 

ทั้งนี้ นับแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ราคาน้ำมันโลก ร่วงไปแล้วเกือบ 50% ผลจากปริมาณการจัดหาที่้ล้นตลาด เศรษฐกิจโลกซบเซา และเงินดอลลาร์แข็งค่า

 

ขณะที่นายอาลี อัล ไมนี รัฐมนตรีน้ำมันซาอุดีอาระเบีย ก็มีความเห็นไปในทำนองเดียวกับนายมาซรูอี โดยชี้ว่า การที่ผู้ผลิตนอกกลุ่ม ขาดความร่วมมือกับโอเปคในกำหนดเพดานการผลิต และกาารเก็งกำไร ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาร่วงลง

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 21 ธันวาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติชี้ปีหน้า เศรษฐกิจไทยเผชิญ 4 ปัจจัยเสี่ยง "น้ำมันร่วง-เงินรูเบิลป่วน-เยนแข็ง-ศก.จีนชะลอ"

 

 

ส่ง ผลให้เศรษฐกิจโลกผันผวนมากกว่าปกติ และยังหวังว่าการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐจะช่วยกระตุ้นการ อุปโภคบริโภคในประเทศ หนุนให้ภาวะเศรษฐกิจไทยกระเตื้องขึ้น ประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทยยังอยู่ในระดับต่ำต่อไป

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2558 โดยมองว่าปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจในประเทศส่วนใหญ่เป็นปัจจัยต่าง ประเทศเป็นสำคัญ แต่หวังว่าการลงทุนของภาครัฐจะช่วยสนับสนุนให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีแนว โน้มดีขึ้น

 

นาย ไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2558 มี 4 ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยอาจจะมีผลกระทบกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย ความผันผวนของค่าเงินรัสเซีย การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การอ่อนของค่าเงินเยน และราคาน้ำมันปรับตัวลดลง

 

"การเติบโตในปีหน้า จะต้องพึ่งอาจการลงทุนของภาครัฐบาลเป็นหลัก รวมถึงการอุปโภคบริโภคในประเทศ เพื่อช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวได้ ในปีหน้าเราจะเห็นความท้าทายของเศรษฐกิจไทยมากขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ ที่จะเข้ามามีผลกระทบกับอัตราแลกเปลี่ยนและความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย มากขึ้น ปัจจัยดังกล่าวจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมากกว่าปกติ"

 

นายไพบูลย์ กล่าวว่าเมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละปัจจัยเสี่ยง พบว่าผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยจะแตกต่างกัน เช่น ปัจจัยการปรับตัวลดลงของราคาพลังงาน เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคาน้ำมันดิบจากต้นปีอยู่ที่ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลดีต่อประเทศไทย ที่มีการนำเข้าพลังงานสัดส่วน 16% ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมดและมีสัดส่วน 9%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(จีดีพี)

 

น้ำมันลดฉุดเงินเฟ้อปีหน้าไม่เกิน2%

 

"ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้การเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อของไทยในปีหน้าปรับตัวลดลงต่อเนื่องและ คาดว่าไม่น่าจะสูงเกิน 2% ในขณะเดียวกันส่งผลดีต่อต้นทุนสินค้าที่ปรับตัวลดลง ลดต้นทุนการผลิต"

 

ในขณะเดียวกันการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียอ่อนค่าลง จากเดิมที่ 30 รูเบิลต่อดอลลาร์ ลงมาอยู่ที่ระดับ 60 รูเบิลต่อดอลลาร์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะไม่ส่งกระทบโดยตรงกับไทย เพราะการส่งออกไปยังรัสเซียมีน้อยมาก แต่จะส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งไทยจัดอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความผันผวนมากขึ้น

 

ส่วนปัจจัยที่ 3 การแข็งค่าของค่าเงินเยนจากการอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าหากเยนอ่อน ค่ามากๆ จะส่งผลเสียให้นักลงทุนญี่ปุ่นไม่ลงทุนในประเทศไทย แต่แท้จริงแล้วหากพิจารณาในอดีตจะพบว่าปัจจัยค่าเงินไม่ได้ส่งผลต่อการลงทุน เพราะพวกเขามองที่ปัจจัยพื้นฐานและการสนับสนุนของภาครัฐบาลมากกว่า

 

ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสุดท้ายคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ปัจจัยนี้จะส่งผลให้การส่งออกของไทยยังไม่ดีขึ้น เพราะตลาดจีนเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญของการส่งออก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคายางพาราที่ยังอยู่ในระดับต่ำต่อไป

 

หวังรัฐบาลเร่งผลักดันลงทุน

 

นายไพบูลย์ กล่าวว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้านั้นจะเป็นเรื่องการลงทุนภาค รัฐ และการอุปโภคในประเทศโดยตรง แม้การลงทุนภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา ไทยมักจะประสบปัญหาความล่าช้าและไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งให้การลงทุนนั้นเกิดขึ้นให้ได้โดยเร็ว

 

ส่วนการอุปโภคบริโภคในประเทศยังยอมรับว่า เป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนไม่ได้มากนักเพราะไทยยังโดนหลอกหลอนจากนโยบายรถยนต์ คันแรก ที่ดึงกำลังซื้อในอนาคตมาใช้จ่ายไปแล้ว

 

แนวโน้มดอกเบี้ยปีหน้าอยู่ในระดับต่ำ

 

นายไพบูลย์ กล่าวถึงทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ปัจจัยราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้การปรับเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มดอกเบี้ยยังจะอยู่ในลักษณะต่ำต่อไป ตามปัจจัยพื้นฐานของประเทศที่ต้องการการลงทุน

 

"ไม่ใช่ว่าเราจะรักษาระดับดอกเบี้ยที่ ต่ำเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยที่ไม่พิจารณาปัจจัยอื่นเลย แต่ต้องดูปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย ทั้งการเก็งกำไรในตลาดหุ้นและการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคต"

 

กนง.คงดอกเบี้ยนโยบาย 2%

 

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ในการประชุมครั้งสุดท้ายในรอบปี 2557ของกนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% โดยกรรมการ 2 เสียง ได้เสนอให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย ลง 0.25% ขณะเดียวกันกรรมการทั้งหมด มีความเห็นสอดคล้องกันว่า นโยบายการเงินควรอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ได้อย่างเข้มแข็งขึ้น ซึ่งปัจจัยที่สำคัญอีกประการ คือ การเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมาย

 

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการกนง. กล่าวว่า มติที่ออกมาเนื่องจากกรรมการส่วนใหญ่ ประเมินว่า นโยบายการเงินปัจจุบันยังผ่อนปรนเพียงพอต่อเศรษฐกิจที่คาดว่าจะทยอยฟื้นตัว ในปี 2558 ซึ่งสอดคล้องการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

 

แรงขับเคลื่อนหลักจากใช้จ่ายภาคเอกชน

 

สำหรับประเด็นที่ กนง. ให้ความสำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 2557 ขยายตัวใกล้เคียงกับที่คาด โดยการฟื้นตัวยังเป็นไปอย่างช้าๆ และมีการใช้จ่ายในประเทศของภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก

 

“ในปี 2558 เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่อัตราการเติบโตจะต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อน เพราะแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาคการคลังที่น้อยกว่าคาด ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนที่ส่วนใหญ่ยังรอความชัดเจนของการลงทุนภาครัฐ นอกจากนี้ การฟื้นตัวของการส่งออกมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนเพิ่ม ขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าปกติ”นายเมธีกล่าว

 

ความเสี่ยงภาวะเงินฝืดต่ำ

 

สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับลดลงตามราคาพลังงาน และคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่งตามราคาน้ำมันโลก ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงเล็กน้อย ตามแรงกดดันจากด้านอุปสงค์ที่ลดลง จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยความเสี่ยงสะสมจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาระยะหนึ่งยังอยู่ในวงจำกัด

 

นายเมธี กล่าวด้วยว่า แม้อัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลงต่อเนื่อง แต่ถ้าดูค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อช่วง 12 เดือนข้างหน้า เทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ดอกเบี้ยแท้ จริงในขณะนี้ยังคงติดลบอยู่เล็กน้อย ขณะเดียวกันก็เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่มีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะเงินฝืด อย่างน้อยในอีก 2 ปีข้างหน้า

 

“ราคาน้ำมันมี ผลทำให้เงินเฟ้อลดลงมาก โอกาสที่เงินเฟ้อติดลบในระยะสั้น ก็เป็นไปได้ แต่ถ้าดูค่าเฉลี่ยกลางแล้ว คิดว่าไม่ถึงกับติดลบ และประมาณการของเราเองก็ไม่ได้มองว่าจะติดลบด้วย เพียงแต่ลดลงจากเดิม โดยเงินเฟ้อที่ลดลง เป็นผลจากราคาน้ำมัน ส่งผลต่อต้นทุนด้านอื่นๆ ที่ลดลงตาม ไม่ได้มาจากฝั่งดีมานด์ที่ลดลง ก็ต้องดูพัฒนาการระยะต่อไปว่าจะไปทางไหน จะลงเรื่อยๆ หรือลงแล้วกลับขึ้นมาใหม่”นายเมธีกล่าวและว่า “ทางเราไม่คิดว่าจะมีภาวะเงินฝืด มองไปอีก 2 ปีข้างหน้าก็ยังไม่มี”

 

แถลงตัวเลขศก.ใหม่26ธ.ค.

 

สำหรับการปรับลดลงของดัชนีหุ้นไทยที่ค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา นายเมธี กล่าวว่า เรื่องนี้ กนง. ไม่ได้หารือแบบเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการพูดคุยในเชิงเสถียรภาพการเงินโดยรวมมากกว่า เพราะที่ผ่านมาก็มีเครื่องชี้ที่บ่งบอกว่า มีการเก็งกำไรที่สูงมากในบางจุด ซึ่งรวมถึงบางส่วนของตลาดหุ้นไทยด้วย และก่อนหน้านี้ในการประชุมร่วมระหว่าง กนง. กับ คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) ก็ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวไปบ้างแล้ว จึงไม่ได้มีการหารือเพิ่มเติมอะไรในการประชุมครั้งนี้

 

นายเมธี กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 26 ธ.ค. ทาง ธปท. จะมีการแถลงตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจทั้งในปีนี้และปีหน้าใหม่ ซึ่งตัวเลขที่จะประกาศออกมาก็คงเป็นตัวเลขที่ลดลงจากการประมาณการในครั้ง ก่อนหน้านี้ ที่ ประเมินการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้ไว้ที่ 1.5% และปีหน้าที่ 4.8%

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 21 ธันวาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับป๋า

 

ขอบคุณสำหรับ่าวสารนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขขาเสี่ยงฝรั่งเดาทอง สำหรับอาทิตย์นี้ อาทิตย์แห่งเทศกาลเฉลิมฉลองคริสต์มาส คือ

 

LONG GOLD above 1202 SL 1199 TP 1208-1212-1224-1231

SHORT GOLD below 1189 SL 1192 TP 1181-1176-1168

 

จุดต้าน จุดรับ ทุกจุดมีความหมาย และมีจังหวะที่พร้อมจะสัมผัสได้ และจุด งง งง สงสัยว่า จะไปทิศทางใด คือ 1190-1202

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขขาเสี่ยงฝรั่งเดาทอง สำหรับอาทิตย์นี้ อาทิตย์แห่งเทศกาลเฉลิมฉลองคริสต์มาส คือ

 

LONG GOLD above 1202 SL 1199 TP 1208-1212-1224-1231

SHORT GOLD below 1189 SL 1192 TP 1181-1176-1168

 

จุดต้าน จุดรับ ทุกจุดมีความหมาย และมีจังหวะที่พร้อมจะสัมผัสได้ และจุด งง งง สงสัยว่า จะไปทิศทางใด คือ 1190-1202

เมื่อคืนที่ผ่านมา ราคาทองล่อด้าน Short ลงไปเกือบสุด เจอแนวรับ 1168 ยังทนรับไว้ได้ โดยตอนนี้ ปรากฎว่า มาเจอจุดต้าน 1176 กำลังสู้กันอยู่ สักพักคงผ่านขึ้นไปได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...