ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

สื่อต่างประเทศรายงานว่า ยูเครนมีความเสียงที่จะไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากประเทศสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนยังคงทวีความรุนแรง โดยยูเครนได้ยื่นขอความช่วยเหลือด้านการเงินระยะเวลา 4 ปีจาก IMF ในวงเงิน 1.75 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งต้องรอการอนุมัติจากคณะกรรมการบริการของ IMF

 

ความไม่แน่นอนที่ว่า IMF จะอนุมัติเงินช่วยเหลือยูเครนหรือไม่นั้น อาจเพิ่มแรงกดดันให้กับประเทศพันธมิตรของยูเครน ซึ่งรวมถึงสหรัฐและสหภาพยุโรป (EU) ในการเร่งจัดหาเงินทุนเพื่อช่วยยูเครนไม่ให้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของรัสเซียไปมากกว่านี้

 

นอกจากนี้ ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นอาจจะสร้างความยากลำบากให้กับยูเครนในการรักษาคำมั่นสัญญาทางเศรษฐกิจที่ให้ไว้กับ IMF รวมถึงการชำระคืนเงินกู้

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26/02/58)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บาทไทยแข็งโป๊กเลย ขว้างตัวแตก / ราคาทองต่างประเทศขึ้น แต่ราคาไทย คงที่ ในเขตตลาดยุโรปที่จะเปิดทำการแล้ว พร้อมรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ รวมถึงความวิตกกังวลปัญหา กรีซ และ จับตัวประกันรอบใหม่ของกลุ่ม Isis

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เยลเลนยืนกรานเฟดเป็นองค์กรอิสระ เดินหน้าคัดค้านร่างกฎมายตรวจสอบเฟด (26/02/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวานนี้ โดยเยลเลนได้กล่าวปกป้องสถานะการเป็นองค์กรอิสระของเฟด หลังจากที่เฟดถูกวิพากษ์วิจารณ์จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติบางราย

 

นางเยลเลนยืนกรานว่า "เฟดเป็นองค์กรอิสระ" พร้อมกับกล่าวว่า การที่เธอประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวนั้น ไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน หรือมาตรการต่างๆที่เฟดจะนำมาใช้

 

"จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจว่า เฟดมีหน้าที่รายงานต่อสภาคองเกรส เราเพียงแต่อธิบายต่อสภาคองเกรสเท่านั้น" เยลเลนกล่าว

 

นอกจากนี้ เยลเลนยังได้คัดค้านร่างกฎหมาย "ตรวจสอบเฟด" หรือ "Audit the Fed" ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะขยายขอบเขตของสภาคองเกรสในด้านการกำกับดูแลนโยบายการเงินของเฟด

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติบางคนจากพรรครีพับลิกันกำลังผลักดันให้สภาคองเกรสสามารถตรวจสอบนโยบายของเฟด แต่นางเยลเลนแย้งว่า ร่างกฎหมายตรวจสอบเฟดจะทำให้นโยบายการเงินกลายเป็นประเด็นการเมือง และจะทำให้เฟดตกอยู่ภายใต้แรงกดดันทางการเมือง"

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26/02/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันก่อน ราคาทอง 1213 ราคาไทย 18,700 บาท แง แง๊ แง็ ตอนนี้ ยังแค่ 18,600 เท่านั้นเอง ถึงว่า เล่นทองมันมีหลายส่วนมาประกอบกัน เพื่อสร้างกำไร เข้ากระเป๋า ตอนนี้ ก็แค่หวังดันราคา เกิน $ 1219

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

::

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ย้ำคิด ย้ำทำ

 

SHORT GOLD below 1199 SL 1202 TP 1192-1180-1168-1156

LONG GOLD above 1218 SL 1215 TP 1226-1232-1242-1251

ปัญหาตอนนี้ ค่าเงินบาท นี่แหละ !!!!! ราคาทองเทียบเป็นดอลล์สหรัฐ เดาว่าขึ้นจากตัวเลขที่อออกมาทำให้ดอลล์สหรัฐ " อ่อนค่าลง "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ย้ำคิด ย้ำทำ

 

SHORT GOLD below 1199 SL 1202 TP 1192-1180-1168-1156

LONG GOLD above 1218 SL 1215 TP 1226-1232-1242-1251

ปัญหาตอนนี้ ค่าเงินบาท นี่แหละ !!!!! ราคาทองเทียบเป็นดอลล์สหรัฐ เดาว่าขึ้นจากตัวเลขที่อออกมาทำให้ดอลล์สหรัฐ " อ่อนค่าลง "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ เส้นดำเส้นแดงส่อว่าจะมาตัดกัน เพื่อเปลี่ยนแนวโน้มทิศทางในด้านแข็งค่า อันสืบเนื่องมาจากค่าเงินยูโรอ่อนฮวบ 1.12 เทียบต่อดอลล์ ใกล้เริ่มทำ QE ในเดือนมีนาคม นี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท แข็งค่าอย่างเร็วมากเมื่อวานนี้ ราคาทองไทยหายไป 150 บาท จากเมื่อวานนี้ มองตาปริบๆ ขึ้นไปทำไม ราคาทองไม่ขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของราคาทองคำ เส้นดำเส้นแดงเอาอีกแล้ว หัวรำทางหันหัวเข้าหากัน หมายที่จะตัดกัน แต่จะตัดกันได้หรือเปล่า และถ้าเส้นจะตัดกันจริง เพียงราคาปิดวันนี้ เหนือ 1215 ก็น่าจะตัดกันแล้ว ส่วนระหว่างวันนี้ ในเมื่อตอนนี้ ยังไม่ปรากฎว่าตัดกันในค่ำคืนที่ผ่านมา ราคาขึ้นหรือลง ย่อมมีเป็นเหตุการณ์ปกติ ดูตามกรอบแนวต้าน

 

SHORT GOLD below 1199 SL 1202 TP 1192-1180-1168-1156

LONG GOLD above 1218 SL 1215 TP 1226-1232-1242-1251

 

ยังอยู่ในกรอบสับสนทิศทาง 1199-1218 และวันนี้ ราคาทองไทย ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท นิ่งแล้วในทางแข็งค่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรป เตรียมรับเงืน QE คงเป็นที่พร้อมแล้ว ค่าเงินยูโรเทียบเท่าดอลล์สหรัฐ 1.12

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หลังจากมีความพยายามในการเจรจาเรื่องเงินช่วยเหลือของกรีซมาตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างรัฐบาลกรีซ นำโดยนายอเล็กซิส ซีปราส นายก รัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคซีริซา ที่ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งในเดือนมกราคม ด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะต่อต้านเงื่อนไขการรัดเข็มขัดจากกลุ่มเจ้าหนี้ต่างชาติ ที่นายซีปราสกล่าวว่าเป็น "ต้นเหตุ" สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของกรีซ และเจ้าหน้าที่ทางการยูโรโซนยืนยันหนักแน่นว่ากรีซจำเป็นต้องเคารพเงื่อนไข ที่เคยให้ไว้ในการกู้เงิน

 

ในที่สุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กุมภาพันธ์) สถานการณ์ดูเหมือนจะเริ่มมองเห็นแสงสว่าง เมื่อกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ยูโรโซนสามารถบรรลุข้อตกลงในเบื้องต้นสำหรับการ ต่ออายุการรับเงินช่วยเหลือ ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ออกไปอีก 4 เดือน โดยภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงในครั้งนี้ กรีซต้องยื่นแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อทดแทนเงื่อนไขรัดเข็มขัดที่เจ้าหนี้ เคยบังคับใช้

แผนการปฏิรูปเศรษฐกิจของกรีซ ซึ่งตามข้อตกลงในครั้งแรกมีกำหนดยื่นต่อเจ้าหน้าที่ทางการยุโรปในวันจันทร์ (23 กุมภาพันธ์) แต่ถูกเลื่อนออกมาเป็นเช้าวันอังคาร (24 กุมภาพันธ์) ตามเวลาท้องถิ่นแทน ส่วนหนึ่งประกอบด้วยคำมั่นที่นายซีปราสหาเสียงไว้ในการเลือกตั้ง คือโครงการแก้ปัญหาความยากจนมูลค่า 1.9 พันล้านยูโร เช่น โครงการสวัสดิการอาหาร ไฟฟ้า และการดูแลสุขภาพที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือจ่ายในราคาถูกสำหรับครอบครัวยากจน

อีกส่วนหนึ่งของแผนปฏิรูปเป็นแผนการหารายได้ทดแทนของกรีซ โดยกรีซตั้งเป้าหมายที่จะปฏิรูประบบภาษีให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น แก้ปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีและคอร์รัปชัน รวมถึงจัดการกับการลักลอบนำเข้าเชื้อเพลิงและบุหรี่ นอกจากนี้ ยังประกอบไปด้วยแผนการปฏิรูปตลาดแรงงาน

++ฝ่าอีกหลายด่านก่อนสรุปเมษาฯนี้

แผนปฏิรูปของกรีซนอกจากจะต้องผ่านการอนุมัติจากทรอยก้า ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และรัฐบาลกลุ่มยูโรโซนแล้ว ยังต้องรอการอนุมัติจากรัฐสภาของสมาชิกทั้ง 18 ประเทศสมาชิกด้วย ต่อจากนั้นทรอยก้าจะต้องทบทวนรายละเอียดของแผนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่ากระบวนการทั้งหมดจะสิ้นสุดภายในเดือนเมษายน ก่อนที่กรีซจะได้รับเงินช่วยเหลือมูลค่า 7.2 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนการรับเงินช่วยเหลือมูลค่า 2.4 แสนล้านยูโรที่กรีซได้รับจากเจ้าหนี้มาตลอดเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา

การยอมรับข้อตกลงต่ออายุเงินช่วยเหลือครั้งนี้ ช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ของกรีซเอง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาประสบปัญหาเงินฝากไหลออกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมืองและความไม่แน่นอนต่ออนาคตทางการเงินของ ประเทศ โดยเป็นที่คาดหมายว่าอีซีบีจะยินยอมให้ธนาคารพาณิชย์กรีซกลับมากู้เงินได้ ด้วยวิธีการปกติอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ อีซีบีกดดันกรีซด้วยการไม่ยอมให้ธนาคารพาณิชย์ของกรีซนำพันธบัตรรัฐบาลมาใช้ เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืมเงินโดยตรง บีบให้ธนาคารกรีซจำเป็นต้องกู้เงินฝ่ายกองทุนช่วยเหลือสภาพคล่องฉุกเฉิน (Emergency Liquidity Assistance) ที่อีซีบีส่งผ่านมายังธนาคารกลางกรีซแทนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แพงกว่า

รายงานล่าสุดจากเจพี มอร์แกน ระบุว่า มูลค่าเงินฝากไหลออกจากธนาคารพาณิชย์กรีซเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (ก่อนหน้าการบรรลุข้อตกลง) เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3 พันล้านยูโร จาก 2 พันล้านยูโรในสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเจพี มอร์แกน ประเมินว่า เงินฝากไหลออกในอัตราดังกล่าวจะทำให้ธนาคารกรีซไม่มีสินทรัพย์สำหรับค้ำ ประกันเงินกู้ภายในเวลา 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ เจพี มอร์แกนประเมินว่า ตั้งแต่ต้นปีมีเงินฝากไหลออกจากธนาคารกรีซไปแล้วประมาณ 2.5 หมื่นล้านยูโร

++ความเสี่ยงยังมีอยู่

อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มความเสี่ยงจากปัญหาระบบธนาคารของกรีซล่ม ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการใช้จ่ายของรัฐบาลและอาจส่งผลลุกลามต่อเนื่อง ไปยังเศรษฐกิจยูโรโซนหรือเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลาอันใกล้ จะลดทอนลงไปบ้างแล้ว แต่สถานการณ์การเงินของกรีซยังไม่มีความชัดเจนไปเสียทั้งหมด โดยกรีซมีกำหนดชำระหนี้ให้กับไอเอ็มเอฟเป็นมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านยูโรในเดือนมีนาคม ซึ่งกรีซจะต้องรับภาระระดมเงินในส่วนนี้ด้วยตนเอง

นอกจากนี้ การต่ออายุเงินช่วยเหลือออกไปอีกเพียง 4 เดือน หรือถึงเดือนมิถุนายนนั้น นับว่ายังมีความสุ่มเสี่ยงอย่างมากรออยู่ข้างหน้าสำหรับกรีซ เนื่องจากกรีซมีกำหนดชำระหนี้พันธบัตรให้กับอีซีบีเป็นมูลค่าราว 6.7 พันล้านยูโรในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม หมายความว่ากรีซจะต้องเร่งเจรจาการรับเงินช่วยเหลือก้อนใหม่กับกลุ่มเจ้า หนี้ให้ได้ก่อนถึงเวลาดังกล่าว

ด้วยเหตุนี้ นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ปัญหาของกรีซ "ยังห่างไกลจากคำว่าคลี่คลาย" นายลุยจิ สเปแรนซา นักเศรษฐศาสตร์จากบีเอ็นพี พาริบาส์ กล่าวว่า ข้อตกลงในวันศุกร์ที่ผ่านมา นับเป็นข่าวดีที่ช่วยคลี่คลายแรงกดดันในปัจจุบันต่อธนาคารกรีซ และเป็นการปูทางไปสู่ข้อตกลงที่ยอมรับได้มากขึ้นระหว่างกรีซและเจ้าหนี้ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงก้าวแรกของการเจรจาเท่านั้น "ข้อตกลงในวันศุกร์เป็นก้าวสำคัญสู่ทิศทางที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่จุดจบของเรื่อง"

++การเมืองภายในส่อเค้ายุ่ง

ขณะเดียวกัน การยอมต่ออายุเงินช่วยเหลือ อาจทำให้นายอเล็กซิส ซีปราส ต้อง เผชิญกับแรงกดดันทางการเมืองภายในที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่เขาให้สัญญาในการหาเสียงเลือกตั้งว่าจะไม่มีการต่ออายุเงินช่วย เหลือและไม่ยอมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทรอยก้า แม้ว่ากรีซจะได้รับโอกาสให้นำเสนอแผนการปฏิรูปด้วยตนเอง แทนที่จะถูกบีบบังคับจากเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่นายซีปราสหยิบยกขึ้นมากล่าวว่าเป็นชัยชนะ แต่ท้ายที่สุดแล้ว นายซีปราสและรัฐบาลกรีซก็จำเป็นต้องกลับลำจากคำมั่นสัญญาหลายประการ

นายมูจทาบา ราห์มาน นักวิเคราะห์จากยูเรเซีย กรุ๊ป มองว่า ช่วงเวลาสำคัญของกรีซจะมาถึงก็ต่อเมื่อต้องลงมือดำเนินการตามแผนปฏิรูปจริงๆ นายซีปราสอาจจะมีปัญหาในการประคองรัฐบาลชุดนี้เอาไว้ เนื่องจากสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคอินดีเพนเดนต์ กรีกส์ มีจุดยืนชัดเจนในการต่อต้านเงินช่วยเหลือและมาตรการรัดเข็มขัด เช่นเดียวกับสมาชิกพรรคซีริซาบางส่วนที่อาจถอนตัวออกไปเมื่อนายซีปราสดำเนิน มาตรการที่ขัดต่อคำมั่นสัญญาของรัฐบาล "สถานการณ์ดังกล่าวจะนำมาซึ่งข้อกังขาต่อความเป็นผู้นำของรัฐบาลชุดนี้ และอาจเป็นเหตุให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี หรือเลือกตั้งใหม่ โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างการเจรจาเงินช่วยเหลือรอบใหม่"

ขณะเดียวกัน นายแดเนียล ทรัม และโธมัส แวคเกอร์ นัก ยุทธศาสตร์จากยูเอสบี กล่าวว่า "เรายังคงความน่าจะเป็น ที่กรีซจะออกจากยูโรโซนภายใน 12 เดือนไว้ที่ 10-20% และยังมองเห็นความเสี่ยงที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ภายใน 12 เดือนประมาณ 20-30%" พร้อมกับเสริมว่า เส้นทางไปสู่ข้อตกลงรับเงินช่วยเหลือก้อนใหม่ยังคงไม่ราบรื่น และมีจุดเสี่ยงเนื่องจากกรีซจำเป็นต้องเลือกระหว่างการยอมรับการกำกับดูแล ด้านการคลังจากภายนอก ซึ่งเสี่ยงต่อสถานะของรัฐบาลผสม และการออกจากยูโรโซน

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 26 - 28 กุมถาพันธ์ พ.ศ. 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...