ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ส้มโอมือ

พลังงานไทย เป็นสมบัติของชาติไทยและของคนไทย ไม่ใช่สมบัติของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

โพสต์แนะนำ

---ช่วงนี้มีงานของบริษัทที่จะต้องรีบทำให้เสร็จ คงต้องหยุดโพสช่วงนึง แล้วจะมาเขียนต่อนะครับ

 

----ช่วงสงกรานต์ผมพอมีเวลาเยอะ จะพยายามหาข้อมูลด้านพลังงานมาให้เพื่อนๆนะครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากเรา เขายังใช้มาตรฐานน้ำมันต่ำกว่ายูโร4 อีกอย่างน้ำมันดิบของมาเลเซียส่วนมากเป็นน้ำมันที่มีค่ากำมะถันค่อนข้างต่ำ เมื่อกลั่นแล้วจะได้น้ำมันที่มีกำมะถันค่อนข้างต่ำ สุดยอดของการแข่งขันคือขายได้แต่กำไรน้อยดีกว่าขายไม่ได้เลย

---น้ำมันสำเร็จรูปเกรดยูโร4ของเรา เมื่อขายไปประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่คิดราคาค่าปรับปรุงคุณภาพสำหรับการส่งออก

มีส่วนที่งงเล็กน้อย

 

ที่เน้นสีแดง คือหมายความว่า เพราะน้ำมันดิบเขากำมะถันต่ำอยู่แล้วเลยไม่ต้องใช้มาตรฐานยูโร 4 หรือเปล่าครับ

 

ที่เน้นสีน้ำเงิน คือ ไม่คิดราคาปรับปรุงคุณภาพ เพราะไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพ หรือ ได้ปรับปรุงคุณภาพเหมือนที่ขายในประเทศ แต่ไม่ได้คิดค่าปรับปรุง

 

ส่วนตัวผม ถ้าลดกำมะถัน แต่ราคาแพง ผมว่าดี ส่วนปัญหาฉ้อฉลต้องไปแก้ที่การตรวจสอบบังคับใช้กม.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มีส่วนที่งงเล็กน้อย

 

ที่เน้นสีแดง คือหมายความว่า เพราะน้ำมันดิบเขากำมะถันต่ำอยู่แล้วเลยไม่ต้องใช้มาตรฐานยูโร 4 หรือเปล่าครับ

 

ที่เน้นสีน้ำเงิน คือ ไม่คิดราคาปรับปรุงคุณภาพ เพราะไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพ หรือ ได้ปรับปรุงคุณภาพเหมือนที่ขายในประเทศ แต่ไม่ได้คิดค่าปรับปรุง

 

ส่วนตัวผม ถ้าลดกำมะถัน แต่ราคาแพง ผมว่าดี ส่วนปัญหาฉ้อฉลต้องไปแก้ที่การตรวจสอบบังคับใช้กม.

 

----ก่อนมาใช้มาตรฐานยูโร4 มาตรฐานเดิมของไทยกำหนดกำมะถันไม่เกิน350 PPM ของใหม่เมื่อมีการปรับปรุงเครื่องกลั่นให้ผลิตเข้ามาตรฐานกำหนดไม่เกิน50 PPM แต่ของมาเลเซียน้ำมันดิบ ของเขาคุณภาพดี เมื่อกลั่นโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนเครื่องกลั่นเลย ก็จะไดค่ากำมะถันที่น้อยกว่า350PPMเยอะพอควร เขาเลยไม่คิดจะเสียเงินเพิ่มเพื่อปรับปรุงโรงกลั่นให้ลดค่ากำมะถันลงไปอีก

 

---ปรับปรุงคุณภาพเหมือนที่ขายในประเทศคือยูโร4 แต่ไม่ได้คิดค่าปรับปรุงในการส่งออกครับ เพราะหลายประเทศกฎหมายเขาไม่กฎหนดให้ใช้น้ำมันคุณภาพระดับบยูโร4

---ส่วนตัวผม ถ้าลดกำมะถัน แต่ราคาแพง ผมว่าดี ส่วนปัญหาฉ้อฉลต้องไปแก้ที่การตรวจสอบบังคับใช้กม. ----ผมตั้งข้อสังเกตุว่าถ้าหน่วยงานรัฐสนใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจริง ทำไมหลายเรื่องประชาชนจะตายอยู่แล้วเนื่องจากอนุญาตให้ใช้สารพิษไซยาไนด์สกัดทองคำซึ่งเป็นวิธีที่อันตรายมากและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมแต่ต้นทุนถูก แต่ก็ยังเพิ่มสัมประทานให้ผู้ขอเพิ่มอีก โรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่---ยอมรับว่าไฟ้่ฟ้าเราไม่พอใช้และจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า แต่จังหวัดน่ารักและเป็นจังหวัดท่องเที่ยวพังแน่ ผมเลยตั้งข้อสงสัยว่าห่วงใยสุขภาพประชาชนหรือมีผลประโยชน์แอบแฝงอะไรบางอย่างหรือเปล่า แค่ข้อสงสัยเท่านั้นครับไม่ได้บอกว่าจริง

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นอกเรื่องน้ำมัน แต่มีประโยชน์มาก สำหรับคนที่เป็นหนี้กู้บ้าน โปรดอ่าน

 

Somkiat Osotsapa

 

ถ้าใครกู้เงินธนาคารมาผ่อนซื้อบ้าน เมื่อครบสามปี คุณมีสิทธิเดินเข้าไปขอลดดอกเบี้ยเงินกู้ ได้เช่น ตอนที่คุณกู้มาดอกเบี้ยเท่ากับดอกลูกค้าชั้นดีลบหนื่งเปอร์เซนต์ เขาอาจลดให้คุณได้ถืง ลบ สองจุดเจ็ดห้าเปอร์เซนต์ เป็นล้านบาทนะครับอย่าพลาดโอกาส ทุุกธนาคาร ให้เดินเข้าไปขอลดดอกเบี้ย เขา มีนโยบายช่วยลูกค้า ดืงดูดลูกค้าออกมาเป็นระยะ โดยไม่มีประกาศ ตองถามครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นอกเรื่องน้ำมัน แต่มีประโยชน์มาก สำหรับคนที่เป็นหนี้กู้บ้าน โปรดอ่าน

 

Somkiat Osotsapa

 

ถ้าใครกู้เงินธนาคารมาผ่อนซื้อบ้าน เมื่อครบสามปี คุณมีสิทธิเดินเข้าไปขอลดดอกเบี้ยเงินกู้ ได้เช่น ตอนที่คุณกู้มาดอกเบี้ยเท่ากับดอกลูกค้าชั้นดีลบหนื่งเปอร์เซนต์ เขาอาจลดให้คุณได้ถืง ลบ สองจุดเจ็ดห้าเปอร์เซนต์ เป็นล้านบาทนะครับอย่าพลาดโอกาส ทุุกธนาคาร ให้เดินเข้าไปขอลดดอกเบี้ย เขา มีนโยบายช่วยลูกค้า ดืงดูดลูกค้าออกมาเป็นระยะ โดยไม่มีประกาศ ตองถามครับ

 

เพื่อนผมที่เรียนจบมาด้วยกัน เขายืนยันมาแล้วนะว่าเป็นเรื่องจริง เพราะเขาใช้มาแล้วครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Thai_Energy_2012_Lowres.pdf

 

pdfไฟล์ชุดนี้เป็นเอกสารจากทางปตท ผมนำมาจากเวป

http://www.pttplc.co...m-Business.aspx

เลื่อนลงมานิดหนึ่ง จะมีข้อควมว่า พลังงานไทย…ไม่ใช่ของใคร…ของไทยทั้งมวล… ผมdownload จากตรงนี้ ในเมื่อเอกสารนี้เป็นเอกสารของปตท

ฝ่ายปตทคงมาออกความเห็นไม่ได้ว่าเอกสารไม่ถูกต้อง ผมมีข้อมูลที่จะโพสอยู่นานแล้ว แต่ที่ติดขัดเพราะต้องการเอกสารที่ฝ่ายปตทมาเถียงไม่ได้มายืนยันครับ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ผมเคยเกริ่นว่าเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันของเบนซิน95 อยู่ที่7.10บาท ค่ากลางตลาดเข้าปตท4.16บาท

----ดีเซลไม่เก็บเงินเข้ากองทุน น้ำมัน(ดีเซลส่วนมากจะเก็บน้อยหรือไม่เก็บ บางครั้งกองทุนยังจ่ายเงินเข้ามานิดหน่อยเพื่อให้ราคาถูกลง) ค่าการตลาดเก็บ1.46บาท

----ตัวที่รัฐใช้เงินกองทุนอุดหนุนต่อลิตรสูงคือแก๊สโซฮอล์95 E85 ถึงลิตรละ12.50บาท แต่ตัวนี้ยอดขายน้อย ไม่ส่งผลต่อกองทุนน้ำมัน

 

 

*****สรุปเลยนะครับ เงินที่เก็บเข้าและจ่ายอุดหนุนน้ำมันของกองทุนน้ำมัน ถ้าใช้ดูแลเฉพาะน้ำมันตามภาพที่เห็น ต่อปีจะมีเงินเหลืออยู่ในกองทุนในระดับหมื่นล้านครับ แต่ปัจจุบันนี้กองทุนน้ำมันติดลบหลายพันล้าน เงินหายไหน รัฐนำไปอุดหนุนใครบ้าง เงินที่นำไปอุดหนุนประชาชนของประเทศได้ประโยชน์หรือเอกชนบางกลุ่มได้ ประโยชน์มหาศาล ต้องตามอ่านต่อครับ

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เอกสารปตท

 

รูปหน้าที่2 ก๊าซธรรมชาติที่เราใช้ทั้งหมดเป็นการนำเข้าประมาณ 21%ส่วนผลิตเองในประเทศ79%

 

หน้า21---ในอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ภาครัฐใช้เงินจากกองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิงเป็นกลไกในการ ควบคุมราคาก๊าซ LPG ทำ�ให้ราคาตํ่ากว่าตลาดโลกและตํ่ากว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น (ปัจจุบันราคา LPGตลาดโลกอยู่ที่ 1,001 เหรียญสหรัฐ/ตัน (ต.ค. 55) ในขณะที่รัฐบาลควบคุมราคาจำ�หน่ายหน้าโรงแยกก๊าซฯ ให้อยู่ที่ 333 เหรียญสหรัฐ/ตัน)

 

หน้า22---หากย้อนไปในปี 2538 นอกจากไทยไม่ต้องนำ�เข้า LPG แล้วยังเป็นผู้ส่งออก LPG ติดต่อกันถึง 13 ปี ตั้งแต่ปี 2538-2550 แต่เมื่อความ

ต้องการใช้ LPG ภายในประเทศไม่เพียงพอและเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยจึงกลายเป็นผู้นำ�เข้า LPG ตั้งแต่เมษายน 2551 เป็นต้นมา

โดยในปี 2554 ไทยผลิตก๊าซฯ LPG ได้ประมาณ 5 ล้านตัน/ปี ในขณะที่มีปริมาณการใช้สูงถึงเกือบ 6.5 ล้านตัน/ปี

 

จากรูปหน้า22--จากภาพลองดูข้อมูลในปี2550 จะพบว่ากลุ่มปิโตรเคมี(สีน้ำเงินเข้ม)ใช้LPG750,000ตัน ปี2550เป็นปีสุดท้ายที่เรามีการส่งออกLPG จากกราฟปี2554กลุ่มปิโตรเคมีมีการใช้LPGประมาณ 2,700,000ตัน(เพิ่มจากเดิมมากกว่า200%) จากข้อมูลบอกเราว่าปริมาณLPGที่เราผลิตได้นั้น เพียงพอสำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง ภาคครัวเรือน

 

----ถ้าเราต้องนำเข้าLPG 1.5ล้านตันต่อปี ที่ราคา 1,001 เหรียญสหรัฐ/ตัน (ต.ค. 55) ในขณะที่รัฐบาลควบคุมราคาจำ�หน่ายหน้าโรงแยกก๊าซฯ ให้อยู่ที่ 333 เหรียญสหรัฐ/ตัน) จะต้องมีเงินชดเชย (1001-333)*1,500,000*32(ให้1เหรียญเท่ากับ32บาท) = 32,064ล้านบาท ถ้าคิดค่าใช้จ่ายในการขนส่งLPGเข้ามาในประเทศอีก จะสูงกว่านี้อีกครับ

 

-----เวลาจะทวงคืนปตท ก็จะบอกว่าปตทเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว ทำไมต้องทวงคืน กระทรวงการคลังถือหุ้นเกิน51.11%(เกิน50%) กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)ถือ 7.45% กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน)ถือ7.45% ตอนยังไม่แปรรูปเป็นบริษัทมหาชนก็กำไรไม่มากมาย ผมเห็นด้วยว่าไม่สมควรทวงคืนปตท แต่ต้องควบคุมปตทมากกว่าปัจจุบัน

 

----แต่กลุ่มปิโตรเคมีไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ(บางบริษัทปตทถือหุ้นเยอะพอสมควร แต่พอคิด%แล้วกระทรวงการคลังถือหุ้นน้อยกว่าลงไปเยอะครับ) เขาเป็นเอกชนที่ร่ำรวยมีเงินถุงเงินถัง ปิโตรเคมีใช้ก๊าซในราคาตลาดเมืองไทยซึ่งถูกกว่าเมืองนอกมาก

 

----หน้า23--ที่สำ�คัญราคาจำ�หน่ายก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบให้ภาคปิโตรเคมี เป็นไปตามกลไกตลาดไม่เคยได้รับการอุดหนุน

หรือชดเชยจากภาครัฐนับตั้งแต่อดีต------เป็นคำพูดที่เนียนมากครับ แต่จริงๆแล้วก็คือซื้อในราคาตลาดเมืองไทยซึ่งถูกกว่าตลาดโลกมากมาย แล้วเราต้องนำเข้าปิโตรเคมีในราคาตลาดโลกรวมค่าขนส่ง ค่าใช่จ่ายส่วนนี้กองทุนน้ำมันรับผิดชอบเต็มๆ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

LPG_BOOK-final_OK.pdf

pdfไฟล์ชุดนี้เป็นเอกสารจากทางปตท ผมนำมาจากเวป

http://www.pttplc.co...m-Business.aspx

เลื่อนลงมาสุด จะเห็นข้อความว่า LPG story

 

---บริษัทผมมีการใช้เม็ดพลาสติคอยู่บ้าง ช่วงที่ราคาน้ำมันลงได้คุยกับฝ่ายที่สั่งเม็ดพลาสติคว่าราคาเม็ดลงมั้ย เขาบอกว่าส่วนมากไม่ลง เพราะเม็ดพลาสติคในไทยโดนคุมโดยบริษัทใหญ่ๆไม่กี่เจ้า ราคาที่ขายในเมืองไทยหลายตัวจะแพงกว่าต่างประเทศ แต่ถ้านำเข้ามาก็เสียค่าใช้จ่ายหลายอย่างอาจไม่คุ้ม และถ้ามีคนนำเข้าก็อาจโดนบริษัทใหญ่กดราคาสั่งสอนได้

 

หน้า8---กว่าที่เราจะค้นพบ LPG กว่าที่ LPG จะถูกแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี กว่าที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะถูกผลิตออก

มาเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ มากมาย ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 3 แสนคน------แต่คนทั้งประเทศที่ใช้น้ำมัน ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน มันถูกต้องมั้ย

 

หน้า9--ในปี 2552 ประเทศไทยสามารถสรา้งรายได้คิดเป็นมูลค่า ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ในส่วนของผลิตภัณฑ์

ปิโตรเคมีประมาณ 4.6 แสนล้านบาทหรือ 5.1% ของ GDP โดยเป็นการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีโดยตรงประมาณ 1.7แสนล้านบาทหรือ 1.9% ของ GDP และจากอุตสาหกรรม ต่อเนื่องประมาณ 2.9 แสนล้านบาทหรือ 3.2% ของ GDP

 

---ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการจำนวนมาก ผู้ประกอบการจำนวนมากทำให้มีการแข่งขัน ราคาก๊าซที่ถูกก็จะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์

---ภาคครัวเรือน เกี่ยวกับประชาชนทั้งประเทศ ราคาก๊าซที่ถูก ทำให้ประชาชนทั้งประเทศได้ประโยชน์

 

---ปิโตรเคมี เป็นเอกชนที่ร่ำรวยไม่กี่เจ้า พวกเขามีเงินถุงเงินถัง ราคาก๊าซตลาดเมืองไทยที่ถูกกว่าราคาตลาดโลกมาก เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มปิโตรเคมีมหาศาล วัตถุดิบต่างๆที่กลุ่มปิโตรเคมีผลิตและจำหน่ายก็ในเมืองไทยก็ไม่ได้ราคาถูกกว่าต่างประเทศตามต้นทุนก๊าซที่เขาได้ราคาถูก เขาผลิตไปขายต่างประเทศโดยเอากำไรเข้ากระเป๋าเขามากมาย ตกลงพวกเราจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่ออุ้มกลุ่มปิโตรเคมีที่เป็นเอกชนและเป็นกลุ่มที่ร่ำรวยมหาศาล นโยบายแบบนี้ของรัฐบาลเรารับได้มั้ย

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จากข้อมูลที่ผมหามา ก่อนปี54 กลุ่มปิโตเคมีไม่เคยจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเลย เขาใช้ราคาก๊าซตลาดเมืองไทยซึ่งราคาถูกกว่าราคาตลาดโลกมาก ในการสร้างผลกำไร จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปี2554หลังจากโดนท้วงติงมากขึ้น ก็บอกว่าจะจ่ายเงินเข้าด้วยนิดหน่อย แต่ก็เห็นเป็นเอกสารว่าค้างจ่ายอยู่นาน ถึงตอนนี้คงไม่ค้างจ่ายแล้วมั้ง

 

---การเป็นรัฐวิสาหกิจ กับการเป็นเอกชน การตรวจสอบการรั่วไหลของเงินแตกต่างกันมาก ส่วนตัวสงสัยว่ากลุ่มปิโตรเคมี น่าจะสร้างผลกำไรมากกว่าที่เขาแจ้งมากมาย เงินกองทุนน้ำมันที่นำไปอุ้มราคาก๊าซหลายหมื่นล้านบาทต่อปี กำไรกลุ่มนี้น่าจะมหาศาลซิ

 

รายชื่อบริษัทในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

 

http://goodtimes.of-cour.se/2012/06/07/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD/

 

รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย

 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผวาเชฟรอนถอดใจผลิตก๊าซ

 

 

วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2014 เวลา 10:24 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ลงทุน-อุตสาหกรรม - คอลัมน์ : ลงทุน-อุตสาหกรรม

printButton.png

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หวั่นเชฟรอนถอนการลงทุนผลิตก๊าซฯในอ่าวไทย หลังหมดอายุสัมปทานในอีก 8 ปีข้างหน้า ต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปีนี้ ว่าจะต่ออายุหรือเปิดให้มีการประมูล หวังสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาเตรียมตัวก่อน 5 ปี

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างเร่งพิจารณารายละเอียดปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีของการต่ออายุสัมปทานการผลิตปิโตรเลียมของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในอ่าวไทยที่ผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่ประมาณ 1.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบประมาณ 4 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จะหมดอายุลงในอีก 8 ปีข้างหน้าหรือช่วงปี 2565 ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะไม่สามารถต่ออายุสัมปทานได้อีก ทำให้ต้องมาพิจารณาว่า เมื่อหมดอายุสัมปทานแล้วจะมีการต่ออายุสัมปทานให้อีกหรือไม่ หรือจะต้องดำเนินการเปิดประมูลใหม่ ซึ่งจะต้องศึกษาในรายละเอียดถึงผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นด้วย

ทั้งนี้ การปรับปรุง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จหรือเห็นภาพชัดเจนภาย ใน 1-2 ปีนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาเตรียมตัว ซึ่งจากประสบการณ์ของต่างประเทศได้มีการประกาศล่วงหน้าไว้ถึง 5 ปี ก่อนที่อายุสัมปทานจะหมดลง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและมีระยะเวลาเตรียมตัวที่จะ ตัดสินใจลงทุนผลิตปิโตรเลียมหรือไม่ หากไม่มีความชัดเจนในข้อกฎหมายเกิดขึ้น จะส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่มีเวลาเตรียมตัวพอและอาจจะถอนการลงทุนออกไปได้

นายทรงภพ กล่าวอีกว่า แม้การทำอีเอชไอเอจะผ่านความเห็นชอบแล้วก็ตาม แต่มีระยะเวลานานถึง 5 ปี จึงทำให้เชฟรอนประกาศยุติโครงการดังกล่าวเมื่อปี 2555 ด้วยเหตุผลความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากอายุสัมปทานของแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยเหลือไม่ถึง 10 ปี และหากลงทุนไปแล้วก็ยังไม่ทราบว่าจะได้ต่ออายุสัมปทานอีกหรือไม่ ทำให้เชฟรอนต้องถอนโครงการออกไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับ ประชาชนท่าศาลา

"สิ่งที่กังวลขณะนี้หากข้อกฎหมายยังไม่มีความชัดเจน และเชฟรอนถอนการผลิตก๊าซจากอ่าวไทยออกไป จะส่งผลให้ปริมาณก๊าซหายไปจากระบบประมาณ 1.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือครึ่งหนึ่งของกำลังผลิตที่ผลิตได้ ผลที่ตามมาจะทำให้ประเทศต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีจากต่างประเทศเข้ามาจำนวน มากเพื่อมาทดแทน ซึ่งมีราคาสูงกว่า 2-3 เท่า จะทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในราคาที่สูงขึ้นตาม และประเทศจะมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงพลังงานเกิดขึ้นสูงตามมาด้วย"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,933 วันที่ 23 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนตัวมองว่า เหมือนหน่วยงานรัฐอยากจะยกสัมประทานให้เขาอย่างง่ายดาย จากที่ผมตามข้อมูลมาพบว่า การผลิตก๊าซของเซฟรอนของประเทศไทยนั้น มากเป็นอันอันดับ2ของเซฟรอนเลยนะ ส่วนมากหลุมในอ่าวไทยจะให้ก๊าซเป็นส่วนมาก เซฟรอนเป็นบริษัทพลังงานระดับโลก ถ้าการผลิตก๊าซของเซฟรอนในเมืองไทยสูงเป็นอันดับ2ของเซฟรอน ต้องถือว่าเป็นจำนวนมหาศาลเลยนะ สัมประทานขุดเจาะน้ำมันของเรา ประมาณครึ่งนึงเป็นของบริษัทของอเมริกา อีกประมาณ25%เป็นของบริษัทในตะวันออกกลาง ส่วนอีกประมาณ25%เป็นของปตท.สผ. ทำไมปตทสผ. ไม่รับสัมประทานไว้เอง แล้วที่ไปลงทุนซื้อกิจการพลังงานของแคนาดาจำนวนมหาศาล จ่ายเงินเยอะขนาดนั้นจะคุ้มมั่้ย

http://www.bangkokbi...3%A9%D2%B9.html

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะคุณส้มโอมือ เป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องพลังงานเลยแต่สนใจอยากรู้มาก ขอบคุณค่ะที่ทำกระทู้นี้ จะติดตามต่อค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://www.108acc.com/index.php?lite=article&qid=42071662

 

ทำไมบริษัทผูกขาดแบบปตท ต้องใช้งบโฆษณาขนาดนั้น ดูรายการที่4และรายการที่9ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมันที่คนไทยใช้ เป็นอย่างไร ถ้าดูเฉพาะราคาขายปลีกอย่างเดียว ประเทศเราไม่ติด10อันดับแรกที่มีราคาขายปลีกสูงที่สุด แต่ถ้าเอารายได้เฉลี่ยต่อวันมาเปรียบเทียบด้วย รายได้เฉลี่ยคนไทยอยู่ที่ประมาณ507บาทต่อวัน พบว่าราคาน้ำมันเมื่อเทียบกับรายได้เราสูงเป็นอันดับ10ของโลก ประมาณว่าคนไทยจ่ายค่าน้ำมัน 25% ของรายได้ต่อวัน

http://hilight.kapook.com/view/82452

 

---ราคาน้ำมันที่สูงเป็นอันดับ10เมื่อเทียบกับรายได้ ถือว่าหนักมากสำหรับคนไทย ถ้าคนไทยต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันมากกว่านี้หรือต้องจ่ายค่าก๊าซแพงกว่านี้อีก จะเป็นภาระหนักของคนไทยเกินไป ถ้ากลุ่มปิโตรเคมีซื้อก๊าซในราคาตลาดโลก เงินกองทุนน้ำมันจะเหลือพอที่จะไม่ต้องขึ้นราคาก๊าซและราคาน้ำมัน

 

--ทำไมรัฐเอื้อประโยชน์หลายหมื่นล้านต่อปี ไปช่วยคนไม่กี่คนที่เป็นเจ้าของปิโตรเคมี ช่วยอย่างมากก็น่าจะให้เขาซื้อก๊าซไม่แพงกว่าตลาดโลก ช่วยเรื่องค่าขนส่งมาไทยก็น่าจะพอแล้ว ราคาก๊าซที่กลุ่มปิโตรเคมีซื้อในราคาถูกกว่าตลาดโลกแล้ว ราคาปิโตรเคมีที่เขาผลิตและขายในไทยก็ไม่เห็นถูกลงมาเลย งานนี้เหมือนเอาเงินคนจนทั่วประเทศมาอุดหนุนคนรวยไม่กี่คนให้ร่ำรวยขึ้นไปอีก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

t

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Thai_Energy_2012_Lowres.pdf

 

pdfไฟล์ชุดนี้เป็นเอกสารจากทางปตท ผมนำมาจากเวป

http://www.pttplc.co...m-Business.aspx

เลื่อนลงมานิดหนึ่ง จะมีข้อควมว่า พลังงานไทย…ไม่ใช่ของใคร…ของไทยทั้งมวล… ผมdownload จากตรงนี้ ในเมื่อเอกสารนี้เป็นเอกสารของปตท

 

 

EIA สหรัฐ ระบุว่าไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ เป็นอันดับที่ 24 และ ผลิตน้ำมันได้เป็นอันดับที่ 33 ของโลก

 

เอกสารหน้า3---ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทยอยู่ที่ 34

---ปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทยอยู่ที่ 46

 

http://whereisthailand.info/2013/06/proved-reserves-of-oil-natural-gas/

----ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย จำนวนปีที่ผลิตก๊าซธรรมชาติได้7.61ปี

---ปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย จำนวนปีที่ผลิตน้ำมันดิบได้3.51

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รื่องปริมาณที่ผลิตจริง เป็นตัวเลขทีเกิดขึ้นแล้วและเป็นความจริง ส่วนปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วใครเป็นคนให้ตัวเลขนี้ ถ้าเป็นตัวเลขที่ฝ่ายที่ได้รับสัมประทานเป็นคนให้ เราจะเชื่อถือตัวเลขนี้ได้มั้ย เขาจะบอกให้น้อยไว้ก่อนเพื่อประโยชน์ของเขาหรือบอกตามความจริง ถ้าบอกเยอะเขาก็กลัวเราจะเก็บค่าสัมประทานเยอะ บอกน้อยก่อนเพื่อการต่อรองไม่ให้เก็บค่าสัมประทานเยอะ

----ประเทศเราผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่เพิ่มขึ้นตลอด ถ้าเอาทฤษฎีPeak Oilเข้ามาจับ ก็ต้องบอกว่าเรายังมีปริมาณก๊าซและน้ำมันดิบอีกเยอะครับ ถ้ากำลังการผลิตเรายังเพิ่มขึ้นเรื่อยแสดงว่าเรายังมีน้ำมันใช้อีกเยอะ เมื่อไหร่ยอดการผลิตมีแต่ทรงกับทรุดแสดงว่าปรืมาณของเราเริ่มโดนใช้ไปครึ่งนึงแล้ว

 

 

Monday, 23 June 2008

 

Peak Oil ดอยน้ำมัน

 

« หุ้นถูกเรื้อรัง | Main | Peak Energies ดอยพลังงาน »

คน ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องของพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันปิโตรเลียมนั้น สิ่งหนึ่งที่จะต้องรู้ก็คือทฤษฎีสำคัญที่เป็นหัวใจของกำลังการผลิตน้ำมันของ แหล่งผลิตต่าง ๆ และของโลก เพราะนี่จะเป็นตัวชี้ที่สำคัญว่า Supply หรืออุปทานน้ำมันของโลกจะเป็นอย่างไร ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกกันง่าย ๆ ว่า Peak Oil หรือผมขอแปลตรง ๆ ว่า “ดอยน้ำมัน” และผู้ที่คิดทฤษฎีนี้ก็คือ ดร. M. King Hubbert ซึ่งเป็นนักธรณีวิทยาและเคยทำงานอยู่กับบริษัท น้ำมัน Shell มานานกว่า 20 ปี อีกทั้งได้ทำงานในฐานะของนักวิจัยให้กับหน่วยงานการสำรวจทางธรณีวิทยาของ รัฐบาลสหรัฐกว่า 12 ปี และยังมีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์และสแตนฟอร์ดอีก ต่างหาก

Peak Oil คือทฤษฎีที่อธิบายว่าทำไมแหล่งน้ำมันต่าง ๆ นั้น ในตอนเริ่มทำการผลิต กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่งก็จะเพิ่มถึงจุดสุดยอด ซึ่งที่จุดนั้นก็คือจุดที่ได้มีการสูบน้ำมันออกมาจากบ่อแล้วประมาณครึ่ง บ่อ หลังจากถึงจุดที่มีกำลังการผลิตสูงสุดแล้ว กำลังการผลิตก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ อาจจะปีละ 1-2 % หรือมากกว่านั้นจนกระทั่งน้ำมันหมดบ่อ ถ้าดูเป็นเส้นกราฟของการผลิตก็จะเป็นเหมือนรูประฆังคว่ำโดยมีจุดสูงสุดอยู่ ตรงกลาง

คำ อธิบายแบบง่าย ๆ ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้นก็คือ บ่อน้ำมันนั้น ในช่วงแรกที่มีการเจาะและสูบน้ำมันขึ้นมา การสูบหรือการไหลของน้ำมันจะเร็วมากเพราะว่าน้ำมันยังอัดกันเต็มภายใต้แรง ดันในบ่อ พอหลุมถูกเปิดออก น้ำมันก็แทบจะทะลักขึ้นมาเองโดยไม่ต้องทำอะไร กำลังการผลิตในช่วงแรก ๆ จึงสูงมาก ต่อมาเมื่อน้ำมันถูกดูดออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ แรงดันภายในบ่อก็จะลดลงเรื่อย ๆ หรือหมดไป น้ำมันก็ไหลออกมายากขึ้น การสูบก็ยากขึ้นเพราะน้ำมันที่เหลือก็มักจะเป็นน้ำมันที่ข้นขึ้นเพราะน้ำมัน ที่ใสและดีถูกดูดออกไปหมดแล้ว ในขั้นตอนนี้เรายังจำเป็นต้องช่วยโดยการอัดก๊าซเช่น คาร์บอนไดอ๊อกไซด์เข้าไปในหลุมและ/หรืออัดน้ำหรือสารเคมีที่จะทำให้น้ำมัน ดิบลดความข้นลงเพื่อให้น้ำมันไหลง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตของบ่อน้ำมันในช่วงหลังจากจุดสุดยอดแล้วก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนหมดในที่สุด

ใน ปี 1956 หลังจากที่ ดร. Hubbert คิดทฤษฎี Peak Oil ขึ้นแล้ว เขาก็ใช้สูตรนี้ทำนายว่า สหรัฐอเมริกาจะมีกำลังการผลิตน้ำมันถึงจุดสูงสุดในปี 1970 ซึ่งทำให้เขาถูกหัวเราะเยาะจากผู้เชี่ยวชาญในวงการน้ำมันทั้งหลาย เพราะว่าตั้งแต่ปี 1956 อเมริกาสามารถผลิตน้ำมันได้เพิ่มขึ้นทุกปีและไม่มีท่าทีว่าจะลดลงเลย แต่แล้วทุกคนก็ต้องทึ่ง เพราะหลังจากปี 1971 เป็นต้นไป กำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐก็ลดลงทุกปีจนถึงทุกวันนี้ และในปี 1975 สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐก็ยอมรับว่าการคำนวณของเขาเกี่ยวกับการ ค่อย ๆ หมดไปของน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินั้นถูกต้อง

ไม่ ใช่เฉพาะที่อเมริกาเท่านั้นที่เกิดปรากฏการณ์ Peak Oil ในแหล่งน้ำมันต่าง ๆ ทั่วโลก กำลังการผลิตน้ำมันต่างก็ลดลงเมื่อมีการผลิตไปถึงจุดหนึ่งซึ่งตามทฤษฎีก็คือ จุดยอดดอยหรือจุด Peak นั่นเอง มีการพูดกันว่าแม้แต่ในกลุ่มโอเปกเอง สมาชิกต่างก็ผลิตไปจนถึงจุดสูงสุดกันเกือบหมดแล้วยกเว้นซาอุดิอาราเบียที่ ยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่บ้างแต่ก็ใกล้ยอดดอยเต็มที นักวิชาการบางคนถึงกับพูดว่า โลกเราเองก็มีกำลังการผลิตน้ำมันถึงจุดสูงสุดไปแล้ว เพราะกำลังการผลิตน้ำมันที่ประมาณ 85 ล้านบาร์เรลต่อวันที่เราใช้อยู่นี้ดูเหมือนจะเริ่มคงที่มาเป็นเวลาพอสมควร แล้ว โอกาสที่จะผลิตได้เพิ่มอาจจะยาก เพราะแม้ว่าซาอุดิอาราเบียจะยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้บ้าง แต่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นในโลกก็เริ่มถึงจุดที่ผลิตได้น้อยลงไปเรื่อย ๆ แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ซาอุผลิตได้เพิ่มก็แค่มาชดเชยกับผู้ผลิตอื่นที่ผลิตได้น้อยลง เช่นอินโดนีเซียที่ตอนนี้แม้แต่จะผลิตใช้ในประเทศก็ไม่พอ ไม่ต้องพูดถึงแหล่งผลิตในทะเลเหนือหรือแหล่งผลิตอื่นที่กำลังการผลิตถอยลงไป เรื่อย ๆ เพราะอยู่ในช่วงขาลงแล้ว

ตาม การคาดการณ์ของนักวิชาการกลุ่ม Peak Oil ดูเหมือนว่าโลกเรากำลังจะขาดแคลนน้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนั่นเป็นเหตุให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่หยุด เพราะปริมาณการผลิตนั้นไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกและอาจจะใกล้ถึงจุดลดลงใน ขณะที่ความต้องการน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะจากประเทศอย่างจีนและอินเดีย ในอีกด้านหนึ่งกำลังการผลิตน้ำมันจากแหล่งน้ำมันใหม่ ๆ ก็มีน้อยมาก ว่าที่จริงการค้นพบน้ำมันแหล่งใหญ่ ๆ ของโลกนั้น เกิดขึ้นครั้งสุดท้ายก็ประมาณ 30-40 ปีมาแล้วและโอกาสที่จะเจอแหล่งใหม่ ๆ ขนาดใหญ่ก็ดูมืดมน และแม้ว่าในขณะนี้จะมีการขุดเจาะน้ำมันกันมากเพราะราคาน้ำมันสูงจูงใจแต่ สิ่งที่พบนั้นดูเหมือนว่าอย่างมากก็แค่ประคองไม่ให้การผลิตน้ำมันของโลกลดลง เท่านั้น ดังนั้น ถ้าคิดถึงการเติบโตของการใช้น้ำมันที่จะเพิ่มขึ้นเฉพาะจากจีนเพียงประเทศ เดียว โอกาสที่น้ำมันจะมีเพียงพอให้ใช้ก็มีน้อยมาก ว่ากันว่าถ้าจะให้มีน้ำมันพอ เราคงต้องเจอบ่อน้ำมันขนาดเท่ากับของซาอุสัก 2- 3 ประเทศในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า ซึ่งดูแล้วคงเป็นไปไม่ได้

“ผู้ เชี่ยวชาญ” หลาย ๆ คนและในหลาย ๆ ประเทศที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันต่างก็พูดว่า น้ำมันในโลกนั้นมีกำลังการผลิตเหลือเฟือ ราคาน้ำมันที่ขึ้นไปเป็นเพราะการเก็งกำไรของนักลงทุนหรือเฮดก์ฟันด์ในตลาด สินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า นี่เป็นเรื่องจริงหรือเปล่าก็คงจะตอบได้ยาก แต่ประเด็นที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ คนเหล่านั้น หลายคนมีผลประโยชน์ทับซ้อน อย่างเช่นในกลุ่มของโอเปกเอง ว่ากันว่าตัวเลขกำลังการผลิตหรือปริมาณน้ำมันสำรองของแต่ละประเทศนั้นไม่มี ความโปร่งใสเลย หลายประเทศดูเหมือนจะพยายามบอกว่าตนเองมีสำรองน้ำมันมาก เหตุผลก็คือ เวลาจัดสรรโควตาการผลิตน้ำมันเขาจะจัดกันตามปริมาณสำรองที่แต่ละประเทศมี เพราะฉะนั้น แต่ละประเทศจึงมักบอกว่าตนเองมีน้ำมันมากกว่าความเป็นจริง เช่นเดียวกัน บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดก็มักจะพยายามบอกว่าตนเองมี สำรองน้ำมันมากเพื่อที่หุ้นของตนจะได้มีราคาสูง เหล่านี้ทำให้ตัวเลขน้ำมันสำรองของโลก “เพี้ยน” และไม่น่าเชื่อถือ แต่ถ้าดูข้อเท็จจริงของตัวเลขกำลังการผลิตที่ออกมา ดูเหมือนว่าสถานการณ์น้ำมันของโลกจะเป็นไปในแนวทางของพวกที่เชื่อทฤษฎี Peak Oil มากกว่า

ใน ฐานะของนักลงทุน เราคงต้องติดตามดูไปเรื่อย ๆ และตัดสินใจลงทุนด้วยความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้ ส่วนตัวผมเองนั้น คงยังไม่เชี่ยวชาญพอที่จะเสี่ยงกับสิ่งที่ตนเองมีความรู้น้อย แต่นี่ก็คงจะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนโดยรวมได้ เพราะน้ำมันหรือว่าที่จริงก็คือพลังงานนั้น มันเกี่ยวข้องกับชีวิตเราลึกซึ้งมาก นักลงทุนต้องรู้เกี่ยวกับน้ำมันทั้ง ๆ ที่เขาอาจจะไม่ได้ลงทุนในหุ้นน้ำมันเลย

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่ทราบมาประเทศเพื่อนบ้านของเราหลายประเทศ เขาจะว่าจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญน้ำมันมาสำรวจว่ามีปริมาณน้ำมันประมาณเท่าไหร่ก่อนให่้สัมประทาน แต่ของเราไม่ทำแบบนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

pic_ennergy001.jpg

ประเทศเราผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่เพิ่มขึ้นตลอด ถ้าเอาทฤษฎีPeak Oilเข้ามาจับ ก็ต้องบอกว่าเรายังมีปริมาณก๊าซและน้ำมันดิบอีกเยอะครับ ถ้ากำลังการผลิตเรายังเพิ่มขึ้นเรื่อยแสดงว่าเรายังมีน้ำมันใช้อีกเยอะ เมื่อไหร่ยอดการผลิตมีแต่ทรงกับทรุดแสดงว่าปรืมาณของเราเริ่มโดนใช้ไปครึ่งนึงแล้ว

 

---เรื่องปริมาณที่ผลิตจริง เป็นตัวเลขทีเกิดขึ้นแล้วและเป็นความจริง ส่วนปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วใครเป็นคนให้ตัวเลขนี้ ถ้าเป็นตัวเลขที่ฝ่ายที่ได้รับสัมประทานเป็นคนให้ เราจะเชื่อถือตัวเลขนี้ได้มั้ย เขาจะบอกให้น้อยไว้ก่อนเพื่อประโยชน์ของเขาหรือบอกตามความจริง ถ้าบอกเยอะเขาก็กลัวเราจะเก็บค่าสัมประทานเยอะ บอกน้อยก่อนเพื่อการต่อรองไม่ให้เก็บค่าสัมประทานเยอะ

 

---ที่สำคัญสุดคือส่วนแบ่งสัมประทานที่เราได้รับน้อยมากเมื่อเทียบกับที่ประเทศอื่นเขาได้ ถ้าได้น้อยหยุดขุดแล้วเก็บให้ลูกหลานในอนาคตดีกว่ามั้ย ที่ทราบมาประเทศเพื่อนบ้านของเราหลายประเทศ เขาจะว่าจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญน้ำมันมาสำรวจว่ามีปริมาณน้ำมันประมาณเท่า ไหร่ก่อนให่้สัมประทาน แต่ของเราไม่ทำแบบนี้

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...