ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สุดยอดค่ะ คุณตวน อันนี้เรียกมืออาชีพของการลงทุนจริง ๆ ส่วนตัวแล้ว ไม่เคยละเอียดขนาดนี้เลยค่ะ

 

รู้เพียง %กำไร (ขาดทุน) ของแต่ละกอง เท่านั้น ไม่ได้เอารายได้ทั้งหมดมาคำนวณหาค่ะ

 

ลงกองที่ได้กำไรน้อยหน่อย ก็เข้าข้างตัวเองว่า มันเสี่ยงน้อย ก็กำไรน้อย ชนะเงินฝากก็เก่งแล้ว

 

ส่วนพวกเสี่ยงมากหน่อย ได้มากหน่อย ก็ ถือว่า ชนะตลาดรวมได้

 

แบบเข้าข้างตัวเอง 55555

 

สนุก ๆ ไป ค่อย ๆ เรียนรู้ไปเก็บสะสมไว้ตอนแก่ ค่ะ :D :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอให้ทุกๆๆท่านมีความสุขสมหวัง คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนานะคะ เฮงๆๆๆ 2554 ปีเถาะค่ะ

 

มาติดตามข่าวสารกันค่ะ

 

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=18072

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาสวัสดีปีใหม่ค่ะ ขอให้ อาจารย์ และครอบครัว มีความสุขมากๆ นะคะ และที่สำคัญ สุขภาพแข็งแรงด้วยค่ะ :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สุดยอดค่ะ คุณตวน อันนี้เรียกมืออาชีพของการลงทุนจริง ๆ ส่วนตัวแล้ว ไม่เคยละเอียดขนาดนี้เลยค่ะ

 

รู้เพียง %กำไร (ขาดทุน) ของแต่ละกอง เท่านั้น ไม่ได้เอารายได้ทั้งหมดมาคำนวณหาค่ะ

 

ลงกองที่ได้กำไรน้อยหน่อย ก็เข้าข้างตัวเองว่า มันเสี่ยงน้อย ก็กำไรน้อย ชนะเงินฝากก็เก่งแล้ว

 

ส่วนพวกเสี่ยงมากหน่อย ได้มากหน่อย ก็ ถือว่า ชนะตลาดรวมได้

 

แบบเข้าข้างตัวเอง 55555

 

สนุก ๆ ไป ค่อย ๆ เรียนรู้ไปเก็บสะสมไว้ตอนแก่ ค่ะ :D :D

ที่อธิบายข้างต้น ไม่ได้พูดถึง ความเสี่ยงเลยนะครับ พูดถึงแต่วิธีวัด ผลตอบแทน

ซึ่งตามจริงแล้ว จะต้องพิจารณาทั้ง 2 ประเด็นคู่กัน อย่างที่คุณ GG เข้าใจนะถูกแล้วละครับ

การลงทุน ในทางการเงิน จะรู้จักกัน "ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง" เช่น ROE (ตัววัดประสิทธิภาพ)สูง บางครั้งเกิดจาก การมีหนี้มาก (เสี่ยงสูง)

แต่ประโยคนี้ก็ไม่แน่เสมอ ไป ถ้ารู้จักการบริหารจัดการที่เหมาะสม กับ port การลงทุน อาจจะเป็น "เสี่ยงต่ำลง ผลตอบแทนสูงขึ้นได้"

ส่วนนักลงทุนมือใหม่ ที่ไม่มีวิธีการทางการเลือกหุ้นที่ดี ก็อาจเป็น "เสื่ยงสูง ผลตอบแทนต่ำ" ก็เป็นได้ เช่นพวกชอบซื้อเปิด วันแรก หุ้น IPO ทั้งหลายนั้นเอง

 

การเล่นหุ้นส่วนตัว จะไม่เล่นจนหมดเงินสด ต่อให้เห็น upside มากแค่ไหนก็ตาม (ส่วนมากจะขายตัว upside น้อยทิ้ง มาซื้อตัว upside มากกว่า)

ยังไงเราต้องถือเงินสด ไว้ส่วนนึงตลอดเวลา เพื่อเหตุไม่คาดฝัน เป็นการบริหารความเสี่ยงส่วนนึงครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณ TOUNE หลักการคิดล้ำลึก ที่ใช้ tool back to basic จริงๆ ทีเราลืม ไม่ได้วัดผลเทียบกับเวลาที่เราใช้วิเคราะห์ ซื้อขาย เล่นรอบ แต่กลับสู้คนทีถือยาว 1 ปี เสมือน index ของตลาดไม่ได้ แค่เราได้กำไร ได้ปันผล ก็ดีใจแล้วว่าดีกว่าฝาก bank

 

เด่วมารายงานตัวนะคะ ว่าสอบตก หรือผ่าน

พรุ่งนี้จะกด บวกด้วยค่ะ พอดีวันนี้เต็มค่ะ :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมอยากเล่าความรู้สึกในการลงทุนในปีที่ 53 ที่ผ่านมา มีทั้ง ตื่นเต้น ดีใจ มีเฮ เซ็ง หดหู่ ขมขื่นใจ เดินเกมผิด แก้เกมกันชุลมุน เป็นอีกปีที่ได้ ครบทุกอารมณ์ จริง เพียงแต่ ตอนนี้ ไม่ว่างแล้ว คงต้องขอตัวไปก่อน แล้วจะมาเขียนใหม่ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นไทยภาคเช้าปิดบวก 10.66 จุด ที่ระดับ 973.85 จุด แรงเก็งกำไรกลุ่มพลังงาน-แบงก์ วอลุ่ม 1.2 หมื่นล้าน

 

บรรยากาศ การลงทุนตลาดหุ้นไทยวันนี้ (11 ต.ค.) ดัชนีปรับตัวในแดนบวก ท่ามกลางแรงเก็งกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน แบงก์ หลังราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูง ขณะที่นักลงทุนบางส่วนเข้ามาเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 3 บริษัทจดทะเบียน ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายดัชนีปรับตัวต่ำสุดที่ 967.40 จุด และสูงสุดที่ 974.31 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 973.85 จุด บวก 10.66 จุด หรือ 1.11% มูลค่าการซื้อขาย 12,187.10 ล้านบาท

 

หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรกประกอบด้วย

 

STA ปิดที่ 24.70 บาท บวก 2.00 บาท

BANPU ปิดที่ 742.00 บาท บวก 12.00 บาท

CPF ปิดที่ 24.10 บาท บวก 0.60 บาท

PTTEP ปิดที่ 168.50 บาท บวก 4.00 บาท

PTT ปิดที่ 305.00 บาท บวก 3.00 บาท

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รวมข่าวหุ้นเช้าวันพุธค่ะ

 

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=18099

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ECONOMIC OUTLOOK 2011

ตลาดหุ้นปีกระต่าย เทียบเสือ

ผมเองส่วนตัวก็มีความเห็นสอดคล้องกับ broker ทั้วๆไป เชื่อว่าตลาดหุ้น SET index ในปี 2011 น่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20% ลดลงจากปี 2010 ที่ เติบโตได้ 40% กลับสู่ภาวะที่เรียกว่า เติบโตแบบปรกติ (ตลาดปี 2010 เป็นการเติบโตที่ผิดปรกติ อันเนื่องจากการพึ่งพื้นตัวของเศรษฐกิจที่ตกต่ำ)ที่จริงการวิเคราะห์ของผม ก็เป็นไปแบบง่ายๆ เพียงแค่เปรียบเทียบ ค่าประเมิน GDP ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2010 GDP ค่อนข้างแน่นอนว่าจะเติบโตได้ 7-8% ในปี 11 คาดการจาก bank ชาติ GDP จะเติบโตลดลงในอัตรา 3-4% ก็แค่เทียบกันแบบง่ายๆ

ถ้าลองแยก GDP ปี 2010 ดูจะเห็นว่า GDP เติบโตสูงสุดใน Q1 คือประมาณ 12% Q2 9% Q3 3-4% (จำไม่ค่อยได้ประมาณนี้) Q4 ยังไม่ออกซึ่งน่าจะประมาณ 4-5% ซึ่งผมก็รู้สึกได้ถึงความสอดคล้องของ การเคลื่อนไหวหุ้นใน port ของผม ไตรมาศ 1-2 เป็นไตรมาศที่ดีมาก หุ้นจับตัวไหนก็ขึ้นกันหมด การเล่นหุ้นเป็นไปแบบสบายๆ ถึงแม้มีภาวะทางการเมืองก็ตาม ในเดือน 7 ซึ่งเป็นเดือนที่ดีที่สุดของผม ในเดือน 7 เดือนเดียวสามารถสร้างผมตอบแทนได้สูงถึง 30% ของเงินทั้งหมดที่มี ในตอนนั้นน่าจะมาจากตลาดตอบรับในทางที่ดี กับการยุติลงของความวุ่นวายทางการเมือง ในเดือน 8 กลับเป็นเดือนที่ยากลำบากที่สุด 30% ที่ได้ในเดือน 7 ลดลงอย่างรวดเร็วหายไปครึ่งนึง เกิดภาวะหุ้น vi ถือถูกทิ้งเพื่อที่จะไปซื้อ หุ้น big cap SET เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาศ 3 ซึ่งตรงข้ามกับ การตกต่ำของผลประกอบการของหุ้น ส่วนใหญเป็นหุ้นส่งออกซึ่งเป็นหุ้นจำนวนมากที่ผมถือในขณะนั้น พร้อมกับเริ่มต้นของปัญหาค่าเงินบาท ส่งผลให้ตัวเองต้องปรับ port อย่างแรง (ประมาณ 1/3)เพื่อเอาตัวรอด จากระบบการเล่นแบบ graham ซื้อหุ้นต่ำกว่ามูลค่า (หุ้นถูกนั้นเอง) เป็นระบบการเล่นแบบ fisher ที่เน้นการเติบโตในอนาคตมากกว่าให้ความสำคัญเรื่องราคาหุ้น อีกครั้ง ประมาณเดือน 11 ตลาดปรับตัวลดลงอีก ก็เป็นอีกครั้งที่รู็้้สึกกดดัน แต่ไม่มากเท่าตอนเดือน 8 สรุป ผลตอบแทนทั้งปี ทำได้ 82% ครึ่งปีหลังที่ดิ้นรนสุดฤทธิ ก็ทำได้เพียงใกล้เคียงกับ ครึ่งปีแรก ที่ทำได้ประมาณ 40% รู้สึกได้อย่างชัดเจนว่าตลาดยากขึ้น

 

ที่เขียนมา อย่างจะบอกว่า GDP อาจจะไม่ ส่งผลต่อการขึ้นลงของตลาดหุ้นอย่างชัดเจน อย่างที่เห็นๆกันว่าในไตรมาศ 3 2010 ปีที่ผ่านมา GDP ต่ำสุดแต่ ตลาดหุ้นกลับเติบโตสูงสุดในช่วงนั้น แต่เท่าที่สังเกตุ จะเห็นว่า ผลประกอบการของหุ้นในตลาดไม่ใช่ มูลค่าของตลาด จะสอดคล้องกับ GDP (เหตุผลที่ตลาดหุ้นในช่วง Q3 เติบโตดี ไม่ใช่สาเหตุจากการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย แต่เป็นการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ)

 

อีกอย่างที่ต้องการจะเตือนคือ ตลาดหุ้นปี 2010 "โครตง่าย" อย่าได้หวังว่า ตลาดปี 2011 จะง่ายแบบนั้น อย่างไรก็ดี ตลาดยังปราณีในปี 2011 ซึ่งคิดว่าน่าจะยัง "ง่ายแบบปรกติ" เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา (ถ้านับปี 40 คือปีที่โหดร้ายที่สุด ตลาดหุ้นปี 11 ก็คงเป็นความยากระดับประถมต้น ปี 10 ยากระดับอนุบาล 2 ประมาณนั้น) แต่การยากขึ้นจะยังเป็นการยากแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่โหดร้ายนัก ซึ่งเหมือนกับตลาดไม่ได้ต้องการฆ่าเราให้ตาย แต่ต้องการให้เราเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกัน

 

ECONOMIC OUTLOOK 2011 ของไทยขอติดไว้ก่อนนะครับจะทยอยเขียน ทั้งของไทย อเมริกา จีน ญี่ปุ่น และอยากพูดถึง เวียดนาม ที่เป็นตัวอย่างที่ดีด้วย

ถูกแก้ไข โดย TOUNE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SET ปิดตลาดที่ระดับ 1,048.96 จุด บวก 6.55 จุด

 

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ประจำวันที่ 5 มกราคม 2553

ปิดตลาดที่ระดับ 1,048.96 จุด บวก 6.55 จุด (+0.63%)

มูลค่าการซื้อขายรวม 18,283.89 ล้านบาท

 

ดัชนี SET 100 ปิดช่วงเช้าที่ระดับ 1,599.92 จุด บวก 10.24 จุด (+0.64%)

ดัชนี SET 50 ปิดช่วงเช้าที่ระดับ 732.66 จุด บวก 4.76 จุด (+0.65%)

ดัชนี MAI ปิดช่วงเช้าที่ระดับ 277.11 จุด บวก 1.19 จุด (+0.43%)

 

 

 

หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ดังนี้

หลักทรัพย์ มูลค่า(“000 บาท) ล่าสุด เปลี่ยนแปลง(%)

TMB 1,926,675 2.42 +0.04 (+1.68%)

BANPU <XD> 1,425,720 862.00 +20.00 (+2.38%)

SCB 1,348,319 106.50 +2.00 (+1.91%)

PTT 1,038,298 331.00 +1.00 (+0.30%)

IVL 919,206 54.50 -1.75 (-3.11%)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์แบบง่ายๆ ที่ควรรู้

ก่อนจะพูดเรื่องเศรษฐกิจ เพื่อนควรเข้าใจสิ่งพื้นฐานเหล่านี้ก่อน ไม่งั้นคงคุยกันไม่รู้เรื่องเหมือนคุยกันคนละภาษา จะพยายามเขียนแบบสั้นๆ และเข้าใจง่าย

1 Demand & Supply และจุดดุลภาพ

Demand หรือ อุปสงค์ คือความต้องการในการบริโภคสินค้าชนิดใดชนิดนึงของผู้บริโภค ความต้องการบริโภคของผู้บริโภคจะแปรผันตรงข้ามกับราคา เช่น ถ้าสินค้ามีราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคจะอยากซื้อน้อยลง

Supply หรือ อุปทาน คือความต้องการในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดนึงของผู้ผลิต ความต้องการผลิตของผู้ผลิตแปรผันตรงกับราคา เช่น ถ้าสินค้ามีาราคาสูงขึ้น จะจูงใจให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าออกมาขายมากขึ้น

 

ยกตัวอย่าง เวลาสินค้าชนิดใดชนิดหนึงราคาถูกลงมากๆ จนเรารู้สึกว่ามันโครตถูก เราก็อยากจะซื้อมันไว้มากๆ ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเป็นผู้ผลิต เมื่อราคาสินค้าถูกลงมาก เราก็ไม่อยากผลิตออกมาขาย เกิด demand เกิน คือความต้องการบริโภคสินค้าสูงกว่าความต้องการผลิต ทำให้สินค้าขาดตลาด เมื่อมีการแย่งกันซื้อมากขึ้น ผู้บริโภคต้องยอมซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้นอีกหน่อย เพื่อให้ได้ของ ราคาสินค้าก็จะขยับตัวสูงขึ้น เรื่อยๆ

ในทางตรงข้าม สินค้าอีกชนิดนึง มีราคาแพงมาก ผู้ผลิตก็อยากขายก็เต็มใจผลิตออกมามาก แต่ผู้บริโภครู้สึกว่ามันแพงมากไป ก็ไม่อยากซื้อ เมื่อผู้บริโภคไม่ซื้อ ผู้ผลิตก็ขายได้น้อย จำต้องผลิตให้น้อยลงเพราะคงไม่มีใครอยากผลิตสินค้าที่ขายไม่ได้ เกิด supply ส่วนเกิน ผู้ผลิตผลิตจำต้องยอมลดราคาสินค้าลงบ้างเพื่อให้ขายได้มากขึ้น ราคาสินค้าจะลดลงเรื่อยๆ

 

จุดดุลภาพ คือจุดสมดุลที่ความต้องการผลิต = ความต้องการบริโภค คือจำนวณสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายได้ทั้งหมด ไม่มีขาดไม่มีเกิน คือราคาสินค้าที่ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคพอใจ ผลิตและซื้อ จากตัวอย่าง เมื่อเกิด demand ส่วนเกิน ราคาสินค้าจะขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเกิด supply ส่วนเกินราคาสินค้าจะขยับตัวลดลงเรื่อยๆ เข้าหาจุดดุลภาพ ที่มี demand และ supply พอดีกัน การเพิ่มหรือลดของราคาก็จะหยุดลง

 

2 GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ

GDP เป็นสิ่งที่เราใช้วัดเศรษฐกิจของประเทศที่ยอมรับกันโดยทั่วๆไป โดยปรกติเราจะสามารถวัด GDP ได้จาก 3 ทาง การผลิตมวลรวมประเทศ รายได้มวลรวมประเทศ และ รายจ่ายมวลรวมประเทศ ซึ่งทั้ง 3 มีค่าเท่า ณ จุดดุลภาพ

การผลิตมวลรวมประเทศ หาได้จาก การวัดอัตราการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรมรวมทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศนั้นในช่วงเวลานึง โดยเอามูลค่า ของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ของแต่ละอุตสาหกรรม มาบวกรวมกัน (ผมจะไม่ลงลึกในเรื่องการหามูลค่าเพิ่ม และเรื่องการใช้ปีฐานเพื่อตัดปัญหาเรื่องราคา ไม่งั้นจะยิ่งยาวไปกันใหญ่)

รายได้มวลรวมประเทศ หาได้จาก รายได้รวมของคนในประเทศนั้นๆในช่วงเวลานึง มาบวกกัน เช่น รายได้จาก ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และ กำไร

รายจ่ายมวลรวมประเทศ หาได้จาก รายจ่ายรวมของประเทศนั้นๆในช่วงเวลานึง หาได้จาก = การบริโภคภาคเอกชน + การลงทุนภาคเอกชน + รายจ่ายภาครัฐ + นำเข้า - ส่งออก

รายได้ และ การผลิตมวลรวม เป็น การวัดด้าน supply ส่วน รายจ่ายเป็นการวัดด้าน demand ซึ่งโดยปรกติเรามัก จะใช้ รายจ่ายมวลรวมประเทศ ในการหา GDP เนื่องจาก วัดผลได้ง่ายที่สุด

 

3 เงินเฟ้อ inflation

ภาวะที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าของเงินลดลง โดยจะดูจากราคาสินค้าของทั้งตลาดมาเทียบกัน สินค้าบางอย่างราคาแพงขึ้น แต่บางอย่างราคาลดลง แต่ถ้าโดยรวมๆแล้วแพงขึ้น ก็เกิดเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อแบบอ่อนๆ จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตผลิตสินค้ามากขึ้น จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่ เงินเฟ้อแบบรุนแรง ผิดปรกติจะทำลายเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถเกิดได้ 2 ประเภท

3.1 demand pull inflation

ภาวะที่ ความต้องการบริโภคสูงกว่า ความสามารถในการผลิต เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ทรัพยากรในการผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติรุนแรง ที่ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำลงอย่างมาก หรือ มีการใช้ทรัพยากรไปในทางที่ไม่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ เช่นภาวะสงคราม คนละทิ้งไร่นาไปรบ ผลผลิตข้าวที่ได้ลดลงมาก กว่าความต้องการสินค้า ทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว

3.2 cost push inflation

ภาวะที่สินค้าราคาแพงขึ้น เนื่องจากสินค้าทุน จำเป็นขึ้นราคามากๆ จนทำให้ผู้ผลิต ต้องปรับราคาสินค้าตัวเองขึ้น เพื่อให้ยังคงมีกำไรหรือ หยุดผลิตเพราะขาดทุน ทำให้เกิดการลดลงฝั่ง supply ตัวอย่างของ cost push ที่เห็นได้ชัดคือการเพิ่มของราคาน้ำมันอย่างรุนแรง ในปี 51

 

4 สรุป ในทางเศรษฐศาสตร์ คนมักให้ความสำคัญในเรื่องของการเติบโต ยิ่งโตเร็วยิ่งดี ผมคิดว่านี้เป็นการเข้าใจที่ผิดของคนที่ไม่ได้ศึกษาวิชานี้ เศรษฐศาสตร์ คือความต้องการที่จะรักษาสมดุลของเศรษฐกิจและการเติบโต ต้องสอดคล้องกัน ต้องเติบโตและเติบโตในอัตราที่ควบคุมได้ ไม่ใช่ปล่อยให้เติบโตเร็วไปจนเกินสมดุลเกิดภาวะฟองสบู่ อย่างที่เราเคยเจอในวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40 นั้นเอง เพราะสุดท้าย เศรษฐกิจที่โตมากไปจะปรับตัวของมันเองกลับเข้าสู่สมดุลโดยการพังทลายลงนั้นเอง

ถูกแก้ไข โดย TOUNE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...