ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ส้มโอมือ

ข้อมูลเรื่องพลังงานจากข้าราชการกระทรวงพลังงานงาน

โพสต์แนะนำ

ข้อมูลเรื่องพลังงานจากข้าราชการกระทรวงพลังงาน เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรจะต้องรับฟัง อย่าผลักข้าราชการว่าเป็นกลุ่มทุจริตคอร์รับชั่น อย่าตั้งแง่ว่าข้อมูลราชการบิดเบือนไม่น่าเชื่อถือ ถ้่าโกหกไม่มีทางโกหกได้ทุกจุดอ่านไปเรื่อยๆหางจะโผล่ครับ(ข้อมูลสุดท้ายจะขัดแย้งกันเอง) อย่ามองว่าข้อมูลที่แชร์ในโลกออนไลน์ของกลุ่มทวงคืนพลังงานซึ่งมีหลายกลุ่มมากถูกทั้งหมด เวลาชี้แจงอาจเยอะไม่ได้เพราะประชาชนจะไม่สนใจ ประชาชนเลยได้ข้อมูลไม่ครบ

 

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

chayutpong-nunthanawanich

 

ความสำเร็จในการขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทย

 

8 พฤษภาคม 2013 เวลา 16:03 น.

มาอีกแล้วครับ ท่าน สว. คนขยัน คราวนี้มาเรื่อง ความสำเร็จในการขุดเจาะ โดยได้กล่าวว่า

" รายงานประจำปี 2553 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รายงานผลการขุดเจาะสำรวจบนบก 30 หลุม พบปิโตรเลียม 21 หลุม คิดเป็น 70% ขุดเจาะสำรวจในอ่าวไทย 35 หลุม พบปิโตรเลียม 25 หลุม คิดเป็น 71% การขุดเจาะรวม 65 หลุม พบ 46 คิดเป็น 71% บรรดา ทนายหน้าหอ นักวิชาการอุปโลกน์ ไม่ทราบว่ารับจ๊อบใครมาให้ข่าวเท็จกับประชาชนว่าความสำเร็จในการขุดเจาะ ปิโตรเลียมในประเทศตัวเองต่ำมากเฉลี่ย 3 ปี ระหว่าง 2552-2554 มีความสำเร็จเพียง 10% เท่านั้น

จากรายงานประจำปี 2552 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อัตราพบปิโตรเลียม 70% ปี 2553 พบ 71% ปี 2554 พบ 68% การคำนวณความสำเร็จในการพบปิโตรเลียมจากการขุดเจาะสำรวจเฉลี่ย 3 ปี 2552-2554 อย่างไรเสียก็ต้องมากกว่า 10% แน่นอน

ดิฉันจะขอนำรายงานประจำปี ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปี 2554 มาแสดงก่อน ( ส่วนรายงานปี2553 และ2552 จะนำมาลงให้ดูโดยลำดับในโอกาสต่อไป) เพื่อนมิตรจะได้ดูรายงานของจริงของกรมเชื้อเพลิงฯ ว่าระบุผลสำเร็จในการพบปิโตรเลียมในปี 54 เฉลี่ยอยู่ที่ 68% เฉพาะในอ่าวไทยพบในอัตรา 100% ในขณะที่คุณพิชิตเอาตัวเลขมาแสดงว่ามีความสำเร็จแค่ 7% เท่านั้น และเฉลี่ย 3 ปี แค่ 10%

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีธรรมชาติในการบอกข้อมูลที่คลาดเคลื่อนตลอดคือ ตัวเลขทรัพยากรในประเทศจะบอกต่ำเกินจริง ส่วนรายได้ที่เป็นส่วนแบ่งจากสัมปทานก็จะบอกสูงเกินจริงเสมอ สมควรให้คนอย่างนี้เป็นผู้จัดการมรดกของบ้านเมืองหรือไม่ "

จากข้อความดังกล่าวนั้น อาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ซึ่งผมขอนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อขยายความให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมาก ขึ้นดังนี้ครับ

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า ความสำเร็จในการสำรวจหาปิโตรเลียม ขึ้นมาใช้ประโยชน์นั้น ไม่ได้วัดกันที่ตัวเลขของความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเลียมเพราะการเจาะพบ ปิโตรเลียม ไม่ได้บ่งบอกถึงปริมาณปิโตรเลียมที่พบว่า พบมากน้อยแค่ไหน ผลิตขึ้นมาได้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า เจาะพบแล้วแต่ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ หรือนำขึ้นมาได้แต่ปริมาณเพียงน้อยนิดแค่พอคุ้มทุน ผู้รับสัมปทานอาจตัดสินใจไม่พัฒนาต่อ ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น สมมุตว่า ในปี 2000 เจาะหลุมสำรวจ 10 หลุม พบปิโตรเลียม 2 หลุม ประเมินแล้วมีปริมาณสำรองฯ รวมกัน 5 แสนบาร์เรล และ ในปี 2001 เจาะหลุมสำรวจ 5 หลุม พบปิโตรเลียม 4 หลุม ประเมินแล้วมีปริมาณสำรองฯ รวมกัน 5 หมื่นบาร์เรล

จากตัวอย่างจะพบว่า ในปี 2000 มีอัตราความสำเร็จในการขุดพบร้อยละ 20 พบปิโตรเลียม 5 แสนบาร์เรล ในขณะที่ ปี 2001 มีอัตราความสำเร็จในการขุดพบสูงถึงร้อยละ 80 แต่กลับพบปิโตรเลียมเพียง 5 หมื่นบาร์เรล พอจะเป็นตัวอย่างยืนยันได้นะครับว่า ร้อยละความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเลียม ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณที่พบนะครับ

ในรายงานประจำปีของกรมเชื้อเพลิงฯ เป็นการรายงานข้อเท็จจริงผลการเจาะหลุมซึ่งรวมหลุมหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งหลุมสำรวจ หลุมประเมินผล หลุมพัฒนาหรือหลุมผลิต และการเจาะพบปิโตรเลียมจะพบมากหรือน้อย ส่งผลต่อปริมาณสำรองฯ ของประเทศในภาพรวมหรือไม่อย่างไรนั้น ต้องนำผลการเจาะในแต่ละปีไปสัมพันธ์ เทียบดูกับข้อมูลในส่วนของปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ได้รายงานไว้ด้วยทุกปี ซึ่งพอจะดูภาพรวมของศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศได้ว่าเพิ่ม่ขึ้นลดลงมากน้อย แค่ไหนในแต่ละปี อีกทั้งปริมาณที่เจาะพบนั้น ในความเป็นจริงไม่ได้ประเมินกันด้วยหลุมเจาะสำรวจเท่านั้นนะครับ จะต้องใช้ข้อมูลจากหลุมประเมินผล หลุมผลิต และข้อมูลด้านอื่นๆ ประกอบด้วยถึงจะรู้แน่นอนว่าบริเวณนั้นๆ มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมอยู่เท่าใร

ตัวเลขความสำเร็จที่ท่าน สว. ได้กล่าวถึงนั้น ถ้าท่านต้องการที่จะสื่อว่า ในแต่ละปีความสำเร็จในการเจาะพบมีอัตราสูง แสดงว่าประเทศไทยมีศักยภาพปิโตรเลียมสูงตามผลการเจาะไปด้วยนั้น ผมกลับมองอีกมุมหนึ่งว่า ข้อมูลดังกล่าวกลับเป็นการยืนยันในเรื่องศักยภาพปิโตรเลียมในบ้านเราเป็น อย่างดี ในแง่ที่ว่า ปิโตรเลียมที่เหลืออยู่เป็นเพียงแหล่งเล็กๆ แม้จะมีอัตราความสำเร็จในการ เจาะพบสูง แต่ผลที่ได้กลับพบปิโตรเลียมในปริมาณน้อยนิด แทบไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศอย่างมีนัย สำคัญ

ดังนั้น ถ้าจะลองวัดความสำเร็จของการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในบ้านเราโดยดูจากปริมาณ ปิโตรเลียมที่พบและผลิตได้ ว่าผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งผมจะขอนำเสนอโดยแบ่งออกเป็นตามรอบสัมปทาน ดังนี้

ลองดูผลการเจาะหลุมสำรวจตามรอบสัมปทานก่อนนะครับ

 

467163_573538186013253_1714154088_o.jpg

 

จากรูปนี้ ยืนยันได้นะครับ ว่าอัตราความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเลียม ไม่ได้สัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณที่ปิโตรเลียมที่พบ ตัวอย่างลองเปรียบเทียบในรอบที่ 12 มีอัตราความสำเร็จน้อยกว่าแต่กลับพบปิโตรเลียมมากกว่าในรอบที่ 18 ซึ่งรอบนี้ใช้หลุมสำรวจค่อนข้างมาก และ อัตราความสำเร็จมากกว่า แต่พบปิโตรเลียมน้อยกว่า ตามรูปต่อไปนี้ครับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปิโตรเลียมหายากขึ้น ศักยภาพปิโตรเลียมลดต่ำลง (แล้วจะเรียกร้องให้เก็บรายได้เข้ารัฐมากขึ้น...)

ปริมาณสำรองที่พบ (ปริมาณผลิตสะสม + ปริมาณที่พิสูจน์แล้ว (55) )

 

981294_578966988803706_2067874640_o.jpg

466204_573562359344169_1843708277_o.jpg

 

459829_573925362641202_1911142488_o.jpg

942245_573539449346460_570583277_n.jpg?oh=ccdb6b86a9b67e083f223f12a5e27024&oe=54E623E2

จากภาพทั้งหมดที่นำเสนอ พอจะสรุปได้ว่า ความสำเร็จในการพบปิโตรเลียม มูลค่าการลงทุน และปริมาณการผลิต ส่วนใหญ่จะรวมกันอยู่ในแปลงสัมปทานรอบที่ 1 และ ให้สังเกตุนะครับว่า ตั้งแต่ปี 2532 (รอบที่ 13) ซึ่งมีการแก้ไขกฎหมายในการจัดเก็บรายได้ ทำให้รัฐได้สัดส่วนเพิ่มขึ้น(เฉลี่ยรวม 74:26) แต่ไม่รู้ว่าจะไปบังคับใช้กับ แปลงดีๆ ที่ไหน เพราะหลังจากรอบที่ 13 เป็นต้นมา มีการพบปิโตรเลียมน้อยมาก และภาพรวมของผลประกอบการของแต่ละรอบยังขาดทุนอยู่เลยครับ เห็นอย่างนี้แล้ว จะหาใครมาลงทุนยังยากเลย ต่อให้แก้กฎหมายเรียกเก็บรายได้รัฐเป็นร้อยละ 80 ของมูลค่าปิโตรเลียม ตามที่ท่าน สว. เสนอแนะ แล้วเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็ขอให้ลองจินตนาการเอาเองว่า ใครจะเข้ามาลงทุน และจะไปหาปิโตรเลียมที่ไหนมาแบ่งผลกำไรกัน

อย่าไปเสียเวลา เถียงกันเรื่อง อัตราความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเลียมเลยครับ เพราะมันมีปัจจัยต่างๆ ที่เข้าใจไม่ตรงกันอยู่มาก เช่น ชนิดของหลุมเจาะตามความหมายที่แท้จริง ความคุ้มค่า ช่วงเวลา เป็นต้น ผมเอาข้อเท็จจริง มาให้ดูแล้ว ก็ไม่รู้ว่าท่านจะเปลี่ยนความคิด หรือจะยังยืนยันให้แก้กฎหมายก่อนเปิดสัมปทานอยู่อีก

เป็นการวิเคราะห์และเป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ.... ผิดพลาดต้องขออภัย

รายได้จากสัมปทานปิโตรเลียม ตามลิงค์ครับ

https://www.facebook.com/notes/chayutpong-nunthanawanich/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1/572248706142201

รายได้รัฐจากระบบสัมปทานเทียบกับเพื่อนบ้าน

https://www.facebook.com/notes/chayutpong-nunthanawanich/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/582621421771596

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Chayutpong Nunthanawanich

ทำงานที่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

 

 

 

ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๑)

 

18 สิงหาคม 2013 เวลา 21:10 น.

ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอาจจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับราคาพลังงานที่ เป็นอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากน้ำมันที่ขุดได้ไม่ว่าจะมีต้นทุนมากน้อยเพียงใดก็จะทำการซื้อขาย กันในราคาตลาดโลก หรืออาจมีส่วนลดนิดหน่อยในกรณีอยู่ภายใต้ Thailand I แต่ก็มีปริมาณน้อยมากไม่ส่งผลต่อภาพรวม ส่วนก๊าซธรรมชาติแม้ต้นทุนสำรวจและ พัฒนาจะมีผลกับราคาขายอยู่บ้างแต่มันก็ไม่ได้สะท้อนต้นทุนตามความเป็นจริง เท่าที่ควร เนื่องจากมันถูกกำหนดเป็นสูตรราคามาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ โดยคาดการณ์เงินลงทุนล่วงหน้าเพื่อผลิตก๊าซให้ได้ปริมาณตามสัญญาและบวกผล กำไรตามสมควร โดยในสูตรราคาจะมีดัชนีทางเศรษฐศาสตร์คอยเป็นตัวปรับราคาให้ทันสมัยตามสภาพ ทางเศรษฐกิจในขณะนั้นๆ ซึ่งมันมีเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ดังนั้นพอจะกล่าวได้ว่า ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากหรือน้อยจะส่งผลต่อผลกำไรหรือขาดทุนของโครงการ มากกว่าส่งผลต่อราคาพลังงาน

การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ต้องมี เงินมากพอ(เงินเย็นของตัวเองยิ่งดี) ต้องมีฝีมือ มีความรู้มีเทคโนโลยี และสุดท้าย ต้องมีดวงประกอบ ด้วย อย่างไรก็ตามในกรณีที่ประสบความสำเร็จ..แน่นอนผลตอบแทนย่อมต้องสูง..มากพอ ที่จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามารับความเสี่ยงได้ จึงเป็นธุรกิจที่ยังคงมีความ น่าสนใจตราบใดที่เรายังต้องใช้พลังงานจากปิโตรเลียม

การลงทุนในกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2555) ว่ากันด้วยปริมาณเงินมากกว่า 1.6 ล้านล้านบาท หลายคนไม่เชื่อตัวเลขจำนวนนี้ อาจสงสัยว่ายกเมฆมาหรือเปล่า อ่านบทความนี้จบแล้ว..จะรู้ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร สมเหตุสมผลมากน้อยแค่ไหน...

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจนี้เสียก่อนว่าเขาทำอะไรกันบ้าง แบบย่อๆ นะครับ จะได้รู้ว่าเขาใช้เงินในช่วงไหนบ้าง ประมาณเท่าไร จะได้พอเห็นภาพ เริ่มจากขั้นตอน การสำรวจหาปิโตรเลียม ก่อน นะครับ เพราะแปลงสัมปทานที่ผู้รับสัมปทานได้ไปนั้น รัฐไม่ได้รับประกันว่าจะมีสมบัติใต้ดินอยู่ด้วย แค่ยกให้แล้วไปสำรวจหาเอาเอง ความเสี่ยงมันก็อยู่ที่ตรงนี้แหล่ะครับ

ปิโตรเลียมไม่ได้มีอยู่ในทุกพื้นที่ แต่จะอยู่ในบริเวณแอ่งสะสมตะกอน และจะต้องมีองค์ประกอบต่างๆ ครบ คือ มีหินต้นกำเนิด(สารอินทรีย์สะสมตัวอยู่) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาและสภาวะที่เหมาะสม(เปลี่ยนสารอินทรีย์เป็นปิโตรเลียม) มีการเคลื่อนที่ออกมาจากบริเวณนั้นเข้าไปกักเก็บอยู่ใน โครงสร้างที่ประกอบด้วยหินที่มีความพรุน และต้องมีสิ่งปิดกันไม่ ให้มันเคลื่อนที่ขึ้นสู่ผิวโลก ที่ต้องกล่าวถึงเรื่องนี้เนื่องจากมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า แอ่งสะสมตะกอนตามรูปข้างล่างซ้ายนี้เป็นแหล่งปิโตรเลียมทั้งหมด ซึ่งในความเป็นจริงพบแหล่งปิโตรเลียมแค่เพียงรูปด้านขวาเท่านั้นซึ่งเป็นพี ยงส่วนหนึ่งของแอ่งสะสมตะกอน

post-38-0-75719000-1414024088_thumb.jpg

 

การสำรวจในเบื้องต้นจะต้องหาโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่คาดว่าจะมี ปิโตรเลียมเสียก่อน โดยการศึกษาข้อมูลด้านธรณีวิทยาจากข้อมูลที่มีอยู่ภายในบริเวณแปลงสำรวจซึ่ง เป็นข้อมูลที่เคยมีการสำรวจไว้แล้ว ขั้นตอนนี้ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลและผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยค่าใช้จ่ายในการศึกษาข้อมูลเดิม อยู่ที่ประมาณ 0.3-3 ล้านบาท หรือถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจะทำการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 2 มิติ (1.5-3 แสนบาทต่อกิโลเมตร) หรือแบบ 3 มิติ (0.45-2.1 ล้านบาทต่อตารางกิโลเมตร) ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินลงทุนที่มีและข้อมูลที่ต้องการ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจดังกล่าวนี้จะนำไปศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาโครงสร้าง ทางธรณีวิทยาที่เหมาะสมเพื่อวางตำแหน่งหลุมสำรวจที่จะเจาะลงไปพิสูจน์ทราบ ว่ามีปิโตรเลียมอยู่หรือไม่ ข้อมูลชั้นหินต่างๆ จะรู้ได้เมื่อมีการเจาะลงไปและเก็บตัวอย่างหินในระดับความลึกที่ต้องการ เพื่อยืนยันข้อมูลเดิมและความรู้ความเข้าใจที่มีก่อนการเจาะจริง

ค่าใช้จ่ายในการเจาะหลุมสำรวจจะมีราคาแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ในภาคอีสานจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 200-450 ล้านบาทต่อหลุม สถิติที่ทำไว้สูงสุดประมาณ 1,300 ล้านบาท เนื่องจากเป็นหินแข็งเจาะยากใช้เวลา 3-4 เดือน บางหลุมใช้เวลาเป็นปี ในภาคกลางเจาะง่ายกว่าทำให้มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าอยู่ที่ประมาณ 60-90 ล้านบาทต่อหลุม ในบริเวณอ่าวไทยเนื่องจากราคาค่าเช่าแท่นเจาะค่อนข้างสูง ทำให้การเจาะในอ่าวไทยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 120-240 ล้านบาทต่อหลุม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ความลึก ของแต่ละหลุม รวมถึงกิจกรรมเสริมอื่นๆ เช่น การเก็บตัวอย่างหิน การทดสอบหลุม ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทำให้ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายต่างกันไป และสำหรับในทะเลอันดามันซึ่งเป็นเขตน้ำลึก ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากเป็นเงิน หลายพันล้านบาทต่อหลุม (ผมไม่มีตัวเลขสถิติ เนื่องจาก 10 กว่าปีที่ผ่านมาไม่มีการเจาะบริเวณนี้เลย) นอกจากการเจาะหลุมสำรวจ..บางครั้งจำเป็นต้องเจาะหลุมประเมินผลเพื่อยืนยัน ขนาดของแหล่งก่อนทำการพัฒนาด้วย ซึ่งจะมีราคาค่าเจาะใกล้เคียงกับหลุมสำรวจ

ในกรณีที่สำรวจไม่พบปิโตรเลียมตามระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ(3+3+3) จะต้องคืนแปลงสำรวจกลับมาให้รัฐ(พร้อมข้อมูลการสำรวจทั้งหมด) ซึ่งรัฐจะนำข้อมูลสำรวจที่ได้ มาทำการศึกษาวิเคราะห์และเลือกพื้นที่ที่น่าจะมีศักยภาพปิโตรเลียมกลับมา เปิดสัมปทานในรอบใหม่ต่อไป จะเห็นได้ว่า รัฐไม่จำเป็นต้องลงทุนแต่ได้รับข้อมูลสำรวจครบถ้วน ส่วน ผู้รับสัมปทานที่นำเงินมาลงทุนซึ่งขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ก็ต้องขาดทุนกลับไป ซึ่งจากสถิติที่ได้ออกสัมปทานไป 20 รอบ 155 แปลงสำรวจ มีการคืนแปลงกลับมาให้รัฐแล้ว 88 แปลง (โดยใช้เงินลงทุนสำรวจไปกว่า 71,000 ล้านบาท) คงเหลือแปลงที่ยังมีการดำเนินงานอยู่ 67 แปลง ในจำนวนนี้เป็นแปลงที่ประสบความสำเร็จแล้ว 31 แปลง และอยู่ในช่วงระยะเวลาสำรวจอีก 36 แปลง

ในกรณีสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ (มีหลายแปลงเจาะพบแต่ไม่สามารถพัฒนาได้) จะเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาแหล่งเพื่อผลิตปิโตรเลียม ขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะใช้เงินลงทุนสูงกว่าขั้นตอนการสำรวจ โดยปริมาณเงินลง ทุนจะขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ค้นพบ บกบนหรือในทะเล เป็นแหล่งก๊าซหรือแหล่งน้ำมันดิบ แหล่งเล็กหรือแหล่งใหญ่ ศักยภาพปิโตรเลียมเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนด จำนวนหลุมผลิต ฐานหลุมผลิต แท่นหลุมผลิต ที่จะต้องใช้ในการผลิตปิโตรเลียม รวมถึงความยุ่งยากซับซ้อนของสถานีผลิตหรือแท่นผลิตกลาง ซึ่งต้องใช้เงินลง ทุนทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าพบแหล่งน้ำมันขนาดเล็กบนบก กรณีนี้จะใช้เงินลงทุนน้อยที่สุดเพราะสามารถใช้หลุมสำรวจที่ขุดพบน้ำมันนั้น เป็นหลุมผลิตได้เลย สถานีผลิตจะไม่ซับซ้อนและใช้จำนวนหลุมผลิตไม่มาก หรือถ้าพบแหล่งก๊าซในอ่าวไทย กรณีนี้ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก เฉพาะแท่น ผลิตกลางที่ประกอบด้วยอุปกรณ์การผลิตหลัก มีราคาประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท ค่าวางท่อขนส่ง 50-70 ล้านบาทต่อกิโลเมตร แท่นหลุมผลิตประมาณ 700-1,200 ล้านบาทต่อแท่น และค่าเจาะหลุมผลิตอีกประมาณ 50-100 ล้านบาทต่อหลุม

สถิติการลงทุนสำรวจและพัฒนาแหล่ง(ล้านบาท) สัมพันธ์กับปริมาณปิโตรเลียมที่หาได้(บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน)

post-38-0-56771300-1414024229_thumb.jpg

 

จากกราฟจะพบว่า ปริมาณเงินลงทุนมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับปริมาณปิโตรเลียมที่ ผลิตได้ คือต้องลงทุนเพิ่มเพื่อให้ได้ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น และขั้นตอนการพัฒนาแหล่งต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่าขั้นตอนการสำรวจมาก โดยในช่วง 6 ปี ที่ผ่านมานับจากปี 2550 ค่าใช้จ่ายด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาด โลกโดยมีมูลค่ารวมกันในแต่ละปีสูงกว่า 1 แสนล้านบาท

นอกจากเงินลงทุนด้านการสำรวจและการพัฒนาแหล่ง ยังมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ อีก คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการผลิตและขาย และ ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน โดยมีสัดส่วนตามกิจกรรมดังนี้

สัดส่วนมูลค่าการลงทุนตามกิจกรรม

post-38-0-49742800-1414024296_thumb.jpg

เงินลงทุนด้านการสำรวจปิโตรเลียม มีมูลค่าการลงทุนรวมกันประมาณ 185,500 ล้านบาท แยกตามกิจกรรมได้ดังนี้ คือ

- ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาข้อมูลธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ มีมูลค่าการลงทุนรวมกันประมาณ 33,700 ล้านบาท (18.2%)

- ค่าใช้จ่ายเพื่อการขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลประมาณ 151,800 ล้านบาท (81.8%)

เงินลงทุนด้านการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม มีมูลค่าการลงทุนรวมกันประมาณ 962,230 ล้านบาท เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนมากที่สุด แยกเป็นกิจกรรมหลักๆ ที่สำคัญคือ

- ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฐานหลุมผลิตและสถานีผลิตบนบก แท่นหลุมผลิต แท่นผลิตกลาง เรือผลิตและเรือกักเก็บในทะเล วางท่อส่งปิโตรเลียม ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้รวมกัน ประมาณ 582,800 ล้านบาท (60.5%)

- ค่าใช้จ่ายในการเจาะหลุมพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยหลุมผลิตและหลุมอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น หลุมน้ำ หลุมทิ้งน้ำ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้รวมกันประมาณ 374,910 ล้านบาท (39%)

เงินลงทุนด้านการดำเนินการผลิตและการขายปิโตรเลียม เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการผลิตและขาย การขนส่ง การบำรุงรักษาอุปกรณ์ และอื่นๆ รวมกันประมาณ 358,460 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน เป็นค่าใช้จ่ายสำนักงาน เงินเดือน ประกันและอื่นๆ มีมูลค่ารวมกันประมาณ 120,740 ล้านบาท

สถิติเงินลงทุนรายปี(กราฟแท่ง:ล้านบาท) เทียบกับ ราคาน้ำมัน(กราฟเส้น:เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล)

post-38-0-03777900-1414024369_thumb.jpg

เนื่องจากการลงทุนกว่าร้อยละ 70 เป็นค่าใช้จ่ายด้านการเจาะหลุมและติดตั้งแท่นอุปกรณ์ จึงขอนำเสนอข้อมูลจำนวนหลุมเจาะและจำนวนการติดตั้งแท่นหลุมผลิตรายปี เปรียบ เทียบกับข้อมูลกราฟข้างบน เพื่อดูว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

post-38-0-55035700-1414024590_thumb.jpg

 

ข้อมูลกราฟแสดงให้เห็นว่า ปริมาณงาน คือ จำนวนหลุมและจำนวนแท่นหลุมผลิต มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน กับปริมาณเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเหตุผลที่ต้องใช้จำนวนหลุม จำนวนแท่น มากมายขนาดนั้นเพราะแหล่งบ้านเราเป็นกระเปราะเล็กๆ บอกแบบนี้อาจโดนต่อว่า ได้ แต่มันเป็นเหตุผลทางด้านเทคนิคที่ตอบเป็นอย่างอื่นไม่ได้..

การ นำเสนอข้อมูลการลงทุนในกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนี้ น่าจะทำให้ผู้ที่สนใจและเคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลียมจากแหล่ง ข้อมูลต่างๆ มาบ้าง คงจะได้เห็นภาพรวมและเกิดความเข้าใจมากขึ้นในธุรกิจนี้ ว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงและมีโอกาสที่จะกลับบ้านมือเปล่าค่อนข้างสูงใน ช่วงเริ่มต้นถ้าสำรวจไม่พบ หรือถ้าสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์และเข้าสู่ช่วงพัฒนาจะต้องใช้เงินลง ทุนอีกเป็นจำนวนมากและต่อเนื่องทุกปี โดยมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนเงินที่ลงไปจึงต้องมีความรู้ความชำนาญ ที่แท้จริง ถ้าใครคิดว่าธุรกิจนี้ทำแล้วมีแต่รวย ลงทุนต่ำ ค่าสัมปทานถูก ต้องลองทำดูครับ ผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกิจนี้ในประเทศไทย ผมขอแนะนำให้หาประสบการณ์จากการเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้รับสัมปทาน รายเดิมก่อน หรือถ้าใจร้อนต้องการเป็นผู้ดำเนินงานเอง เตรียมตัวเข้ามาแข่งขันยื่นซองประมูลแปลงสำรวจในรอบใหม่ได้นะครับ (สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21) เพราะมีหลายแปลงที่น่าสนใจ...

เป็นบทวิเคราะห์และความคิดเห็นส่วนตัว ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ

ข้อมูล ราคาต่อหน่วย เป็นตัวเลขโดยประมาณ แตกต่างไปตามพื้นที่และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลสถิติการลงทุนจาก กรมเชื้อเพลงธรรมชาติ

 

https://www.facebook.com/notes/chayutpong-nunthanawanich/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B9%91/618526634847741

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใครต้องการข้อมูลพลังงานแบบเจาะลึก ลองดูที่นี่ครับ อาจมีข้อมูลที่ท่านสนใจ การชี้แจงต่างๆชัดเจนและมีเหตุผลกว่าการชี้แจงบนเวทีมาก(ฟังชี้แจงบนเวที่ และชี้แจงผ่านสื่อแล้วไม่น่าเชื่อถือในคำชี้เเจงหลายอย่าง) อ่านแล้วตัดสินใจกันเองนะครับ ผมตรวจสอบแล้วเจ้าของเฟซเป็นข้าราชการกระทรวงพลังงานครับ

https://www.facebook.com/chayutpongn/notes

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...