ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
verb2be

ความหมายศัพท์ทอง

โพสต์แนะนำ

จริง ที่เราใช้กัน แบบไม่เป็นทางการใน web นี้ได้แก่

1.ติดดอย คืออาการของคนที่ซื้อ ณ ราคาสูงโดยคาดว่าราคาจะขึ้น แล้วปรากฎว่าราคาลง กรณีที่เป็นการลงครั้งแรกๆ ราคาต่างจากที่ซื้อไม่มาก เราจะเรียกว่าเนินดอย ครับผม

แต่ถ้าลงมากๆ หลายๆครั้งอย่างต่อเนื่อง จากเนิน ก็จะกลายเป็นดอยในทันที

 

2.ขายหมู กรณีที่ เราซื้อในราคาต่ำ แล้วคาดการณ์ว่ามันจะขึ้น แล้วมันก็ขึ้นไปนิดเดียว แล้วมันลงมานิดหน่อย แล้วเราขายเพราะกลัวว่ามันจะลงเยอะ เราจะได้กำไรนิดเดียว แต่พออีกซักพักหนึ่ง ราคาขึ้นแบบสูงมากๆ แต่นั่นเสียดายว่า ถ้ารออีกหน่อย กำไรเยอะกว่า เรียกว่าขายหมูครับ

 

3.ตกรถ กรณีที่เราคาดว่า ราคาจะลงต่ำอีก ในขณะที่คนอื่นเขาซื้อกันแล้ว แต่เราคิดว่าราคาจะลงต่ำอีก เลยรอที่จะซื้อ แต่ปรากฎว่าราคามันวิ่งไปสูงมากๆ จนเราไม่อยากจะซื้อ ดังนั้นรอบที่มันขึ้นนั้น คนอื่นเขาขายได้กำไร แต่เราไม่มีของให้ขาย เรียกว่าตกรถครับ

 

4.พิสูจน์ราคาฐาน ส่วนใหญ่ที่เราเรียกกันในเว็บนี้ จะเรียกว่าทดสอบราคาฐาน ไม่เรียกว่าพิสูจน์ราคาฐาน แต่น่าจะเป็นคำเดียวกัน คือการที่เมื่อวัดจากทฤษฎี Elliot Wave

โดยปกติ คนที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคของกราฟ จะมีอีก 2 คำที่ควรรู้คือ

แนวต้าน คือ ระดับราคาสุงสุดที่คาดว่ากราฟจะวิ่งขึ้นไปทดสอบ ซึ่งจะแบ่งเป็นแนวต้านย่อยๆ ตามทฤษฏี Elliot Wave แบ่งได้เป็นด่าน คือ ต้าน 1,ต้าน 2,ต้าน 3

แนวรับ คือ ระดับราคาต่ำสุดที่คาดว่ากราฟจะวิ่งลงมาทดสอบ ซึ่งจะแบ่งเป็นแนวรับย่อยๆ ตามทฤษฏี Elliot Wave แบ่งได้เป็นด่านๆ คือ รับ 1,รับ 2,รับ 3

กรณีที่กราฟวิ่งขึ้นแล้วไปทดสอบแนวต้าน ที่คาดไว้ คือวิ่งไปแล้วเด้งกลับ ทั้งขาขึ้นและขาลง เรียกว่าทดสอบแนวต้านหรือแนวรับไม่ผ่าน มีโอกาสที่จะกลับทิศได้ เช่นทดสอบแนวต้านไม่ผ่านมันจะเด้งลงมา ถ้าเด้งลงไม่แรงก็อาจจะไปทดสอบแนวต้านครั้งที่ 2 แสดงว่ามีแรงเทขายทำให้ราคาเด้งกลับลงมา

กรณีที่กราฟวิ่งลงแล้วทดสอบแนวรับ คือลงไปแล้วเด้งกลับขึ้นมา คือทดสอบแนวรับไม่ผ่าน กรณีที่ทดสอบแล้วเด้งขึ้นนิดหน่อย อาจจะมีการลงไปทดสอบอีกหลายรอบ หรืออาจจะกลับตัวเป็นขาขึ้นเลยก็ได้ อันนี้ต้องดูกราฟและวิเคราะห์ทางเทคนิค

ซึ่งแนวต้านแนวรับ ของแต่ละท่านจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับมุมมอง และประสบการณ์ของแต่ละท่าน

 

5.ออกข้าง หรือ side way คือเกิดจากกรณีที่ กราฟทดสอบแนวรับ และแนวต้านแล้วไม่สามารถออกนอกกรอบ แนวต้านแนวรับ มันจะเป็นรูปฟันปลา คือขึ้นสลับลง เรียกว่าออกข้าง

 

6.การซ๊อต (short)ใช้กับตลาดอนุพันธ์ (ตลาดล่วงหน้า) คือกรณีที่เราไม่มีของในมือ และเราคาดว่าราคาจะลงเราจะทำการขายทอง ณ วันที่ปัจจุบัน ขณะที่ยังไม่มีของ แล้วไปซื้อ พอราคาต่ำลงในวันข้างหน้า เราจะได้ส่วนต่างกำไรจากการ ขายล่วงหน้า

 

7.ลอง (long)ใช้กับตลาดอนุพันธ์ (ตลาดล่วงหน้า) คือกรณีที่เราไม่มีของในมือง และเราคาดว่าราคาจะสูงขึ้นในวันข้างหน้า ณ วันที่ปัจจุบัน เราจะทำการซื้อล่วงหน้า ในลักษณะของสัญญา พอถึงกำหนดสัญญา คืออีก 3 เดือนราคาที่เราซื้อล่วงหน้าต่ำกว่า ราคา realtime เราจะได้กำไรจากส่วนต่างการซื้อล่วงหน้า

 

8.คัดลอส (cut loss) คือใช้ตอนขาลงของทอง คือทองลงแล้วเราคาดว่า ทองจะลงอีกมากๆ ถ้าเราขายขาดทุน ณ ปัจจุบัน กรณีที่มันลงต่อเนื่อง เราอาจจะขาดทุนน้อยกว่า รอให้มันลงไปเรื่อยๆ การตัดขาดทุนเรียกว่า cut loss

 

9.กลับตัว คือกรณีที่เป็นขาขึ้นแล้วกำลังจะกลับเป็นขาลง หรือกรณีขาลงแล้วจะกลับเป็นขาขึ้น (ต้องวิเคราะห์ตามทฤษฏี Elliot Wave)

 

10.พอร์ต คือกรณีที่เรามีเงินที่จะลงทุนอยู่จำนวน 100% แล้วเราเอามาแบ่งเป็นย่อยๆ เพื่อที่จะสามารถซื้อได้หลายๆครั้ง เพื่อความปลอดภัย

บางท่านอาจจะแบ่งเป็น 25% 25% 25% 25% แล้วเข้าซื้อทีละครั้ง ได้ 4 ครั้งเรียกว่า 4 พอร์ต เข้าซื้อครั้งละ 25% ได้ 4 ครั้ง

บางท่านอาจจะแบ่งเป็น 40% 30% 20% 10% แล้วเข้าซื้อทีละครั้ง ได้ 4 ครั้งเรียกว่า 4 พอร์ต เข้าซื้อตามที่แบ่งได้ 4 ครั้งเช่นกัน

กรณีที่เดิมทีคาดว่า จะแบ่งแค่ 4 พอร์ต แล้วซื้อตามสูตรแล้ว ปรากฎว่าติดดอยหมดทุกพอร์ต อาจจะมีการขยายพอร์ตการลงทุน คือเพิ่มไปอีก 100% จากของเดิมที่ติดดอย แล้วเอามาแบ่งเพื่อเข้าซื้ออีก เรียกว่าขยายพอร์ต

การแบ่งพอร์ตของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพราะบางคนอาจจะแบ่ง 2 พอร์ตใหญ่ และใน 2 พอร์ตมีพอร์ตย่อยอีก 3 หรือ 4 หรือ 5 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเงินลงทุน

และอาจจะมีการปรับพอร์ต ณ เวลาที่เปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของแต่ละคนครับ

 

11.เฉลี่ยดอย กรณีที่ เราเข้าซื้อในระดับราคาสูง แล้วปรากฏว่าราคาทองลงมามาก แล้วมีเงินในพอร์ตเหลือ ต้องการให้ราคาที่ซื้อในราคาสูง(ติดดอย) ต่ำลงมาเราจะนำพอร์ตที่เหลือ (เงินที่เหลือทำการซื้อเพิ่ม) แล้วเราราคาที่ซื้อสูง และราคาต่ำมารวมแล้วหารตามจำนวนทองที่ซื้อ ราคารวมมันก็จำต่ำลงเรียกว่าเฉลี่ยดอย

เช่น ครั้งแรกเราซื้อที่ 14000 ต่อบาททอง จำนวน 10 บาททอง

ครั้งทีสองเราซื้ออีกที่ 12000 ต่อบาททอง จำนวน 10 บาททอง

ต้นทุนเฉลี่ยของทองจะเหลือแค่ 13000 บาทต่อบาททอง เรียกว่าซื้อ ณ ราคาต่ำเพื่อเอามาเฉลี่ยดอย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะกระทิง กับภาวะหมี

มันเป็นเรื่องที่ตอบยากพอกับการนับคลื่น Elliot Wave ของผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ครับผม คือความหมายเดิม ภาวะกระทิงมาจากสัญลักษณ์ของกระทิงที่ขวิดขึ้น และภาวะหมีมาจากหมีที่ตบลง หรือความหมายแฝงหมายถึงกรทิงที่คึกคัก หรือหมีที่จำศีล

 

ดังนั้นภาวะกระทิงจึงหมายถึง การขึ้นของหุ้น หรือทองคำอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นภาวะหมีจึงหมายถึง การลงของหุ้น หรือทองคำอย่างต่อเนื่อง

แล้วถ้ามันเกิดเป็นกระทิงอยู่ คือขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วลงมา 1 ครั้ง แล้วขึ้นต่อเราจะเรียกมันว่าภาวะกระทิงหรือภาวะหมี โดยปกติเราก็เรียกมันว่าภาวะกระทิง เพราะเหมือนกับการลงมาพักนิดหนึ่งแล้วไปต่อ ทีนี้ในคลื่น Elliot Wave เวลาเราจะวิเคราะห์ รูปแบบคลื่น เราจะต้องดูเป็นรายชั่วโมง รายสี่ชั่วโมง รายวัน รายเดือน รายปี ซึ่งถ้าใช้มุมมองที่ต่างกัน การจะกำหนดภาวะว่าเป็นกระทิง หรือภาวะหมี นั้นก็ต้องแล้วแต่การวิเคราะห์ ของนักวิเคราะห์แต่ละคน เช่น รายวันของเดือนอาจจะอยู่ในภาวะหมี แต่รายเดือน กับรายปีอาจจะยังคงอยู่ในภาวะกระทิง

ซึ่งจะให้กำหนดว่าภาวะกระทิงหรือภาวะหมี คงไม่มีใครบอกได้จริงๆ ในระยะอันใกล้หรอกครับ โดยส่วนใหญ่ ถ้าภาวะที่ indicator ทุกตัวทั้งรายชั่วโมง รายสี่ชั่วโมง รายวัน รายเดือน รายปี และรายสิบปี เป็นไปในทิศทางที่ขึ้นอย่างต่อเนื่องก็จะระบุเป็นภาวะกระทิง แต่ในทางกลับกัน indicator ทุกตัวทั้งรายชั่วโมง รายสี่ชั่วโมง รายวัน รายเดือน รายปี สนับสนุนให้ราคาสู่ภาวะซบเซา ก็จะกำหนดภาวะให้เป็นตลาดหมี ดังนั้นจะเป็นแบบหนึ่ง หรือแบบ 2 มันต้องดูว่าเขาดูภาพแคบ หรือภาพกว้าง ภาพแคบอาจจะเป็นหมี ภาพกว้างอาจจะเป็นกระทิง ก็ได้

 

ถ้าให้นักวิเคราะห์มานั่งคุยกัน คนหนึ่งอาจจะเห็นว่าลงแค่ช่วงเวลา 1 เดือน แล้วขึ้นต่อไปเป็นกระทิง คนหนึ่งอาจจะบอกว่ามันคงไม่ขึ้นแล้วเป็นหมีไปแล้ว คนหนึ่งบอกว่ากระทิงมันแค่หลับ 1 เดือนเดี๋ยวมันตื่นขึ้นมาขวิดต่อ ดังนั้นมันก็ไม่มีอะไรตายตัวเหมื่อนคลื่น Elliot Wave ดังนั้นจะเรียกอะไรแล้วแต่มุมมองของนักวเคราะห์

ดังนั้นมันก็ไม่พ้นสัจจะธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
STOP LOSS คือการหยุดการเสียหาย หรือการขายเพื่อกันการขาดทุน เป็นการลดความเสี่ยงโดยแท้จริง

 

CUT LOSS คือการลดการขาดทุน

 

 

ไก่บ้าน: stop loss คือการหยุดการเสียหายครับ คือเราต้องการ สู้แค่ไหน เช่น ถ้าผมลงทุนไป 100บาท ผมยอมขาดทุนแค่ 20บาท ผมก็ตั้งไว้เลย ว่าจะยอมขาดทุนแค่ 20บาท

 

ไก่บ้าน: การ cut loss เกิดจาก การที่เราต้องรู้แน่ว่า มันลงยาวและหนักจริงๆ และสามารถ ซื้อกลับมาในราคาที่ทำกำไรได้จริงๆ ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากค่ะ

ตอนนี้ พยายาม เฉลี่ยดอย อยู่..ฮือๆๆๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากค่ะ เป็นการทบทวนอีกครั้ง แล้วตอนนี้ไม่มีของในมือเลย มันจะย่ออีกมั้ยล่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ ดีประโยชน์สำหรับมือใหม่อย่างผมมากๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
เมื่อ 7/16/2018 เวลา 22 นาฬิกา 39 นาที, jojo83 กล่าวว่า:

มีประโยชชน์มากๆ ครับ

วันนี้ขอตอบแทนโดยการแนะนำเกมสนุกๆ 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...