ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอถามหน่อยนะครับคือผมอยากทราบว่า ที่ มาเลเซีย และ สิงค์โปร มีเงินแท่งขายมั้ยครับ

 

ถ้ามี ในอนาคตถ้าเมืองไทยมีขายเงินแท่ง เราจะสามารถนำไปขายได้หรือไม่ครับ

 

ช่วยตอบทีครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

FED:เฟดชี้ไม่มีแนวโน้มต่ออายุ QE2 ขณะส่งสัญญาณเล็งขึ้นดอกเบี้ย ชิคาโก--28 มี.ค.--รอยเตอร์

 

เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะต่ออายุ โครงการซื้อพันธบัตร 6 แสนล้านดอลลาร์

หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง(QE2) ออกไป

 

เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบันมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น และเฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและขายสินทรัพย์ออกมา "ในเวลาอีกไม่นานนี้"

ทั้งนี้ นายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวแสดงความเห็นอย่างละเอียดเป็นครั้งแรก

ในประเด็นที่เขาต้องการให้เฟดถอนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อเป็นการสกัดกั้นภาวะเงินเฟ้อในอนาคต

โดยถ้อยแถลงของเขาหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นในวันศุกร์

 

เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับใกล้ 0 % นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2008 และได้เข้าซื้อหลักทรัพย์ระยะยาวไปแล้วกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์

เพื่อกดดันต้นทุนการกู้ยืมให้ลดต่ำลง และในการประชุมกำหนดนโยบายครั้งล่าสุดของเฟด

 

ผู้กำหนดนโยบายได้ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เฟดดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรสหรัฐต่อไปในวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์

จนสิ้นสุดตามกำหนดการในเดือนมิ.ย. หลังจากเริ่มดำเนินโครงการดังกล่าว ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2010 เป็นต้นมา

 

โดยโครงการนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อมาตรการ QE2

 

นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโกกล่าวว่า

 

"ผมคิดว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่เฟดจะดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรต่อไปจนครบวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ตามที่เคยระบุไว้

โดยส่วนตัวแล้วผมไม่คาดว่าเฟดจะมีความจำเป็นมากนักในการเพิ่มขนาดการซื้อพันธบัตรให้สูงขึ้นไปอีก"

 

นายเดนนิส ล็อคฮาร์ท ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา กล่าวว่า

 

ในการที่เฟดจะขยายโครงการซื้อพันธบัตรออกไปนั้น เฟด ควรจะมีเงื่อนไขที่ระดับสูง

โดยถ้อย แถลงของนายอีแวนส์และนายล็อคฮาร์ทในครั้งนี้บ่งชี้ว่า

การอภิปรายในเฟดได้หันเหความสนใจออกไปจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม

 

นายนารายานา โคเชอร์ลาโคตา ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิส กล่าวว่า

เฟดจะพิจารณาเรื่องการเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำลงอย่างรุนแรง

 

นายเอริค สไตน์ ผู้จัดการกองทุนของบริษัทอีตัน แวนซ์กล่าวว่า

"เมื่อพิจารณาจากแรงกดดันที่ได้รับจากสมาชิกสายเหยี่ยวในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC), จากสาธารณชน, จากสภาคองเกรส

และจากเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ ผมก็คาดว่าการที่คุณอีแวนส์กล่าวอะไรแบบนี้ออกมาได้นั้นเป็นเพราะว่า คุณเบน เบอร์นันเก้

ประธานเฟด, คุณวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ค และคุณเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟดเห็นด้วยกับเขา"

 

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า

 

เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตเร็ว เกินคาดในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2010 แต่เศรษฐกิจอาจชะลอตัวลงในช่วงต้นปีนี้

เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคและภาคธุรกิจอ่อนแอลง

 

นายพลอสเซอร์กล่าวว่า

 

เศรษฐกิจสหรัฐทวีความแข็งแกร่งขึ้นมากนับตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว และกล่าวเสริมว่า

"ถ้าหากการคาดการณ์นี้กลายเป็นความจริงในวงกว้าง นโยบายการเงินก็จำเป็นต้องเปลี่ยนทิศทางในเวลาอีกไม่นานเกินไป

และต้องมีการเริ่มต้นถอนนโยบายผ่อนคลายจำนวนมากที่เฟดเคยอัดฉีดเข้าสู่เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา"

 

"ความล้มเหลวในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างทันท่วงทีอาจส่งผลต่อเนื่องอย่างร้ายแรงต่อภาวะเงินเฟ้อและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้"

 

นายพลอสเซอร์กล่าว

นายพลอสเซอร์กล่าวว่า โดยเขามีสิทธิโหวตใน FOMC ในปีนี้

 

แผนยุทธศาสตร์ทางออกที่เขาต้องการให้เฟด นำมาใช้ก็คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยควบคู่ไปกับการขายสินทรัพย์

 

นายพลอสเซอร์กล่าวว่า

 

"ในการเชื่อมโยงการขายสินทรัพย์เข้ากับ การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น

การทำเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้กระบวนการขายสินทรัพย์ปรับตัวไปตามภาวะเศรษฐกิจในแบบที่นักลงทุนในตลาดคุ้นเคย"

 

นายไมเคิล เฟโรลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของเจพีมอร์แกน

 

เชส ตั้งข้อสังเกตว่า

 

ความเห็นของนายพลอสเซอร์มักจะแตกต่างไปจากความเห็นหลักของ FOMC" อย่างไรก็ดี

หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐตัดสินใจขายหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ไปแล้ว

ถ้อยแถลงของนายพลอสเซอร์ก็จะส่งผลเพียงทำให้ตลาดเชื่อว่า กำลังมีการเปิดการหารืออีกครั้งเรื่องขั้นตอนในการ

ถอนนโยบายแบบผ่อนคลาย"

 

นายอีแวนส์ส่งสัญญาณว่า

 

เฟดจะไม่เร่งรีบคุมเข้มนโยบายการเงินในเร็วๆนี้ และเฟดมีแนวโน้มที่จะควบคุมงบดุลของเฟดให้ทรงตัว

เมื่อใดก็ตามที่นโยบายเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมสิ้นสุดลง

 

นายอีแวนส์มีสิทธิโหวตใน FOMC ปีนี้เช่นกัน

 

การควบคุมงบดุลให้ทรงตัวบ่งชี้ว่า เฟดจะยังคงนำเงินที่ได้รับจากการครบกำหนดไถ่ถอนหลักทรัพย์เก่า

มาใช้ในการซื้อหลักทรัพย์ใหม่ต่อไปในระดับที่เท่ากัน(reinvestment)

โดยเฟดทำเช่นนี้มานานหลายเดือนแล้ว

 

นายอีแวนส์กล่าวว่า

 

"เป็นเรื่องปกติที่จะคาดการณ์ว่า หลังจากโครงการ 6 แสนล้านดอลลาร์สิ้นสุดลง ก็จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งก่อนที่เฟดจะเริ่มต้นพิจารณา

เรื่องการปรับเปลี่ยนทิศทาง" โดยช่วงเวลาระยะหนึ่งนี้อาจกินเวลานานหลายเดือน และหลังจากนั้นเฟดก็อาจยุติการ reinvestment

ซึ่งจะถือเป็นขั้นตอนเล็กๆที่จะนำไปสู่การคุมเข้มนโยบายในอนาคต แต่เฟดจะไม่เร่งรีบดำเนินขั้นตอนอื่นๆ

ในการคุมเข้มนโยบายนอกจากว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด นายอีแวนส์และนายพลอสเซอร์กล่าวว่า ภัยพิบัติในญี่ปุ่นและการพุ่งขึ้นของ

ราคาน้ำมันอันเนื่องจากปัญหาในตะวันออกกลาง ต่างก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

แต่ทั้งสองมองว่าความเสี่ยงนี้มีขนาดเล็ก และมีผลเพียงระยะสั้น

 

--จบ--

 

(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=20125

 

จากบทความด้านบน ผมเห็นเหตุและผลอย่างนี้ หากไม่ใช่กรุณาทักท้วงคับ

- ตอนนี้ไม่มีใครจะซื้อพันธบัตรสหรัฐแล้ว แม้แต่ FED

- ต่อไปสหรัฐจะขาย พันธบัตรให้ใคร แล้วถ้าไม่ออกพันธบัตรแล้ว จะอยู่ได้หรือเปล่า

- "แผนยุทธศาสตร์ทางออกที่เขาต้องการให้เฟดนำมาใช้ก็คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยควบคู่ไปกับการขายสินทรัพย์"

ทรัพย์สินที่ FED จะขายคืออะไร? ใช่พันธบัตรที่ FED ซื้อไปหรือเปล่า

ถูกแก้ไข โดย G_man

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

passive-income-topics-closer-look.jpg

 

 

ระยะประชิด (Closer look)

 

โอกาสทอง (จริงๆ) ครั้งที่ 1

ทองขึ้นจาก 35$ ไปจบที่ 850$ หลังจากนั้นก็ ฟองสบู่ทองคำแตก ตกลงมาอยู่ที่ 250$

ทำไมต้อง 35 ทำไมต้อง 850 ทำไมต้อง 250 ? เอาสั้นๆว่าปัจจัยพื้นฐานทุกอย่างกำหนดให้ตัวเลขเป็นแบบนั้น

 

หากเราถือว่าในช่วงอายุของพวกเรา 350$ คือราคาเริ่มต้น

ฟองสบู่จะส่งทองไป 8,500$ ก่อน หลังจากนั้นจะแตก แล้วตกกลับมาที่ 2,500$

ทำไมต้อง 350 ทำไมต้อง 8,500 ทำไมต้อง 2,500 ?

 

ผมลอกตัวเลขชุดเก่ามาครับ

 

[[/b][/color]

ขอถามนิดนึงนะครับ ตัวเลข350เหรียญคือคุณNextลอกตัวเลขชุดเก่ามาโดยเพิ่มให้มากกว่าเดิม10เท่าเพื่อสะดวกในการเปรียบเทียบตัวเลข แต่ตัวเลขที่จะใช้คำนวณจริงของจุดด่ำสุดของรอบนี้คือ255.95$ของปี2001(ของรอบแรกต่ำสุด35$) เมื่อคูณ24.28เท่าก็ประมาณ6200เหรียญ รอบที่แล้วจาก850เหรียญลดลงไปเหลือ255.95ก็คือลดไป3.32เท่า

ถ้าจำลองเหตุการณ์ว่าคล้ายคลึงรอบที่แล้วมากๆ จาก6220/3.32=1867$(ราคาหลังปรับฐาน ซึ่งรูปแบบจริงๆอาจคล้ายบ้างแต่ไม่ใช่ต้องเหมือนแบบฝาแฝด)

 

ขอบคุณคุณNextมากนะครับสำหรับความรู้ที่ได้รับมาตลอด ช่วยเสริมจุดที่ผมไม่รู้หรือจุดที่คิดไม่ถึงอย่างมาก คนรู้เรื่องทองครอบคลุมทุกแง่มุมแบบคุณNextหายากมากครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ อ เน็กซ์ สำหรับคำตอบนะครับ รออ่านบทความต่อไปนะครับ คงเร็ว ๆ นี้นะครับ

ถ้า สหรัฐฯ ประการอัตราดอกเบี้ยจรืง สงสัยพวกเราคงได้เก็บของถูกอีกแน่ ๆ เลย รอเก็บตอนนั้นดีมั้ยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณnext มากนะคะ บทความแน่นด้วยความรู้ อ่านสนุกเช่นเดิมเลยค่ะ :lol:

ขอบคุณคุณหมอเล็ก คุณmdaddy คุณJohnCM และทุกท่านสำหรับข่าวสารดีๆด้วยนะคะ :lol:

 

คุณnext ค่ะ อยากจะขอรบกวนคุณnext แนะนำเกี่ยวกับ "หนี้สินในระบบเงินกระดาษ" ณวันที่(ถ้า)ระบบเงินกระดาษในปัจจุบันถูกยกเลิกด้วยได้มั๊ยค่ะ

ไม่รู้คิดมากเกินหรือปล่าวน๊า แต่นึกภาพไม่ออกจริงๆค่ะ

- ถ้าเรามีเงินกระดาษเก็บไว้ แล้วเกิดระบบเงินปัจจุบันยกเลิกจริงๆ อาจจะต้องอ้างอิงทองซึ่งเป็นเงินจริงๆมาช้านาน เงินกระดาษที่ฝากไว้ในธนาคารอาจหมดค่าหรือมีค่าลดลง เราจึงควรซื้อทองเก็บไว้

แต่...

- ถ้าเรามีหนี้ในระบบเงินกระดาษ อย่างหนี้บ้าน แล้วเกิดระบบเงินปัจจุบันยกเลิกจริงๆ อาจจะต้องอ้างอิงทองซึ่งเป็นเงินจริงๆมาช้านาน โอกาสที่หนี้บ้านต้องประเมินมูลค่าใหม่อ้างอิงกับหน่วยเงินใหม่ก็เป็นไปได้ใช่มั๊ยค่ะ อาจอ้างอิงบ้านเป็นทองกี่กรัม แล้วที่จ่ายไปแล้วจะเอามาคิดมั๊ยน๊า อย่างนี้การมีหนี้ช่วงระยะประชิดถือว่ามีความเสี่ยงสูงใช่มั๊ยค่ะ ไม่รู้จะออกหัวก้อยยังไง ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยจะถูกกว่าเงินเฟ้อก็ตาม ถ้าหนี้เหลือไม่มากควรที่จะปิดให้เรียบร้อยก่อนเลยมั๊ยค่ะเพื่อความปลอดภัย อิ อิ

 

อาจถามไม่เกี่ยวกับทองโดยตรงต้องขอโทษคุณnext ด้วยนะคะ มีคำถามรบกวนคุณnextอยู่เรื่อยเลย ขอบคุณมากนะคะ :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณnext มากนะคะ บทความแน่นด้วยความรู้ อ่านสนุกเช่นเดิมเลยค่ะ :lol:

ขอบคุณคุณหมอเล็ก คุณmdaddy คุณJohnCM และทุกท่านสำหรับข่าวสารดีๆด้วยนะคะ :lol:

 

คุณnext ค่ะ อยากจะขอรบกวนคุณnext แนะนำเกี่ยวกับ "หนี้สินในระบบเงินกระดาษ" ณวันที่(ถ้า)ระบบเงินกระดาษในปัจจุบันถูกยกเลิกด้วยได้มั๊ยค่ะ

ไม่รู้คิดมากเกินหรือปล่าวน๊า แต่นึกภาพไม่ออกจริงๆค่ะ

- ถ้าเรามีเงินกระดาษเก็บไว้ แล้วเกิดระบบเงินปัจจุบันยกเลิกจริงๆ อาจจะต้องอ้างอิงทองซึ่งเป็นเงินจริงๆมาช้านาน เงินกระดาษที่ฝากไว้ในธนาคารอาจหมดค่าหรือมีค่าลดลง เราจึงควรซื้อทองเก็บไว้

แต่...

- ถ้าเรามีหนี้ในระบบเงินกระดาษ อย่างหนี้บ้าน แล้วเกิดระบบเงินปัจจุบันยกเลิกจริงๆ อาจจะต้องอ้างอิงทองซึ่งเป็นเงินจริงๆมาช้านาน โอกาสที่หนี้บ้านต้องประเมินมูลค่าใหม่อ้างอิงกับหน่วยเงินใหม่ก็เป็นไปได้ใช่มั๊ยค่ะ อาจอ้างอิงบ้านเป็นทองกี่กรัม แล้วที่จ่ายไปแล้วจะเอามาคิดมั๊ยน๊า อย่างนี้การมีหนี้ช่วงระยะประชิดถือว่ามีความเสี่ยงสูงใช่มั๊ยค่ะ ไม่รู้จะออกหัวก้อยยังไง ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยจะถูกกว่าเงินเฟ้อก็ตาม ถ้าหนี้เหลือไม่มากควรที่จะปิดให้เรียบร้อยก่อนเลยมั๊ยค่ะเพื่อความปลอดภัย อิ อิ

 

อาจถามไม่เกี่ยวกับทองโดยตรงต้องขอโทษคุณnext ด้วยนะคะ มีคำถามรบกวนคุณnextอยู่เรื่อยเลย ขอบคุณมากนะคะ :wub:

ขอลองเดาดูนะครับ ผิดถูกอย่างไรคุณNextหรือท่านอื่นช่วยแนะนำด้วยครับ

--ปกติที่เห็นมา เวลาเกิดเงินเฟ้อชึ้นมา คนที่มีเงินสดอยู่มากความร่ำรวยก็จะลดลง คนที่ถือความมั่งคั่งในรูปของทรัพย์สินที่จับต้องได้และเป็นสินทรัพย์จริงจะรักษาความมั่งคั่งไว้ได้ ข้อดีของเงินเฟ้อที่เห็นชัดที่สุดคือคนที่เป็นหนี้ในรูปแบบเงินตรา เงินที่เฟ้อมากๆจะทำให้มูลค่าของหนี้ที่เป็นอยู่ลดลงครับ

 

ถ้าระบบเงินเก่าต้องยกเลิกไปเช่นมีเงินฝาก1,000,000บาท ระบบสั่งให้ลดค่าลง100เท่า ยอดเงินฝากก็ต้องเหลือ10,000บาทตามระบบใหม่ ขณะเดียวกันคนที่มีหนี้1,000,000ตามระบบเก่า ก็เท่ากับเป็นหนี้10,000บาทตามระบบใหม่ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอออกความเห็นด้วยคับ

 

จากที่เคยจำได้ วิกฤติต้มยำกุ้ง ไม่สบายอย่างนั้นนะคับ

 

เงินต้นเท่าเดิม แต่ดออกเบี้ยมหาศาล จนบางคนส่งต่อไม่ไหว

และผมเชื่อว่าจะเป็นอย่างนี้อีก เนื่องจาก

- ตอนนี้ดอกเบี้ยกู้บ้านคงที่เต็มที่ก็ 1-3 ปี ต่อจากนั้นลอยตัว

- รับประกันเงินฝากบัญชีละ 1 ล้านบาท

- และมีกฏหมายที่ยึดเอาหลักทรัพย์ขายทอดตลาดแล้ว หากทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไม่พอใช้หนี้ ธนาคารจะฟ้องเอาส่วนที่เหลืออีกด้วย

 

ผมว่ากู้แบบซื้อรถจะน่าจะดีกว่า

 

ส่วนระบบบเงินกระดาษ หากเกิดวิกฤติจริง ผมคิดว่ายัไงก็ไม่เลิกใช้ เพียงแต่ใช้สกุลใดอ้างอิง

เพราะดูจากความเป็นจริง หากทุกวันนี้ไม่มีระบบเงินกระดาษจะปั่นป่วนมาก

 

จึงเห็นด้วยกัน คุณNext ที่บอกว่ามีทองแค่ผ่อนหนักให้เป็นเบา แต่ถ้ามีเยอะๆและไม่มีภาระมากก็สบายๆ

ถูกแก้ไข โดย G_man

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ

ถูกแก้ไข โดย noijaa

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาให้กำลังใจคุณ Next ค่ะ จะได้มีกำลังใจเขียนบทความต่อไป + 1 ค่ะ :wub: :wub: :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความเสี่ยงของเงินสำรองระหว่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 06 มกราคม 2011 เวลา 15:24 น.

 

เมื่อปลายปีที่ผ่านมาไอเอ็มเอฟ (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ) รายงานสถานะเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ สิ้นสุด ณ เดือนกันยายน 2553

ดูตัวเลขเบื้องต้นพบว่าเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2552 เท่ากับ 31,476 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นมากเป็นอันดับ 9 ของโลก

 

โดยอันดับ 1 คือจีนที่สูงขึ้นถึง 375,705 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทิ้งห่าง

 

อันดับ 2 คือสวิตเซอร์แลนด์ถึงเกือบ 3 เท่าตัวเพราะเงินสำรองระหว่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้นเพียง 132,338 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ทั้งๆ ที่เงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้ามาหาสวิตเซอร์แลนด์นั้นส่วนใหญ่จะมาจากการที่สวิตเซอร์แลนด์ทำหน้าที่เป็นธนาคารของโลกแห่งหนึ่ง

ซึ่งหากใช้สามัญสำนึกโดยยังไม่ดูตัวเลขแล้ว ประเทศอย่างจีนซึ่งเงินสำรองระหว่างประเทศได้มาจากการขายของจริงไม่น่าจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มมากกว่าประเทศอย่างสวิตเซอร์แลนด์ถึงเกือบ 3 เท่า แต่ก็เป็นไปแล้ว

 

ส่วนลำดับถัดมาคือ 3.รัสเซีย 75,905 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

4.ญี่ปุ่น 62,536 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

5.บราซิล 53,577 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

6. ฮ่องกง 39,207 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

7.เกาหลีใต้ 35,541 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

8.สิงคโปร์ 32,623 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

9.ไทย 31,476 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ

10. ฝรั่งเศส 28,046 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

ซึ่งหากไม่นับประเทศที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินสองประเทศคือ สวิตเซอร์แลนด์และฮ่องกง

ประเทศไทยก็จะถูกจัดลำดับให้เป็นประเทศที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ 8 ของโลกทันที

 

ดูตัวเลขเผินๆ แล้วน่าดีใจครับ เพราะตัวเลขดังกล่าวสะท้อนสองเรื่องสำหรับประเทศไทย (ประเทศอื่นอาจไม่ใช่สองเรื่องนี้นะครับเพราะบริบทอาจต่างจากเรา) คือ

1.เรามีดุลการค้าและบริการเกินดุลมาก และ

2.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าซื้อเงินตราต่างประเทศพอสมควรไม่ถึงกับปล่อยให้ค่าเงินบาทไหลกรูดโดยไม่มีการแทรกแซง

แม้จะยังน้อยไปหน่อยในมุมมองของผู้ส่งออก ผู้รู้ และนักวิชาการจำนวนมากก็ตาม

 

แต่หากตามต่อว่าแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยเอาเงินสำรองระหว่างประเทศไปไว้ไหนบ้าง พบว่าน่าเป็นห่วงอยู่บ้างครับ หลังจากสิ้นสุดยุคสนธิสัญญา Bretton Woods เป็นต้นมา

เกือบทุกประเทศจะโปรแกรมไว้ในหัวตัวเองว่าการเก็บเงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีความเสี่ยงที่ต่ำมาก

 

เพราะไม่ว่าจะค้าขายหรือทำธุรกรรมทางการเงินกับประเทศไหนก็มักจะทำกันผ่านสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหลัก

แต่ความเชื่อมั่นนี้เริ่มน้อยลงเรื่อยๆ หลังจากสหรัฐอเมริกาเริ่มขาดดุลการค้าและการคลังพร้อมกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน

 

แต่ความเชื่อมั่นที่น้อยลงดังกล่าวก็ยังไม่ถึงกับทำให้ประเทศต่างๆ ถอยหนีจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่หลังเกิดวิกฤติทางการเงินเมื่อปลายปี 2551 เป็นต้นมา

ความเชื่อมั่นต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสหรัฐอเมริกาเองก็ทราบในประเด็นนี้ดีและมีความพยายามที่จะทำให้เงินดอลลาร์ของตัวเองยังได้รับความเชื่อถือสูงต่อไป

 

แต่ดูเหมือนความพยายามดังกล่าวจะไม่สัมฤทธิผลเท่าใดนัก เพราะหลังจากกันยายน 2552 เป็นต้นมา จีนซึ่งเป็นผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันรายใหญ่ที่สุด เริ่มลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันลงอย่างมีนัยสำคัญ

และหันไปถือสินทรัพย์ในรูปแบบอื่นแทนเช่น พันธบัตรรัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ไม่ใช่สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ หรือแม้แต่เก็บไว้เป็นของจริงเช่นเหมืองแร่ บ่อน้ำมัน และทอง

 

เราจึงได้ข่าวอยู่เป็นระยะๆ ว่าจีนเข้าซื้อบ่อน้ำมันในแอฟริกาบ้าง ในลาตินอเมริกาบ้าง เข้าซื้อเหมืองแร่เหล็กในออสเตรเลียบ้าง เข้าซื้อเหมืองถ่านหินบ้าง ให้เงินกู้กับประเทศที่กำลังประสบปัญหาเช่นกรีซบ้าง

หรือแม้แต่ดอดเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นจนทำให้ค่าเงินเยนแข็งผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุมาระยะหนึ่ง

 

จนกระทั่งข้อมูลที่สรุปออกมารายงานว่ามาจากการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของจีนบ้าง การขยับตัวของจีนดังกล่าวนี้

จึงทำให้ยอดการถือพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันของจีนลดลงจาก 983,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2552 เหลือ 883,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2553

หรือลดลงประมาณ 54,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับเงินสกุลหลักของโลกอื่นๆ วูบวาบมากกว่าปกติในปีที่ผ่านมา

 

นอกจากนี้ยังพบว่าบางประเทศที่แม้จะมีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเดียวกันก็เริ่มลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันลงเช่นเดียวกับจีน เช่น รัสเซีย เนเธอร์แลนด์

หรือแม้แต่เพื่อนบ้านของเราเช่นมาเลเซีย ส่วนบางประเทศแม้จะไม่ลดแต่ก็ถือเพิ่มขึ้นน้อยลงเช่น

 

เกาหลีใต้ที่ทุนสำรองเพิ่มขึ้น 35,541 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ฝรั่งเศสที่ทุนสำรองเพิ่มขึ้น 28,046 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียง 6,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อินเดีย เงินสำรองเพิ่มขึ้น 11,592 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ถือเป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ส่วนไทย เงินสำรองเพิ่มขึ้น 31,476 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ถือพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันเพิ่มขึ้น 36,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

ซึ่งน่าจะเกิดจากการย้ายสินทรัพย์อื่นมาเป็นพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันเพิ่มขึ้นด้วย

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,598 6-9 มกราคม พ.ศ. 2554

http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=58188:2011-03-07-08-26-27&catid=215:2011-03-07-07-40-14&Itemid=606

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอถามหน่อยนะครับคือผมอยากทราบว่า ที่ มาเลเซีย และ สิงค์โปร มีเงินแท่งขายมั้ยครับ

 

ถ้ามี ในอนาคตถ้าเมืองไทยมีขายเงินแท่ง เราจะสามารถนำไปขายได้หรือไม่ครับ

 

ช่วยตอบทีครับ

 

ฟังแล้วดูเหมือนจะซื้อเงินแท่งจาก มาเลเซียและสิงคโปร์ มาขายในไทย ??

ถ้าจะให้ดีควรสอบถามจากทางร้านในไทยก่อนดีกว่านะครับ

ทางที่ดีควรเป็นเงินแท่งที่มีมาตราฐาน 99.99%

เรื่องราคาจะตัดมากตัดน้อยหรือไม่ตัด คงจะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละร้านอีกเช่นกันครับ :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณส้มโอมือและคุณG_man ด้วยนะคะ ได้อ่านความคิดเห็นเพิ่มเติมดีจังเลยค่ะ :wub:

แต่ส่วนตัวจะคิดต่างจากคุณส้มโอมือค่ะ เพราะคิดว่าหนี้บ้านเป็นของลูกหนี้ แต่จะเป็นบ้านทรัพย์สินของเจ้าหนี้

ดังนั้นคิดว่าหนี้ไม่น่าจะลดลงค่ะ น่าจะเพิ่มขึ้นด้วย เพราะทรัพย์สินจริงๆควรจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งทอง บ้าน ที่ดิน

คิดว่าเจ้าหนี้จะมีมูลค่าทรัพย์เพิ่มมากขึ้น และลูกหนี้จะมีหนี้เพิ่มขึ้นตามทันที แบบตื่นมาก็มีหนี้เพิ่มงงไปเลย ยิ่งคิดก็ยิ่งกลัว เพราะเหมือนดอลใกล้จะล้มเต็มทีแล้ว

เดี๋ยวเรามาลุ้นคำแนะนำจากคุณnextและท่านอื่นกันนะคะ :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...