ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ให้ตายเถอะ.. "ปู่เต่าทึ่ม" นี่เป็นชื่อที่ผมชอบจริงๆ ๕ ๕ ๕ ๕

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ และข้อคิดครับคุณหมีน้ำ

 

- กรณี "บิดเบือน" ราคาน้ำพลังงาน จุดนี้เราอาจจะมองไม่เหมือนกัน แต่ผมมองว่า นโยบายภาษี และกองทุนน้ำมัน เอาไว้ใช้บิดเบือนราคาเป็นหลัก (ส่วนจะบิดเบือนเพื่อเหตุผลดี หรือไม่ดี อันนี้เป็นอีกเรื่อง) แต่เมื่อมีการบิดเบือนแล้ว ไม่ใช่ตลาดเสรีแน่นอนครับ

- กรณีกองทุนน้ำมัน ก็เป็นอย่างที่คุณหมีน้ำว่าครับ ว่ามันเคยใช้ได้ผลจริง (ซึ่งผมมองว่าเป็นยาชา) แต่พอเจอเทรนด์หนักๆ ยาชาก็เอาไม่อยู่ครับ

- ผมดูข้อมูลของวันที่ ๔ วันเดียว (ไม่ได้ดูเป็นซีรี่ส์) ไม่เห็นกองทุนน้ำมันมาอุดหนุน กาซธรรมชาตินะครับ แถมมีต้องจ่ายเข้ากองทุนเสียด้วย พลังงานที่ได้รับการอุดหนุนจากกองทุนฯ คือ ดีเซล อี๒๐ และ อี๘๕ เท่านั้นครับ

- เห็นด้วยครับ ว่านโยบายฯเป็นตัวทำให้น้ำมันแพง ... แต่ผมก็ได้สรุปไว้ว่า ถ้าอยากเทียบว่า ป. ไหนโขกลูกค้ามากกว่ากัน... ต้องเทียบราคาหน้าโรงกลั่นระหว่าง ๒ บริษัท เพราะจะปราศจาก ค่าโสหุ้ยต่างๆ

- อย่างไรก็ตาม ถ้ามีประเด็นเรื่องที่ มาเลย์ สามารถผลิตน้ำมันได้มากกว่าใช้ ... แต่ถ้าน้ำมันที่ผลิตได้ ต้องคิดตามราคาตลาดโลกเป็นมาตรฐาน แบบที่ปู่ฯ เขาว่าไว้ ราคาหน้าโรงกลั่นของทั้งสอง ป. ไม่น่าจะหนีกันมากนะครับ

- สำหรับคำถามสุดท้าย ที่ว่า ถ้าปู่ขายแพง ทำไมต่างชาติไม่ขายให้ถูกกว่าไปเลยหล่ะ ผมขอตอบตามข้อเท็จจริงที่ผมทราบตามนี้ครับ

 

๑ - ข้อมูล ณ ปี ๒๐๐๘ ไทยมีโรงกลั่น ๗ โรง (ที่มา)

๒ - แม้จะดูเยอะ แต่ ปู่ถือหุ้นใหญ่อยู่ ๕ โรง, ต่างชาติหุ้นใหญ่ ๑ โรง, วิชัย ทองแตง หุ้นใหญ่ ๑ โรง (ดูภาพประกอบ)

๓ - ถ้ามองเฉพาะผู้ถือหุ้นใหญ่ ปู่ฯ มีกำลังการผลิต ร้อยละ ๘๒ ๖๙ , ต่างชาติ ร้อยละ ๑๖ ๒๙, ทองแตง ร้อยละ ๑.๕

๔ - หากปู่โก่งราคาจริง ... กำลังการผลิตเพียงร้อยละ ๑๕ ๒๙ ของต่างชาติ (เอกซอน,เชฟรอน,ปู่) ไม่สามารถทุบราคาได้อย่างมีนัยสำคัญ

๕ - หากผมเป็นเอกซอน, เชฟรอน, หรือทองแตง และมีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าจริง... ผมก็คงคิดราคาเท่าปู่ เพื่อที่จะได้กำไรเยอะขึ้น (จะบื้อขายถูกทำไม ในเมื่อตั้งราคาแพงก็ขายได้)

 

post-2564-0-97511700-1386348429_thumb.png

 

ผมไม่อาจทราบได้ว่าปู่ โก่งราคาตามที่มีคนกล่าวอ้างหรือเปล่า .. เพราะผมพยายามหาราคาหน้าโรงกลั่นของมาเลย์แล้ว แต่หาไม่เจอ แต่จากข้อมูลโรงกลั่นในไทย ทำให้ผมตอบได้อย่างมั่นใจพอควรว่า ปู่ผูกขาดโรงกลั่น และมีอิทธิพลเบ็ดเสร็จในการกำหนดราคาในตลาด

 

จากเหตุผลดังกล่าว ผมจึงมองคำถามที่ว่า ถ้าปู่ขายแพงนัก ทำไมคนอื่นไม่ตัดราคาสู้ปู่ เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น มากกว่าการถามเพื่อหาคำตอบ ว่าตกลงปู่โขกจริงหรือไม่

 

สุดท้ายนี้ ผมขอยืมคำพูดของชายเชื้อสายจีน "แซ่ลิ้ม" คนหนึ่ง ที่ได้พูดไว้หลายปีก่อน มาฝากไว้ให้คิดเล่นๆก็แล้วกัน

เขาพูดในทำนองที่ว่า .... ถ้าให้เขาซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นนอกประเทศ มาขายในไทยได้ โดยที่โดนโครงสร้างภาษีเดียวกัน เขาสามารถขายน้ำมันได้ถูกกว่าเพื่อน

(ภาษีมูลค่าเพิ่ม, สรรพสามิตร, กองทุน, ฯลฯ... แต่อย่าเก็บภาษีนำเข้านำมันที่กลั่นแล้วนะ)

 

ผมได้แนบแหล่งที่มาของข้อมูล และเสปรดชีท ในการคำนวณตัวเลขด้านบนมากับโพสท์นี้ด้วย

หากมีความผิดพลาด หรือผมเข้าใจอะไรผิด กรุณาทักท้วง เพื่อที่ผมจะได้แก้ไข และปรับความเข้าใจให้ถูกต้องต่อไป

(ข้อมูลผู้ถือหุ้นใหญ่ นำมาจาก เวบไซท์ตลาดหลักทรัพย์ ดึงข้อมูลวันที่ ๖ ธ.ค., สำหรับ SPRC จากข่าว เชฟรอนถือหุ้นใหญ่ และปู่ถือหุ้นที่เหลือ)

 

สเปรดชีทแรก ที่มองผิดพลาดว่าปู่ถือหุ้นใหญ่ใน SPRC refineries.zip

สเปรดชีทสอง แก้ไข ให้เชฟรอน ถือหุ้นใหญ่ใน SPRC แล้วrefineries-v2.zip

ภาพเก่า ที่มองผิดพลากว่าปู่ถือหุ้นใหญ่ใน SPRC

post-2564-0-09761300-1386343972_thumb.png

 

แก้ไข ๒๓:๔๙ -- จากข่าว SPRC มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือเชฟรอน, ส่วนที่เหลือ ปู่เป็นคนถือ (ไม่ใช่ปู่ถือหุ้นใหญ่ อย่างทื่ผมเข้าใจในตอนแรก)

ข้อมูลของคุณ wcg ค่อนข้างที่จะถูกต้องแล้วครับ โครงสร้างของราคาน้ำมันในประเทศไทยมันผิดรูปแบบที่ควรจะเป็น ถ้าPTTยังไม่ได้แปรรูปราคาน้ำมันจะไม่สูงเกินจริงแบบนี้แน่นอนครับ (ข้อมูลจากบุคคลภายในPTTเอง)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Robert Kiyosaki คนเขียนหนังสือ พ่อรวยสอนลูก ตอบคำถามว่าหากให้เงิน 10,000 เหรียญจะลงทุนในสินทรัพย์อะไรในปี 2014

 

สั้นๆ

Equities 5% Real Estates 40% Precious Metals 25% Oil 20 % Cash 10 %

 

ตัวเต็ม

 

http://www.kitco.com/news/2013-12-06/Gold-Silver-To-Hit-New-Highs-Rich-Dad-Poor-Dad-Author.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

(^ ^) ร่วมด้วยช่วยกันครับคุณ WCG ทองมันช้ำเปลี่ยนมาหาเรื่องอื่นคุยกันบ้าง

 

แทงใจดำจริงจริ๊งงง.... :P ๕ ๕ ๕

 

 

...

- ลองมาคิดกลับอีกมุมครับ ถ้าไม่มีกองทุนน้ำมัน(ตอนนั้นและตอนนี้)และสินค้าขึ้นตามราคาน้ำมันแต่พอน้ำมันลงมันไม่ลงตามจริงๆ ???????? ทำไงดีครับ ถ้าเอาคำตอบส่วนมากเค้าก็มักจะใช้นโยบายในการตรึงราคาสินค้าไว้ก่อนชั่วคราว ด้วยการจ่ายส่วนต่าง รับประกันราคา ต้นทุนสินค้า (พวกเราเห็นบ่อยๆนะครับ) แต่ถ้าน้ำมันมันขึ้นต่อไม่หยุดต้นทุนไม่ลด สุดท้ายรัฐบาลก็ไม่น่าจะแบกรับไหวถูกมั้ยครับ และตอนนี้ถ้าไม่มีกองทุนน้ำมัน LPG ก็จะขาดเงินอุดหนุน และราคาก๊าซหุงต้มก็จะต้องปรับขึ้นด้วยใ่ช่มั้ยครับ

...

- ข้อมูลวันที่ 4 ตามนั้นครับคือหนุน ดีเซล E20 E85 ส่วน LPG เค้าหนุนผ่านราคาหน้าโรงแยกก๊าซหรือโรงกั่นครับ ถ้าดูในตารางจะเป็นตัวหน้าสุดที่ 10.571 นั่นล่ะครับ มันเท่ากับ 333US/ton ซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลบังคับให้โรงแยกขาย ทั้งที่ปัจจุบันราคาหน้าโรงแยกก๊าซอยู่ที่ 875us/ton ส่วนต่าง 875-333 หรือ 542US/ton นั่นล่ะครับ เค้าเอาจากกองทุนน้ำมันมาชดเชย

- ส่วนที่จ่ายเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่มของ LPG สองรับ รอบแรกเก็บเท่ากันทุกส่วนเพื่อให้ราคาหน้าคลังเท่ากันทั่วประเทศครับจะเอา ส่วนนี้มาเป็นค่าใช้จ่ายขนส่ง ส่วนที่สองด้านหลังจะไม่เท่ากันครับแต่จะนำไปชดเชยให้จากส่วนต่างข้างต้นและ การนำเข้านั่นล่ะครับ

...

 

ตามมุมมองผมนะครับ

 

- พ่อค้า ก็จะมีมาร์จินที่เขาสามารถโดนบีบได้ เมื่อต้นทุนขึ้น เขาก็มีข้ออ้างปรับราคาขึ้น และเมื่อต้นทุนลดลง เขาก็สามารถปรับลดราคา(บีบมาร์จินตัวเอง) เพื่อแข่งกับคนค้าขายรายอื่นได้ (มองกรณีธุรกิจขนาดจิ๋วนะครับ)

- เนื่องจากราคาต้นทุนพลังงาน ถูกตรึงไว้ให้คงที่ตลอด และปรับขึ้นเมื่อรัฐ "เอาไม่อยู่" จึงไม่แปลกใจที่ราคาสินค้าขึ้นแล้วไม่ลง จึงเป็นพฤติกรรมที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ อันเนื่องมาจากราคากาซหุงต้ม จะวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

- ถ้าปล่อยให้ราคาพลังงานดิ้นได้ตามธรรมชาติ ในที่สุด ผู้ประกอบการก็จะปรับตัวกับมันได้ ... ถ้าราคาพลังงานลง ไม่มีทางที่จะขายราคาเดิมแล้วอยู่รอด เพราะในตลาด คนอื่นเขาต้นทุนลด ก็จะสามารถลดราคาลงมาสู้ได้

- ส่วนตัวก็เลยยังมองว่า กองทุนพวกนี้ ทำหน้าที่เป็นยาชาเท่านั้นครับ... ปวดฟันแล้วมัวแต่หยอดยาชา ไม่ไปให้ทันตแพทย์รักษา... พออาการแย่จนเอาไม่อยู่ เจอหมออีกทีก็โดนเลาะไปเลยหนึ่งซึ่ ... อะไรทำนองนี้ครับ กองทุนน้ำมันในมุมมองของผม

 

 

- กรณีมีการอุดหนุนกาซแอลพีจีผ่านราคาหน้าโรงฯ ผมไม่เข้าใจครับ ในเมื่อมาจากกองทุนเดียวกัน ทำไมถึงไม่มีการนำตัวเลขมาแยกแยะ ให้เห็นได้ชัดเจนเหมือนพลังงานอื่นๆ ฟังดูไม่มีเหตุผลที่ไม่นำมาแจกแจงครับ

 

 

 

 

 

- ปู่ผูกขาดโรงกลั่น จริงแท้แน่นอนครับ นั่นล่ะคือประเด็นหลักที่ควรนำมางัดปู่ มากกว่าด้านราคาน้ำมัน ส่วนเรื่องการกำหนดราคาผมว่ามีส่วนน้อยถึงน้อยมากครับ

จริงครับ .. จุดยืนของผมจากเท่าที่ได้อ่านในสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ "ราคาหน้าโรงกลั่น โขกหรือไม่โขก เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน"

 

เพราะถ้าไม่นับกลไกการบิดเบือนราคาจากรัฐฯแล้ว ปู่ เป็นคนเดียวที่สามารถบิดเบือนได้อย่างมีนัยครับ

 

- ส่วนประเด็นชายเชื้อสายจีนแซ่ลิ้มที่บอกว่า ถ้าให้ซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นนอกประเทศ มาขายในประเทศไทยได้ โดยโครงสร้างภาษีเดียวกัน เขาสามารถขายน้ำมันได้ถูกว่าเพื่อนบ้าน ผมว่าคำพูดนี้กล่าวเกินจริงไปพอสมควรเลยครับ ทำไมผมถึงคิดแบบนั้นลองมาวิแคะกันครับ

- ลองคิดแบบง่ายๆเลยครับ คิดราคาน้ำมันแบบตัดภาษี ตัดกองทุน ตัดทุกอย่างออกหมดเลยนะครับ ขายแบบไม่เอากำไรเลยด้วย ถ้าแบบนั้น ราคาขายน้ำมัน = ราคาน้ำมันสำเร็จรูป+ต้นทุนการแปรสภาพ+ค่าขนส่ง กรณีของประเทศไทย ราคาน้ำมัน = ราคาน้ำมันสำเร็จรูป ณ สิงคโปร์ + ต้นทุนการแปรสภาพ + ค่าขนส่ง เพราะฉะ้นั้นเต็มที่ที่จะขายถูกสุดในประเทศไทยคือขายเท่ากับราคาน้ำมันสิงคโปร์ครับ

 

ดูจากสมการคร่าวๆแล้ว เห็นด้วยครับ แต่เนื่องจากผมไม่มีราคาหน้าโรงกลั่น หรือต้นทุนที่แท้จริงของประเทศอื่น เลยไม่สามารถสรุปได้ครับ

 

ใจจริงแล้ว ถ้าผมมีอำนาจ ผมอยากจะออกใบอนุญาตให้ชายท่านนั้น ทำธุรกิจอย่างที่ท่านว่าได้สัก ๑ ปี

เพราะอยากดูว่าเป็นราคาคุย หรือว่าของจริง

 

 

- เผื่อคนจะถามว่าทำไมเราต้องอิงราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์ เพราะราคาตลาดสิงคโปร์เป็น Fair Price (ราคาที่สมเหตุสมผลนะครับ ไม่ใช่ราคายุติธรรม) เพราะเป็นทั้งศูนย์กลา่งและผู้ส่งออกน้ำมันสูงสุดในภูมิภาคนี้

- และด้วยเหตุผลที่เราซื้อหรือนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์ ถ้าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทยกับสิงคโปร์ไม่เท่ากันจะเป็นอย่างไร 1.ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทยถูกกว่าสิงคโปร์ โรงกลั่นก็ไม่อยากขายให้ปั้มในประเทศส่งออกไปขายสิงคโปร์ดีกว่ากำไรเยอะกว่า(นอกจา่กโรงกลั่นทั้งหมดจะยอมกลั่นแบบการกุศลไม่คิดกำไรเลย) สุดท้ายปั้มก็ต้องซื้อน้ำมันราคาสิงคโปร์มาขายอยู่ดีถูกมั้ยครับ 2.ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทยแพงกว่าสิงคโปร์ ปั้มก็ไม่อยา่กซื้อจากโรงกลั่นในไทย หันไปนำเข้าจากสิงคโปร์ทั้งหมด สุดท้ายโรงกลั่นก็ต้องลดราคามาเท่ากับสิงคโปร์อยู่ดี สุดท้ายราคาขายถูกสุดในประเทศแบบตัดทุกอย่างออกก็จะเท่ากับสิงคโปร์อยู่ดีครับ

 

การเลือกใช้ราคาน้ำมันดิบในภูมิภาค เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ครับ

แต่มันก็วนกลับมาที่คำถามที่ผมยังไม่มีปัญญาหาคำตอบก็คือ ... เมื่อต้นทุนเท่ากันเกือบหมดแล้ว ราคาหน้าโรงกลั่น ใครฟันใครหนักกว่ากัน

 

ข้อมูลของคุณ wcg ค่อนข้างที่จะถูกต้องแล้วครับ โครงสร้างของราคาน้ำมันในประเทศไทยมันผิดรูปแบบที่ควรจะเป็น ถ้าPTTยังไม่ได้แปรรูปราคาน้ำมันจะไม่สูงเกินจริงแบบนี้แน่นอนครับ (ข้อมูลจากบุคคลภายในPTTเอง)

 

ขอบคุณครับ คุณเอสเปรสโซแก้วเล็ก .. ผมเคยได้ยินเรื่องทำนองนี้มาเหมือนกัน แต่ยังไม่เคยคุยกับคนในปู่ฯ ที่พอจะตอบคำถามให้ได้ชัดเจน กับตัวผมตรงๆ

แม้จะอยากฟันธงว่าเป็นแบบนั้นจริงๆ แต่ก็ยังไม่กล้าฟันธงครับ

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถกกันทีละประเด็นแล้วกันครับ ถ้าตอบผิดก็ขออภัยด้วย อย่างที่บอกคือผมก็ตอบไม่ได้ว่ามันถูกหรือผิดแต่แสดงความเห็นในมุมมองของรัฐเท่านั้นเองครับว่าเค้ามองยังไง ทำไมถึงทำแบบนั้น

 

 

- เริ่มจากผู้ประกอบการก๊าซก่อนครับ พวกนั้นผมว่าปรับตัวได้อยู่แล้วครับสบายเลย แต่ปลายน้ำหรือคนทั่วไปนี่ล่ะครับจะโดนผลกระทบอย่างที่บอก คือ ของใช้ทั่วไปขึ้นราคาแล้วไม่ลงตาม ปัญหาต่อมาที่จะเกิดก็คือการกักตุนสินค้าถูกมั้ยครับ ถ้าเราปล่อยให้มันขึ้นๆลงๆตามตลาด เช่น น้ำมันพืช ไข่ ผัก อื่นๆอีกมากมายที่เค้าจะอ้างว่าขึ้นเพราะราคาน้ำมัน ถ้ามันปรับขึ้นลงตลอดไม่มีราคากลางไม่มีการควบคุมพอมันลงคนก็จะมากักตุนซื้อกันถูกมั้ยครับ

 

 

- การตรึงราคาพลังงานโดยเฉพาะก๊าซหุงต้ม บ้านเราทำมานานแล้วครับ

 

 

- เรื่องราคาก๊าสธรรมชาติ หรือ LPG มันต้องขึ้นตลอดถูกต้องแล้วครับ เพราะตอนนี้ราคาขายในบ้านเราถูกกว่าตลาดโลกเยอะมากกว่าครึ่ง LPG ตลาดโลก 875 เหรียญ/ตัน แต่บ้านเราขายกัน 333 เหรียญ/ตัน เพราะ(ปัจจุบัน)รัฐบาลเอาเงินกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนส่วนต่าง 542 เหรียญ/ตัน นั่นล่ะครับ ที่ราคา LPG บ้านเราถูกกว่าประเทศอื่น ก็เหมือนที่ราคาน้ำมันมาเลถูกกว่าบ้านเรานั่นล่ะครับ เพราะรัฐอุดหนุนผ่านกองทุนน้ำมัน ก่อนหน้าที่จะมีกองทุนน้ำมันรัฐบาลแทรกแซงด้วยการตรึงราคาโดยตรงเลยครับเพื่อไม่ให้เกิดภาระแก่ประชาชนในกรณีราคาผันผวน

 

 

- ตามมาด้วยการปรับขึ้นของราคาสินค้าจาก second round effect ที่รัฐบาลกังวลว่าจะเกิดจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน หรือผลกระทบทางอ้อม เช่น น้ำมันขึ้น ต้นทุนขึ้น ของขึ้นราคา สิ่งที่คนวางนโยบายกลัวก็คือการขึ้นราคาของสินค้า อุปโภค บริโภคครับ เพราะการสวิงขึ้นลงของราคาน้ำมันหรือ LPG ลองดูง่ายๆรอบตัว เช่น ราคาอาหารตามสั่งแบบหรือก๊วยเตี๋ยวก็ได้ครับ เคยเห็นเวลาขึ้นราคามั้ยครับ เวลาอ้างขึ้นคนขายก็มักจะบอกต้นทุนแพงไข่แพง แต่พอน้ำมันลงราคา LPG ลง มันก็ไม่ค่อยจะลดตามเท่าไหร่ถูกมั้ยครับ แถมเวลาขึ้นขึ้น 5-10 บาทตลอด (^ ^) อันนี้ถึงบอกว่าถ้าไม่ใช้การตรึงราคาหรือกองทุนน้ำมันแล้วจะใช้วิธีไหนในการรับมือกรณีราคาน้ำมันมันผันผวนครับ

 

 

- ซ้ำเรื่อง LPG หรือ ก๊าซหุงต้มอีกส่วนครับครับ ด้วยที่รัฐบาลเค้าเคยตรึงราคามานานตอนหลังก็เลยจะยกเลิกการควบคุมราคาและลอยตัว LPG อย่างเป็นขั้นตอน(เหมือนที่คุณ WCG บอกล่ะครับว่าต้องทำให้ให้เป็นธรรมชาติ) พอลอยตัวมันก็ทำให้ราคามันปรับขึ้นตามตลาดโลกถูกต้องมั้ยครับ จริงๆนโยบายจะลอยตัว LPG มันมีมานานแล้วนะครับ ตั้งแต่มติครม.ปี 2542 แล้ว เพียงแต่ว่าเค้าทำมาเป็นขั้นตอน พอทำมาได้ระยะนึงน้ำมันมันดันราคาน้ำมันมันดันขึ้นเอาๆ รัฐบาล ณ ตอนนั้นก็เลยเอาเงินจากกองทุนน้ำมันนี่ล่ะครับไปตรึง+หนุนราคา LPG เพื่อไม่ให้ก๊าซหุงต้มแพงและเป็นภาระประชาชน หรือไม่ให้เกิดเงินเฟ้อจากน้ำมัน สาเหตุอะไรก็ว่าไป

 

 

 

- มีครับ ข้อมูลใน http://www.eppo.go.th/vrs/VRS99.pdf จะคร่าวๆว่าหนุนปีละเท่าไหร่

- ส่วนตัวเลขรายละเอียดก็มีครับ แต่ถ้าเขียนจะยาวพอควรเลย มีที่มาที่ไปครับ

 

 

- เรื่องราคาน้ำมันในประเทศ เอาแบบนี้ก็ได้ครับ ลองเอาราคาสำเร็จรูป วันที่ 4 ณ ราคาตลาดสิงคโปร์ มาคำนวณราคาน้ำมันก็ได้ครับ จะพอเห็นคร่าวๆว่าโรงกลั่นบวกราคาเท่าไหร่

วันที่ 4 น้ำมันดิบดูไบ (บ้านเราใช้น้ำมันดิบจากดูไบครับ) อยู่ที่ 108.8 เหรีญต่อบาเรล ณ ราคาเปิด ค่าเงินบาทอยู่้ที่ 32.24/32.26 บาทต่อดอลลาร์

เื่ท่ากับราคาขายสำเร็จรูปในตลาดโลกตอนราคาเปิด = 108.8*32.26 = 3509.8 บาทต่อหนึ่งบาเรล หารด้วย 158.978 (1 บาเรล = 158.978 ลิตร) = 3509.8/158.978 = 22.07 บาทต่อลิตร

 

เท่ากับว่าราคาซื้อขายแบบไม่บวกค่าขนส่ง ไม่บวกค่าแปรสภาพ ไม่บวกค่ากลั่น ไม่บวกอะไรเลย อยู่ที่ 22.07 บาทต่อลิตร สุดท้ายออกมาหน้าโรงกลั่นประเทศไทยก็ตามตารางที่คุณ WCG เห็นช่องแรกนั่นล่ะครับ วันที่ 4 เบนซิน 24.509 ดีเซล 27.164

 

ถ้าเอาตรงๆสองอันนี้มาดูราคาเฉลี่ยหน้าโรงกลั่นในไทยวันที่ 4 ก็จะกำไรอยู่ที่ลิตรละ 2-5 บาท ครับ ที่เหลือถ้าเราอยากรู้ว่า ไอ้ 2-5 บาทนี่มันค่าอะไรบ้างคงต้องไปงัดปากปู่เอาำคำตอบล่ะครับ (ซึ่งผมก็เดาว่า ปู่ก็ต้องบอกว่ามาจาก ค่าขนส่ง ค่าแปรสภาพ ค่าเงินเดือนพนักงาน ค่าดูแลรักษาโรงกลั่น ค่าดูแลเครื่องมือ ค่ากินข้าวเจ้าค่าดูแลเด็กของโรงกลั่น อะไรก็ว่าไป.....)

 

 

- คุณ Espresso โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศมันผิดรูปแบบที่ควรจะเป็น ผมก็อยากเห็นข้อมูลของบุคคลภายใน PTT เองเหมือนกันครับว่ามันเป็นอย่างไร จะเปิดได้กว้างด้วย

 

 

 

*** เอาเข้าจริงๆรัฐบาลจะยกเลิกกองทุนน้ำมันเลยก็ได้ครับ ปล่อยให้ลอยตัวทั้งน้ำมันทั้ง LPG เลย ของมันจะขึ้นจะลงก็ปล่อยตามตลาดไป แต่ถ้าคิดมุมกลับ ใครหาเสียงด้วยการบอกว่าจะยกเลิกกองทุนน้ำมัน น้ำมันจะถูกลงแต่ราคา LPG ปรับสูงขึ้นก๊าสหุงต้มแพงขึ้นตามราคาตลาดโลก จะมีคนเลือกหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือใครเป็นรัฐบาลอยู่แต่ประกาศขึ้นราคาก๊าซหุงต้มใครจะกล้ารับเผือกร้อนหรือทำล่ะครับเพราะโดนด่าเปิงทั้งบางแน่ๆ เห็นมั้ยครับว่ามันน่าเหนื่อยใจขนาดไหน ถ้ามันเป็นแบบนี้เราจะกำหนดราคาสินค้าพวกนี้แบบไหนดีล่ะครับ

 

 

**** แก้ไขเพิ่มอีกนิดครับ **** แล้วด้านบนถ้ายกเลิกกองทุนน้ำมันแล้วปล่อยราคาลอยตัวทุกอย่างก็ต้องกลับมาดูอีกว่า ถ้าเกิดปัญหาการกักตุนสินค้าเพราะไม่มีราคากลางอีก หรือการขึ้นสินค้าและไม่ยอมปรับลดลงจะแก้ไขด้วยวิธีไหน สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องออกกฎหมายเข้ามาควบคุมสินค้าอีกที คราวนี้ก็ไปโดนผู้ผลิตด่าอีกต่อ หรือถ้าจะตรึงราคาก็กลับมาเข้าอีหรอบกองทุนน้ำมันอีก...

ถูกแก้ไข โดย หมีน้ำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมไม่เห็นด้วยนะครับกับส่วนที่บอกว่าน้ำมันแพงเพราะ ปตท. ยิ่งถ้าไม่แปรรูปต้องถามว่าเราพอใจกับปั้มน้ำมัน "สามทหาร" ก่อนที่จะมาเป็น ปตท หรือไม่ ถ้าเรายังใช้ปั้มสามทหารไม่เพียงว่าเราจะได้ใช้น้ำมันราคาตลาดโลก แต่เรายังต้องแบกหนี้แถมไปด้วยนะครับ จะยินดีเอาภาษีไปแบกหนี้กันมั้ยครับ ดู ขสมก. สิครับไม่เห็นมีใครไปทวงคืนเลย

 

ประเด็นว่าน้ำมันแพงผิดรูปตามที่คุณ Espresso กล่าวไว้ผมกลับมองว่ามันเป็นไปตามกลไกภาษีนะครับ ไม่ได้เป็นเพราะ PTT เลย ส่วนเราก็จะพยายามไปโทษ PTT กันก็เพราะการเมืองกันมากกว่าครับ กับอีกส่วนคือมีคนบางกลุ่มที่อิจฉาที่เขาได้ดีแต่เราดันไม่มีส่วนได้ส่วนเสียก็ปลุกระดมให้ข้อมูลความจริงแต่แค่บางส่วนสร้างกระแสไป แม้ว่าความจริงข้างในนี่ไม่ได้ดีอย่างที่คิดกันเลย รายได้พนักงานถ้าเทียบกับบริษัทพลังงานอื่นๆ ถือว่าน้อยด้วยซ้ำ

 

เรื่องหุ้นก็เช่นกัน เขาขายให้พนักงานก่อนครับถึงขายให้คนนอก ส่วนคนนอกก็น้ำลายหกไงครับถึงได้โวยวายกัน พี่ชายผมก็อยู่ทันสมัยนั่นก็ยังได้หุ้นมากอดไว้เลยครับ

 

กลุ่มทวงคืน ปตท. มักอ้างว่า เรากำหนัดราคาราคาหน้าโรงกลั่น ได้ไม่ต้องตามราคาตลาดสิงคโปร์

- ถามว่าทำไมเราต้องกำหนดราคาเท่าสิงคโปร์ ลองคิดดูครับ โรงกลั่นคือผู้ทำมาหากิน ไม่ใช่องค์กรการกุศล ถ้าเขาขายให้ต่างประเทศได้มากกว่าเขาก็ส่งออกไปขายหมดสิครับ ไม่ให้ส่งออกก็แอบส่งได้ครับ แล่นเรือไปวันนึงแล้วก็แล่นเรือกลับก็กลายเป็นน้ำมันนำเข้าแล้วเคยเห็นมั้ยครับ เขาเล่นกันแบบนี้ครับ แล้วบวกค่าขนส่งเข้าไปอีกสุดท้ายก็แพง แล้วก็บนกันต่อยินดีมั้ยครับ

 

กลุ่มทวงคืน ปตท. มักอ้างว่าเราผลิตน้ำมันได้เหลือกินเหลือใช้

- แล้วทำไมเราถึงต้องยังนำเข้าน้ำมันดิบละครับถ้าคิดตามหลังเศรษฐศาสตร์ว่าซื้อในประเทศถูกกว่า ความจริงคือเราผลิตน้ำมันได้ไม่พอครับ เราต้องนำเข้าครับถ้าซื้อในประเทศไม่รวมค่าขนส่งยังไงก็ถูกกว่าอยู่แล้วคงไม่มีปัมไหนไปบริจากเงินซื้อให้ บ.ต่างประเทศหรอกครับ

post-939-0-56280300-1386585127_thumb.jpg

 

น้ำมันผลิตได้เป็นแสนๆ บาเรวต่อวันทำไมยังไม่พออีก

- นั่นก็เพราะว่าน้ำมันที่ผลิตได้จากน้ำมันดิบไม่ใช่เชื้อเพลิงทั้งหมดครับ

post-939-0-08358300-1386585573_thumb.jpg

 

 

กลุ่มทวงคืน ปตท.มักอ้างว่าถ้าผลิตไม่พอแล้วทำไมเรามีส่งออก

- เราส่งออกน้ำมันที่กลั่นแล้วครับ ไม่ใช่น้ำมันดิบ เหมือนคนกลางผลิตน้ำมันไงครับ ไม่ดีหรอ

post-939-0-65351500-1386585336_thumb.jpg

 

 

กลุ่มทวงคืน ปตท.มักอ้างว่าเราจ่ายน้ำมันแพง ถ้าปตทไม่แปลรูปเราจะได้ใช้น้ำมันถูก

- เราจ่ายน้ำมันแพงเพราะภาษีครับ ส่วนราคาหน้าโรงกลั่นมันก็เท่ากันครับ

post-939-0-24015600-1386584104_thumb.jpg

post-939-0-86619100-1386584954_thumb.jpg

 

เห็นโครงสร้างภาษีน้ำมันแล้ว ปตท. ก็ยังไม่เห็นว่าปตทจะทำน้ำมันให้ถูกกว่าต่างประเทศได้อย่างไรเลยนะครับ

คนกำหนดภาษีมัน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ครับส่วนไอ้ที่เราไปโทษๆ ปตท นี่มันเป็นความเกลียดคนๆ นึ่งเกินไปอย่างไม่ลืมหูลืมตา จนต้องหาที่ระบายครับ

 

กลุ่มทวงคืน ปตท. อ้างว่าเราใช้น้ำมันแพงกว่าชาวบ้าน

- แต่เราได้ใช้น้ำมัน

ดีเซล วันละ 10 ล้านลิตร ในราคาที่ ถูกกว่า ชาวบ้านขณะที่

เบนซิน วันละ 3 ล้านลิตร ในราคาที่ แพงกว่า ชาวบ้าน แล้วทำไมเราถึงคิดว่าใช้น้ำมันแพงกว่าละครับ

post-939-0-83179400-1386586126_thumb.jpg

ก็เพราะคนเมืองที่เป็นลูกค้ากลุ่มเบนซินคือผู้ที่ครอบครองสือเสียงดังกว่าไงครับ :D

 

ความจริงผมก็อยากเจอบุคคลภายใน PTT ที่คุณ Espresso กล่าวอ้างอยู่เหมือนกันนะครับเผื่อว่าจะขอความรู้ซักนิด เพราะพี่ชายผมที่อยู่ส่วนการตลาดของ PTT กับทางเพื่อนผมที่อยู่ฝ่ายควบคุมคุณภาพปั้มของ PTT ให้ข้อมูลไม่ตรงกันกับบุคคลภายในเพื่อนคุณ Espresso เลยเผื่อจะได้ข้อมูลอีกด้าน

 

เอามาฝาก ลองอ่านอันนี้ดูนะครับ "กลุ่มแฉความจริง ทวงคืนปตท." เท่าที่เคยอ่านดูค่อนข้างจะตอบคำถามได้หลายๆ คำถามเลยครับ

รวมถึงข้อมูลอ้างอิงที่เอามาใช้ก็ใช้ได้อยู่นะครับ

https://www.facebook...PTTreclaimtruth

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข้อมูลแน่นมาก ช่วยเป็นยาชาเวลาทองตกได้อย่างดี :033

ขอบคุณคุณหมีน้ำ กับคุณลีโอครับ

ไปทำธุระก่อน เดี๋ยวมาอ่านละเอียดอีกครั้งครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
อาเข้าจริงๆรัฐบาลจะยกเลิกกองทุนน้ำมันเลยก็ได้ครับ ปล่อยให้ลอยตัวทั้งน้ำมันทั้ง LPG เลย ของมันจะขึ้นจะลงก็ปล่อยตามตลาดไป แต่ถ้าคิดมุมกลับ ใครหาเสียงด้วยการบอกว่าจะยกเลิกกองทุนน้ำมัน น้ำมันจะถูกลงแต่ราคา LPG ปรับสูงขึ้นก๊าสหุงต้มแพงขึ้นตามราคาตลาดโลก จะมีคนเลือกหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือใครเป็นรัฐบาลอยู่แต่ประกาศขึ้นราคาก๊าซหุงต้มใครจะกล้ารับเผือกร้อนหรือทำล่ะครับเพราะโดนด่าเปิงทั้งบางแน่ๆ เห็นมั้ยครับว่ามันน่าเหนื่อยใจขนาดไหน ถ้ามันเป็นแบบนี้เราจะกำหนดราคาสินค้าพวกนี้แบบไหนดีล่ะครับ

 

ความเห็นผมแบบบ้านๆ เลยนะครับ(เลียนแบบคุณงู :D ) เพราะผมไม่มีความรู้เรื่องน้ำมัน

 

1.ชาวบ้านไม่มีความรู้ครับ มีคนอธิบายฝ่ายเดียวยังงง มี 2 ฝ่ายแถมข้อมูลตีกัน ยิ่งไปกันใหญ่ สุดท้ายเชื่อที่ คนของฝ่ายไหน ไม่ได้วิแคะเหตุผล

 

2. ชาวบ้านไม่มีความรู้และมีนิสัยไม่ตื่นตัวหาความจริง เชื่อคน ไม่เชื่อเหตุผล ต้องแก้ที่ชาวบ้านครับ จะไปแก้ที่ปู่ก่อนได้ยังไง อะไรดีอะไรไม่ดียังไม่รู้ แก้ให้ถูกไปแล้ว หรือ มันถูกอยู่แล้ว เขาก็ยังคิดว่าผิด ปัญหาไม่จบครับ

 

เหตุของปัญหา อยู่ที่ คน ครับ ไม่ได้อยู่ที่ปัญหา ถ้าคนเข้าใจ ปัญหาอย่างที่คุณหมีน้ำว่าก็ลดลง ปัญหาแตกแยกก็ลดลง ปัญหาปู่เองก็ลดลง

 

**เพิ่มเติมครับ

สำหรับเรื่องที่ซับซ้อน น่าจะมีองค์กรนักวิจัยอย่างทีดีอาร์ไอหลายๆ องค์กรทำหน้าที่ด้านนี้ สรุปข้อมูลให้ง่ายพอที่ประชาชนเข้าใจ+เชื่อถือได้

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
ผมไม่เห็นด้วยนะครับกับส่วนที่บอกว่าน้ำมันแพงเพราะ ปตท. ยิ่งถ้าไม่แปรรูปต้องถามว่าเราพอใจกับปั้มน้ำมัน "สามทหาร" ก่อนที่จะมาเป็น ปตท หรือไม่ ถ้าเรายังใช้ปั้มสามทหารไม่เพียงว่าเราจะได้ใช้น้ำมันราคาตลาดโลก แต่เรายังต้องแบกหนี้แถมไปด้วยนะครับ จะยินดีเอาภาษีไปแบกหนี้กันมั้ยครับ ดู ขสมก. สิครับไม่เห็นมีใครไปทวงคืนเลย

 

ไม่มีใครเข้ามาเลยแฮะ วิแคะต่อ หนุกๆ

 

เรื่องการเปรียบเทียบนี่คงไม่ใช่ประเด็นนะครับ

รัฐวิสากิจที่มีดีๆ ก็มีเช่น กฟน. กฟผ.

บมจ.แปรรูปแย่ๆ ก็มีเช่น การบินไทย

มันอยู่ที่กิจการและการบริหารมากกว่า

 

ส่วนเรื่องซื้อหุ้นนี่ หลัง ptt เข้าตลาด ราคาก็ต่ำกว่าจองตั้งปี ใครจะซื้อตอนนั้นก็ได้ ไม่มีปัญหา

ประเด็นจึงไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ

มันอยู่ที่แม้คลังจะถือหุ้นใหญ่ แต่อีกครึ่งก็เป็นของกองทุนต่างๆ +เอกชน ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรตามระบบทุนฯ

แต่ข้อเท็จจริง คือ คนที่จะมีโอกาสลงทุนหุ้นได้จะมีกี่ % แต่คนที่ใช้พลังงานมีทั้งประเทศ คนที่ได้รับผลกระทบมีทั้งประเทศ คนที่ได้ปันผล+กำไร มีกี่%

ลักษณะกิจการที่เป็นการขัดกันของผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นกับคนที่ใช้พลังงาน จึงเกิดปัญหาว่า เป้าหมายการบริหาร คือ อะไร

กำไร หรือ ประโยชน์ผู้ที่ใช้พลังงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Jimmy Siri

 

 

 

คำถาม : จากคลิปล่าสุดของลุงลิลด์ซี่ เค้าพยามบอกอะไรครับที่จะเกิดขึ้นก่อน jan 2014

 

ผมฟังแล้วเข้าใจว่ามี 3 เหตุการณ์ 3 ช่วงเวลา คือ 1.Total collapse = Bank close =lose everything จะเกิดขึ้นหลัง affordable health care bill มีการนำมาใช้อย่างสมบูรณ์ คืออีกประมาณ 1 ปี Jan 2015 เราจะมีเวลาอย่างน้อย 1 - 1.5ปี

 

2.ภายใน 90 วัน Currency Reset โดย World Bank, IMF น่าจะออกมาเป็น Currency backed by asset น่าจะหมายถึงภาคการผลิตจริง บวก Commodity ตัวหลักๆ

 

- หลังการ Currency Reset จะมี Confiscate pension Fund อาจะรวมถึง Fund ตัวอื่นๆ - $ เสียสถานะ Global currency reserves ค่อยอ่อนตัว 30% จากปัจจุบัน

 

แต่ก่อน Jan 2014 มันไม่มีรายละเอียดอะไรเลย แต่เหมือนพยามจะบอกอะไรซักอย่าง แต่ไม่พูดออกมา หรือว่าผมเข้าใจอะไรผิด

 

คำตอบ : ก็คือนับจากนี้ไปภายใน 90 วันครับ ที่ IMF อาจจะประกาศ GCR จะเป็นวันไหนก็ได้ แล้วผลกระทบในด้านต่างๆก็จะตามมาติดๆ โดยเฉพาะในอเมริกาจะรุนแรงสุด ทีนี้ที่น่าคิดคือเงินสกุลใหม่ที่จะเกิดขึ้น ดูเหมือนลุงลินด์ซี่ไบ้ให้ว่าจะเป็น "???" หรือเปล่า จากประโยคที่ว่าแกบอกไม่ได้ ถ้าแกบอกจะการเป็นการขายชาติ ผมจึงคิดว่าเป็นอาจจะเป็นการขายดอลล่าซื้อ??? ซึ่งก็คือการเก็งกำไรค่าเงินจากการล้มของดอลล่านั่นเองครับ

 

 

 

1459191_10201864240440832_609444519_n.jpg


  •  
     
     
     
     
    Jimmy Siri จะ ยังคงเป็นระบบเงินคู่ขนานครับ คือเงินสกุลท้องถิ่นแต่ละประเทศก็คงอยู่ แต่เงินสกุลกลางจะเหลือสกุลเดียว ยกเลิกระบบตระกร้าทิ้งไป ดอลล่าถูกถอด เสียสถานะไป ที่นี้ปัญหาก็จะอยู่ที่การ Revalue หรือการปรับค่าเงินกันใหม่พร้อมกัน "ทั่วโลก" ตรงนี้แหละที่จะมีการได้เสียมหาศาล
    18 ชั่วโมงที่แล้ว · ถูกใจ · 10

  •  
    1119449_1627812435_1001684384_q.jpg
     
     
     
     
    Jimmy Siri เพราะ การ Revalue หรือการปรับค่าเงินของแต่ละสกุลจะเป็นไปตามที่โพสต์ไว้ด้านบนสุด คือ กลับเข้าสู่ Gold Standard และ asset back ทีนี้ก็ไปลุ้นกันตัวโกร่งว่ามันคืออะไร จะยังไง แล้ว loss จากการเสื่อมสลายของดอลล่าจะออกมาในรูปไหน หรือส่งผลอย่างไรกับเงินท้องถิ่นแต่ละสกุล และคาดว่าทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การ collapse ของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกในที่สุด คือการล้มในหลายๆประเทศในลักษณะของโดมิโน่ โดยมีจุดเริ่มต้นจากตรงนี้ ดูตามคลิปไล่ไปเรื่อยๆครับ มันมีรายละเอียดอีกมากที่จะตามออกมา
    9 ชั่วโมงที่แล้ว · ที่ถูกแก้ไข · ถูกใจ · 11

  •  
    1119449_1627812435_1001684384_q.jpg
     
     
     
     
    Jimmy Siri Dinar Recaps จะเป็นบล๊อคที่ป๊อปที่สุด สำหรับกลุ่มคนอเมริกันที่สนใจลงทุนในเงินสกุลดินาร์ของอิรัค โดยเฉพาะกลุ่มทหารอเมริกันที่ผ่านสงครามอิรัคมาจะใช้ข้อมูลจากบล๊อกนี้เป็น หลัก รวมทั้งอินไซด์ข้อมููลของกลุ่มโลหะมีค่าทั้งทองคำและเงิน
    http://www.dinarrecaps.com/

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไม่มีใครเข้ามาเลยแฮะ วิแคะต่อ หนุกๆ

 

เรื่องการเปรียบเทียบนี่คงไม่ใช่ประเด็นนะครับ

รัฐวิสากิจที่มีดีๆ ก็มีเช่น กฟน. กฟผ.

บมจ.แปรรูปแย่ๆ ก็มีเช่น การบินไทย

มันอยู่ที่กิจการและการบริหารมากกว่า

 

ส่วนเรื่องซื้อหุ้นนี่ หลัง ptt เข้าตลาด ราคาก็ต่ำกว่าจองตั้งปี ใครจะซื้อตอนนั้นก็ได้ ไม่มีปัญหา

ประเด็นจึงไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ

มันอยู่ที่แม้คลังจะถือหุ้นใหญ่ แต่อีกครึ่งก็เป็นของกองทุนต่างๆ +เอกชน ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรตามระบบทุนฯ

แต่ ข้อเท็จจริง คือ คนที่จะมีโอกาสลงทุนหุ้นได้จะมีกี่ % แต่คนที่ใช้พลังงานมีทั้งประเทศ คนที่ได้รับผลกระทบมีทั้งประเทศ คนที่ได้ปันผล+กำไร มีกี่%

ลักษณะกิจการที่เป็นการขัดกันของผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นกับคนที่ใช้พลังงาน จึงเกิดปัญหาว่า เป้าหมายการบริหาร คือ อะไร

กำไร หรือ ประโยชน์ผู้ที่ใช้พลังงาน

 

จริงๆ ผมมองว่าทุกรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาก็มาจากการบริหารทั้งหมดแหละครับ

 

กฟฝ. ต้องให้เครดิตคนวางรากฐานครับ ถ้าจำไม่ผิดเป็นคนเยอรมันเชื่อหรือไม่ครับ เมื่อก่อนเราเคยใช้ไฟ 110v ด้วยนะครับ แต่ตอนหลังเราถึงมาเปลี่ยนเป็น 220v ภายหลัง(เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอย่าคิดมากครับ) กฟผ ถูกวางรากฐานโดยฝรั่ง เป็นรัฐวิสาหกิจที่เริ่มงานเช้าที่สุด รู้สึกว่าเริ่มงาน 07.30 เนี่ยแหละ ถ้าจำไม่ผิดนะครับเนื่องจากเคยอ่านมานานแล้วอาจมีผิดพลาดบ้าง ซึ่งถ้าทำงานดีอยู่แล้วก็ปล่อยเค้าบริหารไปเถอะครับ

 

กลับมาว่าทำไม การแปลรูปถึงจำเป็น การแปลรูปจะใช้กับรัฐวิสาหกิจที่ร่อแร่ๆ ครับ ไม่งั้นรัฐแบบหนี้กันตายเลย ยังมีคนรุ่นเก่าอีกหลายคนที่ยังคิดว่ารัฐวิสาหกิจขาดทุนได้แต่ต้องบริการ ประชาชน แต่แนวคิดนั้นก็เป็นแบบยุโรปอย่างที่เห็นครับ การกุศลมากจนประเทศแทบสิ้นเนื้อประดาตัว แล้วพอจ่ายถูกแบบเมื่อก่อนไม่ได้ จะปรับเป็นราคาปรกติก็โดนกลายเป็นหน้าที่ไปเสียแล้ว

 

ความจริงคือรัฐวิสาหกิจต้องอยู่ได้ด้วยตัวเองครับ และให้ราคาในบริการที่สมเหตุสมผล

 

หลายส่วนจึงต้องแปรรูปครับ

 

เทียบ แอบเปิลต่อแอปเปิล ไปรษณีย์ของอังกฤษตอนนี้เป็นหนี้จนแทบจะบริหารงานไม่ได้แล้ว และไปรษณีย์บ้านเราก็ไม่ต่างกัน แต่โชคดีว่าไปรษณีย์บ้านเราไม่ใช่เป้าการเมืองชิงแปรรูปก่อน เจาะตลาดในเรื่องการส่งพัสดุด่วนจนกลายเป็นว่าล่าสุดไปรษณีย์ไทยได้กำไรกว่า 6000 ล้านบาท กลายเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้กำไร ไม่ดีหรอครับ

ผลพลอยได้จาก การแปรรูปคือเราได้ใช้บริการไปรษณีย์ที่ไดีขึ้นมากๆๆๆๆ ส่งวันนี้ พรุ่งนี้บ่ายถึง แถมตามสถาณะพัสดุได้ด้วยเหล่านี้ก็เป็นผลมาจากการแปลรูปครับ ส่วนอังกฤษก็นะขาดทุนต่อไปปิดสาขาไปเป็นพันๆ แห่งส่วนเราเปิดเอาๆ

 

ปตท เองต้นกำเนิดเป็นรัฐวิสาหกิจทหาร ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปสมัยปั้มสามทหารครับ การบริหารเป็นอย่างไรบ้าง อย่างพึ่งมองแต่เฉพาะตอนที่เขาทำสำเร็จแล้ว มีใครจำได้บ้างว่าเคยเติมปั้มสามทหารกันบ้าง ด้วยบริการสุดประทับใจ "ฉานไปเติมเอสโซ่ดีกว่า" แล้วถามว่าปั้มน้ำมันตอนนั้นที่ส่วนแบ่งการตลาดไม่มีเจ้าไหนครองโดยเด็จขาด มีใครคุมราคาน้ำมันได้บ้างครับ คำตอบคือ "ไม่มี"

 

ซึ่งหลัง ปตท แปลรูปแล้วกลายเป็นเจ้าตลาดหลักครองอำนาจในการตัดสินในราคาน้ำมันในประเทศ นั่นแหละครับคือประโยชน์ที่ทุกคนได้รับโดยไม่รู้ตัว

 

ตอนนี้เรากำลัง มองกันว่าแปรรูปแล้วเราไม่เห็นได้ใช้พลังงานราคาถูกเลย ซึ่งตรงนั้นผมมองว่าผิดนะครับ ถ้าเราใช้พลังงานราคาถูกแล้วถามว่าเราเอาเงินที่ไหนมาชดเชยส่วนที่เหายไปละ ก็ภาษีเราๆ ดีๆ นี่เอง เพราะว่าในโลกนี้ไม่มีของฟรีแล้วเราก็จะเจ้งแบบรัฐสวัสดิการยุโรปอีกตามเคย

 

เรื่องหุ้นก็เช่นกัน ถามว่า "คนที่จะมีโอกาสลงทุนหุ้นได้จะมีกี่ % แต่คนที่ใช้พลังงานมีทั้งประเทศ"

- ซึ่งประเด็นนี้ผมว่าไม่ค่อยถูกนะครับ หุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้น ทุกคนมีสิทธิ์ซื้อเท่ากันเพียงแต่จะซื้อหรือไม่ตางหากครับ เช่นเดียวกับน้ำมัน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเติมเท่ากันแล้วแต่ว่าใครจะเติมหรือไม่ครับ ก็คือทุกคนมีโอกาศเท่ากันแหละครับ แต่ว่าจะคว้าไว้เองหรือเปล่า แล้วพอพลาดไม่ได้คว้าช่วงโอกาศทองเมื่อมองย้อนกลับไป ก็รู้สึกเสียดายแล้วก็เป็นธรรมดาที่ต้องหาแพะ แบะๆ ครับ ก็ลงมาสู่การโทษการแปลรูปแต่ลืมไปว่าถ้าไม่แปรรูป หนี้อีกมากมายที่จะมาแทนกำไรนะครับ ก็จะกลายเป็นว่าทุกคนจะต้องช่วยกันแบกหนี้แทนกำไรที่ทุกคนจ้องอยากแชร์ และยังต้องปั้มแสนยากเพราะไม่มีทุนมาขยายสาขา อดใช้การบริการคุณภาพห้องน้ำสะอาดๆ แบบปัจจุบัน

 

:D

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประวัติความเป็นมา

http://www.egat.co.t...d=11&Itemid=152

 

http://maemoh.egat.c...content=history

 

ซึ่งถ้าทำงานดีอยู่แล้วก็ปล่อยเค้าบริหารไปเถอะครับ กลับมาว่าทำไมการแปลรูปถึงจำเป็น การแปลรูปจะใช้กับรัฐวิสาหกิจที่ร่อแร่ๆ ครับ

 

กฟผ. ไม่ใช่ไม่เคยแปรรูปนะครับ

 

...สามารถแปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ได้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2548 และกำหนดขายหุ้นในตลาดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2548 ...จนกระทั่งศาลปกครองมีคำสั่งให้ระงับขายหุ้น กฟผ. ชั่วคราวเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 หนึ่งวันก่อนวันเปิดให้ประชาชนจองซื้อหุ้น และมีคำสั่งยกเลิก พ.ร.ฎ. 2 ฉบับ...

 

ก็เพราะเหตุนี้แหละครับที่คนเขาถึงไม่เชื่อถือคำอธิบายของฝ่ายแปรรูป ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม

 

http://www.nidambe11...06march31p8.htm

 

หุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้น ทุกคนมีสิทธิ์ซื้อเท่ากันเพียงแต่จะซื้อหรือไม่ตางหากครับ เช่นเดียวกับน้ำมัน ทึกคนมีสิทธิ์ที่จะเติมเท่ากันแล้วแต่ว่าใครจะเติมหรือไม่ครับ ก็คือทุกคนมีโอกาศเท่ากันแหละครับ แต่ว่าจะคว้าไว้เองหรือเปล่า แล้วพอพลาดไม่ได้คว้าช่วงโอกาศทองเมื่อมองย้อนกลับไป ก็รู้สึกเสียดายแล้วก็เป็นธรรมดาที่ต้องหาแพะ แบะๆ ครับ

 

ผู้เติมน้ำมัน กับ ผู้ที่ใช้พลังงาน ไม่เหมือนกันครับ

ผู้ที่ไม่ได้เติมน้ำมันแต่เป็นผู้บริโภคก็มีโอกาสได้รับผลกระทบจากพลังงานในขั้นทุติย ตติยะ อีกหลายต่อ เพราะพลังงาน ต้องมองในเชิงต้นทุนครับ มิใช่มองในแง่เครื่องอุปโภคบริโภคด้านเดียว จึงไม่ใช่เรื่องใครโทษใคร หรือ อิจฉาใคร อย่างเดียวเท่านั้น

 

ส่วนเรื่องปั๊มน้ำมันสามทหารที่คุณลีโอว่านั้นทำให้ผมสนใจ (เพราะผมสนใจของเก่าๆ) ว่างๆ จะสืบค้นดูหน่อย

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

...สามารถแปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ได้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2548 และกำหนดขายหุ้นในตลาดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2548 ...จนกระทั่งศาลปกครองมีคำสั่งให้ระงับขายหุ้น กฟผ. ชั่วคราวเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 หนึ่งวันก่อนวันเปิดให้ประชาชนจองซื้อหุ้น และมีคำสั่งยกเลิก พ.ร.ฎ. 2 ฉบับ...

 

อ้อใช่ๆ จริงด้วยเคยมีอยู่หน้านึงในประวัติศาสตร์เหมือนกันที่มีบางคนพยายามเอามาแปลรูป ลืมไปเลยครับ ฮ่าๆ

 

ผู้เติมน้ำมัน กับ ผู้ที่ใช้พลังงาน ไม่เหมือนกันครับ

ผู้ ที่ไม่ได้เติมน้ำมันแต่เป็นผู้บริโภคก็มีโอกาสได้รับผลกระทบจากพลังงานใน ขั้นทุติย ตติยะ อีกหลายต่อ เพราะพลังงาน ต้องมองในเชิงต้นทุนครับ มิใช่มองในแง่เครื่องอุปโภคบริโภคด้านเดียว จึงไม่ใช่เรื่องใครโทษใคร หรือ อิจฉาใคร อย่างเดียวเท่านั้น

 

ส่วนเรื่องปั๊มน้ำมันสามทหารที่คุณลีโอว่านั้นทำให้ผมสนใจ (เพราะผมสนใจของเก่าๆ) ว่างๆ จะสืบค้นดูหน่อย

 

เอ๋ แต่ถ้าจำไม่ผิดพลังงานที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรม กับที่เติมรถมันคนละราคากันนะครับ

ซึ่งก็อีกนั่นแหละ ตัวทีทำให้แพงก็ภาษีอีกเช่นเคย ผมจึงมองว่าแปลรูปไม่แปลรูปก็ไม่เกี่ยวกันอยู่ดี

556000009436002.JPEG

พอดีเจอรูป LPG เลยเอามาใช้ก่อน

 

แต่ผมแยกมาพูดถึงเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเติมรถยนต์ครับ ซึ่งส่วนนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาเพราะว่ามันใกล้ตัว

รวมถึงใครได้ประโยชน์จากหุ้นด้วย ซึ่งผมเข้าใจว่าที่เขาขายให้คนในองค์กรก่อน น่าจะเป็นแนวคิดของการสร้างความรักองค์กรให้กับบุคลากรครับ

ซึงทางฝ่ายบริหารบุคคลอาจมองว่าพนังงานที่ทำงานในองค์กรเป็นเจ้าขององค์กรที่ใกล้ชิดที่สุด ขั้นต่อมาก็ถึงค่อยเป็นประชาชนทั่วไปครับ

ตามฝ่ายพัฒนาบุคลากรของรัฐวิสาหกิจมักมีแนวคิดเกี่ยวกับการละลายพฤติกรรมให้รักองค์กรครับ แต่อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

แต่ตอนนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาก ผมยังจำอารมณ์ความอิจฉาในช่วงนั้นได้ดีเลยครับ แล้วสุดท้ายก็มีนิยายต่างๆ นาๆ เกี่ยวกับผลประโยชน์ออกมา

ซึ่งพอถามว่าเอาแหล่งข้อมูลมาจากไหนส่วนใหญ่ก็......เชื่อสิ มันต้องมี....ป้าด ไปต่อไม่ถูกเลย

 

ส่วนนักการเมืองที่แฝงอยู่ในรูปนักการเมืองอันนั้นไม่สันทัดครับ ทราบแต่ว่าคลังถือหุ้น 51%

ผมยังถือว่ายังเป็นรัฐวิสาหกิจ ตาม พรบ ที่ยังเป็นของหลวงครับ

ถ้ามีข้อมูลเรื่องกองทุนแฝงนี่รบกวนด้วยครับ

 

 

ของฝากครับ ปั้มสามทหาร.....ในตำนาน

2549.jpg

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
รวมถึงใครได้ประโยชน์จากหุ้นด้วย ซึ่งผมเข้าใจว่าที่เขาขายให้คนในองค์กรก่อน น่าจะเป็นแนวคิดของการสร้างความรักองค์กรให้กับบุคลากรครับ

ซึงทางฝ่ายบริหารบุคคลอาจมองว่าพนังงานที่ทำงานในองค์กรเป็นเจ้าขององค์กรที่ใกล้ชิดที่สุด ขั้นต่อมาก็ถึงค่อยเป็นประชาชนทั่วไปครับ

 

ตอนนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาก ผมยังจำอารมณ์ความอิจฉาในช่วงนั้นได้ดีเลยครับ แล้วสุดท้ายก็มีนิยายต่างๆ นาๆ ออกมาซึ่งพอถามว่าเอาแหล่งข้อมูลมาจากไหนส่วนใหญ่ก็......เชื่อสิ มันต้องมี....ป้าด ไปต่อไม่ถูกเลย

เรื่องนี้คงฝังใจคุณลีโอเรื่องความอิจฉาสินะครับ แต่ตัดไปเถอะครับ เพราะอย่างที่บอก ว่าต่อมา หุ้นมันก็ราคาต่ำกว่าจอง ไม่มีประเด็นต้องมาพูดถึงอีกนะครับ

 

ปัญหา ปตท. ในมุมมองผม ขอจบสั้นๆ อย่างที่เขียนไว้เรื่อง กฟผ.นะครับ

 

...ก็เพราะเหตุนี้แหละครับที่คนเขาถึงไม่เชื่อถือคำอธิบายของฝ่ายแปรรูป ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม...

 

และมันก็น่าแปลกนะครับ ในทางธุรกิจ เครดิตนี้สำคัญมาก ในบางธุรกิจเครดิตเสียไปนี่ถึงกับเจ๊ง เช่น ธุรกิจแบงค์

และผู้ที่อยากแปรรูป ถ้าเก่งทางธุรกิจจริง ทำไมถึงไม่รักษาเครดิตของตน หรือไม่ได้เก่งจริง หรือ ถูกอะไรบังตา ทำให้คนเชื่อถือไม่ได้ซักที

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปัญหา ปตท. ในมุมมองผม ขอจบสั้นๆ อย่างที่เขียนไว้เรื่อง กฟผ.นะครับ

...ก็เพราะเหตุนี้แหละครับที่คนเขาถึงไม่เชื่อถือคำอธิบายของฝ่ายแปรรูป ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม...

 

ฮ่าๆ กฟผ. นี่ลึกๆ ระดับที่ไปที่มาผมไม่กล้าออกความเห็นเหมือนกันครับ เพราะตอนนี้ยังไม่มีเพื่อนที่สนิดๆ จริงๆ ข้างภายในเท่าไหร่

สนิดแต่พวกปู่ๆ ที่เป็นปรึกษาที่ทำงานด้วย

แต่ก็ท่าจะจริงครับ ทุกคนฝั่งใจกับเหตุการณ์ กฟผ. มากจนเป็นภาพลบกับการแปรรูปไปแล้ว

 

แต่รัฐวิสาหกิจตอนนี้หลายหน่วยงานก็เริ่มพยายามทำการ "แปรรูปแบบซ่อนรูป" กันเยอะมากครับ ในรูปแบบ "บริษัทลูก"

เพราะทุกหน่วยงานก็พยายามบริหารงานให้ได้กำไรครับ เช่น รฟม. ก็จับมือกับการเคหะเซ็น MOU ตั้ง บริษัทลูกเพราะ

ตอนนี้สร้างรถไฟฟ้าที่ไหนโครงการยังไม่ทันเซ็นเลย เอกชนก็ไปซื้อที่หมดแล้ว รัฐวิสาหกิจยังไงก็ไม่ทันเอกชนครับ

 

หุ้นถึงราคาจะต่ำกว่าจองแต่ก็ยังมีคนตามกัดไม่เลิกอยู่เลยครับ เมือวานก็ยังพึ่งเจอมา.... (=_=") มันต้องมีหุ้นในนั้นแน่ๆ

แต่ภรรเมียของพานทองแท้ รู้สึกว่าจะอยู่ใน ปตท นะ :D ไม่รู้จริงมั้ยเห็นเพื่อนผมพึ่งเล่าให้ฟังสดๆ เมื่อเดือนก่อนนี่เอง

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปแล้วคือ ไม่ว่าจะวงการไหน ไม่ว่าจะอะไร ถ้า"หัว"ดีมันก็จะดียาวมาจนด้านล่าง

 

ส่วนกรณีการแปรรูปและเสนอขายในตลาดหลักทรัพย์นั้น ผมมองว่าสมัยก่อนตั้งแต่เริ่มแปรรูปหลายกิจการมันมี"ความไม่เท่าเทียมของการเข้าถึงและการให้ข้อมูล" เป็นตัวการทำให้ทุกคนมีโอกาสไม่เท่ากัน

 

ส่วนการอิจฉาที่ไม่ได้หุ้น ปตท. ผมก็ว่ามีครับ แต่อาจไม่เยอะและไม่อาจไม่ใช่ประเด็นหลัก (ฮา) ประเด็นคือ ป. ถูกเอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองจนเกินความจริง และก็พูดไม่ได้ว่าเป็นบริษัทที่ขาวซะจนสะอาดเลยไม่มีการตุกติกมุบมิบเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...