ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

เป็นสมาชิกเสียเงินแล้วเห็นว่ามีโปรแกรมโหลดราคาหุ้นลงเมตาสต็อกได้ฟรีครับ

 

ก่อนหน้านี้ไม่นาน เห็นมีคอร์สบิทคอยน์ ผมไม่ได้เรียน แต่จากที่ทราบ ลงพื้นฐานตั้งแต่ว่ามันทำงานอย่างไร ขุดอย่างไร จนอาบิกากหากำไรอย่างไรครับ (เงินคริปโตเลียนแบบบิทคอยน์มีเยอะมาก สามารถเอามาเทรด/ขุด กลับไปมาระหว่างชนิดได้) คุณลุงเชื่อว่าเงินดิจิตอล/คริปโตแบบนี้ จะไปได้อีกไกล... ส่วนทีมที่สอนพวกนี้ก็แน่นเหมือนกัน คือลูกแกจะเน้นเทคนิค(คอมพิวเตอร์) ส่วนลุงแกก็เน้นเทคนิค(เทรด)

 

เรื่องทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ ถ้ามีเวลาว่างๆ หาอ่านเองก็พอได้ครับ แต่เรียนกับคนที่ทำเป็นแล้ว ก็จะดีกว่านิด ตรงที่ว่ามีคนย่อยข้อมูลมาเป็นหลักสูตรให้แล้ว และสามารถถามได้

 

แต่ถ้าอยากรู้ว่าฟองสบู่ หรือจะปรับฐานอีกนานเท่าไหร่ ก็ต้องนับคลื่นดูครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝากเพจผมด้วยนะครับ เกี่ยวกับบิทคอยน์ และคอยน์ตัวอื่น ๆ

 

https://www.facebook.com/Tanwa.project

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลุงโฉลก สัมพันธารักษ์ ปรมาจารย์ด้านการลงทุน

 

ผู้บุกเบิกการลงทุนบิทคอยน์คนแรก ๆ ในประเทศไทย

 

http://www.youtube.com/watch?v=FydgxXhwd4Y

ถูกแก้ไข โดย tanwa1991

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรียนถามเพื่อนๆ ครับ

 

ไม่ทราบว่าในนี้มีใครเคยเป็นสมาชิกของเวป ชมรมฉโลก บ้างมั้ยครับ ไม่ทราบว่าพอเป็นสมาชิกแล้วมีอะไรพิเศษบ้างหรอครับ

 

พอดีว่ากำลังจะศึกษาเรื่อง Bitcoin ครับ กำลังสงสัยมากๆ ว่าตอนนี้มันสรุปว่าเป็นฟองสบู่หรือยัง พอมีใครมีข้อมูลบ้างมั้ยครับ

 

ฟองสบู่หรือยังอาจตอบลำบากครับ แต่ตอนนี้ตั้งท่าจะมี Derivative Bitcoin ออกมาให้ซื้อขายแล้วครับ ..

ถูกแก้ไข โดย หมีน้ำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:hh

ข่าวฝาก ...

 

 

- "ตลท.ปิ๊งไอเดีย ศึกษาใช้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นศูนย์ซื้อขายทองคำ นายกสมาคมทองคำค้านสุดลิ่ม"

 

- ตลท.กล่าวว่า "เราพิจารณาโมเดลจากหลายแห่ง เช่น แอฟรีิกา และต้องคิดหาโมเดลที่ทำให้ทุกคนไม่รู้สึกสูญเสีย เช่น การให้ร้านค้าทองเป็นโบรกฯ ซื้อขายทองคำ และจะต้องมีคัสโตเดียนดูแลด้วย"

 

- นายกสมาคมค้าทองคำกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยหากจะนำทองคำไปซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ แทนที่จะเป็นร้านค้าทองเหมือนปัจจุบัน เพราะจะทำให้นักลงทุนมีต้นทุนมากขึ้น และร้านค้าทองที่มีอยู่ทั่วประเทศ ๗,๐๐๐ แห่ง จะทำอย่างไรที่จะให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกแห่ง

 

- "ตอนนี้ร้านค้าทองมีการแข่งขันกันสูงอยู่แล้ว คิดค่าธรรมเนียมน้อยลง ได้กำไรนิดเดียว หากตลาดหลักทรัพย์จะมาแย่งอาชีพอีกก็แย่ โบรกฯเองก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องใบอนุญาต นักลงทุนต้องเสียค่าธรรมเนียมสองต่อ ต่อแรกผ่านโบรก ต่อสองผ่านตลาดหลักทรัพย์ ในอนาคต หากตลาดฯต้องการจะทำอะไร ขอให้มีการหารือกับสมาคมก่อนบังคับใช้" นายกสมาคมค้าทองคำกล่าว

 

- การซื้อขายทองคำในประเทศไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะ คงไม่สามารถนำโมเดลจากประเทศไหนมาใช้ได้ และการซื้อขายทองขณะนี้ ร้านค้าดูแลเรื่องความเสี่ยงได้

 

- สมาคมฯ เคยหารือกับหน่วยงานของรัฐ เรื่องการจัดตั้งศูนย์ซื้อขายทองคำในไทย โดยขอให้ยกเว้นภาษี และมีการแก้ไขกฏหมายให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ แต่ไม่สำเร็จ จึงทำให้ร้านค้าทองรายใหญ่ที่ต้องการนำเข้าส่งออกไปใช้บริการที่สิงคโปร์แทน ทั้งๆที่ไทยมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าสิงคโปร์และฮ่องกง เช่น การเป็นผู้ส่งออกทองรายใหญ่ในเอเชีย

 

--- โพสท์ทูเดย์ ๑๖ ธ.ค. ๒๕๕๖ หน้า บี๕

 

* * * * * * *

 

wcg แซะข่าว

 

- "ไทยแลนด์โมเดล" มันเป็นอะไรไป ทำไมถึงต้องดิ้นรนหาโมเดลอื่นๆมาใช้งาน?! ผมเชื่อในแนวคิดที่ว่า "ถ้ามันไม่พัง ก็ไม่ต้องไปซ่อมมัน" นะ

- ที่บอกว่าหา "โมเดลที่ทำให้ทุกคนไม่รู้สึกสูญเสีย" ดูจากโมเดลใหม่แล้ว คนที่รู้สึกสูญเสียน่าจะเป็น ตลท. มากกว่า คนอื่นเขาอยู่ได้อยู่แล้ว มีคุณเสียอยู่คนเดียว แล้วก็จะมาเรียกเก็บค่าคุ้มครองเขา

 

http://www.youtube.com/watch?v=Wz9smfqrSDY

 

พิมพร : สมาคมฯ

ว่าน/มาเฟีย/โบเต๋ : ตลท.

 

:uu

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลท. จะเก็บค่าต๋งนั่นล่ะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แหม่ ถ้าบ้านเรามีสื่อที่กระทุ้งแรงๆได้แบบไม่โดนตีหัวกลับนี่น่าจะสนุก

 

นึกถึง "นิวส์สปีค" ของ ๑๙๘๔ มากๆเลยครับ

 

งานนี้เอาใจท่านนายกฯสุดตัว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://armstrongecon...c-cycle-update/

 

มาร์ติน อาร์มสตรอง บอกว่า...

  • แนวต้านหลักอยู่ที่ ๑๓๐๑.๓๐ (และยังมีแนวต้านรองอยู่ในช่วง ๑๒๙๔-๑๒๙๖ อีก)
  • ต้องรอให้ปิดเหนือ ๑๒๔๓ (รายสัปดาห์?) ถึงจะมีโอกาสราคาขึ้นในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้

* * * *

 

http://www.zerohedge...ous-metals-rise

 

บิทคอยน์ โดนทุบหนัก หลังจากที่ธ.กลางจีน ประกาศให้บริษัทรับ/ส่ง เงินต่างๆ ห้ามทำธุรกรรมให้กับธุรกิจที่รับบิทคอยน์

 

ณ ตอนนี้ ราคาบิทคอยน์ในตลาดของจีน อยู่ที่ ๖๐๙ เหรียญลุงแซม ในขณะที่ญี่ปุ่น (ก็อกซ์) อยู่ที่ ๗๐๖ เหรียญลุงแซม

เปิดช่องให้อาบิกากกันอีกครั้ง (คราวที่แล้ว ราคาตลาดจีนแพงกว่าเพื่อน)

 

ตราบใดก็ตามที่บิทคอยน์ยังไม่ถึงจุดมวลวิกฤต ความเชื่อมั่นของบิทคอยน์จะถูกทำลายได้โดยง่าย เพียงแค่ให้มีรัฐบานขัดขา (แบบในกรณีจีน) และในทางตรงกันข้าม ก็ถูกสร้างความเชื่อมั่นได้ง่ายๆเช่นกัน หากมีรัฐบานมีการยอมรับ (เช่น กรณีที่โป๊งเหน่งพูดว่า เงินดิจิตอล มีความเป็นไปได้)

 

หากราคายัง "ปรับฐาน" แบบนี้ต่อไป อุปกรณ์ขุด น่าจะราคาลดลง ใครที่สนใจ อาจจะเข้ามารับมีดได้ในช่วงนี้ :D

 

* * * *

 

https://bittiraha.fi...coin-atm-here-0

 

มาดูตู้เอทีเอ็ม บิทคอยน์ แห่งแรกในยุโรปกันครับ

 

จากแหล่งข่าว ยังไม่ค่อยมีรายละเอียดมากนัก ไม่แน่ใจว่า ฝาก/ถอน ได้อย่างเดียว หรือได้ทั้งสองอย่าง

 

post-2564-0-43761100-1387286199_thumb.jpg

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Seam Arsenalการลงทุนด้วยระบบ

ประมาณ 1 นาทีที่แล้ว

 

GC ขาลงครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=657447564301827&set=gm.599111173477485&type=1&theater

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อย่างนี้ถือว่าข่าวออกมาแล้ว ควรจะ buy on fact ได้ไหมครับเนี่ย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Seam Arsenalการลงทุนด้วยระบบ II

11 ชั่วโมงที่แล้ว

 

GC ขาลง รับต่อไปที่ 1180$ คงจะลงมาหา 1130$ ในที่สุด

1472057_658229227556994_74861009_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์กระแสเงินทุนหลังเฟดลดคิวอี

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านฆ่าเวลาตอนทองลง ไปดูทองคำดำแทนกันไปพลางๆ ครับ

 

เห็นหน้าสนใจเลยเอามาฝากครับ

 

ตัวเลขค่อนข้างเยอะทีเดียวเผื่อมีท่านใดสนใจครับ

 

มีเรื่องความเสี่ยงในการขุดหาน้ำมันด้วย อันนี้ความรู้ใหม่สำหรับผมเลย

 

แต่เม้นตอบจากกระทู้ที่มานี่อิงการเมืองซะเยอะอย่าไปสนใจเลยครับ เอาเฉพาะข้อมูลก็พอ

 

อ้างอิง - http://pantip.com/topic/31409717

 

ทำไมถึงต้องเปิดสัมปทานบ่อน้ำมัน

 

การกำหนดราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ข้าว น้ำมัน ผัก และผลไม้ มักจะตั้งราคาสินค้าโดยอ้างอิงตลาดใหญ่ๆ ที่มีปริมาณการซื้อขายสูง สำหรับราคาน้ำมันในประเทศไทยจะอ้างอิงจากตลาดสิงคโปร์ เพราะเป็นศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันโลกที่อยู่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุด รวมทั้งสิงคโปร์ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานตัวแทนบริษัทน้ำมันรายใหญ่ ทั่วโลกกว่า 300 บริษัท และมีปริมาณการซื้อขายสูงเช่นเดียวกับตลาดในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ยากต่อการปั่นราคาโดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันอ้างอิงที่ตลาดสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาที่โรงกลั่นในสิงคโปร์ประกาศ ขึ้นมาเอง แต่เป็นตัวเลขราคาที่ผู้ค้าน้ำมันจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าไปตกลงซื้อขายผ่านตลาดกลางสิงคโปร์ ซึ่งราคาดังกล่าวจะสะท้อนจากอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันในภูมิภาคเอเชีย โดยมี Platts เป็นองค์กรที่รวบรวมข้อมูลการซื้อขายน้ำมันแล้วนำมาประเมิน เพื่อประกาศราคาอ้างอิงของตลาดในแต่ละวัน อย่างไรก็ดี หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไม่ได้อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ จะทำให้เกิดความไม่สมดุลในการผลิตและการจัดหาในประเทศ เพราะเมื่อใดก็ตาม ที่ไทยตั้งราคาน้ำมันเองต่ำกว่าราคาที่ตลาดสิงคโปร์ จะทำให้โรงกลั่นในประเทศส่งออกน้ำมันไปขาย เนื่องจากได้ราคาสูงกว่า ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันในประเทศได้ ในทางกลับกัน หากโรงกลั่นตั้งราคาน้ำมันสูงกว่าที่ตลาดสิงคโปร์ บริษัทน้ำมันก็หันไปนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์แทน เพราะมีราคาที่ถูกกว่า ทั้งสองกรณีจะทำให้เกิดการนำเข้าและส่งออกโดยไม่จำเป็น ทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งวิธีการกำหนดราคาโดยการอ้างอิงราคาสิงคโปร์นั้น เป็นวิธีการปฏิบัติสากลที่ใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันทั่วโลก

1387510288-o.jpg

 

 

ส่วนต่อมาไหนๆ เราก้ออ้างอิงราคาต่างประเทศแล้ว ทำไมเราไม่นำเข้ามาเองทั้งหมดเลยหล่ะ ปิดบ่อ ยกเลิกสัมปทานไปซะ

 

ในยุคแรกของการสำรวจปิโตรเลียม ราวๆปี 2460 รัฐบาลไทยดำเนินการสำรวจและเจาะสำรวจไปหลายหลุมก็ไม่พบปิโตรเลียม ดังนั้น หากเราเอาเงินงบประมาณแผ่นดินไปสำรวจหาปิโตรเลียมก็อาจมีความเสี่ยงที่จะสูญ เสียเงินรัฐไปโดยเปล่าประโยชน์ และสุ่มเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังของประเทศ การสำรวจปิโตรเลียมใช่ว่าจะเจาะสำรวจเพียง 1 หลุม แล้วจะเจอปิโตรเลียมเลย เราจำเป็นจะต้องทดลองเจาะหลาย ๆ หลุม เพื่อดูบริเวณใกล้เคียงว่ามีแนวโน้มจะพบปิโตรเลียมหรือไม่รัฐสำรวจเอง ตั้งแต่ ครับ แล้วมายอมแพ้ปี 2514 คิดดูครับ กว่า 54 ปี แต่ไม่สามารถค้นพบแหล่งได้ จึงเปิดเป็นสัมปทานให้เอกชนทำแทน แล้วมาขอส่วนแบ่งโดยไม่ต้องลงทุนเองแทน ทำให้ภาครัฐไม่ต้องลงทุน กับความเสี่ยงในการสำรวจ

1387511663-o.jpg

 

1387513973-o.jpg

 

จากการเปิดสัมปทานที่ผ่านมา 20 ครั้ง ให้สัมปทานไปแล้ว 108 ฉบับ จำนวน 155 แปลง และนับถึงปี 2555 มีเพียง 53 สัมปทาน 67 แปลงเท่านั้นที่ดำเนินงานอยู่ เพราะบางแหล่งสัมปทานสำรวจไม่พบปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานจะต้องคืนพื้นที่สัมปทานให้แก่รัฐ

เงินลงทุนในแปลงที่สำรวจไม่พบจึงสูญเปล่า แต่รัฐยังได้ข้อมูลการสำรวจจากผู้รับสัมปทาน ซึ่งรัฐไม่ได้ร่วมลงทุนรับความเสี่ยงนี้ด้วยเลย และสัมปทานที่คืนมาก็สามารถนำมาเปิดสัมปทานใหม่ได้

ตั้งแต่ปี 2514 ถึงสิงหาคม 2556 มีการคืนสัมปทานมาแล้ว 88 แปลงสำรวจ และตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา มีผู้รับสัมปทาน 32 แปลงสำรวจที่ไม่ประสบความสำเร็จและคืนสัมปทาน คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 9,372 ล้านบาท

1387511154-o.jpg

 

ประเทศไทยและคนไทยทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการให้สัมปทานปิโตรเลียมทั้งทาง ตรงและทางอ้อม เช่น รัฐไม่ต้องนำเงินงบประมาณมาลงทุนเอง เพราะธุรกิจด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีความเสี่ยงสูง แต่ยังได้รับข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศ ผลประโยชน์รายได้เข้าคลังแผ่นดิน ลดการนำเข้าพลังงาน ความมั่นคงทางพลังงาน ฯลฯ สำหรับประชาชนก็จะได้รับประโยชน์ได้โดยตรง เช่น การจ้างงาน กิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ฯลฯ

1387511782-o.jpg

 

 

รายได้รัฐจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

ในปี 2555 รัฐได้รับรายได้จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 161,930 ล้านบาท ประกอบด้วย

 

รายได้จากภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มากที่สุดเท่ากับ 81,780 ล้านบาท

ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม 60,250 ล้านบาท

รายได้จากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย 15,820 ล้านบาท

เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 4,080 ล้านบาท

 

1385700209-o.jpg

 

อย่าลืมว่าเงินภาษีจากภาครัฐที่ได้มาจากการงานด้านพลังงานปีนึงหลายพันล้าน หากหยุดและยกเลิกสัมปทาน เงินส่วนนี้ที่หายไปจะเอามาจากไหน?

1387511922-5766411441-o.jpg

 

ที่สำคัญ อย่าลืมว่าเราใช้ก๊าซธรรมชาติมากกว่า 60% จากอ่าวไทย ในการผลิตไฟฟ้า

1387512721-fuelratioo-o.jpg

 

1387513349-o.png

 

 

อ่อ ดักไว้ก่อน การที่เราผลิตได้แล้วส่งออก การบริหารจัดการน้ำมันให้มีความเหมาะสมกับโรงกลั่นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรง ตามความต้องการใช้ภายในประเทศให้ได้มากที่สุด แต่เอาเข้าจริงๆ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่เกี่ยวข้อง เช่น แหล่งที่มาของน้ำมันที่หลากหลาย ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้ ระยะเวลานำเข้า ส่งออก สต๊อกน้ำมันดิบ สต๊อกน้ำมันสุก ความต้องการใช้รายวัน ราคา กำไร และ อื่นๆ ซึ่งมันไม่ได้ง่ายเหมือนการนำเอาตัวเลขการใช้น้ำมันสุก ตัวเลขการผลิตและการนำเข้าน้ำมันดิบมาบวกลบกันตรงๆ ได้ อย่างที่หลายท่านเข้าใจกัน ทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่มากเกินความจำเป็น และการบริหารจัดการของโรงกลั่นให้ได้พอดีกับความต้องการในแต่ละวัน คงไม่สามารถทำได้ จึงต้องมีการนำเข้าและส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปตามความเหมาะสมในช่วงเวลานั้นๆ

 

ผู้ซื้อภายในประเทศเป็นผู้เลือกน้ำมันให้มีความเหมาะสมกับโรงกลั่นของตน และไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำมันที่ผลิตได้ภายในประเทศ เพราะถ้าราคาน้ำมันที่ผลิตได้ภายในประเทศมีราคาที่ถูกกว่าหรือมีคุณสมบัติ เหมาะสมกว่าน้ำมันที่ต้องนำเข้า ก็ไม่เห็นว่าจะมีเหตุผลใดที่ผู้ซื้อภายในประเทศจะไม่เลือกซื้อน้ำมันดิบที่ ผลิตได้ภายในประเทศจากผู้รับสัมปทาน และถ้าผู้รับสัมปทานสามารถขายน้ำม้นดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศไปให้ประเทศ อื่นๆ ที่มีความต้องการมากกว่าโรงกลั่นภายในประเทศในราคาที่สูงกว่าได้ รัฐก็จะได้ประโยชน์จากค่าภาคหลวงที่เพิ่มขึ้นด้วย

ในปีที่ผ่านมามีการส่งออกน้ำมันดิบเฉลี่ย 44,000 บาร์เรลต่อวัน ปัจจุบันก็ยังมีการส่งออกอยู่ ด้วยเหตุผลความจำเป็นซึ่งพอจะสรุปได้ ดังนี้ คือ

1. ผู้ซื้อภายในประเทศไม่ต้องการ ด้วยเหตุผลต่างๆกันถึงความไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นของตน เช่น มีสิ่งเจื่อปนอื่นๆ สูง มีน้ำผสมปนอยู่มาก เป็นต้น

2. ผู้รับสัมปทานมีสัญญาระยะยาวกับคู่ค้าต่างประเทศ (ตกลงทำสัญญากันล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดประเด็นดังกล่าว)

3. ผู้รับสัมปทานยังต้องส่งออกเป็นครั้งคราวบ้าง เพื่อรักษาตลาดเอาไว้ (ในกรณีที่ไม่สามารถขายภายในประเทศได้)

อย่างไรก็ตามเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้อสงสัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขอความร่วมมือแกมบังคับกับผู้รับสัมปทานและผู้ซื้อ ภายในประเทศให้ช่วยกันแก้ไขเรื่องการส่งออกน้ำมันดิบนี้ คาดว่าราวเดือนกันยายน จะไม่มีการส่งออกน้ำมันดิบอีก ซึ่งถ้าเป็นดังนั้นจริง ก็ขอให้ผู้ที่นำเรื่องดังกล่าวนี้มาเป็นประเด็น สังเกตุดูว่า ประชาชน ได้รับประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมบ้าง...แต่ที่เห็นๆ คือ รายได้รัฐจากค่าภาคหลวงอาจจะลดลง ถ้าผู้รับสัมปทานต้องลดราคาน้ำมันให้ผู้ซื้อภายในประเทศแทนการส่งออกตามความ ร่วมมือที่ภาครัฐร้องขอไป

 

ข้อมูลการผลิต นำเข้า ส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ครึ่งปี 2556

 

1387180801-o.jpg

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ ลองดูคร่าวๆแล้ว น่าสนใจดี

 

ดูเหมือนว่า เนื้อหาหลักคือ ต้องการจะแสดงให้เห็นความเหมาะสม และชอบธรรมในการให้สัมปทานน้ำมัน

 

ส่วนตัวมีข้อคิดเห็นดังต่อไปนี้

๑ - การคำนวณเงินเข้ากระเป๋ารัฐหลัง "หักค่าใช้จ่าย" เป็นช่องโหว่ให้ผมมี "ค่าใช้จ่าย" ได้เยอะแยะมาก ซึ่งหากไม่มีการควบคุมอย่างรัดกุม (ซึ่งเราๆเท่านๆก็ทราบว่า เราเป็นประเทศที่มีคุณภาพคนเยี่ยมยอดทัดเทียบกับนานาชาติ) ก็จะเกิดการหักค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น ทำให้รัฐเสียโอกาสได้ ดังนั้น การเรียกเงินเข้ากระเป๋ารัฐตามปริมาณ/มูลค่าน้ำมัน น่าจะเป็นทางเลือกที่ให้รัฐถูกโกงยากกว่า (นับประมาณน้ำมันส่งออก ง่ายกว่านับค่าใช้จ่ายหลอกตา -- ยิ่งเป็นบริษัทข้ามชาติมา สารเคมีแกลลอนละ ๕๐ เหรียญ ขายให้บ.ลูกในไทยแกลลอนละ ๕๐๐๐ เหรียญ ก็จบ.. กำไรหดไปโผล่ที่เกาะสักเกาะในแปซิฟิค)

 

๒ - จากแผนภาพ ได้แสดงให้เห็นว่า ต้นทุนในการขุดน้ำมันนั้น มีต้นทุนสำรวจ เพียงร้อยละ ๑๑ เท่านั้น

 

๓ - จากจั่วหัว ว่าประเทศได้ลงทุนหาน้ำมันแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ (ไม่ว่าจะด้วยความไม่มีโนวฮาว หรือคนที่มีโนวฮาวไม่ช่วย) จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ต้องเปิดสัมปทาน เพื่อให้หา/ขุดน้ำมันสำเร็จ // สืบเนื่องจากข้อ ๒ ส่วนตัวมองแบบไม่มีปสก.ว่า หากต้นทุนสำรวจมีเพียงร้อยละ ๑๑ ของต้นทุนทั้งหมดนั้น ไทยน่าจะมีกำลังที่จะเริ่มค้นห้า/พัฒนา แหล่งน้ำมันได้ด้วยตนเอง หรือใช้เงินทุนของตนเองจัดจ้าง "มือปืน" เข้ามาดำเนินการ โดยไม่จำเป็นต้องให้สัมปทาน ... จริงอยู่ อาจจะเริ่มดำเนินการได้ในสเกลเล็ก แต่ผลประโยชน์ที่รัฐได้รับ ก็น่าจะเยอะกว่าขายสัมปทานเช่นกัน .... จึงผูกมาถึงข้อต่อไป

 

๔ - การนำแผนภูมิ รายได้ของรัฐ มาแจกแจง เพื่อสนับสนุนการขายสัมปทานเพื่อค่าภาคหลวง และภาษีน้ำมันนั้น ผมจึงมองว่ามันเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นเท่านั้น เพราะแม้ว่าเราจะทำเอง หรือจ้างมือปืนมาทำ อาจจะไม่ได้ปริมาณที่มากเท่ากับตอนนี้ .... แต่รายได้จากน้ำมันที่เข้ารัฐ ก็จะเข้ามาแทนที่ค่าภาคหลวง+ภาษีน้ำมันในภาพดังกล่าว (และอาจจะมาแทนที่ในปริมาณที่มากกว่าด้วย)

 

๕ - ความเป็นเจ้าของ ไม่สำคัญเท่ากับสิทธิ์ในการครอบครอง - สิ่งที่ผมมักจะมองในกรณีเรื่องน้ำมันเป็นหลักก็คือ การให้ต่างด้าวเข้ามาประกอบกิจกรรมในดังกล่าวในรัฐนั้น รัฐได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำหรือเปล่า ... หรือว่าระหว่างการเจรจา ได้มีการ บูรณาการ กันจนไม่ต้องมองผลประโยชน์ของรัฐเป็นหลัก ไปเรียบร้อยแล้ว

 

๖ - โปรดระวัง "โทรลล์" ที่เข้ามาปัดให้เราๆท่านๆหลงประเด็น

 

๗ - (แฟคทอยด์) รู้หรือเปล่าว่า จนทุกวันนี้ นายหน้าขายหัวขุดเจาะน้ำมัน ก็ยังขายให้กับทหารไทยได้อยู่

 

:bye

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...