ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

มาคอยอ่านต่อครับ ยิ่งอ่านยิ่งรู้สึกต้อง วางแผนการลงทุนระยะยาว(กลยุทธิ์ ซื้อแล้วลืม)บ้างแล้วครับ ไม่รู้จะทันระเบิดลูกที่จะถึงหรือเปล่า ความรู้สึกเหมือนชนวนถูกจุดแล้วล่ะครับ :ph34r: :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากนะคะเมื่อเวลามาถึงเตรียมพร้อม จะรบกวนขอคำชี้แนะด้วยนะคะ K.NEXT

:wub: :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีค่าคุณ next กระทู้นี้เข้าใจเรื่องเงินๆทองถ่องแท้สุดยอดเลยค่ะ อ่านแล้วเพลินสุดๆ ไม่เครียดด้วย 5555

 

^__^ :lol:

ถูกแก้ไข โดย BABARA FOO

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

what-causes-inflation.s600x600.jpg

 

 

 

เงินเฟ้อ คืออะไร? "What is Inflation?"

 

 

เนื้อหาในวันนี้ค่อนข้างจะหนักและซีเรียสอีกแล้วครับ

แต่ผมก็ยัง “อยาก” ที่จะเขียนถึงเพราะมันเป็นข้อมูลที่คุณและคนรอบข้างคุณ “ควร” และ “มีสิทธิ์” ที่จะรับรู้

 

วันนี้เราจะมาคุยเรื่อง “เงินเฟ้อ”กันครับ

มองแบบเผินๆ ก็คงจะมองไม่ออกว่ามัน ทำงานและส่งผล ต่อชีวิต ของพวกเรายังไง? มากน้อยแค่ไหน ?……

 

ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศรวมทั้งพวกเรา ทำงานกันทุกวัน เพื่อหารายได้ กว่าจะได้ แต่ละร้อยแต่ละพัน ทำงานกันเข้าไป

กลับมีคนอีกกลุ่มนึง ซึ่งถือว่าเป็นระดับผู้นำในแต่ละประเทศ ตวัด ปากกาเพียง แกร๊กเดียว

เซนต์อนุมัติจัดพิมพ์ปริมาณเงินมหาศาล ออกสู่ระบบ (เช่น QE1-2)

 

...............................

 

เงินในทุกประเทศ หากเรามองอย่างตรงไปตรงมาไม่หลอกตัวเอง มันคือ

กระดาษ + หมึกพิมพ์สี ต้นทุนการผลิต

 

ของ ธนบัตรใบละ 1000 กับใบละ 20 แทบจะไม่ต่างกันแต่ ราคากลับต่างกันถึง 50 เท่า..

นั่นทำให้ธนบัตรนั้นไม่มี มูลค่าในตัวของมันเอง (Intrinsic Value)

แต่มันอยู่ ได้ด้วย.....

 

:excl: ความเชื่อถือ (Credibility)

(เพราะทุกคนเชื่อถือและยอมรับเราก็เลยยอมรับและเชื่อถือด้วย)

 

:excl: รัฐบาลเป็นประกัน (Legal tender)

 

แบงค์กาโม่ แตกต่างจาก ธนบัตร ตรงที่ ไม่มีความน่าเชื่อถือ และ ไม่มีรัฐบาลเป็นประกันให้ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

หากคุณเลือกที่จะเชื่อถือและ “เก็บ” ผลตอบแทนจากการทำงานของคุณในรูปแบบของ “ธนบัตร”

 

 

คำถามคือ คุณเชื่อถือรัฐบาลได้มากน้อยแค่ไหน ??

 

..........................

 

เงินเฟ้อ คือ อะไร ?

 

ในทางเศรษศาสตร์ และตำราหลายๆเล่ม มักจะอธิบายว่า

“เงินเฟ้อ คือ ภาวะที่สินค้าอุปโภคบริโภครอบตัวเราขึ้นราคา”(Rising Price)

 

คำแปลที่ถูกต้องคือ “เงินเฟ้อ คือ การเพิ่มของอุปทานเงินในระบบ” (Increasing Money Supply)

 

แต่ที่ฟังง่ายและถูกต้องที่สุด “เงินเฟ้อ คือ พิมพ์เงิน (Money Printing)” ครับ

 

การบอกว่า เงินเฟ้อ คือ สินค้าขึ้นราคา นั้นไม่ถูกต้อง เพราะสินค้าขึ้นราคาเป็น “ผล” ครับ ส่วน เงินเฟ้อนั้นเป็น “เหตุ”

 

ฝนตก – น้ำท่วม

 

สมมุติว่าคุณเป็นคนหาดใหญ่ นอนอยู่บนชั้นสอง ของบ้าน

เช้าวันรุ่งขึ้นคุณตื่นมาพบว่า “น้ำท่วม” จนถึงระดับเอว คุณจึงตะโกนบอกคนในบ้านว่า แย่แล้ว “ฝนตกๆๆ!!”

คนในบ้านคงจะ งง?? แล้วบอกว่า .... นี่มัน “น้ำท่วม” ชัดๆ

แต่เพราะ “ฝนตก” (เหตุ)------> น้ำจึงท่วม (ผล)

 

การเรียก "เงินเฟ้อว่าสินค้าขึ้นราคา จึงเหมือนกับการเรียก น้ำท่วมว่าฝนตก"

 

คนละเรื่อง ไม่ถูกต้องครับ......

 

สินค้าขึ้นราคานั้นเป็น “อาการ” ของ เงินเฟ้อ ส่วนตัวเงินเฟ้อเอง ความหมายมันคือ การพิมพ์เงินเพิ่ม (Money Printing)ครับ

สั้นๆง่ายๆแค่นั้น

 

เมื่อพิมพ์เพิ่มเข้ามาในระบบ ในขณะที่ ปริมาณสินค้า ยังมีอยู่เท่าเดิมไม่ได้เพิ่มตาม (หรือเพิ่มในอัตราที่ช้ากว่า)

ราคาสินค้าจึงต้องแพงขึ้น หรือ หากมองอีกมุมหนึ่งคือ “ค่าของเงิน” นั้นลดลง

 

หลักการทำงานของ “เงินเฟ้อ”

 

หากคุณมี ชามะนาว อยู่ 1 แก้ว จู่ๆ เพื่อนคุณคว้าไป ดูด ลดฮวบลงไปครึ่งแก้ว เสร็จแล้ว

เติมน้ำเปล่า แทนให้เต็มแก้วเหมือนเดิม จึงคืนให้คุณ

 

คุณ จะยอม หรือไม่ ??? :mad: :mad:

 

จริงอยู่ ….แม้ว่าคุณจะได้ ชามะนาว คืนเต็มแก้วเท่าเดิม แต่มันก็ “เจือจาง” ลง

เหมือนกันครับ การพิมพ์เงิน เมื่อ ปริมาณเงินชุดใหม่ไหลเข้ามาในระบบ เงินปึกใหม่ๆ จากกระดาษเปล่าๆเอามาพิมพ์สี

มีค่าขึ้นมาได้ ก็เพราะเข้าไปดึง มูลค่า ของเงินเก่าที่อยู่ในระบบอยู่แล้ว (เช่น ในบัญชีเงินฝาก หรือ แม้แต่เงินที่อยู่ในกระเป๋าสตางค์ของคุณ)

ทำการ “เจือจาง” เงินทั้งระบบ ทำให้ อำนาจการซื้อ (Purchasing Power) ของคุณนั้นลดลง

 

ระบบนี้ยัง หลอกตา พวกเราด้วยตัวเลขที่อยู่บน ธนบัตร ที่ไม่ว่าเรามองกี่ทีๆ ก็เห็นเป็น ตัวเลข 100 บาท, 500บาท, 1000 บาท

คงที่เต็มใบเท่าเดิมตลอด (หารู้ไม่ว่ามันถูกเจือจางไปเรียบร้อยแล้ว)

ยิ่งเมื่อเราหันไปมอง ราคาสินค้า กลับขยับขึ้นเปลี่ยนแปลงตลอดทุกปี ทำให้เราเข้าใจไปว่า

“สินค้านั้นขึ้นราคา !”

 

แท้จริงแล้วสินค้าไม่ได้ขึ้นราคา “1,000 ในกระเป๋าคุณตอนนี้ต่างหากที่ถูกเจือจางให้มูลค่าไม่เท่ากับ 1,000 ในอดีต”

คุณถึงต้องจ่ายแพงขึ้น.....

 

นี่เป็นสาเหตุที่ 10 ปีที่แล้วคุณมีรายได้เท่าไหร่ คุณจะมีรายได้เท่าเดิมในวันนี้ไม่ได้ เพราะเหมือนสินค้าขึ้นราคาหมดทุกอย่าง

คุณจะต้องทำงานให้หนักขึ้นๆๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของคุณ ให้เพียงพอต่อการเพิ่มของราคาสินค้า

หากทำได้ “ระดับคุณภาพชีวิต (Standard of Living) จึงจะยังคงเดิม” แต่หากคุณไม่สามารถ

เพิ่มรายได้ของคุณให้ชนะเงินเฟ้อได้ จำนวนเงินเท่าเดิมที่เคยซื้อ ข้าวผัดกระเพรากินได้ จะทำให้คุณสามารถซื้อได้แค่ ข้าวไข่เจียว

แม้จะอิ่มเหมือนกัน แต่ ระดับคุณภาพชีวิต (Standard of Living) นั้นถือว่าลดลง

 

ภาษีล่องหน (Invisible Tax)

 

ผมขอเรียกระบบการทำงานของเงินเฟ้อ แบบนี้ว่าเป็น “ภาษีที่เรามองไม่เห็น”

ภาษี ภงด ภพ รวมทั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เราไปยื่นแบบ หรือ จ่ายรวมไปในสินค้า เหล่านี้คือภาษีที่ มองเห็นได้

แต่แค่นี้ไม่เพียงพอ ที่จะให้ รัฐบาลของทุกประเทศ นั้นใช้จ่ายได้อย่างมือเติบตามอำเภอใจ

การจัดสรรงบประมาณ แล้วสั่งให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ พิมพ์เงินเพิ่มมาแล้วเอาไปแบ่งเค้กกันนั้น

จำเป็นต้องเก็บจากภาษีล่องหนนี้

 

นี่ทำให้รัฐบาล ดูเหมือนมีเงินใช้ได้ไม่มีวันหมด จะพิมพ์เช็คจ่ายทุกคนคนละ 2,000 ก็ทำได้

จะซื้อ GT200 เครื่องละ 2 ล้าน (ทั้งๆที่สุนัขตำรวจเจ๋งกว่า) หรือ เรือเหาะตรวจการ 350 ล้าน ก็ซื้อได้

 

ผมขอโทษที่ต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ทั้งหมดนี้ ประชาชนในประเทศโดนปล้น เอาไปจ่าย !!

 

ภาษีล่องหนนี้ ร้ายกาจมาก เพราะ เก็บไม่เว้น แม้แต่ เด็กประถม หรือ คนตกงาน ขอเพียงคุณมี ธนบัตร อยู่ในกระเป๋า

คุณจะโดนเรียกเก็บทุกครั้ง

 

คุณจ่ายผ่านมัน เมื่อตอนที่ “คุณต้องจ่ายมากกว่าเดิมเพื่อให้ได้สินค้าเท่าเดิม” ใบเสร็จจากบิ๊กซีหรือโลตัส

ยอมรวมครั้งล่าสุดแพงกว่าครั้งก่อนๆ

 

(เงินเฟ้อบางครั้ง หลอกตาเราอีก ด้วยราคาสินค้าเท่าเดิม ให้ดูเหมือนไม่แพงขึ้นเพื่อคงยอดขายไว้

แต่ ปริมาณสินค้าที่ได้ลดลง เช่น ขนมปาร์ตี้ 5 บาท เท่าเดิมตั้งแต่เล็กยันโต แต่สมัยก่อนขนมเต็มถุง

เดี๋ยวนี้มีแต่ “ลม” หรือ ทิชชู่ราคาเท่าเดิม แต่ม้วนบางลง เป็นต้น)

 

เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ขอนำเสนอด้วย กราฟ ครับ

(แม้กราฟนี้จะเป็นตัวเลขของทาง สหรัฐ แต่กราฟอัตราเงินเฟ้อในหลายๆประเทศก็มีทิศทางไปในทางเดียวกัน)

 

 

hyper-1.gif

 

กราฟนี้ไม่ได้หาดูกันง่ายๆ เพราะคงไม่มีรัฐบาลไหนอยากให้คุณดู .........

 

จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 1665-1965 ประมาณ 300 ปี หรือ ประมาณ 4 ชั่วอายุคน กราฟเรี่ยติดดิน

คุณทวดของคุณทวดจนถึงยุคคุณทวด ของพวกเรา เค้าใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่ไม่มีเงินเฟ้อ นั่นหมายความว่า

พวกเค้าเคยจ่ายเงินซื้อ ข้าวสารอาหารแห้งด้วยราคาเท่าไหร่ เค้าก็จ่ายเท่าเดิมทั้งแต่เด็กยันแก่ ใ

นช่วงชีวิตพวกเค้า แทบไม่เคยเห็นสินค้าขึ้นราคา !!!

 

(จุดเด้งเล็กๆ ในแต่ละจุดนั้น เหมือนจะเกิดเงินเฟ้อเล็กๆ แต่มันเด้งเพราะ เกิดสงครามทุกครั้งไปนะครับ

ทุกครั้งที่มีสงครามรัฐบาลจะต้องใช้จ่ายเงินมากขึ้นทุกครั้งไป ทำให้เกิดเงินเฟ้อบ้าง แต่เมื่อสงครามจบก็จะลดลงมาที่ระดับเดิม)

 

แล้วในยุค ของพวกเราล่ะ ???

 

เส้นสีแดงที่แทงขึ้นไป สูงชัน นั้นคือ อัตราเงินเฟ้อ ที่เป็นทางการ (official) ธนาคารกลางแจ้งทุกปี

 

(เส้นสีน้ำเงินเป็นเส้นที่ ฟ้องว่า ธนาคาร กลาง โกหก !! จริงๆ อัตราเงินเฟ้อ ที่ธนาคารกลางแจ้ง อย่างเป็นทางการนั้น

ต่ำกว่าความเป็นจริง จริงๆ ต้องเส้นสีน้ำเงิน ต่างหาก….เส้นสีน้ำเงินจัดทำโดย Shadowstat.com)

 

แต่แค่เอาเส้นสีแดง(อย่างเป็นทางการ)ก็พอ

หากคุณเคยคิดว่า สินค้าขึ้นราคาทุกปี เป็นเรื่องปกติ เพราะเห็นมันขึ้นมาตั้งแต่เกิดแล้ว

จากกราฟคุณจะพบว่า ในยุคสมัยของพวกเราต่างหาก ที่ผิดปกติอย่างมาก (อีกแล้ว)

ที่จะต้องจ่ายแพงขึ้นๆ เพื่อสินค้าเท่าเดิม

 

อะไรเป็นสาเหตุให้ ยุคคุณทวดของพวกเราไม่มีเงินเฟ้อ ในขณะที่พวกเราเป็นอย่างนี้ มีอะไรต่างกัน ??

 

คำตอบก็คือ “ระบบมาตราฐานทองคำ” (Gold Standard) ครับ !!!!

 

เมื่อยุคคุณทวด ระบบการเงินอ้างอิงอยู่กับ ปริมาณทองคำ ที่ไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้ง่ายๆ การ “เฟ้อ” ของเงินจึงไม่เกิด

ปริมาณที่จำกัดของทองคำนั่นเองที่ทำให้มันมีคุณค่า และ เหมาะสมที่จะใช้ เป็น สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

(อ้างอิงจากกราฟราคาทอง 200 ปีในตอนที่แล้ว คุณก็จะเห้นว่า ราคาทองคำก็ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน)

 

รัฐบาลในสมัยนั้น มี “ขนาดเล็ก” คนเป็นนักการเมืองอย่าหวังว่าจะขับเบนซ์ ไม่มีงบประมาณเมกะโปรเจค

ให้ถลุงเล่น ทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อ ริชาร์ด นิกสัน ยกเลิกระบบ เบรตตัน ปี 1971 ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ในยุคสมัยของพวกเรา ….

 

ระบบการเงินเปลี่ยนแต่ทองคำไม่เปลี่ยน

 

แม้ว่าทองคำจะไม่ได้ถูกจัดว่าเป็น “เงิน” อีกต่อไป ในยุคสมัยของพวกเรา แต่คุณค่าของมันก็ยังคงอยู่

มีภาพๆนึง ผมวาดไว้นานแล้วขอเอามานำเสนออีกครั้ง

 

gold%20funnies%204.jpg

 

 

จะเห็นว่า หากเราใช้ทองคำแทนเงิน เราจะพบว่าก๋วยเตี๋ยวไม่เคยขึ้นราคาเลย

เรายังใช้ทอง 1 บาทกินได้ 600 ชามเท่าเดิม ไม่เฉพาะก๋วยเตี๋ยว แต่สินค้าทุกอย่างไม่ว่า น้ำมัน ข้าวสาร บ้าน ที่ดิน อื่นๆ

 

หากเราวัดราคาสินค้าด้วยทองคำแทนเงิน

30 ปีก่อนเราเคยต้องใช้ทองหนักเท่าไหร่ไปซื้อ ทุกวันนี้ก็ยังใช้ทองคำ น้ำหนักเท่าเดิมไปซื้อได้

คุณจะพบว่า แทบจะไม่มีสินค้าตัวไหนเลยที่ขึ้นราคาแถมบางอย่างยังถูกลงด้วยซ้ำ !!!

 

นี่คือความเป็นมาตราฐานของเงินที่แท้จริง

 

ที่ผมเขียนวันนี้ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะมา ปฏิวัติ หรือเรียกร้องอะไรทั้งนั้น เป็นเพียงแค่บทความทางวิชาการที่ต้องการจะนำเสนอ

และ อธิบายให้ได้รับรู้และเข้าใจในระบบการทำงานของ เงินเฟ้อ เท่านั้นเอง

 

อาจจะดูเหมือนเชียร์ทองคำจนออกนอกหน้า

แต่ถ้าให้ผมเลือกเชื่อถือ ระหว่าง เงินที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายพันปี ธรรมชาตินี้คัดสรรมาแล้วว่าสมควรทำหน้าที่

เงินที่แท้จริง อย่าง “ทองคำ” กับ เงินที่มีรัฐบาลเป็นประกัน ผมขอเลือกอย่างแรกดีกว่าครับ

 

หากบทความในวันนี้ทำให้ท่านรู้สึกไม่สบายใจ หรือ เหมือนไปลบหลู่สิ่งที่ท่านเชื่อถือและเข้าใจมาตลอดชีวิต

ผมต้องขอบอกว่าผมไม่มีเจตนาและต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

 

ขอบคุณและขอให้โชคดีในการลงทุนท่านครับ

 

 

 

 

ปล. ในตอนหน้า จะกลับไปเข้าเรื่องประวัติศาสตร์ของทองคำใหม่

คราวนี้จะใกล้ตัวเรามากๆ แล้วครับ เพราะจะดูแค่ 10 ปีย้อนหลัง ว่าเกิดอะไรขึ้น

แล้วหลังจากนั้นก็จะขยับเข้าใกล้ โอกาส “ทอง” (จริงๆ) เข้าไปทุกทีๆ แล้วครับ

ถูกแก้ไข โดย Nexttonothing

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวหนังสืออ่านไม่ออกครับ มันเป็นสีขาว

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

what-causes-inflation.s600x600.jpg

 

 

 

เงินเฟ้อ คืออะไร? "What is Inflation?"

 

 

หากคุณมองเห็นข้อความนี้ แสดงว่าคุณกำลังอ่านบทความที่ผมตั้งใจจะ “พราง” เอาไว้

สาเหตุที่ต้องทำลับๆล่อ นิดนึงก็เพราะเนื้อหาในวันนี้ค่อนข้างจะหนักและซีเรียสอีกแล้วครับ

แต่ผมก็ยัง “อยาก” ที่จะเขียนถึงเพราะมันเป็นข้อมูลที่คุณและคนรอบข้างคุณ “ควร” และ “มีสิทธิ์” ที่จะรับรู้

 

บทความของผมมองเผินๆ เลยมองไม่เห็น (ส่วนนึงก็เพื่อความเต็มที่ในการเขียน)

เปรียบไปก็เหมือน เรื่อง “เงินเฟ้อ” ที่จะพูดถึงในวันนี้ครับ

ที่หากมองแบบเผินๆ ก็คงจะมองไม่ออกว่ามัน ทำงานและส่งผล ต่อชีวิต ของพวกเรายังไง? มากน้อยแค่ไหน ?……

 

ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศรวมทั้งพวกเรา ทำงานกันทุกวัน เพื่อหารายได้ กว่าจะได้ แต่ละร้อยแต่ละพัน ทำงานกันเข้าไป

กลับมีคนอีกกลุ่มนึง ซึ่งถือว่าเป็นระดับผู้นำในแต่ละประเทศ ตวัด ปากกาเพียง แกร๊กเดียว

เซนต์อนุมัติจัดพิมพ์ปริมาณเงินมหาศาล ออกสู่ระบบ (เช่น QE1-2)

 

...............................

 

เงินในทุกประเทศ หากเรามองอย่างตรงไปตรงมาไม่หลอกตัวเอง มันคือ

กระดาษ + หมึกพิมพ์สี ต้นทุนการผลิต

 

ของ ธนบัตรใบละ 1000 กับใบละ 20 แทบจะไม่ต่างกันแต่ ราคากลับต่างกันถึง 50 เท่า..

นั่นทำให้ธนบัตรนั้นไม่มี มูลค่าในตัวของมันเอง (Intrinsic Value)

แต่มันอยู่ ได้ด้วย.....

 

:excl: ความเชื่อถือ (Credibility)

(เพราะทุกคนเชื่อถือและยอมรับเราก็เลยยอมรับและเชื่อถือด้วย)

 

:excl: รัฐบาลเป็นประกัน (Legal tender)

 

แบงค์กาโม่ แตกต่างจาก ธนบัตร ตรงที่ ไม่มีความน่าเชื่อถือ และ ไม่มีรัฐบาลเป็นประกันให้ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

หากคุณเลือกที่จะเชื่อถือและ “เก็บ” ผลตอบแทนจากการทำงานของคุณในรูปแบบของ “ธนบัตร”

 

 

คำถามคือ คุณเชื่อถือรัฐบาลได้มากน้อยแค่ไหน ??

 

..........................

 

เงินเฟ้อ คือ อะไร ?

 

ในทางเศรษศาสตร์ และตำราหลายๆเล่ม มักจะอธิบายว่า

“เงินเฟ้อ คือ ภาวะที่สินค้าอุปโภคบริโภครอบตัวเราขึ้นราคา”(Rising Price)

 

คำแปลที่ถูกต้องคือ “เงินเฟ้อ คือ การเพิ่มของอุปทานเงินในระบบ” (Increasing Money Supply)

 

แต่ที่ฟังง่ายและถูกต้องที่สุด “เงินเฟ้อ คือ พิมพ์เงิน (Money Printing)” ครับ

 

การบอกว่า เงินเฟ้อ คือ สินค้าขึ้นราคา นั้นไม่ถูกต้อง เพราะสินค้าขึ้นราคาเป็น “ผล” ครับ ส่วน เงินเฟ้อนั้นเป็น “เหตุ”

 

ฝนตก – น้ำท่วม

 

สมมุติว่าคุณเป็นคนหาดใหญ่ นอนอยู่บนชั้นสอง ของบ้าน

เช้าวันรุ่งขึ้นคุณตื่นมาพบว่า “น้ำท่วม” จนถึงระดับเอว คุณจึงตะโกนบอกคนในบ้านว่า แย่แล้ว “ฝนตกๆๆ!!”

คนในบ้านคงจะ งง?? แล้วบอกว่า .... นี่มัน “น้ำท่วม” ชัดๆ

แต่เพราะ “ฝนตก” (เหตุ)------> น้ำจึงท่วม (ผล)

 

การเรียก "เงินเฟ้อว่าสินค้าขึ้นราคา จึงเหมือนกับการเรียก น้ำท่วมว่าฝนตก"

 

คนละเรื่อง ไม่ถูกต้องครับ......

 

สินค้าขึ้นราคานั้นเป็น “อาการ” ของ เงินเฟ้อ ส่วนตัวเงินเฟ้อเอง ความหมายมันคือ การพิมพ์เงินเพิ่ม (Money Printing)ครับ

สั้นๆง่ายๆแค่นั้น

 

เมื่อพิมพ์เพิ่มเข้ามาในระบบ ในขณะที่ ปริมาณสินค้า ยังมีอยู่เท่าเดิมไม่ได้เพิ่มตาม (หรือเพิ่มในอัตราที่ช้ากว่า)

ราคาสินค้าจึงต้องแพงขึ้น หรือ หากมองอีกมุมหนึ่งคือ “ค่าของเงิน” นั้นลดลง

 

หลักการทำงานของ “เงินเฟ้อ”

 

หากคุณมี ชามะนาว อยู่ 1 แก้ว จู่ๆ เพื่อนคุณคว้าไป ดูด ลดฮวบลงไปครึ่งแก้ว เสร็จแล้ว

เติมน้ำเปล่า แทนให้เต็มแก้วเหมือนเดิม จึงคืนให้คุณ

 

คุณ จะยอม หรือไม่ ??? :mad: :mad:

 

จริงอยู่ ….แม้ว่าคุณจะได้ ชามะนาว คืนเต็มแก้วเท่าเดิม แต่มันก็ “เจือจาง” ลง

เหมือนกันครับ การพิมพ์เงิน เมื่อ ปริมาณเงินชุดใหม่ไหลเข้ามาในระบบ เงินปึกใหม่ๆ จากกระดาษเปล่าๆเอามาพิมพ์สี

มีค่าขึ้นมาได้ ก็เพราะเข้าไปดึง มูลค่า ของเงินเก่าที่อยู่ในระบบอยู่แล้ว (เช่น ในบัญชีเงินฝาก หรือ แม้แต่เงินที่อยู่ในกระเป๋าสตางค์ของคุณ)

ทำการ “เจือจาง” เงินทั้งระบบ ทำให้ อำนาจการซื้อ (Purchasing Power) ของคุณนั้นลดลง

 

ระบบนี้ยัง หลอกตา พวกเราด้วยตัวเลขที่อยู่บน ธนบัตร ที่ไม่ว่าเรามองกี่ทีๆ ก็เห็นเป็น ตัวเลข 100 บาท, 500บาท, 1000 บาท

คงที่เต็มใบเท่าเดิมตลอด (หารู้ไม่ว่ามันถูกเจือจางไปเรียบร้อยแล้ว)

ยิ่งเมื่อเราหันไปมอง ราคาสินค้า กลับขยับขึ้นเปลี่ยนแปลงตลอดทุกปี ทำให้เราเข้าใจไปว่า

“สินค้านั้นขึ้นราคา !”

 

แท้จริงแล้วสินค้าไม่ได้ขึ้นราคา “1,000 ในกระเป๋าคุณตอนนี้ต่างหากที่ถูกเจือจางให้มูลค่าไม่เท่ากับ 1,000 ในอดีต”

คุณถึงต้องจ่ายแพงขึ้น.....

 

นี่เป็นสาเหตุที่ 10 ปีที่แล้วคุณมีรายได้เท่าไหร่ คุณจะมีรายได้เท่าเดิมในวันนี้ไม่ได้ เพราะเหมือนสินค้าขึ้นราคาหมดทุกอย่าง

คุณจะต้องทำงานให้หนักขึ้นๆๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของคุณ ให้เพียงพอต่อการเพิ่มของราคาสินค้า

หากทำได้ “ระดับคุณภาพชีวิต (Standard of Living) จึงจะยังคงเดิม” แต่หากคุณไม่สามารถ

เพิ่มรายได้ของคุณให้ชนะเงินเฟ้อได้ จำนวนเงินเท่าเดิมที่เคยซื้อ ข้าวผัดกระเพรากินได้ จะทำให้คุณสามารถซื้อได้แค่ ข้าวไข่เจียว

แม้จะอิ่มเหมือนกัน แต่ ระดับคุณภาพชีวิต (Standard of Living) นั้นถือว่าลดลง

 

ภาษีล่องหน (Invisible Tax)

 

ผมขอเรียกระบบการทำงานของเงินเฟ้อ แบบนี้ว่าเป็น “ภาษีที่เรามองไม่เห็น”

ภาษี ภงด ภพ รวมทั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เราไปยื่นแบบ หรือ จ่ายรวมไปในสินค้า เหล่านี้คือภาษีที่ มองเห็นได้

แต่แค่นี้ไม่เพียงพอ ที่จะให้ รัฐบาลของทุกประเทศ นั้นใช้จ่ายได้อย่างมือเติบตามอำเภอใจ

การจัดสรรงบประมาณ แล้วสั่งให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ พิมพ์เงินเพิ่มมาแล้วเอาไปแบ่งเค้กกันนั้น

จำเป็นต้องเก็บจากภาษีล่องหนนี้

 

นี่ทำให้รัฐบาล ดูเหมือนมีเงินใช้ได้ไม่มีวันหมด จะพิมพ์เช็คจ่ายทุกคนคนละ 2,000 ก็ทำได้

จะซื้อ GT200 เครื่องละ 2 ล้าน (ทั้งๆที่สุนัขตำรวจเจ๋งกว่า) หรือ เรือเหาะตรวจการ 350 ล้าน ก็ซื้อได้

 

ผมขอโทษที่ต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ทั้งหมดนี้ ประชาชนในประเทศโดนปล้น เอาไปจ่าย !!

 

ภาษีล่องหนนี้ ร้ายกาจมาก เพราะ เก็บไม่เว้น แม้แต่ เด็กประถม หรือ คนตกงาน ขอเพียงคุณมี ธนบัตร อยู่ในกระเป๋า

คุณจะโดนเรียกเก็บทุกครั้ง

 

คุณจ่ายผ่านมัน เมื่อตอนที่ “คุณต้องจ่ายมากกว่าเดิมเพื่อให้ได้สินค้าเท่าเดิม” ใบเสร็จจากบิ๊กซีหรือโลตัส

ยอมรวมครั้งล่าสุดแพงกว่าครั้งก่อนๆ

 

(เงินเฟ้อบางครั้ง หลอกตาเราอีก ด้วยราคาสินค้าเท่าเดิม ให้ดูเหมือนไม่แพงขึ้นเพื่อคงยอดขายไว้

แต่ ปริมาณสินค้าที่ได้ลดลง เช่น ขนมปาร์ตี้ 5 บาท เท่าเดิมตั้งแต่เล็กยันโต แต่สมัยก่อนขนมเต็มถุง

เดี๋ยวนี้มีแต่ “ลม” หรือ ทิชชู่ราคาเท่าเดิม แต่ม้วนบางลง เป็นต้น)

 

เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ขอนำเสนอด้วย กราฟ ครับ

(แม้กราฟนี้จะเป็นตัวเลขของทาง สหรัฐ แต่กราฟอัตราเงินเฟ้อในหลายๆประเทศก็มีทิศทางไปในทางเดียวกัน)

 

 

hyper-1.gif

 

กราฟนี้ไม่ได้หาดูกันง่ายๆ เพราะคงไม่มีรัฐบาลไหนอยากให้คุณดู .........

 

จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 1665-1965 ประมาณ 300 ปี หรือ ประมาณ 4 ชั่วอายุคน กราฟเรี่ยติดดิน

คุณทวดของคุณทวดจนถึงยุคคุณทวด ของพวกเรา เค้าใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่ไม่มีเงินเฟ้อ นั่นหมายความว่า

พวกเค้าเคยจ่ายเงินซื้อ ข้าวสารอาหารแห้งด้วยราคาเท่าไหร่ เค้าก็จ่ายเท่าเดิมทั้งแต่เด็กยันแก่ ใ

นช่วงชีวิตพวกเค้า แทบไม่เคยเห็นสินค้าขึ้นราคา !!!

 

(จุดเด้งเล็กๆ ในแต่ละจุดนั้น เหมือนจะเกิดเงินเฟ้อเล็กๆ แต่มันเด้งเพราะ เกิดสงครามทุกครั้งไปนะครับ

ทุกครั้งที่มีสงครามรัฐบาลจะต้องใช้จ่ายเงินมากขึ้นทุกครั้งไป ทำให้เกิดเงินเฟ้อบ้าง แต่เมื่อสงครามจบก็จะลดลงมาที่ระดับเดิม)

 

แล้วในยุค ของพวกเราล่ะ ???

 

เส้นสีแดงที่แทงขึ้นไป สูงชัน นั้นคือ อัตราเงินเฟ้อ ที่เป็นทางการ (official) ธนาคารกลางแจ้งทุกปี

 

(เส้นสีน้ำเงินเป็นเส้นที่ ฟ้องว่า ธนาคาร กลาง โกหก !! จริงๆ อัตราเงินเฟ้อ ที่ธนาคารกลางแจ้ง อย่างเป็นทางการนั้น

ต่ำกว่าความเป็นจริง จริงๆ ต้องเส้นสีน้ำเงิน ต่างหาก….เส้นสีน้ำเงินจัดทำโดย Shadowstat.com)

 

แต่แค่เอาเส้นสีแดง(อย่างเป็นทางการ)ก็พอ

หากคุณเคยคิดว่า สินค้าขึ้นราคาทุกปี เป็นเรื่องปกติ เพราะเห็นมันขึ้นมาตั้งแต่เกิดแล้ว

จากกราฟคุณจะพบว่า ในยุคสมัยของพวกเราต่างหาก ที่ผิดปกติอย่างมาก (อีกแล้ว)

ที่จะต้องจ่ายแพงขึ้นๆ เพื่อสินค้าเท่าเดิม

 

อะไรเป็นสาเหตุให้ ยุคคุณทวดของพวกเราไม่มีเงินเฟ้อ ในขณะที่พวกเราเป็นอย่างนี้ มีอะไรต่างกัน ??

 

คำตอบก็คือ “ระบบมาตราฐานทองคำ” (Gold Standard) ครับ !!!!

 

เมื่อยุคคุณทวด ระบบการเงินอ้างอิงอยู่กับ ปริมาณทองคำ ที่ไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้ง่ายๆ การ “เฟ้อ” ของเงินจึงไม่เกิด

ปริมาณที่จำกัดของทองคำนั่นเองที่ทำให้มันมีคุณค่า และ เหมาะสมที่จะใช้ เป็น สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

(อ้างอิงจากกราฟราคาทอง 200 ปีในตอนที่แล้ว คุณก็จะเห้นว่า ราคาทองคำก็ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน)

 

รัฐบาลในสมัยนั้น มี “ขนาดเล็ก” คนเป็นนักการเมืองอย่าหวังว่าจะขับเบนซ์ ไม่มีงบประมาณเมกะโปรเจค

ให้ถลุงเล่น ทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อ ริชาร์ด นิกสัน ยกเลิกระบบ เบรตตัน ปี 1971 ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ในยุคสมัยของพวกเรา ….

 

ระบบการเงินเปลี่ยนแต่ทองคำไม่เปลี่ยน

 

แม้ว่าทองคำจะไม่ได้ถูกจัดว่าเป็น “เงิน” อีกต่อไป ในยุคสมัยของพวกเรา แต่คุณค่าของมันก็ยังคงอยู่

มีภาพๆนึง ผมวาดไว้นานแล้วขอเอามานำเสนออีกครั้ง

 

gold%20funnies%204.jpg

 

 

จะเห็นว่า หากเราใช้ทองคำแทนเงิน เราจะพบว่าก๋วยเตี๋ยวไม่เคยขึ้นราคาเลย

เรายังใช้ทอง 1 บาทกินได้ 600 ชามเท่าเดิม ไม่เฉพาะก๋วยเตี๋ยว แต่สินค้าทุกอย่างไม่ว่า น้ำมัน ข้าวสาร บ้าน ที่ดิน อื่นๆ

 

หากเราวัดราคาสินค้าด้วยทองคำแทนเงิน

30 ปีก่อนเราเคยต้องใช้ทองหนักเท่าไหร่ไปซื้อ ทุกวันนี้ก็ยังใช้ทองคำ น้ำหนักเท่าเดิมไปซื้อได้

คุณจะพบว่า แทบจะไม่มีสินค้าตัวไหนเลยที่ขึ้นราคาแถมบางอย่างยังถูกลงด้วยซ้ำ !!!

 

นี่คือความเป็นมาตราฐานของเงินที่แท้จริง

 

ที่ผมเขียนวันนี้ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะมา ปฏิวัติ หรือเรียกร้องอะไรทั้งนั้น เป็นเพียงแค่บทความทางวิชาการที่ต้องการจะนำเสนอ

และ อธิบายให้ได้รับรู้และเข้าใจในระบบการทำงานของ เงินเฟ้อ เท่านั้นเอง

 

อาจจะดูเหมือนเชียร์ทองคำจนออกนอกหน้า

แต่ถ้าให้ผมเลือกเชื่อถือ ระหว่าง เงินที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายพันปี ธรรมชาตินี้คัดสรรมาแล้วว่าสมควรทำหน้าที่

เงินที่แท้จริง อย่าง “ทองคำ” กับ เงินที่มีรัฐบาลเป็นประกัน ผมขอเลือกอย่างแรกดีกว่าครับ

 

หากบทความในวันนี้ทำให้ท่านรู้สึกไม่สบายใจ หรือ เหมือนไปลบหลู่สิ่งที่ท่านเชื่อถือและเข้าใจมาตลอดชีวิต

ผมต้องขอบอกว่าผมไม่มีเจตนาและต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

 

ขอบคุณและขอให้โชคดีในการลงทุนท่านครับ

 

 

 

 

ปล. ในตอนหน้า จะกลับไปเข้าเรื่องประวัติศาสตร์ของทองคำใหม่

คราวนี้จะใกล้ตัวเรามากๆ แล้วครับ เพราะจะดูแค่ 10 ปีย้อนหลัง ว่าเกิดอะไรขึ้น

แล้วหลังจากนั้นก็จะขยับเข้าใกล้ โอกาส “ทอง” (จริงๆ) เข้าไปทุกทีๆ แล้วครับ

 

ขออนุญาติทำเป็นสีดำนะครับจะได้อ่านได้cool.gif

แต่พออ่านแล้ว เห็นว่าคุณเจตนาทำเป็นสีขาว ถ้าผมทำให้ผิดวัตถุประสงค์ ขอให้ลบที่ผมอ้างถึงด้วยครับ ขอโทษอย่างแรงครับ em0009.gif

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าคุณหมอเล็กไม่บอก หนูก็ไม่รู้นะเนี่ย

ขอบคุณคุณหมอเเล็กและคุณ Nexttonothing ค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

c5c7ba2a8d2229f122701e500ec82539.gifc5c7ba2a8d2229f122701e500ec82539.gifc5c7ba2a8d2229f122701e500ec82539.gifc5c7ba2a8d2229f122701e500ec82539.gif

 

กระทู้คุณ next นี้มีสาระ ความคิดเห็นเหมือนผม ผมเลือกถิอทองมากกว่าถือเงินครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบดุณมากๆๆๆ เลยค่ะ ถูกใจและโดนใจที่สุด ขอติดตามอ่านต่อไปค่ะ เป็นสิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยคิดว่ามันเป็นแบบนี้จริงๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านได้จุใจจริงๆ ขอบคุณตุณหมอด้วยที่ชาวยทำให้อ่านได้ง่าย !thk !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไม่เสียใจจิงๆค่ะ ที่รอติดตาม

จะขอเป็นแฟนกระทู้นี้ไปจนกว่าจะจบเล่มนะคะ สู้ๆ (บอกตัวเอง) :P และ คุณ Next ค่ะ :wub: :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...