ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฟิทช์และ S&P ลดเครดิตแบงก์ใหญ่ของสเปนเหตุเศรษฐกิจส่อเค้าถดถอย

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 12 ตุลาคม 2554 15:31:18 น.

ฟิทช์ เรทติ้ง และสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารรายใหญ่ของสเปน โดยให้เหตุผลเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจที่ตกต่ำของสเปน

 

ฟิทช์ได้ลดอันดับเครดิตของธนาคาร 6 แห่ง หลังจากที่ได้ลดอันดับเครดิตสเปนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

ขณะที่ S&P เปิดเผยว่า บริษัทได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน 10 แห่ง ซึ่งรวมถึงซานตานเดร์ และบีบีวีเอ พร้อมกับระบุว่า การลดอันดับครั้งนี้เป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคและการเงินในสเปนที่ย่ำแย่กว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ โดยในมุมมองของ S&P นั้น เศรษฐกิจของสเปนมีแนวโน้มการขยายตัวที่ซบเซาในระยะใกล้นี้ ส่วนกิจกรรมในตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน ขณะที่ความผันผวนในตลาดทุนมีมากขึ้น

 

S&P ระบุว่า ภาคธนาคารจะได้รับผลกระทบจากภาวะไร้สมดุลของเศรษฐกิจสเปนต่อไปในช่วง 15-18 เดือนข้างหน้า

 

 

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

In Focus: ย้อนรอย“ยูโร: สุขหรือ“โศก นาฎกรรมสกุลเงินเดียวของยูโรโซน

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 12 ตุลาคม 2554 13:30:00 น.

หนึ่งในภูมิภาคที่ทั่วโลกกำลังจับตาด้วยความหวาดหวั่นในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ยูโรโซน" และเมื่อพูดถึงยูโรโซน สิ่งที่คนทั่วไปมักจะนึกถึงก็คงจะเป็น “สกุลเงินยูโร" ซึ่งเป็นสกุลเงินร่วมของยูโรโซนที่ก้าวขึ้นมาสร้างความยิ่งใหญ่ในเวทีเศรษฐกิจโลกในรูปแบบที่มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดสกุลเงินเดียวของภูมิภาคนี้ แต่ยิ่งมีความยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลมากเท่าใด เมื่อเกิดปัญหาก็ย่อมจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย เปรียบเหมือนกับยักษ์ล้ม ย่อมสั่นสะเทือนไปทุกหย่อมหญ้า และในปัจจุบัน “ยักษ์" ตนนี้กำลังอ่อนแอและใกล้จะล้มลงทุกที จนคนทั่วไปอดหวั่นใจไม่ได้

 

 

 

ปัญหาเศรษฐกิจและวิกฤติหนี้สินของยูโรโซนที่เกิดขึ้นถือได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับสกุลเงินยูโรอย่างที่ไม่อาจแยกจากกันได้ ขณะที่อนาคตยูโรโซนยังคงมืดมนเหมือนไร้ทางออก และแนวทางแก้วิกฤติหนี้ภูมิภาคก็ดูจะไร้ทิศทางที่ยั่งยืนนอกเหนือไปจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปพลางๆนั้น สิ่งที่มีความชัดเจนโดดเด่นขึ้นมาก็คือต้นตอของปัญหาที่อาจไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่ก็เป็นการตอกย้ำข้อกังขาที่มีมาตั้งแต่แรกคลอดยูโรโซน การมองย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นอาจช่วยให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มชัดและถ่องแท้ถึงปัญหาที่รุมเร้าภูมิภาคที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่จับตาในฐานะกลุ่มประเทศที่มีสกุลเงินเดียวที่ทรงพลังทางเศรษฐกิจ แต่วันนี้กลับกลายเป็นภูมิภาคที่ชาวโลกหวาดวิตกและเฝ้าระวังในฐานะคนป่วยหนักด้วยพิษโรคติดต่อร้ายแรงทางเศรษฐกิจที่พร้อมจะลุกลามและแพร่เชื้อได้ตลอดเวลา

 

แรกคลอดสกุลเงินเดียว

ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 นับเป็นวันแรกที่มีสกุลเงินยูโรเป็นสกุลเงินใหม่อย่างเป็นทางการ ยูโรเป็นสกุลเงินเดียวของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ที่เกิดจากแนวคิดเศรษฐกิจเดียว โดยหลังจากที่ได้มีการเจรจากันมาเป็นเวลานาน 11 ชาติสมาชิกอียูก็ได้เห็นพ้องกันในสนธิสัญญามาสตริชท์ (Maastricht Treaty) เพื่อก่อตั้งสหภาพการเงินยุโรป (European Monetary Union หรือ EMU) อันเป็นเขตการใช้สกุลเงินยูโรร่วมกัน แต่ได้เริ่มมีการใช้สกุลเงินยูโรจริงๆในวันที่ 1 มกราคม 2545 โดยใช้ระยะเวลา 3 ปีในการเตรียมความพร้อมสำหรับชาติสมาชิก ขณะที่มีธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เป็นหน่วยงานบริหารจัดการนโยบายการเงินอย่างอิสระแบบรวมศูนย์ ส่วนนโยบายการคลังที่เกี่ยวกับประเด็นรายได้ และการใช้จ่ายเงินงบประมาณของชาติเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกของยูโรโซน โดยอยู่ภายใต้กฎระเบียบต่างๆของสหภาพยุโรปด้วย

 

ในระยะแรกนั้น เป็นที่เชื่อกันว่า ยูโรคือเงินที่จะเข้ามาทดแทนเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปมีความแข็งแกร่งอย่างมาก ธนาคารกลางประเทศต่างๆได้พากันหันมาถือครองเงินยูโรไว้ในทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ความยิ่งใหญ่ของการใช้เงินยูโรที่เริ่มขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ทำให้เงินยูโรกลายเป็นสกุลเงินสำรองรายใหญ่อันดับสอง และเป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายหมุนเวียนมากเป็นอันดับสองของโลกด้วย โดยบางช่วงยังแซงหน้าดอลลาร์สหรัฐด้วยซ้ำ

 

หลายประเทศอียูเห็นต่าง

ใช่ว่าทุกประเทศสมาชิกอียูจะเห็นด้วยกับแนวคิดการใช้สกุลเงินเดียวของยุโรป ประเทศสมาชิกอียูที่สำคัญ 3 ประเทศ ซึ่งได้แก่ อังกฤษ, เดนมาร์ค และสวีเดน ทั้ง 3 ประเทศนับเป็นประเทศชั้นดีที่มีระบบเศรษฐกิจมั่นคงถึงขนาดที่ทางการยูโรโซนพร้อมจะส่งเทียบเชิญให้เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรได้ทันที เหตุผลของการปฏิเสธก็เพราะยังทำใจไม่ได้ที่เอกราชทางเศรษฐกิจของตนจะต้องไปขึ้นอยู่กับประเทศอื่น และประชาชนของทั้ง 3 ประเทศก็มั่นใจในระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของตน และเกรงว่าประเทศจะอ่อนแอลงหากมีการใช้สกุลเงินเดียวร่วมกับหลายๆชาติ

 

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2546 สวีเดนได้จัดให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับการร่วมใช้สกุลเงินเดียวกับยูโรโซน และผลปรากฎว่าชาวสวีเดนร้อยละ 56 ไม่ต้องการเข้าร่วมกลุ่มยูโรโซน การตัดสินใจไม่เข้าร่วมยูโรโซนของสวีเดนในครั้งนี้ นับเป็นการทำประชามติครั้งแรกของสหภาพยุโรปหลังจากที่ใช้เงินยูโรมาตั้งแต่ปี 2545 โดยก่อนหน้านั้น อังกฤษได้เคยลงประชามติไม่เข้าร่วมยูโรโซนมาแล้ว 2 ครั้ง ในปี 2540 และ 2544 ขณะที่เดนมาร์คลงมติไม่รับเงินยูโรในเดือนกันยายน 2543

 

สกุลเงินเดียวในอุดมคติ

ตามหลักการแล้ว การรวมกลุ่มใช้สกุลเงินเดียวกันจะมีข้อดีหลายประการ แต่มีข้อแม้ว่าประเทศสมาชิกต้องมีความทัดเทียมกันในหลายๆด้าน ซึ่งที่สำคัญก็คือด้านเศรษฐกิจ จุดเด่นที่ชัดเจนก็คือ การค้าขายระหว่างกันเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น เพราะต้นทุนลดลงจากการที่ไม่มีอุปสรรคด้านอัตราแลกเปลี่ยน และต้นทุนในการกู้ยืมลดลง เนื่องจากค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (premium risk) จะหมดไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงค่าความเสี่ยงสำหรับการผิดนัดชำระหนี้ (default risk) ด้วย นอกจากนี้ การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศยูโรโซนช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ประเทศสมาชิก และเป็นเหมือนใบเบิกทางในการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศได้ในจำนวนมากและในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าปกติ

 

ในช่วงแรกนั้นมีแนวคิดที่จะใช้สกุลเงินยูโรเฉพาะกลุ่มประเทศยุโรปทางตอนเหนือที่มีระดับการพัฒนาและมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมากกว่า แต่ในที่สุดก็มีการรวมกลุ่มประเทศเล็กๆที่ดูเหมือนยังไม่มีความพร้อมเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกด้วย เช่น กรีซ จนในปัจจุบันนี้ยูโรโซนมีสมาชิกถึง 17 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม, ไซปรัส, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, โปรตุเกส, สเปน, สโลเวเนีย, ออสเตรีย, เนเธอร์แลนด์, มอลตา, สโลวาเกีย และเอสโทเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกล่าสุด

 

กฎเหล็กในการปรับพื้นฐาน

ก่อนที่จะได้เข้าร่วมมาใช้สกุลเงินร่วมกัน ประเทศสมาชิกจะต้องผ่านเกณฑ์เพื่อปรับพื้นฐานด้านเศรษฐกิจมหภาคให้ใกล้เคียงกันก่อน อันเป็นที่มาของกฎเหล็กในสนธิสัญญามาสตริชท์ ซึ่งได้แก่ การมียอดขาดดุลงบประมาณไม่เกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี), หนี้สาธารณะรวมไม่เกิน 60% ของจีดีพี, อัตราเงินเฟ้อต่ำ คือ ไม่เกิน 1.5% ของ 3 ประเทศสมาชิกที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด ซึ่งหมายถึงประเทศที่มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีที่สุด, อัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ ค่าเงินต้องไม่ผันผวนเกินกว่าช่วงที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวต้องไม่เกิน 2% ของ 3 ประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำสุด

 

ข้อแม้สำคัญที่ต้องยอมแลก

ประเด็นสำคัญสำคัญอีกประการหนึ่งในการใช้สกุลเงินร่วม ก็คือ ประเทศสมาชิกต้องยอมยกเลิกสกุลเงินของตัวเอง ซึ่งหมายถึงการยอมมอบนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) โดยประเทศสมาชิกจะไม่สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศตัวเองได้อีกต่อไป ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศจะเป็นเช่นไร ซึ่งนับเป็นจุดอ่อนที่ค่อยๆบ่อนทำลายเศรษฐกิจและเสถียรภาพของยูโรโซน

 

ความแตกต่าง..กระจกเงาที่สะท้อนความแตกร้าวในปัจจุบัน

แต่ละประเทศมีความแตกต่างกันทั้งในด้านสภาพภูมิศาสตร์ โครงสร้างอุตสาหกรรม พื้นฐานเศรษฐกิจ ศักยภาพและวินัยทางการคลัง ยุโรปตอนเหนือ เช่น เยอรมนี มีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นทำให้มีวินัยสูงกว่า อีกทั้งยังมีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จำเป็น อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมหนัก ส่วนกลุ่มประเทศทางตอนใต้ เช่น กรีซ อิตาลี และสเปน มีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่า มีภูมิประเทศที่เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจพึ่งพาภาคเกษตรกรรม ประชากรมีฐานะยากจน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การท่องเที่ยว บริการ และสันทนาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปสงค์จากนักท่องเที่ยว การนำประเทศที่มีความแตกต่างกันอย่างมากมาใช้สกุลเงินและนโยบายการเงินร่วมกัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะสามารถตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของแต่ละประเทศได้อย่างทั่วถึง ประเด็นความแตกต่างนี้กำลังเป็นกระจกเงาที่สะท้อนปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในยูโรโซน

 

นโยบายรวมศูนย์..กรงทองที่จำกัดอิสรภาพ

กลุ่มประเทศยากจนทางตอนใต้ต้องการสกุลเงินที่อ่อนค่าเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันแก่สินค้าส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรที่ไม่ได้สลับซับซ้อนและไม่ได้มีการเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยีในการผลิต แต่ต้องอาศัยกลไกการแข่งขันด้านราคาเป็นสำคัญ ซึ่งนับเป็นปัจจัยในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนกลุ่มประเทศร่ำรวยอย่างเยอรมนี ไม่ต้องอาศัยการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง สินค้าจากยุโรปทางเหนือเป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะและมีมูลค่าในตัวเอง ค่าเงินจึงไม่ส่งผลต่อการแข่งขันของประเทศทางตอนเหนือ แต่กลุ่มประเทศยากจนและมีปัญหาทางเศรษฐกิจไม่สามารถที่จะใช้กลไกการปรับลดค่าเงินเพื่อหนุนศักยภาพการแข่งขัน, เพิ่มการส่งออกและกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เนื่องจากการใช้สกุลเงินร่วมและมีอีซีบีในการกำกับดูแลนโยบายการเงินของกลุ่ม ทำให้ขาดความยืดหยุ่นในการจัดการค่าเงิน การใช้สกุลเงินเดียวร่วมกันของกลุ่มประเทศที่มีความแตกต่างกันนั้น จะบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่อ่อนแอกว่า และเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ลง

 

กรีซ..ประเทศเจ้าปัญหา จากการแหกกฎสู่ชนวนความหายนะ

ภาพลักษณ์ของกรีซไม่ได้ขาวสะอาดและโปร่งใสมาตั้งแต่แรก เริ่มจากการที่กรีซไม่ได้ถูกรวมอยู่ในประเทศที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามเกณฑ์ที่จะร่วมเป็นสมาชิก 11 ประเทศแรกของยูโรโซน แต่ใช่ว่ากรีซจะละความพยายาม และถึงขั้นใช้วีธีการตกแต่งตัวเลขงบดุลปี 2541 จนสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกยูโรโซนได้ในปี 2543

 

ผลของการตกแต่งบัญชีดังกล่าวทำให้รัฐบาลกรีซคาดถึงตัวเลขขาดดุลงบประมาณของปี 2541 ไว้ที่ 1.9% ของจีดีพี ซึ่งเป็นเงื่อนสำคัญที่ทำให้กรีซได้รับอนุมัติเป็นสมาชิกยูโรโซน แต่หลังจากนั้น ในปี 2543 ยูโรสแตท ซึ่งเป็นองค์กรด้านข้อมูลสถิติอย่างเป็นทางการของยุโรป ได้ปรับเพิ่มตัวเลขขาดดุลงบประมาณของกรีซเป็น 3.2% สำหรับปี 2541 และ ในปี 2547 ยูโรสแตทได้ปรับเพิ่มยอดขาดดุลขึ้นอีก และส่งผลให้กรีซมียอดขาดดุลจริงในปี 2541 สูงถึง 4.3% ของจีดีพี ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 3% ที่สนธิสัญญามาสตริชท์ระบุไว้

 

เมื่อมองย้อนไปในอดีต จึงไม่น่าแปลกใจที่กรีซกลายเป็นประเทศแรกที่สร้างปัญหาแก่ยูโรโซน อันนำไปสู่วิกฤติที่บานปลายมาจนถึงปัจจุบัน การตกแต่งบัญชีในภาครัฐบาลเปรียบเหมือนการซ่อน"ขยะ" หรือ “หนี้" ไว้ใต้พรมมาเป็นเวลานาน ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะกรีซเท่านั้นที่บิดเบือนตัวเลขทางบัญชี แต่รัฐบาลอีกหลายประเทศในยูโรโซนก็มีการตกแต่งบัญชีเช่นเดียวกัน เช่น สเปน, อิตาลี และโปรตุเกส โดยประเทศดังกล่าวต่างก็ต้องรับมือกับ “ขยะ" ซึ่งช่วยกันซุกซ่อนเอาไว้ และส่งกลิ่นคละคลุ้ง จนอาจจะก่อให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาอย่างมากเมื่อเทียบกับการเปิดเผยเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น เพราะนั่นหมายถึง “การโกหกคำโต" ของรัฐบาล ซึ่งจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของตลาดและนักลงทุนที่ยากจะฟื้นคืนได้ในระยะเวลาอันสั้น

 

การที่ยูโรโซนไม่ได้จัดการกับประเทศที่ละเมิดกฎเกณฑ์พื้นฐานของกลุ่มอย่างจริงจัง ทำให้กฎเหล็กของสนธิสัญญามาสตริชท์ที่ตั้งขึ้นมาเป็นเหมือน “เสือกระดาษ" และเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงไป และยังสะท้อนถึงความไม่ใส่ใจในด้านความมีวินัย และจริยธรรม อันนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงเกินควบคุม (เพราะไม่เคยคุมได้มาตั้งแต่แรก)

 

วิกฤติการเงินและหนี้สินที่รุมเร้ายูโรโซนนับเป็นภาพปัจจุบันที่สะท้อนภาพของอดีตได้อย่างสมเหตุสมผล และความยากลำบากในการแก้วิกฤติครั้งนี้ก็บ่งชี้ถึงข้อด้อยในหลายด้านๆที่สะสมมาจนกลายเป็นจุดอ่อนที่ “แข็งแรง" จนหลายฝ่ายอาจจะต้องเริ่มกลับมาทบทวนการใช้เงินสกุลเงินเดียวว่า จะยังคงเป็นแนวทางที่ได้ผลดีอยู่หรือไม่ ซึ่งหากยังคงต้องการใช้ระบบเงินสกุลเดียวจริงๆ ก็คงต้องพิจารณาให้รอบด้าน เพื่อจะได้ไม่ตกอยู่ในหายนะซ้ำรอยยูโรโซน!

 

--อินโฟเควสท์ โดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กระทรวงพาณิชย์จีนออกแถลงการณ์ค้านกฎหมายกดดันค่าเงินหยวน

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 12 ตุลาคม 2554 13:07:55 น.

กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ออกมาแสดงการคัดค้านการลงคะแนนเสียงผ่านร่างกฎหมายการปฏิรูประบบกำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยนโดยวุฒิสภาสหรัฐ เพื่อกดดันจีนให้ปล่อยเงินหยวนแข็งค่าขึ้นกว่านี้

 

 

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายเฉิน ตันหยาง โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือว่าละเมิดกฎระเบียบสากลขั้นร้ายแรง และยังเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดพลาดในเรื่องของการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าอีกด้วย

 

โดยนายเฉินกล่าวว่า ในช่วงเวลาที่วิกฤตเช่นนี้ วุฒิสภาสหรัฐได้ดำเนินการในลักษณะที่ขัดขวางความพยายามทั่วโลกที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และควบคุมการกีดกันทางการค้าด้วยการใช้กลไกกฎหมายภายในประเทศ เพื่อขู่ลงโทษจีนเพราะการกล่าวหาว่าจีนปั่นค่าเงิน

 

นายเฉินกล่าวต่อไปว่า จีนเชื่อว่า ทั้ง 2 ประเทศควรจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าระดับทวิภาคีผ่านทางการเจรจาและมาตรการที่เป็นบวก โดยจีนไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐต้องได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หลังจากที่ร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้

 

นายเฉินกล่าวว่า จีนหวังว่า สหรัฐจะพิจารณาประเด็นนี้อย่างจริงจัง และมีมุมมองที่เป็นเหตุเป็นผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน ก่อนที่จะตัดสินใจเพิ่มเติมใดๆ

 

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายของวุฒิสภาสหรัฐจะเปิดทางให้รัฐบาลสหรัฐสามารถจัดเก็บภาษีสินค้าจากประเทศที่พบว่า ปั่นค่าเงินเพื่ออุดหนุนธุรกิจส่งออก

 

อย่างไรก็ดี ก่อนที่ร่างกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้นั้น ทางสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจะต้องให้ความเห็นชอบก่อน และจากนั้น ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะลงนามรับรองเพื่องบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้ว่าฯ กทม.ยอมรับทุกพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมทุกจุด

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 ตุลาคม 2554 14:44 น.

 

 

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงพื้นที่ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์น้ำในพื้นที่เขตทวีวัฒนา ที่น้ำได้เข้าท่วมที่อยู่อาศัยของประชาชนบางส่วนแล้ว โดยคลองทวีวัฒนาสามารถรองรับน้ำได้อีก 50 เซนติเมตร และเร่งระบายออกสู่คลองมหาสวัสดิ์

ทั้งนี้ในการประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี มีมติให้เพิ่มการระบายน้ำในคลองทวีวัฒนา เพื่อรองรับน้ำจากนนทบุรี และปทุมธานีเพิ่มเติม รวมทั้งร่วมกับกองทัพเรือและกองทัพบก เสริมกระสอบทรายเพิ่มอีก 50 เซนติเมตร ตั้งแต่แนวคันกั้นน้ำคลองทวีวัฒนาและคลองมหาสวัสดิ์ ขณะเดียวกันกรุงเทพมหานครจะเร่งระบายน้ำในคลองแสนแสบ และคลองประเวศผ่านอุโมงค์ระบายน้ำพระโขนง เพื่อระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และออกสู่ทะเลต่อไป เพื่อรองรับฝนที่จะตกในช่วงวันนี้ 16-18 ตุลาคมนี้ และเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ชั้นใน โดยยอมรับว่า ทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานครมีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมขังทุกจุด เพื่อความไม่ประมาททุกฝ่ายต้องเฝ้าติดตามตลอด 24 ชั่วโมง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้ว่าฯปทุมชี้น้ำอาจทะลักท่วมกรุงเที่ยงคืนนี้หากไม่เร่งเสริมคันกั้นน้ำ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 ตุลาคม 2554 16:01 น.

 

 

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับผู้ว่าราชการจังหวัดภาคกลาง 14 จังหวัด โดยผู้ว่าราชการ จ.ปทุมธานี รายงานว่า พนังกั้นน้ำที่จะกั้นน้ำไม่ให้เข้ากรุงเทพมหานคร ชำรุดเสียหายมาก และกระสอบทรายที่วางกั้นหายไปในช่วงกลางคืน จึงขอให้นายกรัฐมนตรีประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน และขอกำลังเสริมทำคันกั้นน้ำ ซึ่งหากไม่ดำเนินการ น้ำจะทะลักเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร ภายในเที่ยงคืนวันนี้ (12 ต.ค.)

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดหาพื้นที่เพื่อใช้เป็นศูนย์อพยพผู้ประสบอุทกภัยเพิ่มเติม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แม่น้ำป่าสักค่ะ มองด้วยสายตานะคะ น่าจะลงไปประมาณ 2-3 เมตร

 

แวะดูกราฟ ออกจะแปลกใจนิดๆ ดู ma 30 ทำไมมันขึ้นค่อนข้างชัน ทั้งที่ราคามันก็ไม่ได้ขึ้นชัน

 

รูปเมื่อคืน แปะไม่ได้

 

 

111054ma.gif

 

 

รูปเมื่อเช้า

121054mah4.gif

 

 

และเมื่อซักครู่

 

121054mah4116.20.gif

 

 

 

เส้น ma 30 กราฟแรกสีน้ำตาลมันหักขึ้นแล้วแต่ เส้น 75 เขียวอ่อนก็ยังไม่ขึ้น...เหมือนกันในรูปที่ 2 เมือเช้ากี่โมงจำไม่ได้ เพราะมันแปะไม่ได้

 

 

แต่รูปสุดท้าย เส้น 75 ขึ้นตามแล้ว แสดงให้เห็นว่าครั้งนี้ขึ้นจริงๆ ...เฮ้อ เพราะทุกเส้นขึ้นหมด

 

แต่....ก็ยังมีอีก...ในกราฟรายวันเส้น 100 ยังไม่ขึ้นแต่มันเป้นการบอกระยะยาวๆๆ

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูโรทรงตัวเทียบดอลล์ แม้สโลวาเกียโหวตคว่ำแผนเพิ่มขนาดกองทุน EFSF

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 12 ตุลาคม 2554 11:41:48 น.

เงินยูโรทรงตัวเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและเงินเยนในช่วงเช้าวันนี้ที่ญี่ปุ่น โดยนักลงทุนไม่ได้ให้ความสนใจกับการที่รัฐสภาสโลวาเกียลงคะแนนเสียงคว่ำแผนการเพิ่มอำนาจกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป

 

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ณ เวลาเที่ยงวันนี้ ยูโรซื้อขายกันที่ระดับ 1.3607 - 1.3610 ดอลลาร์ และ 104.39 - 104.41 เยน เมื่อเทียบกับระดับ 1.3635 - 1.3645 ดอลลาร์ และ 104.47 - 104.57 เยนในตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ และที่ 1.3637 - 1.3638 ดอลลาร์ และ 104.58 - 104.62 เยนในตลาดโตเกียวเมื่อวานนี้

 

 

 

เงินยูโรยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและเงินเยน แม้ว่ารัฐสภาสโลวาเกียจะยังไม่รับรองร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)

 

ดีลเลอร์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในสโลวาเกียไม่ได้ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อเงินยูโร เนื่องจากมีการคาดการณ์กันว่าสโลวาเกียจะลงมติรับร่างกฎหมายดังกล่าวในที่สุด เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆในกลุ่มยูโรโซน โดยรัฐสภาสโลวาเกียจะจัดการลงคะแนนเสียงอีกครั้งอย่างเร็วสุดในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ สโลวาเกียยังคงเป็นประเทศเดียวในกลุ่มยูโรโซนที่ยังไม่ลงมติสนับสนุนการเพิ่มอำนาจให้กับกองทุน เพื่อช่วยกรีซให้พ้นจากวิกฤต

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รูปเมื่อคืน แปะไม่ได้

 

 

111054ma.gif

 

 

รูปเมื่อเช้า

121054mah4.gif

 

 

และเมื่อซักครู่

 

121054mah4116.20.gif

 

 

 

เส้น ma 30 กราฟแรกสีน้ำตาล เส้น 75 เขียวอ่อ่นยังไม่ขึ้น

 

 

แต่รูปสุดท้าย เส้น 75 แสดงให้เห็นว่าครั้งนี้ขึ้นจริงๆ ...เฮ้อ

สวัสดี ย่าหยา(ขอบใจที่มาเป็นเพื่อนทุกวัน) แสงแดด พวงชมพู เด็กสยาม น้อย foo fang NOT4545 Mr.Li nuchaba

 

pun put42 chinchilla(ถ้าไม่เห็นหน้า..คิดถึง) v. และทุกคน รวมน้องใหม่... :D

moddang..,ginger,kai5976,@@ iñ-lövé @@,TNT2012,หัตรเทรด,แม่น้องปัน,GODRON,modtanoiy .....

ขอบใจมดแดง ดีที่เอามาให้ดูความต่อเนื่อง

อืม เห็นแล้ว

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หรือคืนนี้จะได้เห็น1700$เสียทีไม่ได้เห็นหลายวันแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Asia Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียประจำวันที่ 12 ต.ค. 2554

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 12 ตุลาคม 2554 15:45:45 น.

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดตลาดวันนี้อ่อนตัวลง ขณะที่นักลงทุนพุ่งเป้าไปที่วิกฤตหนี้ยุโรป และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐ

 

ดัชนี S&P/ASX 200 อ่อนตัว 23.30 จุด หรือ 0.55% ปิดที่ 4,204.30 จุด

-- ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันปิดขยับลงในวันนี้ ตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยูโรโซนที่ยังยืดเยื้อ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

 

 

 

ดัชนีเวทเต็ดปรับตัวลง 16.36 จุด หรือ 0.22% ปิดที่ 7,382.35 จุด นำโดยแรงขายหุ้นกลุ่มการเงิน

 

-- ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดตลาดวันนี้พุ่งสูงขึ้นกว่า 3% เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่า รัฐบาลจะกระตุ้นตลาดหุ้นที่ซบเซาด้วยการให้การสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติม

 

ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตพุ่ง 71.48 จุด หรือ 3.04% ปิดที่ 2,420 จุด ส่วนดัชนีหุ้นเสิ่นเจิ้นพุ่ง 360.46 จุด หรือ 3.58% ปิดที่ 10,425.93 จุด

 

-- -ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดปรับตัวลงในวันนี้ หลังจากที่ปิดในแดนบวกมาสามวันติดต่อกัน โดยบรรยากาศการซื้อขายได้รับปัจจัยลบจากการที่บริษัทผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 3 ที่อ่อนแอกว่าคาดการณ์ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกก่อนที่ฤดูกาลเปิดเผยผลประกอบการจะเริ่มต้นขึ้น

 

ดัชนีนิกเกอิอ่อนตัว 34.78 จุด หรือ 0.40% ปิดที่ 8,738.90 จุด

-- หุ้นเกาหลีใต้ปิดปรับตัวขึ้น 0.81% ในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนทุ่มซื้อหุ้นกลุ่มโบรกเกอร์และโรงกลั่นน้ำมัน โดยตลาดไม่ได้ให้ความสนใจกับประเด็นความวิตกกังวลเกี่ยวกับรายได้บริษัทของสหรัฐ ขณะที่เงินวอนอ่อนค่าลงเมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

 

ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ปิดบวกขึ้น 14.48 จุด มาแตะที่ 1,809.5 จุด นับเป็นการปิดตล่าดในแดนบวกติดต่อกันตลอด 5 วันทำการซื้อขายที่ผ่านมา ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับปานกลางที่ 347 ล้านหุ้น มูลค่า 5.61 ล้านล้านวอน (4.77 พันล้านบาท) โดยมีหุ้นบวกมากกว่าหุ้นลบในอัตรา 503-321

 

-- ดัชนี VN ตลาดหุ้นเวียดนามปิดตลาดร่วงลงในวันนี้ ในขณะที่ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาคปิดตลาดแตกต่างกันทั้งในแดนบวกและแดนลบ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป และผลประกอบการที่อ่อนตัวลงของบริษัทสหรัฐ

 

ดัชนี VN ปิดลบ 6.82 จุด หรือ 1.63% ปิดที่ 410.91 จุด

-- ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดปรับตัวขึ้น 187.87 จุด หรือ 1.04% มาปิดที่ 18,329.46 จุดในวันนี้ สอดคล้องกับตลาดหุ้นจีน หลังจากที่มีการคาดการณ์ว่า รัฐบาลจีนอาจจะให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ตลาดเพิ่มเติม

 

ดัชนีฮั่งเส็งเคลื่อนไหวในช่วง 17,804.56 และ 18,411.77 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 7.679 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 9.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หรือคืนนี้จะได้เห็น1700$เสียทีไม่ได้เห็นหลายวันแล้ว

 

เกือนแล้ว น่าจะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ก.ล.ต. ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและบริษัทตลาดอนุพันธ์ ขัดข้องเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2554

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ ThaiPR.net -- พุธที่ 12 ตุลาคม 2554 16:53:57 น.

กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--ก.ล.ต.

กรณีเหตุการณ์ระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“SET”) หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นการชั่วคราว เมื่อเวลา 14.36 น. ของวันที่ 26 กันยายน 2554ก่อนที่ดัชนีราคาหลักทรัพย์ (“SET Index”) จะลดลงถึงร้อยละ 10 ซึ่งต่อมา SET ได้แก้ไขให้ระบบทำการซื้อขายได้ตามปกติในเวลา 14.42 น. และเมื่อเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง SET Index มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งเกิดกรณีที่บริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“TFEX”) ได้เลื่อนเวลาเปิดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในช่วงกลางคืนออกไปอีก 40 นาทีในวันเดียวกัน นั้น

 

 

 

ก.ล.ต. ขอเรียนว่า ในวันดังกล่าว ก.ล.ต. ได้ประสานงานกับ SET และ TFEX เพื่อติดตามสถานการณ์ความผันผวนของราคาหลักทรัพย์และราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ก.ล.ต. ได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่และผู้บริหารทุกระดับของ SET และ TFEX เพื่อขอทราบสาเหตุของข้อขัดข้องในทันที และได้รับคำชี้แจงเบื้องต้นถึงสาเหตุของปัญหา และต่อมาก็ได้รับหนังสือชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมทั้งแนวทางปรับปรุงแก้ไข

 

หลังจากนั้น ก.ล.ต. ได้เข้าพบผู้บริหารของ SET และ TFEX เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในรายละเอียดรวมทั้งดำเนินการประเมินผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังได้ตรวจสอบความผิดปกติในการซื้อขายหุ้นในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย โดยมีข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่อง ดังนี้

 

1. สาเหตุที่ทำให้ระบบซื้อขายของ SET ขัดข้อง

ระบบ circuit breaker ได้ถูกออกแบบให้ trigger market halt สำหรับ SET และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (“mai”) แยกจากกันได้เพื่อรองรับกรณีที่มีการแยกตลาดออกจากกันในอนาคต แม้ข้อกำหนดของ SETจะกำหนดให้ circuit breaker ทำงานเมื่อ SET Index ลดลงร้อยละ 10 และร้อยละ 20 เท่านั้น โดยมิได้กำหนด circuit breaker สำหรับดัชนีราคาหลักทรัพย์ของ mail (“mai Index”) แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม

 

ในทางปฏิบัติมีการใส่ค่า parameter ของ circuit breaker ของทั้งสองตลาดไว้โดยใช้ค่าร้อยละ 10 ทั้งคู่ ดังนั้นเมื่อ mai Index ลดลงถึงร้อยละ 10 ระบบ circuit breaker จึงทำงาน โดยส่งข้อความ market halt

 

ไปยังระบบของสมาชิกทุกราย ทำให้ระบบของสมาชิกหยุดส่งคำสั่งซื้อขายมายัง SET โดยอัตโนมัติ

 

2. แนวทางแก้ไขกรณีระบบ SET ขัดข้อง

SET ได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของระบบซื้อขายดังกล่าวแล้ว โดยปรับปรุงค่า parameter ของ circuit breaker สำหรับ mai Index ไม่ให้มีโอกาสเกิด circuit breaker จาก mai Index อีก

 

3. การตรวจสอบความผิดปกติหลังจาก market halt

ณ เวลา 14.36 น. ของวันที่ 26 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นเวลาที่ SET หยุดการซื้อขายชั่วคราว (market halt) SET Index อยู่ที่ระดับ 867.94 จุด แต่ภายหลังจากที่มีการเปิดซื้อขายใน 6 นาทีต่อมา SET Indexได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจนกระทั่งปิดตลาดเมื่อเวลา 17.00 น. ณ ระดับ 904.06 จุด เพิ่มขึ้น 36.12 จุด หรือ4.16 % เมื่อเทียบกับ SET Index ณ เวลาหยุดการซื้อขาย ก.ล.ต. และ SET ได้ตรวจสอบการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาดังกล่าว พบว่าเป็นการซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ และไม่มีการซื้อขายที่กระจุกตัวในหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งอย่างผิดสังเกต

 

4. สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหากรณี TFEX เปิดซื้อขายล่าช้า

เนื่องจากการซื้อขายในช่วงกลางวันของ TFEX มีรายการซื้อขายจำนวนมาก ทำให้ระบบการซื้อขายและการชำระราคาต้องใช้เวลาในการประมวลผลเพื่อการชำระราคามากกว่าปกติ TFEX จึงต้องเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายในช่วงกลางคืนออกไปอีก 40 นาที เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว TFEX ได้ให้ผู้พัฒนาระบบทำการปรับปรุงและทดสอบระบบดังกล่าวแล้ว จึงมั่นใจว่าจะสามารถรองรับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นมากได้

 

ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงทั้งหมดข้างต้น ได้รายงานให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบด้วยแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2554

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คลายเครียดขำๆ

 

post-2581-089454200 1318414668.jpg

 

ขอบคุณ แมงเม่าคลับ

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...