ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

'บัณฑูร'แนะรัฐผลักดันงบฯกระตุ้นศก. "บัณฑูร" แนะรัฐผลักดันงบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนเอกชนพัฒนาสินค้าเพื่อขยายตลาด ยอดจอง'อิมแพ็คโกรท'ล้น4เท่า ยอดจองซื้อหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ "อิมแพ็คโกรท" ล้น 4 เท่า ห่วงขึ้นภาษีแวตกระทบการฟื้นตัวของศก. "อมรเทพ" ห่วงขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มแบบก้าวกระโดดอาจฉุดการบริโภคชะลอตัวลง-กระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ดัชนีตลาดหุ้นภาคบ่ายพุ่งกว่า10จุด เจาะหุ้นเด่นภาคบ่าย 18-9-57 vdo.gif ทิศทางตลาดอนุพันธ์ภาคบ่าย 18-9-57 vdo.gif CIMBTมองค่าเงินปีหน้าแตะ34บาท/ดอลลาร์

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

ข่าวยอดนิยม

 

การเงิน - การลงทุน

วันที่ 13 กันยายน 2557 21:20

 

หน่วยงานปรับลดงบประมาณสูงสุด

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

news_img_604649_1.jpg

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เวิลด์แบงก์ คาดเศรษฐกิจเสียหายรุนแรงใน 3 ชาติแอฟริกาที่อีโบลาระบาดหนัก

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557 16:51:00 น.

ธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ เปิดเผยว่า ไวรัสอีโบลาที่แพร่ระบาดหนักในแอฟริกาตะวันตกจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เปราะบางของประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน ตราบใดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ โดยทั้ง 3 ประเทศมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาอย่างหนัก

ธนาคารโลกระบุว่าในปีนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจของกินีจะร่วงสู่ระดับ 2.4% จาก 4.5% ขณะที่เซียร์ราลีโอนจะเติบโตลดลงมาอยู่ที่ 2.4% จาก 4.5% และไลบีเรียขยายตัวลดลงที่ 2.5% จาก 5.9%

บทวิเคราะห์ของธนาคารโลกที่เปิดเผยเมื่อคืนนี้ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลาจะสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจทั้ง 3 ประเทศเป็นมูลค่า 359 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ และความเสียหายจะเพิ่มขึ้นเป็น 809 ล้านดอลลาร์ในกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายที่สุด

นายจิม ยอง คิม ประธานธนาคารโลก เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวที่กรุงวอชิงตันในการประชุมทางทางไกล โดยเตือนว่าหากไวรัสระบาดไปยังประเทศแอฟริกาอื่นๆ ความเสียงหายอาจพุ่งสูงเป็นหลายพันล้านดอลลาร์

ทางด้านองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า องค์กรต้องการเงินเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์ในการยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย จงดี อำมฤคขจร/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th-

 

ราคาทองคำฮ่องกงปิดตลาดวันนี้ ร่วงลงแตะ 11,340 HKD/tael

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557 16:18:33 น.

สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เปิดเผยว่า ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงปรับตัวลง 112 ดอลลาร์ฮ่องกง ปิดที่ระดับ 11,340 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ราคาดังกล่าวเทียบเท่ากับ 1,226.68 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ ลดลง 11.03 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ 7.75 ดอลลาร์ฮ่องกง

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย กนิษฐนุช สิริสุทธิ์/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

 

'บางจาก'แนะหยุดอุ้มภาษีดีเซล-ยกเลิกเบนซิน95 ยินดีรับข้าวเน่าผลิตเอทานอล

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557 16:32:00 น.

18 ก.ย.57 นาย วิเชียร อุษณาโชติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสของสหรัฐฯ และเบรนท์ปรับตัวลดลง หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นกว่าคาดการณ์ แต่ราคาน้ำมันของไทยจะลดลงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการโยบายพลังงานแห่งชาติ (กบง.) ว่าจะเร่งแก้ปัญหาการขาดทุนของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยการเรียกเก็บเงิน เพิ่มหรือไม่

ทั้งนี้ นโยบายปรับโครงสร้างราคาดีเซล แม้ปัจจุบันรัฐบาลจะขึ้นภาษีจากประมาณ 0.005 สตางค์ เป็นประมาณ 0.75 สตางค์ต่อลิตร ก็ตาม แต่ยังพบถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้น้ำมันโดยหันไปใช้ดีเซลเป็นจำนวน มาก ทั้งที่ต้นทุนดีเซลและกลุ่มเบนซินไม่ได้แตกต่างกัน ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยจริงๆ ก็ควรจะหามาตรการอื่นๆ มาช่วยเฉพาะกลุ่ม ส่วนโครงสร้างดีเซลก็ควรปรับให้เหมาะสมโดยประกาศล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเตรียมตัวล่วงหน้าในการปรับแผนการผลิตรองรับ

นายวิเชียร กล่าวถึงการรับข้าวเสื่อมคุณภาพจากรัฐบาลในโครงการจำนำข้าวมาผลิตเอทานอล ว่า ขณะนี้ทางบางจากได้มีความพร้อมรองรับ นำข้าวมาผลิตเป็นเอทานอล แต่รัฐบาลเองยังไม่มีความชัดเจนว่าจะส่งมอบหรือไม่ ซึ่งต้องการเห็นนโยบายที่ชัดเจนของรัฐในการส่งเสริมเอทานอลอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 95

 

สรุปภาวะ Gold Futures By GT Wealth Management 18 ก.ย. 57 (ภาคบ่าย)

ข่าวหุ้น-การเงิน ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557 17:02:36 น.

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--GT Wealth Management

ราคาทองคำยังคงอยู่เหนือระดับแนวรับสำคัญที่ US$1,220 ที่จุด Low เดิม โดยหากคืนนี้ราคายังคงไม่หลุดแนวรับดังกล่าว จะมีโอกาสขึ้นทดสอบแนวต้านสำคัญที่ US$1,255 ที่ Retracement 23.6% แต่หากหลุดแนวรับดังกล่าว จะมีแนวรับสำคัญที่ US$1,200 ที่แนวรับจิตวิทยา ด้าน RSI ปรับตัวลงเข้าเขต Oversold อีกครั้ง กลยุทธ์ ข้าง Long ถือต่อ ยืนเหนือ US$1,220 ลุ้นฟื้นตัว ปิดต่ำกว่า US$1,220 ตัดขาดทุน

ราคาทองคำยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบตลอดทั้งช่วงบ่ายอยู่ที่บริเวณ US$1,220 ต่อออนซ์ (Gold Spot) หลังจากที่ปรับลงอย่างหนักในช่วงเช้า จากการประกาศยุติมาตรการ QE ในการประชุมเดือน ต.ค. ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามต่อจากนี้คือการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักรของสก็อตแลนด์ ซึ่งจะทราบผลในช่วงบ่ายตามเวลาประเทศไทยซึ่งหากเกิดการแยกตัวจริงจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ กดดันราคาทองคำ ขณะที่คืนนี้ติดตามการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างยอดเริ่มต้นสร้างบ้าน ยอดขออนุญาตสร้างบ้าน รวมถึงการปราศรัยของนางเจเน็ต เยลเลน ด้านค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.26 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย

http://www.ryt9.com/s/prg/1988939

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10494473_564709170330514_4834527748559456835_o.jpg

อ่านจริงๆจังๆ ออกไปเล่นบ้างก็ดีน้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

 

 

 

Wealth Station

13 mins ·

 

18 กันยายน 2014 -- *FED:"รอยเตอร์"เจาะลึกยุทธศาสตร์ทางออกของเฟด ปูทางนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติ

 

นิวยอร์ค--18 ก.ย.--รอยเตอร์

ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยร่างแผนการใหม่เมื่อวานนี้

สำหรับการปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากเฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ

ใกล้ 0 % นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2008 และได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการ

อัดฉีดเม็ดเงินหลายล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่เฟดได้ตกลงกันในเรื่อง "หลักการแผนยุทธศาสตร์ทางออก" ในเดือน

มิ.ย. 2011 แต่สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึง

ปริมาณตราสารหนี้ในงบดุลของเฟดที่เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ และการที่

เฟดมีเครื่องมือใหม่เพื่อใช้ในการควบคุมอัตราดอกเบี้ย

เฟดได้ปรับแผนยุทธศาสตร์ของปี 2011 และได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์ฉบับ

ปรับปรุงใหม่ออกมาเมื่อวานนี้ โดยแผนใหม่นี้ระบุอย่างชัดเจนว่า เฟดจะใช้อัตรา

ดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) เป็นเครื่องมือหลักในนโยบายการเงิน

และเฟดจะใช้อัตราดอกเบี้ยที่เฟดจ่ายให้แก่ทุนสำรองส่วนเกินเป็นเครื่องมือหลักในการ

ปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

ต่อไปนี้เป็นโครงร่างของ "หลักการและแผนการในการปรับนโยบายเข้าสู่ภาวะ

ปกติ" โดยมีการเปรียบเทียบแผนการใหม่นี้กับแผนการฉบับเดิมในปี 2011:-

*อัตราดอกเบี้ย

เมื่อถึงเวลาที่เฟดจะลดการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เจ้าหน้าที่เฟดก็จะ

เริ่มต้นทำสิ่งนี้ด้วยการปรับเพิ่มกรอบเป้าหมายสำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

เครื่องมือหลักที่เฟดจะใช้ในการปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้เข้ามาอยู่ภายใน

กรอบเป้าหมาย จะเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยที่เฟดจ่ายให้แก่ทุนสำรองส่วนเกิน

ที่ธนาคารพาณิชย์นำมาฝากไว้ที่เฟด

เฟดจะใช้อัตราดอกเบี้ยในการทำ reverse repo ช่วงข้ามคืน "ตามความ

จำเป็น เพื่อช่วยในการควบคุมอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น" แต่เฟดจะใช้อัตราดอกเบี้ย

reverse repo "เฉพาะในขอบเขตที่จำเป็นเท่านั้น" และเฟดจะลดการใช้

เครื่องมือนี้ทีละขั้นตอน เมื่อใดก็ตามที่เฟดไม่มีความจำเป็นต้องใช้

เฟดสาขานิวยอร์คเป็นผู้พัฒนามาตรการ reverse repo เพื่อจะได้ควบคุม

อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นได้อย่างดียิ่งขึ้น โดยในการทำ reverse repo นั้น

เฟดจะกู้ยืมเงินช่วงข้ามคืนจากธนาคารพาณิชย์, กองทุนรวมขนาดใหญ่ในตลาดเงิน,

สำนักงานไฟแนนซ์หนี้จำนอง และสถาบันการเงินประเภทอื่นๆ โดยใช้วิธีขายหลักทรัพย์

ของกระทรวงการคลังให้แก่สถาบันการเงินดังกล่าว และทำข้อตกลงว่าจะซื้อคืนตามเวลา

ที่กำหนดไว้ ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับว่าเฟดจ่ายเงินเพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านี้นำเงิน

มาฝากไว้ที่เฟด และถือเป็นการดูดซับเม็ดเงินส่วนเกินออกจากระบบ เพราะเม็ดเงิน

ดังกล่าวอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดอยู่ในระดับต่ำเกินไป

ในแผนยุทธศาสตร์ทางออกฉบับปี 2011 นั้น เฟดระบุว่า เฟดจะใช้อัตราดอกเบี้ย

ที่เฟดจ่ายให้แก่ทุนสำรองส่วนเกิน และใช้การปรับทุนสำรองของธนาคารพาณิชย์

เป็นเครื่องมือในการปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้เข้าใกล้ระดับเป้าหมาย โดยยังไม่มี

การทดสอบเครื่องมือ reverse repo ในปีนั้น

เฟดเริ่มต้นทดสอบ reverse repo ในฤดูหนาวปี 2013 ซึ่งในตอนนั้น

นักลงทุนก็คาดการณ์ว่า reverse repo อาจจะกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ

ในการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด อย่างไรก็ดี แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่แสดง

ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า reverse repo จะมีบทบาทรอง และจะมีบทบาทเพียง

ชั่วคราวเท่านั้น

*การนำเงินมาลงทุนใหม่ในงบดุล (reinvestment)

ปัจจุบันนี้เฟดนำเงินที่ได้รับจากตราสารหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนมาลงทุนใหม่

ในพอร์ทลงทุนที่มีขนาด 4.4 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ทางออก

ฉบับใหม่ระบุว่า เฟดจะยุติ reinvestment หรือจะปรับลด reinvestment

ทีละขั้นตอน หลังจากที่เฟดเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว โดยกำหนดเวลาในการ

ปรับลด reinvestment จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงิน

ในแผนยุทธศาสตร์ทางออกฉบับปี 2011 นั้น เฟดได้วางแผนที่จะยุติ reinvestment

ในฐานะที่เป็นขั้นตอนแรกในการปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเฟดจะทำสิ่งนี้

ก่อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

*การขายสินทรัพย์

ในแผนยุทธศาสตร์ทางออกฉบับใหม่นั้น เฟดไม่ได้วางแผนที่จะปรับลดปริมาณการ

ถือครองหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสินทรัพย์ (ABS) โดยใช้วิธีขายขาด

"ถึงแม้อาจจะมีความเหมาะสมที่เฟดจะขาย ABS ในวงจำกัดในระยะยาวเพื่อปรับลด

ปริมาณการถือครองที่เหลืออยู่หรือเพื่อยุติการถือครอง" ทั้งนี้ เฟดจะใช้วิธีปล่อยให้

พอร์ทลงทุนมีขนาดเล็กลงไปเอง ในขณะที่หลักทรัพย์ครบกำหนดไถ่ถอนหรือเจ้าของ

บ้านจ่ายหนี้จำนองก่อนกำหนด โดยเฟดจะประกาศให้สาธารณชนได้รับรู้ล่วงหน้า

ถ้าหากเฟดวางแผนจะขาย ABS ใดๆในอนาคต

ส่วนในแผนยุทธศาสตร์ฉบับปี 2011 นั้น เจ้าหน้าที่เฟดวางแผนว่า เฟดจะเริ่มต้น

ขาย ABS เมื่อใดก็ตามที่เฟดเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และเฟดจะระบาย ABS

ออกไปจากงบดุลได้จนหมดภายในเวลา 3-5 ปี

*งบดุล

เฟดวางแผนในระยะยาวว่า เฟดจะ "ถือครองหลักทรัพย์ในปริมาณที่ไม่มากเกิน

ความจำเป็น เพื่อจะได้ดำเนินโยบายการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ" และเฟดวางแผน

ที่จะถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นหลัก แทนที่จะถือครองทั้งพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

และหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) เหมือนในปัจจุบัน

--จบ--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

Gold spot price update 18.09.14 ออ.นัน

*ราคาทองคำก็ดำเนินทางลงมาถึงโซนแนวรับที่มีนัยยะสำคัญตามการวัดเป้าหมายของลูกคลื่นตามทฤษฏีตัวเลข Fibonacci expansion ที่161.8% ซึ่งผมเคยวัดไว้กาอนหน้านี้ก็จะอยู่ราว 1220-1215 โดยประมาณ ซึ่งล่าสุดถือว่าราคาทองคำได้ลงมาถึงโซนเป้าหมายดังกล่าวนี้แล้ว

***ประเด็นคำถามที่มีถามกันมา ผมรวบรวมคร่าวๆ ได้ตามนี้

1)ราคาทองลงพอหรือยัง?

2)ซื้อได้ยัง?

3)sell ต่อทันมั้ย?

4)มันจะลงต่อด้วยเหตุผลอะไร?

 

........ฟังนะครับ อ่ะ ผมจะเล่าให้ฟัง ฟังนะครับ...ขี้เกียจเล่าหลายครั้ง (เพลงดาจิม ยุคใต้ดิน)

***ตอบคำถามข้อที่1)ราคาทองลงพอหรือยัง?

ผมมองว่า ราคาทองคำยังคงมีโอกาสลงได้ต่อ โดยมีเป้าหมายหลักคือการลงไปทำจุดจบคลื่น5ใหญ่ ที่มี lower low ที่ต่ำกว่าคลื่น3ใหญ่เขตแถว1180+/- ที่เคยทำไว้ในช่วงก่อนหน้านั่นเองครับ

***ตอบคำถามข้อที่2)ซื้อได้ยัง?

ผมมองว่าถ้าเป็นทองคำจริงๆ physical ไม่ว่าจะเป็นแท่ง รูปพรรณ ซื้อไว้ไม่น่าเกลียดครับ แต่ถ้าใช้วิธีทยอยซื้อสักส่วน อาจจะ 10-20%ของที่ตั้งใจจะซื้อเก็บก็จะยิ่งดี เพราะผมมองว่ามีโอกาสซื้อของดีราคาถูกกว่านี้ครับ เพราะผมยังคงลุ้นไปซื้อราคาที่ต่ำกว่า 1180+/- นั่นล่ะครับ

แต่ถ้าเป็นตลาดเก็งกำไร ไม่ว่าจะเป็น GF Gold futuer หรือ GS Gold spot ผมยังไม่แนะนำเล่นทางซื้อครับ ยกเว้นว่าท่านจะมือโปรจริงๆ สามารถเข้าออกเร็วและบริหารความมเสี่ยงของตัวเองได้ดีเยี่ยม อันนี้ก็ไม่ว่ากันครับ เพราะในระยะสั้นผมมองว่า ราคาทองคำได้ลงมาถึงโซนแนวรับที่มีนัยยะสำคัญทางเทคนิคแถวเขต 1220-1215 แล้ว ในเริ่มมีสัญญาณ bullish divergence ของอินดิเคเตอร์อย่าง Sto /RSI ในชาร์ตราย h4 แล้ว ดังนั้น มีโอกาสที่โซนแถว 1220-1215นี้จะเป็นจุดจบของคลื่นย่อยที่iii (สีฟ้า) ซึ่งแน่นอนว่าก็ควรจะมีการดีดสลับ ในลูกคลื่นCorrectionย่อยที่iv(สีฟ้า)นั่นเอง

***3)sell ต่อทันมั้ย?

ถ้าจะsellจริงๆควรรอดูการดีดสลับก่อนแล้วค่อยไปลุ้น sell ใหม่ในโซนที่คิดว่าเป็นจุดจบคลื่นย่อยiv จะดีกว่า ตรงกันข้ามในระยะสั้นนี้ผมมองว่าควรหาจัวหวะปิดทำกำไร position sell ออกบ้างจะดีกว่า

***4)มันจะลงต่อด้วยเหตุผลอะไร?

เหตุผลแรก คือ เหตุผลทางเทคนิคคอล ซึ่งผมเน้นในระบบของคลื่นเอลเลียต ซึ่งผมมองว่า ราคาทองคำยังไม่จบแนวโน้มทางลงในลูกคลื่นใหญ่ที่5 (สีเหลือง) ในภาพชาร์ตราย daily นั่นเอง

เหตุผลที่สอง คือ เหตผลทาง fundamental โดยผมเน้นวิเคราะห์ไปที่ตัวของสหรัฐ โดยเฉพาะในส่วนของทิศทางค่าเงินดอลลาร์เป็นหลัก ผมมองว่า ทิศทางของดอลลาร์ยังมี story เรื่องของการยกเลิกQE และเรื่องของดอกเบี้ย โดยเฉพาะเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่เตรียมจะเป็นขาขึ้นในอีกไม่ช้า ไม่นานนี้ ตามคำของเฟดจะเป็นประเด็นที่น่าจะทำให้เกิด Effect ต่อทิศทางดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้นได้อีก และนแน่นอนว่า ราคาทองคำก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลงเพราะผลของ story ดังกล่าว ตาม วิถี sell on rumor นั่นเอง

ปล. ผมแนบรูปชาร์ตราคาทอง มาสอง TF คือH4 และ daily เพื่อให้ท่านได้เห็นแนวโน้มของราคาทั้งภาพใหญ่และภาพย่อยครับ

 

 

 

 

1544551_957223837637299_4520114706302897980_n.jpg?oh=f1b4b0cf77a33548248468a1860c9fdf&oe=54CE99AB&__gda__=1422636674_25a319e4687eb12664f51a8f80fd40db

10151326_957224080970608_5741753253719586780_n.jpg?oh=15cae1e4a49e86537a845147847e2ba6&oe=549AACF4&__gda__=1422102345_cbbc868ac43daba2cc250731836691bc

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10269350_784261518337467_5403231083304855083_n.jpg?oh=382212b47282b8772dcd659f456b69be&oe=54C310BB

วันศุกร์แว้วววว

 

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 07:37:07 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 18 ก.ย.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (18 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีก นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐที่ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,265.99 จุด พุ่งขึ้น 109.14 จุด หรือ +0.64% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,593.43 จุด เพิ่มขึ้น 31.24 จุด หรือ +0.68% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,011.36 จุด เพิ่มขึ้น 9.79 จุด หรือ +0.49%

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (18 ก.ย.) ขานรับถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้

ดัชนี Stoxx 600 พุ่งขึ้น 1% ปิดที่ 347.78 จุด

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,798.13 จุด เพิ่มขึ้น 136.63 จุด หรือ +1.41% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,464.70 จุด เพิ่มขึ้น 33.29 จุด หรือ +0.75% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,819.29 จุด เพิ่มขึ้น 38.39 จุด หรือ +0.57%

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (18 ก.ย.) ขณะที่ชาวสกอตจำนวนราว 4.3 ล้านคนเดินทางออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นอิสระจากสหราชอาณาจักร

ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 38.39 จุด หรือ 0.57% ปิดที่ 6,819.29 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (18 ก.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน ซึ่งส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีความน่าดึงดูดน้อยลงสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่นๆ

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 1.35 ดอลลาร์ ปิดที่ 93.07 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 1.27 ดอลลาร์ ปิดที่ 97.7 ดอลลาร์/บาร์เรล

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (18 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐยังกดดันให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำด้วยเช่นกัน

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 9 ดอลลาร์ หรือ 0.73% ปิดที่ 1,226.9 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 21.7 เซนต์ ปิดที่ 18.517 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 12.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,349.5 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 7.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 831.65 ดอลลาร์/ออนซ์

-- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 ปีเมื่อเทียบสกุลเงินเยนเมื่อคืนนี้ (18 ก.ย.) จากข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน

ค่าเงินยูโรร่วงลงเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2917 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2919 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นที่ 1.6373 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6292 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 108.77 เยน เทียบกับระดับ 108.00 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9343 ฟรังค์ จาก 0.9380 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8979 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9004 ดอลลาร์

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,265.99 จุด เพิ่มขึ้น 109.14 จุด +0.64%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,593.43 จุด เพิ่มขึ้น 31.24 จุด +0.68%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,011.36 จุด เพิ่มขึ้น 9.79 จุด +0.49%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,819.29 จุด เพิ่มขึ้น 38.39 จุด +0.57%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,798.13 จุด เพิ่มขึ้น 136.63 จุด +1.41%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,464.70 จุด เพิ่มขึ้น 33.29 จุด +0.75%

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,237.03 จุด เพิ่มขึ้น 41.86 จุด +0.46%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 16,067.57 จุด เพิ่มขึ้น 178.90 จุด +1.13%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,047.74 จุด ลดลง 14.87 จุด -0.72%

ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,419.00 จุด เพิ่มขึ้น 7.60 จุด +0.14%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,415.80 จุด เพิ่มขึ้น 8.50 จุด +0.16%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,315.93 จุด เพิ่มขึ้น 8.04 จุด +0.35%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,287.29 จุด เพิ่มขึ้น 55.45 จุด +0.77%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,168.72 จุด ลดลง 207.69 จุด -0.85%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,208.14 จุด เพิ่มขึ้น 19.96 จุด +0.38%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,845.32 จุด เพิ่มขึ้น 1.54 จุด +0.08%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,297.29 จุด เพิ่มขึ้น 0.81 จุด +0.02%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 27,112.21 จุด เพิ่มขึ้น 480.92 จุด +1.81%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์พุ่งเทียบเยน ขานรับข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐสดใส

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 07:11:30 น.

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 ปีเมื่อเทียบสกุลเงินเยนเมื่อคืนนี้ (18 ก.ย.) จากข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน

ค่าเงินยูโรร่วงลงเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2917 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2919 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นที่ 1.6373 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6292 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 108.77 เยน เทียบกับระดับ 108.00 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9343 ฟรังค์ จาก 0.9380 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8979 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9004 ดอลลาร์

ดอลลาร์ปรับตัวแข็งแกร่งขานรับข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงานสหรัฐ โดยกระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 13 ก.ย. ปรับตัวลง 36,000 ราย แตะที่ 280,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 305,000 ราย

ส่วนตลาดการเงินของอังกฤษต่างก็คาดกันว่าชาวสกอตจะโหวต “No" ในการลงประชามติเพื่อการแยกตัวเป็นอิสระของสกอตแลนด์ ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีเมื่อเทียบกับยูโร

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

 

 

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดร่วง $9 เหตุนักลงทุนเทขายทองหลังตลาดหุ้นพุ่ง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 07:20:57 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (18 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐยังกดดันให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำด้วยเช่นกัน

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 9 ดอลลาร์ หรือ 0.73% ปิดที่ 1,226.9 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 21.7 เซนต์ ปิดที่ 18.517 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 12.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,349.5 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 7.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 831.65 ดอลลาร์/ออนซ์

นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กทะยานขึ้นแข็งแกร่ง ขานรับถ้อยแถลงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ระบุว่า เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีก แม้ว่าโครงการซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลงตามกำหนดก็ตาม

นอกจากนี้ ข้อมูลแรงงานที่ดีเกินคาดของสหรัฐยังส่งผลให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำเช่นกัน โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 13 ก.ย. ปรับตัวลง 36,000 ราย แตะที่ 280,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 305,000 ราย

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดร่วง $9 เหตุนักลงทุนเทขายทองหลังตลาดหุ้นพุ่ง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 07:20:57 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (18 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐยังกดดันให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำด้วยเช่นกัน

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 9 ดอลลาร์ หรือ 0.73% ปิดที่ 1,226.9 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 21.7 เซนต์ ปิดที่ 18.517 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 12.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,349.5 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 7.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 831.65 ดอลลาร์/ออนซ์

นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กทะยานขึ้นแข็งแกร่ง ขานรับถ้อยแถลงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ระบุว่า เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีก แม้ว่าโครงการซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลงตามกำหนดก็ตาม

นอกจากนี้ ข้อมูลแรงงานที่ดีเกินคาดของสหรัฐยังส่งผลให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำเช่นกัน โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 13 ก.ย. ปรับตัวลง 36,000 ราย แตะที่ 280,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 305,000 ราย

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

กลุ่ม IS เผยแพร่วีดิโอตัวประกันชาวอังกฤษอีก 1 ราย

ข่าวการเมือง สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 08:01:00 น.

สื่อต่างประเทศรายงานว่า กลุ่มรัฐอิสลาม (IS) เผยแพร่วีดิโอความยาว 3 นาทีเมื่อบ่ายวานนี้ ซึ่งมีภาพตัวประกันชาวอังกฤษคนล่าสุด กำลังเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อของกลุ่ม IS

วีดิโอดังกล่าวมีชื่อว่า "Lend Me Your Ears" แสดงภาพชายในเสื้อสีส้ม ซึ่งเปิดเผยว่าเขาชื่อจอห์น แคนไทล์ เป็นนักข่าวชาวอังกฤษที่เคยทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ Sunday Times, the Sun และ Sunday Telegraph

นายแคนไทล์กล่าวว่า เขาถูกกลุ่ม IS จับตัวในประเทศซีเรีย เมื่อเดือนพ.ย. ปี 2555

รายงานระบุว่า ไม่มีบุคคลอื่นในวีดิโอนอกจากนักข่าวอังกฤษ และเขากล่าวในวีดิโอว่ารัฐบาลได้ทอดทิ้งเขา ชีวิตของเขาจึงอยู่ในกำมือของกลุ่ม IS นอกจากนี้ ในวีดิโอชุดต่อไป นายแคนไทล์กล่าวว่าจะเผยความจริงเกี่ยวกับระบบและแรงจูงใจของกลุ่ม IS รวมถึงวิธีการว่าสื่อตะวันตกชักใยและบิดเบือนสิ่งที่นำเสนอต่อสาธารณชนได้อย่างไร

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นายแคนไทล์ได้ถูกข่มขู่ให้เผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อของกลุ่ม IS ในวีดิโอ ผู้เชี่ยวชาญยังเสริมว่า เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ กลุ่ม IS พุ่งความสนใจไปที่การเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อซึ่งเต็มไปด้วยความรุนแรงบนโซเชียลมีเดีย โดยมีเนื้อหาเพื่อสร้างความตื่นตระหนก และชักจูงคนเข้าร่วมกลุ่ม นอกจากนี้ ดูเหมือนว่ากลุ่ม IS จะได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีกระบวนการผลิตวิดิโอและการจัดการโซเชียลมีเดียเป็นอย่างดี โดยวีดิโอดังกล่าวมีต้นทุนการผลิตที่สูง

ทั้งนี้ กลุ่ม IS สังหารตัวประกันไปแล้ว 3 ราย รวมถึงนักข่าวอเมริกัน และเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ชาวอังกฤษ อีกทั้งขู่ว่าจะฆ่าตัวประกันชาวอังกฤษอีกรายชื่อ อลัน เฮนนิ่งในเวลาต่อไป

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกาะติดหุ้นโลก 19-9-57 vdo.gif Morning News : เกาะติดหุ้นรอบโลก "NOW26" 19-9-57 สรุปภาพรวมตลาดหุ้น 18-9-57 vdo.gif สรุปภาพรวมการลงทุนตลาดหุ้น ช่วงตรงประเด็นข่าวค่ำ "NOW26" 18-9-57 แนวโน้มราคาทอง vdo.gif แนวโน้มราคาทองคำ สดตรงจากนักวิเคราะห์ ช่วงตรงประเด็นข่าวค่ำ "NOW26" 18-9-57 พอร์ตลงทุนหุ้นวันนี้ต่างชาติขาย94ลบ. หุ้นไทยปิดบวก13.59จุด เงินบาทปิด32.25/28อ่อนค่า Money Wise COMMODITIES 18-9-57 vdo.gif

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

ข่าวยอดนิยม

คงนโยบายดอกเบี้ยของเฟด-ไอพีโอของอาลิบาบา หนุนหุ้นสหรัฐ ปิดตลาดแดนบวก

หุ้นสหรัฐ ปิดตลาดแดนบวก เพราะได้แรงหนุนจากการตัดสินใจคงนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟดเมื่อวันพุธ ประกอบกับกระแสตอบรับอย่างคึกคัก ในการทำไอพีโอของบริษัทอาลิบาบา ก่อนหน้าที่บริษัทจะเปิดทำไอพีโอจริงในวันศุกร์นี้ ตามเวลาท้องถิ่น

ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ สหรัฐ ทะยาน 109.14 จุดหรือ 0.64% ปิดที่ 17,265.99 จุด ถือเป็นราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์สองวันติด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 9.79 จุดหรือ 0.49% ปิดที่ 2,011.36 จุด และดัชนีแนสแดก ขยับขึ้น 31.24 จุด หรือ 0.68% ปิดที่ 4,593.43 จุด

อาลีบาบา ซึ่งเป็นเว็บไซต์ อีคอมเมิร์ชรายใหญ่ที่สุดของจีน จะเข้าตลาดหุ้นนิวยอร์ก และขายไอพีโอในวันศุกร์นี้ โดยใช้ชื่อย่อว่า BABA พร้อมปรับเพิ่มช่วงราคาหุ้นไอพีโอ เป็น 66-68 ดอลลาร์ต่อหุ้น

คาดกันว่า เมื่ออาลีบาบาเข้าตลาดหุ้นแล้ว จะสามารถระดมทุนได้ 25,000 ดอลลาร์ หลังปรับขึ้นราคาหุ้นต่อหน่วย เป็น 66-68 ดอลลาร์ต่อหุ้น จากเดิมอยู่ที่ 60-66 ดอลลาร์ต่อหุ้น ซึ่งการปรับขึ้นราคาหุ้นไอพีโอครั้งนี้ จะทำให้อาลีบาบา กลายเป็นบริษัทในตลาดหุ้นที่มีมูลค่ามากที่สุด ลบสถิติเดิมที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรของจีน ทำไว้ที่ 22,100 ดอลลาร์

Tags : ดาวโจนส์ไอพีโออาลีบาบานิวยอร์กเอสแอนด์พี 500แนสแดกเฟด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

การเมือง : สถานการณ์โลก

วันที่ 19 กันยายน 2557 08:00

 

จับตาหลายดินแดนตามรอยสก็อตแลนด์

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

news_img_605788_1.jpg

การลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชของสก็อตแลนด์ ได้รับความสนใจจากสื่อทั่วโลกอย่างมาก

เพราะถ้าหากชาวสก็อตส่วนใหญ่เห็นชอบให้แยกประเทศ จะทำให้ดินแดนและแคว้นอื่นทั่วยุโรปเตรียมเรียกร้องเอกราชเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น แคว้นคาตาโลเนีย ในสเปน แคว้นฟลานเดอร์ส ในเบลเยียม แคว้นเวเนโต ในอิตาลี หรือแม้แต่แคว้นบาวาเรีย ในเยอรมนี

แคว้นคาตาโลเนีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสเปน เคยจัดประชามติแบบไม่เป็นทางการเมื่อปี 2552 และ 2554 ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแยกประเทศ แต่จำนวนผู้ไปลงคะแนนเสียงบางตา และจะจัดประชามติอีกครั้งในวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้อีกครั้ง แต่รัฐบาลสเปน อาจไม่ยอมรับ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ

เช่นเดียวกับแคว้นบาสก์ ที่ต้องการแยกตัวเป็นเอกราช จากทั้งสเปนและฝรั่งเศส เนื่องจากชาวแคว้นบาสก์ มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ซึ่งการเลือกตั้งหลายครั้งที่ผ่านมา พรรคที่สนับสนุนการแยกประเทศ 2 พรรคใหญ่ ได้แก่ พรรคชาตินิยมบาสก์ และพรรครวมชาติบาสก์ สามารถครองที่นั่งส่วนใหญ่ในสภาของแคว้น

ส่วนแคว้นฟลานเดอร์ส ในเบลเยียม ก็เป็นอีกแห่งหนึ่ง ที่ประชาชนสนับสนุนให้มีการแยกประเทศ จากการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พรรคที่สนับสนุนการแบ่งแยกแคว้นฟลานเดอร์ส ก็สามารถกวาดที่นั่งส่วนใหญ่ในสภาเบลเยี่ยมไปได้อีก

ส่วนแคว้นบาวาเรีย ทางใต้ของเยอรมนี ที่แม้จะมีผู้สนับสนุนให้แยกตัวเป็นเอกราชไม่มาก แต่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการเลือกตั้งของแคว้นครั้งล่าสุด พรรคบาวาเรีย ที่สนับสนุนการแยกประเทศ ได้รับคะแนนเสียง 2.1% ซึ่งถือว่าสูงที่สุด นับตั้งแต่ปี 2509

แคว้นเวเนโตของอิตาลี ก็เป็นอีกดินแดนหนึ่ง ที่ต้องการแยกดินแดนออกมา โดยกลุ่มชาตินิยมเวเนโต ได้จัดประชามติออนไลน์แบบไม่เป็นทางการ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมถึง 2 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดพบว่า มีผู้สนับสนุนการแยกดินแดนถึง 89.1% แต่การลงประชามตินี้ ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล

นอกจากนี้ ในอิตาลี ยังมีดินแดนที่ต้องการแยกตัวเป็นเอกราช อย่างเช่น เซาธ์ทีโรล ที่อยู่ติดกับออสเตรียและสวิตเซอร์แลน์ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาเยอรมัน และมีขบวนการแบ่งแยกดินแดนทางตอนเหนือทั้งหมด มาตั้งเป็นประเทศใหม่ด้วยเช่นกัน

ส่วนสถานการณ์ในอังกฤษ นอกจากสก็อตแลนด์แล้ว กระแสการเรียกร้องเอกราช ก็ยังคงพบได้ในทุกแคว้น อย่างเช่น เวลส์ ที่แม้ขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเต็มใจที่จะอยู่กับอังกฤษ แต่โพลล์ของ ยูกอฟ ในเดือนนี้เผยว่า มีประชาชนเห็นด้วยกับการแยกประเทศ 20% เพิ่มขึ้นจากอดีต

ไอร์แลนด์เหนือ ก็เป็นอีกดินแดนหนึ่งของอังกฤษ ที่มีกระแสการแยกประเทศมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุผลทางศาสนา กลุ่มแยกดินแดน จึงต้องการนำประเทศไปรวมกับไอร์แลนด์ ที่มีความใกล้ชิดกันทั้งด้านวัฒนธรรมและศาสนา จนเกิดเหตุปะทะกับกลุ่มไม่เห็นด้วย มาตั้งแต่ปี 2502 และยุติลงหลังบรรุข้อตกลงกู๊ดฟรายเดย์ในปี 2541

คอร์นวอลล์ แคว้นทางตะวันตกเฉียงใต้ ตอนปลายสุดของเกาะอังกฤษ แม้จะมีผู้สนับสนุนให้แยกตัวเป็นเอกราชไม่มาก แต่พรรคชาตินิยมคอร์นวอลล์ ก็เรียกร้องให้สภาของอังกฤษรับรองสถานะการเป็นประเทศหนึ่งในสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับ สก็อตแลนด์ และเวลส์ แต่ถูกปฏิเสธ

Tags : สก็อตแลนด์

คลังญี่ปุ่นเผยยอดการส่งออกในเดือนส.ค.ลดลง1.3%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้น3.9%ในเดือนก.ค.

กระทรวงคลังญี่ปุ่น รายงานว่า ยอดการส่งออกในเดือนส.ค. ลดลง 1.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้น 3.9% ในเดือนก.ค. ส่งสัญญาณว่าความต้องการจากต่างประเทศเริ่มซบเซา

ตัวเลขส่งออกที่ลดลงครั้งนี้ได้รับผลกระทบจากการส่งออกไปสหรัฐที่ลดลง 4.4% และยังดับความหวังที่ว่าความต้องการจากต่างประเทศอาจชดเชยการใช้จ่ายในประเทศที่ซบเซา หลังจากมีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อเดือนเมษายน จาก 5% เป็น 8%

ด้านหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทมิตซูบิชิยูเอฟเจมอร์แกนสแตนเลย์ซีเคียวริตีส์ นายฮิโรชิ มิยาซากิ กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังฟื้นตัว ดังนั้นสถานการณ์ต่าง ๆ น่าจะดีขึ้น ขณะเดียวกันตัวเลขนี้ยังสะท้อนถึงการผลิตในต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป และเขาคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงอีก

การส่งออกที่ต่ำกว่าการคาดหมายนี้เป็นอีกตัวชี้วัดหนึ่งที่สะท้อนความอ่อนแรงของเศรษฐกิจ ในช่วงที่พยายามรับมือกับการขึ้นภาษี โดยนอกจากการส่งออกแล้ว ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเดือนนี้ยังลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี

นอกจากนี้ กระทรวงคลังญี่ปุ่นระบุด้วยว่า ยอดการนำเข้าของประเทศลดลง 1.5% ผลจากการนำเข้าพลังงานที่ลดลง ซึ่งทำให้การขาดดุลการค้าอยู่ที่ 948,500 ล้านเยน และทำให้ดุลการค้าอยู่ในสภาพขาดดุลเป็นเดือนที่ 26 ติดกัน ซึ่งสะท้อนว่ามหาอำนาจด้านการส่งอย่างญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ช่วงขาลง หลังจากบริษัทต่าง ๆ ย้ายฐานการผลิตไปต่างแดนมากขึ้น

Tags : ส่งออกญี่ปุ่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:Hi

 

Ausiris Trading Ideas Gold Futures วันที่ 19 ก.ย 57

Gold Spot:

- jobless claims ลดลง 36K

Gold Spot

กรอบ 1208 - 1238

แนวต้าน 1227 1232 1238

แนวรับ 1218 1215 1208

Gold Futures

กรอบ 18600 - 19100

แนวต้าน 19000 19050 19100

แนวรับ 18800 18700 18600

Strategy

- ถือ Short เป้าหมายต่อไป 1218/1208 (ชิงจังหวะเอากำไรออกบ้าง) Cut loss 1228

- รีบาวด์ขึ้นหาจังหวะ Short Cut loss 1228

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...