ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

10409647_876835829080035_3234126961308226380_n.jpg?oh=ca64a926f5c9caf4ede91b1ffe6f579f&oe=554EF8D8&__gda__=1433025632_b92b6aa84375b12c709ff6f4ea5649d7

-________-

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งทุบราคาทองคำปิดลบ 8.1 ดอลลาร์

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 24 มกราคม 2558 08:52:12 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (23 ม.ค.) อันเนื่องมาจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับยูโร

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 8.1 ดอลลาร์ หรือ 0.62% ปิดที่ 1,292.60 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 18.3 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 6 เซนต์

 

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,268.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 16.1 ดอลลาร์

ราคาทองคำได้รับแรงกดดันหลังค่าเงินยูโรร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ อันเนื่องมาจากการประกาศซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจยูโรโซนมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านยูโร

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้ทรัพย์สินที่ซื้อขายเป็นดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงทองคำ มีราคาสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาการเลือกตั้งของกรีซที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ รวมทั้งการประชุมนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 27-28 ม.ค.นี้ สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง โทร.02-2535000 ต่อ 349 อีเมล์: ket@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq31/2078052

 

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 251.90 จุด เหตุ GDP สหรัฐโตต่ำกว่าคาด

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 31 มกราคม 2558 07:41:41 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) เนื่องจากสหรัฐเปิดเผยว่าประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในไตรมาส 4 ของปีที่แล้วขยายตัวในอัตราที่ช้าลงและต่ำกว่าคาด

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,164.95 จุด ลดลง 251.90 จุด หรือ -1.45% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,635.24 จุด ลดลง 48.17 จุด หรือ -1.03% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,994.99 จุด ลดลง 26.26 จุด หรือ -1.30%

 

 

 

ดัชนีดาวโจนส์ร่วงหนักเมื่อคืนนี้ ภายหลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งแรกสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่ามีการขยายตัว 2.6% หลังจากที่เติบโต 4.6% และ 5% ในไตรมาส 2 และ 3 ตามลำดับ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจีดีพีมีการขยายตัว 3.2% ในไตรมาส 4

 

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า การขยายตัวของจีดีพีในอัตราชะลอตัวลงในไตรมาส 4 นั้น สะท้อนว่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายของรัฐบาลกลางลดลง และการลงทุนนอกกลุ่มสินทรัพย์ถาวรที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยชะลอตัวลง

 

หุ้นอเมซอน Amazon.com พุ่ง 13.71% ภายหลังผลกำไรของบริษัทในไตรมาส 4 ดีเกินคาด หุ้นอาลีบาบาปรับตัวลง 0.81% หลังเปิดเผยผลประกอบการในไตรมาส 4 ที่ย่ำแย่เกินคาด หุ้นเอ็กซอนโมบิลร่วง 5.4% หลังสหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย จงดี อำมฤคขจร โทร.02-2535000 อีเมล์: jongdee@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq18/2083007

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลเจรจากรีซ VS ยุโรปยกแรกคว้าน้ำเหลว ต่างฝ่ายกร้าวไม่มีอ่อนข้อ

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 31 มกราคม 2558 00:18:38 น.

การประชุมกันในวันนี้เกี่ยวกับโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อกรีซระหว่างนายยานิส วารูเฟกิส รมว.คลังกรีซ และนายเจโรน ดิเซลบลูม หัวหน้ากลุ่มยูโรกรุ๊ป ไม่ประสบความคืบหน้าแต่อย่างใด

 

โดยนายวารูเฟกิสได้ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับกลุ่มทรอยก้า หรือกลุ่มเจ้าหนี้ของกรีซที่ประกอบด้วยสหภาพยุโรป (EU) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รวมทั้งไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอที่ให้มีการขยายโครงการดังกล่าวออกไป และการให้มีเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศเข้าตรวจสอบกรีซเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญา

 

 

 

ทางด้านนายดิเซลบลูมยืนยันให้กรีซปฏิบัติตามเงื่อนไขภายใต้ข้อตกลงให้เงินช่วยเหลือ 2.40 แสนล้านยูโร และปฏิเสธข้อเสนอของนายวารูเฟกิสที่ต้องการให้มีการจัดประชุมพิเศษว่าด้วยเรื่องหนี้ของกรีซเป็นการเฉพาะ

 

นายวารูเฟกิสกล่าวก่อนหน้านี้ว่า เขาต้องการทำข้อตกลงฉบับใหม่ที่จะทดแทนมาตรการรัดเข็มขัดที่กรีซถูกบังคับให้ใช้ในปัจจุบันเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

 

นายวารูเฟกิสจะเดินทางไปพบปะกับรมว.คลังของอังกฤษ, อิตาลีและฝรั่งเศสในสัปดาห์หน้าเพื่อขอการสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ โทร.02-2535000 อีเมล์: kongkiat.k@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq29/2083006

 

 

ปธ.เฟดเซนต์หลุยส์หนุนรีบขึ้นดอกเบี้ย แม้สหรัฐขยายตัวต่ำกว่าคาดใน Q4

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 30 มกราคม 2558 23:44:26 น.

นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าววันนี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีแนวโน้มแข็งแกร่ง จึงทำให้เฟดควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้า

 

นายบูลลาร์ดกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยใกล้ 0% ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมสำหรับสหรัฐ และแม้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ แต่ก็ยังต่ำไม่พอที่จะสนับสนุนนโยบายอัตราดอกเบี้ย 0%

 

 

 

นอกจากนี้ นายบูลลาร์ดยังระบุว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตต่ำกว่าคาดที่ระดับ 2.6% ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว แต่เขามองว่าระดับดังกล่าวถือว่าใช้ได้ โดยเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีปัจจัยที่สดใสมากมาย และเขาหวังว่าอัตราการว่างงานจะร่วงลงต่ำกว่าระดับ 5% ในไตรมาส 3 ปีนี้ จาก 5.6% ในขณะนี้

 

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งแรกสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่ามีการขยายตัว 2.6% หลังจากที่เติบโต 4.6% และ 5% ในไตรมาส 2 และ 3 ตามลำดับ

 

นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า จีดีพีมีการขยายตัว 3.2% ในไตรมาส 4

เมื่อพิจารณาทั้งปี 2014 เศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัว 2.4% ดีกว่าเล็กน้อยจากระดับเฉลี่ย 2.2% ในช่วงปี 2010-2013 ขณะที่ในทศวรรษ 1990 เศรษฐกิจสหรัฐมีการเติบโตเฉลี่ย 3.4% ต่อปี

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ โทร.02-2535000 อีเมล์: kongkiat.k@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq27/2083005

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธปท.ชี้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า อ้างการใช้จ่ายภาคเอกชนยังแผ่ว

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 31 มกราคม 2558 06:00:00 น.

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวประมาณกว่า 2% เป็นไปตามที่ ธปท.เคยคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปี 2557 ขยายตัว 0.8% ส่วนปี 2558 ยังคงคาดการณ์จีดีพีจะกลับมาขยายตัว 4%

 

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการใช้จ่ายภาครัฐ การส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนแผ่วลงบ้าง แม้ราคาน้ำมันที่ต่ำลงจะช่วยลดค่าครองชีพและต้นทุนการผลิต

 

 

 

ทั้งนี้ เป็นผลจากภาคครัวเรือนยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย ขณะที่ภาคธุรกิจรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการเริ่มลงทุนอย่างชัดเจนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันโลกที่ต่ำลงทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เดือน

 

ส่วนภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเอเชีย ที่มาจากจีนและมาเลเซีย ซึ่งช่วยชดเชยนักท่องเที่ยวตลาดอื่นๆ ที่สำคัญที่ชะลอตัว เช่น รัสเซียญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

 

การส่งออกขยายตัว 2.3% คิดเป็นมูลค่า 18,697 ล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยมีคำสั่งซื้อมาจากตลาดสหรัฐ ที่เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น แต่อุปสงค์จากจีนชะลอตัวลง และราคาสินค้าส่งออกหลายหมวดที่ปรับลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ เช่น ปิโตรเลียม ยางพารา และเคมีภัณฑ์ ส่งผลให้การส่งออกทั้งปี 2557 ติดลบ 0.3 %และคาดว่าปี 2558 จะขยายตัว 1% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 15,057 ล้านดอลลาร์ หดตัว 7.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามการนำเข้าน้ำมันดิบที่หดตัวสูงต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและราคา

 

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 0.6% ตามราคาพลังงานที่หดตัว 7.41% จากราคาขายปลีกในประเทศที่ปรับลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ราคาอาหารสดชะลอลงมาอยู่ที่ 1.88% จากราคาเนื้อสัตว์และไข่ไก่ ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ส่วนอัตราเงินเฟ้อฟื้นฐานสูงขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 1.69% จากค่าเช่าบ้านที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ยังคงทรงตัวแม้ต้นทุนการผลิตและขนส่งจะปรับลดลงตามราคาน้ำมันบ้าง

 

สำหรับภาพรวมเงินเฟ้อทั้งปี 2557 เงินเฟ้อทั่วไป 1.89% และเงินเฟ้อฟื้นฐาน 1.59% ส่วนไตรมาส 4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ 1.11% ตามราคาพลังงานเป็นสำคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อฟื้นฐานอยู่ที่ 1.65% จากการส่งผ่านต้นทุนก๊าซหุงต้ม มายังราคาอาหารสำเร็จรูปที่หมดลง

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/nnd/2083087

23:28 ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานสหรัฐเพิ่มเล็กน้อยใน Q4 บ่งชี้เฟดไม่รีบขึ้นดบ. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานของสหรัฐเพิ่มขึ้นเล็กน้อย…

23:17 "มอร์แกน สแตนเลย์"เพิ่มคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนยุโรปครั้งแรกรอบ 3 ปี มอร์แกน สแตนเลย์ออกรายงานปรับเพิ่มการคาดการณ์ผลประกอบการสำหรั

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรีซเพิ่งได้นายกรัฐมนตรีอายุ 40 ปีหลังเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ผ่านมา การเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้เป็นครั้งที่ 3

 

ในเวลาไม่ถึง 3 ปี ต้นตอของปัญหาที่ทำให้ต้องเสียเวลาและทรัพย์สินเลือกตั้งกันซ้ำแล้วซ้ำอีกได้แก่วิกฤติเศรษฐกิจแสนสาหัสถึงขั้นล้มละลายหลังเศรษฐกิจโลกเริ่มถดถอยครั้งใหญ่เมื่อปี 2551 กรีซต้องไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เป็นเงินถึง 2.68 แสนล้านดอลลาร์ซึ่งมากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของตนเมื่อที่ 2557 เสียอีก การช่วยเหลือนั้นมาพร้อมกับเงื่อนไขหลายอย่างรวมทั้งการลดการใช้จ่ายของรัฐบาลพร้อมการขึ้นภาษีซึ่งมีผลทำให้คนตกงาน ความไม่พอใจรัฐบาลส่งผลให้ต้องจัดการเลือกตั้งบ่อย

เป็นที่ทราบกันดีว่า พื้นดินของกรีซในปัจจุบันเคยมีอารยธรรมกรีกโบราณตั้งอยู่ ชาวกรีกโบราณเป็นต้นคิดของหลักปรัชญาที่วิวัฒน์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย กรีซยุคใหม่ได้เอกราชจากอาณาจักรออตโตมานเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่การปกครองของกรีซมักห่างไกลประชาธิปไตยจนกระทั่งรัฐบาลทหารถูกกดดันให้สละอำนาจหลังดำเนินนโยบายผิดพลาดอย่างมหันต์เมื่อปี 2517 นั่นคือ สนับสนุนให้เกิดการยึดอำนาจในไซปรัสซึ่งนำไปสู่การแทรกแซงของตุรกีและไซปรัสถูกแยกเป็นสองส่วน หลังเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย กรีซได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อปี 2524

การเปลี่ยนระบอบปกครองครั้งนั้นนำไปสู่การเลือกตั้งทุก 4 ปี ในการช่วงชิงอำนาจกัน รัฐบาลมักนำมาตรการประชานิยมแนวเลวร้ายมาใช้เพื่อซื้อใจประชาชน การใช้จ่ายสูงของรัฐบาลทำให้งบประมาณขาดดุลซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องปิดด้วยการกู้ยืม ประชาชนพอใจเพราะมีรายได้และใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นอันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวในอัตราสูงอีกแรงหนึ่ง อย่างไรก็ดี การขยายตัวนั้นมิได้ส่งผลให้รัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้นจนทำให้งบประมาณขาดดุลน้อยลง ตรงข้าม การขาดดุลยังดำเนินต่อไปในอัตราสูง เนื่องจากกฎของสหภาพยุโรปห้ามสมาชิกขาดดุลงบประมาณเกิน 3% ของจีดีพี รัฐบาลกรีซจึงใช้วิธีตกแต่งบัญชีเพื่อตบตา การทำเช่นนั้นเป็นการวางยาพิษจนเศรษฐกิจต้องล้มละลาย

ผู้นำรัฐบาลใหม่ให้ค่ำมั่นสัญญากับชาวกรีกว่าจะไม่ยอมทำตามเงื่อนไขที่รัฐบาลทำไว้กับเจ้าหนี้และจะขอทำข้อตกลงใหม่ ตามข้อตกลงที่รัฐบาลก่อนทำไว้ หากรัฐบาลกรีซไม่ทำตามเงื่อนไข กรีซจะไม่มีเงินชำระหนี้ที่ถึงกำหนดในเดือนหน้า นั่นหมายความว่า กรีซจะเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายอีกครั้งหากเจ้าหนี้ไม่ยอมผ่อนปรน ในวันที่ร่างบทความนี้ บรรดาเจ้าหนี้ยังไม่แสดงทีท่าว่าจะยอมทำตามคำเรียกร้องของกรีซ หากตกลงกันไม่ได้ กรีซอาจต้องเลิกใช้เงินสกุลยูโร การทำเช่นนั้นจะเกิดผลเสียหายใหญ่หลวงต่อกรีซเอง อาทิเช่น ค่าเงินของตนจะตกต่ำทำให้เกิดเงินเฟ้อร้ายแรง การตกงานและความยากจนจะเพิ่มขึ้นจากอัตราที่สูงกว่า 25% และ 23% ตามลำดับอยู่แล้วในปัจจุบัน วิกฤติร้ายแรงของกรีซยืนยันว่า นโยบายประชานิยมอาจเป็นทางลัดที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวสูงและประชาชนพอใจได้ในเวลาอันสั้น แต่ไม่เพียงนาน วันใช้กรรมจะมาถึง

ไซปรัสเชื่อมโยงกับกรีซอย่างใกล้ชิดมานาน ชาวไซปรัสส่วนใหญ่มีเชื้อสายกรีก แม้ทั้งสองจะเป็นเอกราช แต่ชาวกรีกและชาวไซปรัสจำนวนมากยังมองว่าไซปรัสเป็นส่วนหนึ่งของกรีซ เป้าหมายพื้นฐานของการยึดอำนาจในไซปรัสเมื่อปี 2517 โดยการสนับสนุนของรัฐบาลทหารในกรีซอยู่ที่การรวมไซปรัสเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรีซ ตุรกีมองทะลุจึงเข้าแทรกแซงเพราะชาวไซปรัสส่วนหนึ่งมีเชื้อสายตุรกี หลังจากถูกแยกออกเป็นสองส่วน ชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกตั้งรัฐบาลอยู่ทางใต้ รัฐบาลนี้ได้รับการรับรองจากนานาประเทศและองค์การสหประชาชาติ ส่วนชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกีตั้งรัฐบาลอยู่ทางเหนือซึ่งตุรกีเพียงประเทศเดียวรับรอง ด้วยเหตุนี้ การช่วยเหลือจากภายนอกตามกรอบขององค์การระหว่างประเทศเช่นธนาคารโลกจึงไปตกอยู่กับรัฐบาลทางใต้เพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากรัฐบาลนั้นดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม เศรษฐกิจจึงขยายตัวได้ในอัตราสูง (รายละเอียดมีอยู่ในหนังสือชื่อ “จดหมายจากวอชิงตัน” ซึ่งดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com) เวลาผ่านไปเพียงไม่นาน ไซปรัสก็เปลี่ยนสถานะจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศก้าวหน้าและเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเมื่อปี 2547

ในช่วงที่ไซปรัสเริ่มเข้ากลุ่มประเทศก้าวหน้านั้น สหภาพโซเวียตแตกสลายก่อให้เกิดประเทศเอกราชใหม่ 14 ประเทศรวมทั้งรัสเซีย ไซปรัสปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อดูดเงินจากภายนอกให้ไหลเข้าไปฝากในธนาคารของตน ปรากฏว่าได้ผลดีมาก เงินฝากจากรัสเซียเพียงประเทศเดียวในปี 2554 มีจำนวนถึงเกือบ 3 เท่าของจีดีพีของไซปรัส ผู้รอบรู้สถานการณ์มักมองกันว่าเงินจำนวนมหาศาลนั้นส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจสีเทา ธนาคารไซปรัสนำเงินฝากนั้นออกให้ชาวไซปรัสกู้ยืมไปลงทุนและใช้จ่ายส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวสูง หรือไม่ก็ฝากต่อในกรีซซึ่งให้ผลตอบแทนสูงเป็นพิเศษ เมื่อวิกฤติเกิดขึ้นในกรีซ ธนาคารไซปรัสไม่สามารถถอนเงินได้ ส่งผลให้ขาดสภาพคล่องจนหนึ่งในสองของธนาคารขนาดใหญ่ถูกปิดและเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจนต้องไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟเมื่อปี 2556 การช่วยเหลือนั้นมีเงื่อนไขหลายอย่างยังผลให้ชาวไซปรัสต้องรัดเข็มขัดและใช้หนี้ไปจนถึงลูกหลานเช่นเดียวกับชาวกรีก

เรื่องของกรีซและไซปรัสคงบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่า การเดินลงเหวนั้นทำได้หลายวิธี ประชาชนจะต้องมีความระมัดระวัง อย่าหลงกลนักการเมืองมักง่ายเพราะผลร้ายมักจะตกกับตนและลูกหลาน มิใช่กับนักการเมือง

กรีซและไซปรัสกับ ทางลัดสู่ห้วงเหว

โดย : ดร.ไสว บุญมา

 

ธ.ก.ส.อัดเงิน3พันล.ช่วยเกษตรกร "ธ.ก.ส." อัดเงิน 3,000 ล้านบาท หนุนเกษตรกรชะลอการขุดมันสำปะหลัง ผ่าน 4 มาตรการรักษาระดับราคา สรุปภาพรวมตลาดหุ้น 30-1-58 vdo.gif สรุปภาพรวมการลงทุนตลาดหุ้น ช่วงตรงประเด็นข่าวค่ำ "NOW26" 30-1-58 แนวโน้มราคาทอง vdo.gif ตรงประเด็นข่าวค่ำ แนวโน้มราคาทองคำ สดตรงจากนักวิเคราะห์ "NOW26" 30-1-58 หุ้นไทยปิดร่วง5.15จุด พอร์ตลงทุนหุ้นวันนี้ต่างชาติขาย749ลบ. Money Wise COMMODITIES 30-1-58 vdo.gif สรุปภาวะซื้อขายตลาดหุ้นไทยภาคบ่าย 30-1-58 vdo.gif

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

 

ข่าวยอดนิยม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ซำบายดีเพื่อน meng โซกดี

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 06:12:00 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 30 ม.ค. 2558

 

-- -ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงเมื่อวันศุกร์ (30 ม.ค.) เนื่องจากสหรัฐเปิดเผยว่าประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในไตรมาส 4 ของปีที่แล้วขยายตัวในอัตราที่ช้าลงและต่ำกว่าคาด

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,164.95 จุด ลดลง 251.90 จุด หรือ -1.45% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,635.24 จุด ลดลง 48.17 จุด หรือ -1.03% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,994.99 จุด ลดลง 26.26 จุด หรือ -1.30%

 

 

 

-- -ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (30 ม.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นโทรคมนาคมและหุ้นธนาคาร

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.5% ปิดที่ 367.05 จุด

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,694.32 จุด ลดลง 43.55 จุด หรือ -0.41% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,604.25 จุด ลดลง 27.18 จุด หรือ -0.59% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,749.40 จุด ลดลง 61.20 จุด หรือ -0.90%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (30 ม.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากข้อมูลว่าเงินเฟ้อยูโรโซนเดือนม.ค.ปรับตัวลง

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,749.40 จุด ลดลง 61.20 จุด หรือ -0.90%

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (30 ม.ค.) ภายหลังมีรายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะในสหรัฐลดลง ซึ่งก่อให้เกิดการคาดการณ์ว่าอาจเป็นผลจากการร่วงลงของน้ำมันในระยะนี้

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 3.71 ดอลลาร์ หรือ 8.33% ปิดที่ 48.24 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปรับสูงขึ้นเมื่อวันศุกร์ (30 ม.ค.) โดยได้รับแรงซื้อหลังจากมีรายงานว่า ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในไตรมาส 4 ของปีที่แล้วขยายตัวในอัตราที่ช้าลงและต่ำกว่าคาด

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ปรับตัวขึ้น 23.3 ดอลลาร์ หรือ 1.86% ปิดที่ 1,279.2 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 43.5 เซนต์ หรือ 2.59% ปิดที่ 17.208 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 20.9 ดอลลาร์ หรือ 1.72% ปิดที่ 1,238.20 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (30 ม.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในไตรมาส 4 ของปีที่แล้วขยายตัวในอัตราที่ช้าลงและต่ำกว่าคาด

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบเยนที่ 117.51 เยน เทียบกับระดับ 118.40 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9180 ฟรังก์ จากระดับ 0.9246 ฟรังก์

 

ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2687 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2619 ดอลลาร์แคนาดา

 

ส่วนยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1293 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1313 ดอลลาร์ เงินปอนด์อังกฤษแข็งค่าขึ้นที่ระดับ 1.5057 ดอลลาร์ จาก 1.5053 ดอลลาร์

 

ดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7783 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7756 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,164.95 จุด ลดลง 251.90 จุด, -1.45%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,635.24 จุด ลดลง 48.17 จุด, -1.03%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,994.99 จุด ลดลง 26.26 จุด, -1.30%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,604.25 จุด ลดลง 27.18 จุด, -0.59%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,749.40 จุด ลดลง 61.20 จุด, -0.90%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,694.32 จุด ลดลง 43.55 จุด, -0.41%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 29,182.95 จุด ลดลง 498.82 จุด, -1.68%

ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,551.60 จุด เพิ่มขึ้น 19.40 จุด, +0.35%

 

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,588.30 จุด เพิ่มขึ้น 18.80 จุด, +0.34%

 

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดวันนี้ที่ 9,361.91 จุด ลดลง 64.99 จุด, -0.69%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 17,674.39 จุด เพิ่มขึ้น 68.17 จุด, +0.39%

 

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,949.26 จุด ลดลง 1.76 จุด, -0.09%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,210.36 จุด ลดลง 51.94 จุด, -1.59%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,689.91 จุด เพิ่มขึ้น 72.61 จุด, +0.95%

 

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,507.05 จุด ลดลง 88.80 จุด, -0.36%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,289.40 จุด เพิ่มขึ้น 26.68 จุด, +0.51%

 

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,391.20 จุด ลดลง 27.85 จุด, -0.81%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,781.26 จุด ลดลง 0.92 จุด, -0.05%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq20/2083595

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกาะติดหุ้นโลก 2-2-58 vdo.gif Morning News : เกาะติดหุ้นรอบโลก "NOW26" 2-2-58 'อนุสรณ์'มั่นใจยังไม่เกิดสงครามค่าเงิน "อนุสรณ์" ประเมิน ตลาดการเงินโลกจะผันผวนเพิ่มขึ้นอีก แต่ยังไม่เกิดสงครามค่าเงิน คาดเงินบาทจะแข็งค่าอย่างมาก โบรกฯคาดสัปดาห์หน้าหุ้นแกว่งขาลง โบรกฯคาดสัปดาห์หน้าหุ้นแกว่งขาลง กังวลเศรษฐกิจต่างประเทศ ประเมินกรอบที่ 1,575-1,610 จุด กสทช.ชี้'ทีวีดิจิทัล'แข่งเดือด คาดหุ้นสัปดาห์หน้า1,560-1,674จุด คาดเงินบาทสัปดาห์หน้ากรอบ32.60/90 แบงก์รัฐเร่งคุมเอ็นพีแอลไม่เกิน5%

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม

 

"พล.ต.ท.ประวุฒิ" เผยคนร้ายนำระเบิดแสวงเครื่อง 2 ชุดบึ้มห้างพารากอน คาดหวังก่อกวน พร้อมเร่งเคลียร์พื้นที่

 

 

เมื่อเวลา 22.45 น. วันที่ 1 ก.พ. พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กล่าวถึงความคืบหน้าเหตุการณ์ระเบิดทางเชื่อมระหว่างห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนกับสถานีรถไฟฟ้าสยามสแควร์ ว่า ทางเจ้าหน้าที่ EOD ยืนยันเป็นระเบิดชนิดแสวงเครื่อง 2 ลูก จุดชนวนด้วยการตั้งเวลาจากนาฬิกาดิจิตอลและวางซุกไว้หลังหม้อแปลงไฟฟ้า หน้าศูนย์รับบริการประชาชนของกรุงเทพมหานคร สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยามกับห้างสรรพสินค้าพารากอน ซึ่งอำนาจการทำลายล้างไม่รุนแรง เป็นระเบิดแรงต่ำ วัสดุที่ประกอบสามารถหาได้จากท้องตลาด เบื้องต้นพบประตู กระจก ราวทางเดินได้รับความเสียหาย เชื่อว่า ลักษณะดังกล่าวเป็นการก่อกวน ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบว่ามีความขัดแย้งในพื้นที่หรือไม่ พร้อมทั้งประสานหากล้องวงจรปิดบริเวณใกล้เคียง เพื่อหาตัวคนร้ายที่นำระเบิดดังกล่าวมาวาง

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะเร่งตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในคืนนี้ เพื่อสามารถเปิดให้ประชาชนสามารถใช้พื้นที่ได้ตามปกติในวันพรุ่งนี้ ขณะเดียวกัน พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุดังกล่าวด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10838041_832635520108258_1191206076175298207_o.png

10959667_832635523441591_7887647936971060583_n.png?oh=5cc15e855e82e76cbae7177e2bd85d13&oe=55638928&__gda__=1432110992_11686079e5b6aaae39b50d571f3d4b5c

1655832_832635506774926_4219954738688521496_n.png?oh=d4c4bfc5b9632b1cac2c8e149bcdebe9&oe=5569C6C2

10649818_832635530108257_5032140249213699769_n.png?oh=27eb0228586235e5cccfe628ea572ad3&oe=556EE7C9&__gda__=1433101219_c4eec7d2a5b963ca96d7346832383295

 

ภาพรวมในครึ่งเดือนแรกของกุมภาพันธ์ยังมองว่าจะทรงตัวในกรอบการพักตัว และยังมองบวกเชื่อว่าพักตัวจบจะขึ้นต่อ ให้แนว 1250 เป็นจุดเปลี่ยนจากบวกเป็นลบ

ตัวเลขจีดีพีสหรัฐออกมาแย่กว่าที่คาดไว้ทั้งที่น่าจะขึ้นในไตรมาส 4 /2014 ฉุดให้ตลาดหุ้นสหรัฐกลับเป็นลบ ขึ้นวันลงวัน ทิศทางสับสนพอควรสำหรับดาวน์โจนส์

ราคาน้ำมันผ่านแนวต้านสำคัญที่ 49.0 - 50.0 ทำให้หลังจากนี้แนวโน้มราคาน้ำมันน่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับได้

ตัวเลขการจ้างงานและดัชนีภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของสหรัฐจะเป็นตัวตัวเลขสำคัญของสัปดาห์นี้ อาจจะมีช่วงผันผวนในเวลาที่เปิดเผยตัวเลขออกมาได้

ภาพรวมของทิศทางตลาดลงทุนนั้น จะอยู่ที่ตลาดเงินที่จะเคลื่อนไหวตามการเปิดเผยนโยบายการเงินเพื่อรับมือสงครามค่าเงินที่เป็นอยู่ ทำให้ต้องพิจารณาการเคลื่อนไหวเพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่จะเกิดในอนาคต

------------------------------------------------------------------------------

ราคาทองฟื้นตัวได้ดีเกินคาดหลังเด้งตัวไปถึงเส้นสุดท้ายของกรอบการรีบาวด์ เป็นลักษณะของคลื่นพักตัวที่เมื่อจบพักตัวแล้วน่าจะขึ้นต่อ ทำให้จะเป็นการหาจังหวะเข้าซื้อเมื่อลงมาในบริเวณจุดพักตัวหลัก 1235 1250 ซึ่งถ้าจบรอบพักตัวเร็ว อาจต้องซื้อตามเมื่อเบรกขึ้น จะมีเป้าการปรับตัวขึ้นที่ 1300 - 1310 และ 1335 - 1345 ซึ่งจะเป็นภาพของเดือนกุมภานี้ทั้งเดือน

---------------------------------------------------------------------------------

สำหรับวันนี้ดูย่อ จากช่วง 1285 1292 ลงมาตั้งหลักก่อน เพราะมีตัวเลขการจ้างงานรออยู่ในวันพุธ ในเบื้องต้นมองเพียง 1265 1272 ก่อน ถ้าซึมค่อยมองลงถึง 1250 สำหรับกรณีที่มาจ่อแนว 1295 1300 ได้ค่อยลบกระดานมองใหม่อีกที

แนวต้าน 1285 1295 1308

แนวหนุน 1250 1265 1272

by Facebook.com/Wealthstation

2/2/58

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บอนด์ยีลด์ญี่ปุ่นปิดบวกวันนี้ เหตุนักลงทุนเทขายบอนด์ทำกำไร

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 16:14:07 น.

ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ปิดปรับตัวขึ้นในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนเข้าเทขายทำกำไรหลังจากผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลงเช้านี้จากกระแสความกังวลที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ก่อนที่จะมีการเปิดประมูลพันธบัตรในวันพรุ่งนี้

 

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 337 ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ 0.285% เพิ่มขึ้น 0.005% จากระดับปิดเมื่อวันศุกร์

 

ราคาสัญญาพันธบัตรอายุ 10 ปี ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 0.12 จุด แตะระดับ 148.01 ที่ตลาดหุ้นโอซาก้า

 

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย จงดี อำมฤคขจร/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq22/2084379

 

 

ตลาดหุ้นเกิดใหม่ปิดลบวันนี้ เหตุ PMI ภาคการผลิตจีนอ่อนตัว

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 16:13:06 น.

ตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวลดลงในวันนี้ เนื่องจากข้อมูลภาคการผลิตของจีนส่งสัญญาณหดตัว

 

ดัชนี MSCI Emerging Markets Index ปรับตัวลดลง 0.2% แตะ 959.39 เมื่อเวลา 14.08 ตามเวลาฮ่องกง

 

หุ้นไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปร่วงลงถึง 8% หลังจากที่เม็กซิโกหยุดเดินเครื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงกลางคัน ขณะที่หุ้นฮุนได เฮฟวี่ อินดัสทรี ดีดขึ้น 5.3% ส่งผลให้หุ้นบริษัทต่อเรือของเกาหลีปรับตัวขึ้นตามไปด้วย

 

 

 

ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2555 หนุนให้เกิดกระแสคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจจีนจะต้องส่งเสริมมาตรการกระตุ้นภาคการเงิน

 

เอชเอสบีซี โฮลดิงส์เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนในเดือนม.ค.ขยับขึ้นเล็กน้อยแตะ 49.7 จาก 49.6 ในเดือนธ.ค. แต่ลดลงเมื่อเทียบกับการประเมินเบื้องต้นที่ 49.8

 

ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว และดัชนีที่สูงกว่า 50 จะบ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตของจีนมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ศศิประภา อัครภูติ/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq18/2084375

 

 

ดัชนี PMI ภาคการผลิตอิตาลีเดือนม.ค.เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 15:56:33 น.

ผลสำรวจระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอิตาลีในเดือนม.ค.เพิ่มขึ้นแตะ 49.9 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน จากระดับ 48.4 ในเดือนธ.ค.

 

ดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ดัชนีที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว

 

ภาคการผลิตของอิตาลีในเดือนม.ค.ปรับตัวดีขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่หดตัวลงในช่วง 3 เดือน โดยกลุ่มผู้ผลิตมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ธุรกิจการส่งออกใหม่ๆปรับตัวขึ้นในช่วงเดือนแรกของปีนี้

 

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq28/2084359

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนี PMI ยูโรโซนเดือนม.ค.ขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 เดือน แตะระดับ 51.0

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 16:28:18 น.

ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนขั้นสุดท้ายในเดือนม.ค.ขยายตัว 51.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ภายหลังจากที่สภาพธุรกิจในเยอรมนี สเปน เนเธอร์แลนด์ ปรับตัวดีขึ้น

 

ทั้งนี้ ดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ดัชนีที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว

 

โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นของยูโรโซนนั้น อยู่ที่ระดับ 51.0 ในขณุที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนธ.ค. 2557 ของยูโรโซนอยู่ที่ 50.6

 

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq28/2084396

 

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 29-30 ม.ค. 2558 และแนวโน้มในสัปดาห์ที่ 2-6 ก.พ. 2558 โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ ThaiPR.net -- จันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 16:08:57 น.

กรุงเทพฯ--2 ก.พ.--ปตท.

สัปดาห์ ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เพิ่มขึ้น 1.04 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 49.67 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 0.05 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 44.48เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 0.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 45.72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 0.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 57.12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 0.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 60.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่

 

 

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

- Baker Hughes Inc. บริษัทให้บริการด้านขุดเจาะน้ำมันดิบรายงาน ผลสำรวจจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Rig)ทั่วสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ม.ค. 58 ลดลง 49 แท่น จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 1,317 แท่น ต่ำสุดในรอบ 2 ปี และเป็นการลดลงต่อเนื่อง 7 สัปดาห์

 

- ผู้ประกอบการด้านสำรวจและผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ระบุภาคการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ทยอยปิดแหล่งน้ำมันที่ไม่คุ้มทุน โดยเฉพาะแหล่งที่มีขนาดเล็ก (กำลังการผลิตน้อยกว่า 10 บาร์เรลต่อวัน) และดำเนินการมานานแล้ว ซึ่งหากราคาน้ำมันดิบยังคงลดลงจะทำให้แหล่งน้ำมันข้างต้นต้องปิดดำเนินการคิดเป็นปริมาณ 2% ของอุปทานในสหรัฐฯ ส่วน Energy Information Administration (EIA) ประเมินแท่นผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯจะยุติการดำเนินการกว่า 24% ระหว่างเดือน ม.ค. – ต. ค. 58

 

- National Development and Reform Commission (NDRC) ต้องการให้โรงกลั่นจีนเก็บปริมาณสำรองเชิงพาณิชย์เพิ่มเป็น 15 วัน ของปริมาณการนำน้ำมันเข้ากลั่นของโรงกลั่นนั้นๆ โดยระดับการกักเก็บห้ามต่ำกว่า 10 วัน เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ อนึ่ง Bloomberg รายงานจีนกักเก็บปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์สิ้นสุดปี 2557 อยู่ที่ 244.6 ล้านบาร์เรล และมีแนวโน้มทีปริมาณการกักเก็บน้ำมันสำรองจะเพิ่มขึ้นจากมาตรการดั่งกล่าว

 

- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody คาดการณ์กลุ่มบริษัทในอุตสาหกรรมพลังงานจะปรับลดลงการทุนประมาณ 35-40% ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 และมีความเสียงที่จะลดลงอีกในปี 2559 หากราคาน้ำมันยังคงอยู่ระดับต่ำ

 

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ย้ำความเชื่อมั่นต่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยการฟื้นตัวอย่างเด่นชัดของภาคแรงงาน อย่างไรก็ตาม Fed ยังยืนยันคำเดิมว่าจะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ในการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ตระหนักถึงอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างมากในปัจจุบัน

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

- CFTC รายงาน กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับลดสถานะการถือครอง (Net Long Position) สัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่ตลาด ICE ลอนดอนและตลาด NYMEX สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ม.ค. 58 ลง 4,198 สัญญา จากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 225,926 สัญญา

 

- ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของอิรักพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 35 ปี อยู่ที่ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากรัฐบาลอิรักสามารถหาข้อตกลงกับรัฐปกครองพิเศษเคอร์ดิสถานได้ ซึ่งเพิ่มความกดดันต่อการครอบครองส่วนแบ่งตลาดโลกจากกลุ่มผู้ผลิต OPEC อิรักอาจจะต้องใช้นโยบายกำหนดราคาสู้กับซาอุดีอาระเบียเพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น

 

- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard and Poor’s (S&P) ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียจากBBB- มาอยู่ที่ BB+ หรือสถานะขยะ (Junk) เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี

 

- ธนาคาร Goldman Sachs ระบุความต้องการน้ำมันดิบของจีนกับประเทศ Emerging Markets มีแนวโน้มชะลอตัวและประเมินราคาน้ำมันดิบ Brent ปีนี้อยู่ที่ระดับ 50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ลดลงจากปี 2557 ที่ระดับ 99.49 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล

 

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 7.86% และปิดตัวที่ระดับ 52.99 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 58 หลังจากบริษัท Baker Hughes ประกาศผลสำรวจปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Oil Rig) ในสหรัฐฯ ลงรุนแรงที่สุดตั่งแต่ปี 2530 เป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมัน แสดงให้เห็นว่าตลาดเริ่มปรับตัวจากสภาวะราคาน้ำมันที่ตกต่ำและอุปทานที่ไม่สมดุลกับความต้องการของโลก ทั้งนี้ยังมีสัญญาณการชะลอการลงทุนในโครงการขุดเจาะน้ำมันใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแหล่งผลิตน้ำมันในทะเลเหนือหรือแหล่งขุดเจาะน้ำลึกในทะเลแดง อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์คาดว่าอุปทานที่ยังล้นตลาดอยู่ประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปริมาณสำรองน้ำมันเชิงพาณิชย์ที่สูง ปัจจัยที่น่าจับตามองคือการตั้งราคาขายอย่างเป็นทางการ (OSP) ของน้ำมันซื้อขายเดือน มี.ค. 58 ของกลุ่มประเทศผู้ผลิต OPEC ที่จะประกาศต้นเดือนนี้ สัปดานี้คาดการณ์ว่า ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ $49.64 - 53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ WTI จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 45.39 - 48.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ ดูไบ จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 43.48 - 47.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้นจาก Platts รายงานตลาดน้ำมันเบนซินยังคงตึงตัวเนื่องจากปริมาณอุปทานในเอเชียเหนือที่ต่ำในช่วงฤดูหนาว และ National Development and Reform Commission (NDRC) ของจีนปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศลง 0.27 หยวนต่อลิตร โดยน้ำมันเบนซิน 90 Ron อยู่ที่ 5.4 หยวนต่อลิตร (28.14 บาท/ลิตร) มีผลวันที่ 26 ม.ค. 58 และ Petroleum Association of Japan (PAJ)รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ม.ค. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0.7ล้านบาร์เรล หรือ 2.9 % อยู่ที่ 10.7 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็สำนักงานสถิติแห่งจีน รายงานปริมาณการผลิต น้ำมันเบนซิน ในเดือน ธ.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 14.1% มาอยู่ที่ 84.9 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นได้หันมากลั่น น้ำมันเบนซินแทนที่น้ำมันดีเซล ในช่วงก่อนหน้า และ บริษัทน้ำมันแห่งชาติของเกาหลีใต้ ส่งออกน้ำมันเบนซิน เดือน ธ.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 20.6% มาอยู่ที่ 7.56 ล้านบาร์เรล และเมื่อรวมทั้งปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 14.6% มาอยู่ที่ 73.33 ล้านบาร์เรล อีกทั้ง ผู้ค้าคาด Pertamina ของอินโดนีเซียอาจนำเข้าน้ำมันเบนซินในเดือน ก.พ. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 100,000 บาร์เรล ล้านบาร์เรลอยู่ที่ 9.0 ล้านบาร์เรล เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวต่อเนื่องหลังฝนตกหนักช่วงปลายปี 57 และรัฐบาลลดการอุดหนุนน้ำมันเบนซิน 88 RON ตั้งแต่ต้นปี 58 สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 55.78-59.8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจาก NDRC ของจีนปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ในประเทศลง 0.30 หยวนต่อลิตร โดยน้ำมันดีเซลมาอยู่ที่ 5.4 หยวนต่อลิตร (28.14 บาทต่อลิตร) มีผลวันที่ 26 ม.ค. 58 และPlatts รายงาน อุปสงค์น้ำมันดีเซลสำหรับเดินเรือ (Marine Gasoil) ในยุโรปเพิ่มสูงขึ้น โดย Rotterdam Port Authority เผยยอดขายน้ำมันดีเซลสำหรับเดินเรือ เดือน ธ.ค. 57 เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนกว่า 563,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 938,000 บาร์เรล ทั้งนี้มีผลจากการซื้อเก็บก่อนการบังคับใช้น้ำมันเดินเรือที่ 0.1% S ในเขต Emission Control Area ที่มีผลในเดือน ม.ค. 58 ประกอบกับ PAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ม.ค. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 700,000 บาร์เรล หรือ 6.1% อยู่ที่ 10.8 ล้านบาร์เรล และปริมาณสำรอง Kerosene ลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล หรือ 9.2 % อยู่ที่ 14.0 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามผู้ค้าคาดโรงกลั่น Yanbu Aramco Sinopec Refining Co (Yasref) ในซาอุดีอาระเบียซึ่งปัจจุบันเดินเครื่องในอัตรา 60 % ของกำลังการผลิต (กำลังการกลั่นรวม 400,000 บาร์เรลต่อวัน) จะเดินเครื่องเต็มที่ในช่วงกลางเดือน ก.พ. 58 และเริ่มส่งออกน้ำมันดีเซล ในตลาดจร อีกทั้ง Platts รายงาน Arbitrage น้ำมันดีเซลจากเอเชียและตะวันออกกลางสู่ยุโรปปิด ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันในเอเชียเร่งอัตราการกลั่นสูงขึ้นเนื่องจากค่าการกลั่น (Refining Margin) สูงในช่วงราคาน้ำมันดิบตกต่ำและ หน่วยงานศุลกากรของจีนรายงาน ยอดส่งออกน้ำมันดีเซลl ปี 2558 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 47.5% มาอยู่ที่4.1 ล้านตัน หรือ 30.55 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 59.16-59.8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/prg/2084367

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"สมหมาย" รมว.คลัง ยืนยันตัวเลขเงินเฟ้อ ม.ค. ติดลบแค่ระยะสั้น เชื่อไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

 

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงการรายงานตัวเลข เงินเฟ้อเดือน ม.ค.58 ของกระทรวงพาณิชย์ที่ขยายตัวติดลบนั้น ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืดเพราะเงินเฟ้อติดลบไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินฝืดแต่หากเงินเฟ้อเป็นบวกก็เข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อได้โดยเงินเฟ้อที่ขยายตัวติดลบมีสาเหตุมาจากในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าแพงซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ แก้ไขจนราคาสินค้าปรับลดลงประกอบกับราคาน้ำที่ปรับตัวค้อนข้างมาก ทำให้อัตราเงินเฟื้อในเดือน ม.ค.58 ติดลบ ถือเป็นเรื่องชั่วคราวระยะสั้นเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังเร่งหามาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยนอกเหนือจากมาตรการที่ได้เคยดำเนินการมาแล้วตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยจะใช้เวลาในการพิจารณา 3 สัปดาห์ก่อนจะเร่งนำข้อสรุปรายงานต่อที่ประชุมครม.ช่วงครึ่งหลังเดือน ก.พ.นี้โดยยืนยันว่ามาตรการที่จะออกมาหลังจากนี้ไม่ใช่มาตรการประชานิยมอย่างแน่นอนส่วนแนวทางช่วยเหลือจะเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้แต่มีช่องทางดำเนินการอย่างแน่นอน

Tags : สมหมาย ภาษีคลังเงินเฟ้อเศรษฐกิจ

Stock Gossip 2-2-58 vdo.gif Money Wise ช่วงพลิกเกม Stock Gossip "NOW26" 2-2-58 ทิศทางตลาดอนุพันธ์ภาคบ่าย 2-2-58 vdo.gif COMMODITIES ช่วงพลิกเกม กลยุทธ์ทิศทางการลงทุนตลาดอนุพันธ์ภาคบ่าย สดตรงจากนักวิเคราะห์ "NOW26" 2-2-58 'ทีดีอาร์ไอ'คาดเศรษฐกิจปีนี้ฟื้นตัวยาก สรุปภาวะซื้อขายหุ้นไทยภาคเช้า 2-2-58 vdo.gif พาณิชย์คงเป้าเงินเฟ้อปี58ที่1.8-2.5% ส.อ.ท.ผวาขาดแรงงานหลังยอดลงทุนพุ่ง

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

 

ข่าวยอดนิยม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ด่วนต้องอ่าน!! จราจรอัมพาตแน่

http://www.naewna.com/local/142594

พรุ่งนี้พระวัดธรรมกายธุดงค์อีก ใช้ชั้นใน'นนทบุรี'แนะเลี่ยงหนี

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...