ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

air card

โพสต์แนะนำ

เอไอเอสฝังแอพฯลงแอร์การ์ดใช้เชื่อม 3G-WiFi-EDGE Plus

 

 

 

ฝังแอพลิเคชันใหม่ล่าสุด “Always Best Connected” ลงใน AIS AIRCARD เพื่อตอบโจทย์การเชื่อมต่อทุกสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายโดยอัตโนมัติ ทั้ง 3G/Wifi/EDGE Plus ด้วยฟังก์ชั่นใหม่ Auto Connection...

 

นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริการเสริม บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เวอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ด้วยเทรนด์การใช้แอร์การ์ดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย ในยุคปัจจุบัน ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ “เครือข่ายคุณภาพ” ของเอไอเอสที่มีศักยภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้ง EDGE Plus, 3G คลื่น 900 ด้วยความเร็วสูงสุด 21.6 Mbps. ที่เชียงใหม่ โคราช ชลบุรี หัวหิน และกรุงเทพฯ และล่าสุดกับเครือข่าย Wifi by AIS-3BB ที่ครอบคลุมกว่า 20,000 จุดทั่วประเทศ ทำให้ ขณะนี้ ลูกค้าเอไอเอสมีเครือข่ายคุณภาพให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลายตามความเหมาะ สม วันนี้ เอไอเอสจึงได้พัฒนาคุณภาพและความสามารถของ AIS AIRCARD ก้าวล้ำไปอีกขึ้น ด้วยการพัฒนาแอพลิเคชันใหม่

 

ผู้ช่วย กก.ผอ.ส่วนงานบริการเสริม เอไอเอส กล่าวต่อว่า Always Best Connected” หรือ ABC App. มาใส่ไว้ใน AIS AIRCARD เพื่อช่วยจัดการ การเชื่อมต่อทุกเครือข่ายเน็ตไร้สายของเอไอเอส ทั้ง Wifi, 3G และ EDGE Plus โดยอัตโนมัติ ทำให้ลูกค้าสนุกกับการท่องเน็ตได้ไม่สะดุด ถือเป็นนวัตกรรมล่าสุดของแอร์การ์ดยุคใหม่ ที่เอไอเอสตั้งใจพัฒนาขึ้นเป็นรายแรกของไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อโลกออนไลน์ หรืออินเตอร์เน็ตให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยแอพลิเคชันนี้ จะเลือกเชื่อมต่อเครือข่าย Wifi ให้ก่อนเป็นอันดับแรก (ถ้าพื้นที่นั้นมีสัญญาณ Wifi by AIS-3BB) จากนั้นจึงเป็น 3G และ EDGE Plus ตามลำดับ อีกทั้งยังเปลี่ยนการเชื่อมต่ออัตโนมัติ ในกรณีที่ลูกค้าใช้งานอยู่บนเครือข่าย 3G, EDGE Plus แล้วเข้าสู่พื้นที่สัญญาณ Wifi by AIS – 3BB ระบบก็จะตัดการเชื่อมต่อจาก 3G, EDGE Plus แล้วมาเชื่อมต่อ Wifi ให้ทันที และเมื่อออกจากพื้นที่ Wifi ระบบก็จะกลับไปเชื่อมต่อ 3G, EDGE Plus ให้โดยอัตโนมัติเช่นกัน

 

นาย ปรัธนา กล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้ ยังได้เพิ่มอีกหนึ่งฟังก์ชันใหม่ “Auto Connection” ที่เพียงลูกค้าเสียบ แอร์การ์ดเข้าไปที่คอมพิวเตอร์ ระบบจะทำการเชื่อมต่อเน็ต และเปิดโปรแกรมอินเตอร์เน็ตบราวเซอร์ให้เองอัตโนมัติ โดยไม่ต้องกดปุ่มใดๆ และเมื่อเลิกเล่นเน็ต ก็เพียงถอดแอร์การ์ดออกจากคอมพิวเตอร์เท่านั้น ทำให้การใช้งาน AIS AIRCARD เป็นการเชื่อมต่ออัตโนมัติที่สมบูรณ์แบบที่สุด (Plug&Play) หรือง่ายยิ่งกว่าเปิด-ปิดคอมพิวเตอร์เสียอีก ทั้งนี้ สัมผัสนวัตกรรมสุดล้ำกับ AIS AIRCARDรุ่น 3G 3.6 Mbps. ในราคาเริ่มต้นเพียง 1,490 บาท เล่นเน็ตฟรี 600 นาที/เดือน นาน 4 เดือน วางจำหน่ายแล้วที่เอไอเอส ช็อป, ร้านเทเลวิซ, พาวเวอร์ บาย, เทสโก้ โลตัส ทุกสาขาและร้านไอทีชั้นนำทั่วประเทศ

 

http://www.thairath.co.th/tech

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ แนวคิดดีที่รวม software และ driver สำหรับ connect เข้ากับ aircard ทำให้สะดวกตรงเสียบปุ๊บ ต่อเนตได้อัตโนมัติ แต่ดูแล้วก็มีข้อเสียตรงที่ว่า หากจะเลิกเล่นเนต แล้วใช้คอมทำงานอื่น ก็ต้องถอด aircard ออกก่อน ไม่งั้นมันก็จะต่อเนตให้เราเสียเงินตลอดเวลา กลายเป็นว่า ต้องเสียบเข้า เสียบออก บ่อย ๆ slot ของคอมพิวเตอร์อาจจะหลวม หรือช็อต ได้ ต้องดูว่า ais มี software ให้ปิดการใช้งาน aircard โดยไม่ต้องถอดการ์ดบ้างไหม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น่าจะตั้ง software ให้ เป็นแบบ auto หรือ manual ได้นะครับ เดาเอาครับ :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอแปะที่นี่ก็แล้วกัน

 

Review : ASUS WL-330N3G ไวเลสเราท์เตอร์จิ๋วอเนกประสงค์-แชร์ 3G ได้

post-21-029179800 1318045371.jpg

 

 

ส่วนใหญ่ไวเลสเราท์เตอร์ มาตรฐานมักมีขนาดที่ใหญ่และเหมาะแก่การติดตั้งอยู่กับที่ แต่สำหรับไวเลสเราท์เตอร์ ที่ทีมงานผู้จัดการไซเบอร์ได้รับมาวันนี้ในชื่อ ASUS WL-330N3G ถือเป็นไวเลสเราท์เตอร์ ขนาดเล็กเพียงฝ่ามือ และมาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานครบครันถึง 6 รูปแบบ รวมถึงความสามารถในการรองรับ 3G Sharing จาก 3G Dongle ภายนอกได้ด้วย

Design and Specifications

 

 

โดยส่วนแรกสำหรับสเปกของไวเลสเราท์เตอร์ ASUS WL-330N3G ด้านรูปร่างจะมีขนาดเล็กกว่าเครดิตการ์ดและความยาวxกว้างxสูงอยู่ที่ 90x38.9x12.8 มิลลิเมตร พร้อมรองรับการรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย Wireless-N ความเร็วสูงสุด 150Mbps

 

ในส่วนระบบการจัดการเน็ตเวิร์กที่รองรับได้แก่ DHCP server, DHCP client, DNS Proxy, Automatic IP, PPPoE, PPTP login client support, Static IP, Static Route, NTP support, UPnP, DDNS, WMM และระบบรักษาความปลอดภัยที่รองรับแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบคือ

 

Firewall :

NAT, SPI, DoS attack prevention, Virtual DMZ

Filtering :

Port, IP address, Protocol, URL Keyword

Encryption :

64/128-bit WEP, WPA-PSK TKIP/AES, WPA2-PSK TKIP/AES

Authentication :

MAC address

 

 

 

 

สำหรับพอร์ตเชื่อมต่อรอบๆ ตัวเครื่องประกอบด้วย พอร์ต RJ45 (10/100 BaseT with auto cross-over function (MDI/MDI-X)), พอร์ตเชื่อมต่อ microUSB สำหรับเชื่อมต่ออะแดปเตอร์ AC และสามารถเชื่อมต่อกับสาย USB 2.0 แบบ 2 หัวเข้ากับโน้ตบุ๊ก - พีซี - Power Backup และ Mac เพื่อดึงไฟจากอุปกรณ์เหล่านั้นมาเลี้ยงไวเลสเราท์เตอร์ ได้

 

 

 

 

และในส่วนพอร์ต USB 2.0 บริเวณด้านข้างไวเลสเราท์เตอร์ จะใช้เชื่อมต่อกับ 3G Dongle เพื่อเปิดใช้งานฟังก์ชัน 3G Sharing (จะอธิบายวิธีใช้ในหัวข้อถัดไป)

 

 

 

 

รายชื่อ 3G Dongle ที่รองรับกับ ASUS WL-330N3G

 

 

 

สุดท้ายในส่วนสัญญาณไฟสถานะด้านบนตัวเครื่องจะประกอบด้วย ไฟแสดงสถานะเมื่อผู้ใช้เริ่มใช้งาน 3G Dongle ถัดมาเป็นไฟสถานะเมื่อเชื่อมต่อ Ethernet จากนั้นจะเป็นไฟแสดงสถานะเมื่อใช้งาน Wireless LAN และสุดท้ายไฟแสดงสถานะเปิด-ปิด ตัวเครื่อง

 

6 in 1 Mobile Router

 

ขึ้นชื่อว่าเป็นไวเลสเราท์เตอร์ อเนกประสงค์เพราะฉะนั้นในเรื่องความสามารถก็ต้องครอบคลุมรูปแบบการใช้งานถึง 6 รูปแบบได้แก่

 

1.ใช้เป็น Wireless Router กล่าวคือ ใช้เป็นตัวกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากโมเด็มที่เชื่อมต่อกับ ADSL ปกติ

2.ใช้เป็น Access Poimt กล่าวคือ สามารถเป็นตัวกลางเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กเข้ากับโฮสต์ของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ

3.ใช้เป็น Universal Repeater กล่าวคือ ใช้เป็นตัวขยายขอบเขตสัญญาณไร้สายจากเราท์เตอร์ ตัวอื่นๆ ให้ใช้งานได้ไกลขึ้น

4.ใช้เป็น Ethernet Adapter กล่าวคือ สามารถรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายหรือจาก 3G Dongle แล้วปล่อยเป็นสัญญาณอินเตอร์เน็ตผ่านสายแลนไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับได้

5.ใช้เป็น Hotspot กล่าวคือ สามารถใช้ร่วมกับ WiFi สาธารณะที่ต้องเสียเงินเปิดใช้ต่อ 1 อุปกรณ์ ให้สามารถ Log in ที่ WL-330N3G เพียงครั้งเดียวก็สามารถกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ได้ทันที

6.3G Sharing กล่าวคือ สามารถใช้ 3G Dongle ร่วมกับ WL-330N3G และแชร์อินเตอร์เน็ตไปยังอุปกรณ์ที่รองรับได้ทันที

 

หน้าตั้งค่า WL-330N3G ผ่านเว็บบราวเซอร์

 

ถึงแม้ไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G จะไม่สามารถใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์และต่อ 3G ได้โดยตรง แต่ทางเอซุสก็ให้ฟีเจอร์ที่สามารถนำ 3G Dongle มาเชื่อมต่อกับไวเลสเราท์เตอร์ และแชร์อินเตอร์เน็ตผ่านไวเลสแบบ Plug and Play ได้ทันที โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งไดร์วเวอร์เพิ่มเติมใดๆ

 

โดยสเปกในส่วน 3G ที่ไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G รองรับ จะสามารถใช้กับสัญญาณ 3G ได้ทั้ง HSDPA/HSDPA+ หรือ CDMA และในส่วนของโปรไฟล์ผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับแต่งได้เองผ่านทางหน้า admin ของไวเลสเราท์เตอร์ ตามรูปตัวอย่าง

 

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

 

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G ด้วยการใช้ฟีเจอร์ Wireless Router, 3G Sharing, Repeater และ Hotspot สามารถทำงานได้ดี และการตั้งค่าทำได้ง่าย เพราะมีคำอธิบายบอกอย่างชัดเจน อีกทั้งในส่วนของฟีเจอร์เด่นอย่าง 3G Sharing ซึ่งทีมงานได้ร่วมทดสอบกับ 3G Dongle - iFox 212 HSPA+ พบว่าสามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหล และสามารถเชื่อมต่อกับซิมการ์ดทั้ง DTAC True AIS หรือ TOT3G ได้ทันทีโดยไม่ต้องตั้งโปรไฟล์ใดๆ

 

อีกทั้งในเรื่องของขนาดที่ค่อนข้างเล็ก น้ำหนักเบา โยกย้ายไปไหนมาไหนสะดวกสบาย ก็ถือว่าเป็นจุดเด่นของไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G ได้อย่างดี

 

มาที่การทดสอบ Wireless LAN Draft-N กับฮาร์ดไดร์ฟ WD Caviar Blue 500GB โดยคัดลอกข้อมูลประมาณ 4GB สำหรับความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลในโหมด N จะอยู่ที่ประมาณ 70-80Mbps ส่วนในโหมด G จะอยู่ที่ประมาณ 35Mbps และสุดท้ายทดสอบเปิดไฟล์วิดีโอสตรีมมิ่ง Full HD 1080p ที่เข้ารหัส AVCHD แบบไร้สายในโหมด N พบว่าการทำงานลื่นไหลมาก ถึงแม้จะกด Seek โดดไปมาเพียงใดการเล่นวิดีโอความละเอียดสูงก็ไม่มีสะดุดแต่อย่างใด

 

สำหรับข้อสังเกตของไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G คงอยู่ที่เรื่องของความร้อนที่แผ่ออกมาระหว่างใช้งานอาจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมต่อกับ 3G Dongle พบว่าความร้อนแผ่ออกมาค่อนข้างสูง รวมถึงตัวไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G ไม่มีแบตเตอรี Li-ion มาให้ภายใน ซึ่งการใช้งานต้องพึ่งไฟทั้งจาก AC Power และไฟจากพอร์ต USB 2.0 โดยเมื่อนำไปเชื่อมต่อกับเน็ตบุ๊กสำหรับใช้งานนอกบ้าน พบว่าค่อนข้างกินแบตเตอรีโน้ตบุ๊กพอๆ กับการชาร์จแบตเตอรีสมาร์ทโฟนผ่านโน้ตบุ๊กเลยทีเดียว

 

ราคาประมาณ 1,900 บาท

 

ขอชม

- ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก

- ครอบคลุมทุกการใช้งาน

- เชื่อมต่อกับ 3G Dongle เพื่อใช้แชร์อินเตอร์เน็ตไปยังอุปกรณ์ที่รองรับได้

- การตั้งค่าการเชื่อมต่อทำได้ง่าย

- Wireless LAN เป็น Draft-N

 

ขอติ

- ความร้อนระหว่างใช้งานค่อนข้างมาก

- ไม่มีแบตเตอรีภายในมาให้ ถ้าใช้งานภายนอกอาจต้องอาศัยพลังงานจากโน้ตบุ๊กหรือ Power Backup

 

 

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9540000125424

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...