ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

 

เปลว สีเงิน - Plew Seengern shared Mr Bean's video.

9 hrs · _Y91QzmaslR.pngคลิป

ใครทำลายจำนำข้าวใครฆ่าชาวนา(ตอน6-จบ)

ใครทำลายจำนำข้าว ใครฆ่าชาวนาโดยคุณหมอวรงค์ เดชกิจวิกรม มือปราบจำนำข้าว ผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนจากการทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน ตรวจสอบฝ่ายบริหาร จนสุดท้ายเรื่องก็มาถึงในชั้นศาลฯ ได้ในที่สุด

NAEWNA.COM

ข่าวไม่จริง เครื่องรักษามะเร็งได้ทุกตำแหน่งทุกระยะ | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

เป็นเพื่อนกับ LINE @ramathibodi คลิก https://line.me/R/ti/p/%40ramathibodi หรืออ่าน QR code

MED.MAHIDOL.AC.TH

จำพระรูปนี้ได้ไหม "หมอวิสุทธิ์" ซึ่งเคยถูกพิพากษาประหารชีวิต เพราะโดนข้อหาฆ่าภรรยา ตอนน

# บุญที่เคยทำกรรมที่เคยสร้าง จำได้ไหมครับ? ผมอยากให้อ่านให้จบ.เพื่อเป็นอุทาหรณ์ กับใครอีกหลายคน ครับ จำพระรูปนี้ได้ไหม พระเทพฯทรงใส่บาตร หมอวิสุทธิ..

BOARD.POSTJUNG.COM

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

เปลว สีเงิน - Plew Seengern shared Mr Bean's video.

9 hrs · _Y91QzmaslR.pngคลิป

ใครทำลายจำนำข้าวใครฆ่าชาวนา(ตอน6-จบ)<span style="font-size: 18px;">ใครทำลายจำนำข้าว ใครฆ่าชาวนาโดยคุณหมอวรงค์ เดชกิจวิกรม มือปราบจำนำข้าว ผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนจากการทำห%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

17991881_959219780847759_4456836535462190794_n.jpg?oh=c81d3c3fe9d5fc60908ca229de7f9c1a&oe=5993571A

ขอเชิญร่วมงาน ๔๘ ปี เปิดดำเนินงาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาท ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 เวลา 9.30-10.30 น. ณ หอประชุมอารี วัลยะเสวี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

18056664_10155365207597922_8818208864176773218_n.jpg?oh=8a1184d94daca942e056e40b2dc9c302&oe=5977A717

เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลไลฟ์ไทม์ อาชีฟเมนต์ อวอร์ต ซึ่งมูลนิธิพันธมิตรแห่งอารยธรรมของสาธารณรัฐมาซิโดเนีย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการต่อการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างอารยธรรมที่หลากหลายของโลก ณ โรงแรม สกอร์เปีย แมริออท สาธารณรัฐมาซิโดเนีย

ขอบคุณภาพ.FB_ЃОРГЕ ИВАНОВ, ПРЕТСЕДАТЕЛ НА РЕПУБЛИКА МАКЕДОНИЈА

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อ รัฐบาลคณะราษฎร ยุคจอมพลป. ภายใต้การนำของ ปรีดีฟ้องยึดทรัพย์พระเจ้าแผ่นดิน!

 

 

17953001_206677439820997_3695235635853914337_n.jpgแม้คณะราษฎรจะกุมอำนาจได้แล้ว ยังได้พยายามกระทำการ อันเป็นการมุ่งร้าย และมีผลกระทบต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความอาฆาตมาดร้าย ของฝ่ายผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คงเป็นเพราะคนพวกนี้ เกรงว่าราษฎรอาจหันกลับมา หนุนให้มีการปกครองในระบอบเก่า คือระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) กันอีกครั้ง

.

หลังการยึดอำนาจ ยังคงมีความขัดแย้งระหว่าง ร.7 กับคณะราษฎรยังคงมีอยู่ เพราะทรงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะให้มีบทเฉพาะกาล ให้คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเอาไว้ 10 ปี แล้วจึงเปลี่ยนการปกครองไปอยู่ในมือของประชาชน

.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พร้อมพระราชินี ได้เดินทางออกนอกประเทศ เพื่อไปรับการรักษาพระเนตร เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2476

.

ความขัดแย้งระหว่าง ร.7 และรัฐบาลดำเนินไปจนถึงขั้นแตกหัก พระองค์ทรงลาออกจากราชสมบัติในที่สุด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 เวลา 13 นาฬิกา 45 นาที!

.

เมื่อทรงลาออกไปแล้ว รัฐบาลไม่รอช้าที่จะออกพระราชบัญญัติ เพื่อจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งจะยึดเอา “พระคลังข้างที่” (เงินสะสมของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี สืบมาแต่รัชกาลที่ 3 ซึ่งทรงค้าขายเก่งมาก่อนครองราชย์ และได้ทรงนำเงินนั้นใส่ “ถุงแดง” ไว้ข้างแท่นพระบรรทม จึงเรียกว่า “พระคลังข้างที่”…วาทตะวัน) โดยออกเป็นกฎหมายชื่อว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479” และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2479 เป็นต้นมา

.

พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แยกทรัพย์สินหรือสิทธิ ออกเป็นสองส่วนคือ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” และ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” และ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน”

.

ปัญหาการฟ้องร้องเกิดขึ้น เมื่อผู้ก่อการกลุ่มหนุ่มในตอนนั้นซึ่งอยู่ภายใต้การนำของ หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ที่จ้องมอง ‘ถุงเงิน’ อย่าง ‘พระคลังข้างที่’ ตาเป็นมัน ด้วยความมุ่งหมายที่จะยึดเอามาเป็นของรัฐ เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดระบอบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (แต่ถูกวิจารณ์ว่า “คอมมิวนิสต์”) ได้ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบบัญชีพระคลังข้างที่ ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงฐานะ มาอยู่ในกำกับดูของกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายใหม่ ที่ว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

.

ปรากฏว่าคณะกรรมการชุดนี้ ได้พบเงินหายไปหลายรายการ ซึ่งเป็นเงินที่ฝากไว้ในนามของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าหลวง ในธนาคารของต่างประเทศ

.

รัฐบาลของฝ่ายผู้ก่อการได้ยื่นฟ้อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นจำเลยที่ 1 และสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี เป็นจำเลยที่ 2 ให้ชดใช้เงินแก่กระทรวงการคลัง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 6,272,712 บาท 92 สตางค์ (หกล้านสองแสนเจ็ดหมื่นสองพันเจ็ดร้อยสิบสองบาท เก้าสิบสองสตางค์)

.

การฟ้องร้องครั้งนี้ ช็อกประชาชนคนไทยทั้งประเทศตกตะลึงพรึงเพริด เพราะไม่มีใครคาดคิดเลย ว่า

.

รัฐบาลนั้นจะทำอัปรีย์ ถึงขั้นฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ของชาติ…ได้ลงคอ!

.

ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ โจทก์คือกระทรวงการคลัง โดย หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ได้ขอให้ศาลสั่งยึดทรัพย์จำเลยระหว่างการพิจารณาไว้ก่อนด้วย โดยอ้างเหตุผลคือ

.

เกรงจำเลยทั้งสอง จะยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน!!

.

อธิบดีศาลแพ่ง คุณพระสุทธิอรรถนฤมนต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งในเวลานั้นมีคำสั่งว่า “ไม่อนุญาต” ตามคำร้องของโจทก์ ที่ขอยึดทรัพย์จำเลยไว้ระหว่างการพิจารณา

.

แต่ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในคอนนั้น มีคำสั่งย้ายพระสุทธิอรรถนฤมนต์ ขึ้นไปดำรงตำแหน่งในศาลฎีกาเอาดื้อๆ

.

แต่ยังครับ ยังไม่ใช่แค่นั้น…เพราะยังมีดาบสองตามมาอีก

.

ที่น่าตกใจมากๆก็คือ ไม่กี่เดือนถัดมา ได้มีคำสั่งให้คุณพระสุทธิอรรถนฤมนต์ ออกจากราชการฐาน…รับราชการนาน!

.

นี่คือความระยำ ของฝ่ายผู้ถืออำนาจ…รังแกผู้พิพากษา!!

.

(คุณพระสุทธิอรรถนฤมนต์ ต้องออกจากราชการไปนานกว่า สี่ปี ก่อนมีคำสั่งจากรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ให้กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง)

.

เมื่อย้ายคุณพระสุทธิอรรถนฤมนต์ได้แล้ว ความพยายาม ของรัฐบาลโดยผู้ก่อการกลุ่มหนุ่ม ในการเข้ายึดทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ ก็สัมฤทธิผล โดย น.อ.หลวงกาจสงคราม รัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งเป็นกรรมการตรวจรับงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจบัญชีด้วย ได้นำเจ้าหน้าที่กองหมายของศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอีกหนึ่งโขยง บุกเข้าวังศุโขทัย เพื่อทำการปิดหมายยึดทรัพย์

.

…คนพวกนี้กลับรู้สึกผิดหวังเป็นอันมาก เพราะพวกเขาคิดว่าจะได้พบเงินทองและทรัพย์สินมีค่ามหาศาล กลับต้องผิดหวังเป็นที่สุด เพราะทรัพย์สินทั้งหมด รวมอสังหาริมทรัพย์คือตัววังสุโขทัยด้วย ก็มีมูลค่าเพียง 3 ล้านกว่าบาทเท่านั้น

.

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

15747733_1132620560184416_9119744200348473893_n.jpg?oh=676d66c3147625f3daa03515c6b23a1c&oe=59742A78

 

หยุดใส่ร้ายพระองค์ (ตอนที่ 1)

6 December 2011 at 10:48_Y91QzmaslR.png

หยุดใส่ร้ายพระองค์ (ตอนที่ 1)

http://chantrawong.blogspot.com/2011/11/1.html

ผมสองจิตสองใจอยู่นานมาก ว่าผมจะเขียนเรื่องนี้ดีหรือไม่ เพราะมันล่อแหลมต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ของเรา แต่ชั่งใจดูแล้วคงต้องเขียน ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เพราะหากปล่อยให้พวกขบวนการล้มเจ้าใช้รูปแบบการสื่อสารทุกวิถีทางเพื่อใส่ร้ายพระองค์ฯ อยู่ข้างเดียวว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 พี่ชายตัวเองเพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์" คงไม่ได้ พวกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือต่อพระองค์ท่าน ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เด็กและเยาวชน รวมทั้งประชาชนรุ่นใหม่ เกิดความเคลือบแคลงสงสัยและเข้าใจผิด อันจะเป็นเรื่องง่ายที่จะทำการชักจูงเพื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยในอนาคตต่อไป

383073_253240521403171_747247692_n.jpg?oh=3814426aeda0beba38771c3c6f45e629&oe=5987BF8Fหมุดที่ระลึกแห่งการเปลี่ยนแปลง การปกครองของสยาม เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ณ ลานพระราชวังดุสิต

หมุดที่ระลึกแห่งการเปลี่ยนแปลง

การปกครองของสยาม

เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

ณ ลานพระราชวังดุสิต บทความต่อไปนี้ เป็นความคิดส่วนตัวของผู้เขียน ถ้อยคำบางคำอาจจะใช้คำสามัญแทนคำราชาศัพท์บ้าง อีกทั้งรายนาม รายพระนาม และบรรดาศักดิ์ อาจเขียนคำย่อลง ผู้เขียนจึงขออนุญาตไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะเพื่อต้องการให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้น

สำหรับผู้อ่านที่อาจยังไม่เคยได้ศึกษาเรื่องราวโดยละเอียดมาก่อน ผู้เขียนจึงขอสรุปย่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนและหลังจากที่ รัชกาลที่ 8 จะถูกลอบปลงพระชนม์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องราวในขั้นต้น ก่อนที่จะอ่านในรายละเอียดต่อไป ดังนี้

 

 

ลำดับเหตุการณ์สำคัญก่อนและหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 8


  • 20 ก.ย.2468 -รัชกาลที่ 8 พระราชสมภพ ที่เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมันนี

  • 26 พ.ย.2468 - รัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์

  • 5 ธ.ค.2470 - รัชกาลที่ 9 พระราชสมภพ ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

  • 13 ธ.ค.2471 -ครอบครัวมหิดล เสด็จกลับประเทศไทย

  • 24 ก.ย.2472 -สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบิดาของรัชกาลที่ 8 และ 9 เสด็จสวรรคต (ขณะที่รัชกาลที่ 8 มีพระชนมายุ 4 พรรษา รัชกาลที่ 9 มีพระชนมายุ 2 พรรษา)

  • 24 มิ.ย.2475 -ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร จากรัชกาลที่ 7 (หลังจากนั้นไม่นาน ครอบครัวมหิดลเดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)

  • 28 มิ.ย.2475 - แต่งตั้งพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร

  • 9 ธ.ค.2475 - พระยามโนปกรณฯ ลาออกจากประธานคณะกรรมการราษฎร

  • 10 ธ.ค.2475 - พระยามโนปกรณฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คนแรกของประเทศไทย

  • 20 มิ.ย.2476 - พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ทำการรัฐประการยึดอำนาจจากรัฐบาล

  • 21 มิ.ย.2476 - พันเอกพระยาพหลฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อยู่ต่อเนื่อง ถึง 5 สมัย

  • 11 ต.ค.2476 - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมนำกำลังเข้าล้มล้างและยึดอำนาจจากรัฐบาลแต่ไม่สำเร็จ เหตุการณ์นี้เรียกว่า "กบฎบวรเดช"

  • 2 มี.ค.2477 -รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ และรัชกาลที่ 8 เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อ (พระชนมายุ 8 พรรษา และเรียนอยู่ต่างประเทศ) โดยมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

  • 11 ก.ย.2481- พันเอกพระยาพหลฯ ยุบสภา ลาออกจากนายกรัฐมนตรี

  • 15 พ.ย.2481-รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยครั้งแรก

  • 16 ธ.ค.2481- จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

  • 13 ม.ค.2482 - รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์

  • 1 ก.ย.2482 - เริ่มเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

  • 24 มิ.ย.2482 - จอมพล ป. เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็น ประเทศไทย (ตามนโยบายรัฐนิยม)

  • 8 ธ.ค.2484 - ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกของผ่านประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (จอมพล.ป สนับสนุนข้างญี่ปุ่น แต่ นายปรีดีฯ กลับตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้าน)

  • 16 ธ.ค.2484 - แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทน รัชกาลที่ 8 เนื่องจากผู้สำเร็จราชการเดิมถึงแก่อสัญกรรม ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)

  • 31 ก.ค.2487 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ลาออกจากการเป็นผู้สำเร็จราชการ จึงเหลือนายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้สำเร็จราชการแต่เพียงผู้เดียว

  • 1 ส.ค.2487- นายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน จอมพล ป.

  • 31 ส.ค.2488 -นายทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

  • 2 ก.ย.2488 - สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

  • 17 ก.ย.2488 - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

  • 5 ธ.ค.2488 - รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยครั้งที่ 2

  • 31 ม.ค.2489 - นายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

  • 24 มี.ค.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

  • 13 เม.ย.2489 - ฉันท์ หุ้มแพร (นายทัศน์ สุจริตกุล) มหาดเล็กผู้จงรักภักดีที่คอยรับใช้ครอบครัวมหิดล ถูกวางยาพิษตาย

  • 9 พ.ค.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (เนื่องจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่)

  • 8 มิ.ย.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจากมติของสภา

  • 9 มิ.ย.2489 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 10 ค่ำ เดือนเจ็ด ปีจอ เวลาประมาณ 09:25 น. รัชกาลที่ 8 ถูกลอบปลงพระชนม์ขณะนอนหลับอยู่ในห้องพระบรรทม บนชั้น 2 ของพระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ด้วยกระสุนปืนจำนวน 1 นัด สิ้นพระชนม์ทันทีด้วยพระชนมายุ 21 พรรษา และในคืนวันเดียวกัน นายปรีดี พนมยงค์ทำการเรียกประชุมรัฐสภาเวลา 21.10 น. ที่ประชุมมีมติประกาศให้พระอนุชาของรัชกาลที่ 8 (เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช) ขึ้นครองราชย์สืบต่อนับเป็นรัชกาลที่ 9 ตามความในมาตรา 9 (8) แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 และหลังจากนั้นนายปรีดี พนมยงค์ ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

  • 11 มิ.ย.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับการแต่งตั้งเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ ตามมติเห็นชอบของสภา

  • กลางเดือน ส.ค.2489 - รัชกาลที่ 9 เสด็จกลับไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

  • 23 ส.ค.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีลาออกเพราะทนแรงกดดันเรื่องการสวรรคตของ ร.8 ไม่ได้ และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแทน

  • 18 ก.ย.2490 - เริ่มสอบสวนคดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8

  • 8 พ.ย.2490 - เกิดการรัฐประหาร โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ น.อ.กาจ กาจสงคราม พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ.ถนอม กิตติขจร พ.ท.ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายปรีดี พนมยงค์ และเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช หลบหนีการรัฐประหารออกไปนอกประเทศ

  • 10 พ.ย.2490 - กลุ่มที่ทำรัฐประหาร เชิญนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

  • 15 พ.ย.2490 - ตำรวจจับ นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน และออกหมายจับ นายปรีดี พนมยงค์ และเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช

  • 20 พ.ย.2490 - แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคดีสววรคตของรัชกาลที่ 8 ใหม่

  • 8 เม.ย.2491 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้รับเชิญให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยสมัยที่ 2 (โดยกลุ่มนายทหารที่ทำการรัฐประหารเป็นผู้บีบบังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออก)

  • 26 ก.พ.2492 - นายปรีดี พนมยงค์ แอบกลับมาประเทศไทยเพื่อยึดอำนาจคืนจากรัฐบาล แต่ไม่สำเร็จ เหตุการณ์นี้เรียกว่า "กบฎวังหลวง"

  • ต้นปี พ.ศ.2493 - รัชกาลที่ 9 เสด็จกลับประเทศไทย

  • 29 พ.ย.2494 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหารรัฐบาลตนเอง

  • 21 มิ.ย.2497 - พิพากษาคดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 ประหารชีวิตจำเลยทั้งสาม

  • 17 ก.พ.2498 - ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน ก่อนถูกประหาร พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ มีการบันทึกการสนทนาของจำเลยทั้งสามก่อนจะถูกประหาร แล้วนำเสนอต่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จน ต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำริจะรื้อฟื้นคดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ขึ้นมาใหม่เพื่อความเป็นธรรมแก่จำเลยทั้งสามคน รวมทั้งนายปรีดี พนมยงค์ และเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช

  • 16 ก.ย.2500 - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ทำการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม (จอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องหลบหนีไปต่างประเทศ)

ลำดับเหตุการณ์ทั้งก่อนและหลังที่ผู้เขียนเรียบเรียงมานี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่าหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา มีกลุ่มอำนาจต่างๆ พยายามช่วงชิงอำนาจการปกครองมาเป็นของตนเอง สถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ถูกดูแคลนและลดความสำคัญลง มีการเปลี่ยนชื่อจาก ประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย และในระหว่างเกิดสงครามสงครามโลกครั้งที่ 2 อำนาจในการบริหารและปกครองประเทศไทยขณะนั้น อยู่ในมือของ จอมพล.ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีฝ่ายหนึ่งซึ่งเข้าข้างฝ่ายอักษะ กับ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยกับ จอมพล.ป และได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นมาต่อต้านอย่างลับๆ

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยมีการแบ่งกลุ่มอำนาจต่างๆ ดังนี้

  • กลุ่มจอมพล ป.พิบูลสงคราม (ที่สูญเสียอำนาจไป)
  • กลุ่มนายปรีดี พนมยงค์ (ที่กำลังมีอำนาจ)
  • กลุ่มราชวงศ์หัวก้าวหน้า (ส่วนใหญ่เรียนจบจากต่างประเทศ) ที่ต้องการเข้ามาบริหารประเทศผ่านการเล่นการเมือง
  • กลุ่มราชวงศ์หัวเก่า ที่ต้องการอำนาจกลับคืน
  • กลุ่มราชวงศ์ที่ต้องการทวงคืนความชอบธรรมในราชบัลลังก์

หากกลุ่มต่างๆ เป็นเช่นนี้จริง

กลุ่มไหนบ้างจะได้ประโยชน์จากการลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8

และกลุ่มไหนบ้างที่จะถูกกำจัดออกไป

 

หยุดใส่ร้ายพระองค์ (ตอนจบ) - Facebook

 

หยุดใส่ร้ายพระองค์ จัดทำโดย สุชาต จันทรวงศ์ จาก บล๊อก "คิดแล้วเขียน หลาย ...

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

917 เบื้องลึก !! เงิบ...ธัมมชโย ฉลองวันเกิดเฉย

 

 

906 เบื้องลึก !! หมอดูชี้ ศึกโลกครั้งที่ 3 เกิดแน่

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บุรุษผู้ทวงเงินคืนชาติพันล้านบาท

อ้อ...ตั้งแต่เขียนเรื่องพีพีโมเดลมาเกือบ 2 ปี ยังไม่เคยมีสักครั้งที่ผมเอ่ยชื่อหัวหน้าอุทยาน

ขอเอ่ยนามเขาสักครั้ง เขาชื่อ “ศรายุทธ ตันเถียร”

และคนในนามสกุล “ตันเถียร” ภาคภูมิใจกับเขาผู้นี้ครับ

18034231_1720209411327588_7457974342276130286_n.jpg?oh=43ac31701bc79a84ce5e394a0ff71d73&oe=59904AFF

Thon Thamrongnawasawat

นี่คือเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนประวัติศาสตร์ของวงการอุทยานแห่งชาติเมืองไทยไปตลอดกาล #บุรุษผู้ทวงเงินคืนชาติพันล้านบาท

ย้อนกลับไปในปีงบประมาณ 2558 กรมอุทยานฯ เก็บเงินรายได้ค่าธรรมเนียมจากอุทยาน 147 แห่งทั่วประเทศ ได้ทั้งหมด 896 ล้านบาท

 

เดือนกรกฎาคม ปีนั้น เป็นช่วงที่หัวหน้าอุทยานคนหนึ่ง ถูกย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ในอุทยานทางทะเลที่ได้ชื่อว่าโหดหินที่สุด มีปัญหาทุกอย่างรุมเร้า ไม่มีกำลังคน มีเรือยาง 1 ลำ มีทุ่นจอดเรือ 8 ลูก มีเรือขออนุญาตในระบบเพียง 90 ลำ

และเป็นอุทยานที่เก็บเงินรายได้เพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวมหาศาลที่เห็นอยู่ด้วยสายตา จนกลายเป็นข้อเรียกร้องจากเพื่อนธรณ์ บอกว่าถึงเวลาปฏิรูปอุทยานแห่งชาติทางทะเล

ในวันนั้น ทุกคนคาดหวังกับเขาให้มาแก้ปัญหา แต่ไม่มีใครคาดฝันว่า จะมีวันนี้

หัวหน้าหนึ่งคนกับลูกน้องเพียงไม่กี่คนบนเรือยาง สามารถเก็บเงินรายได้จากอุทยานแห่งเดียว ได้มากกว่าเงินรายได้รวมของอุทยานทั้งประเทศในปี 58

1 ปี 9 เดือนของการปฏิบัติหน้าที่ สถิติใหม่เกิดขึ้น และมันจะคงอยู่ไปชั่วกาล

ในช่วงเวลาค่อนศตวรรษที่มีการจัดตั้งอุทยานในเมืองไทย นี่คือหัวหน้าอุทยานคนแรกที่สามารถเก็บเงินรายได้ 978 ล้านบาท

และผลจากการกระทำ ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมไปทั่ว ตัวเลขเงินรายได้อุทยานทั่วประเทศพุ่งกระฉูด

จาก 896 ล้านบาท (ปี 58) กลายเป็น 1,982 ล้านบาท (ปี 59) และ 1,053 ล้านบาท ในเวลาเพียง 5 เดือนของปี 60 (ตุลา-กุมภา)

เป็นไปได้ว่า ในปีงบประมาณ 60 กรมอุทยานจะมีเงินรายได้มากกว่า 2,400 ล้านบาท

ลองคิดถึงปีต่อไป ต่อๆ ไป...

คำพูดปวดใจที่สุดที่คนรักธรรมชาติได้ยินได้ฟัง เมื่อเห็นป่าในเขตอุทยานถูกทำลาย ทะเลพัง ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า “ไม่มีงบประมาณ”

มันจะไม่มีอีกต่อไป !

เน้นย้ำ มันจะไม่มีอีกแล้ว !

เพราะด้วยเงินรายได้มหาศาล และเป็นเงินที่จัดการโดยกรมอุทยานทั้งหมด ไม่ต้องส่งเข้าคลัง หมายความว่ากรมอุทยานมีอิสระในการใช้เงินเพื่อดูแลอุทยานทุกแห่ง

กรมอุทยานกลายเป็นหน่วยงานราชการด้านการอนุรักษ์ ที่มีเงินในการบริหารจัดการ มากที่สุดในประเทศไทย !

จะเป็นท่านใดมาเป็นอธิบดี จะเป็นเจ้าหน้าที่คนไหนมาเป็นหัวหน้าอุทยาน คำตอบเดิมๆ ที่ได้ยินมากว่า 50 ปี จะจบลงในวันนี้

เมื่อมีเงินแล้ว ต่อจากนี้ คือความสามารถสถานเดียว

...

ย้อนกลับมาที่พีพี เงินรายได้ที่เข้ามา ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเหลือเชื่อ

จากเรือยาง 1 ลำ กลายเป็นเรือตรวจ 14 ลำ

จากทุ่น 8 ทุ่น กลายเป็น 200 ทุ่น (พรุ่งนี้จะมีพิธีวางทุ่นโดยท่านอธิบดีกรมอุทยาน จำนวนมากกว่า 150 ทุ่นที่หมู่เกาะพีพี ถือเป็นการวางทุ่นครั้งใหญ่ที่สุดในอุทยานของไทย)

ระบบการจัดการใหม่ที่ทำให้มีเรือเข้าระบบจาก 90 ลำ กลายเป็นกว่า 1,900 ลำ

การจับกุมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการจับสัตว์น้ำผิดกฎหมาย ผู้ประกอบการทำผิดกฎ นักท่องเที่ยวทำร้ายธรรมชาติ ฯลฯ จำนวนสถิติพุ่งจนเกือบถึง 1 พันครั้ง

นั่นคือคำตอบ เงินรายได้อุทยานนำไปทำอะไร ?

และไม่ใช่เพียงแค่พีพี ยังหมายถึงอุทยานจากเหนือจรดใต้ เกือบ 150 แห่งทั่วประเทศ เงินรายได้สามารถจัดสรรปันส่วนไปถ้วนทั่ว

วันหนึ่งข้างหน้า หากคุณเห็นรถตรวจการณ์คันใหม่กำลังวิ่งเข้าไปตรวจป่า เห็นเจ้าหน้าที่มีหน้าตายิ้มแย้มขึ้น มีวิทยุและอุปกรณ์ใหม่

วันใดที่คุณเห็นเรือตรวจการณ์อุทยานวิ่งผ่าน วันไหนที่คุณคล้องทุ่นจอดเรืออันใหม่โดยไม่ต้องทิ้งสมอเหมือนเคย

ขอให้คุณคิดถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2558

หัวหน้าอุทยานคนหนึ่ง ก้าวเท้าลงมาเหยียบเกาะพีพีเป็นครั้งแรก

จากนั้นเขาเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์การอนุรักษ์ธรรมชาติของไทย

กระทำในสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด แม้ในฝันยังต้องอุทาน มันเป็นไปไม่ได้

บุรุษผู้เก็บเงินรายได้ให้อุทยานเกือบพันล้านบาท

เงินอันเป็น "ต้นทุน" ของการพิทักษ์สมบัติของชาติไทย !

xxxxxxx

หมายเหตุ

ก่อนย้าย ขอพันล้านเหอะ ผมบอกอย่างนี้

โห...อาจารย์ ผมเหนื่อยมาก ขอให้คนอื่นเข้ามาทำบ้าง

เฮ้ย ตอนนี้มันก็ได้ 978 ล้านแล้ว อีกไม่เกิน 2 อาทิตย์ ยังไงก็เกินพันล้าน ตัวเลขพันล้านมันเท่ หัวหน้าคนแรกที่เก็บเงินได้พันล้าน เอาไปเบ่ง เอ๊ย เอาไปคุยอวดได้ชั่วลูกชั่วหลาน

เอ้อ...ก็ต้องแล้วแต่ผู้ใหญ่จะสั่งการครับ

หัวหน้าเขาบอกเช่นนี้ ผมเองก็เข้าใจ การทำ #พีพีโมเดล มันคือเรื่องโหดหินที่สุดที่คนหนึ่งจะพบเจอได้ และวันนี้เราก็ผ่านมาจนถึงเวลาที่ทุกอย่างใกล้ลงตัว

หัวหน้าคนนี้เสียสละมามากมาย เกินกว่าที่เราจะเรียกร้องอะไรจากเขาได้อีก

จึงอยากบอกเพื่อนธรณ์ไว้ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าอุทยานพีพี ไม่ใช่เป็นเพราะเขาถอดใจ ไม่ใช่เป็นเพราะแรงกดดันอะไร เพราะตอนนี้มันจิ๊บๆ เมื่อเทียบกับที่ผ่านมา ไม่ต้องมีคนไปเอาหน้าว่าสามารถย้ายหัวหน้าได้

มันเป็นเพียงเมื่อถึงเวลา งานเลี้ยงก็ต้องเลิกรา ทุกคนย่อมมีทางชีวิตของตนเอง

แต่ไม่ต้องห่วงว่า #พีพีโมเดล จะพังทลาย อันที่จริง มันเป็นการก้าวไปในขั้นต่อไป และเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด

คนจากไป ระบบจะคงอยู่ไหม โมเดลจะยังคงเป็นต้นแบบอีกหรือไม่ ?

ธรณ์ไม่ไปไหน ธรณ์จะอยู่ที่นี่ เพราะธรณ์รักพีพีเกือบเท่าหนูดาวครับ

...

อ้อ...ตั้งแต่เขียนเรื่องพีพีโมเดลมาเกือบ 2 ปี ยังไม่เคยมีสักครั้งที่ผมเอ่ยชื่อหัวหน้าอุทยาน

ขอเอ่ยนามเขาสักครั้ง เขาชื่อ “ศรายุทธ ตันเถียร”

และคนในนามสกุล “ตันเถียร” ภาคภูมิใจกับเขาผู้นี้ครับ

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

17630020_228919954250752_3875668673454360922_n.jpg?oh=2adc64eb9b341d88bf0e6e1d226b1e98&oe=597AA341

 

 

 

17626122_239549329847642_6420839820560866775_n.jpg?oh=2c1bc50ae489479d662fcc29fb37ceb6&oe=598C3100

 

 

 

สํานักข่าวไทย TNAMCOT

 

18056900_1736625096629788_710652828352188919_n.jpg?oh=5f5bef6fc84c0d37f5743f86f9722058&oe=5985927C

 

18118639_1736625079963123_2498387596225526335_n.jpg?oh=3201f6e69a1a5b915bd5bf0e030a6d26&oe=598B13EA

#ขอเชิญชวนประชาชนจิตอาสาร่วมจัดทำดอกไม้จันทน์ เพื่อถวายพ่อหลวง โดยพร้อมเพรียงกัน ระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 256 ระหว่างเวลา 10.00 - 15.00 น. ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น (ดินแดง) และเพื่อความสะดวก ขอความร่วมมือให้ประชาชนนำกรรไกรมาด้วย

นอกจากนี้หากภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนประสงค์บริจาควัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ หรือประสงค์จัดทำดอกไม้จันทน์มามอบให้กรุงเทพมหานครเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่มาร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สามารถนำมาส่งได้ที่ กองส่งเสริมอาชีพ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร (ดินแดง) หรือสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์ 0 2247 9493, 0 2247 9496....

โดยประชาชนและวิทยากรจิตอาสาผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองส่งเสริมอาชีพ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร โทร 0 2247 9493, 0 2248 6152 ต่อ 3932 และ 3933 และ 0 2248 6069 ในวันและเวลาราชการ"

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

18057717_1796613893987625_4369448886599911698_n.jpg?oh=076a9f3615e9c850e86f8129b0f22dec&oe=59770D17

ร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ เป็นการ "ปรับโครงสร้าง" ครั้งสำคัญ ของหน่วยงานในพระองค์ จาก ๖ หน่วยงาน โอนรวมกัน คงเหลือ ๓ หน่วย เพื่อให้การบริหารหน่วยงาน มีความกระชับมากขึ้น คือ

๑.สำนักพระราชวัง ประกอบด้วย สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ๒.หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ประกอบด้วย กรมราชองครักษ์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักนายตำรวจราชสำนักประจำ

๓.สำนักงานองคมนตรี

สำนักพระราชวัง เป็นหน่วยงานราชการ ที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ พระเจ้าอู่ทอง ทรงจัดระเบียบการปกครองภายในราชธานี “จตุสดมภ์” คือ เวียง วัง คลัง และนา

“วัง” อันเป็นต้นกำเนิดของสำนักพระราชวัง มีหน้าที่ดูแลฝ่ายพระราชสำนัก และช่วยแบ่งเบาภาระของ พระมหากษัตริย์ในหน้าที่ตุลาการ โดยมี “ขุนวัง” เป็นหัวหน้า

รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ “กรมวัง” มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับ พระราชสำนัก ดูแลขุนนางทั้งหมด ที่จะเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง ยกเว้นมหาดเล็ก ควบคุมพระราชทรัพย์พิเศษที่เกี่ยวกับ พระบรมมหาราชวัง กับมีหน้าที่ตุลาการ มีอำนาจหน้าที่ ในการแต่งตั้ง “ยกกระบัตร” ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าผู้พิพากษาประจำหัวเมือง และเป็นผู้ดูแลตรวจสอบข้าหลวง กับมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้ง “หลวงวัง” ที่มีหน้าที่ดูแลกิจการภายใน จวนข้าหลวงนั้น ออกไปประจำตามหัวเมือง

รัชกาลที่ ๖ ปรับปรุงส่วนราชการ ในกระทรวงวัง ตั้ง กรมสังกัดกระทรวงวัง ๒๐ กรม

รัชกาลที่ ๗ ให้โอนกรมธรรมการ กรมสังฆการี กรมราชบัณฑิต กรมกัลปนา และกรมศิลปากร ไปสังกัดกระทรวงธรรมการ และยุบฐานะกรมมหาดเล็กหลวงลง เป็นกรมสามัญ สังกัดกระทรวงวังตามเดิม

ปี ๒๔๗๕ คณะราษฎร เปลี่ยนชื่อกระทรวงวังเป็น “ศาลาว่าการพระราชวัง” และตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังเป็น “ผู้สำเร็จราชการพระราชวัง” มีหน้าที่บริหารราชการในพระราชสำนัก แบ่งส่านราชการออกเป็น ๑๐ กรม คือ กรมราชเลขานุการในพระองค์ กรมปลัด กรมวัง กรมพระราชพิธี กรมโขลนกรมวังนอก กรมมหาดเล็กหลวง กรมราชพาหนะกรมทหารรักษาวัง และกรมพระคลังข้างที่

ปี ๒๔๗๖ เปลี่ยนเป็นกระทรวงวังดังเดิม แบ่งส่วนราชการออกเป็น ๗ กรม ให้ยกกรมทหารรักษาวัง ออกจาก หน้าที่ราชการกระทรวงวัง และให้ยุบกรมมหาดเล็กหลวง และกรมวัง ไปรวมอยู่ในสำนักงานปลัดกระทรวง กรมในสังกัดกระทรวงวัง จึงเหลือเพียง ๔ กรม

ปี ๒๔๗๘ กระทรวงวังได้ยุบฐานะลงมาเป็น ทบวงการเมือง มีฐานะเทียบเท่ากรม และเปลี่ยนนามเป็นสำนักพระราชวัง มีอำนาจหน้าที่จัดการพระราชวัง ตลอดจนการดูแลรักษาทรัพย์สิน และผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการพระราชวังรับผิดชอบในการบริหารราชการ ได้แบ่งส่วนราชการเป็น ๔ กอง คือสำนักงานเลขานุการ กองมหาดเล็ก กองวังและพระราชพิธี และสำนักงานพระคลังข้างที่

ในรัชกาล ๙ สำนักพระราชวังจึงได้เพิ่มจำนวนกองมากขึ้น เป็น ๑๔ กอง

---

ทีนาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในหลวงในพระบรมโกศ พระราชทานที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้แก่รัฐบาล จำนวน 43,902 ไร่ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ในท้องที่ 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา 11,165 ไร่ นครนายก 3,543 ไร่ ปทุมธานี 13,768 ไร่ ฉะเชิงเทรา 14,417 ไร่ และนครปฐม 1,009 ไร่ เมื่อ เมื่อ 5 มี.ค.2518 ให้เกษตรกร จำนวน 2,976 ราย ทรงมีพระราชประสงค์ให้เกษตรกร ผู้เช่าที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่เดิม ได้ทำกินอยู่ในที่ดินนั้นตลอดไปชั่วลูกหลาน...แต่จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

ปัจจุบันมีเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พระราชทาน 3,264 ราย ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม นําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระองค์ท่านมาส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกษตรกรได้ดําเนินตามรอยพระยุคลบาท ได้จัดต้ังนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ในเขตปฏิรูปที่ดิน จัดต้ังศูนย์จัดการที่ดินพระราชทานขึ้น และเดินหน้า สร้างเครือข่ายเกษตรกร สร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน สร้างเครือข่ายสหกรณ์ ในผืนดินพระราชทานให้เข้มแข็งมากขึ้น

===

 

คณะราษฎร หลังจากยึดอำนาจได้ไม่นาน ในหลวงรัชกาลที่ ๗ ทรงลาออกจากราชสมบัติ เมื่อ ๒ มี.ค.๒๔๗๗ เพราะทรงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่บทเฉพาะกาล ให้คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเอาไว้ถึง ๑๐ ปี จึงจะเปลี่ยนการปกครองไปอยู่ในมือของประชาชน

โดยกำนดว่า "ถ้าราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ยังมีการศึกษาไม่จบชั้นประถมศึกษา มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด และอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ ๒๔๗๕

อีกทั้งโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ตามหลักการข้อ ๓ในอุดมการณ์ ๖ ประการ ของคณะราษฎรที่ได้ประกาศไว้ "โน้มเอียงไปในทางหลักเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ "

.

เมื่อทรงลาออกแล้ว คณะทรราช เร่งออกพระราชบัญญัติ เพื่อจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งจะยึดเอา “พระคลังข้างที่” เงินสะสมของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี สืบมาแต่รัชกาลที่ ๓ และได้ทรงนำเงินนั้นใส่ “ถุงแดง” ไว้ข้างแท่นพระบรรทม ซึ่งเรียกว่า “พระคลังข้างที่” โดยออกเป็นกฎหมาย ชื่อว่า “ พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ” และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ ๑๕ มิ.ย ๒๔๗๙

พรบ.ฉบับนี้ ได้แยกทรัพย์สิน หรือสิทธิ ออกเป็น ๒ ส่วนคือ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” และ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” กับ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน” โดยให้กระทรวงการคลัง กำกับดูแลตามกฎหมายใหม่ มี สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้บริหาร

โดยทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง นอกจากนี้ ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น การดูแลรักษาและการจัดหาผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

ตามกฏหมาย ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน จึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนเงินปันผล ที่ได้จากการถือหุ้นบริษัทต่างๆ มีการหักภาษีณ.ที่จ่ายตามปกติ

ส่วนรายได้ของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะนำไปลงทุนในกิจการต่างๆเพื่อออกดอกผล แต่ทั้งหมดเมื่อได้มา เพื่อนำไปส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม แต่จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จะถวายให้ในหลวง ในแต่ละปี เพื่อไปใช้ตามพระราชอัธยาศัยบ้างตามสมควร

ทรัพย์สินส่วนพระองค์ คือทรัพย์สินส่วนตัวของในหลวง ต้องเสียภาษีอากรให้แก่รัฐ และมูลนิธิตางๆที่ในหลวงทรงริเริ่มตั้ง จะนำมาจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทั้งสิ้นครับ เช่น มูลนิธิอานันทมหิดล มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิราชประชาสมาสัย และอีกหลายๆมูลนิธิ

ส่วนทรัพย์สินของราชวงศ์จักรี คือทรัพย์สมบัติที่อยู่ภายใต้การดูแล ของกรมธนารักษ์ เช่นสิ่งของมีค่า ทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ของ ในหลวงรัชกาลต่างๆที่ผ่านมา เช่นเหรียญกษาปณ์ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์

====

17951901_282011888906935_8276303309448662375_n.jpg?oh=82ee874aaf0e850bb3322a5e70e5ff6f&oe=5991FDFD

แฉคณะราษฎร ยึดทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เข้าพกเข้าห่อ.... สมัยรัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้า “คณะราษฎร”ได้ออก“พระราชบัญญัติจัดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” เมื่อ 31 มี.ค. 2480 เพื่อจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ใหม่ โดยจะโอนพระคลังข้างที่ ซึ่งเดิมอยู่กับสำนักพระราชวัง ไปขึ้นกับกระทรวงการคลัง แต่ก่อนที่จะรับโอน กระทรวงการคลัง ได้ขอให้สำรวจและจัดทำบัญชีให้เรียบร้อยก่อน พบว่า

บุคคลสำคัญในวงการรัฐบาล หลายคนอยากได้ที่ดินบางแปลงไว้ปลูกบ้าน พระดุลยธารปรีชาไว รัฐมนตรีรักษาการณ์ กำกับดูแลสำนักพระราชวังแทนนายกฯ ได้ทำหนังสือแจ้งต่อคณะผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ซึ่งประกอบด้วย พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พระยายมราช และ พล.อ.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการฯก็ไม่ขัดข้อง พระดุลยธารฯจึงนำที่ดินเหล่านั้น มาขายแบบผ่อนส่งในราคาถูกๆ ซึ่งผู้ซื้อก็ล้วนแต่อยู่ในกลุ่มพรรคพวกรัฐบาล โดยพระดุลยธารฯเอง ซื้อที่ดินย่านสำเพ็งไว้แปลงหนึ่งในราคา 14,000 บาท

นายเลียง ไชยกาล ส.ส.ปากกล้าแห่งอุบลราชธานี ทราบเรื่อง ยื่นกระทู้ด่วนถามนายกรัฐมนตรี ทำให้ พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม รมต.กลาโหม และ พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ รมต.มหาดไทย ซึ่งซื้อไว้เหมือนกัน รีบเอาไปคืนทันที อ้างว่าซื้อไว้เพราะไม่รู้ เลยถูกลบชื่อออกจากรายชื่อผู้ซื้อไป

1. พระยาฤทธิอัคเนย์ โฉนดเลขที่ 3243 อ.บางรัก ราคา 8,000 บาท

2. พระยาฤทธิอัคเนย์ โฉนดเลขที่ 3130 อ.บางรัก ราคา 700 บาท

3. พระยาฤทธิอัคเนย์ โฉนดเลขที่ 2610 อ.บางรัก ราคา 1,300 บาท

4. นายนเรศธิรักษ์ โฉนดเลขที่ 4104 อ.บางซื่อ ราคา 4,000 บาท

5.นายวิลาส โอสถานนท์ โฉนดเลขที่ 3845 อ.บางรัก ราคา 6,000 บาท

6. พระพิจิตรราชสาร โฉนดเลขที่ 4243 อ.บางซื่อ ราคา 5,954 บาท

7.หลวงนิเทศกลการ โฉนดเลขที่ 576 อ.บางซื่อ ราคา 7,105 บาท

8.นายเอก ศุภโปฎก โฉนดเลขที่ 1336 อ.บางกอกใหญ่ ราคา 2,844 บาท

9. หลวงชำนาญนิติเกษตร โฉนดเลขที่ 3849 อ.บางรัก ราคา 9,231 บาท

10.นายแสวง มหากายี โฉนดเลขที่ 522,2383 อ.บางรัก ราคา 4,070 บาท

11.นายสอน บุญจูงโฉนดเลขที่ 2395,2400 อ.สัมพันธววงศ์ ราคา 5,584 บาท

12.นายนรราชา โฉนดเลขที่ 2110 อ.บางรัก ราคา 6,615 บาท

13.หลวงอรรถสารประสิทธิ์ โฉนดเลขที่ 3473 อ.บางรัก ราคา 10,729 บาท

14.นายประจวบ บุรานนท์ โฉนดเลขที่ 6943 อ.บางซื่อ ราคา 11,790 บาท

15. นายจำนงราชกิจ โฉนดเลขที่ 433 อ.พระนคร ราคา 6,134 บาท

16.ร.อ.กระวีฯ โฉนดเลขที่ 380 อ.ดุสิต ราคา 5,480 บาท

17.ร.อ.กุหลาบฯ โฉนดเลขที่ 484,530,460 อ.สำเพ็ง ราคา 6,734 บาท

18.หลวงยุทธศาสตร์โกศล โฉนดเลขที่ 1467,6128 อ.บางซื่อ ราคา 10,303 บาท

19.พระดุลยธารณ์ประชาไวท์ โฉนดเลขที่ 2486 อ.สำเพ็ง ราคา 14,000 บาท

เรื่องนี้ก็จบลงโดยผู้ซื้อไว้ต้องคืนที่ดินทั้งหมด และสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเลือก คณะผู้สำเร็จราชการชุดเดิมกลับเข้ารับตำแหน่งอีก เช่นเดียว พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนให้กลับเข้ารับตำแหน่งนายกฯ อีกสมัย แฉ

====

17990869_1796549190660762_2206047288730434677_n.jpg?oh=b875d89adf0c608a61899e351e5fac1f&oe=5981FD90

18058198_1796549280660753_4475094100176597584_n.jpg?oh=1c785d3fb85b40b0f5f308d2c82dc9fd&oe=5974A459

"หมุดทรราช" อ้างว่าเป็นประวัติศาสตร์ สำคัญ ที่"คณะราษฎร" ล้มระบอบการปกครองประเทศ

"ตึกแดง คุกตารุเตา" ที่สตูล ควรถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญ ที่ "คณะราษฎร" ใช้เป็น"ทัณฑสถาน " นักโทษคดีอุกฉกรรจ์ และนักโทษการเมืองสร้างปี.2479 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 4 ปี โดยปี .2482 พระยาพหลพลหยุหเสนา นายกฯ ส่งนักโทษการเมือง จำนวน 70 คน ส่วนใหญ่เป็นนักโทษคดีกบฏบวรเดช และกบฏนายสิบ โดยนำมากักไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง เหตุผลง่ายๆ คือมีภูมิประเทศยากแก่การหลบหนี เพราะเป็นเกาะใหญ่อยู่กลางทะเลลึก รอบๆเกาะก็เต็มไปด้วยฉลาม ในคลองมีจระเข้ชุกชุม คลื่นลมมรสุมก็รุนแรง ไม่มีเรือผ่านไปมา ม้่นใจได้ว่าจะไม่มีการแหกหักหลบหนี นอกจากจะมีผู้คุมดูแลแล้ว ยังมีฉลามและจระเข้ช่วยควบคุมไว้อีกชั้นหนึ่ง

นักโทษการเมือง ที่ส่งไปคุมขัง ณ ตะรุเตา จากเรือนจำกลางบางขวาง ต้องคดีกบฏ บวรเดช อาทิ 1.หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร 2. นาวาเอก พระยาศราภัย พิพัฒน์ (เลื่อน ศราภัยวานิช) 3. หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เศรษฐบุตร) 5. นาวาเอก พระแสงสิทธิการ 6. หม่อมหลวงทวีวงษ์ วัชรีพงษ์ 7. นายอรุณ บุนนาค 8. นายโชติ คุ้มพันธ์ 9. นายไตย สุวรรณทัต

10. พระยาสุรพันธ์เสนีย์

การลงโทษนักโทษในคุกตะรุเตา มีตั้งแต่การให้ทำงานหนักขึ้น หรือลดอาหาร จับตีตรวนให้ยืนตากแดด 10-15 วัน ถ่วงสมอบก ถูกเฆี่ยน ทุบตี และการขังตึกแดง ซึ่งเป็นการลงโทษที่หนักที่สุด นักโทษที่หลบหนีหากจับได้แล้ว ต่อสู้ขัดขืนจะถูกยิงตาย

การถ่วงสมอบก เป็นการตีตรวนขนาดใหญ่ที่สุด ผูกติดกับตัวสมอที่ทำด้วยท่อนไม้ซุงขนาดใหญ่โซ่จะมีความยาวพอที่นักโทษ จะยกท่อนไม้แบกขั้นบ่าได้ เวลาจะเดิน พอหยุดเดินยกสมอลงวางพื้น จะถูกตรึงอยู่ในรัศมีของโซ่ที่ล่ามเหมือนเรือที่ถูกวางสมอ ภายหลังท่อนไม้ซุงได้เปลี่ยนมาเป็นซีเมนต์ หล่อเป็นวงล้อมขนาดต่างๆ เพราะสมอไม้มักถูกนักโทษใช้ขวานหรือมีดถากทิ้ง เพื่อให้น้ำหนักลดลง

cr Siriwanna Jill new

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

18010963_1853915281529290_3146464875360121153_n.png?oh=922ee0c94796a4e0622579ea287057d4&oe=5975A9EF

วันนี้ในอดีต 21 เมษายน 2325

.

วันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

.

เมื่อเกิดเหตุจราจลขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึกทราบข่าว จึงยกทัพกลับจากเขมร บรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันมาอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้ทรงแก้ไข

.

วิกฤติการณ์ พร้อมทั้งทูลอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ซึ่งนับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี

.

หลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ทรงมีดำริว่า พระราชวังเดิมมีวัดขนาบทั้งสองด้าน ทำให้ขยายกว้างขวางออกไปไม่ได้ ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีสืบไป จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายพระนครมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา) สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีใหม่

.

เหตุผลในการย้ายราชธานี

 

1. ราชวังเดิมไม่เหมาะสมในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ยาก แก่การป้องกันรักษา

 

2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะเป็นด้านหัวแหลม มีลำน้ำเป็นพรมแดนกว่าครึ่ง

 

3. เขตพระราชวังเดิมขยายไม่ได้ เพราะมีวัดกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง ได้แก่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาดลักษณะของราชธานีใหม่

.

ราชธานีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯให้สร้างขึ้นได้ทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 การสร้างราชธานีใหม่นี้โปรดฯให้สร้างเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือกำหนดผังเมืองเป็น 3 ส่วน

.

1.ส่วนที่เป็นบริเวณพระบรมมหาราชวัง วังหน้า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ทุ่งพระเมรุ และสถานที่สำคัญอื่น ๆ มีอาณาบริเวณตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงคูเมืองเดิมสมัยกรุงธนบุรี

 

2.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง เริ่มตั้งแต่คูเมืองเดิมไปทาง ทิศตะวันออก จนจดคูเมืองที่ขุดใหม่หรือคลองรอบกรุง ประกอบด้วย คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง และเพื่อสะดวกในการคมนาคม โปรดให้ขุดคลองสองคลองคือคลองหลอด 1 และคลองหลอด 2 เชื่อมคูเมืองเก่ากับคูเมืองใหม่ติดต่อถึงกัน ตามแนวคลองรอบกรุงนี้ ทรงสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการขึ้นโดยรอบ นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างถนนสะพาน และสถานที่อื่น ๆ ที่จำเป็น ราษฎรที่อาศัยอยู่ในส่วนนี้ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก

 

3.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยนอกกำแพงเมือง มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมคลองรอบกรุง เป็นหย่อม ๆ กระจายกันออกไป คลองสำคัญที่โปรดให้ขุดขึ้น คือ คลองมหานาค ราษฎรในส่วนนี้ประกอบอาชีพการเกษตร และผลิตสินค้าอุตสาหกรรมทางช่างประเภทต่าง ๆ

.

สำหรับการสร้างพระบรมมหาราชวังนั้น นอกจากจะให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรแล้ว ยังโปรดให้สร้างวัดพระรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ขึ้นภายในวังด้วย เหมือนวัด พระศรีสรรเพชญสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเป็น สิริมงคลแก่กรุงเทพมหานคร และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สำหรับพระนครเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2528 แล้วจัดให้มีการสมโภช และพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์ แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4ทรงเปลี่ยน จากบวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ สืบมาจนปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

18010175_1853311568256328_2862969962125224348_n.jpg?oh=fc6dd44dee381f4c86e20a27d4e4792b&oe=5989E42C

“...วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เวลา 17.15 น. โปรดเกล้าฯ ให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาศรีวิสารวาจา พระยาปรีชาชลยุทธ พระยาพหลพลพยุหเสนา กับหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม มาเฝ้าที่วังสุโขทัย

.

เรื่อง “เตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ”

.

...มีพระราชดำรัสว่าอยากจะสอบถามความบางข้อและบอกความจริงใจ ตั้งแต่ได้รับราชสมบัติทรงนึกว่าถูกเลือกทำไม บางทีเทวดาต้องการให้พระองค์ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง... ทรงเห็นว่าควร จะต้องให้ Constitution (พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน) มาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 แล้ว และเมื่อทรงรับราชสมบัติก็มั่นพระราชหฤทัยว่าเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะให้ Constitution แก่สยามประเทศ ครั้นเมื่อพระกัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์ ปรึกษาด้านการต่างประเทศ) เข้ามา ได้ทรงปรึกษาร่างโครงขึ้น (Outline of Preliminary Draft) ก็ไม่ได้รับความเห็นชอบจากอภิรัฐมนตรี ในส่วนพระราชดำริในขั้นต้น อยากจะทำเป็น 2 ทางทั้งล่างทั้งบน ข้างล่างให้มีเทศบาลเพื่อสนองราษฎรให้รู้จักเลือกผู้แทน จึงโปรดให้กรมร่างกฎหมายขึ้น ดังที่หลวงประดิษฐ์ฯ ทราบอยู่แล้ว แต่ก็ช้าไป ในส่วนข้างบนได้ทรงตั้งกรรมการองคมนตรีขึ้นเพื่อฝึกสอนข้าราชการ เพราะเห็นพูดจาไม่ค่อยเป็น จึงตั้งที่ประชุมขึ้นหวังให้มีที่คิดอ่านและพูดจา

.

ครั้นเสด็จไป อเมริกาก็ได้ให้ Interview (สัมภาษณ์) ว่าจะได้ให้ Constitution เมื่อเสด็จกลับมายิ่งรู้สึกแน่ว่าจะกักไว้อีกไม่สมควรเป็นแท้ จึงได้ให้ปรึกษา นายสตีเวนส์ (เรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ) กลับว่ายังไม่ถึงเวลา ฝ่ายพระยาศรีวิสารวาจาที่โปรดให้ปรึกษาด้วยผู้หนึ่งก็ Influence (โน้มน้าว) ไปด้วยกับนายสตีเวนส์ เมื่อพระยาศรีวิสารวาจาและนายสตีเวนส์ขัดข้องเสียดังนี้ก็เลยเหลวอีก

.

ต่อมาได้เตรียมว่าจะไม่ประกาศก่อนงานสมโภชพระนคร 150 ปีแล้ว เพราะจะเป็นที่ขลาด รอว่าพองานแล้วจะประกาศ ได้เสนอในที่ประชุมอภิรัฐมนตรี เนื่องจากนายสตีเวนส์ไม่เห็นด้วย ที่ประชุมก็ขัดข้องว่าเป็นเวลาโภคกิจตกต่ำ ถึงกระนั้นก่อนเสด็จไปหัวหินก็ได้ทรงพระราชดำริที่จะให้มี Prime Minister (อัครมหาเสนาบดี) ให้มีสภา Interpellate (กระทู้ถาม) เสนาบดีได้ ให้ถวายฎีกาขอเปลี่ยนเสนาบดีได้ และให้มีผู้แทนจากหัวเมือง แต่ว่าแต่ละอย่าง ๆ จะเป็นได้ก็ลำบากเหลือเกิน หวังว่าจะเห็นด้วยว่าพระองค์ยากที่จะขัดผู้ใหญ่ที่ทำการมานานตั้ง 20 ปีก่อนพระองค์

.

แปลนที่ 2 คิดจะให้เสนาบดีมุรธาธร Preside เป็นประธานในที่ประชุมเสนาบดี พระองค์จะไม่ประทับในที่ประชุม และขยายจำนวนกรรมการขององคมนตรี ทำหน้าที่อย่างรัฐสภา ได้ทรงเตรียมไว้ 2 แปลนใหญ่นี้ เอาติดพระองค์ไปหัวหินด้วย เพื่อจะทำ Memo บันทึกเสนอเสนาบดีสภา ครั้นได้ข่าวเรื่องนี้ (เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. 2475) ก็ปรากฏช้าไปอีก ที่คณะราษฎรทำไปไม่ทรงโกรธกริ้วและเห็นใจ เพราะไม่รู้เรื่องกัน พอทรงทราบเรื่องก็คาดแล้วว่าคงจะเป็นเรื่องการปกครอง ...

.

เรื่อง “คำประกาศของคณะราษฎร”

.

“...ในวันนั้น ได้ทรงฟังประกาศของคณะราษฎรทางวิทยุ ทรงรู้สึกเสียใจและเจ็บใจมาก ได้กล่าวหาร้ายกาจมากมายอันไม่ใช่ความจริงเลย ในประกาศของคณะราษฎรที่กล่าวหาว่าพระองค์ตั้งแต่งคนสอพลอนั้นไม่จริง ได้ทรงปลดคนที่โกงออกก็มาก แต่ลำพังพระองค์ๆ เดียวจะเที่ยวจับคนโกงให้หมดเมืองอย่างไรได้ แม้คณะนี้ก็คอยดูไป คงจะได้พบคนโกงเหมือนกัน ทรงเชื่อว่าพระราชวงศ์ทุกพระองค์ได้ตั้งพระทัยช่วยราชการโดยจริง ที่ว่าเอาราษฎรเป็นทาษหรือว่าหลอกลวงก็ไม่จริง และเป็นการเสียหายอย่างยิ่ง แต่อาจจะเป็นได้ว่าได้ปฏิบัติการช้าไป ที่ว่าราษฎรช่วยกันกู้ประเทศนั้นก็เป็นความจริง แต่พระราชวงศ์จักรีเป็นผู้นำ และผู้นำนั้นสำคัญ เสียใจที่ได้ทิ้งเสียไม่กล่าวถึงพระคุณควบไปด้วย เป็นการเท่ากับด่าถึงบรรพบุรุษ เพราะฉะนั้นเสียใจมาก

.

เมื่อได้เห็นประกาศ ไม่อยากจะรับเป็นกษัตริย์ แต่โดยความรู้สึกดั่งกล่าวมาข้างต้นว่าเทวดาสั่งเพื่อจะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยราบคาบ จึ่งจะทรงอยู่ไปจนรัฐบาลใหม่เป็นปึกแผ่น เมื่อถึงเวลานั้นแล้วจะทรงลาออกจากกษัตริย์ เมื่อเขียนประกาศทำไมไม่นึก เมื่อจะอาศัยกันทำไมไม่พูดให้ดีกว่านั้น และเมื่อพูดดังนั้นแล้ว ทำไมไม่เปลี่ยนเป็น Republic เสียทีเดียว...

.

การเขียนประกาศกับการที่ทำของคณะราษฎรเปรียบเหมือนเอาผ้ามาจะทำธง แล้วเอามาเหยียบย่ำเสียให้เปรอะเปื้อน แล้วเอามาชักขึ้นเป็นธง จะเป็นเกียรติยศงดงามแก่ชาติหรือ จึ่งทรงรู้สึกว่าจะรับเป็นกษัตริย์ต่อไปไม่ควร อีกประการ ๑ ประกาศนี้คงตกอยู่ในมือราษฎรเป็นอันมาก ทำให้ขาดเสียความนิยม เมื่อไม่นับถือกันแล้วจะให้เป็นกษัตริย์ทำไม เท่ากับจับลิงที่ดุมาใส่กรงไว้ จึ่งมีประราชประสงค์จะออกเสีย เพราะรู้สึกว่าเสีย Credit ทุกชั้น ทำให้คนเกลียดหมด แต่จะทรงยอมอยู่ต่อไปจนเหตุการณ์สงบ...”

.

และมีอีกความตอนหนึ่งว่า

.

“...มีพระราชดำรัสว่า กระดาษที่ประกาศออกไปเกลื่อนเมือง ล้วนเป็นคำเสียหายจะปรากฏในพงศาวดาร เมื่อมีดังนี้แล้วถึงจะแก้ไขใหม่ก็ลำบาก เมื่อสิ้นธุระแล้ว ขอให้ปล่อยพระองค์ออกจากกษัตริย์ดีกว่า เพราะทรงรู้สึกว่า คณะราษฎรเอาพระองค์ใส่ลงในที่ๆ เลวทราม หรือมิฉะนั้น พระองค์ก็ตาขาวเต็มที ซึ่งที่จริงมีถึง 3 ทาง ทั้งสู้ ทั้งหนี คนไม่รู้หาว่าขี้ขลาด…”

.

เรื่อง “ริบทรัพย์” และ “ถอดเจ้า”

.

“...มีความอีกข้อ ๑ ได้ทรงทราบข่าวเรื่องจะยึดเงิน ไม่ทราบว่าจะทำจริงหรือไม่เพียงไร ถ้าจะริบ ทรงขอลาออกเสียก่อน เพราะจะยอมเป็นหัวหน้าบอลเชวิคร่วมมือริบทรัพย์ญาติด้วยไม่ได้ เป็นยอมตาย ที่คณะราษฎรจะคิดหาเงินจากคนมั่งมีด้วย Taxation นั้น ทรงยอมได้ แต่ในประกาศของคณะราษฎรที่พูดออกไปนั้นทำให้ต่างประเทศมีความสงสัย ทรงขอบอกว่าเมืองไทยจะทำอย่างเมืองจีนไม่ได้ และจะเปรียบกับอาฟกานิสตานก็ไม่ได้ เพราะภูมิประเทศผิดกัน เมืองไทยประเทศใกล้เคียงเอาเรือรบมาเมื่อไรก็ได้ จึงขอทรงทราบว่า คณะราษฎรได้คิดอย่างนั้นจริงหรือ

.

พระยาปกรณ์ฯ กราบบังคมทูลว่า คณะราษฎรมิได้คิดอย่างนั้นเลย คิดจะหาเงินโดยทางภาษี กับทาง Internal Loan เท่านั้น

.

มีพระราชดำรัสว่า เมื่อได้รับคำยืนยันว่าไม่ริบทรัพย์ จะจัดทางภาษีและทางกู้เงินในประเทศจะทรงช่วยได้ พระคลังข้างที่มีอยู่ ๖ ล้านจะยอมให้…”

.

“...อีกอย่าง ๑ ขอบอกว่าที่มีเสียงต่างๆ ว่าจะให้ถอดเจ้านั้น ทำไม่ได้เป็นอันขาด เมื่อคณะราษฎรจะทำก็ขอให้พระองค์ออกจากกษัตริย์เสียก่อน ทรงเห็นว่าจะทำอย่างนี้ได้คือในฝรั่งอย่าให้เรียกหม่อมเจ้าว่า His Highness ให้เรียกแต่ว่าหม่อมเจ้าเฉยๆ และที่จะให้เจ้ามีน้อยก็ทรงเห็นด้วย เพราะเดี๋ยวนี้ก็มีมากนัก แต่จะถอดถอนไม่ได้ ต้องปล่อยให้ตายไปเอง แล้วตีวงจำกัดเสียสำหรับภายหน้า

.

พระยามโนปกรณ์ฯ กราบบังคมทูลว่า เรื่องถอดเจ้ายังไม่ได้คิด

.

มีพระราชดำรัสว่า ใน 2 อย่าง เป็นไม่ยอมทำคือ ‘ริบทรัพย์’ กับ ‘ถอดเจ้า’พระองค์ได้มีพระราชประสงค์อยู่ในการที่จะช่วยราษฎรทุกคนได้ถือที่ดินและมีที่นาเป็นของตนเอง…”

.

เรื่อง “สืบสันตติวงศ์”

.

“...อีกอย่างหนึ่ง อยากจะแนะนำเรื่องสืบสัตติวงศ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า และพระพุทธเจ้าหลวงได้เคยทรงพระราชดำริ ที่จะออกจากราชสมบัติ เมื่อทรงพระชราเช่นเดียวกัน ในส่วนพระองค์พระเนตรก็ไม่ปกติ คงทนงานไปได้ไม่นาน เมื่อการณ์ปกติแล้ว จึงอยากจะลาออกเสีย ทรงพระราชดำริเห็นว่า พระโอรสสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์ ก็ถูกข้ามมาแล้ว ผู้ที่จะสืบสัตติวงศ์ต่อไป ควรจะเป็นพระโอรสสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงสงขลานครินทร์ ฯลฯ...”

.

ความบางส่วนจากบันทึกลับที่จดโดยเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) อดีตเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

เรื่องเล่าของรอยใบลาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ค้นเอกสารเก่าครับ เจออะไรส่วนหนึ่งที่เก็บเอาไว้ ยังเหลืออีกมากที่ยังไม่ได้ค้นออกมา ทุกแผ่นจะมีโน๊ตสั้นเป็นเชิงอรรถถึงรายละเอียดของเหตุการณ์นั้นๆ จากการเห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ

 

หลักฐานเอกสารชั้นแรกตัวจริงของวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ผมมีอยู่มากพอสมควร

 

18033862_1527051710671768_6405329353422351154_n.jpg?oh=2b025795d96b695a75edf57ecf9a0d8d&oe=5978D071

===

******ผมขอเตือนบรรดาแฟนนานุแฟนของผมทุกท่านครับ *****

 

เรื่องที่ นายจิตตะเสน ปัญจะ เขียนใส่ร้ายในหลวงรัชกาลที่ 7 ว่าจะทรงจะแก้แค้นสั่งให้จับคณะราษฎรเอาไปตัดหัวทั้งคณะ 60 คนนั้น มีการเอามาลงตีพิมพ์ในหนังสือ ปาจารยสาร ฉบับที่ออกเดือน กค.-ตค. 2542 หรือเล่มที่ตีพิมพ์เมื่อ 18 ปีที่แล้ว ที่เวลานี้มีการเอามาแชร์กันมากมายในช่วงสองวันมานี้นั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง และไม่มีมูลทางประวัติศาสตร์สนับสนุนเลยทั้งสิ้น

แม้แต่ สมเจียม พ่องของพวกคณะร่านฯ ทั้งหลาย ยังเคยออกปากพูดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ผมเองนั้นคิดว่า นายจิตตะเสน ปัญจะ คงจะแก่จนหมดสภาพหรือสติฟั่นเฟือนไปแล้วตอนที่เขียนก็ได้

 

ผมจึงออกมาเตือนแฟนนานุแฟนของผมทั้งหลายก่อนว่า

*** อ่านได้ แต่อย่าแชร์ต่อเลยครับ ***

เพราะจะเข้าทางพวกคณะร่านฯ ทั้งหลายที่อยากจะกวนน้ำให้ขุ่นในเวลานี้ และอีกอย่างหนึ่งคือข้อความในนั้นถ้าแชร์ต่อกันไป คนที่แชร์จะเฉี่ยวฉิวมากที่จะโดนตั้งข้อหา ม.112 ร่วมไปกับพวกนี้ด้วย

ถ้ารักในหลวงรัชกาลที่ 7 และคิดว่าทรงทำดีที่สุดแล้วในเวลานั้น ก็อย่าแชร์อะไรที่เป็นเรื่องที่เวลานี้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องเท็จแบบเต็มร้อย รวมถึงเรื่องที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศของพระองค์เลยครับ

17991887_1521928067850799_6397032716037857130_n.jpg?oh=50ededa38bbe31d8d8fcbf7e4f2effdf&oe=5980DF6A

cr Pat Hemasuk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

17861944_1851170895137062_2926325539999723851_n.png?oh=53ea3265b7d351c83e82a529a8befcca&oe=59759267

https://www.facebook...?type=3

 

"ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีคนเขียน"

.

ความว่า "ด้วยบัดนี้ คณราษฎรได้จับพระบรมวงษานุวงษ์ไว้เปนประกันแล้ว ถ้าผู้ใดขัดขวางคณราษฎร

ผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษ และพระบรมวงษานุวงษ์จะต้องถูกทำร้ายด้วย"

----

 

หากพระมหากษัตริย์ทรง เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบประชาธิปไตย

โดยการวางระบบ ให้ความรู้แก่ประชาชน

 

โดยไม่มีนักเรียนนอกคิดคด หวังอำนาจ ที่ได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ ให้ทุนไปเริยน

เพื่อกลับมาเป็นกำลังพัฒนาบ้างเมือง แต่เนรคุณ

 

ยึดอำนาจโดยหลอกทหารมาสวนสนาม ใช้ชิวิดเด็กและประขาชนข่มขู่พระมหากษัตริย์

ใช้พระมหากษัตริย์ พระบรมวงค์ษานุวงค์ ข่มขู่ประชาชน

ให้ยอมรับ บ้านเมืองของเรา อาจไม่ต้องล้มลุกคลุกคลานกับนักการเมืองฉ้อฉล

จนเกือบสิ้นชาติอย่างทุกวันนี้

ขิง

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

17545559_1291254124304822_3685147225667489081_o.jpg?oh=536718a0aafc45980020ccb4855d8a3c&oe=5982059D

UOK added 3 photos and a video.

9 April at 19:15 · _Y91QzmaslR.png

เด็กแบบนี้สุดยอดเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...