ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม :

โพสต์แนะนำ

ศุนย์ประสานการช่วยเหลือภัยผู้ประสบภัยภิบัติ

 

 

รายละเอียดมีมากมาย เชิญคลิ๊กค่ะ

 

 

http://www.thaiflood.com/

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิธีเตรียมน้ำดื่ม"ปลอดภัย" ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม

 

วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:48:23 น.

 

คอลัมน์ ส่องโรคไขสุขภาพ

 

 

สิ่งที่ต้องเตรียม !54

 

1.ขวด น้ำพลาสติคใส ที่ดื่มน้ำหมดแล้วพร้อมฝาที่ปิดได้แน่นสนิท ขนาดไม่เกินสองลิตร เมื่อวางนอนแล้วความหนาที่แสงอาทิตย์ผ่านไม่เกิน 10 ซม. ขวดยิ่งชลูดยิ่งดี รังสีดวงอาทิตย์จะได้ทะลุทะลวงได้มาก พลาสติคไม่เก่าหรือมีรอยขีดข่วนมากเกินไป เพราะรังสีจะผ่านได้ไม่ดี ภายในขวดสะอาด แกะพลาสติคภายนอกออกหมด

 

2. แหล่งน้ำสะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้ วิธีนี้ใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในภาวะปกติ ครัวเรือนที่ดื่มน้ำฝน ถ้าต้องการประหยัดพลังงานและทุกคนในบ้านแข็งแรงดี อาจจะใช้วิธีนี้แทนการต้มก็ได้

 

3. ถ้าน้ำขุ่นควรมีผ้ากรองตะกอนดิน เช่น ผ้าขาวบาง หรือผ้าขาวม้าสะอาดหลายๆ ชั้น เมื่อกรองได้ที่บรรจุน้ำเต็มขวด เปิดฝาวางทับหนังสือพิมพ์รายวันหน้าแรก ควรจะสามารถมองลงไปก้นขวด อ่านพาดหัวข้อข่าวรองได้ (ตัวอักษรในแนวหลักขนาด 3.5 ซม.)

 

4. บริเวณที่จะวางขวดตากแดดที่ร้อน โดยเฉพาะถ้ามีโลหะเช่นแผ่นสังกะสีลูกฟูก หรือ อะลูมิเนียมจะดีมาก

วิธีการเตรียม

 

1.กรองน้ำที่หาได้ กรอกลงขวดให้ได้ประมาณ 3 ใน 4 ขวด

 

2.เขย่าแรงๆ อย่างน้ำ 20 ครั้ง ให้อากาศ (ออกซิเจน) ผสมกับน้ำให้ทั่ว

 

3.เติมน้ำให้เต็มขวด ปิดฝาแน่นสนิท

 

4.วางขวดในแนวนอน ตากแดดตามข้อ 4 ข้างบนทิ้งไว้ อย่าพยายามขยับขวดโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ออกซิเจนไม่แยกตัวจากน้ำ ตากแดดโดยใช้เวลา

 

- 2 ชั่วโมงถ้าแดดจัด พื้นที่วางเป็นโลหะและน้ำค่อนข้างใส

 

- 6 ชั่วโมงบนพื้นกระเบื้องหรือซีเมนต์

 

- 2 วันถ้ามีเมฆมาก

 

ถ้าฝนตกตลอดแดดไม่ออกเลย ให้รองน้ำฝนดื่มแทน

 

น้ำ ในขวดดังกล่าวนำไปดื่มได้เลย หรือจะเก็บไว้ดื่มในภายหลังก็ได้ แสงแดด ความร้อน และออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากันฆ่าเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ 99.9% แต่อาจจะมีสาหร่ายเซลเดียวซึ่งทนรังสียูวีและความร้อนซึ่งอาจจะจับตัวเป็น ตะไคร่น้ำในขวดได้ถ้าเก็บขวดไว้นาน แต่น้ำที่มีสาหร่ายเหล่าไม่มีอันตรายต่อผู้ดื่มทั่วไปที่มีภูมิคุ้มกันปกติ

 

หมายเหตุ !uu

 

1.เทคโนโลยี ง่ายๆ ที่วิจัยและพัฒนาโดยองค์การนานาชาติ www.sodis.ch นี้ ฆ่าเชื้อโรคโดยพลังแสงแดด ซึ่งมี รังสียูวี + รังสีความร้อน + อนุมูลออกซิเจนและโอโซน ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจนที่เราผสมน้ำระหว่างเขย่าขวด เหมือนน้ำบรรจุขวดขายซึ่งผ่านรังยูวี หรือ โอโซน ในระดับที่เข้มข้น

 

2.ขวด น้ำใส PET หรือ Poly Ethylene Terephthalate (โพลีเอทธิลีนเทเรฟทาเลต) ที่ตากแดดในระดับนี้ ปลดปล่อยสารเคมีน้อยมาก ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่เหมือนวัสดุประเภท PVC ทุกวันนี้เราก็ดื่มน้ำบรรจุขวด PET กันอยู่แล้ว

 

เรียบ เรียงสำหรับชาวบ้านโดย ศ.นพ.ดร.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หัวหน้าหน่วยระบาดวิทยา และผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

------------------------------------------------

 

 

 

มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความคิดเห็นที่ 7

 

ปี 38 ที่น้ำท่วมหนัก พ่อผมให้ก่ออิฐบลอค แล้วพาดไม้ขับขึ้นไปจอดครับ

 

จากคุณ : oakemon

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าน้ำท่วมไม่มาก

ผ้าคลุมรถกันน้ำท่วม ไอเดียดีๆ ป้องกันรถของคุณจากน้ำท่วมง่ายๆ

cover-change.jpg

 

http://www.rackmanag...idea/#more-1705

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าน้ำท่วมไม่มาก

ผ้าคลุมรถกันน้ำท่วม ไอเดียดีๆ ป้องกันรถของคุณจากน้ำท่วมง่ายๆ

cover-change.jpg

 

http://www.rackmanag...idea/#more-1705

 

:excl: !thk

 

บอกวิธีหน่อยซิคะ ทำอย่างไรจะห่มมันได้อ่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โคราชระทึก! น้ำ “เขื่อนใหญ่” เกินความจุหมดแล้ว เตือนระวังท่วมใหญ่

 

 

 

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - โคราชลุ้นระทึก ปริมาณน้ำเขื่อนขนาดใหญ่ 4 โครงการเต็มเกินความจุหมดแล้ว ทั้งเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว-ลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย-ลำแชะ-ลำมูลบน อ.ครบุรี ส่วนเขื่อนขนาดกลางอีก 18 แห่ง น้ำเกินความจุมากกว่าครึ่ง เตือนประชาชนลุ่มน้ำ ท้ายเขื่อนเฝ้าระวังน้ำท่วมใหญ่

 

วันนี้ (11 ต.ค.) โครงการชลประทานนครราชสีมา รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 โครงการ และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่งว่า ล่าสุดวันนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนขนาดใหญ่ 4 โครงการของ จ.นครราชสีมา ได้เกินความจุทั้งหมดแล้ว โดยมีปริมาณน้ำรวม 1,011.11 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 101.53% ของขนาดความจุที่ระดับเก็บกักรวม 995.92 ล้าน ลบ.ม.

 

โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนลำตะคอง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว ที่ไหลผ่านพื้นที่เศรษฐกิจย่านชุมชนหลายอำเภอ รวมทั้งตัวเมืองโคราชนั้น มีปริมาณน้ำ 324.97 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103.33% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 314.49 ล้าน ลบ.ม.

 

ขณะที่ เขื่อนลำพระเพลิง ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย ที่ไหลผ่าน อ.ปักธงชัย-อ.โชคชัย ก่อนลงแม่น้ำมูล เป็นสาเหตุเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ปีที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำ 111.46 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 101.67% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 109.63 ล้าน ลบ.ม.

 

ส่วนเขื่อนลำมูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี ต้นแม่น้ำมูล มีปริมาณน้ำ 153.56 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 108.91% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 141 ล้าน ลบ.ม.

 

และเขื่อนลำแชะ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี ที่ไหลลงสมทบแม่น้ำมูล มีปริมาณน้ำ 278.16 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 101.15% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 275 ล้าน ลบ.ม.

 

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่งของ จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำรวม 158.66 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 93.92% ของขนาดความจุรวม 168.94 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งในจำนวนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 18 แห่งนี้มีปริมาณน้ำเกินความจุไปแล้วกว่า 10 แห่ง

 

ทางด้านศูนย์เตือนภัยจังหวัดนครราชสีมา ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มลำน้ำและบริเวณท้ายเขื่อน ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมพร้อมเก็บทรัพย์สินสิ่งของมีค่าไว้บนที่สูง ประกอบด้วย พื้นที่ริมลำเชียงไกร อ.ด่านขุนทด อ.โนนไทย เตือนระดับ 2 ให้เฝ้าระวังน้ำท่วม, พื้นที่ริมลำมูล อ.โนนสูง อ.เฉลิมพระเกียรติ เตือนระดับ 2 ให้เฝ้าระวัง และบริเวณสองฝั่งตลิ่งริมมูลทั้งหมด ตั้งแต่ อ.โชคชัย อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.พิมาย อ.ชุมพวง จนถึง อ.เมืองยาง เตือนระดับ 3 ให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศโดยรวมในพื้นที่ของ จ.นครราชสีมา วันนี้ (11 ต.ค.) ท้องฟ้าค่อนข้างโปร่งใส ไม่มีเมฆปกคลุมและมีฝนตก ซึ่งแตกต่างจากเมื่อวาน (10 ต.ค.) ที่ผ่านมาที่มีฝนตกเกือบตลอดทั้งวัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตรวจแถวช่องทาง ตามภัยน้ำท่วม ออนไลน์

 

 

http://www.manager.co.th/CBizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9540000128891

 

 

ที่เว็บมันเป็นลิงค์นะค่ะ ก็อปมาได้ใจความเท่านั้น

 

 

554000013661002.JPEG

 

ท่ามกลางความหวั่นใจของคนไทยทั่วประเทศถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าสามารถติดตามข่าวสารและการเตือนภัยทันเหตุการณ์ได้จากโลกออนไลน์เกิน 10 ช่องทาง ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถต่ออินเทอร์เน็ตจะสามารถรับข่าว “น้ำมา” ทั้งจากสื่อมวลชน หน่วยงานรัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาชนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

 

1. สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร - ระบบข้อมูลของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานครจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเบื้องต้นและชัดเจน ปัจจุบันให้บริการแล้วมากกว่า 4 ระบบซึ่งมีการการันตีว่าได้ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสถานการณ์ตลอดเวลา

 

- ระบบโทรมาตร ประกอบด้วยแผนภาพแสดงระดับน้ำ ณ สถานีตรวจวัด กทม. สามารถตรวจแนวโน้มระดับน้ำ รวมถึงกราฟแสดงปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่

 

- ระบบตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก สามารถดูกราฟระดับน้ำในแต่ละพื้นที่ ดูความเคลื่อนไหวของระดับน้ำในตลิ่งซ้ายและขวาของแต่ละสถานี

 

- ระบบตรวจวัดน้ำท่วมบนถนน ประกอบด้วยข้อมูลกราฟระดับน้ำท่วม รายการน้ำท่วมปัจจุบัน และรายงานสรุปทุกสถานี รวมถึงรายงานจุดพื้นที่น้ำท่วมย้อนหลัง

 

- ข้อมูลภาพเรดาร์ตรวจฝนผ่านระบบ Internet Server เป็นเรดาร์ตรวจฝนที่แสดงผลการตรวจแบบกึ่งเวลาจริงจากสถานีเรดาร์โดยตรง ควรต้องรอตรวจสอบความถูกต้องก่อนเพราะเรดาร์สามารถตรวจจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ฝนบนอากาศได้ด้วย เช่น อาคาร เครื่องบิน เป็นต้น

 

2. กรมชลประทาน - หน่วยงานดูแลน้ำของประเทศไทย

 

- ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ให้ข้อมูลแผนผังสภาพน้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกและตะวันตก รวมถึงข้อมูลระดับน้ำขึ้นน้ำลง

 

- รายงานสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา รายงานข้อมูลระดับน้ำในแต่ละสถานี

 

3. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) - องค์การมหาชนที่รวบรวมข้อมูลจากดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายแง่มุม เช่นเดียวกับมุมวิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้น

 

- ระบบติดตามภัยน้ำท่วมประเทศไทย ประกอบด้วยแผนที่ตำบลที่น้ำท่วมอยู่ในปัจจุบัน และตำบลที่คาดว่าน้ำจะท่วมในช่วงเวลา 4 วัน สามารถตรวจสถานการณ์น้ำท่วมรายจังหวัด พื้นที่วิกฤต และการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมในอนาคต

 

- ระบบติดตามพายุด้วยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ระบบนี้จะทำให้คุณได้ข้อมูลก่อนชมข่าวพยากรณ์อากาศ

 

4. กรมทางหลวงชนบท - ผู้สัญจรถนนควรตรวจข้อมูลจากกรมทางหลวงชนบท เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ประสบภัยน้ำท่วม

 

- ระบบบริหารจัดการงานอุทกภัย แผนที่แสดงเส้นทางหลวงที่ประสบภัยน้ำท่วม สามารถดูได้ทั่วประเทศไทย

 

5. กรมทรัพยากรน้ำ - หน่วยงานที่ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์และกำหนดพื้นที่เลี้ยงภัยเกี่ยวกับน้ำ รวมถึงการเสนอแผนแม่บท มาตรการ รวมทั้งประสานการนำแผนไปสู่การปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขวิกฤติน้ำ

 

- สรุปสถานการณ์น้ำ รายงานการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำ 24 ชั่วโมงของกรมทรัพยากรน้ำ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแหล่งข้อมูลน้ำและการประบายน้ำ ยังมีเฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่สามารถใช้เป็นทั้งช่องทางรายงานภัย ให้กำลังใจ รวมถึงการรวบรวมความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และข้อมูลจากทวิตเตอร์ (Twitter) บริการรับส่งข้อความสั้นทันเหตุการณ์ซึ่งเป็นหนึ่งในช่องทางการรับข่าวน้ำท่วมที่ทันใจที่สุด สามารถติดตามได้จาก tags คือ #ThaiFlood และ #BKKFlood และอื่นๆซึ่งมีการเผยแพร่ข่าวสารโดยประชาชนออนไลน์อย่างว่องไว

 

ทั้งหมดนี้สามารถติดตามเพิ่มเติมได้จากลิงก์ข่าว Update ช่องทางส่งข่าว ชาวมหา’ลัยใจงามช่วยน้ำท่วม

 

หรือต้องการแอปพลิเคชันสำหรับแอนดรอยด์ เปิดแอปฯ แอนดรอยด์เช็ค “น้ำท่วม” ตลอด 24 ชั่วโมง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:excl: 5fc0f220.gif

 

บอกวิธีหน่อยซิคะ ทำอย่างไรจะห่มมันได้อ่ะ

 

 

วิธีมันก็อยู่ในลิ้งค์นั่นแหละครับ huh.gif

เอ๊ะ หรือว่ามดแดงจะดันกระทู้หว่า 07baa27a.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เร่งขนหนังสือนับแสนเล่มหนีน้ำ!

 

 

 

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129624

 

 

เตือน 4 เขตฝั่งตะวันออกรับเหตุ กทม.ประสาน ขสมก.อพยพกรณีฉุกเฉิน

 

 

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129470

 

 

อุตุฯชี้อยุธยามีฝนหนักบางแห่ง-กทม.และปริมณฑลฝนฟ้าคะนอง

 

 

 

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129861

 

 

 

สำนักระบายน้ำ กทม.เปิดเว็บเช็กสดๆ ระดับน้ำในคลอง-ถนนทั่วกรุง

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129227

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อีกครั้ง

:o

 

ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การขับรถผ่านถนนที่มีน้ำท่วมขังก็ควรจะเลิอกขับเลนขวาด้านกลางสุดของถนน เพราะจะเป็นพื้นที่สูงที่สุด เมื่อต้องขับรถลุยน้ำที่ท่วมขังมากๆ ควรปิดเครื่องปรับอากาศภายในรถ เพราะการเปิดเครื่องปรับอากาศจะทำให้ใบพัดของพัดลมเครื่องปรับอากาศซึ่งอยู่ในระดับต่ำพัดตีให้น้ำกระจายเข้าไปในส่วนต่างๆของห้องเครื่องยนต์ อาจจะพัดตีเอาเศษขยะ ถุงพลาสติก เศษไม้ไปติดในส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์ดับได้ และการปิดเครื่องปรับอากาศ ก็จะช่วยให้ไม่ไปรบกวนกำลังของเครื่องยนต์ด้วย เมื่อปิดเครื่องปรับอากาศแล้วการขับรถลุยน้ำนั้นไม่ควรเร่งเครื่องกระชาก กระตุกเป็นช่วงๆ

 

ควรขับโดยใช้เกียร์ต่ำถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาควรใช้เกียร์ 1 เกียร์ 2 ในขณะที่รถยนต์เกียร์อัตโนมัติควรใช้เกียร์ที่ต่ำลงมากว่าเกียร์ D และควรเลี้ยงรอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ ใช้ความเร็วต่ำ แล่นไปข้างหน้าเรื่อย ๆ โดยเว้นระยะให้ห่างจากคันหน้าพอประมาณ เพราะการขับรถลุยน้ำนั้นระบบเบรกจะทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีน้ำเข้าไปในจานเบรก ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องเบรกกะทันหัน เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการเบรกลื่น เบรกไม่อยู่ การเบรกควรจะต้องย้ำเบรกหลายๆครั้งเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรกจนกว่าเบรกจะทำงานเป็นปรกติ หรืออาจจะใช้วิธีแตะเบรกเบาๆ เป็นระยะๆ ก็ได้ ระหว่างการขับเคลื่อนไปก็ได้

 

การขับรถผ่านไปในพื้นที่น้ำท่วมนั้นไม่ควรใช้ความเร็ว เพราะนอกจากจะควบคุมรถลำบากแล้วจะทำให้คลื่นน้ำกระเพื่อมแรงเข้าไปในตัวเครื่องยนต์ของเรา กระเพื่อมไปรบกวนผู้อื่นที่ใช้ถนนร่วมกัน หรือเกิดคลื่นแรงไปสร้างความเดือดร้อนให้กับอาคารบ้านเรือนของผู้อยู่อาศัยริมถนนสายนั้น

 

และเมื่อขับถึงบ้านหรือจุดหมายปลายทางแล้ว ก่อนจอดควรย้ำเบรกหลายๆครั้งเพื่อช่วยไล่น้ำออกจากระบบเบรก เมื่อจอดรถแล้วอย่าเพิ่งดับเครื่องยนต์ในทันที ควรติดเครื่องทิ้งไว้สักครู่เพื่อช่วยไล่น้ำออกจากท่อไอเสีย

 

และเมื่อจอดรถไว้ในที่ปลอดภัยภายในบ้านแล้ว ควรเปิดประตู เปิดกระจก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นอับ หรืออาจใช้พัดลมเป่าเพื่อช่วยไล่ความอับชื้นก็ได้ และเมื่อจะสตาร์รถใช้งานอีกครั้งในวันรุ่งขึ้นก็ควรจะเปิดฝากระโปรงสำรวจในห้องเครื่อง หรือบริเวณพัดลมระบายอากาศ พัดลมเครื่องปรับอากาศ เช็คดูให้ทั่วว่ามีเศษขยะ เศษไม้ที่อาจจะสร้างความเสียหายอยู่หรือไม่ และควรตรวจเช็คสภาพความเรียบร้อยให้รอบคัน

 

เพราะการขับรถลุยน้ำนานๆนั้นแผ่นป้ายทะเบียนมักจะต้านน้ำไม่ไหวหลุดหายกันบ่อยๆ ซึ่งผมเองก็มีประสบการณ์เคยขับรถลุยน้ำจนกลับถึงบ้าน มาตรวจดูอีกทีป้ายทะเบียนด้านหน้าก็หลุดหายไปเสียแล้ว ยุ่งยากต้องไปทำเรื่องยื่นขอป้ายทะเบียนแผ่นใหม่จากกรมการขนส่งทางบกเสียเวลาเสียอารมณ์ไปอีก อย่างไรก็ขอภาวนาให้ทุกท่านไม่ต้องขับรถลุยน้ำกันน่าจะดีกว่า และขอส่งกำลังใจไปถึงท่านที่ประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัยขอให้สามารถจะฝ่าฟันผ่านพ้นวิกฤติครั้งใหญ่นี้ไปให้ได้โดยเร็วด้วยเทอญ

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“วิกฤติน้ำท่วม” ครั้งนี้ได้แง่คิดและบทเรียนอยู่มากมายหลายประการ แต่จะขอหยิบยกบางประเด็นให้ท่านผู้อ่านได้ลองคิดพิจารณาดู

 

ภาพที่น่าสะเทือนใจที่เห็นบ่อยครั้งก็คือ “ความไม่รู้” ตัวอย่างที่เห็นบ่อยเช่นการเตรียมตัวรับกับสถานการณ์น้ำท่วม หลายคนอุตส่าห์ขนกระสอบทรายมากั้นไว้ที่หน้าบ้านตัวเอง แต่ด้วยความไม่รู้ในวิธีการเรียงกระสอบทรายก็ได้ทำให้ถูกน้ำดันจนพังทลาย

 

และชาวบ้านส่วนใหญ่อุตส่าห์วางเรียงกระสอบทรายได้สำเร็จกันน้ำจากภายนอกได้ แต่ลืมไปว่าน้ำจากภายนอกไหลย้อนเข้ามาผ่านท่อน้ำทิ้งจนเข้ามาในตัวบ้านอาคาร หรือโรงพยาบาล ซึ่งเป็นลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก

 

ความไม่รู้ทำให้เสียเงินเปล่าที่หาซื้อกระสอบทราย และเสียแรงเปล่าที่ขนกระสอบทรายมาวาง

 

 

ความจริงแล้วหากต้องการป้องกันน้ำไม่ให้เข้าไปในอาคารบ้านเรือนของตัวเอง โดยยังใช้น้ำประปาและห้องน้ำอยู่ได้ (หากระดับน้ำไม่สูงเกินไป) มีข้อแนะนำ “สำหรับคนที่ยังไม่รู้”ดังต่อไปนี้

 

1. กระสอบทรายควรวางเป็นขั้นบันไดเรียงลำดับลงไปทั้งด้านนอกและด้านในเท่ากับความสูงของน้ำที่คาดการณ์เอาไว้ โดยฐานทำนบควรกว้างไม่น้อยกว่า 3 เท่าของความสูง อุดใต้กระสอบทรายด้วยดินหรือทราย วางแต่ละชั้นให้ชั้นบนทับบนรอยต่อระหว่างถุงด้านล่าง ชั้นรองสุดท้ายควรวางทับบนแผ่นพลาสติกแล้วพลิกมาหุ้มปิดทับกระสอบทายอีกชั้นหนึ่งให้สูงเกือบถึงสันทำนบเพื่อกันน้ำซึม (อย่าขึงตึงจะทำให้ขาดง่าย) ดังนั้นหากมีแผ่นพลาสติกกันน้ำคลุมแน่นหนาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้กระสอบทรายเสมอไป สามารถใช้วัสดุประยุกต์ ที่มีน้ำหนักแทนได้เช่น กระสอบกรวดอัดแน่น ฯลฯ

 

554000013707601.JPEG

 

 

 

554000013707602.JPEG

 

 

ภาพ: แสดงตัวอย่างการเรียงกระสอบทรายปิดทับด้วนแผ่นพลาสติกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

2. หากมีเวลาเตรียมตัวและต้องการใช้น้ำประปาและส้วมในบ้านในขณะน้ำท่วมให้ใช้วิธีเปิดฝาบ่อพักน้ำ(ส่วนใหญ่อยู่หน้าบ้านหรือหลังบ้านและอาจมีมากกว่าหนึ่งจุด) จากนั้นให้“ปิดท่อน้ำส่วนที่จะทิ้งจากบ่อพักไปด้านนอกบ้าน” เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำภายนอกไหลเข้า ซึ่งสามารถทำด้วยการปิดทับด้วยแผ่นพลาสติกหรือนำถุงพลาสติกห่อดินเหนียวอุดท่อขาออกไว้แล้วนำกระสอบทรายหรือถุงใส่ดินเหนียววางทับดันเอาไว้ หรือหากมีเวลาใช้ท่อพีวีซีต่อท่อในส่วนนี้ตั้งเป็นแนวดิ่ง 1.5 - 2 เมตร ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของน้ำท่วม ระดับน้ำภายนอกจะสูงเท่าระดับน้ำในท่อพีวีซี แต่จะไม่กลับมาท่วมในบ้าน

 

ส่วนท่อน้ำในบ้านที่ไหลมายังท่อน้ำทิ้งให้ใช้เครื่องสูบน้ำสูบจากบ่อพักออกไปข้างนอกรั้วกระสอบทราย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าเครื่องสูบน้ำส่วนใหญ่สายปลั๊กไฟจะสั้นและมักจะใช้ปลั๊กต่อ จะต้องมีการคลุมหุ้มพลาสติกกันน้ำและกันไฟช็อตด้วย แต่ต้องไม่ลืมว่าหากไฟดับเครื่องสูบน้ำประเภทนี้จะใช้งานไม่ได้ เว้นแต่ว่าจะใช้เครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันจึงจะใช้งานได้ตลอดเวลา

 

ส่วนข้อเสนอให้อุดท่อต่างๆภายในบ้าน เช่น อ่างล้างหน้า โถส้วม ก็สามารถทำได้เหมือนกัน แต่ต้องทำหลายจุด และทำให้คนที่อยู่ในสภาวะน้ำท่วมใช้น้ำและห้องส้วมไม่ได้ จะทำให้ลำบากมากยิ่งขึ้น

 

3. หากมีน้ำซึมตามพื้นบ้าน ให้สำรวจตาน้ำที่มองเห็นได้แล้ว ยอมเสียสละทำการทุบและเจาะพื้นบริเวณนั้นทำเป็นหลุมลึกลงไป น้ำจะไหลจากหลายจุดมารวมจุดเดียวแล้วจึงใช้เครื่องสูบน้ำสูบออก อย่างไรก็ตามในภาวะความเสี่ยงน้ำท่วมชั้นหนึ่ง ควรตัดไฟชั้นหนึ่งให้หมดเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อตด้วย

 

กระสอบทราย + เครื่องสูบน้ำ + กันน้ำเข้าจากท่อน้ำทิ้งภายนอก ต้องทำให้ครบสูตรจึงจะสามารถกันน้ำและใช้น้ำภายในบ้านได้ (หากระดับน้ำไม่สูงเกินไป)

 

ดังนั้นขอย้ำว่าการซื้อกระสอบทรายมาวางเรียงอย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น !!!

 

ที่จริงตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นคนที่รู้และเตรียมตัวอยู่แล้วก็คงมองเรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานธรรมดา แต่ยังมีประชาชนอีกมากที่ยังไม่รู้โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยเผชิญหน้ากับปัญหาน้ำท่วม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเตรียมตัวในเรื่องนี้สื่อทีวีให้ความรู้ในเรื่องนี้น้อยเกินไป

 

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129345

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักระบายน้ำ กทม.เปิดเว็บเช็กสดๆ ระดับน้ำในคลอง-ถนนทั่วกรุง

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 ตุลาคม 2554 22:16 น. Share1460

 

 

 

 

 

 

สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับบริษัท AMR Asia เปิดเว็บไซต์ให้ประชาชนทั่วไปตรวจสอบระดับน้ำในคลอง และระดับน้ำบนถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร แบบสดๆ ทันสถานการณ์ โดย “ระดับน้ำในคลอง” ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ http://dds.bangkok.go.th/Canal 'ระดับน้ำบนถนน' ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ http://dds.bangkok.go.th/Floodmon

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าน้ำท่วมไม่มาก

ผ้าคลุมรถกันน้ำท่วม ไอเดียดีๆ ป้องกันรถของคุณจากน้ำท่วมง่ายๆ

cover-change.jpg

 

http://www.rackmanag...idea/#more-1705

 

 

มีอีกค่ะคุณ หมอเล็ก

 

จับรถใส่ถุง! ไอเดียสุดเจิด เด็กวังสะพุง

 

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130535

 

 

ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมของเมืองไทยยังคงวิกฤตต่อเนื่อง ภาพความเสียหายมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ยิ่งบ้านไหนมีรถยนต์แล้วขนย้ายไม่ทัน ก็จำต้องทิ้งรถไว้ให้จมน้ำตามยถากรรม แต่ตอนนี้มีทางแก้ไขใหม่สำหรับคนที่มีรถยนต์กับ "ถุงซิป กันน้ำท่วมรถ" ใครที่ยังพอมีเวลา น้ำยังมาไม่ถึงหน้าบ้าน ก็ลองนำวิธีนี้ไปใช้เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำที่อาจจะมาถึงกรุงเทพฯ อีกไม่นานนี้

 

ในหลายพื้นที่ต้องประสบกับน้ำท่วมสูงจนมิดหลังคารถยนต์ ทำให้เครื่องยนต์และห้องโดยสารรถยนต์พังเสียหาย ทำให้เจ้าของรถต้องจ่ายเงินค่าซ่อมไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท ดังนั้น ถุงซิป กันน้ำท่วมรถ จึงเป็นทางเลือกที่ดีในเวลานี้ ซึ่งผลงานนี้เป็นของกลุ่มนักศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง จังหวัดเลย พวกเขาได้ทำถุงพลาสติกนี้ขึ้นมา โดยให้ชื่อว่า "ถุงไอเดีย คอปเวอร์ คาร์" (IDEA cover car) สามารถใช้คลุมรถที่จมอยู่ใต้น้ำได้ปลอดภัย 100%

 

นายสันติประชา ดอนชุม อาจารย์ประจำแผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตร่วมกับนักศึกษา กล่าวว่า ถุงไอเดีย คอปเวอร์ คาร์ ทำจากวัสดุโพลิเมอร์เอสทีลิน ซึ่งเป็นพลาสติกหนาสามารถกันน้ำได้ มีการออกแบบและตัดเย็บได้ตามขนาดของรถแต่ละชนิด มีซิบกันน้ำสำหรับเปิดเป็นช่องเพื่อขับรถเข้าไปเก็บในถุง รถยนต์จะวิ่งเข้าไปจอดอยู่ด้านในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ที่มีความหนาและทนทาน ก่อนที่จะรูดซิปยาวครอบทั้งคันรถ เหมือนกับการสวมถุงพลาสติกสิ่งของ

 

"สำหรับต้นทุนในการผลิตถุงไอเดียฯ ขนาดใส่รถยนต์กระบะ 1 คัน อยู่ที่ประมาณ 1,500 บาท จากการทดลองได้นำรถยนต์เข้าไปไว้ในถุงแล้วปิดให้สนิท จากนั้นนำลงไปแช่ในน้ำทั้งคันเป็นเวลานาน 1-2 วัน ปรากฏว่าไม่มีน้ำซึมเข้าไปภายในถุงได้ ทำให้รถปลอดภัยจากน้ำท่วม ทางทีมของเราและทาง สอศ.ได้มีการจดสิทธิบัตร "ถุงไอเดีย คอปเวอร์ คาร์" ไว้แล้ว พร้อมทั้งเตรียมที่จะพัฒนารูปลักษณ์ และการหาวัสดุคุณภาพดีมาใช้ผลิตถุงไอเดียฯ ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วย"

อาจารย์แผนกอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวย้ำว่า มั่นใจว่าผลงานชิ้นนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้ที่มีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ในช่วงเวลาคับขันที่เกิดปัญหาน้ำท่วมได้มาก เพราะถุงพลาสติกสามารถป้องกันน้ำเข้ารถ ไม่ให้รถยนต์เสียหายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะผลิตมาจากพลาสติกอย่างหนาและยังสามารถพับเก็บไว้ใช้งานได้ในคราวต่อไปได้อีกด้วย

 

554000013830301.JPEG

 

 

554000013830302.JPEG

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รวมรายชื่อจุดจอดรถหนีน้ำท่วม 109 แห่งทั่วกทม.

 

 

กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ประกาศสถานที่จอดรถฟรี 109 แห่ง โดยกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (บก.น.1-9) เตรียมไว้บริการประชาชนในเขตนครบาล ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับได้ทั้งหมด 69,959 คัน ประกอบด้วย

 

1.อาคารจอดรถ กทม. ถนนไกรสีห์ จำนวน 400 คัน

2.อาคารสนามม้านางเลิ้ง จำนวน 100 คัน

3.โรงแรมปรินซ์พาเลส จำนวน 50 คัน

4.อาคารจอดรถ สวนสัตว์ดุสิต จำนวน 400 คัน

5.ศูนย์การค้า SUPREME จำนวน 150 คัน

6.บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำนวน 100 คัน

7.ศูนย์การค้าเอสพลานาด จำนวน 500 คัน

8.ศูนย์การค้าฟอร์จูน จำนวน 400 คัน

9.อาคารไซเบอร์เวิลด์ จำนวน 300 คัน

10.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (ศูนย์วัฒนธรรม) จำนวน 80 คัน

11.ห้างแพลตตินัม จำนวน 150 คัน

12.ห้างพันธุ์ทิพย์ จำนวน 100 คัน

13.ห้างพาราเดียม จำนวน 100 คัน

14.โรงแรมอมารีวอเตอร์เกท จำนวน 100 คัน

15.ตึกชาญอิสระ 2 จำนวน 50 คัน

16.อาคารอิตัลไทย จำนวน 50 คัน

รวมพื้นที่ บก.น. 1 ทั้งหมด 3,050 คัน

 

17.บิ๊กซี แจ้งวัฒนะ จำนวน 69 คัน

18.ห้างไอที หลักสี่ จำนวน 1,000 คัน

19.ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคารบี จำนวน 300 คัน

20.สนามบินดอนเมือง จำนวน 3,000 คัน (เต็ม)

21.ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว จำนวน 3,000 คัน (เต็ม)

22.ห้างเมเจอร์รัชโยธิน จำนวน 1,200 คัน (เต็ม)

23.ลานจอด รฟม. (รัชดา-ลาดพร้าว) จำนวน 2,000 คัน

24.ลานจอดรถบีทีเอส หมอชิตเก่า จำนวน 2,000 คัน

25.ลานจอดรถจตุจักร จำนวน 1,000 คัน

26.ลานจอดรถสวนรถไฟ จำนวน 200 คัน

27.ตึก ปตท.(สำนักงานใหญ่) จำนวน 500 คัน

28.ธนาคารออมสิน (สำนักงานใหญ่) จำนวน 500 คัน

29.ห้างเซ็นทรัล รามอินทรา จำนวน 300 คัน (เต็ม)

30.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 500 คัน

31.มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 50 คัน

32.ห้าง MAX VALUE จำนวน 50 คัน

33.ตลาดบองมาเช่ จำนวน 100 คัน

34.ห้างบิ๊กซี วงศ์สว่าง จำนวน 50 คัน

35.โรงเรียนฤทธิยะ สายไหม จำนวน 200 คัน

36.โรงเรียนสายไหม จำนวน 50 คัน

37.โรงเรียนนายเรืออากาศ จำนวน 200 คัน

38.ลานจอดรถบุญถาวร จำนวน 150 คัน

39.ลานจอดรถโลตัส นวมินทร์ จำนวน 80 คัน

40.ถนนคู้บอน (เลียบวงแหวน-แยกคลองสอง) จำนวน 200 คัน

41.ถนนพระยาสุเรนทร์ (แยกคลองสอง-แยกลำกะโหลก) จำนวน 200 คัน

42.ถนนเลียบคลองสอง ตลอดแนว จำนวน 150 คัน

43.ห้าง THE MARKET (ถ.ประชาราษฎร์ สาย 2) จำนวน 20 คัน

รวมพื้นที่ บก.น. 2 จำนวน 17,069 คัน

 

44.มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำนวน 1,500 คัน

45.มหาวิทยาลัยมหานคร จำนวน 2,000 คัน

46.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จำนวน 2,000 คัน

47.สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 2,000 คัน

48.ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ จำนวน 3,000 คัน

49.ห้างพันธุ์ทิพย์ บางกะปิ จำนวน 300 คัน

50.โรงแรมเดอะมอลล์อินน์ จำนวน 50 คัน

51.ห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ จำนวน 1,500 คัน (เต็ม)

52.ห้างเพรียวเพลส จำนวน 300 คัน

53.ห้างอมอรินี่ จำนวน 300 คัน

54.ห้างบิ๊กซีลาดพร้าว จำนวน 2,000 คัน (เต็ม)

55.ห้างซีคอนสแควร์ จำนวน 1,000 คัน (เต็ม)

56.ห้างพาราไดซ์พาร์ค จำนวน 600 คัน (เต็ม)

57.ริมถนนสาย 351 จำนวน 50 คัน

58.ศูนย์อัญมนีเจโมโปลิส จำนวน 200 คัน

59.มหาวิทยาลัยรามคำแหง(บางนา) จำนวน 100 คัน

60.ลานจอดรถ บริษัทนัมเบอร์วัน จำนวน 100 คัน

61.การกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 1,500 คัน

62.ใต้ทางด่วน ระหว่างด่วนศรีรัช-มอเตอร์เวย์ จำนวน 300 คัน

63.ลานจอดรถร้าน 13 เหรียญ พระรามเก้า จำนวน 300 คัน

รวมพื้นที่จอดรถ บก.น.4 จำนวน 11,600 คัน

 

64.ห้างฟิวเจอร์ จำนวน 500 คัน (เต็ม)

65.ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 3 จำนวน 900 คัน (เต็ม)

66.ห้างบิ๊กซี เอกมัย จำนวน 1,000 คัน

67.ห้างจัสโก้ สุขุมวิท 71 จำนวน 800 คัน

68.ห้างบิ๊กซี ราชดำริ จำนวน 250 คัน

69.ห้างเซ็นทรัล ชิดลม จำนวน 250 คัน (เต็ม)

70.ห้างเซ็นทรัล บางนา จำนวน 780 คัน (เต็ม)

71.เอสบีเฟอร์นิเจอร์ บางนา จำนวน 600 คัน

72. ห้างบิ๊กซี พระราม 4 จำนวน 200 คัน

73.ห้างโลตัส พระราม 4 จำนวน 200 คัน

รวมพื้นที่จอดรถ บก.น.5 จำนวน 5,480 คัน

 

74.ลานจอดรถ ดิโอลด์สยาม จำนวน 250 คัน

75.อาคารศรีวรจักร์ จำนวน 100 คัน

76.อาคารคลองถมเซ็นเตอร์ จำนวน 100 คัน

77.อาคารจอดรถ ริเวอร์ซิตี้ จำนวน 200 คัน

78.อาคารจอดรถ เท็กซัส จำนวน 100 คัน

79.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ จำนวน 3,000 คัน

80.ห้างมาบุญครอง จำนวน 1,000 คัน

81.ห้างสยามพารากอน จำนวน 3,000 คัน

82.สนามกีฬาแห่งชาติ จำนวน 300 คัน

83.อาคารจอดรถ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1,000 คัน

84.อาคารจอดรถ ตึกเจมส์ทาวเวอร์ จำนวน 100 คัน

85.โรงแรมมณเฑียร จำนวน 50 คัน

86.อาคารจอดรถ โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จำนวน 50 คัน

87.อาคารจอดรถ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน จำนวน 50 คัน

รวมที่จอดรถพื้นที่ บก.น. 6 จำนวน 9,300 คัน

 

88.ห้างเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า จำนวน 2,000 คัน (เต็ม)

89.ห้างเมเจอร์ ปิ่นเกล้า จำนวน 800 คัน (เต็ม)

90.ห้างพาต้า ปิ่นเกล้า จำนวน 100 คัน

91.ห้างโลตัส ปิ่นเกล้า จำนวน 500 คัน

92.ถนนพุทธมณฑลสาย 1 จำนวน 300 คัน

93.สนามหลวงธนบุรี จำนวน 500 คัน

94.อาคารจอดรถ รพ.ยันฮี จำนวน 200 คัน

95.ห้างตั้งฮั่วเส็ง จำนวน 300 คัน

รวมพื้นที่จอดรถ บก.น.7 จำนวน 4,700 คัน

 

96.โรงเรียนอิสลามวิทยาลัย จำนวน 300 คัน

97.ห้างบิ๊กซี บางปะกอก จำนวน 100 คัน

98.ห้างโลตัส บางปะกอก จำนวน 100 คัน

99.ห้างเดอะมอลล์ ท่าพระ จำนวน 100 คัน

100.ห้างบิ๊กซี ท่าพระ จำนวน 100 คัน

101.โรงเรียนวัฒนาบริหารธุรกิจ จำนวน 80 คัน

102.สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ จำนวน 100 คัน

103.ห้างบิ๊กซี จำนวน 100 คัน

104.คู่ขนานถนนราชพฤกษ์ใต้สะพานบางสะแก จำนวน 300 คัน

105.โรงแรมมาริออท จำนวน 100 คัน

รวมพื้นที่จอดรถบก.น. 8 จำนวน 1,380 คัน

 

106.มหาวิทยาลัยธนบุรี จำนวน 200 คัน

107.มหาวิทยาลัยเอเซีย จำนวน 500 คัน

108.มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 200 คัน

109.ถนนกาญจนาภิเษก ช่องคู่ขนานเข้า-ออก จำนวน 10,000 คัน

รวมพื้นที่จอดรถบก.น.9 จำนวน 10,900 คัน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บก.น.1 โทร 02-345-6160

บก.น.2 โทร 02-566-4253

บก.น.3 โทร 02-171-4204

บก.น.4 โทร 02-517-2729

บก.น.5 โทร 02-255-1888

บก.น.6 โทร 02-223-0175

บก.น.7 โทร 02-449-0395

บก.น.8 โทร 02-477-1080

บก.น.9 โทร 02-451-7231

ศูนย์ควบคุมสั่งการจราจร บช.น. (บก.02) โทร 1197

 

ตรวจสอบจุดจอดรถฉุกเฉินได้ที่ www.trafficpolice.go.th หรือโทร. 1197 ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลจราจรผ่านทางเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของบก.จร.ได้ทางสถานีวิทยุสวพ.91 สน.จราจร 99.5 และ จส.100

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...