ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

prasri2552

ขาอ่อน
  • จำนวนเนื้อหา

    11
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

คะแนนนิยม

0 ปานกลาง

เกี่ยวกับ prasri2552

  • คะแนนนิยม
    น้องใหม่

Profile Information

  • เพศ
    ไม่บอก
  • ที่อยู่
    กรุงเทพมหานคร
  1. “กองธรรมพระศรีอารย์ กองธรรมนำสุข พ้นทุกข์นิพพานัง” ประชาสัมพันธ์ งานไถ่ชีวิต วัว – ควาย ประจำปี ๒๕๕๖ ปีที่ ๒๒ ณ วัดฉลองราษฎร์ศรัทธาธรรม หมู่ ๘ ต.สบปาด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ กองธรรมพระศรีอารย์ฯ ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมในการช่วยชีวิตวัว-ควายที่จะถูกฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์ เพื่อมอบให้เกษตรกร ช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไปตรวจเยี่ยม วัว-ควาย ที่ อ.ศรีสงคราม บ้านแพง จ.นครพนม จำนวน ๕ หมู่บ้าน ได้ทำการออกตรวจเยี่ยมครบทุกหลังคาเรือน และได้พาสัตวแพทย์อาสาไปทำการตรวจรักษา ดูแลโรคภัยไข้เจ็บให้วัว-ควายทุกตัว เป็นเงินค่ายาไป ๗,๗๐๐ บาท หลังจากกลับมามีอาการถ่ายและอาเจียนเป็นเลือด ต้องเข้าโรงพยาบาล เนื่องจากเป็นตับแข็ง นอกจากนี้ยังตรวจพบก้อนเนื้อที่งอกจากตับอีก ๒ ก้อน ซึ่งขนาดใหญ่เกินกว่าจะผ่าตัดออก หมอบอกว่าเป็นมะเร็งตับซึ่งหมดทางรักษา นอกจากว่าจะยื้อเวลาออกไป ดังนั้นการทำครั้งใหม่นี้ ถือเป็นการเอาชีวิตตนเองเข้าแลก ซึ่งไม่รู้ว่าจะอยู่ดูแลพวกเขาได้นานแค่ไหน? แต่ก็พยายามตะเกียกตะกายทำไป ดีกว่ายืนรอความตาย ในเมื่อชีวิตเรายังมีประโยชน์ต่อชีวิตผู้อื่น ดังนั้น ปีนี้ผมก็จะตั้งใจทำให้ดีเป็นพิเศษ สำหรับปีนี้ผมได้ไปสำรวจพื้นที่ และประชุมร่วมกับเจ้าอาวาสและผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว ซึ่งเขายอมรับข้อตกลงตามสัญญาของเราได้ ก็จะลองทำดูเป็นครั้งแรก เพราะสัญญานั้นเขียนไว้รัดกุม ทั้งผู้รับรองและผู้รับไปเลี้ยงต้องมีความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง? สำหรับหมู่บ้านที่จะได้รับคือ หมู่ ๘ ตำบลสบปาด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ผมจะรวบรวมเงินบริจาคจนถึงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๖ และจะรวบรวมเงินไปซื้อภายในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ อันที่จริงการทำแบบนี้ก็หามานานแล้วที่มีองค์กรในพื้นที่รับรอง และเราเข้าไปตรวจเช็คเมื่อถึงเวลามันเหนื่อยน้อยกว่าที่จะลงเล่นเองตั้งแต่ต้นจนจบ แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก ในสัญญาใหม่วัดเป็นสถานที่รับมอบ ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าอาวาสเป็นสักขีพยานในการมอบ พร้อมทั้งร่วมเซ็นในสัญญารับมอบ ผู้รับมอบต้องมีคอก มีคนดูแล หากพบว่าสูญหายตาย หรือแลกเปลี่ยนโดยพลการจะต้องถูกปรับตัวละ ๒๐,๐๐๐ – ๒๕,๐๐๐ บาท หมูบ้านนี้มี ๕๗๐ หลังคาเรือน แต่ที่มีความพร้อมได้รับการคัดเลือกมา ๒๙ คน ซึ่งจะต้องใช้เวลาหลังวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ สำรวจวัว-ควายตามโรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัด จัดซื้อและฝังไมโครชิพให้เรียบร้อยก่อนมอบ สัญญาได้ทำไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการไปครั้งนี้ หมู่บ้านขอทุนการศึกษา ๒๐ ทุน อุปกรณ์กีฬากลางแจ้ง ๕,๐๐๐ บาท ถ้วยจานชาม ๑๒,๐๐๐ บาท ใช้ร่วมกันระหว่างวัดและหมู่บ้าน พัดลมเพดานที่ประชุม หมู่บ้านละ ๓ อัน สำหรับหลักเกณฑ์คร่าวๆ ที่กองธรรมพระศรีอารย์ฯ ได้ปฏิบัติมาตลอดของการไถ่ชีวิต คือ 1. มอบวัวควายให้เฉพาะชาวบ้านที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้ใหญ่บ้าน ครู ชุมชน ในเรื่องความพร้อม และ ความซื่อสัตย์ 2. ฝังไมโครชิฟ ซึ่งมีตัวเลขประมาณ ๑๐ หลักที่ใต้ผิวหนัง ลำคอด้านซ้ายวัวควายทุกตัว ทำประวัติวัวควายแต่ละตัว ใครเป็นผู้รับ เมื่อไร พร้อมกำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาว่า ผู้รับต้องเลี้ยงดูตัวที่ได้รับมอบไปพร้อมลูกตัวแรก จนตลอดชีวิต ห้ามฆ่า ห้ามขาย ส่วนตัวที่ ๒ เป็นต้นไป เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เลี้ยง หากมีการตายต้องแจ้งให้สัตวแพทย์ไปชันสูตรถ่ายรูปเป็นหลักฐาน 3. ผมในนามของกองธรรมพระศรีอารย์ฯ หรือตัวแทนผู้บริจาคจะมีการตรวจเยี่ยมทุก ๓-๔ เดือน เพื่อตรวจสอบและดูสภาพความเป็นอยู่ ส่วนในด้านของโรงเรียนต่างๆจะประสานกับสำนักงานเขตศึกษา ๒ อ.ศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ออกตรวจเยี่ยมด้วยกัน ส่วนด้านหมู่บ้าน ผมตรวจเยี่ยมร่วมกับผู้ใหญ่บ้านและสัตวแพทย์อาสา ในท้ายสุด ขอตั้งจิตอธิษฐานว่า “บุญใด กุศลใด อันเกิดจากการไถ่ชีวิตสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ขอทุกท่านที่มีส่วนร่วม มากก็ดี น้อยก็ดี โดยทางหนึ่งทางใดก็ดี เป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทพยดาก็ดี หรือแม้เพียงมีจิตอนุโมทนาก็ดี บุญกุศลนั้นจงสนองท่านโดยพลัน และเป็นเหตุปัจจัยให้ท่านทั้งหลายได้ข้ามพ้นกองทุกข์ในปัจจุบันกาลโดยเร็ว หากความเกิดยังมีอยู่เพียงใด ขอให้เกิดทันศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย์ด้วยเทอญ” ท่านใดต้องการปกป้องชีวิตจากการฆ่าปลดปล่อยพวกเขาสู่อิสรภาพให้มีชีวิตใหม่ที่มีความสุขและได้รับการดูแลตลอดไป ร่วมบริจาคได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ โอนเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอโศก ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 032-2-58355-6 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย์ โทร 0-2261-1313, 08-0613-3397 หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสุขุมวิท 23 ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 204-1-19819-5 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย์ โทร 0-2261-1313, 08-0613-3397 หรือ สั่งจ่ายธนาณัติ นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล 18/6 ซอยสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 (ปณ. ประสานมิตรเท่านั้น) หลังจากการไถ่ชีวิตโค-กระบือ จะมีการรายงานผลถึงจำนวนวัว-ควาย ยอดเงินบริจาค ปัญหา อุปสรรค และรายละเอียดค่าใช้จ่ายอีกครั้งเช่นที่ทำมาทุกปี “กองธรรมพระศรีอารย์ ปรารถนาให้โลกนี้มีความสุข”
  2. “กองธรรมพระศรีอาริย์ กองธรรมนำสุข พ้นทุกข์นิพพานัง” รายงานผลการทอดกฐิน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 ณ สำนักสงฆ์ พะนอคี อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เรียน ผู้ร่วมบริจาคทอดกฐิน เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2555 ณ สำนักสงฆ์พะนอคี หมู่ 6 ต.แม่จัน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงเพราะมีบางท่านสงสัยโทรศัพท์มาถามว่า บริเวณที่ทอดกฐิน คือหน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย หมู่บ้านพะนอคี หมู่ที่ 10 อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก แต่สำนักสงฆ์อยู่เขตจังหวัดเชียงใหม่ คือสำนักสงฆ์ที่เราทอดกฐินเพื่อสร้างถนนคอนกรีตขึ้นไปจากพื้นราบอยู่บนเขา เป็นเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนพื้นราบที่เราทำพิธีถวายกฐินเป็นเขตจังหวัดตาก สรุปว่าเป็นเขตติดต่อกัน 2 อำเภอ คือ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อยู่บนภูเขา ด้านล่างเป็นอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ระยะทางยังเหลือ 16 กิโลเมตร ซึ่งได้เคยเรียนให้ท่านทั้งหลายทราบไปตั้งแต่ต้นแล้ว ในวันเดินทางผมนำสมุดบัญชีไปปรับยอดเงินที่ท่านทั้งหลายได้ร่วมบริจาคมาเป็นเงิน 185,715 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยสิบห้าบาทถ้วน) นั่นคือเป็นยอดกฐินของคณะเรา จำนวนไม่มาก แต่มีคุณค่าสูง เพราะเป็นศรัทธาที่บริสุทธิ์ทุกบาททุกสตางค์ เนื่องจากผมไม่ได้แจกซองกฐินให้ใคร ใช้วิธีประกาศไปแล้วอธิษฐานเสี่ยงทาย ใครเขาอ่านแล้วเกิดศรัทธาก็จะส่งเงินมาร่วมเอง ในการทอดกฐินครั้งนี้ ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าประชาสัมพันธ์ ค่ารายงานผล ค่าไปรษณีย์ ค่าพิมพ์ ถ่ายเอกสาร ค่าเดินทาง ทุกอย่างไม่ได้หักจากยอดกฐิน ผมเป็นผู้รับภาระทั้งหมด จะมีก็เพียงรายการเดียวที่ใช้เงินส่วนรวม คือ ผ้าไตร 1 ชุด ราคา 2,700 บาท เพื่อให้ทุกคนได้รับอานิสงค์ร่วมกัน ในองค์กฐินของเรา ประกอบด้วยเงิน 185,715 บาท ผ้าไตร 1 ชุด และพระพุทธรูป 6 นิ้วเป็นองค์จำลองพระพุทธรูปทองคำ คือ พระพิชิตมาร 1 องค์ ในวันดังกล่าว คือ 11 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งเป็นวันทอดกฐินได้มีคณะศิษย์ครูบาเจ้าชัยยะวงษาพัฒนามาร่วมด้วยอีก 5 คณะ และตุ๊เจ้าเต๋ หรือ พระอ่อนแก้ว ชัยยะเสโน ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้าง ได้นิมนต์วัดใกล้เคียงมาร่วมรับกฐินด้วยอีก 5 วัด สรุปได้ว่าในวันนั้นวันเดียวพวกเราได้อานิสงค์กฐินทีเดียว 6 วัด แต่เงินส่วนใหญ่ก็คงเป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิม เนื่องจากอีก 5 วัดเป็นวัดเล็กๆ ไม่มีใครรู้จัก หากไม่นิมนต์มาร่วม คงตกกฐินแน่นอน อันนี้ก็แจ้งให้ท่านทราบ เพื่อได้อนุโมทนาร่วมกัน ส่วนภารกิจในการสร้างถนนคอนกรีต เพื่อให้ประชาชนที่มีจิตศรัทธาได้มีโอกาศขึ้นไปกราบพระเจดีย์โลกะวิทู และรอยพระพุทธบาทนั้น ก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป น่าจะอีกหลายปี จึงถือโอกาศแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า เลขบัญชี 196-206900-7 ธนาคารไทยพาณิย์ ชื่อ บัญชีนายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อพระเจดีย์โลกะวิทูนั้น เป็นบัญชีที่ใช้รวบรวมเงินเพื่อภาระกิจสร้างถนนคอนกรีตอย่างเดียว ท่านใดต้องการร่วมทำบุญเพิ่มสามารถโอนเข้ามาได้ตลอดเวลา ส่วนเมื่อถึงเวลาเทศกาล เราก็คงจัดเป็นกฐินอีกครั้ง มีเรื่องอีกหนึ่งเรื่อง อยากชี้แจงให้กับท่านที่อาจจะยังไม่เข้าใจกับคำว่า สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมายความว่าอย่างไร? ส่วนใหญ่แล้วคำว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง สถานที่ๆมีรอยพระพุทธบาท หรือเจดีย์เก่าที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ หรือเป็นสถานที่ๆพระพุทธองค์ หรือพระสาวกบางรูปได้เคยเสด็จมา ซึ่งก็ต้องพิจารณาด้วยว่า ทำไม?ท่านจึงต้องเสด็จมาที่ดังกล่าว เช่น สำนักสงฆ์โลกะวิทูก็มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธองค์ปรากฏบนก้อนหิน มีพระเจดีย์เก่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถามว่าทำไมท่านต้องมาสร้างพระเจดีย์ไว้ที่นี้ นี่คือ คำถาม? บางที่ที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ก็เคยเป็นสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนาในอดีตมาก่อน เช่น วัดป่าเจดีย์เหลี่ยม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผมเคยไปบูรณะพระธาตุเจดีย์เหลี่ยมไว้ เมื่อปี 44-45 ก็เคยเป็นพุทธสำนักของพระพุทธเจ้าในอดีตคือ สมเด็จพระพุทธวิปัสสี ซึ่งเป็นพุทธวงศ์ที่ 19 ใน 28 พระองค์ ตรงบริเวณเจดีย์อดีต คือที่ประชุมเพลิงของพระพุทธองค์ในอดีต เมื่อประชุมเพลิงเสร็จแล้วพระอรหันตสาวกในยุคนั้นได้ร่วมกันสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมครอบบริเวณนี้ไว้ ความรู้นี้บางส่วนได้มาจากครูบาวงศ์ ด้วยการสอบถามท่านเมื่อสมัยท่านยังไม่ละสังขาร บางส่วนเกิดขึ้นจากการทำงานในระหว่างบูรณเจดีย์ ก็มีเทพยดามานิมิตรบอกเป็นเรื่องราว จึงถือโอกาศเล่าให้ท่านทั้งหลายฟังไว้เพื่อพิจารณาต่อไป จนกว่าจะพบกันอีก นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล 080-613-3397 ท่านใดมีศรัทธาร่วมสร้างถนนคอนกรีต สามารถโอนเข้าบัญชี ได้ตลอดเวลาดังนี้:- โอนเข้าบัญชี - นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อพระเจดีย์โลกะวิฑู ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 (สุขุมวิท) ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 196-206900-7 หรือ ส่ง ธนานัติ นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล (สั่งจ่าย ปณ. ประสานมิตร) 18/6 กองธรรมพระศรีอารย์สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร 0-2261-1313, 08-0613-3397 “กองธรรมพระศรีอาริย์ ปรารถนาให้โลกนี้มีความสุข”
  3. “กองธรรมพระศรีอารย์ กองธรรมนำสุข พ้นทุกข์นิพพานัง” องค์กรเอกชนเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาและสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์และสัตว์โลกที่ประสบเคราะห์กรรม ทอดกฐิน สำนักสงฆ์พะนอคี หมู่บ้านโฆ๊ะพะโด๊ะ หมู่ที่ ๖ ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ วันอาทิตย์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ ครูบาเจ้าศรีวิชัย หมู่บ้านพะนอคี หมู่ที่ ๑๐ ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ขอเชิญพุทธศานิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทอดกฐิน สำนักสงฆ์พะนอคี อันเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ โลกะวิฑู หมู่บ้านโฆ๊ะพะโด๊ะ หมู่ที่ ๖ ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ วันอาทิตย์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น. ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ ครูบาเจ้าศรีวิชัย หมู่บ้านพะนอคี หมู่ที่ ๑๐ ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ความเป็นมาของพระเจดีย์โลกะวิฑูนั้น ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา แห่งวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า ครูบาวงค์ ซึ่งได้ล่วงลับไปแล้ว ได้เล่าให้พระอ่อนแก้ว ชัยยะเสโน (ท่านเต๋) ฟังว่า เจดีย์โลกะวิฑูสร้างเมื่อสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ซึ่งได้สนับสนุนให้พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ยังดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งพวกเราคงเคยได้ยินชื่อพระอริยเจ้า ๒ รูปที่คุ้นหู คือ พระโสณเถระ และ พระอุตรเถระ เป็นผู้ที่ได้เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย อันเป็นใจกลางดินแดนสุวรรณภูมิ ครูบาวงค์ ท่านได้เดินธุดงค์มากับครูบาชัยลังกา ตั้งแต่สมัยท่านยังเป็นเณร และได้มาพบทรากพระเจดีย์องค์นี้ เป็นเหมือนจอมปลวก มีอิฐที่บริเวณฐาน แต่ไม่มีรูบร่างเป็นพระเจดีย์แล้ว เวลาผ่านไปนานมากจนกระทั่งท่านได้มาสร้างวัดพระพุทธบาทห้วยต้มจนแล้วเสร็จ ก่อนท่านละสังขารได้สั่งให้ พระอ่อนแก้ว ชัยยะเสโน (ท่านเต๋) ซึ่งเป็นพระอุปฐากเมื่อสมัยท่านมีชีวิตอยู่ ให้ดำเนินการสืบทอดปณิธานของท่านที่จะบูรณะพระเจดีย์อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ท่านเต๋และพระครูพินิจสารธรรม (ครูบาพรรณ) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้มองคฺปัจจุบัน ได้ร่วมกันบูรณปฎิสังขรณ์พระเจดีย์โลกะวิฑู ซึ่งเมื่อเสร็จแล้วมีความสูง ๑๙ เมตร หลังจากนั้นครูบาวงค์ได้แนะนำให้สร้างพระเจดีย์องค์เล็กอีก ๘ องค์ สูง ๕ เมตรล้อมรอบ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูป อันหมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ปัจจุบันมี โบสถ์ วิหาร กุฏิสงฆ์ และนอกจากนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทประทับอยู่บนก้อนหิน ใกล้กับองค์พระเจดีย์ ซึ่งมีมาแต่โบราณ รอยพระพุทธบาทมีความยาวประมาณ ๑ เมตร ประทับอยู่บนก้อนหิน สูงจากพื้นดินประมาณ ๒ เมตร การบูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งหมดใช้เวลาประมาณ ๖ ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๗ – พ.ศ. ๒๕๕๒ สิ้นเงินไปประมาณ ๑๓–๑๔ ล้านบาท เกลือประมาณ ๒ คันรถสิบล้อ ผ้าห่มนับเป็นหมื่นผืน และเสื้อผ้าอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากศรัทธาที่มาร่วมสร้าง เป็นชาวกะเหรี่ยงจะได้รับค่าแรงเป็นผ้าห่มหนึ่งผืนต่อการทำงาน ๒ วัน และได้รับเกลือ ๑ กระสอบ เป็นค่าแรง ๔ วัน ในเลานั้นการก่อสร้างเป็นไปด้วยความทุกข์ยากลำบากมาก เพราะเป็นทางลูกรัง การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างบนภูเขาต้องใช้ทุนทรัพย์มากกว่าการก่อสร้างบนพื้นราบหลายเท่าตัว และสิ่งที่สำคัญผู้ก่อสร้างต้องมีศรัทธาอันมั่นคง เต็มเปี่ยม มิฉะนั้นก็คงจะถอดใจเลิกกลางคัน ให้ท่านทั้งหลายนึกถึงการแบกของหรือเอารถบรรทุกขนอุปกรณ์ก่อสร้างวิ่งบนทางลูกรัง ขึ้นเขาในหน้าฝน ซึ่งลื่นและอันตรายมาก ศรัทธาคณะนี้ได้ฟันฝ่ามาถึงวันนี้จนสำเร็จ ปัจจุบันคงขาดแต่ถนนคอนกรีต จากพื้นราบบริเวณอนุสาวรีย์ครูบ้าเจ้าศรีวิชัย หมู่บ้านพะนอคี ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ขึ้นไปถึงสำนักสงฆ์ พะนอคี ซึ่งอยู่หมู่บ้านโฆ๊ะพะโด๊ะ หมู่ที่ ๖ ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เป็นระยะทาง ๑๙ กิโลเมตร (เป็นเขตติดต่อระหว่าง จ.ตากกับ จ.เชียงใหม่) ปัจจัยที่พวกเราจะได้ร่วมทอดกฐินนี้ จะเป็นทุนทรัพย์ในการสร้างถนนคอนกรีต ซึ่งปัจจุบันมีกองทัพภาคที่ ๓ อบต.ในพื้นที่ และศรัทธาที่เป็นชาวกะเหรี่ยง และชาวเมืองได้ร่วมบริจาคสร้างเสร็จไปแล้ว ๖ กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายในการทำพื้นถนนกิโลเมตรละล้านกว่าบาท ซึ่งจะสูงขึ้นเมื่อความสูงเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ดังนั้นในเวลานี้ คงเหลือระยะทางอีก ๑๓ กิโลเมตร ที่รอการก่อสร้าง เมื่อเล่ามาถึงจุดนี้ ท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจว่า เพราะเหตุใดจึงต้องถวายองค์กฐินที่หน้าอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย เมื่อใดก็ตามที่การก่อสร้างถนนเสร็จ เราจึงจะได้ถวายองค์กฐินกันในพระอุโบสถ มีเรื่องเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจดีย์ และรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ว่า ระหว่างช่วงเวลาของการเริ่มต้นบูรณะช่วงปี ๒๕๔๗ – ปี ๒๕๔๘ การก่อสร้างพระเจดีย์ทั้ง ๙ องค์ ในส่วนโครงสร้างเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้ตกแต่งรายละเอียด เวลาประมาณ ๑๐ โมงเช้าของเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวของปี ๒๕๔๘ ศรัทธาที่ร่วมก่อสร้างประมาณ ๔๐ คนและท่านเต๋ ได้เห็นพญานาคพันรอบองค์พระเจดีย์โลกะวิฑูเป็นทักษินาวัตร พันรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ มีความยาวประมาณ ๑๐ เมตร ลำตัวใหญ่เท่าลำต้นของต้นมะพร้าว สีเขียวมรกต แบบเดียวกับที่เราเห็นเขาปั้นไว้ตามราวบันไดพระธาตุต่างๆอย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า สักครู่จนกระทั่งคลายตัวออกแล้วพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าหายไปในก้อนเมฆต่อหน้าทุกคน วันนั้นเป็นวันที่อากาศเงียบสงบท้องฟ้าแจ่มใส ปรากฎการณ์นี้ย่อมเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ ซึ่งผมทราบดีว่า ถ้าไม่ใช่ด้วยเหตุผลนี้ ครูบาวงค์ท่านย่อมไม่ลงมือทำ เพราะหากจะบูรณะกันทุกวัดก็คงไม่มีประโยชน์ ผมเองก็เช่นเดียวกัน หากไม่ใช่สถานที่ศักดิ์สิทธ์ หรือมีเหตุอันควร ก็จะไม่ทำเรื่องการก่อสร้าง เพราะทำกันอยูมากแล้วตามที่เห็นทั่วไป ด้วยเหตุที่มีความเข้าใจในเจตนารมณ์ และองค์ท่านครูบาเจ้า ชัยยะวงศาพัฒนา และต้องการจะทดแทนคุณท่านที่ได้เมตตาให้ความสว่างเป็นดวงประทีปมาตลอดที่ผมได้รับภาระสร้างพระพุทธรูปทองคำที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย การกระทำของข้าพเจ้าในครั้งนี้มีความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง มุ่งประโยชน์ต่อพระศาสนาและมหาชน เพื่อทดแทนคุณของพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก จึงขอตั้งจิตอธิษฐาน ขอเทพยดาทั้งหลายโปรดช่วยดลจิตใจ บุตร บริวารของ ครูบาเจ้าชัยวงศาพัฒนาก็ดี ผู้คนทั้งหลายที่ตั้งจิตปรารถนา ที่จะเกิดในยุคพระศรีอริยเมตไตรย์ก็ดี ผู้ที่ได้เคยร่วมสร้างบารมีมากับข้าพระพุทธเจ้าก็ดี ให้มาร่วมกัน ผลักดันการสร้างขึ้นเขา เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทและองค์พระเจดีย์โลกะวิฑูให้สำเร็จโดยเร็วพลันด้วยเทอญฯ บุญใดกุศลใดที่ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งสมอบรมมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับแต่ก่อนปรารถนาพระโพธิญาณ และนับแต่ปรารถนาพระโพธิญาณก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมถวายต่อองค์สมเด็จพระศาสดา พระอริยะเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้าทุกพระองค์ และขอให้ท่านทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และเทวดาที่ได้มีส่วนร่วมในกองบุญนี้แม้เพียงมีจิตอนุโมทนา จงได้อนุโมทนา และมีส่วนในบุญกุศลของข้าพระพุทธเจ้าในครั้งนี้ เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าจะได้รับทุกประการ ท่านใดปรารถนาจะร่วมเป็นเจ้าภาพในกฐินกองนี้ เริ่มบริจาคได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ โดย โอนเข้าบัญชี - นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อพระเจดีย์โลกะวิฑู ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 (สุขุมวิท) ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 196-206900-7 หรือ ส่ง ธนานัติ นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล (สั่งจ่าย ปณ. ประสานมิตร) 18/6 กองธรรมพระศรีอารย์ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร 0-2261-1313, 08-0613-3397 หากมีข้อสงสัยประการใด ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พระอ่อนแก้ว ชัยยะเสโน (ท่านเต๋) 089-998-5962 “กองธรรมพระศรีอารย์ ปรารถนาให้โลกนี้มีความสุข”
  4. รายงานรายรับ และค่าใช้จ่าย งานไถ่ชีวิตโค-กระบือ ปี ๒๕๕๕ รวมยอดบริจาค = 910,090 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น = 860,090 บาท เงินคงเหลือ = 50,000 บาท 1. ซื้อวัวควายเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เป็นเงิน 624,000 บาท ได้จำนวนวัวควาย 32 ชีวิต ไม่นับรวมในท้องที่ติดมากับท้อง 2. ค่าที่พัก 6 คืน 2,400 บาท (ไปซื้อ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๓ คืน) 3. ค่าน้ำมัน ๒ รอบ 5,440 + 6,600 = 12,040 บาท 4. ค่าพิมพ์+ค่าส่ง+ค่าแสตมป์ ประชาสัมพันธ์ + รายงานผล = 26,000 บาท 5. โอนให้ อ.สมานชัย ค่าสังกะสี ๕๖ แผ่น + ค่าขนควายจากอำเภอนาหว้าไปอำเภอนาทม (ให้ชาวบ้านพันหว้าดอนคู่ที่ดูแลวัวควาย ๑๐ ตัวแทนโรงเรียน ไม่มีเงินทำคอกวัวควาย) จำนวนเงิน 6,600 บาท 6. โอนให้ อ.สุวรรณ กล้าขยัน เป็นค่าฝากเลี้ยงอาหารวัวควาย 2,000 บาท 7. ค่ารั้วลวดหนาม + เสา โรงเรียนบ้านขว้างศรีชูชาติ 22,250 บาท (โรงเรียนนี้ดูแลวัวควายอยู่ ๑๔ ตัว มีปัญหาควายไปกินข้าวในนาชาวบ้าน ทางโรงเรียนไม่มีงบประมาณทำรั้ว) 8. ค่าสุขภัณฑ์มอบสำนักงานเขตการศึกษาเขต ๒ อำเภอศรีสงคาม 2,500 บาท 9. มอบหนังสือสำหรับเด็กของสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค ๑ ชุด มูลค่า 12,000 บาท จำนวน ๑๐๕ เล่ม พัดลมเพดาน ๑ อัน 450 บาท แจกทุนอาหารกลางวัน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 14,450 บาท 10. มอบทุนการศึกษาให้โรงเรียนหนองชนพิทยาคม อำเภอนาทม ทุนละ 1,000 บาท จำนวน ๒๕ ทุน = 25,000 บาท และ พัดลมเพดาน ๑ อัน 450 บาท รวมเป็นเงิน 25,450 บาท 11. มอบทุนการศึกษาให้โรงเรียนนาหว้าพิทยาสรรค์ อำเภอนาหว้า ทุนละ 1,000 บาท จำนวน ๒๕ ทุน = 25,000 บาท พัดลมเพดาน ๑ อัน 450 บาท รวมเป็นเงิน 25,450 บาท 12. มอบทุนการศึกษาระดับประถมให้เด็กนักเรียน หมู่ ๒ บ้านปากห้วยม่วง อำเภอบ้านแพง จำนวน ๓๕ ทุน ทุนละ 500 บาท เป็นเงิน 17,500 บาท 13. ให้กลุ่มแม่บ้าน หมู ๒ บ้านปากห้วยม่วงกู้ทำโรงเห็ด หนึ่งโรง เป็นเงิน 53,000 บาท โดยกำหนดชำระ หนึ่งปี ไม่มีดอกเบี้ย 14. มอบพัดลมเพดานให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง ๑ อัน มูลค่า 450 บาท นายบุญเสริม สะอาดเป็นผู้รับมอบ 090-192-8747 15. จ่ายค่ายาบำรุง, ยาถ่ายพยาธิให้สัตวแพทย์อาสา นายทองไทย ทำกองแพง 085-747-3626 เปณเวิน 3,500 บาท หมายเหตุ: การมอบทุนการศึกษาและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทำการมอบที่สำนักงานเขตการศึกษาเขต ๒ อำเภอศรีสงคราม โดยมีนายบัลลังก์ มรรควินทร รองผู้อำนวยการ สพป. นครพนม เขต ๒ เป็นตัวแทนรับมอบแทนโรงเรียนต่างๆ 086-238-0003 รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 860,090 (แปดแสนหกหมื่นเก้าสิบบาทถ้วน) คงเหลือเงินบริจาคในบัญชี 50,000 บาท ซึ่งจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในในการตรวจเยี่ยมระหว่างปีและให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากรณีเกิดปัญหา ความตั้งใจที่ดีที่ประกอบด้วยความเมตตาเป็นสำคัญของท่านทั้งหลาย ที่ได้ร่วมบริจาคเงินมากน้อยตามกำลังศรัทธา ได้ทำให้ควาย ๒๗ ตัว พร้อมลูกในท้อง ๓ ตัว วัว ๕ ตัว รอดชีวิตจากการถูกเชือดคอ ได้ช่วยเพื่อนมนุษย์ผู้ด้อยโอกาสได้มีอาชีพ มีรายได้ มีชีวิตที่ดีขึ้น ได้ทำให้นักเรียน ๘๗ คนได้รับทุนการศึกษา และได้มอบสิ่งอำนวยความสะดวก คือ สุขภัณฑ์ จำนวน ๑๐ หน่วย พัดลมเพดาน ๔ ตัว อานิสงค์แห่งความดีของท่านจะติดตัวท่านทั้งหลายไปเป็นทิพยสมบัติที่ไม่มีผู้ใดทำลายได้ ของใครของมัน ท่านใดต้องการปกป้องชีวิตจากการฆ่าปลดปล่อยพวกเขาสู่อิสรภาพให้มีชีวิตใหม่ที่มีความสุข และได้รับการดูแลตลอดไป ร่วมบริจาคได้โดย โอนเข้าบัญชี - ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอโศก ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 032-2-58355-6 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย - ธนาคารกรุงศรอยุธยา สาขาสุขุมวิท 23 ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 204-1-19819-5 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย นายพงษ์ชัยทัศน์ (ธวัชชัย) วณิชย์กุล 18/6 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร. 02-258-4235 มือถือ 08-1614-9382 ด้วยคุณความดีของท่านทั้งหลายที่ได้เสียสละ ขอกุศลนั้นจงสนองท่านโดยพลัน ให้ท่านทั้งหลายพ้นจากการถูกฆ่า ถูกประหาร และพันธนาการ ได้รับความสุขตามอัตภาพ และเกิดดวงปัญญาญาณ มองเห็นความจริงของชีวิตตามที่เป็นจริง เข้าถึงความเป็นอริยบุคคลในปัจจุบันกาล หากความเกิดยังมีอยู่เพียงใดให้เกิดทันศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ด้วยเทอญฯ จนกว่าจะพบกันอีก กองธรรมพระศรีอารย์
  5. “กองธรรมพระศรีอารย์ กองธรรมนำสุข พ้นทุกข์นิพพานัง” องค์กรเอกชนเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาและสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์และสัตว์โลกที่ประสบเคราะห์กรรม รายงานผล การไถ่ชีวิตโค-กระบือ ประจำปี ๒๕๕๕ (ปีที่ ๒๑) เรียนท่านผู้ร่วมบริจาคทุกท่าน ก่อนอื่นผมต้องขออภัยที่รายงานผลปีนี้ล่าช้าไปมาก เหตุเป็นเพราะว่าเกิดอุทุกภัยครั้งใหญ่ ประชาชนค่อนประเทศได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส ผมเกิดลังเลใจว่าปีนี้จะหยุดสักหนึ่งปีดีไหม? แต่ระหว่างที่รีรออยู่นั้นน้ำเริ่มลดลง บรรดาผู้ที่เคยร่วมบุญกันมาทุกๆปีโทรศัพท์มาถามเป็นจำนวนมาก และไม่น้อยที่โอนเงินเข้ามาเลย ผมจึงหมดความลังเลใจและเริ่มงานประชาสัมพันธ์ โดยปกติเราจะประชาสัมพันธ์เดือนธันวาคม รับบริจาคเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ ต้นเดือนมีนาคมจะรวบรวมเงินไปดำเนินการ แต่ปีนี้เวลาล่าไปหนึ่งเดือน เลยต้องยืดเวลาในการรับบริจาคไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม ทำให้กว่าจะได้ดำเนินการก็เข้าเขตเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงโรงเรียนปิดเทอม ประกอบกับปีนี้เรามีโรงเรียนบางโรงเรียนที่จะมอบทุนการศึกษาและมอบหนังสือให้ห้องสมุดโรงเรียน และเงินช่วยเหลือเกี่ยวกับวัว-ควาย เนื่องจากบางโรงเรียนรับวัวควายไว้ดูแลนับ ๑๐ ตัว แต่ไม่มีงบประมาณทำรั้ว วัวควายจะออกไปกินต้นข้าวของชาวบ้าน ซึ่งเราต้องเข้าไปช่วยเหลือ ดังนั้นผมจึงต้องเดินทางไปสองรอบ รอบแรกต้นเดือนเมษายน ประมาณ วันที่ ๓ – ๔ เมษายน และอีกรอบเมื่อโรงเรียนเปิดเทอม คือช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ประมาณวันที่ ๘ – ๑๐ พฤษภาคม การมอบทุนการศึกษาหรือเงินช่วยเหลือแก่โรงเรียนต่างๆ มีเหตุผลที่จะต้องมอบให้ตัวแทนโรงเรียนต่างๆ ในที่ประชุมสำนักงานเขตการศึกษา เขต ๒ เพื่อให้มีสักขีพยานและสามารถติดตามได้ นอกจากนี้ บางส่วนที่เราบริจาคให้สำนักการศึกษาเขต 2 เช่น สุขภัณฑ์ ก็เนื่องด้วยการติดตามดูแลวัวควายยังคงมีอยู่ ๑๖ โรงเรียน ในอำเภอนาหว้า, ศรีสงคราม, โพนสวรรค์, ท่าอุเทน, นาทม รวม ๖ อำเภอ เราต้องประสานกับโรงเรียนเหล่านั้น ผ่านทางสำนักงานเขตทั้งในเรื่องการนัดหมายเพื่อไปตรวจเยี่ยม การควบคุมดูแลล้วนต้องผ่านสำนักงานเขตการศึกษาทุกครั้ง เราไม่สามารถประสานกับโรงเรียนต่างๆโดยตรงได้ นั่นคือเหตุผลที่ในบางกรณี เราก็ควรบริจาคช่วยเหลือสำนักงานเขตเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และความสะดวกในการทำงาน ในการซื้อวัวควายรอบแรก คือ เช้าวันที่ ๔ เมษายน ดังนี้ 1. ได้ตกลงซื้อวัว-ควายจากนายโง่น เจ้าของโรงฆ่าสัตว์ อำเภอศรีสงคราม 090-346-8337 จำนวน 4 ตัว เป็นเงิน 86,000 บาท เป็นวัว 2 ตัว ควาย 2 ตัว 2. ซื้อจากโรงฆ่าสัตว์นายสมาน เจ้าของโรงฆ่าสัตว์อำเภอศรีสงคราม 081-369-3755 จำนวน 8 ตัว เป็นเงิน 196,000 บาท รวมค่าขนส่ง วัว 3 ตัว ควาย 5 ตัว 3. ซ้อจากนายนิกร พ่อค้าวัวควาย มีอาชีพซื้อขายวัวควายจากชาวบ้านไปขายต่อให้โรงฆ่าสัตว์ 086-093-5158 จำนวน 9 ตัว เป็นเงิน 129,000 บาท เป็นควายหมด 4. ซื้อจากนายวีระ พ่อค้าวัวควายบ้านดอนกลาง 084-390-7767 จำนวน 5 ตัว เป็นควายหมด รวมทั้งหมด 26 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 504,000 บาท ส่วนการซื้อวัวควายรอบที่สอง ซื้อเมื่อเดินทางไป เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม และซื้อ เช้าวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โดยซื้อจากนายวีระ สานเสนาะ พ่อค้าวัวควายที่ส่งโรงฆ่าสัตว์เช่นเดียวกัน 084-390-7767 ได้ซื้อควายทั้งหมด 6 ตัว เป็นเงิน 12,000 บาท รวมวัวควายที่ซื้อหรือช่วยชีวิตได้ในปี ๒๕๕๕ เป็นจำนวน ๓๒ ตัว มีท้องแก่ลูกอยู่ในท้อง 3 ตัว ลูกควายที่ยังเป็นลูกแหง่ไม่อดนม ๒ ตัว คิดเป็นเงินซื้อวัวควายทั้งสิ้น 624,000 บาท การแจกวัวควายใน ๒-๓ ปีหลัง จะแจกที่บ้านปากห้วยม่วง หมู่ ๒ อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนมเป็นส่วนใหญ่ เพราะสะดวกในการติดตามดูแล เนื่องจากได้ผู้ใหญ่บ้าน ประหยัด นาคะเสน 086-019-0817 ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๒ และกลุ่มแม่บ้านช่วยติดตามดูแลให้ ทำให้ง่ายในการตรวจสอบเวลาไปเยี่ยม ซึ่งจะต้องไปปีละ ๒-๓ ครั้งเป็นปกติ “กองธรรมพระศรีอารย์ ปรารถนาให้โลกนี้มีความสุข
  6. “กองธรรมพระศรีอารย์ กองธรรมนำสุข พ้นทุกข์นิพพานัง” ประชาสัมพันธ์ งานไถ่ชีวิต วัว – ควาย ประจำปี ๒๕๕๕ ปีที่ ๒๑ ณ จังหวัดนครพนม อ.บ้านแพง ต.นาเข (หมู่ ๒) อ.นาหว้า อ.นาทม อ.โพนสวรรค์ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕ กองธรรมพระศรีอาร์ยฯขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมในการช่วยชีวิตวัว-ควายที่จะถูกฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์ เพื่อมอบให้เกษตรกรในเขต จังหวัดนครพนม ในปีที่ผ่านมาคือ ปี ๒๕๕๔ เราก็ถือว่าเป็นปีที่เรียกว่า “ข้าวยากหมากแพง” ผู้คนทุกข์ยากลำบาก แต่ทันทีที่ได้รัฐบาลใหม่ กลับเกิดอุทุกภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เรียกได้ว่าทุกคนไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ความทุกข์ทรมานสาดซ้ำลงบนผู้คนทั้งแผ่นดินหนักขึ้นอีก ไม่เพียงแต่มนุษย์ที่เดือดร้อนแสนเข็ญกับมหาอุทกภัยครั้งนี้ บรรดาสัตว์ต่างๆ ทั้งช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข เป็ด ไก่ ต่างก็ได้รับผลจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน ผมยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เกิดความลังเลใจว่า ในปี ๒๕๕๕ นี้จะดำเนินการไถ่ชีวิตนี้ต่อไปหรือไม่? แต่เมื่อเวลาผ่านไป น้ำเริ่มยุบลง เหตุการณ์เริ่มเข้าสู่สภาพปกติ มีผู้มีจิตศรัทธาทั้งเก่าและใหม่ ทั้งที่เคยทำบุญและสนใจที่จะร่วมทำบุญ ได้โทรศัพท์เข้ามาสอบถามเป็นระยะ บางท่านโอนเงินเข้ามาเลย เพราะเคยทำกันทุกปี ผมจึงหมดความลังเลและตัดสินใจที่จะดำเนินการต่อไป และก็ด้วยเหตุผลที่เคยกล่าวไว้กับท่านในปีที่ผ่านมาว่า เราไม่เคยตั้งเป้าว่าปีหนึ่งจะได้เงินบริจาคเท่าใด? ต้องช่วยชีวิตได้กี่ตัว? ดังนั้นใครที่ต้องการจะทำก็จะได้ทำต่อไป ใครมีน้อยก็ทำน้อย หรือร่วมอนุโมทนาไป เพราะชีวิตที่กำลังจะถูกเชือดคอ และจะรอด กำลังรอความเมตตาอยู่ เพียงแค่หนึ่งชีวิตก็ไม่มีอะไรเปรียบแล้ว หากช่วยให้รอดได้จริง ดังนั้นทันทีที่น้ำเริ่มลดลง วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ เช้ามืดผมเดินทางออกจากกรุงเทพฯมุ่งสู่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เพื่อไปตรวจสภาพความเป็นอยู่ของวัวควาย ทั้ง ๑๐ กว่าโรงเรียน ๖ อำเภอของจังหวัดนครพนม และหมู่ ๒ ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง ว่าภายหลังน้ำท่วมเขาอยู่กันอย่างไร การเข้าไปสำรวจติดตามโรงเรียนต่างๆ ทำให้ได้เห็นปัญหาที่คาราคาซังอยู่ บางโรงเรียนผู้บริหารย้ายไป คนใหม่ไม่มีนโยบาย หรือครูที่ดูแลรับผิดชอบเกษียณ บางโรงเรียนมีแต่ตัวเมียไม่มีตัวผู้ผสมพันธุ์ บางโรงเรียนหญ้าไม่พอเป็นอาหาร บางโรงเรียนขาดเงินสนับสนุนทำคอกเพิ่ม เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องเข้าไปช่วยคิดและร่วมแก้ปัญหา ทั้งโรงเรียนและชาวบ้าน ซึ่งทุกปัญหาต้องมีทางออก หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน การติดตามผลและมีส่วนร่วมในการรับรู้และแก้ปัญหามีความสำคัญยิ่ง เพราะหากปัญหาหนักเกินไป จะรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือชาวบ้าน วันหนึ่งเขาก็ต้องตัดสินใจขายทิ้งแน่นอน ซึ่งนั่นก็คือการส่งกลับเข้าโรงฆ่าสัตว์นั่นเอง ผมจึงพูดอยู่เสมอว่าการติดตามดูแลเท่านั้นที่จะช่วยให้มีชีวิตรอดจริง และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร เช่นการรักษาพยาบาลเมื่อมีการเจ็บป่วย การเน้นที่ต้องมีคอกที่ถาวร ชาวบ้านบางคนเลี้ยงโดยไม่มีคอกที่ถาวร ปล่อยตากแดดตากฝน นอนกับโคลนตมลึกถึงเข่า เห็นแล้วเป็นที่น่าเวทนามาก จิตมนุษย์มันหยาบละเอียดไม่เท่ากัน เหมือนกันก็แต่เพียงรูปร่าง บางคนวัวควายเจ็บป่วยไม่ยอมรักษา ปล่อยตามยถากรรม เมื่อเราเข้าไปดูแลสิ่งเหล่านี้ หากเกิดขึ้นก็น้อยมาก ดังนั้นการไถ่ชีวิตวัวควายนั้น มีภาระอันใหญ่ที่รอคอยอยู่ ไม่มีวันจบสิ้น มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนวัวควาย ในปีนี้ ท่านจะเห็นอำเภอหลายอำเภอโผล่ขึ้นมาอีกหลังจากหายไป 2 ปี อันนี้ คือเหตุอันเนื่องมาจากปัญหาของโรงเรียนต่างๆนั่นเอง สำหรับหลักเกณฑ์คร่าวๆที่กองธรรมพระศรีอารย์ฯได้ปฏิบัติมาตลอดของการไถ่ชีวิต คือ 1. มอบวัวควายให้เฉพาะชาวบ้านที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้ใหญ่บ้าน ครู ชุมชน ในเรื่องความพร้อม และ ความซื่อสัตย์ 2. ฝังไมโครชิฟ ซึ่งมีตัวเลขประมาณ 10 หลักที่ใต้ผิวหนัง ลำคอด้านซ้ายวัวควายทุกตัว ทำประวัติวัวควายแต่ละตัว ใครเป็นผู้รับ เมื่อไร พร้อมกำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาว่า ผู้รับต้องเลี้ยงดูตัวที่ได้รับมอบไปพร้อมลูกตัวแรก จนตลอดชีวิต ห้ามฆ่า ห้ามขาย ส่วนตัวที่ 2 เป็นต้นไป เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เลี้ยง หากมีการตายต้องแจ้งให้สัตวแพทย์ไปชันสูตรถ่ายรูปเป็นหลักฐาน 3. ผมในนามของกองธรรมพระศรีอารย์ฯ หรือตัวแทนผู้บริจาคจะมีการตรวจเยี่ยมทุก 3-4 เดือน เพื่อตรวจสอบและดูสภาพความเป็นอยู่ ส่วนในด้านของโรงเรียนต่างๆจะประสานกับสำนักงานเขตศึกษา 2 อ.ศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ออกตรวจเยี่ยมด้สยกัน ส่วนด้านหมู่บ้าน ผมตรวจเยี่ยมร่วมกับผู้ใหญ่บ้านและสัตวแพทย์อาสา ในปีนี้จะได้มีการแจกทุนการศึกษา แจกโครงการอาหารกลางวัน และเข้าสนับสนุนโรงเรียนที่ไม่เข้มแข็งให้สามารถดูแลวัวควายต่อไป พร้อมทั้งสนับสนุนโรงเรียนที่สามารถต่อยอดโครงการวัว ควายได้ “ท่านทั้งหลายชีวิตนั้นแสนสั้น เราเดินเข้าหาความตายทุกวัน วันหนึ่งความตายจะมาถึงอย่างแน่นอน ท่านเคยคิดนึกบ้างไหมว่า สิ่งที่ท่านมีอยู่จะมากน้อยไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของ หรือคนที่ท่านรัก เกลียด ท่านจะเอาติดตัวไปได้ไหม? เราจะต้องทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไว้เบื้องหลัง จะอยากเอาไปหรือไม่อยากเอาไป เอาไปได้ด้วยแน่นอนคือ ดี กับ ชั่ว ความตายคืออะไร? ความตายคือการเริ่มต้นการเดินทางอีกครั้ง ชีวิตไม่ใช่มีแต่เพียงโลกมนุษย์เท่านั้น ชีวิตหลังความตายก็มีน๊ะท่าน ดังนั้น โลกนี้คือโลกที่เรามาเยือน และต้องจากไปแน่นอน ไปสู่โลกอื่น โลกนี้ คือ โลกแห่งการเรียนรู้ โลกนี้ คือ โลกแห่งการบำเพ็ญ โลกนี้ คือ โลกแห่งการตรัสรู้ และที่สำคัญที่สุด โลกนี้ คือ โลกสมมุติ รวย หรือ จน เขาดูกันตอนตายแล้วครับท่าน! รวยแค่ไหนตายแล้วก็ต้องทิ้งหมด หอบไปไม่ได้ แม้จะไม่ร่ำรวย แต่ตลอดชีวิต เต็มไปด้วยการให้ เมื่อท่านเข้าสู่โลกวิญญาณจะได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ สูงศักดิ์ ร่ำรวยล้นฟ้า หากสร้างแต่ความชั่ว เมื่อเข้าสู่โลกวิญญาณ สิ่งสมมุติที่มีอยู่ในโลกมนุษย์ จะไม่มีความหมายใดๆ โลกวิญญาณ ไม่มียศศักดิ์ ไม่มีพรรคพวก มีอย่างเดียว ดี หรือ ชัว โลกวิญญาณ คือ โลกที่เป็นจริง เพราะเป็นโลกที่สัตย์ซื่อ ตรงไปตรงมา ไม่ละเว้นผู้ใด เป็นโลกที่รับผลแต่เพียงฝ่ายเดียว และมีมิติเวลาที่ยาวนาน การได้ชาติมนุษย์ ถือเป็นการได้ชาติที่ประเสริฐ เพราะเป็นชาติแห่งโอกาส ใครมีปัญญาก็เร่งฉกฉวยเอาเถิดว่า สิ่งใดเป็นคุณ สิ่งใดเป็นโทษ สิ่งใดมีสาระ สิ่งใดไร้สาระ สิ่งใดเป็นของหยิบยืมชั่วคราว สิ่งใดเป็นอมตะ ในท้ายสุด ขอตั้งจิตอธิษฐานว่า “บุญใด กุศลใด อันเกิดจากการไถ่ชีวิตสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ขอทุกท่านที่มีส่วนร่วม มากก็ดีน้อยก็ดี โดยทางหนึ่งทางใดก็ดี เป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทพยดาก็ดี หรือแม้เพียงมีจิตอนุโมทนาก็ดี บุญกุศลนั้นจงสนองท่านโดยพลัน และเป็นเหตุปัจจัยให้ท่านทั้งหลายได้ข้ามพ้นกองทุกข์ในปัจจุบันกาลโดยเร็ว หากความเกิดยังมีอยู่เพียงใด ขอให้เกิดทันศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย์ด้วยเทอญ” การประชาสัมพันธ์จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2554 เป็นต้นไป และจะรวบรวมเงินเดือนมีนาคมเดินทางไปซื้อ ในวันที่ 27 มีนาคม 2555 ที่จังหวัดนครพนม จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ท่านใดต้องการปกป้องชีวิตจากการฆ่าปลดปล่อยพวกเขาสู่อิสรภาพให้มีชีวิตใหม่ที่มีความสุขและได้รับการดูแลตลอดไป ร่วมบริจาคได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2555 โอนเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอโศก ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 032-2-58355-6 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย์ โทร 0-2261-1313, 08-0613-3397 หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสุขุมวิท 23 ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 204-1-19819-5 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย์ โทร 0-2261-1313, 08-0613-3397 หรือ สั่งจ่ายธนาณัติ นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล 18/6 ซอยสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 (ปณ. ประสานมิตรเท่านั้น) หลังจากการไถ่ชีวิตโค-กระบือ จะมีการรายงานผลถึงจำนวนวัว-ควาย ยอดเงินบริจาค ปัญหา อุปสรรค และรายละเอียดค่าใช้จ่ายอีกครั้งเช่นที่ทำมาทุกปี “กองธรรมพระศรีอารย์ ปรารถนาให้โลกนี้มีความสุข”
  7. รายงานรับ และค่าใช้จ่าย งานไถ่ชีวิตโค-กระบือ ปี 2554 รวมยอดบริจาค = 948,606 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น (716,000 + 155,614) = 871,614 บาท เงินคงเหลือ (948,600 – 871,614) = 76,992 บาท (ไทยพาณิชย์ อโศก) ซื้อครั้งที่ 1 นายอดุลย์ เสริมสายันห์ 279 หมู่ 7 ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม 081-369-3755 - ควายตัวผู้ 5 ตัว - ควายตัวเมีย 5 ตัว 11 ตัว = 290,500 บาท - วัวตัวเมีย 1 ตัว (สองแสนเก้าหมื่นห้าร้อยบาท) ซื้อครั้งที่ 2นายอดุลย์ เสริมสายันห์ - ควายตัวเมีย 2 ตัว - วัวตัวผู้ 1 ตัว 5 ตัว = 89,000 บาท - แม่วัวตัวเมีย 1 ตัว (แปดหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) - ลูกวัวตัวเมีย 1 ตัว ซื้อครั้งที่ 3 นายสำราญ เข็ญมาศ 179 หมู่ 2 ต.นาคูนใหม่ อ.นาหว้า จ.นครพนม 089-576-7931 - แม่ควายตัวเมีย 1 ตัว - ลูกควาย 1 ตัว 6 ตัว = 87,000 บาท - ควายตัวเมีย 2 ตัว (แปดหมื่นเจ็ดพันบาท) - ควายตัวผู้ 2 ตัว ซื้อครั้งที่ 4 โรงฆ่าสัตว์เทศบาลตำบลนาหว้า (นางตู่ วดีศิริศักดิ์) 3 หมู่ 3 ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพยม 085-004-6718 - แม่วัวตัวเมีย 1 ตัว - ลูกวัวตัวผู้ 1 ตัว 6 ตัว = 81,000 บาท - วัวแดง 1 ตัว (แปดหมื่นหนึ่งพันบาท) - วัวตัวเมีย 3 ตัว ซื้อครั้งที่ 5 นายอดุลย์ เสริมสายันห์ - วัวตัวเมียใหญ่ 2 ตัว = 46,000 บาท (สี่หมื่นหกพันบาท) ซื้อครั้งที่ 6 นายโง่น มงคลดี 228 หมู่ 4 ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม - วัวตัวเมีย 2 ตัว - ควายแม่ลูก 2 ตัว 4 ตัว = 65,500 บาท (หกหมื่นห้าพันห้าร้อยบาท) ซื้อครั้งที่ 7 นายอดุลย์ เสริมสายันห์ - ควายตัวเมีย 2 ตัว = 57,000 บาท (ห้าหมื่นเจ็ดพันบาท) รวมยอดเงินซื้อชีวิตวัว-ควาย 7 ครั้ง = 716,000 บาท (เจ็ดแสนหนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน) 1. รายจ่ายค่าประชาสัมพันธ์ 1. ค่าส่งพัสดุ = 1,338 บาท 2. ค่าแสตมป์ = 4,800 บาท = 11,707 บาท 3. ค่าจดหมาย = 569 บาท 4. ค่าถ่ายเอกสาร = 5,000 บาท 2. รายจ่ายค่ารายงานผล (ใกล้เคียงกับค่าประชาสัมพันธ์) = 11,707 บาท รวม 1 + 2 = 23,414 บาท 3. รายจ่ายค่าทำแผ่น VCD ใหม่ 1000 แผ่น + ต้นฉบับใหม่ (5,000 + 2,000) = 7,000 บาท 4. กลุ่มแม่บ้าน หมู่ 2 บ้านป่าม่วง ต.นาเข อ.บ้านแพง จ.นครพนม (นางพิมศิริ อุดมกัน ประธานกลุ่ม 080-662-3669) กู้ทำวิสาหกิจชุมชนปลูกเห็ดขอนขาวขาย = 40,000 บาท ส่งเดือนละ 3,000 บาท ไม่มีดอกเบี้ย (เริ่มส่งประมาณ กรกฎาคม 2554) 5. ค่าทุนการศึกษา โรงเรียนบ้านนาเข หมู่ 6 ต.นาเข อ.บ้านแพง จ.นครพนม (ผอ.นายนิติกร ฉิมพาสี 086-230-2642) จำนวน 18 ทุน ป.1 – ป.6 จำนวน 12 ทุนๆ ละ 1,500 บาท = 18,000 บาท ม.1 – ม.3 จำนวน 6 ทุนๆ ละ 1,500 บาท = 9,000 บาท รวมเป็นเงิน = 27,000 บาท 6. ค่าทุนการศึกษา โรงเรียนบ้านดอนกลาง ต.นาเข อ.บ้านแพง จ.นครพยม (นายประวิทย์ จันทา 087-948-6987) จำนวน 25 ทุน ป.1 – ป.6 จำนวน 19 ทุนๆ ละ 1,500 บาท = 28,500 บาท ม.1 – ม.3 จำนวน 6 ทุนๆ ละ 1,500 บาท = 9,000 บาท รวมเป็นเงิน = 37,500 บาท 7. ค่าขนควาย รถเล็ก 1,200 บาท + รถบรรทุก 4,000 บาท = 5,200 บาท 8. ค่าฝังไม่โครชิพ ตัวละ 50 บาท จำนวน 52 ตัว = 2,600 บาท 9. ค่าน้ำมันไปกลับ = 6,700 บาท = 20,700 บาท 10. ค่าที่พัก = 1,200 บาท 11. สนับสนุนโครงการปุ๋ยชีวภาพ โรงเรียนนาหว้าพิทยาคม = 5,000 บาท โทร 082-2299071 อ.สุวรรณ กล้าขยัน รวมยอดค่าใช้จ่ายอื่น = 155,614 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นห้าพันหกร้อยสิบสี่บาทถ้วน) รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น (716,000 + 155,614) = 871,614 บาท (แปดแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันหกร้อยสิบสี่บาทถ้วน) เงินบริจาคที่เหลือในบัญชี 76,992 บาท จะใช้ในการติดตามผล ดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยวัว-ควายเมื่อไปตรวจเยี่ยม ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และจะซื้อเพิ่มเมื่อไปติดตามผล ในกรณีที่จำเป็นต้องซื้อ สำหรับเงินที่คงเหลือในธนาคารไทยพาณิชย์เป็นเงินที่มีผู้โอนมาทีหลังจากซื้อวัว-ควายแล้ว ท่านใดต้องการปกป้องชีวิตจากการฆ่า ปลดปล่อยพวกเขาสู่อิสรภาพให้มีชีวิตใหม่ที่มีความสุข และได้รับการดูแลตลอดไป ร่วมบริจาคได้โดย โอนเข้าบัญชี - ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอโศก ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 032-2-58355-6 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสุขุมวิท 23 ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 204-1-19819-5 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย นายพงษ์ชัยทัศน์ (ธวัชชัย) วณิชย์กุล 18/6 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร. 02-258-4235 มือถือ 081-614-9382
  8. “กองธรรมพระศรีอารย์ กองธรรมนำสุข พ้นทุกข์นิพพานัง” องค์กรเอกชนเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาและสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์และสัตว์โลกที่ประสบเคราะห์กรรม รายงานผลการไถ่ชีวิตโค-กระบือ ประจำปี 2554 (ปีที่ 20) ปีนี้ถือเป็นปีแห่งความทุกข์ของคนไทยที่ต้องมาประสบวิบากกรมทั้งด้านความเป็นอยู่ อาชีพ รายได้ และความไม่เป็นธรรมของสังคม ซึ่งผมไม่คิดว่าจะได้เงินยอดบริจาคมากกว่าทุกปี ในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นศูนย์กลางของท่านทั้งหลาย รู้สึกตื้นตันใจที่ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากทุกท่าน จึงมีความตั้งใจว่าจะสนองคุณท่านทั้งหลายให้เต็มที่ด้วยการทำให้ท่านได้กุศลสูงสุด ให้สมกับความตั้งใจและความเสียสละของทุกคน จึงคิดว่าปีนี้จะซื้อกลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่ผมยอมรับว่าพยายามหลีกเลี่ยงมาตลอด เพราะมีความกดดันสูงและอำนาจต่อรองต่ำ เนื่องจากเป็นเวลาที่เขาจะลงมือฆ่าแล้ว เขามักจะไม่ยอมลดราคาหรือโก่งราคาเต็มที่ เพราะเขากลัวเสียลูกค้าประจำที่มารอซื้อเนื้อ และการที่เขาจะไปหาวัว-ควายมาทดแทนตัวที่เราซื้อออกมามันไม่ง่าย ยิ่งดึกก็ยิ่งลำบาก กดดันจิตใจเราเพราะอะไร? เพราะผมรู้สึกว่าเมื่อเข้าไปแล้วได้เห็นแล้ว และช่วยเขาไม่ได้เดินออกมามือเปล่า ความรู้สึกผิด มันจะติดใจเราไปตลอดชีวิต เหตุการณ์คล้ายกันนี้ ผมเคยเจอครั้งหนึ่งเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นปีแรกของการไถ่ชีวิตวัว-ควายของผม ปีนั้นประมาณ พ.ศ.2534 เราจะไปซื้อที่โรงฆ่าสัตว์จังหวัดชลบุรี มีผู้บริจาคขับรถตามไป 2-3 คัน วันนั้นจำได้ว่าเป็นวันตรงกับประเพณีวิ่งวัว-ควายที่อำเภอบ้านบึง เราเข้าไปในโรงฆ่าสัตว์ซึ่งมีอยู่ประมาณ 7-8 ตัว ซื้อได้หมด ยกเว้นตัวเดียวที่ไม่สามารถติดต่อเจ้าของได้ เนื่องจากเขาไปอยู่ในงานวิ่งวัว เจ้าควายตัวนี้ถูกผูกอยู่ในโรงฆ่ามา 2 วันแล้ว หลักที่ผูกมันก็อยู่ติดๆ กับที่เขาทุบหัวเชือดคอเพื่อนมันนั่นแหละ เชือกก็ผูกสั้นแค่คืบเดียว จะนอนก็ไม่ได้ น้ำก็ไม่ได้กิน ช่วงนั้นเป็นเวลาประมาณบ่าย 2 โมง เจ้าของโรงฆ่าบอกว่า เจ้าของควายตัวนี้เป็นแขกปาทาน ตั้งราคาไว้ 8,400 บาท เรารออยู่จน 5 โมงเย็นที่โรงฆ่าสัตว์ พวกที่ได้ด้วย 10 กว่าคนถอดใจกันหมดแล้ว เขาไม่อยากรอจะกลับ ผมตัดสินใจจ้างรถสองแถวไปรับเจ้าของควายที่สนามแข่งบ้านบึง โชคดีที่เจอตัว มาถึงโรงฆ่าก็เกือบทุ่มแล้ว พอมาถึงเราก็ถามราคาขอซื้อ เจ้าของความตั้งราคามา 13,000 บาท พวกที่ไปด้วยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงร้องโวยวายต่อว่าเขาว่าขายแพง ซึ่งก็เป็นความจริง มันไม่พอใจพูดตัดบทเลยว่า ผมไม่ขาย ผมได้ยินแล้วหัวใจแทบหยุดเต้น เจ้าควายตัวนั้นก็ยืนฟังเราอยู่ มันมีอาการเหมือนผมนั่นแหละ มันคอตกลงทันที ความรู้สึกผมนาทีนั้นเหมือนตกลงจากที่สูง กลัวว่าจะช่วยเขาไม่ได้ ผมบอกให้ทุกคนไปรอนอกโรงฆ่าสัตว์ แล้วลงทุนไหว้มัน ขอร้องให้มันขาย และขอโทษมันอีกด้วย ภายในตัดสินใจเด็ดขาดว่าต้องช่วยให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด หากมันไม่ยอมขายจริงๆ จะนั่งลงให้มันเชือดคอพร้อมกับเจ้าควายตัวนั้น จะด้วยแรงอธิษฐานหรืออำนาจบุญกุศลใดก็ตาม ในที่สุดเจ้าของควายยอมขายให้ ผมก็ให้ราคาตามที่เขาต้องการ เราเอาเจ้าความเขาเกตัวนี้ออกมาได้ก็มืดค่ำแล้ว ทุกคนเขาอยากจะกลับ ผมไม่ยอมกลับ ขนมาที่วัด พอมันลงจากรถมันเดินเหม่อลอยเหมือนไม่มีชีวิตจิตใจ ผมคิดว่าภายในใจของเขาคงแตกสลายหมดแล้ว หากเป็นคนก็คงสติแตก เพราะถูกมัดบังคับให้ดูการฆ่าซึ่งๆ หน้ามา 2 วัน แล้วอยู่ๆ ก็ได้รับการช่วยชีวิต มันเหมือนฝัน ผมเห็นเหตุการณ์นี้จังๆ เป็นครั้งแรก มองดูเสาที่เป็นหลักประหารเป็นไม้แดงท่อนใหญ่ ถูกเชือกความสีไปมาจนคอด ผมคิดในใจคนเดียวว่า หลักนี้มันมัดชีวิตวัว-ควายมากี่ร้อยกี่พันกี่หมื่นแล้วหนอ อาการเหม่อลอยเช่นนี้พบที่ชลบุรีเป็นครั้งแรก ปีแรก และมาเจอปีนี้อีกครั้ง ซึ่งจะเล่าให้ฟังทีหลัง ทั้งหมดนี้คือ จุดกำเนิดของมโนปณิธานของข้าพเจ้า ที่จะช่วยพวกเขาเหล่านี้ไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และเป็นปีแรกที่เลิกกินเนื้อเช่นกัน ความรู้สึกกลัวและความรู้สึกเชื่อมั่น เมื่อต้องเข้าไปเจรจาซื้อขายกับโรงฆ่าในเวลากลางคืน มันตามมาหลอกหลอนผม แต่ทุกสิ่งในโลกมี 2 ด้าน มีคุณและโทษ มีบวกมีลบอยู่ในตัวของมัน ถ้าเราซื้อนาทีประหาร กำลังของบุญหรืออานิสงค์จะมีกำลังสูงสุด โดยเฉพาะวัว-ควายซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ ในปีต่อๆ มาผมมักจะอธิษฐานว่า ขออย่าได้ไปพบเห็นภาพที่เขากำลังฆ่าหรือกำลังจะฆ่ากัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้น แต่ในปีนี้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ก่อนออกเดินทางผมเข้าห้องพระ “อธิษฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และสมเด็จโต ช่วยสงเคราะห์ให้ข้าพเจ้าได้รับความร่วมมือและความสะดวกในการทำงาน และขอให้ได้พบกับความโพธิสัตว์ด้วยเถิด” ย้อนกลับมาปีปัจจุบันของเรา ด้วยเหตุที่ผมเห็นความเสียสละของทุกท่าน ผมคิดคนเดียวว่าจะสนองคุณ พระเดชพระคุณทั้งหลายให้เต็มที่ ผมเดินทางจากกรุงเทพฯ เช้ามืด ระหว่างวิ่งอยู่ที่เทือกเขาภูพานก่อนถึงจังหวัดสกลนคร ประมาณ 4-5 โมงเย็น ผมต่อสายถึงนายอดุลย์ โรงฆ่าสัตว์อำเภอศรีสงคราม ถามถึงวัว-ควายที่มีอยู่ในคอดของเขาและราคา ว่าจะขายราคาเท่าไร? ระหว่างที่รอคำตอบ ผมติดต่อไปที่สามล้อเครื่องที่รู้จักที่อำเภอศรีสงคราม ให้เข้าไปดูจำนวนและขนาดและแจ้งให้ผมทราบ นี่คือการซื้อรอบแรก ทางโทรศัพท์ เราตกลงราคากันได้ 290,500 บาท มีความ 10 ตัว วัว 1 ตัว ผมเร่งการเดินทาง ระยะทางเกือบ 200 กิโลเมตร เข้าถึงที่พักที่อำเภอศรีสงครามประมาณทุ่มเศษ แล้วมุ่งหน้าเข้าโรงฆ่าสัตว์เลย (ผมประสานกับผู้ใหญ่ประหยัด หมู่ที่ 2 บ้านปากม่วง ตำบลนาเขา อำเภอบ้านแพง ตั้งแต่ตกลงราคากันได้บนภูพานแล้ว ให้เขาเตรียมหญ้าน้ำและคนมารอรับวัว-ควาย จัดเวรยามเฝ้า) แล้วจัดการขนวัว-ควายเข้าหมู่บ้านคืนนั้นเลย กว่าจะเสร็จก็ 5 ทุ่มกว่า ระยะทางห่างประมาณ 40 กิโลเมตรเศษ แต่รถบรรทุกวัว-ควายวิ่งเร็วไม่ได้ โรงฆ่าสัตว์นายอดุลย์ผมซื้อมาหลายรอบ เขารู้นิสัยผมว่า หากว่าซื้อจะไม่ปล่อยให้เหลือ ต้องซื้อจนหมดคอก คืนนั้นผมดูการจัดวัว-ควายขึ้นรถเสร็จรีบออกจากโรงฆ่าสัตว์ทันที เพราะไม่ต้องการเห็นการขนเข้ามาอีก ใจหนึ่งก็นึกแปลกในที่นายอดุลย์ไม่ขอไว้เชือด 1 ตัวไว้ให้ลูกค้าประจำ จนมารู้วันรุ่งขึ้นว่า เขาแอบจูงมันไปผูกไว้ในป่าใกล้บ้านแขก เพื่อจะไม่ต้องออกไปหามาแทนคืนนั้น นี่แสดงให้เห็นว่า การที่เราจะช่วย แม้นว่ากรรมหนักจริงๆ อย่างไรๆ ก็ไม่มีทางรอด เจ้าตัวที่ถูกจูงไปซ่อนไว้เป็นวัวสีขาวสูงใหญ่ ชะตามันขาดแล้วจริงๆ เราจะช่วยใครได้ บุคคลผู้นั้น สัตว์ตัวนั้น ต้องมีบุญเหลืออยู่บ้าง หากหมดบุญจริงๆ แล้ว ไม่มีทางสำเร็จ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ที่ผมและพวกท่านซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทำอยู่ ผมก็ไม่ทราบว่ามันเป็นการฝืนกฎของกรรมหรือไม่? แต่ผมเห็นว่า เราสามารถช่วยให้เขารอดชีวิตได้ มันคุ้มค่าไม่ว่าจะต้องมาเจอกับอะไรก็ตาม ยินดีไม่คิดหลีกเลี่ยง วันรุ่งขึ้น ผมนำเงินมาชำระที่โรงฆ่านายอดุลย์ เจอวัว-ควายอีก 7 ตัว มีแม่วัวลูกติด 1 คู่ ตกลงซื้อกันในราคา 890,000 บาท ให้เขาจัดส่งไปที่เดิม นี่คือการซื้อรอบสอง จำได้ว่าเคยเล่าให้ท่านฟังว่า จะลองไปหาซื้อต่างอำเภอดูบ้างเพื่อจะได้ราคาถูกกว่า ผมจึงให้รถบรรทุกวัว-ควายที่ประสานกับอาจารย์สมานชัยได้จัดหาไว้ นำพาไปเขตอำเภอนาหว้า ก่อนถึงตัวอำเภอนาหว้าประมาณ 10 กิโลเมตร แวะที่บ้านนายสำราญซึ่งปลูกบ้านอยู่ริมทางมีอาชีพไปซื้อวัว-ควายจากตลาดนัดมาฆ่า ชำแหละขาย เจอควาย 2 คู่ ตกลงซื้อขายและจะเดินทางไปตัวอำเภอนาหว้า เจ้าของโรงขนแม่ควายกับลูกมา 1 ตัว เลยตกลงเหมาหมดรวมเป็น 6 ตัว 87,000 บาท นี่คือการซื้อรอบที่สาม การซื้อครั้งนี้ผมเริ่มรู้สึกแล้วว่า หากเทียบขนาดวัว-ควายกับที่ศรีสงครามราคาพอกัน ที่นี่จะแพงกว่า เราเดินทางต่อไปยังตัวอำเภอ มุ่งหน้าไปโรงฆ่าสัตว์เทศบาลตำบลนาหว้า เขาผูกไว้ในโรงฆ่าสัตว์ 3 ตัว ผอมโกโรโกโส มีลูกวัว 1 ตัว บอกราคามา จำได้ว่าสี่หมื่นกว่า ผมตกใจว่าทำไมแพงขนาดนั้น ต่อรองอย่างไรก็ไม่ยอมลด ขณะต่อรองขนเข้ามาอีก 3 ตัว รวมแล้ว 6 ตัวราคา 81,000 บาท สุดท้ายลดให้หนึ่งพันบาท คนขายเป็นผู้หญิงชื่อ นางตู่ อายุประมาณ 30 เศษ ผมรู้สึกโกรธที่ขายในราคานี้ ถ้าจะไม่ซื้อไว้ พวกนี้ก็ยืนฟังตาปริบๆ อยู่ บอกคนรถว่าให้รีบขนขึ้นระให้เร็วที่สุดแล้วไปทันที เดี๋ยวมันขนมาอีก รีบจ่ายเงินนางตู่แล้วบอกว่า ชาตินี้ฉันจะไม่เข้ามาเหยียบที่นี่อีก แกจะได้เงินฉันครั้งนี้ครั้งเดียวและเป็นครั้งสุดท้าย นี่คือการซื้อรอบที่สี่ ตอนหลังผมไปสืบดู สอบถามจากรถขนวัว-ควาย เขายอมรับว่า อำเภอนาหว้าราคาแพงจริง ราคาเนื้อชำแหละแล้วตกกิโลละ 170-180 บาท ก็แปลกดี ผมจึงเห็นว่าคงต้องกลับไปคบกับนายอดุลย์และนายโง่นที่อำเภอศรีสงครามอีกเป็นแน่ ขากลับผมแวะโรงฆ่าสัตว์นายอดุลย์ได้ควายตัวเมียใหญ่อีก 2 ตัว ราคา 46,000 บาท นี่คือการซื้อรอบที่ 5 และแวะที่โรงฆ่าสัตว์นายโง่นที่ศรีสงคราม เพราะเป็นทางที่ต้องผ่านอยู่แล้ว ได้วัวตัวเมียใหญ่ 2 ตัว และควายแม่ลูก รวมเป็นเงิน 65,500 บาท นี่คือการซื้อรอบที่หก ในใจคิดว่าการซื้อต้องยุติแค่นี้ก่อน เพราะเบิกเงินติดตัวไป 700,000 บาท ใช้ซื้อวัว-ควายบวกค่าเดินทาง หลังจากนั้นผมเข้าหมู่บ้านประสานกับสัตว์แพทย์ชื่อ นายพิภพ (สัตว์แพทย์อาสา 087-305-9929) มาฝังไมโครชิพ และทำสัญญา ประวัติวัว-ควายแจกชาวบ้าน ตอนนั้นเหลือเงินในบัญชีประมาณ 7-8 หมื่นบาท เพราะต้องกันไว้เป็นทุนการศึกษา ค่ารายงานผล ค่าติดตามผลวัว-ควาย ซึ่งต้องเดินทางมาอีกอย่างน้อย 3 รอบ และค่ารักษา ค่าฉีดยาวัว-ควายกรณีเป็นโรคที่ต้องรักษา ผมประชุมชาวบ้าน แจกวัว-ควายเรียบร้อย กลับถึงที่พักประมาณเกือบ 2 ทุ่ม ประมาณ 3 ทุ่ม 40 นาที ผมออกไปหาก๋วยเตี๋ยวกินที่ตลาด เลยขับรถออกจากที่พักมุ่งหน้าไปตลาดอำเภอศรีสงคราม ซึ่งมีโจ๊ก มีอาหารขายตามข้างถนน ก่อนถึงตลาดต้องผ่านซอยที่เป็นที่ตั้งของโรงฆ่าสัตว์นายอดุลย์ ไม่รู้อะไรดลใจให้ผมเลี้ยวรถเข้าไป (เคยถามนายอดุลย์ถึงวิธีฆ่าวัว-ควายของเขา เขาเล่าให้ฟังว่า เอาเชือกผูกขาหน้า 1 ข้าง ขาหลัง 1 ข้าง ปล่อยให้เชือกลอดท้องมัน แล้วมายืนฝั่งตรงข้าม ห่างจากตัวมันประมาณไม่เกิน 2 เมตร แล้วกระชากสุดแรง มันจะเสียหลักล้มลง เพราะก่อนมัดขา เขาจะเอาน้ำราดตัวมันและราดพื้นซีเมนต์จนเปียกชุ่ม เมื่อมันล้มลงแล้ว มันจะไม่มีแรงต่อสู้ ขาตะกายอากาศ เขาจะจับหัวและคอมันเอียงไปทางทิศตะวันออก แล้วเอามีดที่เตรียมไว้เชือดคอมันอย่างแรงจนเส้นโลหิตใหญ่ขาด มันจะดิ้นอยู่ไม่กี่นาทีก็ขาดใจตาย) ผมวิ่งเข้าซอยตรงมาที่ประตูรั้วหน้าโรงฆ่าสัตว์ มองทะลุประตูเหล็กเข้าไปประมาณไม่เกิน 15-20 เมตร ก็จะมองเห็นโรงที่ใช้เป็นที่เชือดวัว-ควาย เห็นควันโขมงพร้อมกระทะใบใหญ่วางอยู่ใกล้ เห็นคน 4-5 คน ยืนมุงควายตัวใหญ่อยู่ นายอดุลย์นุ่งโสร่ง ยืนกอดอกหันหลังให้ประตู หันหลังให้ผม มองดูลูกน้องปล้ำกับควายเพื่อจะผูกเชือก ผมไม่ได้ดับเครื่องรถ แต่นั่งดูอยู่ในรถ แบบไม่กระพริบตาเหมือนถูกตรึงอยู่กับที่ จะหนีไปเสียก็ไปไม่ได้ ทำให้ต้องนั่งมองอยู่เท่านั้น โนใจก็คิดว่า เราคงช่วยเขาไม่ได้แล้ว เงินก็จะหมดแล้ว พรุ่งนี้เช้าก็จะเดินทางกลับกรุงเทพฯ แล้ว ไม่ถึงเสี้ยวนาทีเห็นควายล้มลง สี่ขาตะกายฟ้า ลูกน้องนายอดุลย์กำลังมะรุมมะงาหราปล้ำกับควาย นาทีนั้นผมเหมือนถูกไฟช้อต กดแตรเปิดประตูรถกระโจนพรวดเดียว วิ่งไปตะโกนไป บอกให้เขาหยุดก่อน ไม่ได้คิดถึงเรื่องเงินเลยว่ามันจะพอไม่พอ นายอดุลย์หันมามองผมยืนอมยิ้มแล้วพูดว่า “ควายตัวนี้มันร้องไห้ ผมเห็นแล้วนึกถึงพี่ว่า ถ้าพี่เห็นคงเอาแน่” ผมตอบว่า “ขอเถอะ จูงออกมาเลย ราคาจะเอาเท่าไรก็บอก” ลูกน้องเขาก็หยุดปล้ำกับควาย มันพลิกตัวได้ พยายามจะลูกขึ้นยืน แต่ก็ไม่ง่าย เพราะพื้นซีเมนต์เปียกโชก ตัวมันก็เปียก ขาเป็นกีบมันลื่นไถลไปมา เขาก็พยายามช่วยตัวเอง ใช้ขาหน้าคู้เข่ายันตัวเองขึ้น จึงยืนได้ หน้ามันตื่นตระหนก ผมมองดู เพราะบริเวณนั้นแสงไฟส่องสว่าง มันร้องไห้จริงๆ เป็นควายตัวเมียกำลังท้องอ่อน เขาพากันจูงมันออกมาไว้หน้าโรงฆ่า ผมไปยืนลูบหัวเขาเบาๆ ไม่ได้พูดอะไร แต่เราสื่อกันได้ เขารู้ว่าเรามาช่วยเขาให้รอดชีวิต แต่สีหน้าเขางงๆ เหมือนไม่เชื่อว่าเป็นความจริง ผมจำไม่ได้ว่า พูดอะไรกับนายอดุลย์อยู่ แต่หันหน้ามองเข้าไปในโรงฆ่า เอาอีกแล้ว อีกตัวกำลังสี่ตีนตะกายอากาศ ช่างรวดเร็วเหลือเกินกับการทำอุบาทว์แบบนี้ ผมตะโกนเสียงหลงว่า หยุดก่อนเอาออกมาเลย ขอเวลา 10 นาทีให้ฉันออกไปจากที่นี่ก่อน จะทำอะไรกันก็ตามสะดวก ส่วนนายอดุลย์พูดกับผมว่า รายการนี้ขอได้ไหม? หมายความว่าอย่าต่อราคา ผมก็เลยตอบว่า อยากได้เท่าไรว่ามาเลย แต่ถ้าแพงมากก็เลิกคบกัน เขาเรียกมา 57,000 บาท ซึ่งก็แพงกว่าที่เขาขายผมในทุกๆ ครั้งที่ขนาดเดียวกันตัวละพันกว่าบาท ผมให้เรียกรถประจำชื่อลุงแหลมมาขนเจ้า 2 ตัวนี้ออกจากนรกขุมนี้ให้เร็วที่สุด ส่วนผมล่วงหน้าไปรอที่บ้านผู้ใหญ่หมู่ 2 ปรากฏว่าแกนอนแล้ว เพราะมันเกือบ 5 ทุ่มแล้ว ทำธุระเสร็จประมาณตีหนึ่ง ผมกลับที่พัก วันรุ่งขึ้นเดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยความปลื้มใจว่านี่เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีที่เรามีโอกาสช่วยพวกเขาในนาทีสุดท้าย ครูบาชัยวงษาพัฒนาแห่งวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เคยสอนผมไว้ว่า หากช่วยมันได้ตอนนี้ บุญมันแรง มนุษย์ทั้งหลายในโลก เขายึดเอาเงินกับทรัพย์สมบัติเป็นที่พึ่งที่อาศัย เพราะเขาหวาดกลัวในการมีชีวิตอยู่ว่าจะเจออะไรบ้าง? เนื่องจากพวกเขาไม่เคยคิดถึงความตายเลย ส่วนข้าพเจ้ามองเห็นความตายคือรุ่งอรุณแห่งชีวิต เป็นรุ่งอรุณที่งดงามปลอดภัยและมีความสุขรออยู่ เพราะสิ่งที่เราทำไว้ในวันนี้ คือ ที่พึ่งที่อาศัยจะติดตามเราไปทุกๆ ที่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นทำทุกอย่างทำแบบหวังตาย ไม่ได้ทำแบบหวังอยู่ เพราะชีวิตมันไร้สาระ หากปราศจากจุดหมาย เพื่อความหลุดพ้น หรือเพื่อทำคุณประโยชน์ให้โลก เมื่อท่านนึกถึงควายตาย ใจท่านจะค่อยสงบลง เรื่องอะไรก็เป็นเรื่องเล็ก เพราะเรื่องใหญ่ที่น่ากลัวที่ท่านตอบไม่ได้ คือ เมื่อท่านตายเพราะกายแตกแล้ว ท่านจะพึ่งพิงสิ่งใด ท่านจะไปอยู่ในสภาพเช่นใด นี่คือความน่ากลัวที่สุดของชีวิต ประมาณวันที่ 20 เศษของเดือนพฤษภาคม 54 ผมจะต้องเดินทางไปเพื่อแจกทุนการศึกษา เพราะช่วงเดือนมีนาคมที่ไปซื้อชีวิตวัว-ควายเป็นช่วงปิดเทอม พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมวัว-ควายรุ่นเก่า ใหม่ทั้งหมด ขอผลบุญกุศลที่ผมเป็นผู้ทำ อันมีทุกท่านเป็นผู้ช่วยเหลือผลักดัน จงแผ่ไปยังสรรพสัตว์ เจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณ และทุกท่านที่มีส่วนร่วม แม้เพียงมีจิตอนุโมทนาโดยเท่าเทียมกัน ด้วยอานิสงค์นี้ ขอให้ทุกท่านจงรอดพ้นจากการถูกฆ่า ถูกประหา ถูกจองจำ หากความเกิดยังมีอยู่เพียงใดให้เกิดทันศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ด้วยเทอญฯ จนกว่าจะพบกันอีก กองธรรมพระศรีอารย์ “กองธรรมพระศรีอารย์ ปรารถนาให้โลกนี้มีความสุข”
  9. “กองธรรมพระศรีอารย์ กองธรรมนำสุข พ้นทุกข์นิพพานัง” ประชาสัมพันธ์ งานไถ่ชีวิต วัว – ควาย ประจำปี ๒๕๕๔ ปีที่ ๒๐ ณ จังหวัดนครพนม (อำเภอศรีสงคราม อำเภอบ้านแพง) วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๔ กองธรรมพระศรีอาร์ยฯขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมในการช่วยชีวิตวัว-ควายที่จะถูกฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์ เพื่อมอบให้เกษตรกรอำเภอบ้านแพง ตำบลนาเข (หมู่ ๒) จังหวัดนครพนม ในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๔ แม้ว่าบ้านเมืองจะตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า ข้าวยากหมากแพง การทำมาหากินฝืดเคือง ผู้คนทุกข์ยากลำบากทั่วทั้งแผ่นดิน แต่งานช่วยชีวิตก็ยังคงดำเนินต่อไป เพราะเราไม่เคยตั้งเป้าว่าปีหนึ่งจะได้เงินบริจาคเท่าไร? ต้องช่วยชีวิตได้กี่ตัว? ดังนั้นใครที่ยังมีความสามารถจะทำได้ และมีความตั้งใจก็ทำต่อไป ใครมีน้อยก็ทำน้อย หรือร่วมอนุโมทนาไป เพราะชีวิตที่จะถูกฆ่า และที่จะรอดก็ยังรอความช่วยเหลืออยู่ เพียงแค่หนึ่งชีวิตก็มีค่ามาก จนไม่มีอะไรเปรียบแล้ว หากสามารถช่วยให้เขารอดได้แบบตลอดรอดฝั่ง ซึ่งนั่นก็คือสิ่งที่ผมได้ทำอยู่และจะพยายามรักษาไว้ตลอดไป การประชาสัมพันธ์ มี ๒ ทางคือ ๑. ส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งมีอยู่ ๑,๗๐๐ รายชื่ออยู่ทั่วประเทศ และต่างประเทศ ๒. ทางอินเตอร์เน็ต นับตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ จนถึงต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ใช้เวลา ๒ เดือนเศษ ก็จะมีการบริจาคผ่านเข้ามาทางบัญชี โดยการผ่านธนาคารและทางธนานัติ และบางท่านก็รวบรวมฝากกันมาให้ถึงสถานที่ทำการกองธรรมพระศรีอาร์ยฯ ผมจะนำเงินบริจาคที่ได้มาซื้อวัว-ควายออกจากโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอศรีสงครามมี ๒ โรง ในปีใหม่คือปี ๒๕๕๔ จะทดลองเปลี่ยนที่ซื้อเป็นโรงฆ่าสัตว์อำเภอใกล้เคียงดูบ้าง ซึ่งก็ต้องไปสำรวจและสืบดูอีกครั้ง ขั้นตอนการไปซื้อออกจากโรงฆ่าสัตว์เป็นจุดสำคัญ (Climax) ของเรื่อง เพราะจะไปเจอวัว-ควายในสภาพและสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นเรื่องที่กดดันจิตใจ ยิ่งไปซื้อในเวลากลางคืน ใกล้เวลาที่เขาจะฆ่าก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันมากขึ้น การจะเข้าไปโรงฆ่าไหนต้องดูขนาดจำนวนวัว-ควายให้มันใกล้เคียงกับเงินที่เรามีอยู่ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่จังหวัดลำปาง ผมเข้าไปในโรงฆ่าสัตว์อำเภอห้างฉัตร ไปเจอวัวพ่อพันธุ์ที่เขาขนมาขาย รูปร่างสวย มันยืนน้ำตาไหลอยู่ตัวเดียวบนรถปิ๊กอั้บที่ขนมา เขาเอามาขายเพราะว่า ให้มันผสมพันธุ์จนอวัยวะเพศอักเสบ แล้วไม่ยอมรักษาเพราะเป็นเรื่องยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง และใช้มันจนคุ้มทุนแล้ว เลยเอามาขายให้โรงฆ่าสัตว์ ผมซื้อออกมาพร้อมตัวอื่นๆและตั้งใจจะรักษามันเต็มที่ไม่ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร? ให้ชาวบ้านเลี้ยงไว้ พยายามติดต่อคณะสัตวแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสัตว์เพื่อทำการผ่าตัด เขาล้มลงนอนอยู่เป็นอาทิตย์ด้วยความทรมาน ไม่ทันได้ผ่าตัดก็ตายเสียก่อน ขณะที่อยู่ในโรงฆ่าไข้ขึ้นสูงตลอด เราก็ได้แต่ให้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ ในที่สุดเขาไม่กินอะไรแม้แต่น้ำ ทนไม่ไหวตายก่อน ซึ่งผมก็รู้สึกโล่งใจ เพราะการตายบางทีคือการปลดปล่อยเขาจากภพเดรัจฉาน หมดเวรเสียที ส่วนเรื่องไปเจอวัวท้องแก่บ้าง ควายแม่ลูกอ่อนจะเข้าสู่โรงเชือด เจอกันเมื่อไรผมก็ไม่เคยปล่อยให้หลุดไปทุกครั้ง จะต้องต่อรองกันจนถึงที่สุด แต่ท่านทั้งหลาย ผมอยากให้ท่านลองเข้าไปนั่งในใจของเขาแล้วคิดว่าถ้าเป็นเรา มันจะรู้สึกอย่างไร? คิดให้ละเอียด ช้าๆ ใช้ความรู้สึกมากกว่าความคิดว่า ถ้าเราถูกกระทำเช่นนั้นจะรู้สึกอย่างไร? สิ่งเหล่านี้มันเหมือนยาเสพติดที่อยู่ในหัวใจของผม เมื่อฤดูแห่งการยื้อชีวิตคือ เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม มาถึง ผมจะรู้สึกว่า ภารกิจของเราเริ่มแล้ว ผู้ที่รอคอยก็กำลังรอคอยอยู่ มันเป็นงานที่สำคัญและยิ่งใหญ่กว่างานทั้งหลายทั้งปวง ที่ผมพร้อมที่จะละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ราคาวัว-ควายทุกวันนี้พุ่งสูงจนน่าตกใจ เป็นเพราะเหตุว่า ทางฝั่งลาวด้านตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหาร คือสุวรรณเขต มีโรงงานผลิตเนื้อกระป๋องส่งไปจำหน่าย ยุโรป อเมริกา จึงมีพ่อค้ามากว้านซื้อ ส่งข้ามแม่น้ำโขงเข้าสู่โรงเชือดนี้ ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นมาก และยิ่งเรามาซื้อในโรงฆ่าสัตว์ ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะมันไม่ใช่ที่ซื้อ มันเป็นที่สำหรับฆ่า เขาจึงโก่งราคาเราเต็มที่ แต่ผมคิดอยู่เสมอว่า เราไม่ได้มาค้ามาขาย เรามาช่วยชีวิต มาฉุดกระชากความเป็นความตาย ซึ่งก็รู้อยู่แก่ใจแล้วว่าต้องเจอสภาพนี้ การต่อรองก็ยังต้องมีอยู่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็มีจุดอ่อนในตัวเองบนเวทีของการต่อรองซื้อชีวิต จุดอ่อนของเราคือความเมตตาสงสาร เมื่อเหยียบเข้าไปในโรงฆ่าใด้แล้วเรื่องไม่ซื้อไม่มี จุดอ่อนของเจ้าของโรงฆ่าสัตว์คือ ความโลภ ราคาที่เขาเสนอมาเราก็รู้ว่าเขาบวกมาเต็มที่ หากเราไม่ตกลง เขาก็เสียดายใจแทบขาด เพราะจะหาคนซื้อแทนเรา ไม่มี ผมยอมรับว่าผมทนไม่ได้ เมื่อเข้าไปแล้วมองเห็นวัว-ควาย แต่ตกลงราคาไม่ได้แล้วเดินออกมา มันเป็นสิ่งที่ทรมานจิตใจ ในบางครั้งบางตัวสื่อความรู้สึกกับเราได้ เขาแสดงออกอย่างชัดเจนเหมือนเป็นคน เช่นหลายปีมาแล้วที่โรงฆ่าสัตว์อำเภอเถิน จังหวัดตาก แม่ควายท้องแก่น้ำตาไหลพรากมาคุกเข่าคู้ขาหน้าลงขอชีวิตเบื้องหน้า ผมแทบไม่เชื่อสายตาตัวเองในภาพที่ปรากฏเบื้องหน้า ลำคอตีบตันเป็นอย่างไร? ก็รู้จักดีในวันนั้นเอง นี่แหละคือเหตุแห่งการเกิดมโนปณิธานที่จะทำงานนี้จนชีวิตจะหาไม่ เรื่องในโรงฆ่าสัตว์มันมีมากเกินกว่าจะพรรณา เราจะพูดแบบสรุปได้ไหมว่า ที่สุดแห่งความชั่วคือการฆ่า ที่สุดของความเลวเท่าที่มนุษย์จะทำได้ เมื่อซื้อแล้วก็ควรรีบขนออกมาให้หมดทันทีจะเป็นการดีที่สุด เพราะหากไปซื้อกลางคืน เช้าท่านจะเจอรุ่นใหม่เข้ามาอีก มีอยู่ครั้งหนึ่งที่โรงเชือดของนายสมาน อำเภอศรีสงคราม เราตกลงซื้อไว้หมดแล้วตอนกลางคืน พอเช้าผมไปขนออก เจอรุ่นใหม่มีควายแม่ลูกอ่อนมา ๑ คู่ ลูกมันอายุประมาณไม่เกิน ๒ เดือน มันยืนชะเง้อมองรถขนควายของเราออกจากคอกในโรงฆ่าจนสุดสายตา ภาพนี้ไม่ได้หลุดสายตา ผมมองเขาอยู่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่มีเสียง ภายนอกนั้นเงียบงัน แต่ภายในใจนั้นดังโครมคราม ผมขนจนเสร็จแจกเรียบร้อย ขับรถกลับกรุงเทพฯเย็นนั้น ภาพแววตาควายแม่ลูก สองตัวนั้นตามรบกวนผมตลอดการเดินทาง จนเมื่อเวลาประมาณ ๔ ทุ่มเศษ ผมขับรถถึงอำเภอปากช่อง ผมทนความรู้สึกที่เสียดแทงจิตใจนี้ไม่ได้อีกต่อไป จึงโทรศัพท์หาอาจารย์สมานชัยกลางดึก ปลุกเขาขึ้นมาแล้วขอให้ช่วยไปเจรจาซื้อควายแม่ลูกคู่นี้ในวันรุ่งขึ้น เราช่วยได้แต่ลูกของมัน แม่มันไปเสียตั้งแต่คืนนั้นแล้ว ผมต้องการจะโอบเขาทั้งสองมือ แต่บางครั้งมันก็อยู่ปลายมือ กรรมได้ลิขิตไว้เช่นนั้น นี่คือเรื่องของการซื้อวัว-ควาย เมื่อผ่านขั้นตอนนี้มาแล้วก็มาสู่การแจกชาวบ้านที่ได้รับการคัดเลือกในด้านของความซื่อสัตย์และความพร้อมที่จะดูแล เช่น คอก สถานที่เลี้ยง คนเลี้ยง เป็นต้น สิ่งที่เป็นปัญหาที่ต้องมาจัดการคือ วัว-ควายที่เราซื้อมาจากโรงฆ่าก็มีทั้งวัว-ควายแก่ เป็นหมัน ป่วย ดุ ดื้อเลี้ยงยาก ตัวผู้ เป็นต้น ซึ่งเวลาเราซื้อเราไม่มีคำว่าเลือก ทุกชีวิตมีค่าหมด ส่วนใหญ่เป็นประเภทที่มนุษย์ผู้มีใจสูงทั้งหลายไม่ต้องการ ส่วนผู้รับนั้นเล่า ใครก็อยากได้ แต่ควายตัวเมียที่ยังเป็นสาวไม่เป็นหมัน เป็นแม่พันธุ์ที่ดีพร้อมจะตกลูกให้ทุกปีจะได้มีรายได้ หากไม่ท้องตามธรรมชาติก็หาวิธีผสมเทียมจนท้อง ส่วนตัวผู้และทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมา ไม่มีใครอยากได้ ซึ่งต้องมาแก้ปัญหากันต่อไป เช่น ใครได้ตัวผู้ หรือตัวเมียเป็นหมัน ปีหน้าแถมตัวเมียสาวๆให้หนึ่งตัว บางทีถึงขนาดต้องจ้างเลี้ยงกันเป็นปี เช่น วัวแก่, วัวตัวผู้ เป็นต้น ก่อนแจกก็ต้องเซ็นสัญญาระหว่างผู้ให้ผู้รับ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ตัวเมียแม่ + ลูกตัวที่หนึ่ง หรือ คู่แรกอาจมีตัวผู้ด้วย + ลูกตัวที่หนึ่ง ผู้รับต้องเลี้ยงไปจนตลอดชีวิต ห้ามฆ่า ห้ามขาย เป็นต้น และทำการฝังไมโครชิฟที่บริเวณด้านซ้ายใต้ผิวหนังช่วงคอ และบันทึกตัวเลขไมโครชิพไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นประวัติวัว-ควายไปพร้อมกัน และเป็นสิ่งจำเป็นในการติดตามผลการตรวจสอบจำนวน การไปตรวจเยี่ยม นอกจากไปตรวจดูจำนวนว่าครบไหม? เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่า เพราะเคยปรากฏว่าแอบเอาตัวใหญ่ไปขาย แล้วซื้อตัวเล็กมาแทน จะดูจำนวนอย่างเดียวไม่ได้ เวลาไปตรวจเยี่ยมต้องเอาแพทย์อาสาไปด้วย พบเจ็บป่วยต้องรักษา โรคที่พบบ่อยคือ โรคพยาธิ ท้องอืด เท้าเปื่อย เขาก็เจ็บป่วยเป็นทุกข์เหมือนเรา แต่พูดไม่ได้ ยาของเขามีอย่างเดียวคือ ทน ทน ทน ไปเจอบางคอกไม่มีหลังคา ก็ต้องเจรจาให้แก้ไข ท่านลองคิดดูว่าเวลาฝนตก วัวควายถูกผูกไว้ยืนตากฝนทั้งคืน มันจะเป็นอย่างไร? ทำอย่างไรก็ให้ได้เจอแบบนั้นแหละ เรียกว่า กฎแห่งกรรม เกิดไปภพหน้าฉันใด บุคคลเหล่านี้ไม่มีที่หลบแดดหลบฝน เป็นทุกข์เดือดร้อนตลอดไป สำหรับการตรวจเยี่ยมครั้งสุดท้ายที่ผมเดินทางไป เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ใช้เวลา ๖ วัน ได้รับความสำเร็จ ผมรู้สึกปลื้มใจ ดีใจ ไม่ต้องให้ใครมามอบรางวัล เพราะพบว่าพวกเขามีความสุข เห็นวัว-ควาย ๒ ตัวแม่ลูกนอนชะเง้อคออยู่ในสระน้ำหลังอาคารเรียนโรงเรียนบ้านเอื้องก่อนาดี มองดูผมอย่างมีความสุข รู้สึกเป็นสุขที่ช่วยเขาได้จริง ทุกจุดที่ไปตรวจอยู่ครบเรียบร้อยดี สะดวกสบายไม่เท่ากันตามวาสนาของใครของมัน การติดตามผลกับการติดตามปัญหาเป็นงานเดียวกัน ไม่มีวันจบสิ้น ไม่เกิน ๓ เดือนก็ต้องตรวจเยี่ยมกันครั้งหนึ่ง นี่แหละที่เรียกว่ายาก เงื่อนไขสำคัญที่รักษาชีวิตไว้ได้คือสิ่งนี้ หากเราทอดทิ้งให้เขาแก้ปัญหากันเอง ผู้รับก็จะกล้าขายวงเวียนชีวิต วัว-ควายก็จะเข้าสู่วงจรเดิมคือ เข้าไปอยู่ในโรงฆ่าตามเดิม วัว-ควายของเราเวลานี้มีอยู่ใน ๑๗ โรงเรียน ๖ อำเภอของจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่ในการดูแลของสำนักงานเขตการศึกษาเขต ๒ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และอีก ๖ หมู่บ้าน อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม คือ หมู่ ๑ – หมู่ ๖ ปี ๒๕๕๔ นี้จะปล่อยวัวควายให้หมู่ ๒ ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนมเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีความพร้อม และประสานงานง่ายสะดวกในการตรวจสอบ และสำหรับการไถ่ชีวิตปี ๒๕๔๔ ที่จะถึงนี้ จะมีการแจกทุนการศึกษาให้นักเรียนโรงเรียนบ้านเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนมด้วย การที่ผมสามารถช่วยชีวิตเขามาได้ก็ดี สามารถติดตามดูแลจนพวกเขามีชีวิตรอดมีความสุข และการที่ได้ช่วยผู้ด้อยโอกาศที่ได้รับประโยชน์จากวัว-ควายก็ดี เป็นเพราะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านในหลายด้าน โดยเฉพาะการบริจาคเงิน “บุญใด กุศลใด อันเกิดขึ้นในครั้งนี้ ขอทุกท่านที่มีส่วนร่วมและช่วยเหลือผลักดัน จงมีส่วนในอานิสงค์นี้ ให้เห็นผลทันตา หากความเกิดยังมีอยู่เพียงใด ขอให้เกิดทันศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย์ด้วยเทอญ” การประชาสัมพันธ์จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป และจะรวบรวมเงินต้นเดือนมีนาคมเดินทางไปซื้อ ในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๔ ที่จังหวัดนครพนม จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ท่านใดต้องการปกป้องชีวิตจากการฆ่าปลดปล่อยพวกเขาสู่อิสรภาพให้มีชีวิตใหม่ที่มีความสุขและได้รับการดูแลตลอดไป ร่วมบริจาคได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๔ โอนเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอโศก ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 032-2-58355-6 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย์ โทร 0-2261-1313, 08-0613-3397 โทรสาร 0-2261-1313 หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสุขุมวิท 23 ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 204-1-19819-5 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย์ โทร 0-2261-1313, 08-0613-3397 โทรสาร 0-2261-1313 หรือ สั่งจ่ายธนาณัติ นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล 18/6 ซอยสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 ปณ. ประสานมิตรเท่านั้น หลังจากการไถ่ชีวิตโค-กระบือ จะมีการรายงานผลถึงจำนวนวัว-ควาย ยอดเงินบริจาค ปัญหา อุปสรรค และรายละเอียดค่าใช้จ่ายอีกครั้งเช่นที่ทำมาทุกปี “กองธรรมพระศรีอารย์ ปรารถนาให้โลกนี้มีความสุข” รายชื่อผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1. อ.สมานชัย สุวรรณอำไพ ผู้ประสานงาน 089-710-9953 2. อ.ศิริศักดิ์ หาดทวายกาญจน์ รองผอ.สำนักงานเขตการศึกษา เขต ๒ จังหวัดนครพนม 081-973-6574 3. นายพิภพ เรือนหลวง สัตวแพทย์อาสา 083-347-9027, 087-305-9929 4. นายโง่น เจ้าของโรงฆ่าสัตว์ 081-675-3787 5. นายสมาน เจ้าของโรงฆ่าสัตว์ 081-369-3755 6. นางประหยัด นันทเสน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๒ ตำบลนาเข 086-019-0817
  10. “กองธรรมพระศรีอารย์ กองธรรมนำสุข พ้นทุกข์นิพพานัง” องค์กรเอกชนเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาและสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์และสัตว์โลกที่ประสบเคราะห์กรรม รายงานผลการไถ่ชีวิตโค-กระบือ ประจำปี ๒๕๕๓ (ปีที่ ๑๙) ปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่รายงานผลล่าช้าออกไป ซึ่งผมเองรู้สึกกังวลใจ เนื่องด้วยมีเหตุจำเป็นหลายประการ ซึ่งจะได้เล่าให้ผู้บริจาคทุกคนได้ทราบ คือหลังจากต้นเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่กำหนดไว้ว่าจะรวบรวมเงินบริจาค เพื่อนำไปซื้อวัว-ควายจากโรงฆ่าสัตว์มอบให้กับโรงเรียนที่ยื่นความจำนงมาว่าต้องการวัว-ควายซึ่งมีอยู่ประมาณ 10 โรงเรียน ผมได้ประสานไปยัง อ.สมานชัย สุวรรณอำไพ ณ สำนักงานพื้นที่การศึกษาเขต 2 จังหวัดนครพนม แต่ได้รับแจ้งว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่โรงเรียนกำลังสอบประจำปี และจะเปิดเทอมวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 จึงจำเป็นต้องรอ ในระหว่างนั้นก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับเหตุการณ์ในบ้านเมืองเกิดความไม่สงบ ซึ่งอาจลุกลามใหญ่โต จึงรอดูเหตุการณ์ว่าจะไปในทางใด เพราะเมื่อเรามอบทางโรงเรียนไปแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การติดตามตรวจสอบ หลังจากนั้นต้นเดือนมิถุนายน 2553 ผมจึงได้เดินทางไปประชุมร่วมกับบรรดาผู้บริหารโรงเรียนต่างๆที่ได้รับวัว-ควายไปตั้งแต่ปีก่อน และตรวจเยี่ยมคราวเดียวกัน จึงได้ทราบปัญหาหลายอย่าง มีอยู่ประมาณ 5-6 โรงเรียนที่ต้องการคืน วัว-ควายที่รับไปรวมแล้ว 25 ตัว จึงต้องหาสถานที่ดูแลสัตว์เหล่านี้ ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว โดยความร่วมมือของสัตวแพทย์อาสาในพื้นที่ช่วยคัดเลือกชาวบ้านที่รักสัตว์ มีความประพฤติดีและยอมรับกติกาของเราคือ จะไม่ขายหรือฆ่าตัวแม่หรือพ่อพันธ์ที่ได้รับไป พร้อมทั้งลูกที่จะเกิดใหม่ตัวแรกให้เลี้ยงไปตลอดชีวิต ส่วนตัวที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดจากแม่พันธ์ที่เรามอบให้ เป็นสิทธิของเขา เป็นการตอบแทนที่เขาเลี้ยงดู วัว-ควายให้เรา ชาวบ้านดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ ต.นาเข อ.บ้านแพง จ.นครพนม ซึ่งทุกคนต้องเซ็นสัญญา ตามข้อตกลงกับผม โดยมีสัตวแพย์อาสาและผู้ใหญ่บ้านเป็นพยาน และทุกตัวฝังไมโครชิพ กรณีดังกล่าวเป็นเหตุให้ผมต้องหยิบปัญหาการมอบให้โรงเรียนมาทบทวน ซึ่งวิตกกังวลว่า หากมอบให้ทางโรงเรียนอาจจะเกิดกรณีขอคืนขึ้นอีก ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก อีกประการ การมอบให้ทางโรงเรียน เรามีภาระผูกพันที่จะต้องมอบทุนการศึกษาโดยคิดตามจำนวนวัว-ควายตัวละ 1,000 บาท/ปี โรงเรียนละอย่างน้อย 2 ปี เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร ขณะเดียวกัน ผมก็ยังคงต้องติดตามตรวจสอบ ดูแลเช่นกัน 2-3 เดือน/ครั้ง ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯไปนครพนม ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน จึงตัดสินใจยุติการมอบให้กับบรรดาโรงเรียนต่างๆไว้ก่อน นอกจากโรงเรียนใดที่เราพิจารณาแล้วไปตรวจเยี่ยมดูแล้วว่า มีความพร้อมจริงๆ ปัญหาที่เกิดจากโรงเรียนส่วนใหญ่ เกิดจากการเปลี่ยนตัวผู้บริหารคนใหม่ไม่มีนโยบายเลี้ยงสัตว์ หรือผู้บริหารขาดความเอาใจใส่ เวลาต้องการไม่พิจารณาถึงความพร้อมขององค์กร เช่น ภารโรงมีหรือไม่ ดูครูคนอื่นในโรงเรียนเห็นด้วยไหม? หรือพอเข้าหน้าแล้งอาหารคือ หญ้าไม่พอให้วัว-ควายกิน เป็นต้น ซึ่งทำให้เราต้องหันกลับมาหาชาวบ้านอีกครั้ง ในความสังเกตุของผม อุปนิสัยใจคน ชาวบ้านในภาคอีสานก็แตกต่างจากภาคเหนือ ขณะเดียวกันเราก็พยายามทำให้รัดกุมที่สุด เมื่อเราได้พยายามที่จะปกป้องชีวิตเขาจนสุดความสามารถแล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราก็ไม่รู้สึกเสียใจที่บกพร่อง ไม่ว่าเราจะทำวิธีใดก็ย่อมมีปัญหา มีอุปสรรคมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากเรายังยืนยันที่จะทำต่อไป ในความคิดเห็นของผม การมีที่ดินของตนเองแล้วเลี้ยงเองเป็นวิธีที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด แต่ค่าใช้จ่ายเรื่องที่ดินเป็นค่าใช้จ่ายที่เกินกำลังในปัจจุบัน ในการประสานกับชาวบ้านโดยตรงก็ควรมีวิธีการที่จะทำให้โครงการยั่งยืนเสริม เพื่อดึงให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมกับเรา เนื่องจากว่า เรื่องวัว-ควาย หรือการช่วยชีวิตนี้ ผมตั้งใจว่าจะทำไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ดังนั้น จึงถือโอกาสแจ้งให้ทุกคนที่ร่วมบริจาค พร้อมทั้งขออนุญาตที่จะนำเงินส่วนหนึ่งของการบริจาคในแต่ละปี ปีละไม่เกิน 15-20% มาทำโครงการช่วยชาวบ้านที่ร่วมมือกับเราในการรับวัว-ควายของเราไปดูแล ซึ่งผมจะได้ชี้แจงให้ทุกท่านทราบอย่างละเอียดในรายงานผลแต่ละปี และสามารถตรวจสอบได้ ดังนั้น เมื่อการแก้ปัญหาและคืนวัว-ควายของโรงเรียนต่างๆลุล่วงไป ปีนี้ได้รับบริจาคประจำปี 2553 นี้ ยอดเงินที่ได้รับทั้งสิ้น 514,715 บาท (ห้าแสนหนึ่งหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยสิบห้าบาทถ้วน) จึงได้นำมาซื้อวัว-ควายมอบชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ ต.นาเข อ.บ้านแพง จ.นครพนม เพราะสะดวกในการติดตามตรวจสอบ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เดียวกันวัว-ควายที่ได้รับคืนจากโรงเรียนต่างๆ การไถ่ชีวิต วัว-ควายที่จะได้ผลก็เพราะมีการติดตามและตรวจสอบ จึงจะช่วยชีวิตได้จริง ซึ่งเป็นภาระที่ใหญ่ แต่เมื่อตัดสินใจว่าจะทำแล้วก็ควรทำให้ถึงที่สุด มิฉะนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการหลอกคนบริจาคว่าได้ช่วยไถ่ชีวิตวัว-ควายจากโรงฆ่าสัตว์แล้ว ขณะเดียวกันก็เหมือนหลอกวัว-ควายว่า เขาจะรอดชีวิตแล้ว เพราะหากไม่มีการติดตามและฝังไมโครชิฟ วัว-ควายทุกตัวจะถูกวนเข้าไปในโรงฆ่าสัตว์อีกแน่นอน เนื่องจากปัจจุบันไม่มีการไถนาด้วยควายแล้ว เขาเลี้ยงเพื่อเข้าตลาดนัด โค-กระบือ และมุงหน้าเข้าโรงฆ่าสัตว์ทุกตัว สัตว์ทุกตัวเขารู้ แม้พูดไม่ได้ เพราะอากัปกริยาเมื่อออกมาจากโรงฆ่าสัตว์ มาสู่ทุ่งนาจะต่างจากเดิมที่มีความเศร้าซึม บางตัวมีน้ำตาไหลตลอดเวลา แต่มาถึงทุ่งนา เขาจะมีการกระดิกหาง กระดิกหู สะบัดหางไปมา นอนเกลือกเล่นกับหนองน้ำ เดินเล็มหญ้าอย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นผมจึงต้องการช่วยให้พวกเขารอดจากการถูกฆ่าจริงๆ การเกิดมาเป็นสัตว์เดรัจฉานถือว่าเป็นเพศที่อาภัพ แม้ว่ายังดีกว่าสัตว์นรก เปรต อสุรกาย ทุกครั้งที่ขนวัว-ควายขึ้นรถ พวกเขาจะถูกต้อนทุบตี มัดจนหน้าเชิด เบียดเสียดไปบนรถ ผมขับรถตามพวกเขาไปเป็นระยะเวลาหลายสิบกิโลเมตร มันต้องยืนเงยหน้าไปกลางแดด โดยไม่มีสิทธิปริปากบ่น บางตัวทนไม่ไหวก็ล้มลงเหยียบกันเอง เชือกบาดจมูกฉีกเลือดไหลโกรกกลางแดดบางตัวท้องแก่ใกล้คลอด ก็อยู่ในสภาพที่ไม่ต่างกัน ทำให้นึกถึงมนุษย์ด้วยกันว่า คติท่านทั้งหลายก็ยังไม่แน่นอน เมื่อละจากอัตภาพนี้ คือตาย จะไปสู่ภพใด ท่านได้เตรียมตัวกันมากน้อยแค่ไหน ชีวิตหลังความตายรออยู่ ถ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ เพราะไม่ว่าจะยากจนข้นแค้นสักแค่ไหน ก็ยังมีกฎหมายรองรับ คุ้มครอง ต่างกับสัตว์ที่สุดแท้แต่มนุษย์จะเมตตา ซึ่งก็ไม่ต้องไปหวัง คนด้วยกันยังเข่นฆ่ากันกลางวันแสกๆ กลางเมืองหลวง ตายเป็นร้อยๆศพ นับประสาอะไรกับสัตว์ ความเป็นลาภอันประเสริฐนั้น จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อ มนุษย์ผู้นั้นรู้จักใช้โอกาสของความเป็นมนุษย์ให้เป็น มิฉะนั้นท่านก็สามารถสร้างบาปอันมหันต์ที่ไม่มีสัตว์โลกชนิดใดทำได้เท่า นับแต่ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน ฆ่าพ่อแม่ผู้มีพระคุณ เป็นต้น ท่านทั้งหลาย บุคคลทั้งหลายเมื่อจะตาย ไม่มีใครรู้ เรารู้วันเกิด ไม่รู้วันตาย คนที่ออกจากบ้านมาตอนเช้า แล้วมาประสบอุบัติเหตุโดนรถชนก็ดี จมน้ำก็ดี ถูกฆ่า ถูกทำร้ายก็ดี ไม่มีมนุษย์ตนใดจะรู้ล่วงหน้า เมื่อรู้ก็สายเสียแล้ว ความเป็นมนุษย์ คือ ผู้มีโอกาศ โลกนี้คือโลกแห่งโอกาศ ขณะเดียวกันก็เป็นแดนทุรกันดาร จึงเรียกว่า วัฏฏสงสาร ท่านลองพิจารณาดูจากอายุของท่านว่า เหลือเวลาอีก กี่ปี กี่เดือน กี่อาทิตย์ กี่วัน? ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ในโลกนั้น และคติที่หมายของท่านนั้นคือที่ใด? สิ่งที่ท่านได้ร่วมกันทำ เรียกว่า ทานปรมัตถ์ เป็นการให้ที่สูงสุด คือการให้ชีวิตเป็นทาน โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ เช่น วัว-ควาย มีอานิสงค์มาก ท่านให้สิ่งใด ท่านได้รับสิ่งนั้น ที่ว่าเป็นทานอันสูงสุดก็เพราะว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นของสูง เป็นของผู้ซึ่งมีสติปัญญา ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา ผู้จะเข้าถึงได้ต้องเคยสั่งสมอบรมปัญญามาในกาลก่อน ใช่ว่าให้แล้วจะรับได้ทุกคน จะให้ใครก็ได้ “ดังนั้น ด้วยอำนาจของทานนี้ และบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้สั่งสมมาตลอดทุกภพทุกชาติ นับแต่ก่อนปรารถนาพระโพธิญาณและนับแต่ปรารถนาพระโพธิญาณ จนกระทั่งปัจจุบันวันนี้ ขอตั้งจิตอธิษฐานให้ท่านทั้งหลายทุกรูปทุกนามที่มีส่วนร่วมในครั้งนี้ จงอย่าได้มาเกิดเป็นวัว-ควายอีกเลย หากความเกิดยังมีอยู่เพียงใด ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ จงได้พบกับศาสนาพระศรีอาริยเมตตไตรย์ด้วยเทอญฯ” จนกว่าจะพบกันอีก กองธรรมพระศรีอารย์ ปรารถนาให้โลกนี้มีความสุข รายงานค่าใช้จ่าย และยอดรับบริจาค งานไถ่ชีวิตโค-กระบือ ปี 2553 รวมยอดบริจาค 2 บัญชี ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2553 = 514,715 บาท รายจ่าย 1. โรงฆ่าสัตว์ นายอดุลย์ สริมสายันต์ 081-369-3755 ควาย 3 ตัว (ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 2 ตัว) วัว 3 ตัว (ตัวเมีย 3 ตัว) ราคา 78,000 บาท (วันที่ 6 กรกฎาคม 53) อ. ศรีสงคราม 2. โรงฆ่าสัตว์ นายโง่น อ. ศรีสงคราม ควาย 1 ตัว วัว 1 ตัว ราคา 27,000 บาท (วันที่ 6 กรกฎาคม 53) โรงฆ่าสัตว์ นายโง่น (วันที่ 16 มิถุนายน 53) วันดังกล่าวเป็นการไปประชุมร่วมกับโรงเรียนที่ต้องการคืนควาย 25 ตัว และไปตรวจเยี่ยม แต่บังเอิญผ่านโรงฆ่าสัตว์เห็น 2 แม่ลูกรอเข้าที่เชือดเลยซื้อไว้) ควาย แม่ลูก 1 คู่ ราคา 17,000 บาท 3. จากคอกนายธำรงค์ นาวนาง (วันที่ 6 กรกฎาคม 53) 337 หมู่ 7 ต. ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม 082-224-2612 ควาย จำนวน 13 ตัว ราคา 150,000 บาท 4. วัวพันธ์บรามันส์ ที่กิ่งอำเภอ ลำสนธื อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ดาบตำรวจ จิระพันธ์ คนมิดามี เป็นผู้ประสานงาน 081-926-8969 วัว แม่ลูก รวม 2 ตัว เป็นเงิน 19,100 บาท 5. ค่ารถขนควาย 2 เที่ยว (6 กรกฎาคม 2553) เป็นเงิน 5,000 บาท 6. ค่าสัตวแพย์นำทาง (วันที่ 6 กรกฎาคม 53 และ 13 กรกฎาคม 53) ครั้งละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 7. ค่าขนควาย 16 มิถุนายน 53 (3 คัน) เป็นเงิน 8,500 บาท 8. ค่าเดินทางไปประชุมร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนที่ขอคืนวัว-ควายและตรวจเยี่ยม (15 มิถุนายน 53) = 8,900 บาท 9. ค่าเดินทางไปดำเนินการซื้อวัว-ควาย ประจำปี 53 และค่าที่พัก (วันที่ 5 กรกฎาคม 53) = 9,800 บาท 10. ทุนการศึกษา 16 โรงเรียน = 72,000 บาท (ให้เป็นปีสุดท้าย เพราะทุกโรงเรียนจะได้ควายลูกตัวที่ 2 ตอบแทนแล้ว) 11. สนับสนุนคอกควาย โรงเรียนบ้านขว้าง คลีชูชาติ (18 ตัว) = 1,700 บาท 12. มอบ อ.สมานชัย สุวรรณอำไพ เป็นค่าติดต่อประสานงาน และดูแลวัว-ควาย 16 โรงเรียน = 7,000 บาท 13. ค่าพิมพ์ใบประชาสัมพันธ์ ไถ่ชีวิตวัว-ควาย ประจำปี 2553 จำนวน 4,500 ชุด + ค่าส่ง ในและต่างประเทศ = 4,725 + 7,600 รวมทั้งสิ้น = 12,325 บาท 14. ค่ารายงานผล 2,500 ชุด + ค่าจัดส่ง ไปรษณีย์ ในและต่างประเทศ 2,600 + 7,600 บาท = 10,200 บาท รวมยอดค่าใช้จ่าย = 445,825 บาท คงเหลือเงิน = 68,890 บาท เงินที่เหลือในบัญชี คงซื้อวัว-ควายได้อีก 1 คู่ ส่วนที่เหลือใช้ในการติดตามผล ซึ่งจะต้องเดินทาง 2-3 เดือนครั้ง พงษ์ชัยทัศน์ (ธวัชชัย) วณิชย์กุล 18/6 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร. 02-258-4235 มือถือ 08-1614-9382 โทรสาร. 02-261-1313 - ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอโศก ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 032-2-58355-6 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย - ธนาคารกรุงศรอยุธยา สาขาสุขุมวิท 23 ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 204-1-19819-5 ชื่อบัญชี นายพงษ์ชัยทัศน์ วณิชย์กุล เพื่อกองทุนพระศรีอริยเมตไตรย
×
×
  • สร้างใหม่...