ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ส้มโอมือ

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    5,036
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    15

วันที่ ส้มโอมือ ชนะครั้งล่าสุด ตุลาคม 5 2013

ส้มโอมือ ได้รับการถูกใจในเนื้อหามากที่สุด

คะแนนนิยม

4,910 ดีขั้นเทพ

เกี่ยวกับ ส้มโอมือ

  • คะแนนนิยม
    ขาใหญ่

Profile Information

  • เพศ
    ชาย
  • ที่อยู่
    กรุงเทพมหานคร

ผู้เยี่ยมชมโปรไฟล์ล่าสุด

บล็อคผู้เยี่ยมชมเมื่อเร็วๆนี้ถูกปิดการใช้งานและไม่ถูกแสดงกับผู้ใช้งานอื่น

  1. ขอบคุณครับ แต่ข้อมลใหม่ดูเหมือนว่าจะต่างจากเดิมครับ ข้อมูลวันนี้จะเป็นแบบสูงกว่ากราฟครับ
  2. สรุปการขึ้นของโลหะเงินในครั้งแรกนั้น ไม่ได้ขึ้นเพราะเป็นโลหะเงิน แต่ขึ้นที่มีมหาเศรษฐีใหญ่มาปั่นครับ
  3. การลงทุนครั้งที่ขาดทุนมากที่สุดในชีวิตของผม ---การลงทุนครั้งที่ขาดทุนมากที่สุดของผมคือการลงทุนในโลหะเงิน ช่วงที่ผมกำลังลงทุนทองคำแบบมีกำไรสะสมมาเรื่อยๆนั้น ----เริ่มมีการพูดถึงโลหะเงิน ราคาโลหะเงินเริ่มออกตัวเเรง พุ่งไว พุ่งแรง ----มีคนเอาข้อมูลโลหะเงินมาเผยแพร่ อ่านแล้วตื่นตาตื่นใจกว่าทองมากมาย ----ทองมีช่วงราคาพุ่งแรงแบบทุกคนต้องอิจฉาอยู่2ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ40กว่าปีก่อนทองไปถึง850เหรียญก่อนทองโดนทุบหนัก(โลหะเงินไปถึง50 เหรียญ) -----ตอนทึ่ผมเริ่มศึกษาเรื่องโลหะเงิน โลหะเงินอยู่ที่32เหรียญ(รอบนี้ไปถึงประมาณ49แล้วก็โดนฆ้อนปอนด์หลายอันช่วยกันทุบ ในเวลาไม่กี่วันออกกฏเพิ่มเงินสำรองสำหรับการซื้อขายโลหะเงินหลายรอบมาก ราคาโลหะเงินย่อยยับมาถึงวันนี้) แต่ทองข้ามเส้น850เหรียญไปไกลมาก น่าจะอยู่ประมาณ1500เหรียญ ความโลภเริ่มเกิดทันที -----มีคนเคยบอกว่าจะลงทุนในหุ้นตัวไหน ต้องตอบทุกย่างเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นได้เกิน90%(จำตัวเลขไม่ได้ น่าจะประมาณนี้) -----ผมหาข้อมูลมาเก็บไว้เยอะมาก ทุกอย่างไปทิศเดียวกัน(ข้อมูลอาจมาจากจุดเดียวกันแล้วกระจายไป หลายทิศหลายทาง ผมค้นหลายทางก็ได้ข้อมูลเดียวกัน) พูดกันว่าโลหะเงินที่ขายกันตอนนี้ ราคาถูกกว่าต้นทุนมากมาย เจอผู้รู้ที่เก่งเรื่องทองคำก็จะสอบถามถึงโลหะเงินได้คำตอบว่า ตัวนี้น่าสนใจและมีอนาคต คนที่เก่งTAก็บอกว่าจากกราฟราคาไปสวยมากๆ ----คำถามสำคัญสุดคือทำไมโลหะเงินถึงยังไม่ขึ้น ----คำตอบจากทุกทิศเหมือนกันเลย ศัตรูของทองคำและโลหะเงินคือดอลลลาร์และอเมริกา พวกเขากดโลหะเงิน ----ในตลาดซื้อขายตราสารอนุพันธ์ล่วงหน้า สัญญาแทงว่าโลหะเงินจะลงมีจำนวนมหาศาล คน จำนวนมากพูดว่าถ้าถึงวันหมดสัญญา แล้วลูกค้าฝั่งซื้อเลือกรับเป็นของจริงกันเยอะมากๆ พังๆแน่ ราคาโลหะเงินจะขึ้นแรง ----คนที่ซื้อสัญญาว่าโลหะเงินจะลง ส่วนมากคือพวกธนาคาร(ลูกน้องอเมริกาแบะดอลลาร์) คนที่ซื้อสัญญาว่าโลหะเงินจะลงมากสุดและก้อนมหาศาลมากคือ เลย์แมนบาร์เธอร์ ----ช่วงที่เลย์แมนล้ม มีธนาคาร มารับช่วงสัญญาโลหะไป มีบางคนบอกว่าถ้าหาคนมารับช่วงไม่ได้ ราคาจะทะยานขึ้นเป็น100% ในช่วงเวลาแค่ข้ามคืน ------------------------------------- ความจริงที่ผมมาเจอทีหลังและไม่มีคนพูดถึง 1)40กว่าปีก่อนที่โลหะเงินขึ้นไปแรงนั้น ไม่ใช่การขึ้นโดยธรรมชาติเหมือนทอง มีคนปั่นราคาเงิน ----ทอง มีกฏหมายห้ามการปั่นทอง แต่ทองก็ยังขึ้นไปถึง850เหรียญ ----พี่น้องตระกูลฮันซ์ซึ่งรวยมากๆ อยากปั่นราคาทองแต่ผิดกฎหมาย แต่ไม่มีกฎหมายห้ามปั่นราคาโลหะเงิน 2คนพี่น้องเลยปั่นราคาโลหะเงินอย่างหนัก .สร้างกำไรมหาศาล แต่สุดท้าย2พี่น้องก็พ่ายแพ้แบบหมดเนื้อหมดตัว)
  4. เทคนิคช่วยนี้ เหมาะมากกับนักเรียน นิสิตและนักศึกษา
  5. ส้มโอมือ

    SeminarThaiGOLD4

  6. ประธานรอธส์ไชลด์อินเวสต์เมนท์เตือนนโยบายQEกำลังถูกทดสอบครั้งใหญ่
  7. ที่เคยฟังมา ฝ่ายที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบอกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินถูกสุด ถ้าข้อมูลข่าวนี้จริงและดำเนินการได้จริง ถ้าแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันยังต้องใช้โลหะเงินเหมือนที่ผ่านมา ราคาโลหะเงินจะไปที่ราคาไหน เมื่อดูไบและเยอรมนีประมูลไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มได้ราคาต่ำกว่าผลิตจากถ่านหิน โดย ประสาท มีแต้ม 3 กรกฎาคม 2559 14:56 น. ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแหละครับว่า โลกเรานี้เปลี่ยนเร็วมากจริงๆ แม้ตัวผมเองซึ่งได้ติดตามนโยบายพลังงานหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศเยอรมนี ยังได้ตกข่าวนี้เลยครับ โชคดีที่มีเพื่อนคนหนึ่งในเฟซบุ๊กได้โพสต์ขึ้นมา ผมจึงค้นคว้าเพิ่มเติมและขอนำมาเล่าสู่กันฟังพร้อมเอกสารอ้างอิง ที่ว่าโลกเราเปลี่ยนเร็วมากก็เพราะว่า รัฐบาลประเทศเยอรมนีซึ่งได้สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจังมาตั้งแต่ ปี 2543 โดยวิธีการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มในราคากลางปี 2558 ที่อัตรา 3.40 บาทต่อหน่วยโดยไม่จำกัดจำนวน (ในขณะที่ประเทศไทยเรารับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มในราคา 5.66 บาทและจำกัดอยู่กับบางบริษัท ในราคานี้มาตั้งแต่ปี 2557และไม่ยอมรับซื้อจากหลังคาบ้านของอยู่อาศัย) มาวันนี้ประเทศเยอรมนีได้ปรับมาเป็นการประมูลแล้ว นับถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ได้ประมูลมา 4 ครั้งแล้ว (ดังแผ่นภาพ) ผู้ชนะการประมูลในครั้งที่ 4 ขนาด 128 เมกะวัตต์ได้เสนอราคาต่ำสุดเฉลี่ยที่ 2.90 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า ที่ว่าผมตกข่าวก็ตรงเรื่องการประมูลนี้แหละครับ และเป็นการประมูลครั้งที่ 4 แล้ว ในขณะที่เพื่อนผมได้โพสต์การประมูลครั้งที่ 3 เอกสารที่ผมนำมาอ้างถึงเป็นขององค์กรระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยมีหน่วยงานย่อยที่ชื่อ “องค์การพลังงานสากล (IEA)” ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2517 ซึ่งเป็นปีที่ราคาน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศโอเปกได้ขึ้นราคาไป 3-4 เท่าตัวในเวลาปีเดียว ไม่เพียงแต่ประเทศเยอรมนีประเทศเดียวที่ใช้วิธีการประมูล แต่มีหลายประเทศครับ เช่น กรีซ อินเดีย อาร์เจนตินา และออสเตรเลีย เป็นต้น ในแผ่นภาพนี้ เมืองดูไบก็ใช้วิธีการประมูลขนาด 800 เมกะวัตต์ ผู้ชนะการประมูลเสนอราคา 1.05 บาทต่อหน่วยซึ่งถือว่าเป็นราคาต่ำที่สุดในโลก ผู้เสนอราคาสูงสุดในการประมูลครั้งนี้เท่ากับ 1.58 บาทต่อหน่วยซึ่งก็แพ้ไปตามระเบียบ (IEA อ้างข้อมูลจาก PV Magazine 2 พ.ค. 2559) เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มีเวลาครุ่นคิด ท่านลองเอาใบเสร็จค่าไฟฟ้ามาดูซิครับว่า ท่านได้จ่ายค่าไฟฟ้าอยู่ในราคาเท่าใด และเพื่อให้เราได้เห็นแนวโน้มของราคา ผมขอย้อนไปดูราคาผู้ชนะการประมูลของประเทศเยอรมนี 3 ครั้งที่ผ่านมา การประมูลครั้งที่ 3 เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2558 ขนาด 200 เมกะวัตต์ ผู้ชนะการประมูลเสนอขายไฟฟ้าราคา 3.03 บาทต่อหน่วย สูงกว่าครั้งที่ 4 ถึง 13 สตางค์ต่อหน่วย โดยมีผู้เข้าประมูล 170 บริษัท สำหรับครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม มีผู้เข้าประมูล 136 ราย ผู้ชนะการประมูลเสนอราคาขายไฟฟ้า 2.98 บาทต่อหน่วย (ต่ำกว่าครั้งที่ 3) ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมราคาในเมืองดูไบ (เมืองใหญ่ที่สุดของ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตะวันออกกลาง) กับราคาในประเทศเยอรมนีจึงได้แตกต่างกันมากนัก คือเกือบ 3 เท่าตัว คำตอบที่สำคัญก็คือ พลังงานแสงแดดต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตรของสองประเทศต่างกันมาก กล่าวคือในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศเยอรมนีผลิตได้ 850 หน่วยต่อหนึ่งกิโลวัตต์ (ใช้พื้นที่ประมาณ 7 ตารางเมตร) เมืองดูไบสามารถผลิตได้ถึงประมาณ 2,500 หน่วยโดยใช้พื้นที่เท่ากัน (ดังแผนที่ประกอบ) คราวนี้เราลองมาพิจารณากรณีของประเทศไทยกันบ้าง สมมติว่าต้นทุนในการผลิตต่อโครงการของประเทศไทยกับของเมืองดูไบเท่ากัน (สมมตินะครับสมมติ) โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ก็พบว่า ผู้ชนะการประมูลในเมืองดูไบน่าจะเสนอราคาในประเทศไทยได้ที่ 1.75 บาทต่อหน่วย เนื่องจากพลังแสงแดดในประเทศไทยต่ำกว่าเมืองดูไบค่อนข้างมาก ผมเชื่อว่าข้อมูลที่ผมได้นำเสนอมานี้ คงจะช็อกความรู้สึกของใครหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ถ้ามองกันในแง่ดีๆ ก็เพราะว่าคนเหล่านั้นตามโลกไม่ทันนั่นเอง มัวแต่ยุ่งอยู่กับการบริหารงานเอกสารจนหมดเวลา อ้อ ผมลืมบอกไปนิดหนึ่งว่า การประมูลของประเทศเยอรมนีที่ผ่านมา ผู้ประมูลได้จะต้องผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบภายในปี 2561 ครับ (ถ้าจำไม่ผิด) โดยต้องมีการวางเงินมัดจำเรียบร้อย ระหว่างที่ผมเขียนบทความนี้ เพื่อนคนเดิมได้ส่งข้อความมาถึงผมเป็นการส่วนตัวว่า “บางบริษัทที่ชนะการประมูลไปแล้ว ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้น รัฐบาลเยอรมนีจึงต้องมีความระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย” อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมได้ติดตามพบว่า ประเทศเยอรมนีกำลังศึกษาวิธีการและมาตรการดังกล่าวอยู่ ซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นการทดลอง ก็อย่างที่ว่าแหละครับ การประมูลมันเป็นของใหม่ของประเทศเขาเหมือนกัน ผมเองก็ใช่ว่าจะเชื่ออะไรง่ายๆ แต่ผมมีข้อมูลให้ตรวจสอบได้ทั้งจากเอกสาร และจากการสอบถามจากผู้ที่ได้ติดตั้งแล้ว ผมลองคิดให้ต่ำๆ หน่อย คือ สมมติว่าติดตั้งในประเทศไทยขนาด 10 กิโลวัตต์ ลงทุนทั้งหมด 6 แสนบาท (ความจริงไม่ควรเกิน 5 แสนบาท) ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 13,500 หน่วย ในช่วงเวลา 20 ปี (แทนที่จะเป็น15,000 หน่วย และนาน 25 ปีตามที่อ้างกัน) รวมทั้งโครงการสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 270,000 หน่วย ดังนั้น ต้นทุนเฉลี่ยตลอดโครงการ 2.22 บาทต่อหน่วยเท่านั้น ถ้านำเงินลงทุน 2.22 บาทไปฝากธนาคารด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้น 2.0% ต่อปี เมื่อครบ 20 ปี ก็จะได้เงินรวม 3.30 บาท ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายในปีนี้เสียอีก สิ่งที่ผมพยายามจะบอกก็คือ การติดโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองให้ผลตอบแทนสูงกว่านำเงินไปฝากธนาคาร หรือเปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นธนาคาร คราวนี้มาดูราคารับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กันบ้าง จากข้อมูลล่าสุด ทาง กฟผ.รับซื้อจากเอกชนที่ผลิตจากถ่านหินในราคา 2.69 บาทต่อหน่วย (ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นกว่านี้อีกในอนาคต) และรับซื้อจากโซลาร์ฟาร์ม (แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่) ที่ 5.66 บาทต่อหน่วยจนถึง 6.85 บาทต่อหน่วย (สำหรับผู้ผลิตจากหลังคา) ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 3 โรง ซึ่งจะเข้าสู่ระบบในปี 2562, 2565 และ 2567 รวม 3 พันเมกะวัตต์ ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ประการที่นำมาอ้าง คือ (1) ต้นทุนราคาไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมีราคาถูก แต่ผมมีหลักฐานมาจากทั่วโลกแล้วว่าไม่เป็นความจริงเลย นอกจากนี้ ประเทศไทยเราไม่มีถ่านหิน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (2) เป็นโรงไฟฟ้าหลัก หรือ Base Load ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงใน 7 วันได้ ในเรื่องนี้ ผมเองในฐานะนักคณิตศาสตร์ ไม่มีความรู้ทางวิศวกรรม ผมก็เชื่อตามที่เขาอ้างมาตลอด มาวันนี้ ผมมีเอกสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลก ทั้งการปฏิบัติจริงของบางรัฐในบางประเทศ ทั้งจากการใช้คอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์(Computer Simulation) รวมทั้งจากการฟังคำบรรยายผู้เชี่ยวจากประเทศเดนมาร์กเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าไม่เป็นความจริงอีกเช่นกันครับ แนวคิดที่ต้องมี Base Load เป็นกระบวนทรรศน์เก่า ยังเป็นกระบวนทรรศน์ในยุค “เครื่องจักรไอน้ำ” ที่ใช้หลักการของ “ฟิสิกส์แบบดั้งเดิม” เมื่อ 200 ปีก่อนทำให้พลังงานร้อยละ 65% ของพลังงานที่ป้อนเข้าไปกลายเป็นความร้อน ได้ไฟฟ้าเพียง 35% เท่านั้น แม้จะมีการปรับปรุงไปบ้าง แต่ก็ถือเป็นยุคเก่าเหมือนเดิม มาวันนี้ เป็นยุค “ธุรกิจไฮเทค (Silicon Valley)” ซึ่งเป็นยุคของ “ฟิสิกส์แบบควอนตัม” ที่อิเล็กตรอนนับล้านๆ ตัวทำงานแทนเกียร์และลูกสูบได้อย่างรวดเร็วมากๆ ได้พลังงานจากแสงอาทิตย์โดยไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องใช้ไอน้ำ ไม่ปล่อยอากาศเสีย รวมทั้งไม่ปล่อยน้ำเสีย ในขณะที่เกิดการสูญเสียพลังงานประมาณ 9% เท่านั้น “ฟิสิกส์แบบควอนตัม” นี่แหละครับที่ทำให้เรามีโทรศัพท์มือถือใช้ในราคาถูกและประสิทธิภาพสูงมาก จนแยกไม่ออกว่าเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือกล้องถ่ายรูป ฯลฯ ในยุคไฮเทคที่ทำให้พลังงานหมุนเวียนที่เคยถูกละเลย ได้เพิ่มบทบาทมากขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก มากกว่าพลังงานฟอสซิลเสียอีกแนวคิดเรื่อง Base Load จึงเป็นแนวคิดที่ล้าหลัง ตกยุค แต่วันนี้ผมยังไม่ขอลงในรายละเอียดนะครับ สรุป เมื่อประมาณ 15 ปีก่อน ตอนนั้นผมยังทำงานราชการเต็มเวลากินเงินเดือนประชาชน ชาวบ้านคนหนึ่งได้บอกกับผมว่า “อาจารย์อย่าเอาแต่นอน ช่วยหาความรู้มาให้พวกฉัน แล้วพวกฉันจะคิดเอง” มาถึงวันนี้ ผมเกษียณราชการแล้ว กินเงินเดือนบำนาญ แม้การเขียนบทความจะไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ แต่ผมยังรู้สึกเป็นหนี้สังคมไทยยังจำคำเตือนที่มีค่าของชาวบ้านได้ดี ผมจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ของผมเพื่อค้นหาความรู้มาบอกเล่าให้กับสังคมไทยอย่าง ต่อเนื่องและยาวนาน ถ้าเรื่องที่ผมได้นำเสนอมาแล้วยังยากต่อการทำความเข้าใจ กรุณาเปรียบเทียบกับเรื่องที่ง่ายกว่านี้ คือราคาเอทานอล ในขณะที่ราคาในสหรัฐอเมริกาและบราซิลประมาณ 11 ถึง 14 บาทต่อลิตร แต่ราคาที่คนไทยต้องจ่าย (ซึ่งผลิตในประเทศไทย) สูงถึง 23 บาทต่อลิตร (ดูภาพประกอบ) ทำไมมันจึงเป็นเช่นนี้ ขอท่านผู้อ่านโปรดพิจารณา หรือ “คิดเอง” ว่าปัญหาด้านพลังงานซึ่งมีมูลค่าถึง 18-19% ของจีดีพีประเทศไทยเราเป็นอย่างไร และจะมีทางออกอย่างไร ถ้าเห็นด้วยก็กรุณาช่วยกันเผยแพร่ และกรุณาร่วมกันครุ่นคิดเพื่อหาทางออกให้ลูกหลานครับ
  8. วันที่30/06/16ผมโพสsilver ช่วงนี้ราคาดูน่าสนใจ ณเวลาที่ผมโพสราคาsilver อยู่ที่18.36 ตอนนี้19.76เหรียญ/ออนซ์ นำข้อมูลการใช้SILVERใน โซลาร์เซลล์ มาฝากเพื่อนๆครับ --solar panel 1 ชิ้นจะใช้โลหะเงินประมาณ 15 - 20 grams ---ใน การผลิตไฟฟ้า 1 gigawatt หรือ 1 ล้าน กิโลวัตต์ ต้องใช้โลหะเงิน ~ 80 ตัน (1) 1 gigawattมากน้อยแค่ไหน ประเทศไทยช่วงที่พีคสุดทั้งประเทศใช้ไฟประมาณ30 gigawatt ---ค่าไฟ โรงไฟฟ้าคิดเป็น หน่วยไฟฟ้า ซึ่ง 1 หน่วย เท่ากับ 1 kWh (1000 วัตต์ ต่อ ชั่วโมง) หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ 1000 วัตต์ใช้ 1 ชั่วโมง เท่ากับ 1 หน่วย ---เครื่อง ปรับอากาศตามบ้าน จะกินไฟราว 1000-2000 วัตต์ แล้วแต่จำนวนความเย็นที่จะทำได้ หน่วยความเย็นเป็น btu (ยิ่งมาก ก็เย็นเร็ว) หากมากก็กินไฟมากตาม ค่ากระแสไฟฟ้าที่ โรงไฟฟ้าคิด (อัตตราค่าไฟ เปลี่ยนแปลงตามจำนวนการใช้ด้วย) โดยจะอยู่ ประมาณ 2.50-4.00 บาท ต่อหน่วย ---จากรายงานเรื่อง “Revolution Now” โดย กรมพลังงาน สหรัฐอเมริกา (กันยายน 2556) ได้รายงานว่า “ในปี 2555 ต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้ลดลงเหลือเพียง 1% ของเมื่อ 35 ปีก่อน และนับจากปี 2551 ได้มีผู้ติดแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่าตัว คือจาก 735 เมกะวัตต์ เป็น7,200 เมกะวัตต์และในช่วงเวลาเดียวกันต้นทุนแผงได้ลดลงจาก $3.40 ต่อวัตต์ เป็น $0.80 ต่อวัตต์” ----จากการศึกษาของสถาบันเพื่อการพึ่งตนเองของท้อง ถิ่น (Institute for Local Self-Reliance, www.ilsr.org) พบว่า ภายในปี 2021 จำนวนประชากรอเมริกันประมาณ 100 ล้านคนจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากหลังคาบ้านตนเองในราคาที่ถูกกว่าราคาที่ต้องซื้อ จากบริษัทผลิตไฟฟ้า เป็นจำนวนประมาณ 6 หมื่นเมกะวัตต์(2) 6 หมื่นเมกะวัตต์ - 7,200 เมกะวัตต์ = 5.28หมื่นเมกะวัตต์ 1 gigawatt (1 * 109วัตต์) ใช้โลหะเงิน ~ 80 ตัน 5.28หมื่นเมกะวัตต์(52.8 * 109วัตต์)ใช้โลหะเงิน 4,224ตัน(ช่วงนี้ทั้งโลกผลิตโลหะเงินใหม่ได้ประมาณ3หมื่นตันต่อปี) ----ในต้นปี 2557 การใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ต่อกับระบบสายส่งในอินเดียได้เพิ่มขึ้นเป็น2,028 เมกกะวัตต์ จาก 17.8 เมกะวัตต์เมื่อ 4 ปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น 124 เท่าตัว(3) 2,028เมกกะวัตต์ - 17.8 เมกะวัตต์ = 2010.2เมกะวัตต์ 2010.2เมกะวัตต์(2.0102 gigawatt) ใช้โลหะเงิน 2.0102*80ตัน 160.816ตัน ----ข่าวปี2012 แอลโซลาร์ 1 ใช้งบลงทุนกว่า 800 ล้านบาท ผุดโปรเจ็กต์ “โซลาร์ฟาร์ม” ที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ประเดิมเฟสแรกกำลังผลิต 8 เมกะวัตต์ ขึ้นแท่นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่สุดในประเทศไทยที่เริ่มผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าไฟให้ กฟภ. แล้ว(4) 1 gigawatt (1,000) ใช้โลหะเงิน ~ 80 ตัน(80,000กิโลกรัม) 8 เมกะวัตต์ ใช้โลหะเงิน 640กิโลกรัม ตอนนี้กิโลกรัมประมาณ22,300*640 เป็นเงิน 14.27ล้าน เงินลงทุนโครงการ800ล้าน(เป็นการซื้อที่ดินใหม่มั้ยไม่มีข้อมูล) เป็นค่าโลหะเงิน 14.27ล้าน(เท่ากับ1.78%ของเงินลงทุน ถ้าราคาโลหะเงินเพิ่มขึ้นเป็น3เท่าของปัจจุบัน ราคาแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพราะโลหะเงิน3.56%ของเงินโครงการ(ถ้าผู้ขายแผง+ราคาแผงเพิ่มเท่าราคาโลหะเงินที่เพิ่มขึ้น) ---ข่าว6 November 2015 รัฐบาลจะมีโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้เปิดรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติด ตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 800 เมกะวัตต์ ปัจจุบันไทยมีผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 4-5 ราย กำลังผลิตรวมประมาณ 300 เมกะวัตต์ และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นไปถึง 500 เมกะวัตต์แต่เนื่องจากภาครัฐไม่มีนโยบายการสนับสนุนใช้สินค้าภายในประเทศ ทำให้แผงโซลาร์เซลล์ราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถอยู่รอดได้ เห็นได้จากบริษัทเองต้องดิ้นหาตลาดใหม่ โดยหันส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาแทนปีละ 100 เมกะวัตต์(5) ส่วนเรื่องการใช้silverกับรถระบบไฮบริดและระบบไฟฟ้า แค่เคยอ่านเจอว่ามีการใช้โลหะเงินในอุปกรณ์บางชิ้นส่วน แต่มีการใช้โลหะเงินจริงมั้ยและใช้เยอะหรือเปล่าต่อคันยังหาข้อมูลไม่ได้ครับ แนวโน้มข้างหน้า10-20ปี หลายๆประเทศจะเป็นรถที่ไม่ใช้น้ำมันกันแล้ว ปัจจุบันทั่วโลกมีรถยนต์รวมกันประมาณ 1,000ล้านคัน ยอดผลิตรถยนต์ใหม่ต่อปีประมาณ80 ล้านคัน (1) http://www.usfunds.com/investor-library/frank-talk/solar-shines-on-silver-demand/#.V3bmHjUf6J5 (2) http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114433'>http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114433 (3) http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000120331 (4) http://www.iurban.in.th/greenery/l-solar-the-bigest-solar-farm-in-thailand/ (5)http://www.thansettakij.com/2015/11/06/16983
  9. สบายดีครับพี่ปุณณ์ ช่วงนี้ใช้เวลากับออกกำลังกายเยอะครับ เวลาที่เหลือค่อยตามข่าวเหมือนเดิม+ข่าวสารบ้านเมืองด้วยครับ
  10. Seam Arsenal เมื่อวานนี้ เวลา 10:34 น. GC ทองคำเหมือนกำลังจะลง wave c ของ wave 2 รอดูอีกสัก 2 อาทิตย์
  11. ราคาทองคำช่วงนี้ผมให้ความสำคัญกับการเข้าซื้อของ SPDR เพราะช่วงนี้อุปสงค์ในทองคำของบางกลุ่มมีแนวแน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนและอุปทานของเหมืองก็ลดลงด้วย(ถ้าภาพรวมอุทานมากกว่้าอุปสงค์ ถึงSPDRเข้าซื้อเพิ่มผมก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไหร่) ตัวเลขอื่นกว่าจะประกาศก็ต้องรอนานเป็นเดือนและหายากด้วย แต่ยอดการถือครองทองคำSPDRประกาศทุกวัน ช่วงนี้ผมถึงดูการถือครองทองคำของSPDR --ไตรมาส4ปี2014 TOTAL SUPPLY ทองคำ1152ตัน GOLD DEMAND ไตรมาส4ปี2014 1071ตัน(อุปสงค์น้อยกว่าอุปทาน) --แต่ไตรมาส4ปี2015 TOTAL SUPPLY ทองคำ1037.1ตัน GOLD DEMAND ไตรมาส4ปี2015 1117.7ตัน(อุปสงค์มากกว่าอุปทาน) ---คาดว่าไตรมาส1ปี2016 TOTAL SUPPLY ทองคำน่าจะน้อยกว่า GOLD DEMAND ครับ -- ตั้งแต่ต้นปี2016ถึง18มีนาคม2016 SPDR ซื้อทองคำเพิ่มถึง176.61ตัน ข้อมูลไตรมาส4ปี15ผลิต809.8ตัน ถ้าปี15ทั้ง4ไตรมาสผลิตได้ใกล้เคียงกัน*4 ได้3239.2ตัน 1ปีหักเสาร์และอาทิตย์และวัดหยุดสำคัญจะเหลือวันเทรดประมาณ248วัน 3239.2/248-----13.06ตัน(เหมืองมีอุปทานทองคำเฉลี่ยวันละ 13.06ตัวใน1วันทำการ บางวันSPDRซื้อเกิน10ตัน) ---ทองคำที่ขุดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ตามตัวเลขที่มีการเปิดเผยเผยประมาณว่ามียอดประมาณ180,000ตัน อยู่ในการครอบครองของธนาคารกลางประมาณ30,000-35,000ตัน ณปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีการผลิตทองคำมากที่สุดในโลก(จำนวนที่ผลิตขึ้นมาไม่พอการบริโภคของจีนต้องมีการนำเข้าเพิ่ม) จำนวนที่ขุดขึ้นมาอาจจะแจ้งน้อยกว่าที่ขุดจริงเยอะก็ได้ ปริมาณที่ถือครองโดยรัฐบาลจีนที่มีการเปิดเผยเป็นทางการมีทองคำพันกว่าตัน แต่คนจำนวนหนึ่งเชื่อว่าจีนมีการถือครองทองคำมากกว่านั้นมาก บางท่านมองว่ารัฐบาลจีนมีทองคำในการถือครองถึง50,000ตัน ---อุปสงค์และอุปทาน เป็นตัวหลักในการมองว่าราคาจะขึ้นหรือจะลง ดูตารางจากลิงค์ที่ผมอ้างอิงประกอบกับตัวเลขการถือครองทองคำของSPDRที่ผมสรุปมาให้นะครับ ---ธนาคารกลางมีแนวโน้มซื้อทองคำเพิ่ม ---ปี2016SPDR ซื้อทองคำเข้า จากที่ก่อนนี้เป็นผู้ขายหรือถือใกล้เคียงเดิม ---เหมืองผลิตทองคำลดลงประมาณ9% --หลายปีก่อนผมเคยดูผลผลิตทองคำของเหมืองทั่วโลกอยู่ประมาณปีละ2400-2500ตัน/ปี ช่วงที่ทองคำราคาขึ้น การผลิตทองคำก็ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนทะลุ3,000ตัน เอาข้อมูลไตรมาส4ปี14(893.1*4ได้3572.4ตัน) เอาข้อมูลไตรมาส4ปี15(809.8*4 ได้3239.2ตัน) อุปสงค์และอุปทานใน SPDR กองทุนทองคำ จากที่ขายออกมาหลายปีเริ่มซื้อเข้าชัดเจนในปี16 2-Jan-13 1349.92ตัน 1-Jul-13 968.3 2-Jan-14 794.62 1-Jul-14 796.39 2-Jan-15 709.02 1-Jul-15 711.44 30-Sep-15 687.42 31-Dec-15 642.37 ----------------------------------------------- SPDR จากที่ขายออกหรือถือใกล้เคียงเดิม ช่วงนี้เป็นผู้ซื้อเข้านะครับ 29-Jan-16 669.23 29-Feb-16 777.27 18-Mar-16 818.98 http://www.finnomena.com/fundtalk/premium-content/guru-pick/2016/02/12/02/gold-feb-16/ ---อุปสงค์มากกว่าอุปทานน่าจะดันราคาทองคำขึ้นไปได้ แต่ปัจจัยที่มีผลกดดันราคาทองคำในตอนนี้ คือกลุ่มนักลงทุนที่ติดดอยทองคำมาหลายปี เมื่อทองคำขยับราคาขึ้นกลุ่มที่ติดดอยทองคำจำนวนไม่น้อยก็จะขายทองคำออกมา
  12. อาจมีย่อครับ Seam Arsenal 5 มีนาคม เวลา 9:41 น. ทองคำ ย่อมาได้มากสุดที่ราคา 1190$ เท่านั้นจากนั้นก็วิ่งต่อ ตอนนี้เข้าสู่ภาวะอัยตรายเเล้ว รออีกสัก 2-3 วันเพื่อ รอการยืนยันการจบขาขึ้นในระยะสั้น ตอนนี้ ถือซื้อไป
×
×
  • สร้างใหม่...