ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้....สุขภาพ.....

โพสต์แนะนำ

อ่านแล้วงงจังครับขอถามหน่อยนะครับ

- นมสด0%นี่คืออะไรครับโพสต์รูปภาพ

-เป็นตะคริวที่ขา แล้วให้นวดที่บ่าซ้าย จากข้างคอไปถึงหัวไหล่ ????? เป็นการกดจุดหรืออย่างไรครับ

 

 

เป็นความรู้ที่ได้จากการเรียนปรับสมดุลวิชาเทพประสิทธิ์ค่ะ เป็นประสบการณ์ตรงที่นำมาช่วยคนที่เป็นตะคริวมาหลายครั้งและทำตอนตัวเองเป็น

ลองทำดูนะค่ะ ง่ายมากกก ได้ผลดีด้วยค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

6. ผักขม ปวยเล้ง ผักขมและปวยเล้งมีสารอาหารสูง ทว่า...มีกรดออกซาเลตมาก ทำให้เกิดการขับสังกะสี และแคลเซียมออกจากร่างกายมาก การกินบ่อยเกินหรือมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียมหรือสังกะสีได้

 

!thk ขอบคุณคุณหมอเล็กนะค่ะ เพิ่งรู้ว่ากิน ผักขม ปวยเล้งมากๆ มีโทษเหมือนกัน :rolleyes: แต่อร่อยดีค่ะ :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านแล้วงงจังครับขอถามหน่อยนะครับ

- นมสด0%นี่คืออะไรครับโพสต์รูปภาพ

????? เป็นการกดจุดหรืออย่างไรครับ

 

 

เป็นประสบการณ์ตรงที่นำมาช่วยคนที่เป็นตะคริวมาหลายครั้งและทำตอนตัวเองเป็น

ลองทำดูนะค่ะ ง่ายมากกก ได้ผลดีด้วยค่ะ

 

ตรงสีแดงข้างบนยังงงอยู่ครับ

ส่วน -เป็นตะคริวที่ขา แล้วให้นวดที่บ่าซ้าย จากข้างคอไปถึงหัวไหล่ เป็นความรู้ที่ได้จากการเรียนปรับสมดุลวิชาเทพประสิทธิ์ค่ะ

ถ้าผมเป็นจะลองทำดู ขอบคุณมากครับwub.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สมดุลวิชาเทพประสิทธิ์ (ตอนแรกไม่ต้องดูก็ได้นะครับเพราะยังไม่ได้เข้าเรื่อง)

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=501363

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มดแดงขยันจริง :P

 

โรคพาร์กินสัน กับผู้สูงอายุ

ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์

ภาควิชาอายุรศาสตร์

Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ร่างกายคนเราเมื่อเข้าสู่วัยชราก็เป็นธรรมดาที่โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ โรคที่เกิดได้แก่ "โรคพาร์กินสัน" ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่จะส่งผลให้เกิดอาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคพาร์กินสัน

1. ความชราภาพของสมอง มีผลทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน (เกิดจากกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีสีดำที่อยู่บริเวณก้านสมอง โดยทำหน้าที่สำคัญในการสั่งร่างกายให้เคลื่อนไหว) มีจำนวนลดลง โดยมากพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอน นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด

2. ยากล่อมประสาทหลัก หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสารโดปามีน โดยมากพบในผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่ต้องได้รับยากลุ่มนี้เพื่อป้องกันการคลุ้มคลั่ง รวมถึงอาการอื่น ๆ ทางประสาท แต่ปัจจุบันยากลุ่มนี้ลดความนิยมในการใช้ลง แต่ปลอดภัยสูงกว่าและไม่มีผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน

3. ยาลดความดันโลหิตสูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้สมองลดการสร้างสารโดปามีน แต่ในระยะหลัง ๆ ยาควบคุมความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์นอกระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีผลทำให้ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่ส่งต่อสมองที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันต่อไป

4. หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างโดปามีนมีจำนวนน้อย หรือหมดไป

5. สารพิษทำลายสมอง ได้แก่ สารแมงกานีสในโรงงานถ่านไฟฉาย พิษจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์

6. สมองขาดออกซิเจน ในกรณีที่จมน้ำ ถูกบีบคอ เกิดการอุดตันในทางเดินหายใจจากเสมหะหรืออาหาร เป็นต้น

7. ศีรษะถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือโรคเมาหมัดในนักมวย

8. การอักเสบของสมอง

9. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน ซึ่งเกิดจากการที่มีอาการของโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง สาเหตุมาจากธาตุทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตรายขึ้นมา

10. ยากลุ่มต้านแคลเซียมที่ใช้ในโรคหัวใจ โรคสมอง ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้อาเจียนบางชนิด

การสังเกตอาการของโรคพาร์กินสัน

โดยทั่วไป อาการจะแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา แต่โรคชนิดนี้จะมีอาการที่แสดงออกที่เห็นได้ชัดคือ

1. อาการสั่น พบว่าเป็นอาการเริ่มต้นของโรคประมาณร้อยละ 60 - 70 ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ จะมีอาการมากเป็นพิเศษ (4 - 8 ครั้ง / วินาที) แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมก็จะอาการสั่นลดลง หรือหายไป โดยมากพบอาการสั่นที่มือ และเท้า แต่บางครั้งอาจพบได้ที่คางหรือลิ้นก็ได้ แต่มักไม่พบที่ศีรษะ

2. อาการเกร็ง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักแต่อย่างใด

3. เคลื่อนไหวช้า ผู้ป่วยจะขาดความกระฉับกระเฉง งุ่มง่าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว บางรายอาจหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ เช่น สะโพกหัก หัวเข่าแตก เป็นต้น

4. ท่าเดินผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีท่าเดินจำเพาะตัวที่ผิดจากโรคอื่น คือ ก้าวเดินสั้น ๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรก ๆ และจะก้าวยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนเร็วมากและหยุดไม่ได้ทันที โอกาสที่จะหกล้มหน้าคว่ำจึงมีสูง นอกจากนี้ยังเดินหลังค่อม ตัวงอ แขนไม่แกว่ง มือชิดแนบลำตัว หรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์

5. การแสดงสีหน้า ใบหน้าของผู้ป่วยจะเฉยเมยไม่มีอารมณ์เหมือนใส่หน้ากาก เวลาพูดมุมปากจะขยับเพียงเล็กน้อย

6. เสียงพูด ผู้ป่วยจะพูดเสียงเครือ ๆ เบา ไม่ชัด หากพูดนาน ๆ ไป เสียงก็จะค่อย ๆ หายไปในลำคอ บางรายที่อาการไม่หนัก เมื่อพูดน้ำเสียงจะราบเรียบ รัว และระดับเสียงจะอยู่ระดับเดียวกันตลอด นอกจากนี้น้ำลายยังออกมาและมาสออยู่ที่มุมปากตลอดเวลา

7. การเขียน ผู้ป่วยจะเขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อย ๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออก ส่วนปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมาได้คล่องแคล่วอย่างปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุกโดยส่วนมากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการแทรกซ้อน คือ ท้องผูกเป็นประจำ ท้อแท้ซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย

 

การรักษาโรคพาร์กินสันมี 3 วิธี คือ

1. รักษาด้วยยา ซึ่งแม้ว่ายาจะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตายไปแล้วฟื้นตัวหรือกลับมางอกทดแทนเซลล์เดิมได้ แต่ก็จะทำให้สารเคมีโดปามีนในสมองมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ สำหรับยาที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ยากลุ่ม LEVODOPA และยากลุ่ม DOPAMINE AGONIST เป็นหลัก (การใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์ ตามความเหมาะสม)

2. ทำกายภาพบำบัด จุดมุ่งหมายของการรักษาก็คือ ให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติที่สุด สามารถเข้าสังคมได้อย่างดี มีความสุขทั้งกายและใจ ซึ่งมีหลักวิธีปฏิบัติง่าย ๆ คือ

ก) ฝึกการเดินให้ค่อย ๆ ก้าวขาแต่พอดี โดยเอาส้นเท้าลงเต็มฝ่าเท้า และแกว่งแขนไปด้วยขณะเดินเพื่อช่วยในการทรงตัวดี นอกจากนี้ควรหมั่นจัดท่าทางในอิริยาบถต่าง ๆ ให้ถูกสุขลักษณะ รองเท้าที่ใช้ควรเป็นแบบส้นเตี้ย และพื้นต้องไม่ทำมาจากยาง หรือวัสดุที่เหนียวติดพื้นง่าย

ข) เมื่อถึงเวลานอน ไม่ควรให้นอนเตียงที่สูงเกินไป เวลาจะขึ้นเตียงต้องค่อย ๆ เอนตัวลงนอนตะแคงข้างโดยใช้ศอกยันก่อนยกเท้าขึ้นเตียง

ค) ฝึกการพูด โดยญาติจะต้องให้ความเข้าอกเข้าใจค่อย ๆ ฝึกผู้ป่วย และควรทำในสถานที่ที่เงียบสงบ

3. การผ่าตัด โดยมากจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และมีอาการไม่มากนัก หรือในผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนจากยาที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น อาการสั่นที่รุนแรง หรือมีการเคลื่อนไหวแขน ขา มากผิดปกติจากยา ปัจจุบันมีการใช้วิธีกระตุ้นไฟฟ้าที่สมองส่วนลึกโดยผ่าตัดฝังไว้ในร่างกาย พบว่ามีผลดี แต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างในการพัฒนาฟื้นฟูด้านร่างกาย รวมถึงจิตใจ ดังนั้นหากท่านมีคนใกล้ชิดที่เป็นโรคชนิดนี้ จึงควรรีบนำมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคอันจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ ginger และคุณ หมอเล็กที่มาช่วยเสริมความรู้ให้ค่ะ !_087

 

 

ยาที่บรรเทาอาการไอที่ได้ผลและปลอดภัย

โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

 

 

“ลูก ไอมาตั้งหลายวันแล้วคุณเภสัช สงสารเขามากอยากได้ยาแก้ไอแบบแรงๆ จะได้หายไอเสียที เอายาเม็ดสีแดงๆกลมเหมือนลูกรักบี้น่านแหละ ชะงักดีได้ผลนัก แพงเท่าไหร่ก้อจะซื้อ”

ไม่ มีพ่อแม่ใครที่ไม่รักลูก แต่การเลือกใช้ยาโดยไปอ้างอิงเอายาแก้ไอที่ได้จากครั้งก่อนๆมาซื้อหา คุณๆที่รักทราบหรือไม่ว่า เป็นการรังแกสุขภาพลูกรักอย่างร้ายแรง เพราะผมได้ย้ำเตือนถึงสาเหตุและวิธีบรรเทาอาการไอมาหลายตอนแล้วว่าการใช้ยา แก้ไอที่ได้ผลและปลอดภัย ต้องทราบก่อนว่ายาแก้ไอเป็นเพียงยาบรรเทาอาการ ที่จุดเริ่มต้นรักลูกให้ถูกทางก้อคือทราบสาเหตุ ไปรักษาให้บรรเทาเสียก่อน แล้วจึงมาเลือกชนิดของยาให้เหมาะกับอาการไอ พ่อแม่ที่ใจร้อนอยากให้เสียงค้อกแค้กเงียบสนิทไปโดยไม่พิจารณาถึงเหตุ กลับเป็นการทำร้ายลูกรักของคุณเอง เคยทราบบ้างหรือไม่ครับ

 

:lol: กลับไปหาสาเหตุของการไอให้ได้เสียก่อน

 

ทวน ซ้ำอีกครั้งและอีกครั้ง เพื่อจะได้รู้จริงๆว่าการที่ลูกรักมีการไอ นั้นเป็นกลไกธรรมชาติของตัวน้องน้อยเองเพื่อปกป้องร่างกายจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่

 

1. มี การระคายเคืองของทางเดินหายใจส่วนบนเนื่องจากแพ้ หรือการอักเสบที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้หวัด วัณโรค ในระยะแรก เจ็บคอ ไอกรน หวัดแพ้อากาศ เป็นต้น สังเกตุได้จากน้องไอจะมีลักษณะไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ

2. ร่าง กายของลูกน้อยต้องการขับสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น เสมหะ หนอง ก้อนเลือด เป็นต้น ซึ่งพบในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ วัณโรคในระยะที่เป็นมาก เป็นต้น จะรู้ได้จากการที่พ่อแม่หมั่นสังเกตลักษณะไอ มักจะมีเสมหะ เสลดข้น หรือ เสลดเป็นหนอง ตามติดออกมาด้วย

 

:D หลักการใช้ยาแก้ไอที่ถูกต้องและปลอดภัย

 

ถ้า ไปที่ร้านยาคุณจะได้พบหลากสรรพยาแก้ไอ มีทั้งชนิดน้ำ ชนิดเม็ด มีทั้งที่เป็นยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณที่ปรุงขึ้นจากตัวยาสมุนไพรมีทั้ง ที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน และยาอันตราย นอกจากนี้ยังมีพวกลูกอมแก้ไอ ช่วยให้ชุ่มคอโล่งคออีกด้วย

อย่า ซื้อยากินเอง โดยไม่ปรึกษาเภสัชกรก่อนเป็นคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณใช้ยาได้ปลอดภัยและบำบัด อาการไอให้บรรเทาลงครับ เหล่านี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ครับ

 

•ต้องใช้ให้ถูกกับลักษณะการไอ ตัวอย่างเช่น ไอมีเสมหะเหนียวข้นก็ควรใช้ยาที่ช่วยละลายเสมหะ ขับเสมหะ หากไม่ทราบมาก่อนคุณไปซื้อยาระงับการไอหรือยาแก้ไอที่เข้ายาแก้แพ้มาใช้เอง จะทำให้เสมหะเหนียวยิ่งขึ้น ติดพันอยู่ในลำคอ ขากออกยาก อาการไอก็จะยิ่งมากกว่าเดิม

 

•ยา ชนิดน้ำ ก่อนใช้ยา ควรใช้ช้อนตวง ไม่แนะนำให้กรอกใส่ปากโดยกะปริมาณเอาเองเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจากการกินยาเกินขนาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นยาแก้ไอที่มีตัวยาอื่นๆ ผสมอยู่หลายตัว ช้อนตวงควรใช้ช้อนที่ติดมากับขวดยา จะได้ขนาดที่แน่นอนกว่าช้อนชาหรือช้อนโต๊ะที่ใช้ตามบ้าน หรือใช้ Syringe ขนาดเล็กๆก้อได้

 

•ถ้าเป็นยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อมที่จัดในกลุ่มยาสามัญประจำบ้านไม่ได้อยุ่ในกลุ่มยาอันตราย ใช้จิบเมื่อมีอาการไอ เมื่อรู้สึกคันคออยากไอ และควรใช้กับผู้ใหญ่เท่านั้น ไม่ควรใช้กับเด็กเล็ก

 

•ในรายที่ไอหลังจากเป็นไข้หวัดมาก่อน หลังจากที่คุณได้รับการรักษามาครบถ้วนแล้ว จะมีอาการไอแห้งๆ หรือมีเสมหะขาวๆ เล็กน้อย เกิดจากทางเดินหายใจที่อยู่ในช่วงปรับตัวและไวเกินไปต่อสภาพแวดล้อม อาการไอจะค่อยๆหายไปเมือภูมิต้านทานของคุณดีขึ้น อาจใช้ยาสามัญแก้ไอทั่วๆไปพร้อมกับดื่มน้ำอุ่นมากๆ หลีกเลี่ยงการกินน้ำแข็งหรือน้ำเย็น อาการไอก็จะค่อยๆ หายไปเอง

 

•ยาแก้ไอที่เจ๋งเป้งที่สุดก็คือการดื่มน้ำอุ่นๆ ที่จะไปช่วยระงับการไอและช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียวให้ใสขึ้น และถูกขับได้ง่ายขึ้น และควรงดอาหารรสเผ็ดจัด น้ำแข็ง น้ำเย็นจัด ของทอด เหล้า บุหรี่ เพราะจะระคายคอ ทำให้ยิ่งไอหนักเข้า

 

:( ยาที่บรรเทารักษาการไอที่ได้ผลและปลอดภัย

หลังจากที่ได้ไปตรวจพบหาต้นภัยของโรคแล้ว การรักษาการไอที่ได้ผลและปลอดภัยก้อคือจะต้องรักษาที่สาเหตุของโรค หากมีความจำเป็นยาที่เลือกใช้บ่อยจากเภสัชกรจะได้แก่ ยาแก้ไอ 2 ประเภท ได้แก่

 

1. ยาระงับการไอ (Anti-tussive)

 

ข้อ บ่งใช้รักษาอาการไอระคายคอ ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ จุดประสงค์ของการใช้ยาแก้ไอคือ ต้องการให้ยาไประงับอาการไอนั้นเสีย เพื่อที่คนไข้จะได้ไม่ต้องทรมานกับการไอ และพักผ่อนได้เต็มที่ ตลอดจนลดอาการเหนื่อยอ่อนที่ที่เกิดจากการออกแรงในการไอมากไปคนไข้ก็จะ สามารถฟื้นไข้ได้เร็วขึ้น ประเภทของยาที่มีได้แก่

 

1.1 ยาที่ส่วนประสมของสารสกัดจากฝิ่น หรือโคเดอีน (Codeine) ยา ไปออกฤทธิ์กดศูยน์ไอ จึงมีข้อดีไปช่วยกดการไอได้ หลายตัวจัดว่าเป็นยาที่ต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ที่พอมีใช้ในร้านยาได้แก่ยาแก้ไอน้ำดำ (M. tussis/Brown mixture) ทั้งหลายนั่นเอง

1.2 เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) มีชนิดเม็ด 15 มก. และชนิดน้ำ

1.3 ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ชนิดหนึ่ง มักใช้ในรุปแบบยาน้ำสำหรับบรรเทาอาการไอและน้ำมูกไหลสำหรับเด็กน้อย

 

:o ข้อควรระวังและผลข้างเคียงที่ต้องระวังได้แก่

 

•ยา ที่เข้าสูตรฝิ่นหรือโคเดอีน หากได้รับจากแพทย์มา ต้องระวังเพราะอาจทำให้มึนงง ปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือมีหากมีอาการแพ้ จะทำให้เกิดอาการมีผื่นคัน ข้อห้ามใช้สำหรับยาที่เข้าโคเดอีนคือามใช้ในคนที่มีประวัติแพ้ยาโคเดอีนมา ก่อน มีอาการหอบหืดกำเริบหรือเป็นต้อหิน รวมทั้งต่อมลูกหมากโต

 

•ต้องระวังการใช้ในคนที่ไอมีเสลดเหนียว หรือไอจากสาเหตุจากทางเดินหายใจส่วนล่าง (เช่น หลอดลมอักเสบ, ปอด อักเสบ) เพราะจะทำให้เสลดเหนียวข้นทำให้ร่างกายไอขับออกได้ยากกว่าเดิม ทำให้โรคหายช้าไปอีก ถ้าฝืนใช้มากๆ หรือเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ อาจทำให้ปอดแฟบเป็นอันตรายได้มากกว่าเดิมเข้าไปอีก

 

•ถ้ากินไประยะหนึ่งแล้ว อาการไม่ดีขึ้น หรือกลับทำให้ไอมากขึ้น ควรหยุดยา

 

2. ยาละลายและขับเสมหะ

เหมาะ ในกรณีที่ไอแบบมีเสมหะ หรือ เสลดเหนียว การใช้ยาแก้ไอก็เพื่อละลายเสมหะที่ข้นเหนียวจับกันเป็นก้อนุดขวางทางเดิน หายใจให้ใสขึ้น เพื่อที่ร่างกายจะได้ขจัดออกได้ง่ายขึ้นทำให้คนไข้สบายคอและหายใจได้สะดวก ขึ้น จึงใช้สำหรับรักษาอาการไอมีเสลดทั้งหลาย ได้แก่ หลอดลมอักเสบ หลอดลมพอง ถุงลมพอง ปอดอักเสบ วัณโรค ปอด หืด เป็นต้น

ประเภทยากลุ่มนี้ได้แก่ ยาขับเสมหะ และยาละลายเสมหะ

 

2.1 ยาขับเสมหะ ได้แก่ กลีเซอริล ไกวอะคอเลต (glyceryl guiacolate) เทอร์พีนไฮเดรต (terpine hydrate) แอมโมเนียมคลอไรด์ (ammonium chloride) มีฤทธิ์ให้มีการขับสารเหลวหรือน้ำลายไหลออกมามากขึ้น จึงช่วยไปขับเสมหะให้ออกมาได้ง่าย ทำให้บรรเทาอาการไอตามมาในที่สุด

 

2.2 ยาละลายเสมหะ ได้แก่ อะเซทิลซิสเทอีน (acetyl cysteine) คาร์บอกซีเมทิลซิสเทอีน (carboxy methyl cysteine) บรอมเฮกซีน (bromhexine) และ แอมบรอกซอล (ambroxol) เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะไปย่อยสลายก้อนเสมหะให้แตกย่อย และลดความเหนียวข้นของเสมหะได้ ร่างกายจึงกำจัดโดยการกระแอมหรือไอได้ง่าย

 

ให้ระลึกไว้ว่าเราจะใช้ยาแก้ไอช่วยรักษาตัวเองไปก่อนก้อไม่ว่า แต่หากอาการไม่ดีขึ้น คือมีการไอเรื้อรังนานกว่า 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการไอร่วมกับเป็นไข้ตัวร้อนนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือระหว่างไอมีหอบเหนื่อยเจ็บหน้าอกรุนแรง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอมีเสมหะข้นเหนียวเป็นสีเขียวหรือเหลืองปนเขียว หรือมีเลือดปน วางใจไม่ได้แล้วรีบไปพบแพทย์เร็วไวครับ สำหรับคำถามอื่นๆเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องอาการไอหรือทุกคำตอบสุขภาพส่งอีก เมล์หรือ add ไว้ facebook ได้เลยครับ เภสัชกรรุปหล่อและใจดีจะรีบตอบทันทีนะครับ

 

!thk

แหล่งข้อมูล

 

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 31 กค. 2553

ห้าม นำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้าง สรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

 

การ นำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address http://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บท ความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

 

http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/07/30/entry-1

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หน้ามืดเป็นลม !dd !Hot

 

presyncope01.jpg

 

หน้ามืดเป็นลม เป็นสภาวะที่อาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง หรือจากสาเหตุที่ร้ายแรงก็เป็นได้ ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ควรจะต้องทราบ และเรียนรู้ ที่จะช่วยเหลือผู้ที่มีอาการหน้ามืดเป็นลมนั้นๆ ได้ทันท่วงที อาการหน้ามืด (impending faint หรือ presyncope) หมายถึง อาการวิงเวียนหัว ตามัวจนมองอะไรพร่าไปหมด หรือวูบไปคล้ายจะไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติ แต่ยังรู้สึกตัวอยู่ ยังไม่หมดสติ อาการเวียนหัวในที่นี้ไม่ใช่อาการวิงเวียน ที่เกิดจากความรู้สึกว่าสิ่งที่อยู่รอบตัวหมุน เช่น บ้านหมุน หรือความรู้สึกว่าตัวเองหมุน อาการเป็นลม (faint หรือ syncope) หมายถึง อาการหมดสติไปชั่วขณะ จากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงทันที ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลงทันที ทำให้ปริมาณเลือดจากหัวใจลดลง เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ส่งผลให้สมองโดยทั่วไปขาดเลือดไปเลี้ยงฉับพลัน จึงทำให้หมดสติไปชั่วครู่ ในเวลาพริบตาเดียว ไม่กี่วินาที หรืออาจเป็นเวลาหลายนาที แต่ไม่ถึงชั่วโมง

 

presyncope02.jpg

 

 

สาเหตุ

 

1. หน้ามืดเป็นลมที่มีสาเหตุจากโรคภัยไข้เจ็บที่ร้ายแรง เช่น โรคสมองขาดเลือด หรือโรคหัวใจขาดเลือด อาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย คือมีอาการชาและความรู้สึกผิดปกติตามร่างกาย ตาพล่ามัว พูดลำบาก เคลื่อนไหวแขนขาไม่ได้เหมือนเดิม และอาจมีความสับสนเกิดขึ้น

 

2. อาการเป็นลมที่เกิดขึ้นเพราะหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) คนไข้จะหมดสติทันที และคลำชีพจรที่คอ และขาหนีบไม่ได้ ต้อง รีบทำการฟื้นชีวิตทันที อย่าไปรอว่าคนไข้ล้มฟุบ ลงนอนราบแล้ว จะหายจากอาการเป็นลม เพราะการที่คลำชีพจรที่คอ และขาหนีบไม่ได้ ให้ถือว่า หัวใจหยุดเต้นแล้ว ต้องฟื้นชีวิตทันที มิฉะนั้น คนไข้จะเสียชีวิต

 

3. เกิดจากหัวใจเต้นช้ามาก (severe bradycadia) คือ หัวใจเต้นช้ากว่า 30-40 ครั้ง/นาที คนไข้อาจจะหมดสติทันทีได้ ถ้าหัวใจเต้นช้าลงอย่างกะทันหัน แต่ถ้าหัวใจค่อยๆ เต้นช้าลง หรือเต้นช้าเป็นประจำอยู่แล้ว คนไข้อาจจะไม่มีอาการอะไร แม้หัวใจจะเต้นเพียง 30-40 ครั้ง/นาที ถ้าคนไข้เป็นลมหมดสติ เพราะหัวใจเต้นช้ามาก ให้กระตุ้น โดยการทุบหน้าอก การเขย่าตัว หรืออื่นๆ เพื่อทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้ฉีดยาอะโทรพีน หรืออะครีนาลีน เข้าเส้นครั้งละ 0.1-0.2 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ทุก 1-2 นาที จนหัวใจเต้น 50-60 ครั้ง/นาที ให้หยุดฉีดทันที

 

4. หัวใจเต้นเร็วมาก (severe tachycadia) คือ หัวใจเต้นเร็วกว่า 160-180 ครั้ง/นาทีในผู้ใหญ่ คนไข้อาจจะหน้ามือเป็นลมได้ ถ้าหัวใจ (ชีพจร) เต้นสม่ำเสมอ อาจลองล้วงคอให้คนไข้อาเจียน และถ้าคนไข้เพียงแต่หน้ามืด แต่ยังไม่หมดสติ ให้คนไข้หายใจเข้าเต็มที่ กลั้นหายใจแล้วเบ่งอย่างรุนแรง จนกระทั่งกลั้นหายใจต่อไปไม่ได้ อาจทำให้หัวใจเต้นช้าลงได้ ถ้าไม่สำเร็จหรือชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ ให้ส่งโรงพยาบาล

 

5. เป็นลมเพราะหัวใจผิดปกติ เช่น ลิ้นหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจถูกบีบอัด หลอดเลือดปอดถูกอุด หลอดเลือดเอออร์ตาแยก เป็นต้น

 

6. เป็นลมจากภาวะเครียด หงุดหงิด กังวล โกรธ ตื่นเต้น กลัว จนทำให้เกิดอาการหน้ามือเป็นลมขึ้น ป้องกันโดยพยายามหันเหความสนใจไปสู่สิ่งอื่น หรือนับ 1 ถึง 100 เพื่อให้จิตใจสงบลง นั่งพัก นอนพัก เพื่อป้องกันอาการหน้ามืดเป็นลม เป็นต้น

 

7. เป็นลมเพราะอุปาทาน เกิดจากการที่คนไข้ผิดหวังในบางสิ่งบางอย่าง แล้วความผิดหวังนั้นแสดงออกมาเป็นอาการทางกาย เช่น เป็นลม ชัก ปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้องรุนแรง หรืออื่นๆ คนไข้ที่เป็นลมเพราะอุปาทานจะยังรู้สึกตัวเป็นปกติ ไม่หมดสติ ไม่มีอาการหน้าซีด มือเท้าซีด ตัวเย็น หรือเหงื่อแตก ไม่ดีขึ้นแม้จะนอนราบลงแล้ว แต่อาการจะดีขึ้นหรือหายไปถ้าอยู่คนเดียว หรือเกิดความรู้สึกว่าจะถูกทอดทิ้ง หรือจะเป็นอันตราย ถ้ายังเป็นลมอยู่ต่อไปอีก หรือถ้าได้รับคำแนะนำที่แข็งขันว่า อาการเป็นลมที่เกิดขึ้นจะรักษาได้ ข้อควรปฏิบัติอย่างอื่นคือ ให้ดมยาดม และหายใจเข้าออกช้าๆ แล้วสักครู่จะดีขึ้น

 

8. แกล้งเป็นลม อาศัยประวัติที่เป็นคนชอบแกล้งป่วย แกล้งเจ็บ และประวัติการทะเลาะเบาะแว้ง หรือความต้องการแกล้งใครสักคน ส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ชิด

 

9. เป็นลมเพราะหายใจเกิน คืออาการหน้ามืดเป็นลมหลังหายใจเร็ว และลึกเป็นเวลานาน คนไข้มักมีอาการแน่นอึดอัด รู้สึกหายใจไม่สะดวก จึงหายใจเร็ว และแรง ต่อมาจะมีอาการมึนงง ตัวเบา หัวเบา รู้สึกริมฝีปาก และมือเท้าคล้ายเป็นเหน็บชา และแข็งเกร็ง ต่อมาจะหน้ามืดเป็นลม และชักได้ ให้ใช้ถุงใหญ่ๆ ครอบปากและจมูก ให้คนไข้หายใจในถุงสักพัก (5-10 นาที) แล้วจะดีขึ้น

 

คำแนะนำบางประการ

 

1. หากท่านมีอาการหน้ามืดเป็นลม พร้อมกับรู้สึกว่าหัวใจท่านเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ ท่านควรได้รับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาจากแพทย์ให้ทันท่วงที

 

2. ในผู้ที่ต้องรับประทานยาเพื่อ รักษาโรคประจำตัวบางอย่าง ก็อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น ความดันโลหิตสูง ถ้ารับประทานยาขนาดมากไป อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงมากจนมีอาการเป็นลมหน้ามืดได้หรืออย่างกรณีคนไข้เบาหวานรับประทานยาตามปกติ แต่คนไข้ไม่ได้รับประทานอาหารตามปกติ น้ำตาลในเลือดอาจจะต่ำเกินไปก็ทำให้เกิดหน้ามืดเป็นลมได้

 

3. การที่คนไข้มีอาการหมดสติไปชั่ว ขณะประมาณ 1-2 นาที ภายหลังหน้ามืดเป็นลม แล้วรู้สึกตัวดีขึ้นในเวลาต่อมา ส่วนใหญ่แสดงว่าไม่น่าจะมีอะไรร้ายแรง เช่นพวกที่ยืนกลางแดดเป็นเวลานาน อาจเสียเหงื่อมากทำให้มีอาการ เป็นลมแดดได้ แต่หากว่าหมดสติไปนานกว่านี้หรือพอรู้ตัวแต่รู้สึกว่ายังผิดปกติ ควรที่จะพาคนไข้ไปพบแพทย์จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

 

การรักษา

 

1. เบื้องต้นควรให้คนไข้นอนราบลง ยาขาสูง และคลายเสื้อผ้าให้หลวม ให้การไหลเวียนของอากาศรอบๆ คนไข้ดีเพียงพอ ถ้าหากกำลังนั่งอยู่ และนอนราบไม่ได้ อาจให้คนไข้ก้ม ศรีษะลงให้อยู่ระหว่างขา 2 ข้างสักพักหนึ่งจนอาการดีขึ้น

 

2. การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการวูบ ขึ้นกับการวินิจฉัย และความเสี่ยงของผู้ป่วยที่จะได้รับอันตรายจากอาการวูบ หรือโรคที่เป็นอยู่ ่ในรายที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายถึงชีวิต จำเป็นต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุ ที่แน่ชัดและรักษาอย่างเต็มที่ เช่น การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจในกรณีที่อาการวูบเกิดจากหัวใจเต้นช้ามากหรือหยุด เต้นชั่วขณะ การจี้ประสาทหัวใจลัดวงจรในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ การขยายหรือการผ่าตัดแก้ไขหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือลิ้นหัวใจตีบตัน เป็นต้น

 

3. ในทางตรงกันข้าม รายที่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาการไม่รุนแรง และเป็นไม่บ่อยอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา หรือเครื่องมือพิเศษใดๆ แพทย์อาจแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดอาการซ้ำ โดยทั่วไปควรหลีกเลี่ยงปัจจัย ที่อาจทำให้เกิดอาการวูบหรือหน้ามืดเป็นลม เช่น

* การอยู่ในที่อากาศร้อนหรือแออัด

* การสูญเสียน้ำและเกลือแร่

* การรับประทานอาหารปริมาณมากในมื้อเดียว หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

* การออกกำลังกายหักโหมกว่าปกติ

* ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาขับปัสสาวะ ถ้ามีอาการดังกล่าวจากการใช้ยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

 

4. อาการวูบ หรือหน้ามืดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากโรคหัวใจ และโรคอื่นๆ แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีสาเหตุและอาการไม่รุนแรง แต่บางครั้งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะสาเหตุมาจากความผิดปกติของหัวใจ ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เพราะไม่กล้าปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน หรือกิจกรรมบางอย่างเนื่องจากกลัวอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากอาการวูบ การค้นหาสาเหตุและการประเมินความเสี่ยง และหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำให้อาการต่างๆ และคุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต ทั้งจากสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการวูบและผลกระทบที่เกิดจากอาการดังกล่าว

 

 

 

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

 

 

http://www.bangkokhealth.com/index.php/brain/110-2009-01-19-07-22-01.html

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:) :wub: :)

 

โรคความดันโลหิตสูง

 

 

โรคความดันโลหิตสูง

 

รองศาสตราจารย์นายแพทย์พีระ บูรณะกิจเจริญ

ภาควิชาอายุรศาสตร์

Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ในอดีตอาชีพของคนไทยส่วนใหญ่ คือ เกษตรกร ซึ่งมีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายกินอยู่อย่างไทย ทำให้สถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำ แต่ในสภาวะปัจจุบันความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้คนไทยเกิดความเครียดส่งผลให้สถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น โดยปกติ ค่าของความดันโลหิตมี 2 ตัว คือ ตัวบนและตัวล่าง กล่าวคือ ค่าความดันปกติตัวบนประมาณ 120-130 ความดันตัวล่างประมาณ 70-80 บางคนไปตรวจหมอบอกว่าความดันต่ำ จริง ๆ แล้วความดันต่ำไม่ถือว่าเป็นโรค ความดันยิ่งต่ำยิ่งดี ซึ่งมักพบในนักกีฬาหรือคนตัวเล็ก แต่ในกรณีผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลแล้วช็อก ความดันต่ำลงจะถือว่าเป็นอันตราย ค่าของความดันตัวบนหากสูงเกิน 140 ถือว่าความดันสูงกว่าปกติ หากสูงเกิน 160 จะเป็นอันตรายอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ความดันตัวล่างจะเป็นตัวชี้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ ปกติจะมีค่าเกิน 90

คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการปวดศีรษะ เลือดกำเดาออกโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ไม่เป็นหวัด ไม่เป็นไข้ หรือบางคนอาจมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีอาการ ซึ่งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์และความเครียด เมื่อเป็นแล้วจำเป็นต้องรักษาถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการ การรักษาโดยการกินยา ซึ่งยารักษามีหลายชนิด แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับอาการของคนไข้แต่ละราย การรักษาความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะส่งผลแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ คือ

สมอง อาจทำให้เส้นโลหิตในสมองตีบหรือแตกได้ ทำให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

หัวใจ อาจทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกและกล้ามเนื้อหัวใจตาย

หรือหากหลอดเลือดที่หัวใจอุดตัน เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอทำให้หัวใจวายได้

ไต ไตมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งที่กระตุ้นไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง หากไตเสื่อมก็ทำให้การสร้างฮอร์โมนลดลง ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูงมานาน ก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ทำให้คนไข้ซีด ขาบวม เหนื่อยง่าย และอาจเกิดภาวะไตวายได้

ตา ตาจะมัว สำหรับความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์จะมีอันตรายทั้งเด็กและแม่ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือชักได้ เพราะฉะนั้นหญิงมีครรภ์ควรมีการฝากท้อง ซึ่งจะต้องได้รับการวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มาตรวจ

โรคความดันโลหิตสูงมี 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ทราบสาเหตุ และที่ไม่ทราบสาเหตุ ผู้มีความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะเริ่มในอายุประมาณ 35 ปี ถ้าเกิดในอายุน้อยมักจะทราบสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทราบสาเหตุ อาการที่พบมีดังนี้ ได้ยินเสียงดังในหู ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย มีอาการเวียนศีรษะ มีเลือดกำเดาออก การเต้นของชีพจรจะผิดปกติ หงุดหงิดง่าย ขาบวม เหนื่อยง่ายผิดปกติ เป็นต้น

โรคความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 95 ไม่ทราบสาเหตุ จึงโทษว่าเป็นเรื่องของพันธุกรรม ถ้าพ่อหรือแม่เป็นความดันโลหิตสูง ลูกก็มีโอกาสเป็นมากกว่าคนที่พ่อแม่ไม่เป็นความดันโลหิตสูง และสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด การรับประทานอาหารเค็ม สูบบุหรี่ ไม่ได้ออกกำลังกาย การรักษาจึงต้องควบคุมโดยการใช้ยาและต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต

ส่วนโรคความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ แพทย์จะรักษาไปตามอาการ เช่น ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เนื่องมาจากมีเนื้องอกในสมอง ทำให้ปวดศีรษะตามัวได้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนจะทำให้ความดันสูงได้ ถ้าได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ความดันในกะโหลกศีรษะไม่สูงแล้ว ความดันก็จะลงสู่ปกติ โรคไต ไตวายเรื้อรัง เราไม่สามารถรักษาได้ นอกจากผ่าตัดเปลี่ยนไต ความดันโลหิตสูงก็ลดลงได้ จากการรับประทานยาที่ทำให้เกิดความดันเลือดสูงได้เช่นกัน เช่น รับประทานยาแก้ปวดไขข้อ ยาคุมกำเนิดที่รับประทานมานานกว่า 2 ปี ยาลดน้ำมูกที่แรง ๆ ฯลฯ เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง

เมื่ออายุ 35 ปี ควรจะตรวจความดันโลหิตทุกปี ควรระวังสาเหตุที่เสริมให้เป็นความดันได้ คือ ความเครียด คนที่โมโหง่าย คนอ้วน คนที่ชอบรับประทานเค็ม ไม่ควรดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสาเหตุเสริมไม่ให้อ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานยาเป็นประจำ ทั้งนี้อย่าซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และควรมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอเล็ก จะนำไปบอกเพื่อนค่ะ

 

post-21-065643600 1308668658.jpg

 

จิงจูฉ่าย

 

รายละเอียด

ราคาไม่รวมค่าขนส่ง จัดส่งได้หากมีปริมาณเยอะกว่า 100 ต้นต่อรองราคาได้คะ ที่เบอร์ 081-4721704

 

ดอกแก้วเมืองจีน, จิงจูฉ่าย (SAGE BRUSH) อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE (ASTERACEAE)

Family ชื่อพฤกษศาสตร์ (Botanical name) Habit ชื่อสามัญไทย

COMPOSITAE Artemisia lactiflora Wall. ex Bess. var. genuina Pampan ExH ดอกแก้วเมืองจีน

ที่มา : สารบัญหนังสือ "ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย” ศ.ดร.เต็ม สมิตินันทน์

 

จิงจูฉ่าย คือชื่อของผักของจีนชนิดหนึ่งส่วนมากนิยมนำไปใส่ในเกาเหลาเลือดหมูเพราะช่วยดับกลิ่นคาวเลือดได้และ ก็มีสรรพคุณทางสมุนไพร

จิงจูฉ่าย เป็นหนึ่งในผลผลิตดอยคำในหมวดสมุนไพร ของมูลนิธีโครงการหลวง ที่มีผลผลิตตลอดทั้งปี

จิงจูฉ่าย เป็นผัดชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม แพทย์จีนเชื่อกันว่าเป็นยาเย็นและช่วยแก้ไข้ได้ นอกจากนี้ ความเย็นของจิงจูฉ่าย ยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงปอด ช่วยฟอกเลือด ทำให้เลือดอุ่นและไหลเวียนได้ดี คนจีนจึงนิยมนำผักชนิดนี้มาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาว (ที่มา: นิตยสาร HEALTH & CUISINE ฉบับที่ 38 ประจำเดือน มีนาคม 2547)

 

http://nanagarden.com/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%89%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-100596-4.html

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต้านมะเร็งด้วยอาหารบำบัดธรรมชาติ

 

 

 

พ่อเลี้ยง วรรณ พิมพนิช เจ้าของรวมเกษตรฟาร์ม เป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายที่กระดูกสันหลัง คุณหมอทั้งไทยและเยอรมัน ไม่รับรองว่า จะรักษาหาย จึงไปทำการรักษาที่เกาหลีเหนือ เป็นเวลา 1 เดือน ก็หายจากโรค กลับมาเมืองไทย จึงตั้งเป็นมูลนิธิวรรณ รับรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยากไร้ฟรี!

จิตใจต้องสู้ งดเว้นอาหารประเภทเนื้อสัตว์

 

วงจร ชีวิต ของมะเร็งในร่างกาย

 

1. โปรตีน ขยายเผ่าพันธุ์

2. ไขมัน สร้างเนื้อร้ายให้โตขึ้น

3. เกลือโซเดียม เกาะกำบัง ยึดติดแน่น

 

ผู้เป็นมะเร็ง ต้องตัดวงจร ของมันให้เด็ดขาดให้มันฝ่อ งดสิ่งเหล่านี้

 

* โปรตีน มีอยู่ในเนื้อสัตว์ทุกชนิด อาหารที่ทำจากสัตว์ทุกชนิด เช่น นม ไข่ น้ำมันหอย น้ำปลา กะปิ แบรนด์รังนก ฯลฯ ก่อนรับประทาน ต้องพิจารณา วิเคราะห์ก่อนว่ามาจากเนื้อสัตว์หรือเปล่า

* ไขมัน จากสัตว์ พืช ของทอด ผัด ของมันๆ

* เกลือ โซเดียม เกลือ และ ที่ผสมอยู่ในอาหารต่างๆ

* อาหารรสจัด รสเค็ม รสหวาน อาหารมันมะเร็งชอบต้องงด

* ผลไม้ คือ สับประรด

* โปรตีนในพืชบางชนิดมีมากเช่น ถั่วต่างๆ งาดำ ควรงด

 

ทำน้ำซุปโปรตัสเซียมแทนเกลือ ไว้ในตู้เย็น

 

1. กระหล่ำปลี

2. มะเขือเทศ

3. ผักกาดขาว

4. มันฝรั่ง

5. ข้าวโพดหวาน

 

นำทั้ง 5 อย่างต้มกับน้ำเปล่า ตุ๋นจนสุก ตักพืชออก พอเย็นตักน้ำซุปใส่ถุงหรือภาชนะแช่ช่องแข็งในตู้เย็น แบ่งออกมาทำอาหารต่างๆแทนเกลือ

ผู้เป็นมะเร็งต้องการมาก

 

1. วิตามินซี มีในพืช ผัก ผลไม้สดๆ

2. เบต้าแคโรทีน พืชผักสีเขียว สีส้ม ยอดแค มีมากๆ

3. เซราเนียม มีใน หอมแดง หอมใหญ่ กระเทียม ฯ

 

เพิ่มเม็ดเลือดขาวให้กับผู้เป็นมะเร็งสู้กับเชื้อโรค

1. ใบมะยม 1 กรัม

2. ใบมะขามเปรี้ยว 1 กรัม (ประมาณ 1 กำมือ)

 

ตำบดรวมบีบน้ำออกมาดื่มสดๆ จะเพิ่ม เม็ดเลือด ขาวประมาณ 4000 หน่วยเพิ่มขึ้นในร่างกายต่อวัน

 

 

การปฏบัติตัวทำให้สม่ำเสมอจะดีมากๆ

 

1. ออกกำลังกาย

2. อาบน้ำอุ่นจัด สลับ น้ำเย็นจัด ราดน้ำจากหัวลงมา น้ำละ ประมาณ 2 นาที รวมประมาณ 10นาที หรือมากกว่า

3. อ้าปาก หลับตารับแสงตะวัน (กินแดด) และอาบแดด ตอนเช้าๆประมาณ 20 นาที

4. แช่ตัวในแม่น้ำ น้ำที่ไหลธรรมชาติจะนวดตัว สม่ำเสมอ ประมาณ 30 นาที

 

(คนปรกติหรือคนป่วยโรคอื่นๆ ถ้าได้ปฏิบัติใน 4ข้อนี้ สุขภาพดีแน่ๆ)

พืช 15ชนิด(ผักใช้ชนิดใกล้เคียงแทนได้)

 

1. ข้าวกล้อง

2. ข้าวดอย

3. ข้าวบาร์เล่ย์

4. ข้าวสาลี

5. เมล็ดเดือย

6. หอมใหญ่

7. หอมแดง

8. กระเทียม

9. ถั่วพลู

10. ยอดแค

11. ข้าวโพดหวาน

12. มันเทศ

13. คะน้า

14. กวางตุ้ง

15. บล็อดเคอรี่

 

* จะหุง ต้ม ลวก ยำ นึ่ง แยกชนิด แล้วแต่สะดวกที่จะหาวิธีทำอาหาร ขอให้รสชาดธรรมชาติที่สุด พืชผัก ผลไม้ชนิดอื่นๆก็ทานตามปรกติ ต้องปลอดสารพิษ

* 15 ขุนพล ที่ใช้รักษามะเร็งและโรคที่ไม่ใช่โรคติดต่อได้ด้วย แต่ต้องงดเนื้อสัตว์ทุกชนิด อาหารที่มีส่วนผสมจากสัตว์เด็ดขาด

 

ผู้เขียนขอแนะนำ

 

* ข้าว 5 ชนิด ซาวน้ำทิ้งหรือไป รดต้นไม้ ข้าวแช่น้ำ แค่พอท่วมเมล็ดข้าว แช่นานๆหรือแช่ก่อนนอน เช้ามาคนแล้วเติมน้ำปริมาณปรกติเหมือนหุงข้าวขาว (ข้าวจะไม่แฉะ) ห้ามทิ้งน้ำที่แช่ ใช้น้ำที่แช่หุงเลยเพราะมีสารอาหารเพิ่มขึ้นมากมาย จากการที่แช่ไว้นานๆ รับประทานได้ทุกคนมีประโยชน์กับร่างกายมากๆ

 

ผู้ป่วยเป็นมะเร็งแนะนำ

 

* ให้ปั่นพืชทั้งหมดหรือบางชนิดผสมในน้ำหุงข้าว หรือนำพืชทั้ง 15 ชนิด ต้มแล้วนำมาปั่น 1 ถ้วย เป็นซุป ตักทานแบบอุ่นๆ โดยใส่น้ำซุปโปรตัสเซียมผสมลงไปด้วย รับประทานได้ 3 มื้อ

* ผู้เป็นมะเร็งตับเพิ่ม หอมแดง 5 หัว / กระเทียม 2 หัว / ข่าอ่อน 2 แว่น / ขิง 2 แว่น / กระชาย 2 ราก / มะนาว พอประมาณ ทั้ง 6 อย่าง จะตำ บด ปั่น แล้วแต่สะดวก คั้นบีบน้ำออกมา แล้วดื่มสดๆ ทันที

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิวรรณ 3/681 ประชานิเวศน์ ถนนนิมิตรเหนือ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900โทร.084-3545552 หรือ 086-7886222

 

 

 

 

เรื่องโดย : พ่อเลี้ยง วรรณ พิมพนิช

 

ที่มา : อนิตยสาร Young@Heart สำนักพิมพ์ขวัญข้าว

 

http://www.youngheartonline.com/

 

 

http://www.meedee.net/magazine/med

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข้าวโพดสุกต้านมะเร็ง

 

ผลงานวิจัยในวารสารสมาคมเคมีแห่งอเมริกา ตีพิมพ์ผลงานของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์แห่งสหรัฐอเมริกาว่า ข้าวโพดหวานที่ต้มสุกแล้ว จะมีฤทธิ์ในการล้างพิษภายในร่างกายได้สูงกว่าปกติ

 

ในข้าวโพดหวานตามธรรมชาติ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) อยู่ และมีตัวที่สำคัญคือ กรดเฟรุลิก (Felrulic Acid) จึงถูกใช้สำหรับต่อต้านการแก่ (aging) ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด รักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อ ต่อต้านผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลต (จึงป้องกันมะเร็งผิวหนังได้)

 

จากผลการวิจัยพบว่า การต้มข้าวโพดที่ 115 องศาเซลเซียส มีผลดังนี้

เวลาที่ใช้ในการต้ม ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณของกรดเฟรุลิก

10 นาที เพิ่มขึ้น 22% เพิ่มขึ้น 240%

25 นาที เพิ่มขึ้น 44% เพิ่มขึ้น 550%

50 นาที เพิ่มขึ้น 53% เพิ่มขึ้น 900%

ทำให้สรุปได้ว่า ข้าวโพดหวานที่ผ่านการต้มหรือปิ้ง

มีปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระ และกรดเฟรุลิก

ซึ่งมีประโยชน์สำหรับร่างกายเพิ่มมากขึ้น

เมื่อถูกความร้อนสูงขึ้นหรือเป็นเวลานานขึ้น

แต่จะสูญเสียวิตามินบางตัว เช่น วิตามินซี ไปบ้าง

อย่างไรก็ตามข้าวโพดก็ไม่ใช่แหล่งที่ดีสำหรับ

วิตามินซีอยู่แล้ว

 

 

ที่มา : นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 31 ฉบับที่ 6 เดือนกรกฎาคม 2550, http://www.redcross.or.th/pr, หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับ วันอังคารที่ 8 เมษายน 2546, หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับ วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545

 

รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด

Thailand Web Stat

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จากมี่คุณหมอเล็ก นำมาแปะ ต้นจิงจูฉ่าย

 

 

ไปเจอมาค่ะ เผื่อใครอยากได้

 

 

http://www.nanagarden.com/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%89%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%28caladium-angle-of-wings%29-18040%5E1-2.html

 

post-21-058734800 1309623782.jpg

 

 

 

 

post-21-011159800 1309623793.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

 

ท.ญ.ดร.ชมพูนุช จิตรปฏิมา

 

 

ขณะที่การแพทย์มีวิวัฒนาการทันสมัยขึ้น ทำให้มนุษย์ มีอายุยืนนานกว่าสมัยก่อนโดยเฉลี่ย ก็มีโรคที่เป็นปัญหาเรื้อรัง เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากด้วย เช่น ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังบริเวณใบหน้า โรคไขข้อกระดูก โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจตีบตัน โรคความผิดปกติ ของกระดูกขากรรไกร โรคสมองขาดเลือด เบาหวาน ฯลฯ ความเจ็บป่วย (Illness) อาจจะมิได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค แต่เป็นอาการที่อวัยวะในร่างกาย ไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ทั้งในส่วนตัวและการอยู่ในสังคม

 

อาการไม่สบาย (Illness) อาจมิได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อโรค แต่ประกอบด้วยความเจ็บปวด หรือการที่อวัยวะไม่สามารถทำงานตามปกติ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ทั้งในส่วนตัวและการอยู่ในสังคม

 

ปัจจุบันคนจำนวนมากมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเป็นเฉพาะที่ หรือเป็นบริเวณกว้างทั้ง 2 ด้านของร่างกาย เหนือเอวและใต้เอวลงไป มีผลข้างเคียงคือ ทำให้นอนไม่หลับ รู้สึกซึมเศร้าและเหนื่อยง่าย

 

ในระยะกว่า 50 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป ได้บัญญัติศัพท์เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อเส้นเอ็นว่า "ไฟโปรไซทิส" (Fibrositis) เนื่องจากเชื่อว่า เป็นสาเหตุของการปวดหลัง บริเวณบั้นเอวลงไป ซึ่งเมื่อได้ทำการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่า มีการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น แต่มิได้เกิดจากการติดเชื้อ

 

ต่อมาในปี ค.ศ.1980 อาการปวดกล้ามเนื้อดังกล่าว ได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า Fibromyalgia (ไฟโบรไมอัลเจีย) ซึ่งมาจากภาษาลาติน 3 คำ FIBOR = เนื้อเยื่อ My = MUSCLE กล้ามเนื้อ และคำว่า ALGIA = อาการเจ็บปวด เรียกย่อๆ ว่า FMS

 

อาการของ FMS

อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งรวมถึงอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปนอกเหนือจากอาการปวดเรื้อรัง ที่แผ่ขยายไปบริเวณใบหน้า ศีรษะ รวมทั้งจุดที่ปวดเวลาถูกแรงกดด้วยนิ้วมือ

 

จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า บางรายมีปัญหา เจ็บปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังบริเวณกระพุ้งแก้ม บริเวณข้างหู ลามไปถึงฟันกราม ต้นคอ หลัง ไหล่ และขมับ ซึ่งบางครั้งมี Refer Pain (อาการเจ็บปวดบริเวณต่างจากจุดที่เป็นสาเหตุ) ไปยังกระบอกตา

 

คนไข้รายหนึ่งปวดบริเวณกระพุ้งแก้มด้านขวา ลามไปแถวฟันกราม และมีอาการปวดต้นคอและไหล่อยู่ด้วย ไปหาทันตแพทย์ซึ่งได้ให้การรักษา โดยการเอาประสาทฟันออก (Root Canal Therapy) ซึ่งคนไข้ก็ยังไม่หายปวด จึงกลับไปหาทันตแพทย์เดิมอีก ซึ่งคราวนี้ทันตแพทย์ได้ถอนฟันกราม ออกไป 2 ซี่ คนไข้ก็ยังไม่หายปวด เมื่อได้มาพบผู้เขียน ตรวจพบว่า ปัญหามีทั้งการสบฟันผิดปกติ คนไข้กัดฟันเยื้องไปมาขณะนอนหลับ จนฟันสึกมาก และมีอาการของ FMS อยู่ก่อนด้วย จึงให้การรักษา โดยการบูรณะสภาพฟัน พร้อมทั้งแนะนำคนไข้ รับการทำกายภาพบำบัด นวดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลาย ออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ ซึ่งได้ผลดีขึ้นมาก

 

อาการของ FMS พบในผู้ที่ต้องทำงานอยู่ในอิริยาบถเดียวกัน นาน ๆ เช่น ผู้ที่นั่งทำงานหน้าจอ Computer ติดต่อกันหลาย ๆ ชั่วโมง ทันตแพทย์ที่นั่งก้มและเอียงคอเวลารักษาคนไข้ ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และมีความเครียด

 

ผู้ที่มีอาการของ FMS กว่า 90% เป็นผู้หญิงอายุเฉลี่ยประมาณ 50 ปีต้นๆ โอกาสที่จะรักษาหายขาดนั้นมี แต่ค่อนข้างยาก อาการเจ็บปวดลึกๆ แผ่ขยาย ไปทั่วบริเวณใกล้เคียง บางครั้งมีความรู้สึกแสบร้อน เริ่มจากปวดเล็กน้อย ไปจนปวดมาก หลายรายมีโรคปวดข้อ (Rheumatoid Arthritis) และอาจเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำงานมาผิดปกติคือ ทำลายเซลล์ในร่างกายเอง เวลาที่ปวดเป็นทั้งช่วงเช้าและเย็น โดยเฉพาะขณะที่มีความกังวล เครียด หรือทำงานเหนื่อย อากาศเย็น ชื้น กล้ามเนื้อจะบีบตัวมาก (Spasm) มักเกิดเวลากลางคืนทำให้นอนไม่หลับ

 

นักวิจัยให้การสันนิษฐานว่า มีสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า Substance P มีหน้าที่ตอบสนองต่อการอักเสบ เนื่องมาจากความเจ็บปวด กระตุ้นปลายประสาท ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และกล้ามเนื้อจะปล่อย Enzymes หลายชนิด เช่น Cytokines Endorphins และ Cellular Enzyme

 

Serotonin เป็นสารเคมีในร่างกายมนุษย์อีกชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ป้องกันการส่งสัญญาณความเจ็บปวดของระบบประสาท ในกระดูกสันหลังพบว่า มีปริมาณ Serotonin ต่ำกว่าปกติ ในผู้ที่เป็น FMS อาการปวดบริเวณกระดูกขากรรไกร (Temporomandibular Disorder-TMD) มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือทั้ง 2 ชนิด พบมากในผู้หญิงแต่ TMD อยู่ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 20-40 ปี และลดลง เมื่ออายุมากขึ้น ส่วน FMS (เฉลี่ย 40 ปี) อาการจะรุนแรงขึ้นตามอายุ มีรายงานว่าผู้ที่มีอาการ FMS 75% จะมีอาการของกล้ามเนื้อ กระดูกขากรรไกรอักเสบเรื้อรัง

 

การรักษา FMS

 

โดยมากจะรักษาตามอาการ ซึ่งประกอบด้วยกายภาพบำบัด ให้คำแนะนำและให้ความรู้ในการปฏิบัติตนแก่ผู้มีอาการนี้ การรับประทานอาหารเสริมมีรายงานหลายแห่งว่า การรับประทานน้ำมันปลา (Fish Oil) Magnesium/Malicacid และ Vitamin B12 จะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ยังไม่มีการทดลองผลอย่างเป็นทางการ การออกกำลังกาย ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ (Electromyograms) เดิน ว่ายน้ำ ซึ่งเป็นกีฬา เบา ๆ รวมทั้งการนวดตัว (Massage) ผ่อนคลาย การฝังเข็ม ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้

 

ยาคลายกล้ามเนื้อที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้า (Depression) ในขนาดอ่อนๆ ก็ปรากฏว่าช่วยให้กล้ามเนื้อคลายความตึงเครียดได้ดี และทำให้นอนหลับดีขึ้น ร่างกายสามารถผลิต Endorphin (สารที่ระงับความเจ็บปวด) ขณะที่ร่างกายได้พักผ่อน แต่ผลข้างเคียงจากยา คือ น้ำหนักตัวเพิ่ม หัวใจเต้นแรง ร่างกายขับปัสสาวะได้ยากขึ้น

 

อะไรทำให้เกิด FMS

 

แม้ว่าสาเหตุที่แน่นอนของอาการปวดกล้ามเนื้อ จะยังสรุปไม่ได้ชัดเจน นักวิจัยได้ตั้งทฤษฎีหลายหลากตามความเห็นและข้อมูล เช่น อาจเกิดจากการกระทบกระแทกหรือการยกของที่มีน้ำหนักมากๆ มีผลต่อระบบควบคุมประสาทส่วนกลาง บางคนก็คิดว่า ความเครียด (Stress) เป็นปัจจัยสำคัญ FMS มีความสัมพันธ์กับการไหลเวียนของโลหิตที่ลดลง ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายและไม่มีกำลัง มีการศึกษาค้นคว้า ที่บ่งไปในทางพันธุกรรม ซึ่งถ่ายทอดมาทางเพศหญิงอีกทฤษฎีหนึ่ง ศึกษาถึงความบกพร่องของต่อมไทรอยด์ซึ่งควบคุมการผลิต Serotonin เนื่องจากลักษณะของ FMS ถูกลอกเลียนโดยอาการของฮอร์โมน ไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ

 

ผู้เขียนมีคนไข้หญิงหลายรายที่มีอาการปวดไหล่ ปวดคอ ปวดกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ เรื้อรังจนต้องทำการรักษาด้วยกายภาพบำบัด ควบคู่กับการออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ

 

ความเครียดในชีวิตปัจจุบันที่คนกรุงเทพฯ กำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจที่ตกต่ำบวกกับการจราจรที่เป็นอัมพาต และสิ่งก่อสร้างที่เป็นเสมือนขยะทางสายตา ล้วนเป็นสภาพแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดโรคเครียดได้มากทั้งสิ้น ขอให้ทุกคนพยายาม รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อจิตใจจะได้เข้มแข็งและก้าวผ่าน สภาวะที่กดดันไปสู่วันข้างหน้าที่สดใสมั่นคงกว่าเดิมด้วยกัน

 

 

ท.ญ.ดร.ชมพูนุช จิตรปฏิมา

ขอบคุณนิตยสารแม่และเด็ก ที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...