ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

little devil

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    171
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย little devil

  1. เศรษฐกิจโลกอยู่ที่จุดต่ำสุดหรือยัง เขียนโดย kumponys วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ราคาทองคำจะไปทางไหน ดูจะโยงใยกับเศรษฐกิจโลกอย่างไม่สามารถแยกได้ ผมไปอ่าน ทัศนะของคุณ David Skarica นักเขียนจาก addictedtoprofits.net ให้มุมมองตลาดโลกที่น่าสนใจดี เลยแปลบางส่วน (เพราะมันยาวจัด) มาฝากครับ ได้มุมมองกูรูนอกอีกสักท่านไว้ปลอบใจ น่าจะทำให้คนถือทองยาวๆ อุ่นใจได้บ้าง The Gold Report: เราถึงจุดต่ำสุดรึยัง? David Skarica: ผมได้ศึกษาความแตกตื่น (panic) ที่เกิดขึ้นในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา และค้นพบว่ามีรูปแบบการขายที่คล้ายคลึงกัน เมื่อเราพบกับจุดต่ำสุดที่แท้จริง ความแตกตื่นอย่างที่เราเห็นในเดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นไปตามแบบฉบับที่ตามด้วยการแรลลี่พุ่งดีดกลับขึ้นมาอย่างที่เรามีในเวลานี้ ซึ่งการแรลลี่ขึ้น จะดึงตลาดขึ้นมา 20-30% จากจุดต่ำสุด และจะกินเวลาประมาณ 1 เดือนและจากนั้นคุณจะเห็นการกลับไปทดสอบจุดต่ำสุดอีกครั้ง มันอาจจะไม่ได้กลับมาทดสอบทั้งหมด แต่อาจมีการวิ่งขึ้นเกิดซ้ำ 1 ครั้งในช่วง 1 - 2 เดือน ตัวอย่างเช่น ในปี 87 และปี 74, หลังการลดลงครั้งใหญ่ 30% หรือ 35% คุณได้เห็นการแรลลี่วิ่งขึ้นเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน (คงหมายถึงปีที่แล้ว) แล้วลดลงสู่เดือนตุลาคม (ที่ผ่านมา) และตลาดยืนได้ จุดต่ำสุดเริ่มต้น และตลาดกระทิงจะเริ่มทำงานไปอีก 2-3 ปี เมื่อการแรลลี่เริ่มต้นเล่นออกมา จุดสำคัญคือจับตาดูการถอยกลับลงมาในเดือนธันวาคม ซึ่งนั่นควรจะเป็น "จุดต่ำสุด" คุณจะรู้ว่ามันเป็นจุดต่ำสุดเพราะคุณจะเห็น non-confirmation (อาจหมายถึงสัญญาณทางเทคนิคที่ไม่ยืนยันจุดต่ำสุด) คุณจะไม่ได้เห็นการทำ new low หลายๆครั้ง; ดัชนีวัดความกลัวอย่าง VIX (Chicago Board Options Exchange Volatility Index) จะไม่ชนกับระดับสุดๆอย่างนั้น อุตสาหกรรมจำนวนมากจะนำพวกเราลงมา อย่างเช่นธนาคารหรือสายการบิน จะยืนได้เหนือจุดต่ำสุดของพวกมัน นั่นจะเป็นจุดต่ำสุด อย่างกรณีแย่ๆอย่างที่เกิดในปี 1929 หรือ 2001 เมื่อคุณได้เจอกับการเทขายครั้งใหญ่ จะมีการแรลลี่ขึ้นมาได้ 4 - 6 เดือนก่อนที่ตลาดจะกลับตัวลงอีก และพบกับจุดต่ำสุด ถ้าตลาดยังคงแรลลี่ขึ้นจนถึงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ นั่นจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเอามากๆ ผมต้องการเห็นการกลับมาทดสอบ (retest) สิ่งหนึ่งที่เป็นบวกคือเราได้เห็นการกลับมาทดสอบแล้วในปลายเดือนตุลาคม และตอนนี้เรากำลังเห็นการแรลลี่ครั้งที่ 2 ในปี 2001 ไม่เกิดการ retest ตลาดถูกเทขายอย่างหนัก 3-4 วันหลังกรณี 9/11 แล้วหลังจากนั้นก็แรลลี่ขึ้นมาตลอด หุ้นทองคำอยู่ในระดับต่ำสุดตลอดกาลในเทอมของ P/E (?? ใบ้กิน ไม่รู้อะไร) และราคาของมันมีความสัมพันธ์กับราคาทองคำ ดอลล่าร์ขึ้นมาได้ในช่วงที่กำลังคลายอิทธิพลแต่ ณ จุดใดจุดหนึ่ง ดอลล่าร์จะต้องกลับลงมา ถ้าคุณดูที่เงินสกุลที่ถูกฆ่า - ดอลล่าร์แคนาดา และ ดอลล่าร์ออสเตรเลีย - โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศพวกนี้ยังคงแข็งแกร่ง พวกเขาไม่ได้ทำงบขาดดุลมหาศาล แคนาดามีงบขาดดุลแค่ไม่กี่เปอร์เซนต์ของ GDP ไม่เหมือนกับสหรัฐ ที่มีงบขาดดุลปาไปเกือบ 10% ของ GDP ธนาคารของแคนาดายังคงดี ไม่มีแห่งไหนต้องการความช่วยเหลือเลย The Gold Report: ธนาคารยุโรป และธนาคารญี่ปุ่นก็กำลังเข้าช่วยเหลือระบบธนาคารของเขาเหมือนกัน ทำไมเงินสกุลของสหรัฐถึงยังแย่เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น? David Skarica: ผมไม่คิดว่าดอลล่าร์จะแพ้ในระยะสั้น เพราะยุโรปที่ไม่ใช่แค่ยูโร แต่หมายถึงประเทศในยุโรป มีสัดส่วนการคำนวณใน USD index ราว 70% ประเทศพวกนี้ก็มีปัญหาเหมือนกัน Milton Friedman (ใครหว่า?) กล่าวว่า เขาไม่เคยคิดว่า ยูโรจะอยู่รอดได้ในภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจรุนแรงครั้งแรก เพราะความไม่ลงรอยกันระหว่างประเทศที่ใช้เงินยูโร คุณจะทำยังไงให้ประเทศอย่างอังกฤษ อิตาลี เยอรมัน และฝรั่งเศส เห็นด้วยกับอะไรสักอย่าง ดอลล่าร์แรลลี่ขึ้นมาได้เพราะผู้คนเชื่อว่า อย่างน้อยที่สุดสหรัฐยังมีนโยบายเดียว ผมไม่คิดว่าคุณจะได้เห็นดอลล่าร์พังทลายลงได้ในระยะสั้น ยกเว้นว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสมบูรณ์แบบทั่วโลก และผมคิดว่าไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ผมเชื่ออย่างมากว่าส่วนที่เหลือของโลกจะไม่วางใจในระบบการเงินสหรัฐ แพคเกจจากวอลล์สตรีททั้งหมดเป็นสิ่งหลอกลวงและถูกขายให้กับทุกๆคน พวกเขาโง่และละโมบในการซื้อและถูกหลอก ดังนั้นธนาคารในเอเชียจะไม่มีการซื้อพันธบัตรของแฟนนี่เมและเฟดดีแมคอีก พวกเขาจะแสดงความไม่พอใจและไปลงทุนในจีน อินเดีย และตลาดเกิดใหม่แทน เงินทุนจะไหลออกไปจากสหรัฐ หลังการล่มสลายในปี 1929 ศูนย์กลางการเงินโลกย้ายจากอังกฤษไปยังอเมริกา การล่มสลายในครั้งนี้จะย้ายศูนย์กลางทางการเงินจากวอลล์สตรีทไปยังสิงคโปร์, ดูไบ, มุมไบ และบอมเบย์ ธนาคารญี่ปุ่นก็แข็งแกร่งใช้ได้ในตอนนี้ และยังมีธนาคารอีกมากในเอเชีย พวกเขาอยู่ในกลุ่มที่มีคดีความเพราะพวกเขาครอบครองสินทรัพย์ที่เป็นพิษเหล่านี้อยู่ แต่คุณก็จะไม่เห็นการเข้าอุ้มขนานใหญ่ที่นั่น รวมทั้งที่ออสเตรเลีย จะมีความเติบโตต่อเนื่องในตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ในสหรัฐ คนที่เกิดช่วงหลังสงครามโลกกำลังถึงเวลาปลดเกษียณ ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราพูดถึงซัพพลายที่ท่วมหัวและนั่นคือเมื่อหุ้นขึ้นไปสูงแล้วกลับลงมาต่ำ ปัญหาเกิดเมื่อผู้คนที่ซื้อในระดับราคาที่สูงจะขายออกมาทุกครั้งที่เกิดการแรลลี่ขึ้นเพื่อตัดการขาดทุน คนยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังปลดเกษียณ ดังนั้นจึงขายทุกครั้งที่ราคาขึ้น ในทศวรรษปี 1970 และ 1980 พวกเขายังอายุแค่ 30-40 ปี ดังนั้น พวกเขาได้ซื้อหุ้นไว้ 10 ปีถัดมาพวกเขาจะเป็นผู้ขาย The Gold Report: แล้วรุ่นต่อมาล่ะ? พวกเขากำลังจะจบออกมาจากสถาบันการศึกษา และกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด กำลังศึกษาอยู่ David Skarica: พวกเขากำลังออกมา แต่ยังไม่ถึงจุดที่พวกเขาจะสร้างผลตอบแทนสูงสุดจนกว่าจะอายุรุ่น 40 ถึง 50 ปี The Gold Report: ใช่ David Skarica: คนรุ่นต่อจากรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมากจะไม่ลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ 10 ถึง 15 ปี ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะผมทำการวิจัยหลายครั้ง และวงรอบ 10 ถึง 20 ปีถือเป็นเรื่องปกติ ในตลาด วงรอบการลงทุนกินเวลา 17-18 ปี ตัวอย่างเช่นในตลาดกระทิงช่วงจากปี 1949 จนถึง 1966 แต่ตลาดหมีอยู่ในช่วง 1966 ถึง 1982 แล้วก็ตามด้วยตลาดกระทิงในช่วงปี 1982 - 2000 ตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงกลางของตลาดหมีระยะยาว ขณะที่การแรลลี่ขึ้น จากคนรุ่นต่อไปเริ่มต้นลงทุนอย่างหนักพร้อมๆกับคนรุ่นหลังสงครามเริ่มขาย อย่างที่ผมพูด ผมคิดว่าเราอาจเจอจุดต่ำสุดที่นี่ เราอาจมีตลาดกระทิงอยู่ปีหรือ 2 ปี อย่างที่เราเคยมีในช่วงปี 1975-1976 หลังตลาดหมีที่แย่ในปี 1973-1974 แต่ผมเชื่อว่า เรายังอยู่ในช่วงตลาดหมีในระยะยาว ซึ่งกินเวลา 15-20 ปี สาเหตุหนึ่ง จากการพิมพ์แบงค์ทั้งหมด ผมคิดว่า อัตราดอกเบี้ยกำลังจะสูงขึ้น ฟองสบู่ต่อไปที่จะแตกคือตลาดพันธบัตรสหรัฐ คุณจะได้เห็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงในปีต่อๆไปเพราะขณะนี้ซัพพลายเงินสหรัฐอยู่ที่ 38% ซึ่งไม่น่าเชื่อ แม้ช่วงปี 2000 ยังแค่ 15% เอง The Gold Report: มีข้อถกเถียงใหญ่คือเรากำลังอยู่ในช่วงเงินฝืดหรือเงินเฟ้อกันแน่? David Skarica: ผมคิดว่า มันเป็นไฮเปออินเฟลชั่น หรือเงินเฟ้ออย่างมาก เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในปี 1970 ลองดูที่ SGS (Shadow Stats - www.shadowstats.com) ซึ่งคำนวณเงินเฟ้อตามวิธีที่ทำในปี 70 ถึง 80 พวกเขาได้เปลี่ยนสูตรวิธีคิดในปี 1990 โดยอ้างว่าวิธีเก่าเงินเฟ้อที่คำนวณได้มันเกินจริง แต่ผมคิดว่าสูตรวิธีคิดในปัจจุบันมันก็ต่ำกว่าความเป็นจริง เมื่อน้ำมันพุ่งขึ้นมา 150 เหรียญ ทุกคนเห็นด้วยว่าเงินเฟ้อมันมากกว่าที่รายงาน 5-6% หากคำนวณด้วยวิธีเก่า เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 10-12% ในช่วงฤดูร้อนนี้ ช่วงที่ทรัพยากรอยู่ที่ราคาสูงที่สุด และแม้คุณจะแยกความแตกต่างระหว่างระบบเก่ากับใหม่ เราก็ยังมีเงินเฟ้ออยู่ในช่วง 8% - 10% ทุกครั้งที่พวกเขาพิมพ์แบงค์ออกมา มันจะนำไปสู่เงินเฟ้อเสมอ วิธีการที่เบอนันเกทำอย่างแข็งขันคือหลีกเลี่ยงการตัดซัพพลายเงินลงอย่างที่เฟดเคยทำในปี 1929 จนถึงปี 1932 เขาทำตรงกันข้าม สภาพคล่องทั้งหมดที่เขานำเสนอจะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อตามมา ตามปกติคุณจะไม่ไปจากช่วงเงินเฟ้อไปหาช่วงเงินฝืด CPI ในปี 1920 ลดลง พวกเขาเกิดภาวะเงินฝืดแล้วตามด้วยภาวะเงินฝืดอย่างมากในต้นทศวรรษปี 1930 ดังนั้นโดยปกติ คุณจะไปจากเงินเฟ้อที่สูงเป็นเงินเฟ้อที่สูงยิ่งขึ้น เราอยู่ในระบบการเงินแบบไม่มีอะไรค้ำประกันที่เรียกว่า flat currency ในตอนนี้ ไม่ต้องมีทองคำค้ำประกัน ไม่ต้องใช้อะไรเลย flat currency อย่างสมบูรณ์แบบจะจบด้วยเงินเฟ้อ ไม่ใช่เงินฝืด The Gold Report: อะไรที่จะทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น? David Skarica: อัตราดอกเบี้ยมาจากดีมานด์และซัพพลาย ดูที่ผลตอบแทนของพันธบัตร 10 ปี ผลตอบแทนต่ำสุดประมาณ 3.2% ในปี 2002-2003 เป็นจุดต่ำสุดในช่วงที่มีความตื่นตระหนกอย่างมากตอนนี้ เป็นความพินาศมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1987 โดยในช่วง 100 ปีมีเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แค่ 6 หรือ 7 ครั้ง ในปี 2008 นี้ ผลตอบแทนพันธบัตรแค่ลดลงมาที่ 3.8% เราไม่เห็นการไหลเข้ามาของเงินสู่ตลาดพันธบัตร ซึ่งถ้าคุณเข้าสู่ยุคเงินฝืดจริง ตลาดพันธบัตรจะบอกคุณ ตลาดพันธบัตรอาจลงไปเหลือ 1-2% และบอกคุณว่า โอเค ทุกอย่างมันลงหมด ซึ่งแทนที่จะเป็นอย่างนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังอยู่ที่เกือบ 4% ในตอนนี้ กลับมาดูที่ซัพพลายและดีมานด์ พวกเขาได้ออกพันธบัตร 5.5 แสนล้านดอลล่าร์ในไตรมาสนี้ เพื่อใช้ช่วยเหลือและพวกเขายังอาจจะใช้งบขาดดุลไปอีกปีหรือ 2 ปีเพราะกำลังจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การออกพันธบัตรจำนวนมาก เป็นไปได้ที่ผู้ซื้อก็จะเรียกร้องผลตอบแทนที่สูงขึ้น The Gold Report: คุณคิดว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นไปเท่าไหร่? David Skarica: ตอบยากนะ ไม่มีเหตุผลที่คุณจะไม่สามารถกลับไปที่อัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 7-9% ในพันธบัตร 10 ปีซึ่งเคยเกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 มันอาจไม่ถึงกับว่าจะเป็นระดับนั้นจริงๆ แต่เราน่าจะถึงระดับ 2 หลักต้นๆ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครพูดถึงมัน ถ้าคุณเคยอ่านเรื่องอาณาจักรโรมัน หรือ อังกฤษ, สหรัฐได้ทำสิ่งผิดพลาดเหมือนๆกัน พวกเขาพยายามทำตัวเป็นตำรวจโลก ด้วยนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวเกินไปและใช้จ่ายเงินของคุณทั้งหมดไปกับสงคราม พวกเขาต้องการ flat currency สมบูรณ์แบบ สหรัฐจะเสื่อมอำนาจลง อาจใช้เวลาช่วงอายุคนรุ่นหนึ่ง แต่ผมคิดว่ามันจะต้องเกิดขึ้น ในปี 1913 อังกฤษเป็นผู้จัดระเบียบโลก 35 ปีต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐได้เข้าช่วยเหลือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นค่อนข้างเร็วมาก ท้ายที่สุด ผู้คนจะเรียกร้องผลตอบแทนสูงขึ้นจากภาระหนี้ ดังนั้นผมคิดว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะถึง 10% หรือสูงกว่านั้น เมื่อถึงที่จุดสูงสุด คุณอาจเห็นการกลับมาสู่ระดับในปลายทศวรรษปี 1970 The Gold Report: คุณคิดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่เท่าไหร่? David Skarica: น่าจะ 10 - 15% ราคาก๊าซขึ้นมาแล้ว 10% น้ำมัน 10% ผมเป็นคนที่มองอะไรก็เงินเฟ้อไปหมด ดูอย่างคุณจิง โรเจอร์ เขาไม่ได้พูดแค่เรื่องดีมานด์กับจีนและอินเดีย หรือ ดอลล่าร์สหรัฐจะลง เขาชี้ไปที่จะไม่มีซัพพลายน้ำมันเข้ามายังตลาด และพลังงานทางเลือกอย่างโซล่าเซล และพลังงานลมจะต้องใช้เวลาอีกนานในการจะเข้ามาแทนที่พลังงานจากฟอสซิล ดังนั้น ผมยังคาดว่า เงินเฟ้อจะเป็นตัวเลข 2 หลัก ตอนนี้รายงานกันแค่ 7-8% แต่จริงๆอาจจะเป็นราว 15-16% หรือแม้แต่ 18-19% หรือกว่านั้น หากใช้สูตรคำนวณที่ใช้ในปี 1980 เงินเฟ้อจริงได้ขึ้นมา 10-12% ในช่วงซัมเมอร์นี้ และตอนนี้มันลดลงประมาณครึ่งหนึ่งเพราะการลดลงของราคาโภคภัณฑ์ แต่มีบันทึกที่น่าสนใจ ราคาโภคภัณฑ์เริ่มร่วงแยกกันในช่วงเดือนกันยายน เมื่อผู้คนเทขายออกมาทุกสิ่งทุกอย่าง PPI หรือดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนกันยายนยังคงสูงขึ้น ผมคิดว่าเพราะผลจาก flat currency มันยากมากที่จะหาเงินเฟ้อ จำได้ว่า แม้ในปี 1980-1982 เมื่อพวกเขาขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปถึง 20% เพื่อฆ่าเงินเฟ้อ เงินเฟ้อลดลงจาก 20% เหลือ 4 หรือ 5% แต่พวกเรายังไม่เจอกับเงินฝืด ผู้คนจับมารวมกันเพราะคิดว่าหุ้นตก หรือ อสังหาริมทรัพย์ตกนั่นคือเงินฝืด ซึ่งในความเป็นจริง มันคือภาวะสินทรัพย์ฝืด (asset deflation) ภาวะเงินฝืดที่จริงจะลดซัพพลายเงินลง และลดราคาสินค้า คุณลองดูในบิลค่าไฟฟ้าดู มันไม่ได้ลดอะไรมากเลย น้ำมันไม่เคยถึง 70 เหรียญจนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ผู้คนทำราวกับว่า มันลดลงมาจาก 140 เหรียญเหลือ 70 เหรียญนี่ถูกแล้ว แต่จำได้มั๊ย มันมีราคาแค้ 25-30 เหรียญเมื่อตอนสงครามอิรักเริ่มต้นในปี 2003 ผู้คนคิดว่า นี่คือภาวะเงินฝืดแล้ว แต่น้ำมันแค่กำลังถอยลงมา สำหรับ จิม โรเจอร์ 'นี่คือการลดลง 40% หรือมากกว่านั้นเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ตลาดกระทิงน้ำมันเริ่มต้นขึ้นในปี 1998' ผมคิดว่า เรากำลังอยู่ในช่วงตลาดกระทิงอมตะของโภคภัณฑ์ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2001 โภคภัณฑ์มีความผันผวนอย่างมาก มันสามารถร่วงลงมาได้ 50% แต่ยังคงอยู่ในตลาดกระทิงได้ ในปี 1975 ถึง 1976 ราคาทองคำลงจาก 200 เหรียญ เหลือแค่ 110 เหรียญ หลังจากขึ้นมาจาก 35 เหรียญ ไปถึง 200 เหรียญ ทุกๆคนคิดว่าตลาดทองคำจบแล้ว และถัดมาอีก 4 ปี มันก็พุ่งขึ้นมาถึง 800 เหรียญ ทองคำสามารถลงไปได้ถึง 600 เหรียญโดยที่ยังเป็นกระทิงอยู่ ผู้คนแค่ไม่เข้าใจมันเพราะไม่ได้คิดถึงระยะยาวๆ The Gold Report: ถ้าคุณบอกว่าตลาดกระทิงโภคภัณฑ์เริ่มต้นในปี 2001 และวัฏจักรนี้กินเวลา 15 ถึง 18 ปี เราก็กำลังอยู่ในช่วงกลางๆทางสิ David Skarica: ใช่ The Gold Report: ตลาดโภคภัณฑ์ผันผวนมาก แต่ช่วง 2/3 ของตลาดกระทิงนี้จะโตอย่างเร่งเร็วขึ้นหรือไม่? หรือจะโตเร็วแล้วร่วง? David Skarica: ความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ๆจะเกิดขึ้น 2 ครั้งเสมอ โดยครั้งนึงจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้น และอีกครั้งในตอนจบ ตัวอย่างเช่น ดัชนี HUI (หุ้นเหมืองทองคำ) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดทองคำ ขึ้นจาก 35 เหรียญจนถึง 200 เหรียญในช่วง 2-3 ปีหลังแต่ระดับต่ำสุด ขึ้นมาราว 6 เท่า ดังนั้น คุณจะเห็นการพุ่งขึ้นอย่างมากที่จุดต่ำสุด ดาวน์โจนส์ขึ้นมาจาก 800 ไป 1500 จุดในปี 2 ปีแรกของตลาดกระทิง การขึ้นอย่างมากเกิดในตอนแรก และตอนกลางๆจะค่อยเป็นค่อยไป และสุดท้ายคุณจะเห็นการแตกของฟองสบู่ และคุณจะเห็นการขึ้นมา 2 - 3 เท่า 3 สิ่งที่ดันราคาโภคภัณฑ์ คือ ซัพพลายเงิน, ดอลล่าร์สหรัฐ และซัพพลาย-ดีมานด์ ในปี 1970 เกิดความโกลาหล แต่ราคาโภคภัณฑ์ไม่ไปไหน เพราะนโยบายเศรษฐกิจที่มีปัญหา รัฐบาลพิมพ์แบงค์ออกมาจำนวนมาก ไม่มีการลงทุนในช่วงทศวรรษปี 1980 - 1990 ไปกับกองทุนโภคภัณฑ์ใหม่ๆ และตอนนี้ พวกมันจำนวนมากกำลังปิดตัวลง เพราะการถอยลงของตลาดในครั้งนี้ ตลาดโภคภัณฑ์น่าจะรีบาวน์ได้ในปี 2010 ซึ่งจะนำให้ราคาสูงขึ้นไปได้อีก 5 ถึง 10 ปี The Gold Report: ทองคำจะอยู่ที่ไหนในอีก 12 - 18 เดือนข้างหน้า? David Skarica: ตอบยาก ตอนนี้น่าสนใจจริงๆ เพราะดอลล่าร์สหรัฐมีการซื้อขายในทิศทางตรงกันข้ามกันนับตั้งแต่เดือนกันยายน เราเห็นการแรลลี่ของดอลล่าร์ เราเห็นการลดลงของเงินสกุลอื่น เพราะการหนีไปสู่ดอลล่าร์ เมื่อเราพูดถึงการเรียกคืนของเฮดฟันด์ คนที่เป็นเจ้าของกองทุนที่จริงส่วนมากอยู่นอกสหรัฐ คุณต้องซื้อดอลล่าร์เพื่อจ่ายคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นกันอยู่ในตอนนี้ ถ้าเราเห็นการ retest ตลาดในเดือนธันวาคมหลังจากที่ดอลล่าร์ลงมาในระยะสั้น ทองคำอาจกลับมาอยู่ที่ราวๆ 700 เหรียญ ถ้าผมถูกและตลาดขึ้นได้ในปีหน้า ไตรมาสที่ 4 ของปีนี้จะเป็นจุดต่ำสุด ทองคำอาจไปถึง 1000 หรือกระทั่ง 1100 เหรียญ แปลจาก: http://www.marketoracle.co.uk/Article7309.html
  2. โพลล์สำรวจราคาทองคำปี 2009 โดย kumponys วันอังคารที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๒ รอยเตอร์ ได้ออกโพลล์สำรวจราคาโลหะมีค่าสำหรับปี 2009 โดยสำรวจจากนักวิเคราะห์โลหะมีค่า 56 ท่านในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า ราคาทองคำถูกคาดหมายว่าจะยืนได้อย่างแข็งแกร่งในปีนี้ เพราะนักลงทุนมองหาแหลางที่ปลอดภัยจากความโกลาหลในตลาดการเงิน โพลล์ยังพบอีกว่า โลหะมีค่าที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในปีนี้ ความเชื่อถือของมันขึ้นอยู่กับความต้องการจริงทางเศรษฐกิจ จากการสำรวจขอรอยเตอร์เที่ยวนี้ สำรวจตัวอย่างถึง 56 ตัวอย่าง เทียบกับของบลูมเบิกร์กที่ 20 ตัวอย่าง โดยพบว่ามีอารมณ์หมีหรือตลาดขาลงมากกว่า ส่วนค่าเฉลี่ยของราคาอยู่ที่ 862.50 เหรียญในปีนี้ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปีที่แล้วราว 10 เหรียญ โดยปีที่แล้วอยู่ที่ 871.21 เหรียญ และต่ำกว่าราคาปัจจุบัน (905 เหรียญ) ราว 5%
  3. 10 คำทำนายปี 2010 โดย kumponys วันเสาร์ที่ ๐๒ มกราคม ๒๕๕๓ โทมัส ตัน ผู้มีประสบการณ์ในตลาดโภคภัณฑ์ ด้วยเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานมากว่า 15 ปี ได้เขียนคำทำนายเศรษฐกิจทุกปี ตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งคราวนั้นทำนายว่า ทองคำจะแตะระดับ 1000 เหรียญได้เป็นครั้งแรก ปีนี้มีคำทำนาย น่าสนใจอีกจนอดไม่ได้ที่จะแปลมาให้อ่านกัน/ ผมได้เขียน 10 คำทำนายมา 2 ปีติดต่อกันแล้ว นับตั้งแต่ปี 2008 เดิมทีได้ไอเดียจากคุณ Byron Wien ซึ่งได้เผยแพร่คำทำนายออกมาทุกปีนับตั้งแต่ปี 1980 ขณะที่เขาอยู่ที่ Morgan Stanley แล้วก็ไปอยู่กับ Pequot Capital ตามด้วยปัจจุบัน อยู่ที่ Blackstone. คำทำนายในปี 2008 ของผมค่อนข้างตรงและได้ทำนายทิศทางหลักๆเกือบทั้งหมด เนื้อหาดีกว่าของคุณ Byron บางอย่าง ผมเรียกว่า เป็นความโชคดีของมือใหม่อย่างผม แต่ในปี 2009 Byron ก็สามารถเอาคืนได้ ด้วยคำทำนายที่ถูกต้องมากกว่า การอ่านลูกแก้วแบบนี้ ไม่มีใครชนะได้ตลอด แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผมว่ามันเป็นเรื่องน่าสนุกที่จะทำ โดยเฉพาะเมื่อมันถูกต้องขึ้นมา ผมตั้งใจจะทำมันทุกๆปี ไม่ว่าปีก่อนผลจะผิดหรือถูกมากกว่า และโดยไม่รอช้า คำ 10 ทำนายของผม มีดังนี้ 1. ทองคำ จะแตะระดับ 1500 เหรียญต่อออนซ์ในปี 2010 หรือหมายถึงขึ้นไปอีก 50% จากระดับปัจจุบัน ส่วนโลหะเงินก็จะตามกันไป แตะระดับ 25 เหรียญต่อออนซ์ ส่วนดัชนีหุ้นเหมืองทองคำ HUI จะขึ้นผ่าน 600 เหรียญด้วยเหมืองทองคำ/เงิน ขนาดเล็กๆหลายแห่ง จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2 - 3 เท่า ทองคำจะถูกจัดเป็นสินทรัพย์เพียงอย่างเดียวที่วางใจได้ ทั้งจากประชาชนทั่วไปและจากธนาคารกลางต่างๆ จากการเสื่อมค่าลงของเงินกระดาษ (fiat money) 2. ดัชนี USD index จะเหลือ 60 จุด การรีบาวน์ของ US ดอลล่าร์ขณะนี้จะอยู่ได้เพียงแค่ช่วงสั้นๆ หลังจากแตะระดับ 80 จุดได้ไม่นาน เพื่อจะบีบและเขย่าขวัญขา Short US ดอลล่าร์จะกลับสู่ trend ขาลงซึ่งจะเป็น trend หลักที่จะเกิดขึ้นในปี 2010 จนกว่าจะถึงระดับ 60 จุด ธนาคารกลางส่วนใหญ่ จะไม่ต้องการถือ US ดอลล่าร์อีกต่อไป แต่พวกเขาก็จะประสบกับความยากลำบากในการที่จะออกจากสถานการณ์เช่นนี้โดยที่ตัวเองจะไม่ได้รับกระทบ หนทางที่ดีที่สุดสำหรับทั้งสองฝ่าย (ธนาคารกลางอื่น กับ เฟด) คือการที่จะต้องประคองให้มีการลดค่าลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปราว 20% ต่อปี 3. ตลาดหมีใน S&P ที่รีบาวน์อยู่ในตอนนี้ จะขึ้นต่อได้อีกราว 7 เดือน จากเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม แล้วหลังจากนั้น ตลาดจะต้องเผชิญกับหน้าผาสูงชันที่จะมาเขย่าขวัญอีกเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งจะเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งจะไม่เหมือนกับรูปแบบปกติที่เกิดขึ้นในปีที่มีการเลือกตั้งกลางเทอม ที่ปกติ จะแย่ในช่วงครึ่งแรกของปี และดีขึ้นในช่วงครึ่งหลัง แต่จะกลับไปสอดคล้องกับความคิดและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในวอลล์สตรีท ที่จะสูบ รีดเอาน้ำผลไม้ และโบนัสสำหรับตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนที่ภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจระลอก 2 จะเกิดขึ้น 4. หุ้น Citigroup จะลดลงเหลือต่ำกว่า 2 เหรียญอีกครั้ง (ปัจจุบัน 3.30 อดีตก่อนเกิดวิกฤติอยู่ที่เกิน 50) ความยากลำบากในการหาทุนเพิ่มที่เห็นกันอยู่ในตอนนี้ บอกเรามากเกินพอสำหรับสถานการณ์ภัยพิบัติของสถาบันแห่งนี้ นี่เป็นหายนะที่น่าสยดสยองสำหรับ Citi และการตัดสินใจที่แย่ๆ ที่ทำโดยคณะผู้บริหาร จนเดี๋ยวนี้ ใครๆในโลกก็รู้ว่า จุดประสงค์เดียวที่จ่ายเงินคืนแก่ TARP เพราะต้องการจ่ายโบนัสก้อนโตให้แก่แมวอ้วนคณะผู้บริหาร Citi พอร์ทของ Citi ในจำนวนหลายล้านๆ ยังคงเสื่อมค่าลงทั้งส่วนของที่อยู่อาศัยและตลาดอสังหาฯเชิงพาณิชย์ แค่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการล่มสลายในหนี้จำนองและอนุพันธ์ในพอร์ทของมัน ก็สามารถกวาดล้างผู้ถือหุ้นรายย่อยออกไปได้อย่างเร็ว และเมื่อถึงเวลานั้น พวกเขาอาจจะขอความช่วยเหลือจาก TARP อีกครั้ง (TARP เป็นหน่วยงานของสหรัฐ ที่เข้าอุ้มสถาบันการเงินสหรัฐจำนวนมากอยู่เวลานี้) 5. ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐ จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก 1.5% ในปัจจุบันเป็น 3% ซึ่งนี่จะเป็นสิ่งที่สร้างความประหลาดใจครั้งใหญ่ ของทั้งเฟดและนักลงทุน เฟดทำได้แค่ควบคุมอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ตลาดหนี้เริ่มได้กลิ่นและเริ่มรู้สึกว่าอะไรบางอย่างกำลังเกิดขึ้นอย่างผิดปกติมากๆในค่าเงิน และหนี้ของสหรัฐ - กระบวนการเทของจะเกิดขึ้นอย่างเร็ว ความกังวลเรื่องเงินฝืดจะกลับกลายเป็นความกังวลเงินเฟ้อแทน และไม่ใช่เงินเฟ้อธรรมดา แต่เป็นภาวะเงินเฟ้ออย่างมาก ( hyperinflation ) ได้เกิดขึ้นแล้ว การร่วงลงอย่างต่อเนื่องของค่าเงิน US ดอลล่าร์, ซัพพลายเงินที่คุมไม่อยู่ และการขาดสภาพคล่องของรัฐบาลที่ไร้ขอบเขต จะทำให้นักลงทุน ไม่สามารถมองเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์ได้ (มองไม่เห็นทางออก) ซึ่งจะแย่กว่าสมัยทศวรรษก่อนของญี่ปุ่น นับจากที่ความยุติธรรมของระบบของเราถูกตั้งข้อสงสัยโดยการออมเพียงน้อยนิดแต่รายจ่ายมหาศาล 6. การรีบาวน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของดัชนี S&P/Case-Schiller จะเกิดแค่ช่วงสั้นๆ ดัชนี Schiller จะร่วงลงมากกว่า 15% ในปี 2010 ต่ำกว่า 120 ตลาดอสังหาฯส่วนที่อยู่อาศัยจะเผชิญกับแรงกดดันที่น่ากลัวเพราะการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายเพราะถึงกำหนดการปรับดอกเบี้ยที่ต้องลอยตัวแล้ว โดยหนี้ที่ต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ย (ARM reset)จะทะยอยปรับในช่วงปี 2010-2012 ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นจะลามไปตลาดอสังหาฯเชิงพาณิชย์ โครงการขนาดใหญ่ๆจะล้มเหลวในปีต่อไป เหมือนพลุบนท้องฟ้า ข่าวร้ายที่เกิดขึ้นใน 2 ตลาดนี้ อาจต้องใช้เวลาน้อยๆก็ 1 - 2 ทศวรรษในการฟื้นฟู ต้องขอบคุณวิศวกรรมการเงินของวอลล์สตรีท 7. หลังจากซื้อเวลาได้อีกครึ่งปี หุ้นอุตสาหกรรมส่วนบุคคล (PE) จะเผชิญแรงกดดันในปี 2010 โดยเฉพาะในครึ่งปีหลัง นักลงทุนส่วนบุคคลจะเรียกร้องความโปร่งใสในการแสดงมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งที่พวกเขาลงทุนไป แล้วพวกเขาจะเริ่มค้นพบว่า ระบบ leverage หรือการลงทุนที่ใช้อัตราทดมันไม่ work เฮดฟันด์จะทะยอยปิดตัวเพิ่มขึ้นในปี 2010 หลังเศรษฐกิจฟุบรอบ 2 8. จีนจะยังคงอัตราการเติบโตราว 9% ในปี 2010 หลังจากทำได้ 9% ในปี2009 ความพยายามของจีนในการที่จะชวนให้ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น ออมน้อยลง จะยังคงดำเนินต่อไป รัฐบาลกลางจะเริ่มโปรแกรมความปลอดภัยทางสังคม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอย่าง Health care ซึ่งจะตามมาหลังการเติบโตต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ปัญหาปวดหัวของจีน คงจะเป็นการหาทางรับมือกับทุนสำรอง 80% ที่มีมูลค่าในเทอมดอลล่าร์และกำลังเผชิญกับการเสื่อมค่าลงทุกวัน 9. เงินเฟ้อจะแตะระดับ 10% วัดจากฐาน CPI ก่อนยุคคลินตัน ใช้เกณฑ์จาก www.shadowstats.com ในการเปรียบเทียบแอปเปิ้ลกับแอปเปิ้ลในปี 1970 มันเป็นการควร ที่น่าจะใช้สูตรคำนวน CPI เดียวกันคือยุคก่อนสมัยคลินตัน เมื่อเงินเฟ้อหลุดออกจากกรง (การควบคุม) แล้ว อย่างที่ผมเชื่อว่ามันจะเกิดในปี 2010 มันเป็นไปไม่ได้ที่จะไปควบคุมมัน โดยไม่ทำอย่าง Paul Volcker อดีตประธานเฟด (ที่ขึ้นดอกเบี้ยอย่างแรง )ในปี 1980 10. น้ำมันจะแตะระดับ 3 หลัก (100 เหรียญ) อีกครั้งในปี 2010 ราคาปัจจุบันราว 70 เหรียญ กับซัพพลายที่จำกัด ผู้ผลิตน้ำมันจาก ทราย tar ยังไม่คุ้มที่จะผลิต พลังงานนิวเคลียร์จะได้รับความสนใจ เมื่อซัพพลายยูเรเนียมจากอดีตสหภาพโซเวียตใกล้หมด เทคโนโลยีสีเขียวจะมีการโอ้อวดเกินจริงและมีแผนการณ์อื่นมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง ภัยคุกคามจากโลกร้อนจะถูกขยายจนเกินจริงจากนักการเมืองและสื่อ ประชาชนยังคงจำได้ว่าในปี 1970 ทุกคนได้รับฟังจากนักการเมืองและสื่อว่า อุณหภูมิของโลกกำลังลดลงและเราจะกลับสู่ยุคน้ำแข็ง เพียงแค่ 3 ทศวรรษต่อมา เราถูกบอกในทางตรงกันข้าม เรื่องจริงคือมนุษย์ไม่สามารถควบคุมอะไรเกี่ยวกับอุณหภูมิโลกได้ ไม่ว่าจะร้อนหรือเย็น มันแค่ตัวอย่างที่นักการเมืองตบตา และทำให้เสียงบประมาณมหาศาลไปตลอดทาง
  4. Trading Psychology: ตอนคุณรู้หรือยังว่าคุณเป็นนักลงทุนแบบไหน โดย AcP สวัสดีครับพี่ๆน้องๆทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า ไม่ได้เขียนนานเลย แต่ก็ตามอ่านอยู่บ้างนะครับ ดีนะครับมีคนช่วยเหลือกันเยอะดี ในเวปนี้ก็มีผู้รู้ทางเทคนิคมากขึ้นด้วย ฉะนั้นผมจะไม่ไปเน้นทิศทางของราคาทองคำในระยะสั้นๆ เพราะมีผู้รู้ที่ให้คำแนะนำอยู่แล้ว แต่ผมจะเน้นภาพใหญ่ ภาพรวมแทน แต่ที่สำคัญกว่านั้น ที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดคือ “คุณรู้หรือยังว่าคุณเป็นนักลงทุนแบบไหน” ผมจึงจะขอเริ่มต้นที่จุดนี้ก่อน ราคาทองคำสองสามปีนี้ผันผวนขึ้นเยอะ ทำให้เราจ่อติดกับราคาและทำให้เราสามารถทำกำไร(หรือติดดอย) ได้เร็วขึ้น ตอนนี้ยิ่งมี Gold Futures ด้วย โอกาสก็มาเพิ่มด้วย แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมากอีกอย่างคือ ติดเหว ฉะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะต้องรู้จักตัวเองในฐานะนักลงทุน/เก็งกำไร ทุกท่านคงได้ยินคำเตือนนี้ “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” อันนี้สำคัญมากแต่ผมอยากเพิ่มอีกว่าให้ถามตัวเองก่อนว่าคุณจะเป็นนักลงทุนแบบไหน การที่คุณเป็นนักลงทุนประเภทใด ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่คุณรับได้ ผมจะขอแบ่งตามนี้นะครับ แบบฉบับของผม (1) นักลงทุนระยะยาว: นักลงทุนเหล่านี้ลงทุนทีเป็น ปีๆ พวก value investors ถ้าดูกราฟก็ดูรายเดือนไปเลย หรือซื้อเพิ่มเมื่อมี panic ในตลาด สำหรับทองคำ นักลงทุนประเภทนี้ เหมาะที่จะลงทุนในทองคำแท่งอย่างเดียว ความเสี่ยง จะดูสูงมาก (ถ้าเทียบกับประเภทอื่น) แต่กำไรก็จะมากตาม ความเสี่ยงที่ว่าคือ Drawdown คือราคาทองลงเป็น $100ๆ ก็ยังถืออยู่เพราะมองว่าแนวโน้มใหญ่ยังขึ้นได้อีก แถมยังอาจจะซื้อเพิ่มอีกด้วย (2) นักลงทุนระยะกลาง: นักลงทุนเหล่านี้จะลงทุนปีนึง 2-4 ครั้งเท่านั้นโดยดูกราฟรายสัปดาห์เป็นหลัก อาทิตย์นึงดูกราฟครั้งเดียว (3) นักลงทุนระยะสั้น: หรือ swing traders นักลงทุนเหล่านี้จะใช้เวลาเทรด 2-20 วัน โดยใช้กราฟรายวันและรายชั่วโมงเป็นหลัก (4) นักเก็งกำไระยะ Nano: นักเก็งกำไรเหล่านี้คือ Day Traders จะเข้าออกเร็วและหลายๆครั้งต่อวัน โดยใช้กราฟรายนาที หรือไม่ก็ tick เลย จะไม่ถือ positionข้ามคืน พรุ่งนี้ว่ากันใหม่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่กับหน้าตักของคุณและเวลาที่คุณจะให้กับการวิเคราะห์และติดตามการเคลื่อนไหวของราคา ถ้าคุณพอมีเงินเย็นแล้วไม่ต้องการดูราคาบ่อยๆ ผมว่าคุณก็ได้คำตอบแล้วว่าคุณควรจะเป็นนักลงทุนประเภทได ไม่มีประเภทไหนดีกว่าอีกอันนึงหรอกนะครับ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวคุณว่าคุณเหมาะสมที่จะเป็นนักลงทุนประเภทไหน คราวนี้เรามาดูซิว่าคำว่า “เสี่ยง” คืออะไร สำหรับผมแล้วไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนประเภทใด คุณต้องรู้ว่าคุณรับความเสี่ยงได้มากเท่าไร ความเสี่ยงที่ว่าคือจุด Stop Loss นั่นเอง จุดนี้ก็ตามชื่อครับคือจุดหยุดขาดทุน สำคัญมากครับ เพราะจะบ่งบอกว่าคุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน ถ้าคุณบอกว่าคุณเป็นนักลงทุนระยะยาวแต่ราคาไหลลง $100 เหรียญ แล้วคุณนอนไม่หลับ กังวลอยู่ตลอดเวลา คุณก็น่าจะรู้ตัวเองว่าคุณไม่ใช่นักลงทุนระยะยาว แต่ที่สำคัญเมื่อคุณเลือกแล้ว คุณควรจะอยู่กับตรงนี้ให้ได้ เพราะกลยุทธ์และแผนงานของแต่ละแบบจะไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าบอกว่าเป็นนักเก็งกำไร Nano แต่พอจะหมดวันบอกว่าราคาน่าจะไปต่อ/ลงต่อแล้วไม่ยอมปิด อันนี้ผิดวินัย และในระยะยาวจะไม่ส่งผลที่ดีเลย และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อถึงราคา STOP LOSS แล้วไม่ยอมปิดหรือขายออกมา เพราะบอกตัวเองว่าราคาลงมามากแล้ว ใช่ครับคุณอาจจะคิดถูกก็ได้ ถ้าปิดไปคุณอาจขายหมูก็ได้ แต่อย่างที่บอกระยะยาวแล้วไม่ส่งผลที่ดีเลยเพราะคุณใช้ความรู้สึก ถ้าสิ่งที่คุณคิดหรือรู้สึกผิดละครับ คุณจะออกตอนไหน คุณจะทำอย่างไร ผมเห็นมาเยอะแล้วครับ ตอนจะซื้อบอกว่าจะลงทุนระยะยาว แต่พอเห็นผันผวนก็จะมาถามว่าขายได้หรือยัง พอขายไปราคาวิ่งขึ้นต่อ ไม่ได้กลับไปซื้อใหม่ ตกรถเลย มัวแต่รอให้ราคามันลงต่อ แต่นี่ก็เป็นเรื่องปกติ เป็นจิตวิทยาในการลงทุน ผมตอบไม่ได้หรอกครับว่าคุณควรเป็นนักลงทุนประเภทไหน คุณเท่านั้นที่จะรู้ มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ผมเคารพได้บอกว่า ไปคุยกับตัวเองให้รู้เรื่องก่อนว่าต้องการอะไร ผมว่าเป็นคำแนะนำที่ดีมากเพราะคนส่วนใหญ่จะไม่คิดตรงนี้ก่อน จะหลงแสงสีเสียงของความผันผวนของราคากับกราฟที่มีผู้ช่วย (indicators) มากมาย อาทิตย์นี้เอาเท่านี้ก่อนนะครับ ยังไงผมฝากให้คิดกันนะครับ ลองสำรวจหน้าตักตัวเองว่ามีมากน้อยเพียงไร รับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใดและคุณมีเวลามากน้อยขนาดไหนที่จะทุ่มเทเวลากับการลงทุนและขอฝากตารางด้านล่างไว้นะครับแล้วอาทิตย์หน้าเรามาคุยกันใหม่ โชคดีนะครับ
  5. บทที่ 6 เครื่องมือวัดพลังคลื่น โดย Kumponys !K2 !K2 มีของอยู่ในมือแล้ว พวกเรามักมีปัญหาในการปล่อย หรือติดดอย เพราะไม่มีการเช็คสุขภาพ หรือพลังของคลื่น ว่าเหลือมากน้อยแค่ไหน สมควรจะเสี่ยงถือต่อไป หรือโยนให้คนอื่นถือต่อดี วันนี้มารู้จักกับเครื่องมือวัดพลังคลื่นทั้ง 3 ตัวที่ผมใช้ประจำครับ Stochastic Oscillator เป็นตัววัดแนวโน้มที่ให้ทิศทางเร็วกว่าเพื่อน แต่ก็นั่นแหละครับ หลอกเก่งกว่าเพื่อนเหมือนกัน เหมาะกับการให้ทิศทางระยะสั้นหรือตลาด sideway มากกว่า Stochastic Oscillator เป็นตัววัดแนวโน้มที่ให้ทิศทางเร็วกว่าเพื่อน แต่ก็นั่นแหละครับ หลอกเก่งกว่าเพื่อนเหมือนกัน เหมาะกับการให้ทิศทางระยะสั้นหรือตลาด sideway มากกว่า RSI (Relative Strength Index)เป็นเครื่องมือวัดพลังของคลื่น ที่ผมให้น้ำหนักค่อนข้างมาก ผมใช้ยอดคลื่นของมันชี้ตำแหน่งคลื่น 3 และคลื่น b MACD (Moving Average Convergence Divergence)เป็นเครื่องมืออีกชิ้นที่ช่วยในการตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้มของคลื่นได้ดีครับ การใช้งานเครื่องมือทั้ง 3 ชนิด อ่านตำราแล้วเหมือนจะใช้ต่างกัน แต่ผมมักจะมองภาพรวมทั้ง 3 ตัวด้วยกัน รวมถึงการนับขาตามทฤษฎีอีเลียตเวฟ เพื่อช่วยตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้ม หากใครอ่านตำรา ก็มักจะพุ่งเป้าไปที่สัญญาณ overbought/oversold เป็นหลัก แต่จริงๆแล้ว เรายังดูหลายอย่างที่ละเอียดลงไปได้อีก สิ่งที่เราต้องมองหาในเครื่องมือโดยรวม - Divergence/Convergence ตรงนี้อธิบายง่ายๆ คือความสัมพันธ์ระหว่างราคากับสัญญาณในเครื่องมือ มันต้องไปทางเดียวกัน เท่านั้นแหละ หากราคาขึ้นทำ high ใหม่ แล้วสัญญาณขึ้นตาม ก็ดีไป แต่หากไม่ตาม เราเรียกว่า เกิด divergence คือสัญญาณมันไม่เอาด้วย แบบนี้ ก็เตรียมถอยครับ ทางกลับกัน หากราคาลงทำ low ใหม่ และสัญญาณตามลงไป เราก็รอต่อไป แต่เมื่อไหร่ที่สัญญาณไม่ลงด้วย เราเรียกว่าเกิด convergence คือสัญญาณไม่เอาด้วย แต่เป็นเชิงบวกแทน แบบนี้ เตรียมกระโจนเข้าได้ - แนวต้านจากการลาก trend line เมื่อเกิดยอดคลื่น 2 ยอด เราสามารถลากเส้น trendline ให้เส้นสัญญาณได้ เช่นเดียวกับกราฟราคาครับ และหากสัญญาณขึ้นมาชน trendline ที่เราตีไว้ ก็มีแนวโน้มว่า จะติดเส้นนี้ได้ ทางกลับกัน หากหลุดเส้น trendline นี้ไปได้ ก็อาจพุ่งไปต่อได้เลยเช่นกันครับ หากมองไม่เห็น สมมุติว่า เราดูใน chart รายวัน เราอาจขยับมาดูราย 4 ชั่วโมง หรือต่ำลงมาเป็นรายชั่วโมง เพื่อหาสิ่งที่เราต้องการดู สัญญาณในกราฟ รายชั่วโมง ราย 4 ชั่วโมง รายวัน อันไหนสำคัญกว่ากัน? บางครั้ง สัญญาณระดับต่างๆมันขัดแย้งกัน มือใหม่จะงง และตัดสินใจไม่ถูก ไม่รู้จะเชื่ออันไหนดี ผมอธิบายง่ายๆว่า รายวันก็เหมือนเราดูคลื่นหลัก ส่วนราย 4 ชั่วโมง หรือ รายชั่วโมง เราก็เท่ากับกำลังมองคลื่นย่อยในคลื่นหลัก คลื่นหลัก สัญญาณอาจบอกว่า กำลัง bull มาก อยู่ในคลื่น 3 แต่รายชั่วโมง สัญญาณอาจเป็น bear เพราะกำลังปรับฐานอยู่ในคลื่น 2 ย่อยของ 3 ก็เป็นได้ การใช้ MACD ดูการเปลี่ยนแนวโน้ม MACD ถูกยกย่องให้เป็นราชาของเครื่องมือวัด เพราะมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง วิธีการดู MACD ก็ดูว่า - เมื่อไหร่ที่ เส้นสัญญาณ (เส้นสีแดง) อยู่เหนือแถบ MACD จะ bearish หรือกลับเป็นขาลง - เมื่อไหร่ที่ เส้นสัญญาณ (เส้นสีแดง) อยู่ใต้แถบ MACD จะ bullish หรือกลับเป็นขาขึ้น นอกจากนั้น ก็เป็นการมองหา divergence/convergence และ การใช้ trendline วัดความสูงเพื่อหาแนวต้านแนวรับแล้ว อย่างที่บอกไป แต่ยังมีอีกจุดที่น่าสนใจมาก คือมันสามารถบอกพลังงานสะสมได้ครับ เมื่อใดที่เส้นสัญญาณ (เส้นสีแดง) กับ MACD ตีคู่กันใกล้ๆไปสักระยะ จะเกิดพลังงานสะสม และมักมีไม้เขียว หรือไม้แดงยาวๆตามมาให้เห็นบ่อยๆครับ ลองไปสังเกตดู MACD ที่เกิดขึ้นมาในอดีตดูครับ ให้สัญญาณก่อนเกิดไม้เขียวไม้แดงยาวๆตามมา ชนิดทำกำไรได้สบาย ถึงบทนี้ ความฮึกเหิมคงเริ่มเกิดในตัวแล้วใช่มั๊ยละครับ แต่อยากจะบอกว่า พอไปดูคลื่นจริงๆ อาจจะยังคงเมากันอยู่ครับ คงต้องอาศัยประสบการณ์ที่ต้องค่อยๆสะสมแล้ว อันนี้ สอนกันยาก ได้แต่บอกว่า ค่อยๆดูไปครับ ทุกวันนี้ ผมก็ยังสะสมอยู่เหมือนกัน บทต่อไป คงเป็นเรื่องของ เครื่องมือปลีกย่อย อย่าง Moving Average, Trendline, ฯลฯ แต่ผมว่า ศึกษาเองก็ไม่น่ายากแล้วนา !hh !hh
  6. บทที่ 5 Fibonacci number ช่วยให้คุณรู้จักคลื่น Elliott wave ดีขึ้น โดย Kumponys !047 !047 ผมพยายามลำดับความสำคัญว่า อะไรที่ควรจะเรียนรู้ก่อนในกลุ่มเครื่องมือจำนวนมากที่สามารถพาพวกเราเวียนหัวกันได้ ผมว่าน่าจะเอาสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ที่เข้าใจตรงกันมากที่สุด ก็คือ Fibonacci number นี่แหละ มาให้เราทำความเข้าใจกันก่อน ผมว่าเหมือนกับการป้อนข้อมูลใส่ให้พวกเราเข้าใจว่า สาวๆ หน้ากลมๆ สัดส่วน 30-24-36 ถึงจะสวยนะ ถ้าไม่ใช่ ก็สัก 32-26-36 ก็ยังดี (หุหุ เกี่ยวป่าว?) fibonacci เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI ซึ่งสังเกตเห็นว่า ธรรมชาติมีสัดส่วนสัมพันธ์กับตัวเลขนี้ ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้น เพื่อที่จะใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ - Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ - Fibonacci fan หาแนวรับในแนวเฉียง - Fibonacci fan หาแนวรับในแนวดิ่ง หรือระยะเวลา ส่วนใหญ่ที่เห็นใช้กัน ก็เป็นอันแรกครับ ส่วนที่มาของตัวเลข ไม่ขอพูดมากครับ ตำราเยอะแยะ เอาเป็นว่า ผมแนะนำสิ่งที่นำไปใช้งานเลยละกัน ตัวเลขสัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % หรือเทียบกับ 1.0 เป็นเลขดังนี้ 23.6% 38.2% 50% 61.8% 78.6% 100% 127.2% 161.8% 261.8% 423.6% โดยตัวเลขสีแดง คือตัวเลขที่ผมให้ความสำคัญเป็นพิเศษครับ การใช้ Fibonacci สามารถใช้วัดได้ทั้งคลื่นย่อย และคลื่นหลักตามสะดวก และโดยมากเราวัดในคลื่นย่อย มักจะตรงกับคลื่นหลักอย่างน่าแปลกใจในบางครั้ง ซึ่งหากตรงกัน ผมมักให้ความสำคัญเพิ่มตรงจุดนั้นด้วย การใช้ Fibonacci ใช้ตอนไหน และตรงไหนดี? คงเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ที่บางคนลากแบบไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ต้องย้อนกลับไปอ่านอีกทีข้างบน ที่บอกว่า ใช้หาแนวต้าน แนวรับ แนวต้าน ไงครับ แนวรับจะเกิด เราต้องหาหัวหาท้ายคลื่นให้ได้ก่อน ใช่มั๊ย? เราสนใจคลื่นชุดใหญ่หรือชุดย่อยล่ะ ถ้ายังไม่รู้ ต้องเริ่มจากคลื่นใหญ่ก่อนครับ - แนะนำให้เริ่มจาก กราฟรายวัน เพราะจะเห็นคลื่นหลักชัดๆ เมื่อคลื่นเริ่มต้นขึ้น จนเริ่มตก เราก็จะได้จุดเริ่มต้นและปลายทางของคลื่นเป้าหมายครับ สิ่งที่เราจะวัดหา คือแนวรับเป็นอันดับแรก โดยมีจุดที่ผมให้ข้อคิดไว้ ตามประสบการณ์อันน้อยนิดของผมคือ - หากคลื่นที่วัด ความแรงไม่มาก เช่นคลื่น 1 แนวรับจะอยู่ที่แถว 50% 61.8% และ 78.6% รวมถึง 100% - หากหลุดต่ำกว่า 100% ก็จะเป็นการ correction หรือปรับฐานเลย (คลื่น a-b-c) เป้าหมายแรกอยู่ที่ 127.2% และ 161.8% หรือกว่านั้น - หากเป็นคลื่น 3 บางที ลงไม่ถึง 50% ด้วยซ้ำ หากแนวรับ รับได้อยู่แถว 61.8% และดีดกลับได้อย่างแข็งแกร่ง สิ่งที่เราจะมองหาคือแนวต้านแทน เราก็สามารถคาดได้ครับว่า คลื่นอาจจะย้อนสูงขึ้นกว่ายอดเดิม ไปที่ 127.2% 161.8% หรือ 261.8% หรือมากกว่านั้นได้ เราสามารถเอาความเข้าใจเรื่องอีเลียตเวฟมาประยุกต์คาดการณ์ร่วมกับการคะเน แนวต้านได้ครับ เช่น - หากเป็นคลื่น 3 อาจแรงไปถึง 261.8 หรือ 423.6% ได้ - ขณะที่คลื่น 5 อาจไม่ผ่าน 100% หรือแค่ 127.2% ก็เป็นได้ หากสัญญาณไม่แรงพอ สั้นๆ ได้ใจความ ไม่เยิ้นเย้อนะครับ ที่เหลือ ลองไปหัดวัดดูคลื่นเก่าๆที่เคยผ่านไปแล้วดู ผมสรุปสั้นๆว่า - มองภาพคลื่นใหญ่ หาจุดเริ่มต้นให้เจอ - พิจารณาธรรมชาติของคลื่นลูกนั้น ว่าเป็นคลื่นไหน 1-2-3-4-5 หรือ a-b-c เพื่อคะเนว่า ตัวเลขแนวต้าน-แนวรับตรงไหน น่าจะสำคัญ สำหรับคลื่นลูกนั้น - คลื่นใหญ่มองภาพไม่เห็นว่าจะจบแถวไหน ก็วัดคลื่นย่อยช่วย เช่น วัดคลื่น 3 หลักที่เห็นได้ชัดในรายวัน ในรายชั่วโมง เราก็มาวัดคลื่นย่อยของ 3 หลัก หากอยู่ในคลื่นย่อย 5 แล้ว เราก็คาดได้ว่า ราคาจะพุ่งไปเส้นต่อไปไม่ไหวก็เป็นได้ เป็นต้น การดูว่าคลื่นไหนเป็นคลื่นไหน เราสามารถใช้ความรู้เรื่อง RSI มาช่วยกำกับได้ อย่างที่กล่าวไปในบทที่แล้วนะครับ เช่น หากคลื่นราคาใหม่ สูงขึ้น แต่ RSI ต่ำกว่าเดิม ก็มีโอกาสจะเป็นยอดคลื่น 5 ได้ เพราะ RSI จะ peak ในคลื่น 3 กับ b เป็นหลัก Fibonacci fan กับ timezone คงไม่พูดถึงนะ ก็คล้ายกัน แต่ผมว่า ใช้วัดคลื่นหลักก็พอ โดยเฉพาะ fibo fan ผมใช้บ่อยตอนหาแนวรับ ใช้ร่วมกับ Fibonacci retracement ช่วยบอกแนวรับได้ดีมากๆ บทต่อไปน่าจะเป็นการดู RSI, MACD นะ แต่ใครอ่านบทวิเคราะห์ของผมบ่อยๆคงได้เรียนรู้ไปเยอะแล้ว เพราะผมพูดถึงบ่อยมาก
  7. บทที่ 4 Elliott wave คลื่นที่คุณต้องรู้จัก โดย Kumponys หากคุณไม่สนใจทำความรู้จักมัน คงเหมือนกับคุณนั่งริมทะเลชมคลื่นไปเรื่อยๆ แต่หากคุณรู้ว่า เมื่อไหร่ที่อยู่ดีๆ ชายทะเลกลับหดถอยลงไปอย่างรวดเร็ว แปลว่า กำลังจะเกิดสึนามิ คุณต้องรีบวิ่งหนีจากชายฝั่ง เอาตัวรอดให้เร็วที่สุด แบบนี้ เท่ากับคุณรู้จักธรรมชาติของคลื่น นับเป็นเรื่องดีใช่ไหมครับ อยากรู้จักมันหรือยัง? คิดว่า น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ถูกนะครับ น่าจะเป็นสิ่งที่ควรรู้เป็นอันดับแรก แต่บางคน แค่เห็นก็เมาคลื่นซะแล้ว อย่าเพิ่งครับ นั่นเป็นเพราะคุณหาจุดเริ่มต้นมันไม่ถูก เมื่อคุณเริ่มไม่ถูก อาการเมาคลื่น ก็จะตามมา ผมแนะนำคร่าวๆว่า Elliott Wave ประกอบด้วยลูกคลื่นในขาขึ้น 5 ลูก ( 1-2-3-4-5) และลูกคลื่นในขาลง 3 ลูก (a-b-c) ในช่วงขาขึ้นเราเรียกว่า Impulse ส่วนขาลงเราเรียกว่า Correction โดยหากเป็นช่วงตลาดหมี ขาลงก็จะกลับกัน คือลง 5 ลูก ขึ้น 3 ลูกแทน และในคลื่นนึง ก็จะประกอบด้วยคลื่นเล็กๆ เสมอ อย่างเช่น คลื่นขา 1 เป็นขาขึ้น จะคลื่นในตัวเป็นคลื่นย่อย 5 คลื่น ขณะที่คลื่น 2 จะเป็นคลื่นขาลง จะมีคลื่นย่อยในตัวเป็น 3 คลื่น ไม่ลงรายละเอียดมากนัก เพราะหนังสือที่ไหนก็มีให้อ่าน แต่จะบอกว่า สิ่งที่งงกันคือบางครั้ง มีการต่อคลื่น หรือเกิดคลื่นไม่ปกติขึ้นมา ทำให้นับกันไม่ถูก และอีกกรณีคือ ตราบเท่าที่คลื่นมันยังไม่จบ คุณไม่มีทางรู้ได้ว่า คุณนับถูกหรือไม่ อ้าว ไหงเป็นงั้น แล้วจะมีประโยชน์อะไร? มีสิครับ อย่างน้อยที่สุด คุณจะตัดเส้นทางที่เป็นไปไม่ได้ออกไป เหลือทางที่มีโอกาสจะเป็นไปได้ และทางที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด แค่นี้ ก็ดีกว่าไม่รู้แล้ว ใช่ไหม นักลงทุนที่ไม่ต้องการเสี่ยง จะเลือกลงทุนเมื่อกราฟอยู่ที่คลื่น 3 เพราะกว่าจะมาถึงคลื่น 3 ราคามันจะยืนยันขา 1 หรือขา 2 มาก่อนแล้ว และนี่คือสาเหตุครับ ว่าทำไม คลื่น 3 ถึงได้พุ่งได้แรงสุด เพราะมันชัดที่สุดนั่นเอง รู้จักทฤษฎีหลักๆที่กำหนดว่า คลื่นไหนเป็นคลื่นไหน Fibonacci number ขี้เกียจพูดถึงที่มา เดี๋ยวยาว เอาเป็นว่าเป็นตัวเลขที่ช่วยในการวัดหรือกะระยะของคลื่นลูกต่อไปได้ ตัวเลขที่น่าสนใจ ได้แก่ 23.6% 38.2% 50% 61.8% 78.6% 100% 127.2% 161.8% 261.8% 423.6% โดยตัวเลขที่พบบ่อยๆว่ามีพลังหน่อย คือตัวเลขที่ผม ใช้สีแดงกำกับ RSI คู่หูนับคลื่นแบบพลาดยาก RSI เป็นสัญญาณยอดฮิต ที่แนะนำให้ศึกษาเลยครับ มันบอกถึงพละกำลังกระทิงหรือหมีได้เป็นอย่างดี สิ่งที่จะบอก ผมเอง ไม่เคยเจอในหนังสือเล่มไหนครับ ทฤษฎีนี้ ตั้งแต่รู้มา ทำให้ผมนับคลื่นได้มั่นใจขึ้นมาก ต้องขอบคุณ คุณลุงโฉลก แห่ง chaloke.com ผู้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาสุดยอดแบบไม่มีหวงกัน ทฤษฎีไม่มีอะไรมาก หากมีความสับสน ให้ดูยอดคลื่นที่สูงที่สุดของ RSI เทียบกับยอดคลื่นราคาครับ ยอดคลื่น RSI ที่สูง จะตรงกับคลื่น 3 และคลื่น b เสมอ แค่นี้ ใครที่เคยนับคลื่นไม่ถูก ก็ลองใช้ช่วยนับใหม่ดูครับ ง่ายขึ้นเยอะ [/url ทฤษฎีอีเลียตเวฟมีหยุมหยิมค่อนข้างเยอะ ผมเอาหลักๆมาแนะนำเพื่อเป็น guide ก็พอนะครับ คลื่นที่ 1 แค่เริ่มต้นก็ไม่ง่ายแล้ว ไม่มีใครกะได้ว่า จะจบตรงไหน เพราะเพิ่งเริ่มคลื่นใหม่ สิ่งที่เราทำได้ คือรอให้มันจบคลื่น 1 ก่อนครับ แต่อย่างน้อยที่สุด คลื่นย่อยในคลื่น 1 ควรจะประกอบด้วย 5 คลื่น ไม่ใช่ 3 คลื่น หากนับได้ 3 คลื่นเมื่อไหร่ ตีความได้ว่า - การ correction ของคลื่นรอบที่ผ่านมา ยังไม่จบจริง คืออาจมีการ correction ต่อเป็น a-b-c-x-a-b-c หรือ a-b-c-d-e เป็นต้น - คลื่นนั้นยังไม่จบ คือยังเหลือการขึ้นขา 5 อีกขา ก่อนลง correction ขา 2 อีกที หากคุณอ่านทฤษฎีในหนังสือ คงไม่ได้บอกคุณว่า ไอ้คลื่น 1 นี่อ่ะ มันก็ไม่ได้ระบุง่ายๆ เพราะมันเพิ่งต่อมาจากคลื่นปรับฐาน ทำให้ไม่รู้ว่า นี่มันคลื่น 1 หรือคลื่นปรับฐานต่อเนื่องกันแน่ เป็นเหตุให้ไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าเล่นในคลื่น 1 นั่นเอง คลื่น 2 จบเมื่อไหร่ ค่อยบอกคุณว่า ไอ้คลื่นลูกเมื่อกี๊น่ะ คลื่น 1 นะจ๊ะ ถึงบอกว่า ไม่ค่อยมีใครเล่นคลื่น 1 เพราะมันมีโอกาสเป็นคลื่น correction ที่จะพาคุณชมดอยเต่าได้แบบไม่ต้องตีตั๋ว ตามทฤษฎีดูเหมือนง่าย มันบอกว่า คลื่น 2 จะไม่ต่ำกว่าคลื่น 1 หากคุณมั่นใจเข้าซื้อ เพราะคิดว่า นั่นคือคลื่น 2 ไม่มีทางหล่นต่ำกว่าคลื่น 1 หรอก ขอให้คิดใหม่ครับ เพราะเมื่อไหร่ที่ราคามันหลุดลงต่ำกว่าฐานคลื่น 1 มันก็เปลี่ยนสถานะตัวเองจากว่าที่คลื่น 2 เป็นคลื่น c ขาลงต่อเลย แสบมั๊ย ปกติ เมื่อจบคลื่น 2 เราก็จะใช้ก้นคลื่น 2 ในการกะเป้าหมายคลื่น 3 ได้ต่อครับ ตามหลัก คลื่น 2 ของทองคำ มักจบแถว 61.8% หรือ 78.6% โดยหากเด้งขึ้นจากเส้นแถวนี้ได้แรงๆ ผ่านยอดคลื่น 1 มาได้ เราก็คาดได้ว่า นั่นน่าจะเป็นขา 2 และกำลังขึ้นคลื่น 3 ที่เราตั้งตารอกัน คลื่น 3 คลื่นสุด hot ใครๆก็รอขา 3 เพราะขา 3 มักจะยาวและทำกำไรได้มาก และความเสี่ยงต่ำที่สุด แต่กว่าจะรู้ว่าเป็นขา 3 บางทีมันก็เดินทางมาครึ่งทางแล้วครับ เพราะอะไร ก็ลองย้อนไปดูคลื่น 2 สิ ตัวคลื่น 3 เอง ก็ประกอบด้วยคลื่นย่อยในตัว 5 คลื่น กว่าเราจะเห็นชัดๆว่า นี่คือคลื่น 3 ก็ต่อเมื่อเราจบคลื่น 2 ของ 3 และกำลังเข้าคลื่นย่อยขา 3 ของคลื่นหลักขา 3 แล้ว ถึงตรงนี้ ปกติผมจะไม่ลังเลในการบอกให้ซื้อครับ เพราะมันยังไปได้อีกอย่างน้อยก็ 60% ของขาล่างสุด เช่นขึ้นมาแล้ว 50 เหรียญ ก็เป็นไปได้ว่า มีโอกาสขึ้นอีกอย่างน้อย 30 เหรียญ ดีกว่าไม่ได้ ใช่ไหมครับ ทฤษฎีมีว่า ขา 3 มีโอกาสขึ้นมาได้อย่างน้อย 161.8% เมื่อวัดจากยอดขา 1 ถึง ขา 2 และหากแรงๆ ก็จะไป 261.8% หรือกระทั่ง 423.6% ก็ได้ แถมตามด้วยคลื่น 5 ที่สามารถลุ้นเสี่ยงทำกำไรเพิ่มได้ คลื่น 4 คลื่นคืนกำไร คลื่น 4 ลุงโฉลกให้นิยามว่า เป็นคลื่นคืนกำไร และไม่ค่อยแนะนำให้เล่น เพราะคาดการณ์ยากครับ ตามทฤษฎีบอกว่า ขา 4 จะลงไม่ถึงขา 1 แต่บางครั้งโดยเฉพาะในราคาทองคำตอนปลายๆทาง มันก็แล๊บลงมาต่ำกว่าขา 1 นิดหน่อยเหมือนกัน เรียกว่า เกิดความไม่ปกติขึ้น และจะเกิดเมื่อคลื่น 3 ไม่มีแรงขึ้น คือผิดปกติด้วย ว่างั้น และหากหลุดรูดลงมาเลย มันก็จะเปลี่ยนสถานะตัวเอง จากคลื่น 4 เป็นคลื่น a ครับ แล้วก็ต้องนับขากันใหม่ เพราะราคาไปไม่ถึงดวงดาวเสียแล้ว มีความสัมพันธ์ระหว่างขา 2 กับขา 4 ที่มีความเป็นไปได้อยู่อย่างนึงครับ คือหาก ขา 2 มีความซับซ้อน คือไม่ลง a-b-c แล้วจบเลย แต่อาจเล่น sideway ยาวออกมา ในขา 4 มักจะไม่เกิดความซับซ้อนเหมือนขา 2 ครับ และในทางกลับกันก็เช่นกัน เราใช้ความสัมพันธ์นี้ มาช่วยเดาคลื่นครับ ว่าขา 4 น่ะ จะจบขึ้นขา 5 เลยมั๊ย หรืออาจมีต่อ ประมาณนั้น คลื่น 5 คลื่นสำหรับคนกล้า เพราะเป็นคลื่นที่ไม่มีความแน่นอน พร้อมที่จะล้มเหลวเมื่อไหร่ก็ได้ จึงเป็นคลื่นที่ไม่มีแรง คลื่นสำหรับคนตกขบวนคลื่น 3 ทดลองเข้ามาเสี่ยงทำกำไรอีกเล็กน้อย ก่อนการปรับฐาน แต่มีข้อยกเว้นครับ ตามทฤษฎี ขา 3 ต้องไม่ใช่คลื่นที่สั้นที่สุด และควรจะยาวครับ หากไม่ยาว คือมีขนาดพอๆกับขา 1 คลื่น 5 มักจะเป็น extended wave 5 หรือมีการต่อคลื่น คือขึ้นคลื่นชุดย่อย(แต่ ใหญ่) ขยายความยาวคลื่น 5 ออกไปอีก คลื่น a คลื่นปรับฐาน - สึนามิลูกแรก เป็นคลื่นแรกของการปรับฐาน ที่อาจรุนแรงรวดเดียว หรือเพียงเบาะๆให้ตั้งตัวกันทันก็ได้ คลื่น a กับ คลื่น c เป็นคลื่นขาลงเหมือนกัน แต่ปกติหากมีคลื่นอันใดอันหนึ่งที่ยาว อีกอันก็จะสั้นๆครับ ในทองคำ การปรับฐานใหญ่ มักรุนแรงที่ขา a เรียกว่า เป็นสึนามิได้เลย ขณะที่ขา c อาจ sideway หรือสั้นๆมากกว่า คลื่น b คลื่นถอนตัว VS คลื่นมวยประกอบรายการ จบคลื่น a ราคามักจะดีดกลับขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะบางคนก็เชื่อว่า การปรับฐานจบแล้ว บางคนก็เชื่อว่า ไอ้ที่ผ่านมา คงเป็นแค่คลื่น 3 ขอเล่นคลื่น 5 ต่อ และอีกพวก คือพวกชอบเล่นกับไฟ รู้ว่าเป็นคลื่น b แต่ก็เล่น เพราะจริงๆ ก็ยังสามารถทำกำไรได้ คุณสมบัติของคลื่น b ต้องดูสัญญาณประกอบครับ โดยเฉพาะ stoch กับ RSI มักขึ้นมาเร็วมาก ราคาอาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าคลื่น 5 ก็ได้ ขอให้ดูสัญญาณเป็นสำคัญครับ และรีบถอนตัวเมื่อยอดสัญญาณเลยยอดสัญญาณของคลื่น 5 คลื่น c คลื่นปรับฐาน สึนามิลูกสุดท้าย การ correction หรือการปรับฐาน จะจบด้วยขา c โดยขา c มักจบที่ 78.6% เมื่อวัดจากยอดคลื่น 5 ถึงฐานของคลื่น 1 หากลึกกว่านั้น แปลว่าตลาดอาจกลับสภาวะจากกระทิงเป็นหมีไปแล้วก็ได้ โดยด่านสุดท้าย ก็คือฐานคลื่น 1 นั่นแหละ และวัฏจักรคลื่น ก็จะวนขึ้นขา 1 ใหม่อีกครั้ง เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ครับ ครบ 5 คลื่นแล้ว หวังว่า คงยังไม่หมดแรงซะก่อนนะครับ บทต่อไปมาว่ากันต่อเรื่องวิธีดูเครื่องมือ หรือสัญญาณต่างๆ ที่ต้องใช้
  8. บทที่ 3 ราคาทองคำกับปัจจัยทางเทคนิค โดย Kumponys !57 !57 !57 เคยสงสัยกันใช่ไหมครับ ว่าราคาเป้าหมายเท่านั้นเท่านี้ ที่นักวิเคราะห์ปล่อยออกมา ทำไมมันถึงได้แม่น หรือใกล้เคียงมาก สมัยก่อนผมเห็นใครให้ตัวเลขราคาเป้าหมายไว้ ผมจะไม่ค่อยสนใจ เพราะคิดว่าคงเดากันไปมากกว่า แต่เมื่อราคานั้นเกิดขึ้นจริง ผมย้อนกลับไปดูราคาที่มีบางท่านเคยทำนายไว้ ก็ต้องทึ่งและเริ่มสนใจศึกษามานับแต่นั้น ผมคงไม่อธิบายยืดยาวเหมือนในตำรา แต่เอาเนื้อๆมาคุยกัน เพื่อความกระชับ สิ่งที่ผมสงสัยมานานเกี่ยวกับตัวเลขมหัศจรรย์นั้น มันเกิดมาจาก หลักจิตวิทยา ความกล้า และความกลัวของคนนี่แหละ อย่างเช่น คุณซื้อของมา 100 บาท เพื่อเอาไว้ขายทำกำไร วันนึงเมื่อคุณพบว่า คุณกำลังขาดทุน เพราะราคาของนั้นกำลังตกลงทุกวัน คุณอาจพอใจที่จะขายแม้ราคาจะเหลือครึ่งเดียว ขณะที่บางท่าน รอให้มันกลับมาเท่าเดิมค่อยขาย หรือบางรายอดทนกว่านั้น จะรอให้ราคามันขึ้นจนกว่าจะกำไร ไอ้ความอดทนต่อสถานการณ์ที่ต่างกันไป ก็มีสถิติที่เก็บได้ กลายเป็นตัวเลข แนวต้าน แนวรับ ทางเทคนิคที่สามารถนำมาใช้คาดการณ์ได้นั่นเองครับ ข้อมูลการลงทุนที่เหมือนกัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค เช่นโปรแกรม MT4, MetaStock ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ มีการใช้เครื่องมือเหมือนๆกัน มองเห็นอย่างเดียวกัน ดังนั้น คุณไม่ต้องแปลกใจเลยว่า บางครั้ง ตัวเลขที่ออกมา มันแทบจะตรงเป๊ะกับที่ทำนายกันไว้ ในเมื่อรู้เช่นนี้แล้ว คุณจะยังคิดว่า ปัจจัยเทคนิค ยังจะเป็นเรื่องเหลวไหลอีกมั๊ย? 555 แน่นอนที่สุด คุณต้องตอบว่าไม่ สิ่งที่คุณต้องทำ คือเรียนรู้วิธีวิเคราะห์ทางเทคนิค แต่ไม่ต้องห่วงว่า มันจะยากครับ ผมอยากจะบอกว่า ง่ายๆ เป็นไปได้ไง? คุณพยายามเรียนรู้มาตั้งนาน ไม่เห็นจะง่ายแบบผมพูด? เป็นเพราะว่า ยังไม่มีคนบอกคุณว่า จะต้องไปทางไหนนะสิ เหมือนคุณเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมอะไรสักโปรแกรมที่มี function การทำงานครบเครื่อง แต่จริงๆ คุณขอใช้มันแค่ไม่กี่ function คุณก็ได้งานของคุณออกมาแล้ว เท่านั้นเอง ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้เก่ง ไม่ได้ครบเครื่อง ผมแค่ใช้งานมันได้ เท่าที่ผมใช้อยู่ เท่าที่มีคนแนะนำผมเท่านั้นเอง และคุณไม่ต้องแปลกใจ ถ้าคุณมาถามนอกเหนือจากที่ผมแนะนำแล้วผมบอกคุณว่า ผมไม่รู้เหมือนกัน 555 สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ คือคุณแค่รู้ว่า คนอื่นส่วนใหญ่ เขาดูอะไรกัน แล้วคุณก็ดูให้เหมือนเขา ก็เท่านั้นเอง ง่ายมั๊ยครับ เมื่อก่อนผมหัดเองใหม่ๆ ดูคนโน้นวิเคราะห์ที คนนี้วิเคราะห์ที จับต้นชนปลายไม่ถูก ทำไปทำมา ไม่เห็นจะเข้าท่าเลย จนวันนึง น้องชายผม ที่เคยอยู่ในตลาดหุ้น มาบอกผมว่า “เฮ้ย ดูแค่ไอ้เส้น Fibonacci ก็พอ ไปดูอะไรเยอะแยะวะ งงเปล่าๆ ไอ้เส้นโน้นเส้นนี้น่ะ ใครๆก็ต่างคนต่างขีด ตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง แต่ไอ้ Fibonacci นี่อ่ะ มันขีดยังไง ก็ได้ที่เดียวกันโว้ย!!!” ผมตาสว่างเห็นธรรมทันทีครับ แต่ผมไม่ได้ดูแค่ Fibonacci ตามที่มันบอกหรอก ผมจับจุดได้ว่า ให้ดูไอ้ที่มันเหมือนชาวบ้านส่วนใหญ่เขาดูกัน อย่าไปแหกคอก ว่างั้น เกริ่นมาถึงตรงนี้ บางท่านที่กำลังหัดๆอยู่ ผมอาจไม่ต้องสอนแล้วมั๊ง ส่วนท่านที่กำลังหัด รออ่านบทต่อไปนะ !La !La !La
  9. บทที่ 2 ปัจจัยพื้นฐานของทองคำ โดย Kumponys !_Rd !_Rd !Dh แปลกใจกันบ้างหรือไม่ว่า ทำไมนักวิเคราะห์จึงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำว่า ทองคำจะขึ้นไปถึง 2000 เหรียญ หรือกว่านั้น ถ้าได้อ่านบทที่ 1 ถึงความสัมพันธ์ระหว่างทองคำกับดอลล่าร์แล้ว คงพอจะเข้าใจกันบ้างแล้วว่า ทองคำคงไม่ลดมูลค่าง่ายๆ ตราบเท่าที่สหรัฐยังคงพิมพ์แบงค์ออกมาใช้เองไม่หยุด เมื่อปี 2006 World Gold Council ได้มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคาทองคำ ได้พบว่า - ระยะยาว ราคาทองคำมีสัดส่วนความสัมพันธ์แบบ 1:1 กับเงินเฟ้อของสหรัฐ - ราคาทองคำ ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเงินเฟ้อในส่วนอื่นๆของโลก - ความเบี่ยงเบนจากปัจจัยอื่น เช่น การเมือง ความเสี่ยงทางการเงิน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อาจจะกินเวลาสั้นๆหรือเป็นปี แต่สุดท้าย ก็จะกลับมาอยู่ที่ความสัมพันธ์หลัก คือเงินเฟ้อสหรัฐเท่านั้น หมายความว่า หากเงินเฟ้อสหรัฐขยับ 1% ราคาทองคำจะขยับ 1% ด้วยนั้นแหละครับ และนั่นคือที่มา ที่นักวิเคราะห์ทั้งหลาย ทำนายว่า ทองคำมันจะไป 2000 เหรียญ หรือกว่านั้น เพราะเทียบจากอดีตเมื่อครั้งลอยแพมูลค่าทองคำจนถึงปัจจุบัน ทองคำมันควรจะพุ่งไปข้างหน้าอย่างเดียว แล้วจริงหรือเปล่า? ทำไมสิ่งที่เห็นอยู่ ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเงินเฟ้อเท่าไหร่เลย เห็นทองคำวิ่งตามดอลล่าร์บ้าง น้ำมันบ้าง จนเวียนหัวไปหมด งานวิจัยมันบอกชัดครับ ว่าความเบี่ยงเบนไม่เกี่ยว สุดท้ายเมื่อปัจจัยที่ทำให้ราคาเบี่ยงเบนนั้นจบลง มันก็จะกลับเข้ามาหาความเป็นจริง เพียงแต่ว่า ในมุมมองการลงทุนของเรา กลับต้องมาศึกษาไอ้ปัจจัยเบี่ยงเบนพวกนี้ เพราะคือตัวแปรสำคัญ ตราบเท่าที่ราคาทองคำ มันยังไม่เข้าหาความจริง ที่ 2000 เหรียญกว่าๆโน่น และการที่อเมริกาในช่วงนี้ เร่งพิมพ์แบงค์อย่างไม่เกรงอกเกรงใจประชาคมโลก ทำให้มีการคำนวณและป่าวประกาศราคาทองคำ 5000 เหรียญแทนซะแล้ว ปัจจัยเบี่ยงเบนราคาทองคำที่เราต้องรู้ !031 !031 ใครๆก็พูดว่า ราคาทองคำมาจากปัจจัยคือดีมานด์การใช้งานจริง กับดีมานด์การลงทุน แต่นั่นมันปัจจัยพื้นฐานจริงๆ ที่ไม่มีมือมืดมาเกี่ยวข้องครับ คุณแปลกใจมั๊ยล่ะ ว่าทำไมราคาทองคำมันยังอยู่ห่างจากความเป็นจริงมากขนาดนั้น ใครพอจำได้ ทองคำ เคยโดนกดราคาลงถึงแค่ 256 เหรียญในปี 1999 The Central Bank Gold Agreement – CBGA นั่นเป็นเพราะมีภาพมายาที่ถูกสร้างขึ้น เพราะทองคำถือเป็นศัตรูตัวฉกาจกับระบบการเงิน นวัตกรรมใหม่ของสหรัฐ ความร่วมมือกันของเหล่าธนาคารกลางที่รวมหัว ประชุมกันที่กรุงวอชิงตันจึงเกิดขึ้น หัวเรือใหญ่ไม่ใช่ใครที่ไหน คือสหรัฐกับอังกฤษนั่นแหละ ข้อตกลงร่วมกันที่ออกมารู้จักกันในชื่อ the Central Bank Gold Agreement – CBGA นั่นเอง ในปี 1999 นับเป็นจุดเริ่มต้นของข้อตกลงที่ว่า โดยธนาคารต่างๆมีโควตาในการขายทองคำไม่เกิน 400 ตัน ระหว่างปี 1999-2004 และข้อตกลงฉบับที่ 2 กำหนดไว้ที่ 500 ตันต่อปี ระหว่างปี 2004-2009 ราคาทองคำลดลงต่ำสุดในช่วงปี 1999 จากการที่อังกฤษ โดยนายกรัฐมนตรี กอร์ดอน บราวน์ ตัดสินใจขายทองคำออกมามากกว่าครึ่งหนึ่งของทองคำสำรองที่มีในคลัง นัยว่า เลิกใช้ทองคำเป็นทุนสำรอง ยกเลิกบทบาททองคำในฐานะทุนสำรอง ว่างั้น ทำให้ราคาทองคำรูดลงอย่างรวดเร็วจาก 300 กว่าเหรียญ เหลือ 250 กว่าเหรียญ หลายปีต่อมา จากการกระทำอย่างต่อเนื่อง ตามข้อตกลง CGBA ทำให้ราคาทองคำซึมอยู่หลายปี แต่ความพยายามดังกล่าว มันเป็นการฝืนความจริง ในที่สุด ทองคำก็กลับมาทวงสิทธิ์ของตัวเองคืน The Manipulation Of The Gold Market เหล่าธนาคารกลางนำโดยสหรัฐ มีการจัดตั้งองค์กรที่ไม่ค่อยลับเท่าไหร่ เข้ามาดูแลราคาทองคำ ผ่านการซื้อขายทำธุรกรรมในตลาดทองคำ เหมือนอย่างพวกกองทุนเฮดฟันด์ทั้งหลายทำนั่นแหละ แต่วัตถุประสงค์ต่างจากเฮดฟันด์ คือไม่ได้เข้ามาหากำไร แต่เข้ามาควบคุมราคา ไม่ให้พุ่งเข้าหาราคาจริงตามเงินเฟ้อเร็วเกินไป ซึ่งเรียกว่า The Manipulation Of The Gold Market พวกนี้แหละที่เราต้องแหยงในการลงทุนทองคำ เพราะจะเข้ามาทำลายอารมณ์กระทิงในตลาดทองคำเป็นระยะ ตามแต่อารมณ์มัน 555 The Gold Anti-Trust Action Committee – GATA ทางฝั่งผู้บริโภค ก็มีการตั้งองค์กรขึ้นมาในปี 1999 เช่นเดียวกันครับ เรียกว่า The Gold Anti-Trust Action Committee – GATA เพื่อสนับสนุนและรับหน้าที่ต่อต้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องเพื่อการครอบงำตลาดทองคำ ไม่ให้กำหนดราคาและทิศทางตลาดตามอำเภอใจ ดีมานด์การใช้งานจริง ในแง่การลงทุนของพวกเรา จะหันกลับมาดูปัจจัยนี้ เมื่อราคามันหล่นลงมาหลังการปั่นขึ้นไปสูงๆแล้ว หรือเรียกว่า การปรับฐานใหญ่นั่นแหละ ปกติ ทุกปีจะมี 1 รอบ เรียกว่าเป็นวัฏจักรของราคาทองคำครับ โดยมีช่วงเวลาขาลงอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนโดยประมาณ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของฝรั่ง รวมถึงดีมานด์จากขาใหญ่อย่างอินเดีย ซึ่งเป็นชาติที่คลั่งใคล้ทองคำมากที่สุด ลดลงในช่วงนี้ ขณะที่ช่วงเดือนที่ราคาทองคำเป็นขาขึ้น จะเป็นช่วงราวเดือนตุลาคมไปจนถึงราวปลายเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่ทั่วโลกต่างก็ซื้อทองเพื่อใช้งานจริงทั้งนั้น ช่วงการปรับฐานใหญ่ที่ว่านั้น ราคาจะหล่นลงมาจนกว่าผู้ซื้อทองคำเพื่อการใช้งานจริงๆจะพอใจและมีแรงซื้อกลับเข้ามามาก พวกนักลงทุนจึงจะมั่นใจ และไล่ราคาขึ้นไปเล่นกันที่สูงๆต่อ เท่ากับว่า ดีมานด์การใช้งานจริงนี้ คือตัวกำหนดราคาฐานที่แข็งแกร่งนั่นเอง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาก็ขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพราะความไม่สมดุลระหว่างซัพพลายและดีมานด์ครับ - ผลผลิตจากเหมืองที่ลดลงเรื่อยๆ แหล่งผลิตเก่ากำลังการผลิตตก ขณะที่แหล่งผลิตใหม่ๆเกิดขึ้นน้อย - ความต้องการทองคำจากประเทศจีน และอินเดียว ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจนซัพพลายไม่เพียงพอ 2 ประเทศนี้ ประชากรรวมกันหลายพันล้านคน หากคิดเหมือนกันว่าอยากได้อะไร คงไม่ต้องบอกนะครับ ว่าของที่ต้องการนั้น จะขาดแคลนไปในทันที ความต้องการใช้งานจริง ไม่ใช่เป็นตัวแปรที่ทำให้ราคาผันผวน เพราะสามารถกะเกณฑ์ได้ครับ ไอ้ที่ทำให้ผันผวนคือปัจจัยต่อไป ดีมานด์ความต้องการลงทุน ในฐานะที่ทองคำ มีบทบาทเป็นเงินอีกสกุลที่มีเสถียรภาพมาก ความต้องการใช้งานจริง จะมีผลต่อราคาทองคำเป็นวัฏจักรครับ แต่ตัวขับเคลื่อนหลักในเวลานี้ ต้องบอกว่า คือ ความต้องการในการลงทุนมากกว่า ยิ่งราคาทองคำสูง ความต้องการใช้งานจริงมีแต่จะลดลง ขณะที่ความต้องการสำหรับเพื่อการลงทุนกลับเพิ่มขึ่นเรื่อยๆ กลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แบ่งได้ 3 กลุ่ม NON COMMERICAL เป็นกลุ่มสถาบันการเงิน หรือ พวกนักเก็งกำไร หรือกองทุนขนาดใหญ่ พวกนี้เข้ามาตลาดเมื่อไหร่ จะเป็นตัวกำหนดราคาและสร้างความผันผวนในตลาดได้มากครับ เมื่อพวกนี้เข้ามาเมื่อไหร่ ปลาซิวปลาสร้อยอย่างพวกเรา ต้องรีบโดดเข้า และเตรียมโดดออกตามให้ทัน COMMERCIAL เป็นกลุ่มผู้ผลิต ที่เข้ามาขายกันความเสี่ยงในตลาดล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นผู้ขายออก หรืออยู่ตรงข้ามกับนักเก็งกำไรนั่นแหละ พวกนี้ เมื่อไหร่ที่เริ่มซื้อสัญญากลับหรือไม่ค่อยขายเข้ามา ก็เป็นสัญญาณว่า ราคากำลังจะขึ้นแล้ว NON REPORTABLE พวกนี้คือปลาซิวปลาสร้อยอย่างพวกเรานี่แหละครับ ปัจจัยความต้องการเพื่อการลงทุนนี้ จะอ่อนไหวกับทิศทางตลาดโดยรวมค่อนข้างมาก โดยในปัจจุบัน ทิศทางของ ปัจจัยนี้ ถูกกำหนดโดยนโยบายของเฟด หรือ ธนาคารกลางสหรัฐ เป็นส่วนสำคัญมากที่สุด ทั้งในเทอมดอกเบี้ยและนโยบายที่มีต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทุกวัน มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐ หรือพูดอีกทางคือ พฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัวที่ไม่ละ กำลังค่อยๆโผล่ออกมา เหมือนบ้านที่ไม่เคยกวาดสิ่งสกปรกออกจากบ้าน เอาแต่กวาดซุกใต้พรมแล้วนั่งทับไว้ จนตอนนี้ พรมคงปูดเป็นภูเขาลูกใหญ่แล้วมั๊ง คนนั่งทับ ก็กำลังนั่งง่อนแง่นอยู่บนยอด ทำเป็นไม่สนใจสิ่งหมักหมนที่อยู่ใต้พรม ความรุนแรงทางการเมืองโลก จากการที่สหรัฐวางตัวเป็นเจ้าโลกและคุกคามประเทศอื่นๆที่ไม่ยอมตนเอง เพื่อเข้าไปยึดครอบครองทรัพยากรของประเทศอื่น ระเบิดเวลาที่ทิ้งไว้หลายจุดทั่วโลก ทั้งอิสราเอล อัฟกานิสถาน อิรัก อิหร่าน และอีกหลายประเทศ อีกไม่นานคงได้ประทุรุนแรง นวัตกรรมทางการเงิน ตามแนวทางสหรัฐ เวลานี้กำลังย้อนกลับมาเล่นงานผู้คิดค้น ทั้งกรณีฉีกข้อตกลงเบรตัน วูดส์ พิมพ์แบงค์ใช้ไม่อั้น อนุพันธ์ทางการเงินเพื่อสร้างเม็ดเงินอย่างไร้ขีดจำกัดเช่นกรณีซัพไพร์ม การเปิดเสรีทางการเงินรวมทั้งบีบทั้งปลอบให้ประเทศอื่นเชื่อทำตาม การสร้างระบบเก็งกำไร เหล่านี้ล้วนช่วยสร้างเศรษฐกิจสหรัฐให้ขึ้นมาอยู่ชั้นแนวหน้าพร้อมๆกับการเผชิญความเสี่ยงมหันต์ที่ตามเป็นเงามานาน และกำลังเริ่มแผลงฤทธิ์อีกครั้ง ราคาน้ำมันถีบตัวขึ้นสูง รวมถึงโภคภัณฑ์ต่างๆและทองคำ คือตัวแทนเงามืดที่ตามสหรัฐมานานนั่นเอง ปูพื้นฐานปัจจัยพื้นฐานกันแล้ว งวดต่อไปคงเริ่มเข้าเรื่องสิ่งที่พวกเรารอ คือปัจจัยเทคนิคเสียที ใครอ่านความเห็นผมมาตลอด อาจเคยเห็นผมเขียนไว้เสมอว่า “ปัจจัยพื้นฐาน เป็นตัวบอกว่า ราคาจะไปทางไหน ส่วนปัจจัยเทคนิค จะบอกว่า จะไปได้แค่ไหน”
  10. บทที่ 1 ทำความรู้จักทองคำก่อนการลงทุน โดย Kumponys !_Rd !_Rd หลายคนอาจจะเคยได้ยินคนเถ้าคนแก่ หรือ อาจจะกระทั่งตัวเองได้เคยซื้อ (ถ้าแก่พอ) ทองคำบาทละ 400 บาท สมัยนั้น (ปี พศ.2516) ทองคำ 1 ออนซ์ ถูกกำหนดตายตัวไว้แค่ 42.22 ดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 20 บาทกว่าๆครับ วันนี้ ราคาระดับหมื่นกว่าบาทแล้ว และอาจจะไปถึง 2หมื่นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เกิดอะไรขึ้นกับทองคำ ใครไม่รู้ประวัติ ก็มาฟังผมเล่าฉบับย่อสุดๆ (เพราะรู้นิดเดียว ฮิฮิ) สมัยก่อน ราวปี 1875-1914 ทองคำถูกใช้เป็นมาตรฐานระบบการเงิน ซึ่งกำหนดความแตกต่างด้วยปริมาณทองคำสำรองระหว่างสกุลเงินของ 2 ประเทศ ระบบนี้มีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะต้องสำรองทองคำในปริมาณมหาศาลเพื่อรักษาดี มานด์/ซัพพลายทางการเงินให้มีเสถียรภาพ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานใหม่หลังสหรัฐตั้งตัวเป็นเจ้าโลกแทนอังกฤษที่เสื่อมอำนาจลง เรียกว่า ข้อตกลงเบรตัน วูดส์ ใน ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเวลาต่อมา หนึ่งในสาระสำคัญของเบรตัน วูดส์คือ การตีค่าตายตัวเอาไว้ว่า 35 ดอลลาร์เท่ากับทองคำ 1 ออนซ์ และเงินสกุลทั่วโลกจะผูกค่าเอาไว้นิ่งกับค่าดอลลาร์ อำนาจครอบงำจากดอลลาร์จึงเกิดขึ้น เงินดอลลาร์กลายเป็นเงินสากลและถูกนำไปใช้ทั่วโลก และตกค้างในประเทศต่างๆในจำนวนพอๆกับในสหรัฐฯ เมื่ออเมริกันกระโจนเข้าสู่สงครามเวียดนาม และช่วงสงครามเย็น ภาระที่แบกรับมากเกินของรัฐบาลอเมริกัน ทำให้ดอลลาร์เริ่มมีค่าน้อยลงกว่าทองคำ สหรัฐขาดดุลการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศเริ่มแคลงใจ สงสัยว่าสหรัฐพิมพ์แบงค์ออกมาใช้มากกว่าทองคำที่เป็นทุนสำรองอยู่ จึงนำดอลล่าร์ไปแลกทองคำกลับมา และแน่นอน สหรัฐไม่มีปัญญาหาทองคำมาให้แลกคืนได้พอหรอก เพื่อปกป้องค่าดอลลาร์ไว้ ใน ค.ศ. 1971 ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยนั้น ได้ประกาศตัดความสัมพันธ์คงที่กับทองคำ ยุติการซื้อขายทองคำกับดอลลาร์เอาดื้อๆ เป็นการฉีกข้อตกลงเบรตันวูดส์อย่างสิ้นเยื่อใย และแน่นอน ประเทศอื่นก็ทำอะไรไม่ได้ สหรัฐเป็นผู้ที่มีทองคำเป็นทุนสำรองมากที่สุดในโลกด้วยเหตุนี้ละมั๊งครับ ทั้งที่ขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องมายาวนาน นับตั้งแต่ตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้าโลก ประเทศอื่นเอาทองคำไปแลกกระดาษดอลล่าร์มาเพื่อใช้เป็นทุนสำรองในการซื้อขาย ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ข้าวสาร สากกะเบือ เรือรบ เพราะระบบการเงินที่เอาตัวเองเป็นแกน พอระบบที่ตัวเองตั้งขึ้น มันไปไม่ได้ เพราะตัวเองใช้เกินตัว ก็ชักดาบเอาดื้อๆ โดยไม่มีใครกล้าหือ แล้วทำไมเราต้องไปยุ่งกับดอลล่าร์ด้วย? - เพราะสหรัฐเป็นผู้ที่ถือครองทองคำมากที่สุด มีอิทธิพลในการกำหนดราคาทองคำมากที่สุด - เพราะทองคำ ถูกกำหนดมูลค่าเป็นดอลล่าร์ ความสัมพันธ์จึงแนบแน่นเกินจะหลีกเลี่ยง นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆที่สหรัฐประดิษฐ์ขึ้น ล้วนเป็นที่มาของฟองสบู่เศรษฐกิจที่แตกมาหลายครั้ง และสะเทือนไปทั่วโลก รวมถึงนวัตกรรมล่าสุด ซึ่งเป็นที่มาของวิกฤติซัพไพร์มที่กำลังลามทั่วโลกขณะนี้ ทั้งหมด ยังคงเกิดจากพฤติกรรมกร่าง ใช้จ่ายเกินตัวเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมาครับ และคงไม่ต้องเดาเลยว่า มูลค่าทองคำจะสูงขึ้นไปได้อีกขนาดไหน เมื่อเทียบกับดอลล่าร์
×
×
  • สร้างใหม่...