ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

Pete

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    53,172
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    287

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย Pete

  1. สำหรับตัวเลขขาเสี่ยง อาทิตย์นี้ อาทิตย์สุดท้ายเดือนกรกฎาคม LONG GOLD above 1092 SL 1089 TP 1103-1110-1116 SHORT GOLD below 1088 SL 1091 TP 1079-1072-1067 จุดงงงวย 1089-1091
  2. ตามปกติทั่วๆไป ราคาทองกับค่าเงินดอลล์ มักจะสวนทางกันเสมอ โดยที่ในขณะนี้ ค่าเงินดอลล์สหรัฐกำลังหาจุดที่ควรจะอยู่ นั้นคือไม่น่าแข็งค่าเกินควร และผลกระทบน่าจะเกิดจากสภาวะตลาดหุ้นดาวโจนที่ร่วง ติดต่อกัน เมื่อค่าเงินดอลล์อ่อนค่าลง แต่ราคาทองยังนิ่งเฉย อาจยังไม่เกิดความแน่ใจ จากปัญหาดอกฯ ของสหรัฐฯ หรืออะไรก็ตาม สภาวะแบบนี้ 18,000 บาท น่าเก็บแท่งตัวเป็นๆ แล้วขายเก็บกำไร 100 บาท หรือ 18,050 ขายเก็บกำไร 100 บาท วนเวียนขึ้นลง จนกว่า 1105 จุดต้านจะแตก แตกแล้วคงได้เป็นกอบเป็นกำ สักที รหัส 5,35,9 ของ US index ตัดกันไปแล้ว จะลดอ่อนแบบต่อเนื่อง จนกว่าเส้นราคาทองจะตัดกัน ตามมา
  3. รหัส 5,35,9 1. ราคาทอง ยังคงแนวโน้มด้านลบ ( ขึ้นไปได้ แต่ต้องฝ่าฟันจุดต้าน โดยต้องมีปัจจัยที่สำคัญ คือ Fed ไม่ขึ้นดอกฯ ในเดือนกันยายน 58 ) 2. US Index เส้นดำเส้นแดง ตัดกันแล้ว เปลี่ยนแนวโน้มค่าเงิน เป็นอ่อนค่า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทางขึ้นของราคาทองคำ 3. จุดรับ 1080 ใครกล้าซื้อก็เฮแล้ว ทะลุต้าน 1090 ราคาทองปิดเขยิบอยู่เหนือ 1096 ได้ ทำให้ราคาทองดูว่าสามารถกลับไปยืนเหนือ 1100 อีกครั้ง ในอาทิตย์หน้า
  4. รหัส 5,35,9 1. ราคาทอง ยังคงแนวโน้มด้านลบ ( ขึ้นไปได้ แต่ต้องฝ่าฟันจุดต้าน โดยต้องมีปัจจัยที่สำคัญ คือ Fed ไม่ขึ้นดอกฯ ในเดือนกันยายน 58 ) 2. US Index เส้นดำเส้นแดง หันหัวเข้าหากันแล้ว จะตัดกันหรือไม่ เพื่อเปลี่ยนแนวโน้มค่าเงิน เป็นอ่อนค่า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทางขึ้นของราคาทองคำ 3. จุดรับ 1080 และ จุดต้าน 1090 ถ้าราคาทองเขยิบอยู่เหนือ 1096 ได้ ราคาทองก็สามารถกลับไปยืนเหนือ 1100 อีกครั้ง 4. รายงานยุโรป มีช่วงบ่าย 2-3 ที่สามารถดันราคาทองขึ้นมาได้ 5. ไม่มีสิ่งที่มากระตุ้นราคาทองแบบเป็นเรื่องเป็นราว ถึงแม้ว่าจะเป็นวันศุกร์
  5. รหัส 5,35,9 1. ราคาทอง ยังคงแนวโน้มด้านลบ 2. US Index ยังคงแนวโน้มแข็งค่า กดดันราคาทองต่อไป 3. จุดรับ 1088 และ จุดต้าน 1100 ถ้าราคาทองเขยิบอยู่เหนือ 1096 ได้ ราคาทองก็สามารถกลับไปยืนเหนือ 1100 4. รายงานยุโรป ไม่มี มีแต่รายงานสหรัฐ คนว่างงาน โพลฯ ระบุว่า ลดต่ำลง 5. ยังไม่มีสิ่งใดที่มากระตุ้นราคาทองแบบเป็นเรื่องเป็นราว
  6. นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.45/47 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าอีกเล็กน้อยจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.42 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทวันนี้ยังมีโอกาสอ่อนค่าได้ต่อ หลังจากที่ประธานเฟด สาขาเซนต์หลุยส์ ออกมาให้สัมภาษณ์ล่าสุดว่า มีความเป็นไปได้อย่างมากที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.นี้ จึงทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ "บาทมีโอกาสอ่อนค่าได้อีก ให้แนวต้านสำคัญไว้ที่ 34.50 บาท/ดอลลาร์ เพราะประธานเฟด สาขาเซนต์หลุยส์ บอกว่ามีโอกาส 50% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ก.ย.นี้ ดังนั้นต้องติดตามว่าหากวันนี้บาทไปแตะที่ระดับ 34.50 บาท/ดอลลาร์แล้ว ธปท.จะทำอย่างไร เพราะเมื่อวานนี้บาทก็วิ่งเยอะมาก" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.41-34.50 บาท/ดอลลาร์
  7. ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย) นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้มากที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. "ผมมองว่ามีโอกาส 50% ที่เฟดจะปรับขึ้นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในเดือนก.ย." เขากล่าว เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 0-0.25% นับตั้งแต่ปลายปี 2008 เฟดจะประชุมนโยบายการเงินครั้งต่อไปในวันที่ 28-29 ก.ค. คำกล่าวของนายบลูลาร์ดสอดคล้องกับนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ที่เน้นย้ำในการแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นจะสนับสนุนให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นปีนี้ ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20/07/58)
  8. เมื่อคืนที่ผ่านมา (20 กรกฎาคม 2558) สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 25.1 ดอลลาร์ หรือ 2.22% ปิดที่ระดับ 1,106.80 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำและหันไปซื้อสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมถึงสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับปัจจัยลบจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบ กับสกุลเงินหลักๆ 6 สกุลในตะกร้าเงินนั้น ปรับขึ้น 0.03% แตะที่ 97.96% เมื่อคืนนี้ ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (21/07/2558)
  9. เมื่อคืนที่ผ่านมา (20 กรกฎาคม 2558) สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 25.1 ดอลลาร์ หรือ 2.22% ปิดที่ระดับ 1,106.80 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำและหันไปซื้อสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมถึงสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับปัจจัยลบจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบ กับสกุลเงินหลักๆ 6 สกุลในตะกร้าเงินนั้น ปรับขึ้น 0.03% แตะที่ 97.96% เมื่อคืนนี้ ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (21/07/2558)
  10. นักวิเคราะห์ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของทองคำสำรองของจีน และตัวเลขหนี้ต่างประเทศสกุลหยวนของจีน ต่างก็เป็นปัจจัยหนุนต่อการมีเสถียรภาพของหยวน ธนาคารกลางจีนรายงานว่า ปริมาณทองคำสำรอง ณ สิ้นเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 53.32 ล้านออนซ์ หรือพุ่งขึ้น 57% จากระดับ ณ สิ้นเดือนเม.ย. 2009 ถึงแม้จีนยกเลิกมาตรฐานทองคำในระบบการเงินแล้ว แต่ปริมาณทองคำสำรองยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดค่าเงินอันเนื่องจากการมีเสถียรภาพด้านราคา ธนาคารกลางจีนระบุว่า การเพิ่มขึ้นของทองคำสำรองมีความสอดคล้องกับความจำเป็นของจีนในการปรับโครงสร้างสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อรับประกันความมั่นคงของสินทรัพย์, สภาพคล่อง และการเพิ่มขึ้นของมูลค่า ธนาคารกลางจีนระบุว่า ทางธนาคารใช้มาตรการระยะยาวในการจัดสรรทองคำสำรองเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20/07/58)
  11. ประธานเฟดส่งสัญญาณว่าปัญหาเศรษฐกิจในกรีซและจีน ไม่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ รุนแรงถึงขนาดที่เฟดจะต้องปรับแผนการขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด กล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ถึงแผนการปรับขึ้นดอกเบี้ยว่า เฟดต้องการเริ่มต้นการขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้และทยอยปรับขึ้นอย่างช้าๆ แทนที่จะชะลอการเริ่มต้นขึ้นดอกเบี้ยออกไปและต้องรีบปรับขึ้นในช่วงหลัง เพื่อให้ทันป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะร้อนแรงเกินไป โดยนางเยลเลนกล่าวว่าการเริ่มปรับขึ้นเร็วและทยอยปรับอย่างช้าๆ จะทำให้เฟดมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการเรื่องดอกเบี้ย "ถ้าเรารอต่อไป หมายความว่าเมื่อเราเริ่มต้นปรับดอกเบี้ย เราอาจจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ข้อดีของการเริ่มขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นคือเราอาจจะมีเส้นทางการปรับขึ้น ดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งเป็นวิธีการที่รอบคอบ" นางเยลเลนกล่าว ทั้งนี้ นางเยลเลนไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเฟดจะเริ่มปรับดอกเบี้ยเมื่อใด เจ้าหน้าที่ทางการเฟดส่งสัญญาณว่าอาจจะตัดสินใจปรับดอกเบี้ยอย่างเร็วใน เดือนกันยายน ขณะที่นักลงทุนจำนวนมากคาดหมายว่าเฟดจะรอจนถึงเดือนธันวาคม แผนการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเผชิญกับหลายปัจจัยลบในช่วงที่ผ่านมาซึ่งเหนือ กว่าความคาดหมายของเจ้าหน้าที่ทางการ ตั้งแต่การหดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรก เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง ตลอดจนปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่เฟดจำนวนหนึ่งเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่การปรับ ดอกเบี้ยจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ดี ปัจจัยลบเหล่านี้ส่งผลให้แนวคิดดังกล่าวต้องล้มเลิกไป อย่างไรก็ตาม นางเยลเลนมองแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งขึ้นมากหลังจากทำผลงานได้น่าผิดหวังในไตรมาสแรก "ถ้าเศรษฐกิจพัฒนาการไปตามที่เราคาดหมาย สภาวะทางเศรษฐกิจน่าจะมีความเหมาะสมต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟดใน ช่วงใดช่วงหนึ่งของปีนี้" นางเยลเลนกล่าว ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 และ 3 ไว้ที่ระดับ 2.5% และ 3% ขณะเดียวกันตลาดแรงงานก็มีความแข็งแกร่งขึ้นต่อเนื่อง ช่วยลดอัตราว่างงานลงเหลือ 5.3% ในเดือนมิถุนายน นางเยลเลนกล่าวว่าแม้ตลาดแรงงานจะอยู่ในสภาวะที่ยังไม่เต็มศักยภาพ แต่ปัจจัยบางส่วนมาจากปัญหาโครงสร้างในระยะยาว เช่น ระดับผลิตภาพต่ำ ซึ่งธนาคารกลางไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ นางเยลเลนได้แสดงความเชื่อมั่นต่อภาคการบริโภค โดยกล่าวว่าผู้บริโภคชาวอเมริกันมีทั้งกำลังซื้อและความเชื่อมั่นที่จะซื้อ สินค้าขนาดใหญ่ราคาแพง ดังเห็นได้จากยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่งในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ประธานเฟดยังได้กล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก โดยเฉพาะจากปัญหาเศรษฐกิจในจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็น อันดับ 2 ของโลก "จีนยังคงเผชิญกับความท้าทายจากหนี้ในระดับสูง ตลาดอสังหาริมทรัพย์อ่อนแอ และสภาวะทางการเงินที่ผันผวน" นางเยลเลนกล่าว อย่างไรก็ดี ประธานเฟดมองว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอาจจะเป็นไปได้อย่างเร็วกว่าที่หลาย คนคาด พร้อมกับชี้ว่าคณะกรรมการของเฟดรับรู้ถึงปัญหาของกรีซและจีนตั้งแต่เตรียม ตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมิถุนายน ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 19 - 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)
  12. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยืนยันว่า กรีซได้ชำระคืนหนี้จำนวนทั้งสิ้น 6.25 พันล้านยูโรแล้ว นายเจอร์รี ไรซ์ โฆษก IMF เปิดเผยในแถลงการณ์ว่า กรีซได้ชำระคืนหนี้ค้างชำระจำนวนราว 2 พันล้านยูโรแก่ IMF แล้วเมื่อวานนี้ ดังนั้น กรีซจึงไม่มีหนี้ค้างชำระกับ IMF อีกต่อไป ขณะเดียวกัน ECB ได้ยืนยันว่ากรีซได้ชำระคืนหนี้สิน รวมทั้งดอกเบี้ยแก่ ECB แล้ว ทั้งนี้ กรีซมีหนี้ค้างชำระกับ IMF จำนวน 2.05 พันล้านยูโร ขณะที่มีกำหนดต้องชำระคืนหนี้พร้อมดอกเบี้ยจำนวนทั้งสิ้น 4.2 พันล้านยูโรแก่ ECB เมื่อวานนี้ กรีซได้ชำระคืนหนี้สินดังกล่าว โดยใช้เงินกู้ระยะสั้นวงเงินราว 7 พันล้านยูโร ซึ่งสหภาพยุโรป (EU) ได้ตัดสินใจเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในการปล่อยกู้ให้แก่กรีซเพื่อจัดการวิกฤตทาง การเงินของประเทศ ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 21 กรกฎาคม 2558)
  13. รหัส 5,35,9 ของ US Index แนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง ย่อมที่จะกดราคาทองคำ
  14. รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางราคาทอง ณ. วันนี้ แนวโน้มก็ยังอยู่ด้านลบ / คนถือทองแท่ง คนเล่นขาซื้อ เพลียใจไปตามๆ กัน ประกอบกับข่าวฯ จีน ยกเลิกมาตราฐานทองคำในระบบการเงิน แต่ที่มีทองคำ ก็เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินหยวน เหมือนๆ กับนักลงทุนย่อมลงทุนในหลากหลายสิ่งเพื่อรักษาสมดุล อันหนึ่งดี อันหนึ่งร้าย ก็ยังพอตู้ๆ กันไป ไม่เหมือนเงินสหรัฐ หนี้ก็แยะ รู้ทั้งรู้ว่า ค่าเงินแข็ง ตัวเลขส่งออกจะแย่ ก็ไม่สนใจ จะพูดแต่ขึ้นดอกฯ สร้างภาพให้ประชาชนดูด้านเดียว
  15. นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อวานี้ เฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอัตราว่างงานจะค่อยๆลดลง นางเยลเลนระบุว่า ราคาน้ำมันที่ระดับต่ำ และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจะยังคงช่วยหนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่ภาวะทางการเงินยังคงสนับสนุนการขยายตัว นอกจากนี้ การใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างมากในประเทศอื่นๆจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ประธานเฟดกล่าวว่า ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวต่อไป นางเยลเลนเสริมว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ จะค่อยๆเลือนหายไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยปัจจัยดังกล่าวได้แก่ การแข็งค่าของดอลลาร์ ซึ่งจะกระทบต่อตัวเลขนำเข้าสุทธิของสหรัฐ และราคาน้ำมันที่ระดับต่ำจะกระทบต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมัน นางเยลเลนย้ำว่า เฟดมองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีความเหมาะสมก่อนสิ้นปีนี้ หากเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16/07/58)
×
×
  • สร้างใหม่...