ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

Pete

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    53,172
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    287

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย Pete

  1. "มะกัน" กระตุกเทพนิยายและอียูให้เร่งรอมชอม เพื่อให้กรีซยังอยู่ในยูโรโซนต่อไป ด้านเอเธนส์ตั้งขุนคลังใหม่ พร้อมรับข้อเสนอฉบับใหม่จากนายกฯ ซิปราส ไปถกกับเหล่ารัฐมนตรีคลังยุโรปที่บรัสเซลส์ต่อไป สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายโจช เออร์เนสต์ โฆษกทำเนียบขาวของสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เปิดเผยว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เรียกร้องให้ผู้นำกรีซและบรรดาผู้นำของชาติสมาชิกสหภาพยุโรป หรืออียู เร่งหาทางประนีประนอมกัน เพื่อให้กรีซยังสามารถดำรงสถานะสมาชิกภาพของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือยูโรโซนได้ต่อไป โดยการออกมาเรียกร้องจากทำเนียบขาวของสหรัฐฯ ข้างต้น มีขึ้นภายหลังจากกรีซลงประชามติไม่ยอมรับเงื่อนไขการช่วยเหลือจากกลุ่มเจ้าหนี้ 3 ฝ่าย หรือทรอยกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการรัดเข็มขัด ปรับลดงบประมาณรายจ่ายอย่างเข้มงวด เพื่อแลกกับการช่วยเหลือเงินกู้จากกลุ่มทรอยกา อันประกอบด้วย อียู ธนาคารกลางยุโรป หรืออีซีบี และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ พร้อมกันนี้ ทางทำเนียบขาวของสหรัฐฯ ยังได้กระตุ้นเตือนให้ทั้งกรีซและอียู บรรลุข้อตกลงเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือให้กรีซสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน รวมถึงก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรีซตามมาอีกด้วย ขณะเดียวกัน ทางด้านรัฐบาลกรีซ ได้แต่งตั้งให้นายยูคลิด ซาคาโลตอส เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีคลังคนใหม่ ก่อนทำพิธีสาบานตน ซึ่งมีขึ้นที่ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงเอเธนส์ หลังจากนั้น จะเดินทางไปยังกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อประชุมคณะรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศยูโรโซนต่อไป ทั้งนี้ มีรายงานว่า รัฐมนตรีคลังคนใหม่ของกรีซ ได้รับนโยบายเป็นข้อเสนอฉบับใหม่ของนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซิปราส ไปหารือกับบรรดารัฐมนตรีคลังของกลุ่มยูโรโซนที่จะมีขึ้นด้วย ซึ่งข้อเสนอฉบับใหม่ดังกล่าว มีเรื่องขอให้ทางกลุ่มเจ้าหนี้ปรับลดจำนวนวงเงินหนี้ลงถึงในอัตราร้อยละ 30 รวมอยู่ด้วย ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ (วันที่ 7 กรกฎาคม 2558)
  2. จุดต้าน จุดรับ และเป็นอีกวันหนึ่ง ของตลอดอาทิตย์นี้ ที่ต้องเล่นสั้น เท่านั้น ยาวไปยาวไป เสร็จมัน มันแดรกเงินตรู
  3. รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์สหรัฐ ยังคงแนวโน้มด้านแข็งค่า ต่อเนื่อง เป็นตัวกดดันราคาทองเลยนะ
  4. รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางราคาทอง ยังคงแนวโน้มลบ ...... ขึ้นไปได้ ก็ลงมาง่าย
  5. เมื่อวาน รับทรัพย์กันไป แบบ Short เพราะตัวเลขเริ่มต้น ต่ำกว่า 1170 ไหลลงสู่เป้าหมายที่ 3 อย่างง่ายดาย
  6. เจ้าหน้าที่รัฐบาลกรีซระบุว่า นายอเล็กซิส ซิปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ได้เจรจาทางโทรศัพท์กับนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เมื่อวานนี้ โดยผู้นำทั้ง 2 เห็นพ้องว่า นายซิปราสจะยื่นข้อเสนอใหม่ของรัฐบาลกรีซเข้าสู่ที่ประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป (EU) ในวันนี้ ที่กรุงบรัสเซลส์ ทางด้านนายโปรโคปิส ปาฟโลปูลอส ประธานาธิบดีกรีซ ซึ่งเป็นประมุขของประเทศ ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์แห่งฝรั่งเศสเมื่อวานนี้ หลังจากที่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาชาวกรีซได้ลงประชามติไม่รับมาตรการรัดเข็มขัดของฝ่ายเจ้าหนี้ นอกจากนี้ นายปาฟโลปูลอสได้จัดการประชุมเมื่อวานนี้ร่วมกับผู้นำของรัฐบาลกรีซและฝ่ายค้านที่บ้านพักของประธานาธิบดี เพื่อหารือถึงข้อเสนอใหม่ที่กรีซจะยื่นในที่ประชุมสุดยอด EU ในวันนี้ กรีซมีกำหนดที่จะต้องชำระหนี้แก่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อีก 3.5 พันล้านยูโร หรือ 3.9 พันล้านดอลลาร์ในวันที่ 20 ก.ค.นี้ ซึ่งหากกรีซผิดนัดชำระหนี้ครั้งนี้ สื่อต่างประเทศมองว่า ECB อาจจะยกเลิกการจัดสรรวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือ Emergency Liquidity Assistance (ELA) แก่ภาคธนาคารของกรีซ ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07/07/58)
  7. กรีซได้แจ้งให้ธนาคารในประเทศปิดทำการต่อจนถึงวันพุธที่จะถึงนี้ จากกำหนดการณ์เดิมที่ธนาคารของกรีซจะเปิดทำการในวันนี้ ภายหลังจากที่ได้รับทราบผลการลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซได้ส่งข้อเสนอชุดใหม่ให้กับกลุ่มเจ้าหนี้แล้วเมื่อวานนี้ ท่ามกลางแรงกดดันจากทั้งธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ได้ตัดสินใจคงวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือ Emergency Liquidity Assistance (ELA) ที่ให้แก่ธนาคารของกรีซ ไว้ที่ระดับเดิมที่ได้มีการตัดสินใจไปเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. การตัดสินใจของ ECB เกี่ยวกับวงเงิน ELA ที่ให้กับกรีซนั้น เป็นหนึ่งในประเด็นที่ทั่วโลกวิตกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากผลการลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาแสดงให้ เห็นว่าชาวกรีซโหวต ‘No’ เพื่อปฏิเสธข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดจากบรรดาเจ้าหนี้ นอกจากนี้ เจ้าหนี้รายใหญ่ของกรีซอย่างเยอรมนีก็ยังกดดันกรีซอย่างต่อเนื่อง โดยนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวภายหลังการหารือกับประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศสเมื่อวานนี้ว่า เวลาใกล้จะหมดลงแล้ว ในวันนี้ กลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซนจะประชุมฉุกเฉินร่วมกัน ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 7 กรกฎาคม 2558)
  8. เอเธนส์ * ชาวกรีกลงประชามติท่วมท้น "ไม่รับ" เงื่อนไขปล่อยกู้ของเจ้าหนี้ยุโรป รัฐ มนตรีคลังกรีซลาออกเปิดทางรัฐบาลหาทางรอมชอมเจ้าหนี้รอบใหม่ ผู้นำฝรั่งเศสเยอรมนีหารือรับมือ ส่วนยูโรโซนนัดประ ชุมสุดยอดวันอังคาร ขณะที่ "คลัง-ธปท." มั่นใจกระทบไทยน้อยมาก "สมหมาย" ปัดกระแสข่าวไทยโดดร่วมวงกู้ไอเอ็มเอฟ ด้านหุ้นไทยปิดลบ 17 จุด การลงประชามติของกรีซเมื่อวันอา ทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2558 ได้รับการจับตามองจากทั่วโลกว่า ชาวกรีกจะมีฉันทานุมัติเช่นใด ต่อเงื่อนไขของเจ้าหนี้ที่กำหนดให้กรีซใช้มาตรการลดค่าใช้จ่ายอย่างเคร่ง ครัดเพิ่มเติมและปฏิรูประบบการเงิน แลกกับ การปล่อยเงินช่วยเหลือก้อนต่อไป ซึ่งเงื่อน ไขเหล่านี้ถูกยกเลิกไปก่อนหน้านี้แล้วจึงไม่มีผลในทางปฏิบัติ กระนั้นนายกฯ อเล็กซิส ซีปรัส ของกรีซซึ่งล้มการเจรจาต่อรอง แล้วประกาศจัดลงประชามติให้ชาวกรีกเป็นผู้ตัดสินใจแทน อ้างว่ามติ "ไม่รับ" จะเป็นแต้มต่อที่ช่วยในการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้รอบใหม่ ผลการนับคะแนนที่กระทรวงมหาด ไทยของกรีซประกาศเมื่อเช้าวันจันทร์ตามเวลาประเทศไทย ได้สร้างความตกตะลึงโดย เฉพาะต่อบรรดาผู้นำยุโรป เมื่อปรากฏว่าคะแนนฝ่ายไม่รับมีท่วมท้นถึง 61.31% ส่วนฝ่ายรับมี 38.69% จากจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์ถึง 62.5% ทั้งที่ผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดส่วนใหญ่ให้คะแนนก้ำกึ่งสูสีกัน นายกฯ ซีปรัสได้ประกาศผ่านโทร ทัศน์ต่อประชาชนทั้งประเทศเมื่อคืนวันอาทิตย์ว่า "พวกคุณได้เลือกอย่างกล้าหาญมาก" ส่วนที่จัตุรัสกลางกรุงเอเธนส์ ฝ่ายที่ต่อต้านเงื่อนไขเจ้าหนี้นับหมื่นคนพากันมาชุมนุมฉลองผลโหวตอย่างสะใจ บ้างก็โห่ร้องและโอบกอดกัน บางรายกล่าวว่าสเปนและโปรตุเกสควรเจริญรอยตามกรีซ กระนั้นซีปรัสย้ำว่า มติไม่รับเงื่อนไขเจ้าหนี้ไม่ได้หมายความว่ากรีซจะแยกทางกับยุโรป สมาชิกภาพในยูโรโซนนั้นเป็นสิ่งที่ย้อนคืนไม่ได้ และไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายข้อใดที่จะขับกรีซออกจากยูโรโซน "มตินี้ไม่ใช่อาณัติของการแยกตัวจากยุโรป แต่เป็นอาณัติที่จะเสริมความเข้มแข็งของเราในการเจรจาต่อรองเพื่อให้บรรลุ ข้อตกลงที่ใช้การได้" ผู้นำกรีซวัย 40 ปีกล่าวและว่า ถึงขณะนี้พวกเจ้าหนี้ต้องเจรจากับกรีซเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซมูลค่า 240,000 ล้านยูโรแล้ว ด้านปฏิกิริยาของบรรดาผู้นำในยุโรปมีผสมผเสกัน ทั้งท้อใจและระมัดระวังตัวกับผลประชามติที่ทิ้งห่างกันเช่นนี้ ซิกมาร์ กาเบรียล รัฐมนตรีเศรษฐกิจและรองนายกฯ เยอรมนี กล่าวโจมตีว่า ซีปรัสได้ฉีกทำลายสะพานเชื่อมระหว่างกรีซกับยุโรปลงแล้ว และการเจรจาเพื่อปล่อยเงินช่วยเหลือรอบใหม่ถึงตอนนี้เป็นเรื่องยากที่จะ จินตนาการ ส่วนเยรูน ไดจ์เซล บลูม ประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า ผลไม่รับเป็นสิ่งที่น่าเสียใจอย่างมากสำหรับอนาคตของกรีซ ในขณะที่นักวิเคราะห์บางรายกล่าวกันว่า โอกาสที่กรีซจะออกจากยูโรโซนมี "สูงมาก" ซึ่งฟรังซัวส์ โอลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี มีกำหนดหารือกันอย่างเร่งรีบที่กรุงปารีสในวันจันทร์ เพื่อประเมินนัยของสถานการณ์ ส่วนฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ประชุมทางไกลเช้าวันเดียวกันกับมาริโอ ดรากี ประ ธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี), โดนัลด์ ทุสก์ ประธานสหภาพยุโรป (อียู) และไดจ์เซลบลูม ทุสก์ กล่าวด้วยว่า ผู้นำประเทศกลุ่มยูโรโซนจะประชุมฉุกเฉินกันด้วยในวันอังคาร ซีปรัสต้องการเจรจากับเจ้าหนี้ต่อไป เพื่อขอให้ปล่อยเงินกู้ในโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่หมดอายุลง เมื่อวันอังคารที่ 30 มิถุนายน วันเดียวกับที่กรีซต้องผิดนัดชำระหนี้เงินกู้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งทำให้กรีซเป็นชาติพัฒนาแล้วชาติแรกที่ผิดนัดชำระหนี้ เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว กองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรปซึ่งเป็นเจ้าของหนี้กรีซ 144.6 พันล้านยูโร ยังได้ประกาศว่ากรีซเป็นประเทศที่ค้างชำระหนี้อย่างเป็นทางการด้วย มีรายงานว่า ธนาคารต่างๆ ของกรีซเกือบจะไม่มีสภาพคล่องแล้วนับแต่ลูกค้าพากันแห่ถอนเงินก่อนการลง ประชามติ ถึงแม้ว่าซีปรัสจะประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุน, ปิดทำการธนาคารทั่วประเทศนาน 1 สัปดาห์ จำกัดการถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มไม่เกินวันละ 60 ยูโร และห้ามการโอนเงินไปต่างประเทศเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบก็ตาม อีซีบีเตรียมจะประชุมหารือกันว่า จะเพิ่มการอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉินแก่ธนาคารกรีซหรือไม่ จอร์จีออส สตาธาคิส รัฐมนตรีเศรษฐกิจของกรีซ เปิดเผยกับบีบีซีว่า อีซีบีต้องช่วยให้ธนาคารกรีซดำเนินการได้ต่อไปอีก 7-10 วัน เพื่อให้การเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้เกิดขึ้นได้ แต่จากสภาพปัจจุบันซึ่งอีซีบีจำกัดเงินอัดฉีดสภาพคล่องไว้ที่ 89 พันล้านยูโร และการเบิกถอนเงิน จะทำให้ธนาคารกรีซดำเนินการได้ถึงวันศุกร์นี้เท่านั้น รัฐบาลกรีซได้แสดงท่าทีรอมชอมเพื่อหวังเจรจากับเจ้าหนี้ต่อไป ด้วยการให้ยานิส วารูฟาคิส รมว.คลัง ประกาศลาออกเมื่อวันจันทร์ นักเศรษฐศาสตร์นิยมมาร์กซิสต์ที่ไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอยรายนี้รณรงค์ผล โหวตไม่รับมาโดยตลอด และประกาศไว้ว่าหากผล ออกมาตรงกันข้ามเขาจะลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ในแถลงการณ์ประกอบการลา ออกของเขา วารูฟาคิสกล่าวว่า เขารับทราบมาว่าพวกตัวแทนยุโรปบางคนพึงพอใจหากการเจรจาจะไม่มีเขาอยู่ด้วย และนายกรัฐมน ตรีซีปรัสเห็นว่า ความคิดนี้น่าจะเป็นผลดีต่อการบรรลุข้อเจรจากับเจ้าหนี้ คำประกาศลาออกของเขา ทำให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้นทันทีในการซื้อขายที่ตลาดเอเชีย หลังจากอ่อนค่าลงภายหลังทราบผลประชามติ ส่วนตลาดหุ้นหลักทั่วภูมิภาคเอเชียพร้อมใจกันดิ่งลงเมื่อปิดตลาดวันจันทร์ เช่น ตลาดหุ้นโตเกียวปิดลดลง 2.08% หรือ 427.67 จุด ปิดที่ 20,112.12, โซลลดลง 2.40% หรือ 50.48 จุด ปิดที่ 2,053.93, ซิดนีย์ลดลง 1.11% หรือ 61.60 จุด ปิดที่ 5,476.70 จุด และฮ่องกง ร่วง 3.18% หรือ 827.83 จุด ปิดที่ 25236.28 จุด ที่ประเทศไทย นายสมหมาย ภาษี รมว.การคลัง เปิดเผยถึงกรณีผลการลงประชามติของกรีซที่ออกมาไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ กลุ่มเจ้าหนี้ว่า เบื้องต้นประเมินว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับตลาดเงินและตลาดทุนไทยไม่ มาก เนื่องจากไทยมีการติดต่อในเชิงธุรกิจกับกรีซไม่มาก ต่างกับจีนที่มีการประเมินว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวลดลง ซึ่งมีผลกระทบกับไทยมากกว่า "การผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในการใช้นโยบายบริหารประเทศแบบประชานิยมอย่างไม่ สมเหตุสมผล เพราะที่ผ่านมารัฐบาลกรีซใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยมาก ใช้จ่ายอย่างไม่ระมัดระวัง ไม่มีวินัยทางการคลัง จึงอยากให้ยกกรณีของกรีซเป็นความหายนะของประชานิยม และเป็นเครื่องเตือนใจที่ดีแก่ประชาชนในประเทศด้วย และมองว่าหลังจากนี้หากกรีซมีการจัดการเลือกตั้งอีกครั้ง จะมีการพิจารณาการใช้นโยบายในการบริหารประเทศอย่างรัดกุมมากขึ้น" นายสมหมายกล่าวและปฏิเสธข่าวในโซเชียลมีเดียที่ว่า ประเทศไทยเตรียมกู้เงินจากไอเอ็มเอฟเร็วๆ นี้ว่าไม่เป็นความจริง รมว.การคลังกล่าวด้วยว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ใช่ยุคข้าวยากหมากแพง แต่เป็นภาวะที่คนไม่มีรายได้เท่านั้น เนื่องจากผู้ประ กอบการมีการปลดพนักงาน ราคาสินค้าเกษตร ตกต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจของประเทศ อื่นๆ ตกต่ำและส่งผลกระทบมายังไทย ดังนั้นเมื่อความต้องการซื้อสินค้าของประเทศคู่ค้าลดลง การส่งออกของไทยก็ได้รับผลกระทบในที่สุด และเมื่อขายสินค้าไม่ได้ กำลังซื้อในการนำเข้าก็ลดลงตามไปด้วย นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) ประเมินว่าผลกระทบโดยรวมต่อไทยเบื้องต้นจะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากไทยมีความเชื่อมโยงกับกรีซค่อนข้างต่ำ ทั้งในส่วนของภาคการเงินและการค้า และแม้จะมีผล กระทบทางอ้อมบ้าง แต่คาดว่าจะอยู่ในวงจำกัด ส่วนตลาดการเงินของไทยอาจเผชิญกับความผันผวนในระยะสั้น แต่คาดว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงนัก" นางผ่องเพ็ญระบุ ขณะที่ ภาวะตลาดหุ้นไทยเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดวัน เหตุจากความยืดเยื้อของปัญหาหนี้กรีซ ทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงกดดันตลาดค่อนข้างมาก ประกอบกับตลาดไร้ปัจจัยสนับสนุนเข้ามาประคองดัชนี เพราะเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ ส่งผลให้ดัชนีของวันปิดที่ระดับ 1,473.23 จุด ลดลง 16.36 จุด หรือเปลี่ยนแปลง -1.10% มูลค่าการซื้อขาย 32,145.05 ล้านบาท แตะจุดสูงสุดของวันที่ระดับ 1,482.23 จุด ส่วนดัชนีจุดต่ำสุดของวันอยู่ที่ 1,470.37 จุด โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,418.55 ล้านบาท กองทุนขายสุทธิ 523.10 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ 563.75 ล้านบาท และรายย่อยซื้อสุทธิ 2,505.40 ล้านบาท ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 13,850,820.57 ล้านบาท ด้านตลาดหุ้นต่างประเทศ ต่างตอบรับผลกระทบหลังจากผลประชามติของกรีซที่ออกมาไม่รับเงื่อนไขการปฏิรูป เศรษฐกิจ เพื่อแลกกับการรับความช่วยเหลือทางการเงินจากเจ้าหนี้ ซึ่งอาจทำให้สถานะการเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซนของกรีซไม่มีความแน่นอน โดยดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดตลาดวันนี้ (จันทร์) ที่ 25,236.28 จุด ลดลง 827.83 จุด หรือ 3.18% ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ปิดที่ 20,112.12 จุด ลดลง 427.67 จุด หรือ 2.08% ดัชนีคอมโพสิต ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดที่ 2,053.93 จุด ลดลง 50.48 จุด หรือ 2.4% ขณะที่ดัชนีล่วงหน้าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงเช้า ดัชนี S&P 500 ล่วงหน้า ปรับตัวลง 27 จุด หรือ 1.3% แตะที่ 2,041 จุด ซึ่งบ่งชี้ว่าดัชนี S&P 500 มีแนวโน้มที่จะเปิดตลาดร่วงลงในวันนี้ (อังคาร). ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (วันที่ 7 กรกฎาคม 2558)
  9. ฝรั่งเดาทองรายอาทิตย์ ยังให้น้ำหนักไปทางหมี ทางอ่อนแรงของราคาทอง จนกว่า จะขึ้นเหนือ 1181 ก็จะมีความพยายามดันราคาให้ขยับสู่ 1200 อีกครั้ง วิกฤติกรีซมีปัญหาทำให้ค่าเงินยูโร อาการไม่ดี ทางอ่อนค่า ผลักดันให้ค่าเงินสหรัฐฯ แข็งค่า ซึ่งคนสหรัฐฯ ชอบ เพราะคิดว่า ตัวเองเป็นชาติเดียวที่ยิ่งใหญ่ และพร้อมที่อยากจะให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งนั้นคือ แรงกดราคาทองให้สนใจน้อยลง ตัวเลขขาเสี่ยง คือ GOLD SHORT below 1170 SL 1173 TP 1165-1158-1152-1141 LONG GOLD above 1178 SL 1175 TP 1188-1192-1201 จุดงงงวย 1170-1178 ทยอยซื้อตามแนวรับ ทยอยขายตามแนวต้าน ความผันผวนไม่แน่นอนในราราทอง มีมาก ควรทำกำไรระยะสั้น ดีกว่าถือไว้นาน
  10. จุดต้านจุดรับ 1167>>1176>>>1167>>>1176 วนเวียนรอข่าว มากระทุ้ง ทองแท่งหน้าร้านฯ ยังห้ามซื้อ เล่นได้แต่ ทองออนไลน์ และ ทองสปอต
  11. รหัส 5,35,9 ของค่าเงิน US ยังคงแนวโน้มแข็งค่า ยังคงกดดันราคาทอง ไม่ยอมให้ขึ้น
  12. รหัส 5,35,9 ของราคาทอง ยังคงแนวโน้มด้านลบ
  13. นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนีจะเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศสในวันนี้ เพื่อหารือกับประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส หลังจากมีข้อมูลระบุว่า ชาวกรีซเลือกโหวต 'No' เพื่อปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้
  14. คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ออกแถลงการณ์ว่า กลุ่มเจ้าหนี้ของกรีซในยูโรโซนจะจัดการประชุมทางไกลในช่วงเช้าวันจันทร์ เพื่อหารือกันหลังจากชาวกรีซตัดสินใจโหวต 'No' เพื่อคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัดจากกลุ่มเจ้าหนี้ แถลงการณ์ระบุว่า นายฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ ประธาน EC จะจัดการประชุมทางไกลในวันจันทร์ ร่วมกับนายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานสภายุโรป, นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) และนายเจอโรน ดิจเซลโบลม ประธานยูโรกรุ๊ป
  15. นายกสมาคมค้าทองคำมองปัญหากรีซอาจดันราคาทองขยับขึ้นแนะลงทุนระยะสั้นทำกำไร นาย จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ปัญหาการแก้ไขหนี้ของประเทศกรีซ ซึ่งจะมีการประชุมโดยทางธนาคารกลางยุโรป (ECB) และในส่วนของการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ นั้น เชื่อว่าผลกระทบหากประเทศกรีซขอออกจากสหภาพยุโรป และกลับไปใช้ค่าเงินของตนเอง แต่ทั้งนี้ต้องติดตามว่าปัญหาดังกล่าวนั้นหากกรีซกลับไปใช้ค่าเงินของตนเอง แล้วเงินจะมีค่ามากขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากปัญหาดังกล่าวมีความรุนแรงก็เชื่อว่าจะทำให้ราคาทองคำตลาดโลกปรับตัว ขึ้นไปอีกด้าน ทั้งนี้ อยากแนะให้นักลงทุนให้การลงทุนในช่วงนี้เป็นกองทุนระยะสั้น เพื่อขายทำกำไร เนื่องจากราคาทองคำอาจผันผวน ปรับตัวขึ้นไปอีกได้ โดยก่อนหน้านี้ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลงมา 20-30 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งถือว่าผิดปกติจากการที่มีปัญหาในยูโรโซน ซึ่งเชื่อว่าราคาทองคำอาจจะปรับขึ้นต่อไป แนะนำติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น (วันที่ 3 กรกฎาคม 2558)
  16. ราคาพันธบัตรสหรัฐทะยานขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลง เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า กรีซอาจจะต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน หลังจากผลการลงประชามติบ่งชี้ว่า ชาวกรีซเลือกโหวต 'No' เพื่อปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้ เมื่อเวลาประมาณ 09.15 น.ตามเวลาโตเกียว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐ ร่วงลง 0.10% แตะที่ 2.29% เจพีมอร์แกนคาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของเยอรมนีจะลดลงแตะ 0.68% เมื่อตลาดเปิดทำการในวันนี้ จากระดับปิดของวันศุกร์ที่ 0.79% ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 6 กรกฎาคม 2558)
  17. สหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยว่า EU เคารพการตัดสินใจโหวต 'No' ของชาวกรีซ ในการลงประชามติซึ่งมีขึ้นเมื่อวานนี้ "แม้ดูเหมือนว่าวันนี้เป็นวันที่ยุ่งยาก แต่เราต้องเคารพการตัดสินใจของชาวกรีซ" ประธานสภายุโรปกล่าวในแถลงการณ์ ทั้งนี้ ประชาชนชาวกรีซได้ตัดสินใจโหวต 'No' ในการลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อแสดงออกถึงการคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัดตามข้อเรียกร้องของเจ้าหนี้เพื่อแลกกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ผลการลงประชามติดังกล่าวส่งผลให้อนาคตของกรีซในยูโรโซนตกอยู่ในความไม่แน่นอน ซึ่งอาจจะทำให้กรีซต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06/07/58)
  18. สื่อต่างประเทศต่างจับตาธนาคารกลางยุโรป (ECB) ว่า ในวันพรุ่งนี้ (6 ก.ค.) จะตัดสินใจอย่างไรกับเงินกู้ฉุกเฉิน หรือ Emergency Liquidity Assistance (ELA) แก่ภาคธนาคารของกรีซ ภายหลังจากที่ได้รับทราบผลการลงประชามติของกรีซแล้ว ทั้งนี้ ECB อาจจะคงเพดาน ELA ไว้เช่นเดิมหรือระงับเงินกู้ฉุกเฉินดังกล่าวไว้ หากชาวกรีซโหวตค้านข้อเสนอของกลุ่มเจ้าหนี้ ซึ่งหากไม่สามารถสรุปได้ก็จะยิ่งทำให้เกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น และเป็นไปได้ว่า อาจจะเกิดการประท้วงอย่างรุนแรงขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา ECB ประกาศคงเพดานเงินกู้ฉุกเฉินให้กับธนาคารของกรีซเอาไว้ในระดับปัจจุบันที่ 8.5 หมื่นล้านยูโร ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06/07/58)
  19. 5 มิ.ย.58 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประเมินลงประชามติหนี้สินกรีซไม่ว่าผลออกมารับรองหรือไม่รับรองเงื่อนไขเจ้าหนี้ผลกระทบและความเสี่ยงระยะสั้นต่อระบบการเงินยุโรปและโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เสนอให้เจ้าหนี้ต้องตัดสินใจลดหนี้จำนวน 323,000 ล้านยูโรหรือ 11.9 ล้านล้านบาท (หนี้เกือบขนาดเท่ากับจีดีพีของไทย) หากใช้วิธียืดหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้และให้กู้เงินเพิ่มไปเรื่อยๆ ย่อมไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง การลดหนี้จำเป็นต้องดำเนินการพร้อมกับการเดินหน้าการปฏิรูปเศรษฐกิจและยกเครื่องระบบการคลังและระบบการเงินครั้งใหญ่ วิกฤตการณ์หนี้สินกรีซเป็นผลจากการใช้นโยบายประชานิยมอย่างขาดวินัยทางการเงินการคลังและการทุจริตคอร์รัปชันในทุกระดับ ทำให้ประเทศเกิดความล่มสลายทางเศรษฐกิจ การโหวตไม่ยอมรับเงื่อนไขแต่เจรจาต่อรองไม่ออกจากยูโรโซนหรือเจรจาต่อรองในเรื่องที่ไม่สามารถปฏิบัติได้จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดต่อกรีซ เศรษฐกิจยูโรโซนและระบบการเงินโลก หากลงมติรับรอง รัฐบาลอเล็กซิส ซิปราสต้องลาออกก่อให้เกิดปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองอีก การแก้ปัญหาจะหยุดชะงักไประยะหนึ่งก่อนจะได้รัฐบาลใหม่ซึ่งมีแนวโน้มจะทำตามเงื่อนไขเจ้าหนี้เต็มที่ มาตรการเข้มงวดทางการเงินการคลังและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะถูกนำมาใช้ตามเงื่อนไขเจ้าหนี้จะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจกรีซที่หดตัวอยู่แล้ว หากมีการลงประชามติรับรอง ประเทศภาคีสมาชิกยูโรโซนอาจไม่เชื่อใจว่า รัฐบาลปัจจุบันจะปฏิรูปเศรษฐกิจตามเงื่อนไขเจ้าหนี้ ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การไม่รับรองแต่เจรจาขออยู่ในยูโรโซนต่อไปจะเพิ่มอำนาจต่อรองให้ลูกหนี้ และขอใช้เงินสกุลเงินเดิม (สกุลเงินดรักมาร์) ควบคู่กับยูโรโซนไประยะหนึ่งจนกว่าเศรษฐกิจฟื้นและแก้ปัญหาหนี้สินได้ระดับหนึ่ง การใช้เงินสองสกุลควบคู่กันต้องทำไปพร้อมกับมาตรการควบคุมเงินทุนหรือ Capital Control แต่หากลงมติไม่รับรองเงื่อนไขเจ้าหนี้และออกจากยูโรโซนและไม่เจรจากับเจ้าหนี้จะเกิดผลลัพธ์ทางลบรุนแรงต่อกรีซ ต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของยูโรโซน รวมทั้งความผันผวนในตลาดการเงินโลกอย่างมากในระยะสั้นและระยะปานกลาง เมื่อกรีซต้องกลับไปใช้เงินสกุลเดิม (สกุลเงินดรักมาร์) กรีซจะประสบปัญหาความตกต่ำของค่าเงินอย่างรุนแรง แต่จะทำให้ส่งออกได้มากขึ้น นำเข้าหดตัวรุนแรง ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้น เงินออมมากขึ้น ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แล้วจะเริ่มทยอยชำระหนี้ได้ ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 2-3 ปีในการปรับตัวตรงนี้ แต่เฉพาะหน้า ความเสี่ยง คือ เจ้าหน้าหนี้งดความช่อยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมและอาจไม่ปล่อยกู้ให้กับธนาคารของกรีซ ดร.อนุสรณ์ อดีตกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่า เงินดอลลาร์น่าจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เงินยูโรอ่อนค่าลงต่อเนื่องในอัตราเร่งมากขึ้น เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง เงินทุนจะไหลออกจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงสู่สินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตร กองทุนตลาดเงิน เป็นต้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงทรงตัวในระดับต่ำ เสนอให้ทางการไทยและตลาดการเงินต้องเตรียมตัวรับมือและติดตามอย่างใกล้ชิดกรณีกรีซผิดนัดชำระหนี้โดยเฉพาะความผันผวนจากตลาดการเงินโลก ธนาคารแห่งประเทศไทยควรมีการประชุมคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการนโยบายการเงินพิเศษและพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาต่ำกว่า 1% เนื่องจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและความเสี่ยงของปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้น ต้องเริ่มเตรียมรับมือการชะลอตัวเพิ่มมากขึ้นของเศรษฐกิจจีนและความเสี่ยงในการเกิดวิกฤติภาคการเงินของจีน แม้ผลกระทบจากกรีซในเบื้องต้นต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันไทยมีหนี้สินต่างประเทศน้อย ทุนสำรองระหว่างประเทศและยอดเกินดุลบัญชีเงินสะพัดในระดับสูง อาจเกิดความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นได้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐเร็วขึ้นและมากขึ้น การลงทุนภาครัฐต้องขยายตัวให้สูงกว่า 40-50% ในช่วงครึ่งปีหลัง (ไตรมาสแรกทำได้ที่ระดับ 37.8%) หลีกเลี่ยงการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อการนำเข้าซึ่งไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานภายในในช่วงนี้ เช่น การจัดซื้ออาวุธด้วยเงินงบประมาณจำนวนมาก เป็นต้น โดยขอให้เน้นใช้งบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจแทนจะส่งผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2558
  20. นายอเล็กซิส ซิปราส นายกรัฐมนตรีกรีซเปิดเผยผ่านทางสถานีโทรทัศน์ของกรีซในวันนี้ว่า กรีซจำเป็นต้องได้รับการปรับลดมูลค่าหนี้สิน (haircut) ลง 30% และมีระยะเวลาปลอดชำระหนี้ (grace period) เป็นเวลา 20 ปี จึงจะช่วยให้เศรษฐกิจของกรีซมีความยั่งยืนได้ นายซิปราสยังกล่าวด้วยว่า ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่รัฐบาลกรีซร้องเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้นั้น กลุ่มเจ้าหนี้ไม่เคยเสนอให้มีการปรับลดมูลค่าหนี้และให้ระยะเวลาการปลอดชำระหนี้กับกรีซ นอกจากนี้ ประเด็นดังกล่าวก็ไม่ได้อยู่บนโต๊ะเจรจาครั้งหลังสุดของกลุ่มเจ้าหนี้เช่นกัน จนกระทั่งถึงวันที่ประชาชนชาวกรีซจะต้องออกมาลงประชามติในวันอาทิตย์นี้ว่า เพื่อชี้ขาดว่าประชาชนจะยอมรับข้อเสนอของกลุ่มเจ้าหนี้หรือไม่ การแสดงความคิดเห็นครั้งล่าสุดของนายซิปราสมีขึ้นในช่วงเวลาที่เขาพยายามโน้มน้าวให้ประชาชนปฏิเสธ "การยื่นคำขาด" ของเจ้าหนี้ ซึ่งข้อเรียกร้องในลักษณะยื่นคำขาดนั้น ครอบคลุมถึงการใช้มาตรการรัดเข็มขัดเพื่อแลกกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน โดยนายซิปราสยืนยันว่าการโหวต No ไม่ได้หมายความว่ากรีซจะต้องล้มละลายหรือต้องออกจากยูโรโซน แต่การโหวต 'No' เพื่อคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้ จะยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งในอำนาจต่อรองของกรีซกับทางเจ้าหนี้ ส่วนบรรยากาศก่อนการ ขณะที่ประชาชนชาวกรีซทั้งกลุ่มที่สนับสนุนการโหวต "Yes" และ "No" ต่างก็เดินหน้ารณรงค์หาเสียงโค้งสุดท้ายที่ใจกลางกรุงเอเธนส์ ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04/07/58)
  21. สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า การลงประชามติของกรีซวานนี้ (5 กรกฎาคม 2558) กระทรวงมหาดไทยกรีซเปิดเผยหลังการนับคะแนนเกือบเสร็จสิ้นว่าชาวกรีซ 61% ออกเสียง “ไม่รับ” เงื่อนไขของผู้ปล่อยกู้ ซึ่งถือว่ามากกว่าที่โพลล์คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนอีก 39% ออกเสียง “รับ” ประชาชนหลายพันคนที่สนับสนุนการลงมติ “ไม่รับ” พากันออกไปเฉลิมฉลองโห่ร้องกันที่หน้ารัฐสภาในกรุงเอเธนส์ ขณะที่นายอเล็กซิส ซิปราส นายกรัฐมนตรีกรีก กล่าวว่าการลงประชามติครั้งนี้ ไม่ใช่การต่อต้านยุโรป แต่เป็นอาณัติที่ประชาชนมอบให้เขาไปเจรจาหาทางออกที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพื่อแก้วิกฤตหนี้สินของกรีซ ทั้งนี้ รัฐบาลกรีซจัดการลงประชามติเพราะเชื่อว่าหากประชาชนไม่รับข้อเสนอของเจ้าหนี้ ก็จะทำให้กรีซมีอำนาจต่อรองมากขึ้น แม้ว่าบรรดาผู้นำยุโรปจะเตือนว่าสิ่งนี้อาจนำไปสู่การออกจากการเป็นประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรของกรีซ บีบีซีรายงานด้วยว่า ด้านนางแองเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี และนายฟรองซัวส์ โอลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวว่าจะเรียกประชุมสุดยอดประเทศผู้ใช้เงินสกุลยูโร วันอังคารนี้ เพื่อหารือเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีหลายคนของประเทศในเขตยูโรต่างตระหนกกับผลการลงประชามติ นายซิกมาร์ กาเบรียล รมว.เศรษฐกิจของเยอรมนี ไม่เชื่อว่าจะมีการเจรจาต่อรองเรื่องหนี้ของกรีซเกิดขึ้นอีก เขาเห็นว่านายกรัฐมนตรีกรีกได้เผาทำลายสะพานแห่งสุดท้ายที่เชื่อมกรีกกับยุโรปจนเสียหาย ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลีเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเจรจาข้อตกลงกันใหม่ ส่วนที่สเปนนายปาโบล อิกเลเซียส หัวหน้าพรรคโปเดมอส พรรคที่ต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ยินดีกับผลการลงประชามติและเห็นว่าเป็นชัยชนะของประชาธิปไตย ด้านนายแอนโทนิส ซามาราส หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านของกรีซซึ่งส่งเสริมให้รับเงื่อนไขของเจ้าหนี้ ได้ลาออกจากตำแหน่งแล็ว ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 6 กรกฎาคม 2558)
  22. 61.3% ลงคะแนน No และ 38.5 % ลงคะแนน Yes "With the difficult circumstances prevailing today you made a very brave choice," Tsipras said in a televised address to Greeks. "I'm fully aware the mandate you gave me is not one of a rupture with Europe but a mandate to strengthen our negotiating position to seek a viable solution." ทำให้ ณ. เวลานี้ รัฐบาลกรีซ ได้รับประชามติจากประชาชนกรีซ เป็นที่เรียบรัอย ให้ไปต่อรองกับบรรเจ้าหนี้ฯ และ เหล่าผู้นำยุโรป ในแบบฉบับไม่รัดเข็มขัด
  23. จุดต้านจุดรับ ต้านย่อย 69 ยังไม่ผ่านเลย ต้านย่อย 64 ก็ยังวนเวียนแถวนี้ เพราะแปลงเป็นแนวรับ
×
×
  • สร้างใหม่...