ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

TOUNE

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    606
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย TOUNE

  1. หุ้นกู้แปลงสภาพ ( Convertible Debenture ) มีลักษณะคล้ายคลึงกับหุ้นกู้ แตกต่างกันตรงที่หุ้นกู้แปลงสภาพมีสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในช่วง เวลา อัตรา และราคาที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดี หุ้นประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะผู้ซื้อคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้รับจากราคาหุ้นสามัญเมื่อแปลงสภาพแล้ว ซึ่งจะทำกำไรได้มากกว่าผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยของหุ้นกู้ธรรมดา ---------------------------------------------------------------------------------- ข่าวจาก TTA การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ เรื่อง : ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพให้บุคคลเฉพาะเจาะจง วันที่คณะกรรมการมีมติ : 14 ธ.ค. 2553 ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : หุ้นกู้แปลงสภาพ จัดสรรให้กับ : บุคคลเฉพาะเจาะจง จำนวนหุ้นที่รองรับ (หุ้น) : 185,000,000 ลักษณะของหุ้นกู้แปลงสภาพ อายุหุ้นกู้(ปี) : 5.00 -------------------------------------------------------------------------------------- ตรงที่เน้นตัวเข้มไว้จะเห็นว่าไม่เกี่ยวกะเรา เค้าต้องการขาย คนวงในเท่านั้น (PP) การเพิ่มทุนไม่เป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นเดิม กำไรต่อหุ้นจะลดลง (กำไร เท่าเดิม ตัวหาร คือ จำนวณหุ้นเพิ่มขึ้น กำไรต่อหุ้นลด )
  2. จีนเพิ่มมาตราการกันสำรอง ธนาคารอีกแล้ว RRR = 19.5% เป็นการพยายามลด supply ของปริมาณเงินในตลาดไม่ให้มีมากจนเกินไป เพื่อควบคุมภาวะเงืนเฟ้อ วิกฤตเศรษฐกิจในรอบถัดไป มีโอกาสมากที่จะมาจากจีน เพราะจีนปัจจุบันเป็นเบอร์ 2 ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ถ้าพังจะกระทบทั่วโลกอย่างแน่นอน จีนพยายามควบคุมปัจจัยทางเศรษฐกิจในประเทศให้สมดุล โดยเฉพาะเงินเฟ้อ แต่ไม่รู้ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน หรือว่าถวงเวลาไว้ได้นานแค่ไหน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราต้องจับตาอย่างจีนอย่างใกล้ชิดที่สุด ส่วนตัวเชื่อว่า จีนจะยังคงควบคุม(ถ่วงเวลา)ได้อีกหลายปี
  3. รายละเอียด SNC ที่ผมเคยเขียนถึงครับคุณ Mim25 ยังยืนยันคำเดิมว่า SNC เป็นหุ้นที่ดีที่สุดของผม ในปีนี้ ผู้บริหารคาดหวังจะเติบโตอีก 30% ของยอดขาย (กำไรคงโตได้มากกว่า) ลองไปคิดดูนะครับ ว่าราคาเท่าไรควรรับ ถ้าหุ้นเติบโตได้ขนาดนี้ ราคาที่เราพอใจซื้อควรเป็นเท่าไร?
  4. 30 บาท/หุ้น เป็นแค่ข่าวลือนะครับ ในข่าวที่ลงไว้ก่อนหน้าทาง STA ออกมาปฏิเสธแล้ว อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้อยู่ ลักษณะธุรกิจแบบที่ STA ทำ ถ้าต้องการเติบโตมากๆ จะต้องใช้เงินลงทุนมากๆด้วยและจะขาดสภาพคล่องมาก ทำให้มีความต้องการเงินสดมากอยู่ตลอดเวลา การกู้หรือเพิ่มทุนเป็นสิี่งจำเป็นของ STA ที่พอคาดเดาได้ว่า จะต้องมีให้เห็นเรื่อยๆ นับจากนี้ โดยเฉพาะยิ่งราคายางแพงขึ้น+ความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น ถ้าคิดถือหุ้นตัวนี้ ระวังในจุดนี้ด้วยนะครับ อย่ามองแต่ว่า หุ้นทำกำไรดีขึ้นอย่างเดียว การทำ abitrage จะต้องเปิด port ที่สิงคโปร์ด้วย ถูกครับ แต่นักลงทุนรายย่อยอย่างเราคงเสียเปรียบกองทุนระหว่างชาติ ซักหน่อย ซึ่งเค้าสามารถย้ายเงินลงทุนเค้าไปที่ไหนก็ได้ง่ายกว่าเรา
  5. ปัจจัยของ STA ตอนนี้น่าจะเป็นการกังวลเพิ่มทุน ที่ตลาดสิงคโปร์นะครับ มีข่าวว่า STA จะขาย ipo ราคา= 30 บาท ถ้าทำได้ น่าทำ abitrage ขายหุ้น ตลาดไทย 40 บาท/หุ้น ไปซื้อตลาด สิงคโปร์ 30 บาท/หุ้น กำไร 25% เห็นๆ ข่าว STA ชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ --------------------------------------------------------------------- ชี้แจงข่าวหรือข้อมูล ตามที่ปรากฏในสื่อของสำนักข่าวบางฉบับที่เปิดเผยเกี่ยวกับจำนวนเงินที่บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") ต้องการจะระดมทุนและช่วงราคาเสนอขายหุ้นของบริษัทฯ ในการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์นั้น บริษัทฯ ขอเรียนว่าบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพบปะนักลงทุน (Roadshow) และยังไม่ได้กำหนดราคาเสนอขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการระดมทุนแต่อย่างใด ราคาเสนอขายดังกล่าวจะดำเนินการโดยการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book-building) โดยการตกลงระหว่างบริษัทและผู้ร่วมจัดการการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ หากมีการกำหนดราคาเสนอขายแล้ว บริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบต่อไป นอกจากนี้ บริษัทฯ ขอแจ้งความคืบหน้าให้ท่านทราบว่า บริษัทฯ ได้รับจดหมายแจ้งคุณสมบัติการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ (Eligibility-to-List Letter) จากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 โดยภายใต้จดหมายดังกล่าว บริษัทฯ มีคุณสมบัติในการเข้าจดทะเบียนในกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ ซึ่งการมีคุณสมบัติดังกล่าวนั้น มิได้เป็นการประกันการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ สถานะของบริษัทฯ บริษัทย่อย และหุ้นของบริษัทฯ แต่อย่างใด หากมีความคืบหน้าประการใด บริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบต่อไป
  6. ราคายางแพง ชาวสวนยางรวย STA ไม่มีสวนยางที่ผลิตยางได้เอง ยางแพง STA อาจไม่รวยก็ได้ ตรงนี้มันขึ้นอยู่กับความต้องการในการบริโภคยางของโลก ยางแพง แต่ยังขายออกได้แพงกว่า ก็รวย ยางแพง ขายไม่ออก ต้นทุนแพง อันนี้ก็วิบัติ ดูจุดนี้ด้วยนะครับ หุ้น commo เป็นหุ้นเล่น เก็งผลประกอบการยากนะครับ เก็งกำไร? ขึ้นอยู่กับว่าตลาดจะเอาปัจจัยไหนมาเล่นและ ต้องการเล่นให้มันเป็นบวกหรือลบ
  7. ไทย ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข เลิกนโยบายประชานิยม ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ หนี้สารธณะเพิ่มมาก ราคาน้ำมันเพิ่มเร็ว&แรง เงินเฟ้อเร็ว&แรง ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย อยู่ในช่วงที่ยังเติบโตต่อเนื่องแบบควบคุมได้ง่ายกว่า (ถ้าเทียบกับจีนหรือ เวียดนาม) อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 1.5-2% มาหลายปีแล้ว ซึ่งถือว่าน้อยถ้าเทียบกับอเมริกา (ที่มาสำนักสถิติแห่งชาติ) ในบางพื้นที่มีปัญหาการจ้างงานตึงตัว เช่นในเขตนิคมอุตสาหกรรม ที่ระยอง ชลบุรี มีการขาดแคลนแรงงานอยู่ในระดับนึง GDP ของไทย (GDP การใช้จ่ายมวลรวม) เน้นหนักไปที่ การส่งออก มากที่สุด รองลงมาเป็น การจับจ่ายภาคเอกชน และ การใช้จ่ายภาครัฐ มีบทบาทมากขึ้นในช่วงปี 2ปีที่ผ่านมา ตรงนี้จะเห็นว่า ค่าเงินบาทแข็งและแรงงานเริ่มเป็นปัญหาของธุรกิจภาคเอกชน ราคาน้ำมันเป็นอีกตัวที่ผมรู้สึกค่อนข้างกังวลกว่า ราคาน้ำมัน (ดู cost push inflation) น้ำมันเป็นสินค้าทุนที่ใช้ในการผลิตในแทบทุกธุรกิจ และเราอยู่ในสถานะที่จนใจต้องใช้ ไม่ว่าจะถูกหรือแพง ราคาน้ำมันถ้าเพิ่มขึ้นเร็ว&แรงเกินไป จะทำให้ต้นทุนการผลิตของธุรกิจสูงขึ้น สินค้าและบริการจะแพงขึ้น เกิดเงินเฟ้อแบบ cost push การขึ้นเงินเดือนของภาครัฐ ค่าแรงขั้นต่ำ (เงินเดือน สส ด้วยมั้ง)อีกตัวจะเป็นตัวหลักให้เกิดเงินเฟ้อมากขึ้น ในปี 54 กล่าวคือ เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น กำลังจับจ่ายใช้สอยก็จะสูงขึ้น demand ความต้องการใช้จ่ายในสินค้าและบริการจะสูงขึ้น ในขณะที่กำลังผลิต เพิ่มได้ไม่เร็วนัก จากปัญหาขาดแคลนแรงงาน จากเหตุผลที่กล่าวมา เงินเฟ้อ จะเป็นปัญหาหลักอย่างนึง ที่เราจะเจอแน่ๆในปี 54 ซึ่งหน้าที่แก้ปัญหาอันนี้ จะไปตกกะ แบงค์ชาติ และ กระทรวงพานิชย์ ซึ่งปีนี้คงได้เห็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกหลายครั้ง นโยบายภาครัฐ เป็นอีกเรื่องที่ควรกังวล ในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตได้ด้วยตัวของมันเอง รัฐบาลควรหยุดการเพิ่มการจับจ่ายโดยเฉพาะการใช้จ่ายแบบเลว ลดการใช้จ่าย แบบกลาง และใช้จ่ายแบบดี แบบระมัดระวัง ตรงนี้ขอขยายความนิดนึง ปรกติการใช้จ่ายของรัฐบาลจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ 1 แบบดี เอาเงินไปลงทุนในสิ่งที่จะให้สร้างรายได้กับภาครัฐในอนาคต เช่น สร้างถนน โรงไฟฟ้า รถไฟฟ้า ระบบสารธณูปโภค ต่างๆ 2 แบบกลางๆ เอาเงินไปแลกซื้อสินค้าและบริการ เช่น เงินเดือน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ที่ได้ผลตอบแทนเป็น service ของงานรัฐ ป้องกันประเทศ และ ดูแลความปลอดภัยของคนในประเทศ 3 แบบเลว ไม่ได้อะไรกลับคืนมาเลย เช่น แจกเงินให้เปล่า เช่นจ่ายเช็คให้เปล่า ตรงนี้ควรให้ก็ต่อเมื่อคนที่ได้รับเดือดร้อนจริงๆ เช่นเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น ถ้าให้พรำเพื่อ คนในประเทศจะเคยตัว และงอมืองอเท้า รอรับของแจกอย่างเดียว ซึ่งถ้าหากเงินที่เอามาแจก แบบให้เปล่า ถ้าเงินเป็นเงินของรัฐบาลเอง ผมก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร แต่รัฐบาล เอาเงินภาษีประชาชนมาแจก หรือ กู้มาแจก การกู้เงินของรัฐบาล ก่อให้เกิด สิ่งที่เรียกว่า "หนี้สารธณะ" หนี้สารธณะ คือสิ่งที่รัฐบาลกู้แต่พวกเราทุกๆคนชดใช้ กล่าวคือ ถ้ารัฐบาลชุดที่กู้นี้ไม่ได้เป็นรัฐบาลในสมัยหน้า เจ้าหนี้ของรัฐบาล จะไม่ไปตามเก็บหนี้กับอดีตรัฐบาลที่กู้ แต่จะไปเก็บหนี้กับรัฐบาลชุดใหม่ รัฐบาลใหม่ถ้าไม่มีเงินจ่าย ก็จำเป็นต้องเก็บภาษีเพิ่มจากเราๆท่านๆ หรือ กู้เพิ่ม กู้เพิ่มมาจ่ายหนี้เรื่อยๆ จนหนี้พอกพูนไปเรื่อยๆ เราก็จะประสบปัญหาแบบ ที่ประเทศกรีก เป็นอยู่ ซึ่งเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีระบบการคลังที่ไม่ดี ปล ส่วนเรื่องการขึ้นเงินเดือนราชการ ไม่ใช่ผมจะไม่เห็นด้วยให้ขึ้น แต่ควรจะ มีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย โดยให้เงินเดือนเพิ่มแก่ข้าราชการที่ทำงานได้ดีและมาก ลดการจ้างงาน คนที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพออกไป เพื่อคืนแรงงานสู่ภาคการผลิตด้วย ถ้าทำได้แบบนี้ คงไม่มีใครขัดข้อง เขียนไปเขียนมา กล่าวเป็นเขียนโจมตีรัฐไปได้ แต่ที่จริง มีบางโครงการของภาครัฐที่ผมเห็นด้วยและสนับสนุนให้ทำ เช่น โครงการ broadband แห่งชาติ ถ้ามีนักวิชาการที่รู้ทิศทางราคาสินค้าเกษตร คอยแนะนำเกษตรว่าปีนี้ควรปลูกอะไร ไม่ควรปลูกอะไร ก็น่าจะช่วยเกษตรลดปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำลงได้ อีกอย่างก็ช่วยเรื่องการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสในชนบทด้วย แนวทางการแก้ไข เอกชนควรแก้ปัญหาแรงงานตึงตัว โดยการนำเข้าเครื่องจักรการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต/แรงงาน ให้สูงขึ้น อีกทั้งได้ประโยชน์จากค่าเงินที่ต่ำทำให้ได้ เครื่องจักรที่ถูกลงด้วย ภาครัฐ ความเลิกนโยบาย ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น นโยบายประชาภิวัตน์อะไรนั้น ผมว่ามันก็คือ ประชานิยมย้อมแมว นั้นเอง
  8. จีน ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข อัตราการจ้างงานเต็ม ค่าแรงสูงขึ้นเร็วเกินไปหน่วยธุรกิจจะเสี่ยงในเรื่องของการควบคุมต้นทุนให้ไม่ผันผวน ความต้องการบริโภคเติบโตเร็วเกินกว่าภาคผลิตจะผลิตได้ทัน ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ ฟองสบู่ เงินเฟ้อรุนแรง!! ก่อนหน้านี้ซัก 2-3 ปี จีนเป็นสวรรค์ของนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลจีนส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนให้การช่วยเหลือ อำนวนความสะดวก ที่มากกว่าหลายประเทศในระแวกเดียวกัน รัฐสามารถเวนคืนที่ดินต้องการตรงไหนก็ได้ ค่าแรงถูกมาก ปัจจุบันการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลจีนเปลื่ยนไป ไปลงทุนในจีนยากขึ้น จีนมีเงินทุนต่างชาติมาก มากจนล้น ไม่ต้องการเงินทุนจากต่างชาติอีกต่อไป ค่าจ้างในจีนได้ยินว่า เพิ่มขึ้นแบบรวดเร็ว เป็น 100% ภาคในปีเดียว มีการแย่งแรงงานในการผลิตจนต้องปรับค่าจ้างเพื่อดึงดูดแรงงานให้ผลิตได้ทันตามกำหนด ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคนจีนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้คนจีนมีกำลังจับจ่ายสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้ชัด เพื่อนๆลองย้อนกลับไปดู ปังกิ่งเมื่อ 10 ปีก่อนกับตอนนี้ เมื่อก่อนหายากมากที่จะเห็นรถยนต์ขับผ่านมาซักคันเห็นแต่รถจักรยาน เดียวรถยนต์เต็มถนนแถมติดซะด้วยซ้ำไป การเติบโตทีี่รวดเร็วเกินไป เกินกำลังผลิต ก่อให้เกิดการแย่งกันกินแย่งกันบริโภค สินค้าบางอย่างที่ขาดแคลนราคาถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้ารัฐบาลจัดการแก้ปัญหาไม่ดีจะเกิดปัญหาในแบบตรงข้ามกับอเมริกา ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าประชาชนเคยประหยัดสุดๆ เป็นประเทศที่อู้ฟู่ขึ้นในอัตราเร่งที่เร็ว แนวทางการแก้ไข ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในขั้นต้น ควบคุม ภาวะฟองสบู่ โดยเฉพาะภาคอสังหา แลกเงินทุนออกไปเป็นสินค้าที่ไม่เน่าเสีย ตุนเหล็กถ่านหิน แร่ธาตุ โลหะมีค่า หากยังแก้เงินเฟ้อไม่ได้ ต้องขึ้นภาษี และยังคงต้องผูกติดค่าเงินกับดอลล่าร์ (ตรงนี้จะอธิบายเวียดนาม) เวียดนาม ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข ความเชื่อมั่นในระบบเงิน ด่อง ของตัวเองที่เสียไปแล้ว ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ น่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว ถ้าภาครัฐยังคงไม่เปลื่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ เวียดนามในช่วง หลายปีที่ผ่านมามีลักษณะคล้ายจีนมาก ในเรื่องของการเติบโตในอัตราเร่งที่เร็วมาก ณ วันนี้เกิดปัญหาแล้วก็เลยพูดได้ว่า เร็วจนเกินไป (อย่างที่ผมบอกเร็วไปใช่ว่าจะดี) เวียดนามได้รับเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามามาก รายได้เฉลี่ยประชาชาติต่อหัวของเวียดนามถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคม คนรวยๆขึ้นแบบก้าวกระโดด คนจนมีเงินเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย รัฐบาลพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยการ คุมราคาสินค้าให้ไม่แพงเร็วเกินไป เพื่อช่วยเหลือคนจน ปัญหาอยู่ที่ว่า กำลังซื้อที่สูงขึ้น ราคาสินค้าไม่เพิ่มเพิ่มไม่ได้ เกิดการไม่สมดุล (อ่านเรื่องจุดดุลภาพ ที่ผมเขียนเมื่อบทความที่แล้ว) ความต้องการซื้อของเพิ่มขึ้น คนซื้อของเก็บเป็นจำนวนมาก ของขาดตลาด ในเมื่อราคาของเพิ่มไม่ได้ ระบบเงินก็ปรับสมดุลในวิธีของมันเอง ปรกติเงินเฟ้อเกิดจาก ราคาสินค้าเพื่มสูงขึ้น เรามีเงินเท่าเดิม เราก็เลยรู้สึกว่าค่าเงินเราน้อยลง ในเวียดนาม ของราคาไม่เพิ่ม แต่ ค่าลงด่องลดลง (เป็นประเทศเดียวในเอเชียเลยมั้ง ค่าเงินอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์)ประชาชนเห็นค่าเงินลดลง ก็ยิ่งตุนสินค้ายิ่งทิ้งด่องซื้อดอล ยิ่งทำให้สินค้าขาดค่าเงินก็ยิ่งลดลงอย่างรุนแรง ในเวียดนาม เมื่อคนได้เงินจะไม่ใครเก็บเงินเวียดนามไว้ จะนำไปแลกเป็นทองหรือ ดอลลาร์จนหมด นี่ละครับ เป็นเหตุที่จีนใช้ระบบผูกเงิน ไม่ว่าจะเฟ้อยังไงประชาชนก็แลกดอลได้เท่าเดิมก็ไม่มีใครอยากไปแลกดอลล่าร์ยังไงละครับ อีกอย่างที่เป็นปัญหา รัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาด ในภาวะที่ควรลดการกระตุ้นเศรษฐกิจ กลับเพิมการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการ เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ (ดูตรง GDP การใช้จ่ายมวลรวม ตัวที่ 3)เช่นการลงทุนรถไฟหัวกระสุน ที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากต้องใช้ทรัพยากรมาก เป็นการเร่งใหปัจจัยผลิตขาดตลาดเร็วและแรงขึ้น แนวทางการแก้ไข ดำเนินนโยบายเกินดุล เก็บภาษีมากขึ้นกับคนที่มีรายได้สูงมาแก้ปัญหา เลิกกระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงความเชื่อมั่นในระบบการเงินของตัวเอง(ทำไง ไม่รู้เหมือนกัน) แนะนำ น่าไปเที่ยวเวียดนาม ก่อนไปแลกเงินดอล ไปนะครับ ซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าปรกติ กลับมาใช้บ้านเรา อิอิ ไทยติดไว้ก่อนครับ เลยเวลามามากแล้ววันนี้
  9. เศรษฐกิจฝั่งถดถอย อเมริกา ญี่ปุ่น เศรษฐกิจผี่งเติบโตรุนแรง จีน เวียดนาม ไทย(กะเค้าด้วยมั้ง) อเมริกา ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข อัตราการว่างงานสูง ว่างงานประมาณ 10กว่า% ของคนที่อยู่ในวัยทำงาน ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการพื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่งออกเพิ่ม อัตราว่างงานลดลง อัตราการผลิตสินค้าสูงขึ้น จากที่ทราบกัน วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เกิดขึ้นจากประเทศอเมริกา คนของเค้ามีการบริโภคที่ไม่สมดุลกับรายได้ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มีปัญหาเรื่องหนี้สิน เช่นหนี้บัตรเครดิต แบงค์ต่างๆสนใจแต่รายได้ปล่อยกู้มากไปจนลืมดูในเรื่องของความเสี่ยง จนเกิดปัญหาหนี้พอกพูนมากเข้าๆจนไม่อาจชำระได้ เกิดภาวะหนี้เสียเป็นจำนวณมาก แบงค์สุดท้ายประสบภาวะขาดทุนจนต้องปิดกิจการไปหลายแห่ง คนถูกให้ออกจากงานเป็นจำนวนมาก สินค้าและบริการขายไม่ออกเพราะคนขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ภาคการผลิตอื่น เช่น รถยนต์ ซึ่งเป็นสินค้าราคาแพง นี้คือจุดเริ่มต้นของวิกฤต ในปัจจุบัน อเมริกา มีการพื้นตัวดีขึ้น ธุรกิจห้างร้านกลับมาค้าขายแบบมีกำไรมากขึ้น แต่อยู่ในภาวะใหม่ที่เรียกกันว่า "NEW NORMAL" แปลเป็นไทย น่าจะใกล้ๆกับคำว่า "ความเคยชินใหม่" คืออะไร? คือ ธุรกิจและห้างร้าน แต่เดิมใช้ปัจจัยการผลิตฟุ่มเฟือย (แรงงานถือเป็น 1 ใน 4 ปัจจัยการผลิตตามทฤษฎีของ Ricado) เปลื่ยนเป็นใช้ปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่ามากขึ้น ธุรกิจและห้างร้าน เรียนรู้ที่จะผลิตสินค้าให้ได้มากขึ้น โดยไม่จ้า่งคนเพิ่มขึ้น ใช้คนที่มีอยู่เดิม ปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้โอที จ่ายเงินเดือนแพงขึ้น แต่ไม่จ้างงานเพิ่ม หลังจากวิกฤต คนที่มีรายได้เรื่ยนรู้ที่จะใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง คนที่ตกงานก็ยังคงไม่มีเงินจับจ่ายใช่สอย จากที่ผมอธิบายเรื่อง GDP ในบทความที่แล้ว จะเห็นว่า การที่ประชาชนไม่จับจ่าย จะทำให้เศรษฐกิจ ไม่พื้นตัว (ดูตรง GDP การใช้จ่ายมวลรวม) การไม่จับจ่าย ส่งผลต่อเนื่องไปยัง การผลิต ก็จะไม่เพิ่มขึ้นตาม การผลิตไม่เพิ่มการจ้างงานก็ไม่เพิ่ม จ้างงานไม่เพิ่ม คนก็ไม่มีเงินก็ไม่จับจ่าย วนลูปไปในทางแย่ลงแบบนี้ไปไม่รู้จบ แนวทางการแก้ไข อเมริกา ต้องเพิ่มการผลิตเพื่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อมีการจ้างงานประชาชนจะมีเงินจับจ่ายใช้สอยเศรษฐกิจ ก็จะวนลูปไปในทางดีขึ้นเรื่อยๆ แต่จะทำอย่างไร จะให้การผลิตเพิ่มขึ้นโดยคนในประเทศไม่ซื้อแล้วจะขายใคร คำตอบอยู่ตรง (ดูตรง GDP การใช้จ่ายมวลรวม) ลงออก นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมอเมริกาต้องดำเนินนโยบายเงินดอล อ่อน เพิ่มให้ตนขายสินค้าของตัวเองให้มากขึ้นนั้นเอง ปัจจัยเสริม นโยบายการคลัง ดำเนินนโยบายขาดดุล คงภาษีในอัตราต่ำ เพื่อเพิ่มรายได้ประชาชนให้มากขึ้น นโยบายทางการเงิน คงอัตราดอกเบี้ยให้อัตราตำ่่ เพื่อ เพิ่มเม็ดเงินในตลาดให้มากขึ้น เพื่อเพื่มการจับจ่ายภาคเอกชน นำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยให้น้อยลง ผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยเองเพื่อไม่ให้ขาดตลาด ญี่ปุ่น ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข เงินฝืด ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการพื้นตัวทางเศรษฐกิจ การบริโภคภาคเอกชนที่สูงขึ้น ญี่ปุ่นเป็นอะไรที่แก้ยากนะผมว่า ญี่ปุ่นมีปัญหาเรื่องเงินฝืด มาเป็น 10 ปีแล้ว ประชาชนเค้าไม่ค่อยยอมจับจ่าย เหตุผลเนื่องจากลักษณะนิสัยของคนของเค้า เป็นคนประหยัด มักจะเก็บออมไม่ยอมจับจ่าย เมื่อประชาชนไม่ยอมจับจ่าย การผลิตก็ลดลง การผลิตลดลง การจ้างงานก็ลงลด รายได้ประชาชนก็ลดลง การบริโภคก็ลดลง วนลูปไปเรื่อยๆ แนวทางการแก้ไข ญี่ปุ่นพยายามแก้ปัญหาโดยการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับตำ่ แต่ก็ดูเหมือนจะแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ส่งออกเพิ่มขึ้น ก็ไม่น่าจะได้ เพราะต้นทุนในการผลิตในประเทศเค้าแพง คงต้องรอดูกันต่อไปว่าเค้าจะแก้ยังไง
  10. พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์แบบง่ายๆ ที่ควรรู้ ก่อนจะพูดเรื่องเศรษฐกิจ เพื่อนควรเข้าใจสิ่งพื้นฐานเหล่านี้ก่อน ไม่งั้นคงคุยกันไม่รู้เรื่องเหมือนคุยกันคนละภาษา จะพยายามเขียนแบบสั้นๆ และเข้าใจง่าย 1 Demand & Supply และจุดดุลภาพ Demand หรือ อุปสงค์ คือความต้องการในการบริโภคสินค้าชนิดใดชนิดนึงของผู้บริโภค ความต้องการบริโภคของผู้บริโภคจะแปรผันตรงข้ามกับราคา เช่น ถ้าสินค้ามีราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคจะอยากซื้อน้อยลง Supply หรือ อุปทาน คือความต้องการในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดนึงของผู้ผลิต ความต้องการผลิตของผู้ผลิตแปรผันตรงกับราคา เช่น ถ้าสินค้ามีาราคาสูงขึ้น จะจูงใจให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าออกมาขายมากขึ้น ยกตัวอย่าง เวลาสินค้าชนิดใดชนิดหนึงราคาถูกลงมากๆ จนเรารู้สึกว่ามันโครตถูก เราก็อยากจะซื้อมันไว้มากๆ ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเป็นผู้ผลิต เมื่อราคาสินค้าถูกลงมาก เราก็ไม่อยากผลิตออกมาขาย เกิด demand เกิน คือความต้องการบริโภคสินค้าสูงกว่าความต้องการผลิต ทำให้สินค้าขาดตลาด เมื่อมีการแย่งกันซื้อมากขึ้น ผู้บริโภคต้องยอมซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้นอีกหน่อย เพื่อให้ได้ของ ราคาสินค้าก็จะขยับตัวสูงขึ้น เรื่อยๆ ในทางตรงข้าม สินค้าอีกชนิดนึง มีราคาแพงมาก ผู้ผลิตก็อยากขายก็เต็มใจผลิตออกมามาก แต่ผู้บริโภครู้สึกว่ามันแพงมากไป ก็ไม่อยากซื้อ เมื่อผู้บริโภคไม่ซื้อ ผู้ผลิตก็ขายได้น้อย จำต้องผลิตให้น้อยลงเพราะคงไม่มีใครอยากผลิตสินค้าที่ขายไม่ได้ เกิด supply ส่วนเกิน ผู้ผลิตผลิตจำต้องยอมลดราคาสินค้าลงบ้างเพื่อให้ขายได้มากขึ้น ราคาสินค้าจะลดลงเรื่อยๆ จุดดุลภาพ คือจุดสมดุลที่ความต้องการผลิต = ความต้องการบริโภค คือจำนวณสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายได้ทั้งหมด ไม่มีขาดไม่มีเกิน คือราคาสินค้าที่ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคพอใจ ผลิตและซื้อ จากตัวอย่าง เมื่อเกิด demand ส่วนเกิน ราคาสินค้าจะขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเกิด supply ส่วนเกินราคาสินค้าจะขยับตัวลดลงเรื่อยๆ เข้าหาจุดดุลภาพ ที่มี demand และ supply พอดีกัน การเพิ่มหรือลดของราคาก็จะหยุดลง 2 GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ GDP เป็นสิ่งที่เราใช้วัดเศรษฐกิจของประเทศที่ยอมรับกันโดยทั่วๆไป โดยปรกติเราจะสามารถวัด GDP ได้จาก 3 ทาง การผลิตมวลรวมประเทศ รายได้มวลรวมประเทศ และ รายจ่ายมวลรวมประเทศ ซึ่งทั้ง 3 มีค่าเท่า ณ จุดดุลภาพ การผลิตมวลรวมประเทศ หาได้จาก การวัดอัตราการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรมรวมทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศนั้นในช่วงเวลานึง โดยเอามูลค่า ของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ของแต่ละอุตสาหกรรม มาบวกรวมกัน (ผมจะไม่ลงลึกในเรื่องการหามูลค่าเพิ่ม และเรื่องการใช้ปีฐานเพื่อตัดปัญหาเรื่องราคา ไม่งั้นจะยิ่งยาวไปกันใหญ่) รายได้มวลรวมประเทศ หาได้จาก รายได้รวมของคนในประเทศนั้นๆในช่วงเวลานึง มาบวกกัน เช่น รายได้จาก ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และ กำไร รายจ่ายมวลรวมประเทศ หาได้จาก รายจ่ายรวมของประเทศนั้นๆในช่วงเวลานึง หาได้จาก = การบริโภคภาคเอกชน + การลงทุนภาคเอกชน + รายจ่ายภาครัฐ + นำเข้า - ส่งออก รายได้ และ การผลิตมวลรวม เป็น การวัดด้าน supply ส่วน รายจ่ายเป็นการวัดด้าน demand ซึ่งโดยปรกติเรามัก จะใช้ รายจ่ายมวลรวมประเทศ ในการหา GDP เนื่องจาก วัดผลได้ง่ายที่สุด 3 เงินเฟ้อ inflation ภาวะที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าของเงินลดลง โดยจะดูจากราคาสินค้าของทั้งตลาดมาเทียบกัน สินค้าบางอย่างราคาแพงขึ้น แต่บางอย่างราคาลดลง แต่ถ้าโดยรวมๆแล้วแพงขึ้น ก็เกิดเงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อแบบอ่อนๆ จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตผลิตสินค้ามากขึ้น จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่ เงินเฟ้อแบบรุนแรง ผิดปรกติจะทำลายเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถเกิดได้ 2 ประเภท 3.1 demand pull inflation ภาวะที่ ความต้องการบริโภคสูงกว่า ความสามารถในการผลิต เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ทรัพยากรในการผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติรุนแรง ที่ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำลงอย่างมาก หรือ มีการใช้ทรัพยากรไปในทางที่ไม่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ เช่นภาวะสงคราม คนละทิ้งไร่นาไปรบ ผลผลิตข้าวที่ได้ลดลงมาก กว่าความต้องการสินค้า ทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว 3.2 cost push inflation ภาวะที่สินค้าราคาแพงขึ้น เนื่องจากสินค้าทุน จำเป็นขึ้นราคามากๆ จนทำให้ผู้ผลิต ต้องปรับราคาสินค้าตัวเองขึ้น เพื่อให้ยังคงมีกำไรหรือ หยุดผลิตเพราะขาดทุน ทำให้เกิดการลดลงฝั่ง supply ตัวอย่างของ cost push ที่เห็นได้ชัดคือการเพิ่มของราคาน้ำมันอย่างรุนแรง ในปี 51 4 สรุป ในทางเศรษฐศาสตร์ คนมักให้ความสำคัญในเรื่องของการเติบโต ยิ่งโตเร็วยิ่งดี ผมคิดว่านี้เป็นการเข้าใจที่ผิดของคนที่ไม่ได้ศึกษาวิชานี้ เศรษฐศาสตร์ คือความต้องการที่จะรักษาสมดุลของเศรษฐกิจและการเติบโต ต้องสอดคล้องกัน ต้องเติบโตและเติบโตในอัตราที่ควบคุมได้ ไม่ใช่ปล่อยให้เติบโตเร็วไปจนเกินสมดุลเกิดภาวะฟองสบู่ อย่างที่เราเคยเจอในวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40 นั้นเอง เพราะสุดท้าย เศรษฐกิจที่โตมากไปจะปรับตัวของมันเองกลับเข้าสู่สมดุลโดยการพังทลายลงนั้นเอง
  11. ECONOMIC OUTLOOK 2011 ตลาดหุ้นปีกระต่าย เทียบเสือ ผมเองส่วนตัวก็มีความเห็นสอดคล้องกับ broker ทั้วๆไป เชื่อว่าตลาดหุ้น SET index ในปี 2011 น่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20% ลดลงจากปี 2010 ที่ เติบโตได้ 40% กลับสู่ภาวะที่เรียกว่า เติบโตแบบปรกติ (ตลาดปี 2010 เป็นการเติบโตที่ผิดปรกติ อันเนื่องจากการพึ่งพื้นตัวของเศรษฐกิจที่ตกต่ำ)ที่จริงการวิเคราะห์ของผม ก็เป็นไปแบบง่ายๆ เพียงแค่เปรียบเทียบ ค่าประเมิน GDP ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2010 GDP ค่อนข้างแน่นอนว่าจะเติบโตได้ 7-8% ในปี 11 คาดการจาก bank ชาติ GDP จะเติบโตลดลงในอัตรา 3-4% ก็แค่เทียบกันแบบง่ายๆ ถ้าลองแยก GDP ปี 2010 ดูจะเห็นว่า GDP เติบโตสูงสุดใน Q1 คือประมาณ 12% Q2 9% Q3 3-4% (จำไม่ค่อยได้ประมาณนี้) Q4 ยังไม่ออกซึ่งน่าจะประมาณ 4-5% ซึ่งผมก็รู้สึกได้ถึงความสอดคล้องของ การเคลื่อนไหวหุ้นใน port ของผม ไตรมาศ 1-2 เป็นไตรมาศที่ดีมาก หุ้นจับตัวไหนก็ขึ้นกันหมด การเล่นหุ้นเป็นไปแบบสบายๆ ถึงแม้มีภาวะทางการเมืองก็ตาม ในเดือน 7 ซึ่งเป็นเดือนที่ดีที่สุดของผม ในเดือน 7 เดือนเดียวสามารถสร้างผมตอบแทนได้สูงถึง 30% ของเงินทั้งหมดที่มี ในตอนนั้นน่าจะมาจากตลาดตอบรับในทางที่ดี กับการยุติลงของความวุ่นวายทางการเมือง ในเดือน 8 กลับเป็นเดือนที่ยากลำบากที่สุด 30% ที่ได้ในเดือน 7 ลดลงอย่างรวดเร็วหายไปครึ่งนึง เกิดภาวะหุ้น vi ถือถูกทิ้งเพื่อที่จะไปซื้อ หุ้น big cap SET เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาศ 3 ซึ่งตรงข้ามกับ การตกต่ำของผลประกอบการของหุ้น ส่วนใหญเป็นหุ้นส่งออกซึ่งเป็นหุ้นจำนวนมากที่ผมถือในขณะนั้น พร้อมกับเริ่มต้นของปัญหาค่าเงินบาท ส่งผลให้ตัวเองต้องปรับ port อย่างแรง (ประมาณ 1/3)เพื่อเอาตัวรอด จากระบบการเล่นแบบ graham ซื้อหุ้นต่ำกว่ามูลค่า (หุ้นถูกนั้นเอง) เป็นระบบการเล่นแบบ fisher ที่เน้นการเติบโตในอนาคตมากกว่าให้ความสำคัญเรื่องราคาหุ้น อีกครั้ง ประมาณเดือน 11 ตลาดปรับตัวลดลงอีก ก็เป็นอีกครั้งที่รู็้้สึกกดดัน แต่ไม่มากเท่าตอนเดือน 8 สรุป ผลตอบแทนทั้งปี ทำได้ 82% ครึ่งปีหลังที่ดิ้นรนสุดฤทธิ ก็ทำได้เพียงใกล้เคียงกับ ครึ่งปีแรก ที่ทำได้ประมาณ 40% รู้สึกได้อย่างชัดเจนว่าตลาดยากขึ้น ที่เขียนมา อย่างจะบอกว่า GDP อาจจะไม่ ส่งผลต่อการขึ้นลงของตลาดหุ้นอย่างชัดเจน อย่างที่เห็นๆกันว่าในไตรมาศ 3 2010 ปีที่ผ่านมา GDP ต่ำสุดแต่ ตลาดหุ้นกลับเติบโตสูงสุดในช่วงนั้น แต่เท่าที่สังเกตุ จะเห็นว่า ผลประกอบการของหุ้นในตลาดไม่ใช่ มูลค่าของตลาด จะสอดคล้องกับ GDP (เหตุผลที่ตลาดหุ้นในช่วง Q3 เติบโตดี ไม่ใช่สาเหตุจากการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย แต่เป็นการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ) อีกอย่างที่ต้องการจะเตือนคือ ตลาดหุ้นปี 2010 "โครตง่าย" อย่าได้หวังว่า ตลาดปี 2011 จะง่ายแบบนั้น อย่างไรก็ดี ตลาดยังปราณีในปี 2011 ซึ่งคิดว่าน่าจะยัง "ง่ายแบบปรกติ" เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา (ถ้านับปี 40 คือปีที่โหดร้ายที่สุด ตลาดหุ้นปี 11 ก็คงเป็นความยากระดับประถมต้น ปี 10 ยากระดับอนุบาล 2 ประมาณนั้น) แต่การยากขึ้นจะยังเป็นการยากแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่โหดร้ายนัก ซึ่งเหมือนกับตลาดไม่ได้ต้องการฆ่าเราให้ตาย แต่ต้องการให้เราเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกัน ECONOMIC OUTLOOK 2011 ของไทยขอติดไว้ก่อนนะครับจะทยอยเขียน ทั้งของไทย อเมริกา จีน ญี่ปุ่น และอยากพูดถึง เวียดนาม ที่เป็นตัวอย่างที่ดีด้วย
  12. ผมอยากเล่าความรู้สึกในการลงทุนในปีที่ 53 ที่ผ่านมา มีทั้ง ตื่นเต้น ดีใจ มีเฮ เซ็ง หดหู่ ขมขื่นใจ เดินเกมผิด แก้เกมกันชุลมุน เป็นอีกปีที่ได้ ครบทุกอารมณ์ จริง เพียงแต่ ตอนนี้ ไม่ว่างแล้ว คงต้องขอตัวไปก่อน แล้วจะมาเขียนใหม่ครับ
  13. ที่อธิบายข้างต้น ไม่ได้พูดถึง ความเสี่ยงเลยนะครับ พูดถึงแต่วิธีวัด ผลตอบแทน ซึ่งตามจริงแล้ว จะต้องพิจารณาทั้ง 2 ประเด็นคู่กัน อย่างที่คุณ GG เข้าใจนะถูกแล้วละครับ การลงทุน ในทางการเงิน จะรู้จักกัน "ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง" เช่น ROE (ตัววัดประสิทธิภาพ)สูง บางครั้งเกิดจาก การมีหนี้มาก (เสี่ยงสูง) แต่ประโยคนี้ก็ไม่แน่เสมอ ไป ถ้ารู้จักการบริหารจัดการที่เหมาะสม กับ port การลงทุน อาจจะเป็น "เสี่ยงต่ำลง ผลตอบแทนสูงขึ้นได้" ส่วนนักลงทุนมือใหม่ ที่ไม่มีวิธีการทางการเลือกหุ้นที่ดี ก็อาจเป็น "เสื่ยงสูง ผลตอบแทนต่ำ" ก็เป็นได้ เช่นพวกชอบซื้อเปิด วันแรก หุ้น IPO ทั้งหลายนั้นเอง การเล่นหุ้นส่วนตัว จะไม่เล่นจนหมดเงินสด ต่อให้เห็น upside มากแค่ไหนก็ตาม (ส่วนมากจะขายตัว upside น้อยทิ้ง มาซื้อตัว upside มากกว่า) ยังไงเราต้องถือเงินสด ไว้ส่วนนึงตลอดเวลา เพื่อเหตุไม่คาดฝัน เป็นการบริหารความเสี่ยงส่วนนึงครับ
  14. ลืมบอกไปอีกอย่าง ถ้าเพื่อนๆไม่ได้ลงทุนในหุ้น และกองทุน SET อย่างเดียว แต่มีการแยก จำนวนเงิน port ไป ลงทุนในทอง หรือ น้ำมันที่มีการเพิ่มของราคาไม่เท่ากันกับ SET ให้ใช่้วิธี การถ่วงน้ำหนัก weighted Average เช่น สมมุติว่าลงทุนในทอง 20% น้ำมัน 20% หุ้น+กองทุนSET 60% ของเงินลงทุนทั้งหมด ก็ให้แยกเปรียบเทียบเป็นส่วนๆ โดยคิดเท่ากันกับน้ำหนักที่ลงทุนครับ สมมุติว่า เราได้ ผลตอบแทนจากทองคิด เป็นกำไร 60% น้ำมัน 50% หุ้น 40% จากเงินลงทุนในแต่ละส่วน ผลตอบแทนตลาด ทองสมมุติ 40% น้ำมัน 30% หุ้น 40% คำนวณ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักปอดเรา = (60%x20%)+(50%x20%)+(40%x60%) = 12%+10%+24% = 46% ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตลาด = (40%x20%)+(30%x20%)+(40%x60%) = 8%+6%+24% = 38% เปรียบเทียบ 46-38= +8% ชนะตลาด 8%
  15. สรุป จาก วิธีคำนวณ ข้างบนบอกเราว่า ถ้าเราลงทุนในหุ้น ปี 53 ทั้งปี ใช้วิธีลงทุนขั้นเทพของเรา ไม่ว่าจะเป็นแนวพื้นฐาน fundamental แนวกราฟ technical หรือแนวตามข่าว ถ้าเราได้น้อยกว่า 40.6% เราสู้คนที่ไม่มีความรู้ในการลงทุนเลยไม่ได้ สู้คนที่ซื้อกองทุน SET เมื่อวันที่ 30 ธค 52 ทิ้งไว้เฉยๆ โดยที่ไม่ทำอะไรเลย แล้วขายตอนวันที่ 30 ธค 53 ไม่ได้ แบบนี้ ควรจะต้องปรับปรุงวิธีคิดของเราใหม่ได้แล้วครับ วิธีของเราอาจจะไม่ได้ผล หรือมีข้อบกพร่องอะไรซักอย่างในวิธีของเราที่เราต้องแก้ไขแล้วครับ อย่าชะล่าใจ เพราะ SET จะมีผลตอบแทนไม่เท่ากันทุกปี บางปีได้เยอะบางปีได้น้อย ถ้าหากเป็นปีที่ผลตอบแทนSETติดลบอย่างปี 51 เรามิต้องเจ็บหนักเหรอครับ? อีกอย่างที่อยากให้คำนึงถึง การลงทุนด้วยตัวเองต้องใช้เวลาในการอ่าน เรียนรู้ พวกนักเทคนิค ก็ต้องมาลากเส้นกราฟใส่อินดี้ ที่ละตัว พวก นักพื้นฐาน ก็ต้องอ่านงบการเงิน สิ่งที่ต้องพิจารณาอีกอย่างคือ ความคุ้มค่าของเวลาที่เราเสียไป พวกที่ได้มากกว่าตลาดไม่มากอาจพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าของเวลาที่เสียไปเทียบกับผลตอบแทนที่ได้เพิ่มขึ้นว่าคุ้มค่าไหมหรือว่าเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแล้วได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเปรียบเทียบดู ส่วนพวกได้น้อยกว่าตลาด มากๆ หลายๆปีติดกัน อาจพิจารณา ลงทุนแบบให้นักลงทุนมืออาชีพลงทุนให้เราแทนที่เราจะลงทุนเอง พวกกองทุนที่มีส่วนผสม หุ้นบ้าง ธนบัติบ้าง อะไรพวกนี้นะครับ อย่างไรก็ดี ถ้าหากว่า เราเป็นนักลงทุนที่ยินดีเรียนรู้สิ่งใหม่ เรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ยึดมั่นถือมั่น ยินดีแก้ไขปรับปรุงไม่แก้ตัว และเชื่อว่าเราสามารถพัตนาได้ ถึงแม้ว่าผลตอบแทนวันนี้อาจจะดูไม่ดี แต่ถ้าเราพัตนาไม่หยุดนึ่ง เราก็เป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางการลงทุนนี้ได้ครับ อีกอย่างต้องสนุกกะการเรียนรู้ด้วยครับ คนเราจะทำอะไรได้ดี ต้องเกิดจากความชอบ ไม่ใช่การบังคับ การลงทุนที่ดี (ผมใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั้วๆไปนะละครับ) ตั้งสมมุติฐาน (สร้างทฤษฎี หรือแนวคิดการลงทุนของเรา)-> ทดสอบ -> สรุป หาข้อผิดพลาด -> แก้ไข สมมุติฐาน -> ทดสอบ -> สรุป หาข้อผิดพลาด ....วนรอบไปเรื่อยๆไม่มีจบ ชีวิตคือการเรียนรู้ครับ
  16. ปีเสือที่ผ่านมา นับว่าเป็นปีที่ดีปีนึงในการลงทุนในหุ้น,ทองคำ รวมถึงน้ำมันด้วยครับ เชื่อว่าหลายคนทำกำไรกันคนละอย่างน้อยๆก็หลาย 10% แต่เคยสงสัยไหมครับว่า กำไรเท่าไรกันแน่นะถึงจะเรียกว่าผลตอบแทนที่ดี บางคนบอก 10% บางคนขอ 20% บางคนบอกมากกว่าฝากประจำก็พอ บางคนต้องมากกว่าเงินเฟ้อ แล้วแต่คนแล้วแต่ sytle เคยสงสัยไหมครับ ว่ากำไรที่เราได้ หลาย 10% ในปีนี้ ที่ว่า นั้นมาจากเราเก่งจริง (มีระบบการเล่นที่ดี)หรือ ว่า เป้นเพราะ ตลาดมันง่ายกว่าปรกติ ถ้าอยากรู้ลองอ่านต่อดูครับ เพื่อนๆเคยจำตอนที่เรายังเรียนหนังสือบ้างไหมครับ ทุกเทอมทุกวิชาที่เราเรียน ปลายเทอมจะต้องมีการสอบวัดผลตัด grade กันครั้งหนึง ถูกต้องครับวันนี้ ผมอยากพูดเรื่องการวัดผล(แบบไม่ยาก ง่ายๆ ไม่สับซ้อน) ว่าสอบผ่านหรือยังต้องปรับปรุงในวิชาการลงทุนของเรา บางวิชาเราคิดว่าเราแม่นเข้าใจเป็นอย่างดีแต่ทำไมกลับสอบไม่ได้ A เราคิดว่าเราผ่านแต่ทำไมเราตก ถ้ายังจำการเรียนตอนมหาลัยได้ เราใช้ระบบ mean หรือ หาค่าเฉลื่ย จะเห็นว่าการตัด grade ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงว่า เราได้คะแนนมากเท่าไร แต่ให้ความสำคัญว่า เพื่อนๆเราโดยรวมได้คะแนนมากเท่าไรด้วย โดยนำมาเปรียบเทียบกัน ผมจะใช้วิธีคล้ายกันครับ วิธีนี้มีสองสิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้ คือ 1 ผลตอบแทนเราทำได้ กับ 2 ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด แล้วนำมาเปลื่ยนเทียบกันเรามากกว่าตลาดได้ good (มากกว่าตลากมากๆ ก็ very good)เท่าตลาด "ผ่าน" น้อยกว่าตลาด "ตก" ง่ายๆแค่นี้เอง 1 ผลตอบแทนที่เราทำได้ ผมใช้สูตรง่ายๆ คือ ผลตอบแทนที่เราทำได้คิดเป็น % =((สินทรัพย์ ณ ปลายปี 53 - หนี้สิน ณ ปลายปี 53)-(สินทรัพย์ ณ ปลายปี 52 - หนี้สิน ณ ปลายปี 52))/(สินทรัพย์ ณ ปลายปี 52 - หนี้สิน ณ ปลายปี 52) สินทรัพย์ที่ว่า ของผมจะใช้ เงินลงทุนในหุ้น + เงินลงทุนในกองทุน + เงินฝากธนาคารในบันชีทั้งหมด โดยที่จะไม่รวมสินทรัพย์ถาวรเช่น รถ หรือ บ้าน ที่เราไม่คิดจะขายมันมาลงทุนเพิ่มหรือ ไม่ได้ใช้เงินที่เราได้จากกำไรในการลงทุนไปซื้อ ไม่ว่าในกรณีใดๆก็ตาม เงินส่วนนี้จะถูกแยกออกต่างหาก ไม่นำมาคำนวณและจะต้องไม่ถูกนำมาคำนวณในอนาคตไม่ว่ากรณีใดก็ตาม อธิบายแนวคิด (สำหรับคนที่มีพื้นฐานทางบันชี น่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ สำหรับไม่มีพื้นอาจจะยากซักนิด ถ้าพอทำความเข้าใจได้ ก็อยากให้ลองดูนะครับ) สินทรัพย์ - หนี้สิน = ส่วนของทุน (ส่วนทุน คือส่วนที่เป็นตังค์เราเองล้วนๆ) สำหรับคนไม่มีหนี้ ไม่ได้ยืมตังค์ใครมาเล่น ก็ สินทรัพย์ = ส่วนของทุน (ผมยืมแม่มาเล่นส่วนนึงครับ ถือเป็นหนี้ เพราะจ่ายดอกคงที่ปีละ 2 ครั้ง 7% ต่อปี) ตรงนี้ต้องการวัดว่า เงินของเรามีเท่าไรตรงๆเลยครับ หวังว่าคงเก็ดนะ กำไรสุทธิ = กำไรสะสม + ปันผล ตรงนี้ เราไม่มีผู้ถือหุ้นคนอื่น เลยไม่มีปันผล กำไรสุทธิ = กำไรสะสม หรือ เท่ากับ กำไรสุทธิ = ส่วนของทุน ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลานึงๆ ในที่นี้คือ 1 ปี ของปี 53 กำไรสุทธิ = รายได้(เงินที่เราทำได้นะละ)- รายจ่ายรวมทั้งหมด - ดอกเบี้ยจ่าย - ภาษี ตรงนี้ผมดูแค่ว่า เหลือ กำไรสุทธิเท่าไร (เงินที่เหลือนะเป็นเท่าไร) โดยไม่ได้แยกว่า มีรายจ่ายแต่ละอย่างเท่าไร จ่ายดอกเท่าไร ภาษีเท่าไร มันถูกหักออกไปในตัวแล้ว เพราะผมต้องการคิดแบบง่ายๆ บนสมมุติฐานที่ว่า รายจ่ายทั้งหมด ค่ากินอยู่ของผมเอง ค่าข้าว ค่าเที่ยว ผมรวมทั้งหมด เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุน !uu ไม่มีการจ่ายเงินเดือนผู้บริหาร(ผมเอง) !_02 ดอกเบี้ยจ่าย และ ภาษี ภาษีถูกหักออกโดยอัตโนมัติอยู่แล้วทุกครั้งที่ปันผล ส่วนดอกเบี้ยจ่ายก็ถูกหักออกแล้วปีละ 2 ครั้งครั้งละ 3.5% ของเงินยืมเพราะผม วัดที่กำไรสุทธิเลย ไม่ได้แยกว่ารายได้เท่าไร ดอกเบี้ยจ่ายเท่าไร สรุปในตรงนี้เพื่อนๆที่เข้าใจแนวคิดอาจจะแยก รายได้ รายจ่าย ดอกเบี้ยภา๊ษี ออกมาคำนวณเป็นส่วนๆได้ ไม่จำเป็นต้องคิดแบบผม เพราะฉะนั้น จากสูตร ผลตอบแทนที่เราทำได้คิดเป็น % =((สินทรัพย์ ณ ปลายปี 53 - หนี้สิน ณ ปลายปี 53)-(สินทรัพย์ ณ ปลายปี 52 - หนี้สิน ณ ปลายปี 52))/(สินทรัพย์ ณ ปลายปี 52 - หนี้สิน ณ ปลายปี 52) จึงเท่ากันกับ ผลตอบแทนที่เราทำได้คิดเป็น % = กำไรสุทธิ คิดเป็น % ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลานึงๆ ในที่นี้คือ 1 ปี ของปี 53 2 ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด ง่ายๆ ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด% = (ราคาปิด SET index ณ ปลายปี 53 - ราคาปิด SET index ณ ปลายปี 52) / ราคาปิด SET index ณ ปลายปี 52 = (1032.76 - 734.54) / 734.54 = 40.60% 3. เปรียบเทียบ 1 กะ 2 ถ้า 1 น้อยกว่า 40.6% เราสอบ "ตก" ครับ วิธีง่ายๆดัดแปลง ใช้กะทอง น้ำมันกองทุน หุ้นอื่นๆได้ เช่นกันครับ
  17. บลจ.ชั้นนำยกทัพโปรโมชั่นสุดฮอต มหกรรมลดภาษีนาทีสุดท้าย ด้วย LTF-RMF 16-19 ธ.ค.53 เวลา 09.00-19.00 น. ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  18. รายชื่อหลักทรัพย์ ที่จะนำมาคำนวณใน SET 50 + SET 100 ใหม่ http://www.set.or.th/dat/prsnews/news/0000NWS151220101913050514T.pdf SET 50 เข้าใหม่ KK STA SSI BTS DCC ROBINS SET 50 เดิมที่ถูกถอด HANA KSL BCP TTA PSL QH สำรอง 5 อันดับ SET 50 SPALI HANA MCOT QH TVO (สำรองหมายถึง เกือบได้ แต่ยัง) SET 100 ใหม่ SMT KKC GLOBAL สำรอง 5 อันดับ SET 100 AH MCS KCE MILL TTCL
  19. *BOT:ธปท.เผยดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจ ต.ค.ที่ 50.0 ลดลงจาก ก.ย. ธปท.--30 พ.ย.--รอยเตอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ต.ค.ที่ 50.0 ลดลงจาก 50.6 ในเดือน ก.ย.เป็นผลจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจและ การเมือง รวมทั้ง ความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และข้อจำกัดในการปรับราคาสินค้า ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนในระยะต่อไป ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งสำรวจในเดือน ต.ค.อยู่ที่ 54.6 ลดลงจาก 56.0 ที่สำรวจเมื่อ ก.ย.--จบ-- BOT:ธปท.คาดน้ำท่วมกระทบจีดีพี 0.2% แต่ยังคงเป้าปีนี้โต 7.3-8.0% กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--รอยเตอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คาดปัจจัยเรื่องอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีนี้ จะกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) 0.2% แต่ยังคงเป้าการเติบโต ของจีดีพี ทั้งปี 53 ไว้ที่ 7.3-8.0% ตามที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ "ประเมินว่าน้ำท่วมจะกระทบต่อจีดีพี 0.2% หรือประมาณ 2 หมื่นกว่า ล้านบาท แต่อัตราการขยายตัวที่ประมาณการไว้ 7.3-8.0% ยังอยู่ได้" นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวแถลงข่าว เมื่อปลายเดือนก่อน ธปท.ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีของไทยในปี 53 เป็นเติบโต 7.3-8.0% จากก่อนหน้านั้นคาดไว้โต 6.5-7.5% หลังการบริโภคและ การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวดี และมีแรงส่งต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี ขณะที่ เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีกว่าคาด--จบ-- *BOT:ธปท.เผยดุลการค้า ต.ค.เกินดุล $2.44 พันล้าน ธปท.--30 พ.ย.--รอยเตอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รายงานตัวเลขดุลการค้าเดือน ต.ค.เกินดุล 2.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เกินดุล 3.24 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐในเดือน ก.ย.และเกินดุล 0.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือน ส.ค. ต.ค. ก.ย. ส.ค. ส่งออก 17.046 17.955 16.292 (%) 16.6 21.8 23.6 นำเข้า 14.604 14.712 15.440 (%) 13.0 15.7 41.8 ดุลการค้า 2.442 3.243 0.852 (หน่วย: พันล้านดอลลาร์) *BOT:ธปท.เผยดุลบัญชีเดินสะพัด ต.ค.เกินดุล $2.91 พันล้าน ธปท.--30 พ.ย.--รอยเตอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ต.ค.เกินดุล 2.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบจากที่เกินดุล 2.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือน ก.ย.และเกินดุล 0.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนส.ค.--จบ-- *BOT:ธปท.เผย ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ต.ค. -0.9% จากเดือนก่อน ธปท.--30 พ.ย.--รอยเตอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยดัชนีการลงทุนภาคเอกชน(Private Investment Index:PII) เดือน ต.ค.ลดลง 0.9% เมื่อเทียบรายเดือน หลังลดลง 0.1% ในเดือน ก.ย.และเพิ่มขึ้น 0.9% ในส.ค. ขณะที่ เมื่อเทียบปีต่อปี PII เพิ่มขึ้น 17.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบจากที่เพิ่มขึ้น 20.0% ในเดือน ก.ย.และเพิ่มขึ้น 22.4% ในส.ค.--จบ-- *BOT:ธปท.เผยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ต.ค.-1.2% จากเดือนก่อน ธปท.--30 พ.ย.--รอยเตอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(Private Consumption Index:PCI) เดือน ต.ค.ลดลง 1.2% เมื่อเทียบรายเดือน หลังลดลง 0.4% ในเดือน ก.ย.และลดลง 1.0% ในส.ค. ขณะที่เมื่อเทียบปีต่อปี PCI เพิ่มขึ้น 2.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบจากที่เพิ่มขึ้น 3.1% ในเดือน ก.ย.และเพิ่มขึ้น 6.7% ในส.ค.--จบ-- (โดย กิติพงศ์ ไทยเจริญ รายงาน, บุญฤทธิ์ รัตนวราภรณ์ เรียบเรียง--ฉก--)
  20. *BOT:อัตราถัวเฉลี่ยดอลลาร์/บาทระหว่างธนาคารของธปท.วันนี้อยู่ที่ 29.916 บาท กรุงเทพ--22 พ.ย.--รอยเตอร์ อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยดอลลาร์/บาทระหว่างธนาคาร ของธนาคารแห่งประเทศไทยวันนี้อยู่ที่ 29.916 บาท ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยในช่วง 5 วันที่ผ่านมามีดังนี้: วันที่ อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย (บาท) 19 พ.ย. 29.992 18 พ.ย. 30.004 17 พ.ย. 29.861 16 พ.ย. 29.961 15 พ.ย. 29.818 --จบ-- (รอยเตอร์ โดย กัลยาณี ชีวะพานิช) บาท/ดอลลาร์ภาคเช้าทรงตัว, ติดตามปัจจัยการเมือง-มาตรการคุมเงินทุน กรุงเทพฯ--22 พ.ย.--รอยเตอร์ *บาท/ดอลลาร์ภาคเช้าทรงตัวจากวันศุกร์ โดยดีลเลอร์คาดว่า เงินบาท จะแกว่งตัวในกรอบแคบต่อไป ส่วนปัจจัยที่คอยกดดันตลาดในช่วงนี้ เป็น เรื่องความเป็นไปได้ในการออกมาตรการดูแลเงินทุน และปัจจัยการเมือง ในประเทศ *กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดชุมนุมหน้ารัฐสภาในวันที่ 23-25 พ.ย.นี้ เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีการถอนร่างหรือลงมติ ไม่รับรองการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับที่มีการเสนอ *ยูโรพุ่งขึ้นในการซื้อขายช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย หลังจากไอร์แลนด์ ได้ขอ ความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เพื่อจัดการกับวิกฤติภาคธนาคาร และ งบประมาณ ซึ่งช่วยขจัดอุปสรรคสำคัญของยูโรในรอบหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา *ตลาดกำลังรอดูว่า ตลาดยุโรปจะมีปฏิกริยาอย่างไร ต่อข่าวการช่วยเหลือ ไอร์แลนด์ ก่อนที่จะตัดสินใจว่า จะหนุนยูโรขึ้นอีกหรือไม่ *ขณะที่ยังคงต้องมีการเจรจา เรื่องขนาดของเงินช่วยเหลือไอร์แลนด์ ของ สหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) แต่คาดว่า จะใช้วงเงินน้อยกว่าของกรีซ ที่ได้รับความช่วยเหลือ 1.10 แสนล้านยูโร ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา *ข้อตกลงช่วยเหลือไอร์แลนด์ มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องเสถียรภาพการเงิน โดยรวมของยุโรป แต่ดีลเลอร์ในต่างประเทศยังคงระมัดระวัง หากแรง กดดันด้านการระดมทุน เปลี่ยนไปอยู่ที่โปรตุเกส และสเปน ซึ่งก็จะทำให้ ยูโรร่วงลงต่อไป *ดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นตามยูโร โดยไม่สนใจมาตรการคุมเข้มเพิ่มเติม ของจีน ซึ่งเมื่อวันศุกร์ที่แล้วธนาคารกลางจีนได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่ม เพดานกันสำรองขึ้นอีก เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 สัปดาห์ เพื่อควบคุมภาวะ เงินเฟ้อ *นักลงทุนในสหรัฐจะมุ่งความสนใจไปที่การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสัปดาห์นี้ อาทิ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน และรายได้ส่วนบุคคล ซึ่งจะบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจ ที่กำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป *ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะเปิดเผยรายงานการประชุมในสัปดาห์นี้ เพื่อบ่งชี้ถึงแนวโน้มมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 หรือ QE3 *09.07 น. บาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 29.92/96 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเมื่อวันศุกร์ ขณะที่ใน offshore อยู่ที่ 29.91/95 จาก 29.92/96 เมื่อวันศุกร์ *เยน/ดอลลาร์ อยู่ที่ 83.43/47 จาก 83.45 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวันศุกร์ *ยูโร/ดอลลาร์ อยู่ที่ 1.3757/58 จาก 1.3683 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวันศุกร์ "เช้านี้ยังแกว่งแคบๆ (ดอลลาร์)เปิดลงมาแล้วก็เด้งขึ้นไป แล้วก็กลับมาใหม่ ปัจจัยตอนนี้ sentiment ต่างประเทศเป็นบวก แต่นักลงทุนคงเริ่มกังวลกับการเมือง มากขึ้น" ดีลเลอร์ กล่าว เขา กล่าวว่า ปัจจัยที่จะคอยกดดันความเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงนี้ จะ มีอยู่ 2 ปัจจัยหลัก คือ กระแสข่าวการออกมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมเงินทุนไหลเข้า และการเมืองในประเทศ ซึ่งถ้ามีกระแสข่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวเข้ามา ก็อาจทำให้ เงินบาทแกว่งตัวผันผวนได้ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม หากปัจจัยดังกล่าวยังไม่ชัดเจน หรือยังไม่มีความ คืบหน้า คาดว่าเงินบาทจะแกว่งตัวในกรอบแคบต่อไป โดยมองการเคลื่อนไหวในวันนี้ ไว้ที่แนวรับ 29.97 และแนวต้าน 29.92--จบ-- (โดย สะตะวสิน สถาพรชาญชัย รายงานและเรียบเรียง--บร--)
  21. สรุปข่าวเศรษฐกิจ การเงิน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 23 พ.ย.--กรุงเทพธุรกิจ Distributor - Bisnews AFE ตลาดปลื้ม 'สถาบัน' แห่ซื้อหุ้นไอพีโอเล็ก 8 บริษัทเทรดปีนี้ราคาพุ่งเกิน 20% เหตุราคาหุ้นใหญ่ขึ้นแรงส่ง ผลส่วนต่างกำไรหด หันเพิ่มสัดส่วนหุ้นไอพีโอเล็กแทนเหตุให้ผลตอบแทนสูง ตลาดปลื้ม "สถาบัน" แห่เพิ่มสัดส่วนถือหุ้นไอพีโอเล็กหลังหุ้นใหญ่เทรดคึกคักจนราคาเข้าใกล้มูลค่าพื้น ฐาน ทำให้โอกาสส่วนต่างกำไรมีน้อยลง ขณะที่หุ้นไอพีโอให้ผลตอบแทนสูงสำรวจพบปีนี้ 8 บริษัทเข้าเทรด ราคาหุ้นพุ่งแรงมากกว่า 20% ด้านแคปปิทอล ฉวยจังหวะตลาดเอื้อ ส่งเอื้อวิทยา ขายไอพีโอ 71.19 ล้าน หุ้น ดันเข้าตลาดเอ็มเอไอกลางปี 54 หวังนำเงินต่อยอดธุรกิจ 'โทลล์เวย์' ออกหุ้นกู้ 7 พันล้านลุยอสังหาฯ-พลังงานทดแทน ดอนเมืองโทลล์เวย์ เตรียมออกหุ้นกู้ 7 พันล้านบาท รีไฟแนนซ์หนี้ก่อน ดันหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ปีหน้าหวังระดมทุน 1.5 พันล้านบาท รองรับการขยายธุรกิจนอกรอบ เล็งเทคโอเวอร์ธุรกิจอสัง หาฯพลังงานทดแทน เผยเริ่มจ่ายปันผลกับผู้ถือหุ้นตั้งแต่ปี 2552 คาดปีนี้กำไรสุทธิมากกว่า 500 ล้านบาท แบงก์มั่นใจเทรดไฟแนนซ์โตต่อเนื่อง แบงก์มั่นใจการส่งออกปีหน้ายังเติบโตต่อเนื่องจากปีนี้ โดยเฉพาะในรูปเงินดอลลาร์ แต่อาจลดลงใน มูลค่าเงินบาทหลังทิศทางเงินบาทยังแข็งค่า ส่งผลธุรกิจเทรดไฟแนนซ์ยังโตได้ต่อเนื่อง แนะผู้ส่งออกหันหา ตลาดใหม่ที่การแข่งขันราคายังน้อยรับรายได้ค่าธรรมเนียมลดลงตามความเสี่ยงของประเทศและการแข่งขัน ราคาที่เพิ่มขึ้นไทยพาณิชย์ชี้ปีหน้าเห็นการแข่งขันแรงขึ้นหวังกินส่วนแบ่งของแบงก์อื่น--จบ-- สรุปข่าวหุ้น การเงิน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ั 22 พ.ย.--กรุงเทพธุรกิจ Distributor - Bisnews AFE นักวิเคราะห์เชื่อ 'ทอง-น้ำมัน' ยังขาขึ้นแนะเลือกกองทุนป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ย้ำทองเป็นสินทรัพย์ที่ ปลอดภัยและเป็นสกุลเงินที่ต่อสู้กับการเสื่อมค่าของเงินดอลลาร์ก็ได้ นักวิเคราะห์กองทุนมั่นใจทั้งทองคำและน้ำมันยังเป็นแนวโน้มขาขึ้นชัดเจนทั้งคู่ มองแนวรับระยะสั้น ทองคำ 1,315 ดอลล์ น้ำมัน 84 ดอลล์ พร้อมแนะนักลงทุนเลือกกองทุนป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เชื่อให้ ผลตอบแทนดีกว่า บจ.เอ็มเอไอโชว์กำไรไตรมาส3 โต 126% บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) อวดกำไรไตรมาส 3/2553 กำไรสุทธิ รวม 754 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อน 126% โดยบริษัทที่มีผลกำไรมีถึง 51 บริษัท คิดเป็น 80% ของบริษัททั้งหมด โดย 11 บริษัทเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง ธอส.เร่งขยายฝากระยะยาวรับปล่อยกู้ นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยภายหลัง เข้ารับตำแหน่งดังกล่าว ว่ามีแผนจะขยายฐานลูกค้าเงินฝากระยะยาวให้อยู่ในระดับที่สามารถรองรับการ ปล่อยสินเชื่อระยะยาวของธนาคารได้ โดยปัจจุบันฐานเงินฝากของธนาคารกว่าครึ่งเป็นฐานลูกค้าเงินฝากที่ มาจากลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งลูกค้าเหล่านี้ จะฝากเงินในระยะสั้น เช่น 3 เดือนหรือ 6 เดือน เมื่อลูกค้าราย ใหญ่ถอนเงินฝากก็จะกระทบต่อแหล่งทุนของธนาคาร--จบ-- สรุปข่าวธุรกิจการตลาด หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 22 พ.ย.--กรุงเทพธุรกิจ Distributor - Bisnews AFE 'เฮเฟเล่' เท 700 ล้าน ผุดศูนย์ฮาร์ดแวร์ เป็นศูนย์กระจายสินค้าใหญ่สุดในเอเชีย ยักษ์ใหญ่วงการฮาร์ดแวร์ "เฮเฟเล่" จากเยอรมนีทุ่ม 700 ล้านบาท ผุดศูนย์กระจายสินค้าใหญ่สุด ในเอเชียแปซิฟิกบนถนนบางนา-ตราด ก.ม.22 คาดปีหน้ายอดขายโต 30% จากกว่า 2,000 ล้านบาทในปีนี้ สมาคมผู้จัดพิมพ์จัด 'บุ๊คฟอร์กิ๊ฟท์' หวังยอด 100 ล้าน สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ บูมซื้อหนังสือเป็นของขวัญเทศกาลพิเศษ จัดงาน "บุ๊ค ฟอร์ กิ๊ฟท์" รับกำลังซื้อ ปลายปีกลุ่มครอบครัว คาดยอดขาย 100 ล้านบาท--จบ--
  22. สรุปข่าวหุ้น-ตลาดทุน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 22 พ.ย.--โพสต์ทูเดย์ Distributor - Bisnews AFE รายย่อยชิงขายก่อนต่างชาติ หวั่นบาทอ่อน 31 บ. ไล่เงินทุนไหลออกเงินเฟ้อชี้หุ้นปีหน้า นักเศรษฐศาสตร์แนะรายย่อยปรับกลยุทธ์ขายลดพอร์ตก่อนฝรั่งชิ่งหนี หวั่นแนวโน้มเงินบาทอ่อนแตะ 31 บาทในครึ่งแรกปีหน้า น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ประเทศไทย) เปิด เผยในงานสัมมนาหุ้นไทยปีหน้าในสายตาต่างชาติ ว่า เม็ดเงินลงทุนต่างชาติจากนี้ไปจนถึงครึ่งปีแรก 2554 มีแนวโน้มไหลออก จากทิศทางของค่าเงินบาที่จะอ่อนค่าลง เนื่องมาจากการแข็งค่าของเงินเหรียญสหรัฐ คาดว่าค่าเงินบาท ณ ปัจจุบัน 29.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐจะอ่อนค่าเป็น 31 บาทในกลางปีหน้า คลัง-พาณิชย์ถกควบรวมอนุพันธ์ ปลัดกระทรวงการคลัง-ปลัดพาณิชย์ ร่วมถกหาทางออกแผนควบรวม AFET และ TFEX นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การควบ รวมตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) หรือ TFEX และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ได้เสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อสอบถามกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องแล้ว พบว่ามีความ เห็นไม่ตรงกัน ระวัง! กองทุนสินค้าเกษตร นักวิเคราะห์เตือนเข้าใจยาก ทองแจ๋วกว่ามีแต่ปัจจัยหนุน นักวิเคราะห์กองทุนเตือนนักลงทุน ไม่เข้าใจอย่าลุยซื้อกองทุนสินค้าเกษตร เข้าใจยาก แนะทองคำดี ที่สุดในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ มีแต่ข่าวดีหนุน นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล นักวิเคราะห์กองทุนรวมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า นักลงทุนที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าเกษตรควรหลีกเลี่ยงการลงทุนแบบเก็งกำไรใน กองทุนสินค้าเกษตร เนื่องจากเป็นการลงทุนในฟิวเจอร์สที่มีความซับซ้อนและเข้าใจยาก กองตลาดไทคืนต้น 10 สต. โชว์ IRR 12% "กองอสังหาฯ ตลาดไท" เร่งลดทุนคืนเงินต้น 10 สต.ยันปันผลเกิน 10% นางชวินดา หาญรัตนกูล รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุน ส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่กองทุนรวมสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์ตลาดไท (TTLPF) เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 19 พ.ย. บลจ.กรุง ไทย ในฐานะผู้จัดการกองทุนจะเร่งดำเนินการลดทุนของกองทุนและคืนเงินต้นจำนวน 0.1 บาทให้กับผู้ถือ หน่วย ตามมติของผู้ถือหน่วย--จบ-- สรุปข่าวธุรกิจ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 22 พ.ย.--โพสต์ทูเดย์ Distributor - Bisnews AFE แนะรัฐทบทวนพื้นที่กสิกรรมจับพืชพลังงาน เอกชนเสนอรัฐทบทวนนโยบายการปลูกข้าวของประเทศ เจียดพื้นที่ปลูกพืชพลังงานรับมืออนาคต นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรเครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผย ในการเสวนางานระดมสมองของสถาบันคลังสมองแห่งชาติว่า เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะหันมาปลูกพืชสวน เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มากกว่าปลูกข้าว เนื่องจากมีผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งในประเทศไทยยังมีพื้นที่ที่ เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชทั้งสองชนิดอีกมาก ซึ่งรัฐควรให้การสนับสนุนเหมือนกับการปลูกข้าว เนื่องจาก พืชสองตัวถือเป็นพืชพลังงานที่จะเข้ามาช่วยเสริมในเรื่องพลังงานทางเลือกของไทย "มั่นคง" ปั้นคอนโดใหม่ ราคาล้านต้นเจาะกลุ่มราชการ ไม่รอบีโอไออนุมัติแผนลงทุน มั่นคงเคหะการไม่รอบีโอไออนุมัติ ชิงเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม เดน วิภาวดี มูลค่า 900 ล้าน เจาะข้าราชการแจ้งวัฒนะ นางธัญญา สิริปูชกะ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท มั่นคงเคหะการ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาบริษัทมีแผน จะพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่ขอส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอ ไอ) เพื่อพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมระดับ 1 ล้านบาท ในย่านประชาชื่น แต่ขณะนี้โครงการดังกล่าวยัง ติดปัญหาเรื่องการอนุมัติและยังต้องขออนุญาตด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้โครงการคอนโดมิเนียมที่ขอบีโอไอ ต้องเลื่อนไปเปิดตัวในปี 2554 "เอสซีจี-เซกิซุย" ลุยจัดสรร หวังบ้านสำเร็จรูปโตเท่าตัว เอสซีจี-เซกิซุย มุ่งเจาะตลาดโครงการจัดสรร ปีหน้าตั้งเป้าโตเท่าตัว นายวชิระชัย คูนำวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี-เซกิซุย เซลล์ บริษัทร่วมทุนในเครือเอส ซีจี เปิดเผยว่า หลังจากเปิดตัว SCG HEIM บ้านสำเร็จรูปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยทำตลาดทั้งบ้านสร้างเอง และบ้านในโครงการจัดสรร ปัจจุบันบริษัทมียอดขายแล้วกว่า 100 ราย มูลค่ารวม 700-800 ล้านบาท --จบ-- สรุปข่าวการตลาด หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 22 พ.ย.--โพสต์ทูเดย์ Distributor - Bisnews AFE อสังหาฯ ไตรมาส 3 กำไรวูบ เหตุหมดมาตรการรัฐกระตุ้น รายใหญ่อ่วมรายได้หาย 30% หมดมาตรการอสังหาฯ ลดภาษีธุรกิจเฉพาะพ่นพิษผู้ประกอบการ ทำรายได้ไตรมาส 3 กำไรหายกว่า 30% นายกิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาด อสังหาริมทรัพย์ไตรมาส 3 ผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่มียอดขายและกำไรที่ลดลง ซึ่งผลมา จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3% เหลือ 0.11% สิ้นสุดในเดือน มี.ค. และการลดค่าธรรมเนียมและการโอนและค่าจดจำนองจาก 2% เหลือ 0.01% สิ้นสุดในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แมสซีฟฯ คึกรุกเอสเอ็มอีรับโฆษณาโต แมสซีฟ แอดเวอร์ไทซิ่ง สบช่องโฆษณาไทยเริ่มคึกคัก เปิดยูนิตใหม่ดูแลลูกค้าเอสเอ็มอีคาดปีหน้ามี สัดส่วนรายได้ 15% นางวรรณวิภา มะลิกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แมสซีฟ แอดเวอร์ไทซิ่ง ผู้รับจ้างผลิตสื่อ โฆษณา เปิดเผยว่าจากสภาพตลาดการโฆษณาในครึ่งปีหลังนี้ พบว่ามีอัตราการเติบโตไปในทิศทางที่ด โดย มูลค่าตลาดในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 7.7 หมื่นล้านบาท เติบโต 16% จากช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมา คาดว่าสิ้นปีนี้มูลค่าตลาดน่าจะเติบโตขึ้นไปถึงแสนล้านบาท จากปีที่ผ่านมามีมูลค่า 9.7 หมื่นล้านบาท ภาษีบาปพุ่งทีวีไทยโกยทะลุ 2 พันล. ภาษีบาปพุ่ง ทีวีไทยรายได้เกิน 2,000 ล้าน ต้องส่งคืนพร้อมทุ่มลงทุนสถานี พร้อมปรับโฉมใหม่ เม.ย.ปีหน้า นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ทีพีบี เอส) ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เปิดเผยว่า ปีงบประมาณที่จบลงในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา เป็นปีแรกที่ ทีวีไทยมีรายได้จากภาษีสุราและยาสูบเกินจาก 2,000 ล้านบาท ไปเป็นจำนวนกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งต้อง ทำเรื่องคืนกระทรวงการคลัง นัมเบอร์พอร์ตอืดไม่ทัน 5 ธ.ค. ดีแทคทดลอง 100 เลขหมาย โอนย้ายลูกค้า 3 วันไม่สำเร็จ นัมเบอร์พอร์ตยังวุ่น 5 ธ.ค. ทำได้แค่ทดลองรายละ 100 เลขหมาย เชื่อมระบบยังไม่ได้ รายงานข่าวจากบริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์หรือเคลียริงเฮาส์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ การเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายหรือนัมเบอร์พอร์ต ในวันที่ 5 ธ.ค.นี้ ยังมีปัญหา โดยทำได้เพียงแค่การ ทดลองให้บริการเท่านั้น และยังไม่สามารถตกลงกันระหว่างผู้ให้บริการทั้ง 5 รายถึงจำนวนที่ทดลองเปิด เบื้องต้นว่าควรจะเป็นรายละเท่าไร ตราเพชรโอด ธปท.คุมเข้มตลาดวัสดุหด กระเบื้องหลังคาตราเพชรชี้ตลาดวัสดุก่อสร้างปี 2554 เหนื่อย ปัจจัยลบเพียบ หวั่นมาตรการ ธปท. ทำออร์เดอร์ใหม่หด นายสาธิต สุดบรรทัด รองกรรมการผู้จัดการสายการขายและการตลาด บริษัท กระเบื้องหลังคาตรา เพชร เปิดเผยว่า ตลาดวัสดุก่อสร้างในปี 2554 มีแนวโน้มจะเติบโตลดลงจากปีนี้ เนื่องจากมีปัจจัยลบ หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คุมเข้มการปล่อยสินเชื่อในตลาด คอนโดมิเนียม จะส่งผลให้จำนวนโครงการใหม่ชะลอตัวลง ซึ่งจะผลกระทบต่อยอดการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้าง ล็อตใหม่ในปีหน้า เถ้าแก่น้อยโหมจุดขายใหม่ปีหน้า "เถ้าแก่น้อย" ดึงไอเดียทรานส์ฟอร์เมอร์สพัฒนาจุดจำหน่ายแบบพับเก็บได้ หวังขยายช่องทางขาย เพิ่มในไทยปีหน้าพ้อมลุยตลาดอาเซียน นายอิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเถ้าแก่น้อย ฟู๊ด แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง ผู้ ผลิตและทำตลาดขนมขบเคี้ยวหมวดสาหร่ายทอดกรอบตรา "เถ้าแก่น้อย" เปิดเผยว่า ในปี 2554 บริษัทตรี ยมแผนขยายช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตราเถ้าแก่น้อยในรูปแบบ "คีออสก์" ใหม่เพิ่มเติมจากช่องทางเดิมที่มี อยู่ โดยอยู่ระหว่างพัฒนาต้นแบบคีออสก์แบบพับเก็บได้ ซึ่งบริษัทได้แนวคิดจากภาพยนตร์เรื่องทรานส์ฟอร์ เมอร์สมาประยุกต์ใช้กับจุดขายรูปแบบใหม่--จบ-- สรุปข่าวการเงิน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 22 พ.ย.--โพสต์ทูเดย์ Distributor - Bisnews AFE "กรณ์" อยากรวมแบงก์รัฐ งานเลิกซ้ำซ้อนไม่แย่งลูกค้ากัน ลดค่าใช้จ่ายเพิ่มประสิทธิภาพ "กรณ์" ตั้งท่าจับธนาคารรัฐควบรวมบริการ เพิ่มประสิทธิภาพไม่แย่งลูกค้ากัน แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 20-21 พ.ย.2553 ที่เมืองพัทยา นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้เรียกประชุมผู้บริหารสถาบันการเงิน ของรัฐทั้งหมด เพื่อหายุทธศาสตร์การให้บริการร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาเห็นว่ายัง ไม่มีความร่วมมือกันในด้านต่างๆ อย่างที่ควรจะเป็น ชิงเค้กเทรดไฟแนนซ์ ใบโพธิ์ลั่นขอโต 5 เท่า ศึกค่าธรรมเนียมธุรกรรมต่างประเทศเดือด ไทยพาณิชย์-กสิกร-กรุงไทย ลุยชิงลูกค้าปีหน้า นางพรรณแข นันทวิสัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารตั้งเป้าขยาย ฐานลูกค้าที่ใช้บริการด้านธุรกิจต่างประเทศ หรือเทรดไฟแนนซ์ ในปีหน้าเพิ่มอีก 5 เท่า เนื่องจากการส่ง ออกในปีหน้ามีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ผู้ส่งออกมีความต้องการใช้บริการของธนาคารในการเพิ่มประสิทธิภาพ การทำธุรกรรมและต้องหาวิธีป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น สลากการกุศลพ่นพิษศิริราชหวั่นเงินสกปรก ศิริราชมูลนิธิทำหนังสือทักท้วงสำนักงานสลากฯ หลังถูกร้องเรียนที่มาเงินบริจาคไม่โปร่งใส ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.เหลือพร ปุณณกันต์ ผู้จัดการศิริราชมูลนิธิ ทำหนังสือลงวันที่ 15 พ.ย.2553 ถึงนายวันชัย สุระกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยระบุว่า มีผู้ร้องเรียน จำนวนมาก ว่าเงินที่สำนักงานสลากฯ จัดสรรให้คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลและเงินที่จะเข้าสู่ศิริราช มูลนิธินั้น เกิดจากการฮั้วประมูลและยังมีการปลอมลายมือของรองประธานศิริราชมูลนิธิคนที่ 1 ไปยังสำนัก งานสลากฯ ธปท.ล้างฟองสบู่ อสังหาฯ ยังวิ่งฉิว ธปท.มั่นใจสภาพคล่องล้น หนุนสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โต การันตีไม่มีมาตรการอื่นเพิ่ม นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า มาตรการการควบคุมสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์จะไม่กระทบการขยายตัวสินเชื่อในระบบ ธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังขยายตัวดีเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความต้องการสินเชื่อยังมีอยู่ ต่อเนื่อง--จบ--
  23. สรุปข่าว หนังสือพิมพ์ทันหุ้น 22 พ.ย.--ทันหุ้น Distributor - Bisnews AFE 'CTW'ผลงานทุบสถิติ600ล.สายเคเบิลรถไฟฟ้า-ไอทีจ่อ CTW ลั่นยอดขายพุ่งปรี๊ด ดีมานด์สายเคเบิลล้นตลาด ขานรับออเดอร์งานก่อสร้างรถไฟฟ้าและไอทีจ่อ คิวเข้าเพียบ ฟันธงไตรมาส 4งบสวยเริ่ดไม่แพ้งวดก่อน ทั้งปีนี้ผลงานทุบสถิติ หลัง 9 เดือนแรก โชว์ลีลา เด็ด กำไรสูงสุดทำสถิติในรอบ 3 ปี กูรูไม่รอช้า เชียร์ "ซื้อ" ส่องกล้องปีนี้รับทรัพย์เต็มแมกซ์ 600 ล้าน บาท โค้งท้ายกินนิ่มขั้นต่ำ 200 ล้านบาท ประเมินราคาเป้าหมาย 16.00 บาท SMITออเดอร์ยาวเหยียดปักธงผลงานโตกว่า10% SMIT เสือนอนกินออเดอร์ลูกค้ายาวเป็นหางว่าวถึงต้นปีหน้า ผู้บริหาร "ชัยศิลป์ แต้มศิริชัย" ปักธงโกยทรัพย์เพิ่ม 10% จากปีนี้ที่คาดยอดขายไม่พลาดเป้า 1.8-2 พันล้านบาทสัปดาห์นี้หอบสินค้าใหม่จัด แสดงงานไบเทคหวังดูดลูกค้าใหม่เพียบ นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มกำไรปีนี้แตะ 177 ล้าน สั่งลุยดักปันผลครึ่ง หลังอีก 0.10 บาท เคาะมูลค่าเป้าหมาย 3.00 บาท STAลั่นQ4ยอดขายแจ่มยางใหม่เกิด-ดีมานด์พุ่ง บิ๊ก STA ลั่นไตรมาส 4 ยอดขายทะยานต่อ หลังเข้าสู่ฤดูยางเกิดใหม่อีสาน-ใต้ หนุนดีมานด์ถล่มทลาย รับราคายางพุ่งต่อไม่ต่ำกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม ดันมาร์จิ้นบวกยันเป้ากำลังการผลิตพุ่งสู่ 8 หมื่นตันต่อปี จากปีก่อนที่ 7 หมื่นตันต่อปี กูรูส่องโค้งท้ายฟันกำไร 833 ล้านบาท ส่งปีหน้าสุดบรรเจิดรับไฮซีซันของแท้ 'SITHAI'ลัดฟ้าซื้อที่อินเดียเดือนนี้รับค่าสินไหม100ล. SITHAI บินลัดฟ้า เซ็นสัญญาซื้อที่ดินมุมไบ เดินหน้าลุยโรงผลิตเมลามีนในอินเดีย ขุนพล "สนั่น อังอุบลกุล" ชี้อนาคตรุ่ง ดีมานด์เมลามีนในอินเดีย-เคนยา-บรูไนล้นทะลัก ปักธงปีหน้ากวาดยอดขาย รวม 6.7 พันล้านบาทเล็งรันเครื่องผลิตแพ็กเกจจิ้งป้อน CPF-TUF ไตรมาส 2/2554 ด้านธุรกิจเครื่อง สำอางเวชภัณฑ์ รายได้งดงามแตะ 400 ล้านบาท ล่าสุดรับเงินเคลมประกันเพิ่มอีก 100 ล้านบาท นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มกำไรปีนี้แตะ 211 ล้านบาท ดันมูลค่าพื้นฐานขยับ 14.00 บาท แนะ "ซื้อ" 'CPALL'เด้งรับQ4สุดเจ๋งปี53เสกสาขาเพิ่ม500แห่ง CPALL คาดผลงานไตรมาส 4/2553 สวยกว่าไตรมาส 4/2552 ที่มีรายได้ 3.15 หมื่นล้านบาท ขานรับยอดขายทั้งที่ใหม่และเก่าเติบโตคอนเฟิร์มทั้งปียอดขายพุ่งตามเป้า 15-20% จากปีก่อนที่ 1.09 แสน ล้านบาท เล็งทุ่มงบ 1.2-1.5 พันล้านบาท ผุดสาขาเพิ่มอีก 450-500 สาขาในปีหน้า หวังขยายฐานลูกค้า ใหม่ ส่วนปัญหาน้ำท่วมยันกระทบการดำเนินงานน้อย ด้านโบรกหนุน "ซื้อ" มองพื้นฐานที่ 53.00 บาท CENไฟเขียวUWCเข้าmaiปีหน้าเตรียมขายหุ้นไอพีโอ71.2ล้านหุ้น ผู้ถือหุ้น CEN อนุมัติ "เอื้อวิทยา" ขายไอพีโอ 71.2 ล้านหุ้น และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai หวังนำเงินต่อยอดธุรกิจ เสริมความแข็งแกร่ง "วุฒิชัย ลีนะบรรจง" เผย"เอื้อวิทยา" คาดครึ่งปีแรก ของปีหน้าเข้าเทรดในตลาดได้ มองเป็นเวลาที่เหมาะสมและสภาพตลาดทุนเอื้ออำนวย BANPUขายRATCHเกลี้ยงQ4/53บุ๊กกำไรทันที3.6ล้านบ. BANPU ตัดขายหุ้น RATCH เกลี้ยง 202.4 ล้านหุ้นในราคา 33 บาท ให้นักลงทุนใน-นอกประเทศ คาดได้เงิน 6,676 ล้านบาท หวังนำไปซื้อกิจการเหมืองถ่านหินในออสเตรเลีย ฟาก RATCH ยืนยันไม่ กระเทือน ธุรกิจเดินหน้าได้ต่อ โบรกประเมิน BANPU บุ๊กกำไรจากการขาย RATCH ทันทีไตรมาส 4/2553 จำนวน 3.6 พันล้านบาท แนะ "ซื้อ" เป้า 910.59 บาท กลุ่มเทเลนอร์ดอดคุยกสท.ขอความชัดเจน3จีคลื่นเดิม กลุ่มเทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ DTAC รุกคุยผู้บริหารระดับสูง กสท.ขอความชัดเจนทดสอบระบบ 3G คลื่นเดิม 850 MHz ด้าน "ธนา เธียรอัจฉริยะ" เตรียมยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับนายกวันนี้ และขอ คลื่น 2.5 MHz คืน จากกสท.ที่ขอให้ทรูมูฟในก่อนนี้ หากยังไม่รีบดำเนินการให้เป็นธรรมมากกว่านี้ SGPครึ่งหลังรายได้ทะลุหมื่นล.เลื่อนปิดดีลCOGELต้นปี54 SGP เปรยครึ่งหลังปี 2553 ผลงานแจ๋วกว่าครึ่งแรกที่มีรายได้ 1.09 หมื่นล้านบาท อานิสงส์น้ำมัน แพงทำคนหันใช้ก๊าซ LPG ดันยอดขายพุ่งส่วนทั้งปีเชื่อรายได้ทะยานตามเป้า 25% จากปีก่อนที่มีรายได้ 1.18 แสนล้านบาท รับเศรษฐกิจฟื้นตัว เดินหน้าทุ่มงบ 150-180 ล้านบาท เปิดปั๊มใหม่ 10 แห่งปีนี้ จากปัจจุบันที่มี 27 ปั๊มส่วนดีลซื้อหุ้น COGEL คาดเสร็จต้นปี 2554 โบรกแนะ "ซื้อ" มองเหมาะสมที่ 23.40 บาท LHKย้ำชัดรายได้โต15-20%ชูแผนลงทุนอินเดีย-จีนคืบ LHK ยันเป้ารายได้งวดปี 2553/54 (เม.ย.53-มี.ค.54) เติบโต 15-20% ขณะที่แผนลงทุนใน อินเดียคาดว่าจะได้ข้อสรุปราวเดือนเมษายน 2554 โดยจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน แผนรุกจีนคืบหน้าเช่นกัน โบรกเกาะขอบลงทุนให้กรอบที่ 3.05-3.12 บาท BECLปรับเป้าใหม่โต2%เตรียมแผนระดมทุนขยายงาน BECL ปรับเป้ารายได้เพิ่ม 2% หลังจำนวนรถยนต์ใช้ทางด่วนเพิ่มขึ้น และยอดขายรถยนต์เป็นขาขึ้น เช่นกัน ขณะที่ปี 2554 กำไรสุทธิอาจลดลง 500 ล้านบาท แม้ว่าปริมาณการใช้ทางด่วนจะเติบโตขึ้น 2% คาดปี 2555 แต่ในปี 2556 มีแผนปรับขึ้นค่าทางด่วนอีก 5 บาท ขณะเดียวกันเตรียมความพร้อมขยายงาน คาดต้องระดมทุนเพิ่ม 'KTB'ให้กู้สูงเป็นประวัติการณ์งานเข้าเพียบ-สินเชื่อรวมทะลุ13% KTB ติดปีกบิน จับตาสินเชื่อรวมทะลุเป้าอีก 3 หมื่นล้านบาท จากเป้าโต 12% หรือ 4-4.5 หมื่น ล้านบาท ปัจจุบันเขมือบแล้ว 12-13% แย้มตั้งแต่ต้นปีสินเชื่อแซงกลุ่มสูงปรี๊ดเป็นประวัติการณ์ ด้านนางสาว "สมพิศ เจริญเกียรติกุล" คุยงานล้นมือบริษัทรายใหญ่เฮกู้เพียบ จ่อเซ็นปล่อยกู้ลูกค้ารีไฟแนนซ์พฤศจิกายนนี้ วงเงินหลายพันล้านบาท 'TMB'เดินเครื่องรุกSMEเต็มสูบผุดเครดิตโมเดลบ.แม่เขมือบลูกค้า TMB เดินเครื่องรุกธุรกิจสินเชื่อ SME แบบเต็มสูบมั่นใจคว้าสินเชื่อ SME ปีหน้าสูงกว่า 2 เท่าของ GDP แย้มใช้กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์แหวกแนวสร้างความแตกต่าง แถมจับมือบริษัทแม่ไอเอ็นจีกรุ๊ป ผุดเครดิตโมเดล ออกแข่งขันลั่นสงครามราคาไม่ระคายผิว 'ไพรม แมนชั่น'บุกตลาดคอนโดเปิด'โกลเด้นท์ โคสท์'ขยายฐาน นายแทนธวัช เรืองศร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพรม แมนชั่น เปิดเผยว่าหลังจากที่ไพรม แมนชั่น ประสบความสำเร็จกับการลงทุนในตลาดอสังหา ในเขตกรุงเทพฯ ทำให้มองหาช่องว่างและโอกาสขยาย ตลาดสู่พื้นที่ใหม่ๆ ล่าสุดจึงขยายการลงทุนสู่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี กับคอนโดมิเนียมระดับกลางถึงระดับบน โกลเด้นท์ โคสท์ แม้ว่าการขยายทำเลลงทุนในครั้งนี้จะเป็นโครงการแรกของบริษัทที่สร้างใน อ.ศรีราชาก็ ตามแต่มั่นใจว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี TPOLYยิ้มร่าซดงาน560ล้านโบรกเคาะเป้าหมาย2.90บาท TPOLY คุยฟุ้งได้งานใหม่ 560 ล้านบาท มั่นใจสิ้นปีตุนงานในมือไม่ต่ำกว่า 4 พันล้านบาท ทยอยรับรู้ รายได้ในปีหน้าไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท พร้อมเข็นเป้ารายได้ 20% ต่อเนื่องจากปีนี้ที่คาดว่าจะแตะ 2 พันล้านบาท ฟากนักวิเคราะห์ส่องกำไรทั้งปีอยู่ที่ 88 ล้านบาท เติบโต 122% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปีหน้าคาดกวาดกำไรได้ที่ 103 ล้านบาท แนะ "ซื้อ" เคาะเป้า 2.90 บาท 'JUBILE'โชว์ฟอร์เจ๋งเข็นรายได้ปีหน้าโต20% "อัญรัตน์ พรประกฤต" หัวเรือใหญ่ JUBILE หน้าบาน ไตรมาส 4/2553 ผลงานดีต่อเนื่อง มั่นใจ ทั้งปีรายได้โต 20% งวด 9 เดือนแรกของปีนี้โกยกำไรแล้ว 72 ล้านบาท ส่งซิกรายได้ปีหน้าโต 15-20% จ่อเปิดสาขาเพิ่ม 10 สาขาด้านนักวิเคราะห์คาดกวาดกำไรปีนี้ไม่ต่ำกว่า 95 ล้านบาท มองรายได้ปีหน้าทะลุ 700 ล้านบาท กำไร 106 ล้านบาท แนะ"ซื้อ" เป้า 6.25 บาท maiโกยกำไรQ3/53พุ่ง126% บจ.เอ็มเอไอ แกร่งโชว์กำไรรวมพุ่งกระฉูด 126% อยู่ที่ 754 ล้านบาท ส่วนลด 9 เดือนแรกของ ปีนี้กวาดได้ 1.98 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 38%--จบ-- สรุปข่าว หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น 22 พ.ย.--ข่าวหุ้น Distributor - Bisnews AFE สามารถผนึกหัวเว่ย! ฮุบเครือข่าย 3 จีทีโอที ดีแทคฮึ่มฟ้องกสทฯ ขอเรียกคืนคลื่น 850 จากทรู "สามารถ" ผนึก "หัวเว่ย" ยักษ์ใหญ่สื่อสารโลกยื่นประมูลติดตั้งระบบเครือข่าย 3 จีปลายเดือนนี้ ล่าสุดทั้ง 2 ฝ่ายบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นแล้ว วงในเชื่องานนี้มีโอกาสชนะประมูลสูง เหตุได้ทั้งพันธมิตรแข็ง แกร่งแถมคอนเน็กชั่นทีโอทีเหนียวแน่น โอกาสที่รายอื่นเบียดได้ยาก ฟาก "บิ๊กเทเลนอร์" พบมาร์คย้ำพร้อม ลงทุนไทย แต่ผิดหวัง กสทฯ ไม่อนุมัติให้ทดลองคลื่น 850 ตามสัญญา ขู่ไม้ตายหากไม่คืบหน้าเรียกคืนคลื่น จากทรูมูฟแน่ ILINK กำไร Q4 กระโดด โชว์แบ็กล็อก 500 ล้าน ILINK ไตรมาส 4 เทิร์นอะราวด์ "สมบัติ" การันตีถึงเวลารับรู้แบ็กล็อก 500 ล้านบาท ธุรกิจขาย ส่งสายสัญญาณขาขึ้น ฟาดรายได้ถึง 80 ล้านบาท ต่อเดือนชี้ ครม. เห็นชอบนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติยิ่ง เข้าทางวงการเงินชี้กำไรโต Q4 ทะลุ 40 ล้านบาท 3 หุ้นเด่นอสังหากำไร Q4 สุดเริ่ด ได้ดีโอนคอนโด กลุ่มอสังหาฯ Q4 กระเด้งรับยอดโอนพุ่ง ชู 3 หุ้นเด่น "SPALI-LPN-SC" คาดรายได้-กำไรนิวไฮ รอบปี ได้ดีบุ๊คโอนคอนโด แถมยีลด์ปันผลสูง 5-6% โบรกฯ แนะ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 19.06 บาท 13.32 บาท และ 23.83 บาท ตามลำดับ บจ. mai กำไรสนั่นทุ่ง ไตรมาส 3 ปรี๊ด 126% "บจ." mai กำไรไตรมาส 3 กระฉูด สุด 126% ฟันเหนาะ ๆ 754 ล้านบาท นำทีม 11 บริษัท ดาวเด่นหุ้น จิ๋วแต่แจ๋ว เติบโตต่อเนื่อง "ชนิตร" ชู 51 บจ. กำไรจากทั้งหมด 63 แห่ง ส่วนช่วง 9 เดือนกำไรโต 38% BANPU กำไร RATCH 3.6 พันล้าน BANPU เตรียมบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้น RATCH จำนวน 3,640 ล้านบาท ภายในไตรมาส 4/53 มั่นใจหนุนกำไรสุทธิต่อหุ้นปี'53 เพิ่มขึ้นอีก 9.38 บาทต่อหุ้น ด้านผู้บริหารเตรียมนำเงินไปซื้อเหมือง ถ่านหินในออสเตรเลียเพิ่ม สคร.เสนอโละหุ้น TMB ชวนไอเอ็นจีขายหุ้นทิ้ง สำนักรัฐฯ เตรียมเสนอขายหุ้นทหารไทย พร้อมชวนไอเอ็นจีกรุ๊ปขายพร้อมกัน เหตุคนซื้อต้องการ บริหารเพียงรายเดียวหากไอเอ็นจีแทงกั๊กขายลำบาก ขณะที่ยักษ์สีส้มไร้แผนซื้อหุ้นเพิ่ม ติดปัญหาหนี้เก่า ปตท.การันตีรายได้ปีนี้ 2 ล้านล้าน ราคาสินค้าเพิ่มทุกตัว เชื่อกำไรปีนี้โตกว่า 30% "ประเสริฐ" มั่นใจปีหน้า ปตท.รายได้โตไม่น้อยกว่า 10% จากปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท เหตุราคาขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นทุกภาคธุรกิจ ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันและปิโตรเคมีขยับเพิ่ม ด้านโบรกฯ คาดกำไรปีนี้เติบโต 30% จากปีก่อน GLOW จังหวะซื้อเป้าหมาย 60 บาท ปี 55 ก้าวกระโดด GLOW ราคาลง ได้โอกาสเข้าซื้อ ราคาเป้าหมาย 60 บาท แม้ปี 2554 มีแนวโน้มรายได้ลดลงจาก เงินบาทที่แข็งค่า และผลขาดทุนจากโครงการห้วยเหาะในลาว ที่อาจประกาศภัยแล้ง มีความเสี่ยงที่จะ เกิดผลขาดทุน 200 ล้านบาท เชื่อกำไรมีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดดในปี 2555 CSP ฟุ้งปีหน้ารายได้ 2.8 พันล้าน เดินหน้าเพิ่มกำลังผลิต 20% ขานรับราคาเหล็กปรับขึ้น CSP ฟุ้งรายได้ปี 2554 โต 15% จากปีนี้คาดว่ารายได้จะอยู่ที่ 2,700-2,800 ล้านบาท มองความ ต้องการใช้เหล็กเริ่มปรับเพิ่มขึ้น หลังเหตุการณ์น้ำท่วมลด ทำให้ต้องซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ราคาเหล็กในไตรมาส 1/54 มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น เตรียมงบ 30 ล้านบาทซื้อเครื่องจักรใหม่ เพิ่ม กำลังการผลิตอีก 20% ส่วนทั้งปี 2553 คาดโตกว่าเป้าที่ตั้งไว้ขยายตัว 20% จากยอดการขายที่เพิ่มขึ้น PLUS ส่งสัญญาณธุรกิจสดใส รายได้โฆษณาสูง-ต้นทุนต่ำลง "ชวนพิศ" ยิ้มได้หลัง PLUS โชว์ผลประกอบการ 9 เดือนพลิกเป็นกำไรสุทธิและเพิ่มขึ้นถึง 377% เทียบกับปีก่อน ระบุเป็นผลที่เกิดจากการดำเนินงานอย่างแท้จริงโดยมีรายได้สำคัญมาจากค่าโฆษณา พร้อม บริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนภาพผู้บริหารตั้งใจทำงานจริง พร้อมชี้เป็นสัญญาณบอกให้รู้อนาคต PLUS จะเป็นบริษัทพื้นฐานดีได้แน่ SIRI ส่อเค้าการเงินอ่อนแอ เปลี่ยนบุ๊คบัญชีใหม่กดดันกำไรสะสมลด-ดีอีเพิ่ม "แสนสิริ" ไตรมาส 4/53 เปลี่ยนมาตรฐานบัญชีรับรู้รายได้เมื่อโอน ส่งผลกระทบงบปีนี้ กำไรสะสม ลดลง 1 บาทต่อหุ้น และเพิ่มแรงกดดันอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงขึ้นในปีหน้า ส่อเค้าฐานะการเงินไม่แข็งแรง กดดันการเติบโตในอนาคต บล.กิมเอ็งแนะเต็มมูลค่า เป็น 6.50 บาท ส่วน บล.ฟินันเซียฯเชียร์ "ซื้อ" แต่ลดราคาเป้าหมายเหลือ 7.20 บาท "การบินไทย" พิรุธซื้อไทเกอร์แอร์ แค่เบี้ยล่างเทมาเส็ก ไร้อำนาจบริหารจัดการ วงในคมนาคมจวกบอร์ดจำปี แถมตั้ง Thai Tiger Airways ชี้ ส่อพิรุธหลายเรื่อง ต้องพิจารณา ให้รอบคอบ ทั้งกรณีการพลิกลิ้นขอใช้งบลงทุนปกติ และสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่พยายามเลี่ยงให้ถูกกฎหมาย เชื่อแท้ จริงแล้ว THAI ง่อยเปลี้ย ไร้อำนาจบริหารในสายการบินใหม่ กูเกิ้ลรุกตลาดใหม่ ๆ รับพนักงานทั่วโลก มากกว่าสองพันคน กูเกิ้ลมีแผนการที่จะจ้างพนักงานทั่วโลกมากกว่า 2,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบ 6 เท่า เตรียมขยายกิจการเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ และแย่งตัวผู้ที่มีความสามารถแข่งกับบริษัทคู่แข่งที่กำลังเติบโต เร็ว อย่างเช่นเฟซบุ๊ค เศรษฐกิจไทย-มาเลย์จะชะลอตัว ลดโอกาสแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย คุมเงินเฟ้อ นักเศรษฐศาสตร์คาด การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยและมาเลเซียน่าจะชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส สุดท้าย หลังจากที่ดีมานด์ทั่วโลกลดลง ซึ่งจะลดโอกาสที่ธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งที่ราคา โภคภัณฑ์สูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงเงินเฟ้อ นักเศรษฐศาสตร์ฟันธงจีนจะขึ้นดอกเบี้ยอีก นักวิเคราะห์ของธนาคาร 9 แห่ง ที่บลูมเบิร์ก นิวส์ ได้สำรวจความเห็นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกภายในปลายเดือนธันวาคม หลังจากที่ได้ปรับขึ้นเมื่อ เดือนที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 2550 "มาร์ค" ยืดอกรับผิดหากรธน.แท้ง "อภิสิทธิ์" เชื่อพันธมิตรฯชุมนุมสงบ อ้างแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ทำ 2-3 วันจบ ชี้ถ้ามีปัญหาค่อยพิจารณา ใหม่ ยันไม่ใช่ประเด็นความขัดแย้ง โยนสภาพิจารณาร่าง "เหวง" ถกหรือไม่ ลั่นพร้อมรับผิดชอบถ้าบาน ปลาย เมอร์เซเดสเบนซ์โชว์ทีเด็ด เปิดตัว 2 รุ่นควบ เจาะลูกค้าครอบครัว เมอร์เซเดส-เบนซ์ โชว์ทีเด็ดมอเตอร์เอ็กซ์โป จ่อเปิดตัว E-Class Estate ควบ R-Class ด้านผู้บริหารลั่น หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายครอบครัว เคาะราคาขาย E-Class Estate 4,949,000 บาท ส่วน R-Class เริ่มต้นที่ 5,899,000 บาท แถมปรับราคาขายลงทีเดียว 7 รุ่น ขานรับนโยบายใช้อี 20 ทองคำยังขาขึ้นแนะลุยเล่นสั้น หาช่องทำกำไร นายธนสิน กลีบลำเจียก รองประธาน ฝ่ายการค้าทอง บริษัท ออสสิริส จำกัด เปิดเผยว่า ราคา ทองคำภายในประเทศช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แม้ช่วงที่ผ่านมาราคาทองจะมีความผันผวน อยู่บ้างแต่เชื่อว่าราคาทองยังคงปรับตัวในระดับสูง โดยคาดว่าจะเคลื่อนตัวอยู่ที่ 1,400-1,450 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ กองทุนชี้หุ้นไทยปี 54 ยังหอม ต่างชาติเงินซื้อรอบใหม่เล็ง "แบงก์-พลังงาน" บลจ.กรุงไทย มองต่างชาติยังปลื้มไทยเตรียมขนเงินเข้าลงทุนรอบใหม่ต้นปีหน้า หุ้นแบงก์-พลังงาน ยังเนื้อหอมดึงเม็ดเงินเข้ามาลงทุน ส่วนหุ้นไทยปีนี้ได้ LTF ช่วยกู้สถานการณ์ หลังต่างชาติหอบเงินออกหวัง ฉลองวันหยุดยาว คลังเสนอ 3 ทางปิดกองทุนฯ รับอยากขายกรุงไทย แต่ราคาขายต้องเจ๋ง คลังเสนอ 3 แนวทาง ปิดกองทุนในปีหน้า แนวทางแรกลดขนาดกองทุน ทางที่สองโอนทรัพย์ไปสถาบัน คุ้มครองเงินฝาก และตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลทรัพย์สิน ส่วนหุ้นแบงก์กรุงไทย กองทุนฟื้นฟูฯ อยากขายแต่ต้อง ได้ราคาดี โยนกรุงไทยศึกษาอยากเป็นของรัฐต่อหรือไม่ TMB เล็งเอสเอ็มอีปีหน้าสินเชื่อปรี๊ด งัดโมเดลจาก ING นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหาร ไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอส เอ็มอี) ของ ธนาคารในปี 2554 นั้น เบื้องต้นจะเน้นเติบโตสินเชื่ออย่างต่อเนื่องและเน้นไปที่การแข่งขัน กับคู่แข่งในตลาดมากขึ้น ในขณะที่การเติบโตจะอิงกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของประเทศ ที่ประเมินว่าในปีหน้าจีดีพีน่าจะขยายตัวเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 4% เพราะฉะนั้นในส่วนเป้าหมายสินเชื่อ เอสเอ็มอี ของธนาคารก็คาดว่าจะสามารถเติบโตได้มากกว่าจีดีพีถึง 2 เท่า ตลท. IPO อีทีเอฟไชน่าวันนี้ คาดราคาเปิดสูง 7 บาทกว่า ดีเดย์ ขาย IPO อีทีเอฟไชน่าวันนี้ ( 22 พ.ย.) ตลท.ยัน ถือเป็นกองที่ 4 ของไทยและเป็นอีทีเอ ฟที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ต่างประเทศเป็นกองแรก ในการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนไทย มั่นใจ ได้รับความสนใจดี บลจ.กรุงไทย ชี้ราคา IPO อยู่ที่ 7 บาทกว่า สศค.เตือนแมงเม่าอย่าแพนิค สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเตือนนักลงทุนอย่าตกใจ กระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นวันละ 5 พัน ล้าน และตลาดบอนด์ 1.8 หมื่นล้านเป็นแค่ชั่วคราว และคาดว่าจะไหลกลับมาอีกครั้งประมาณปลายเดือน ธันวาคมหลังยุโรปประกาศมาตรการแก้ไขหนี้ชัดเจน ด้านสรรพากรยันไม่มีมาตรการภาษีสกัดเงินทุนไหลเข้า --จบ--
  24. สรุปข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 22 พ.ย.--ไทยรัฐ Distributor - Bisnews AFE "จุติ" ฉุนสางสัญญาสัมปทานมือถืออืด นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือ แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ไปเร่งรัดคณะกรรมการมาตรา 22 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน สะสางสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือระหว่างทีโอที กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส สัญญา กสท กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และ กสท กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ซึ่งแต่ละสัญญามีการแก้ไขไม่ ต่ำกว่า 7 ครั้ง โดยทีโอทีและ กสท จะต้องรายงานให้ทราบภายใน 15 ธ.ค.นี้ "โตเกียวมารีน" ประกาศยึดที่ยืนท้าชนยักษ์ เชื่อมั่นธุรกิจประกันชีวิตไทย โตเกียวมารีน ยักษ์ประกันเบอร์ 1 ของญี่ปุ่น ประกาศรุกไทยเต็มสูบ พร้อมเพิ่มทุนรองรับการเติบโต ท้าชนยักษ์ใหญ่ หลังเข้ามาดำเนินกิจการครบ 4 ปี ตั้งเป้ากอดส่วนแบ่งตลาด 5% เผยธุรกิจประกันชีวิตใน ไทยยังโตได้อีก มั่นใจใช้จุดเด่นบริษัทเอเชียเข้าใจคนเอเชีย มันมาอีกแล้ว! น้ำตาลขาดตลาด ชาวบ้านร้องเซ็งแซ่ "พาณิชย์" กวักมือเรียกค้าปลีก นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ต้นสัปดาห์นี้กรมจะเชิญผู้ประกอบการห้าง ค้าปลีก (โมเดิร์นเทรด) ทุกราย มาหารือถึงสถานการณ์น้ำตาลทรายตึงตัว หาซื้อได้ยากตามนโยบายของ รมว.พาณิชย์ หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าถูกจำกัดการซื้อน้ำตาลทรายบรรจุถุง 1 กก.ต่อ รายภายในห้างค้าปลีก ว่าเป็นเพราะเหตุใด และจะหามาตรการแก้ไขปัญหาให้ หากเป็นเพราะผู้ผลิต น้ำตาลทรายบรรจุถุงลดการผลิตเพราะขาดทุนจากต้นทุนถุงมีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจาการเก็บค่า ธรรมเนียมแรกเข้า (เอ็นทรานซ์ ฟี) ของห้างค้าปลีกสูงเกินไป ก็อาจขอความร่วมมือเป็นกรณีพิเศษ ให้ ห้างค้าปลีกลดค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับสินค้าน้ำตาลในระยะสั้น เพื่อให้ปัญหาตึงตัวคลี่คลายลง เกษตรแนะทางสร้างรายได้หลังน้ำท่วม นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปัญหาน้ำท่วมหลายพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นวงกว้าง จึงจำเป็นต้องเร่งช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยใน ช่วงระหว่างรอความชื้นในดินลดลงและรอปรับปรุงโครงสร้างดิน แนะนำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนระบบการ ปลูกพืชใหม่ จากที่ปลูกลงดินเปลี่ยนมาปลูกในถุงพลาสติกหรือปลูกในกระถางแทน โดยเลือกชนิดพืชให้สอดรับ กับความต้องการของตลาดในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น คริสต์มาส ปีใหม่ และเทศกาลตรุษจีน "พืชที่สามารถ ปลูกในถุงพลาสติกหรือกระถางได้ มีทั้งไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว สำหรับกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่ ตลาดมีความต้องการสูงและมีราคาแพงในช่วงฤดูหนาวและเทศกาลดังกล่าว ได้แก่ สร้อยทอง ซาเวีย เบญจมาศ ดาวเรือง รวมทั้งไม่ตัดดอก เช่น เยอบีรา ส่วนกลุ่มพืชผักที่มีโอกาสในตลาดช่วงฤดูหนาว ได้แก่ พืชผักรับประทานผลหรือฝัก เช่น มะระจีน ถั่วฝักยาว กระเจี๊ยบเขียว จะมีราคาสูง เนื่องจากช่วงฤดู หนาวจะเติบโตค่อนข้างช้า อัตราการติดฝักและติดผลต่ำ ทำให้มีปริมาณผลผลิตน้อย ราคาจะแพงมาก ดังนั้น จีงควรวางแผนการผลิตให้สอดรับและตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค--จบ-- สรุปข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 22 พ.ย.--เดลินิวส์ Distributor - Bisnews AFE ศึกษาเพิ่มค่าแรงปวช.-ปวส. ล่อใจเด็กเรียนวิชาชีพอุตฯ ต้องการมหาศาล นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า มีแนวคิดที่จะเสนอให้ กระทรวงศึกษาธิการปรับเพิ่มฐานเงินเดือนช่างฝีมือที่จบการศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. ใหม่จากเดิมที่ เฉลี่ย 7,000-8,000 บาทต่อเดือน เป็น 9,000-10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับปริญญาตรี เพื่อจูงใจให้ผู้ปกครองส่งเสริมให้บุตรหลานเข้ามาเรียนหนังสือด้านวิชาชีพด้านช่างมากกว่าที่จะให้เรียน ระดับปริญญาตรี เนื่องจากในอนาคตแนวโน้มความต้องการแรงงานฝีมือของภาคอุตสาหกรรมจะมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการย้ายฐานกำลังการผลิตของทุนต่างชาติเข้ามาอยู่ในเมืองไทย น้ำท่วมภาคใต้พินาศ 3 หมื่นล้าน นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจภาค หลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. ได้ประเมินผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดเพิ่มเติมจากเดิมที่ ประเมินเบื้องต้นเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ขณะนี้ได้ประเมินส่วนของภาคใต้ด้วย โดยน่าจะมีความ เสียหายทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ล้านบาท เป็นกว่า 30,000 ล้านบาท หรือ กระทบการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) 0.3% จากเดิมมองไว้ 0.2% โดยยังไม่มีการรวมผลกระทบของการแข็งค่าขึ้น ของเงินบาทที่น่ากระทบอีก 0.1%--จบ--
×
×
  • สร้างใหม่...