ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

teerana

ขาประจำ
  • จำนวนเนื้อหา

    49
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย teerana

  1. สวัสดีค่ะ เดี๋ยวนี้มลพิษตามท้องถนนเยอะจนรับมือไม่ทันถึงจะไม่ชอบแต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะคนใช้รถใช้ถนนอย่างเรา ๆ แต่ถ้าเรารู้จักเลือกรถยนต์มาขับขี่ก็จะสามารถช่วยให้มลพิษบนท้องถนนได้ ดีต่อทั้งตัวเราและผู้อื่นด้วย ใครจะคิดว่าสิ่งเล็กๆ อย่าง ‘ฝุ่นละออง’ จะกลายเป็นต้นเหตุของปัญหาใหญ่ระดับโลกได้ หลายปีที่ผ่านมาเมืองใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอย่าง ปักกิ่ง นิวเดลี ต้องประสบกับปัญหาวิกฤตฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนจำนวนมาก ล่าสุดสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของกรุงปักกิ่งเปิดเผยว่า คุณภาพอากาศอยู่ที่ระดับ ‘ดี’ และ ‘ดีเยี่ยม’ จากการวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยอยู่ที่ 34 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ซึ่งมาตรฐานคุณภาพอากาศระดับชาติอยู่ที่ 35 มคก./ลบ.ม. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณภาพอากาศของจีนพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น คือการลดการผลิตรถยนต์และรถตู้ที่ใช้น้ำมันดีเซลและเบนซิน และตั้งเป้าให้มีการใช้รถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริด ให้มีสัดส่วนอย่างน้อย 1 ใน 5 ของรถยนต์ที่ขายในจีนภายในปี 2025 เพื่อต่อสู้กับปัญหามลพิษและก๊าซคาร์บอน ย้อนกลับมาที่กรุงเทพฯ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนเริ่มตระหนัก โดยเฉพาะในปีนี้ที่เกิดขึ้นเร็วและนานกว่าปีที่ผ่านมา หนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดปรากฏการณ์นี้ คือการเผาไหม้ของเครื่องยนต์อย่างไม่มีประสิทธิภาพ คงดีกว่า หากหลังจากนี้คนไทยจะเลือกใช้รถยนต์ที่ทำให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด กว่า 2 ทศวรรษแล้วที่โตโยต้าได้คิดค้นและผลิตนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลก นั่นคือรถยนต์ไฮบริด รถที่ขับเคลื่อนได้จากการใช้ทั้งเชื้อเพลิงจากน้ำมันและพลังงานจากไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งเริ่มจำหน่ายรุ่นแรกคือ Toyota Prius ในปี 1997 ถือเป็นไฮบริด Generation 1 และยังได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าจนมาถึงยุคนี้ ยุคของไฮบริด Generation 4 ไฮบริดรุ่นที่ 4 ตอบทุกข้อสงสัย ประเด็นสำคัญที่อาจทำให้ผู้คนกล้าๆ กลัวๆ ยังไม่เลือกใช้รถยนต์ไฮบริด อาจจะเป็นเพราะกังวลเรื่องอายุของแบตเตอรี่ว่าจะใช้งานได้ยาวนานมากน้อยแค่ไหน และราคาแบตที่ว่าแพงนักหนา รวมไปถึงวิธีการดูแลยากกว่าปกติหรือไม่ เรื่องนี้โตโยต้ามีคำตอบอยู่ที่ไฮบริดรุ่นล่าสุด Generation 4 ซึ่งถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของแบตเตอรี่ ที่เป็นแบตเตอรี่ไฮบริด Ni-MH (Nickel-Metal Hydride) ที่มีขนาดเล็กลง เก็บประจุไฟฟ้าได้เร็วขึ้น และสามารถจ่ายไฟให้แก่มอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนาระบบระบายความร้อนใหม่ ช่วยให้ทนทานและประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีระบบ PCU (Power Control Unit) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น ช่วยให้ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไฮบริดรุ่นที่ 4 นี้ถูกนำมาใช้ในโตโยต้า C-HR ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นานอีกด้วย สำหรับหลายคนที่ยังกังขาในความปลอดภัยของแบตเตอรี่ หรือสงสัยว่าหากตัวรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบนี้ต้องลุยมวลน้ำรอการระบายในเมืองกรุงแล้วจะเป็นอย่างไร ทางโตโยต้าเองได้พัฒนาความปลอดภัยของตัวแบตเตอรี่นี้ให้สามารถลุยน้ำได้ในระดับ 10-30 เซนติเมตร เทียบเท่ารถยนต์ปกติทีเดียว ส่วนความปลอดภัยอื่นๆ ที่พัฒนาขึ้นมาของแบตเตอรี่ตัวนี้ ได้แก่ การตัดไฟอัตโนมัติเมื่อมีการชนเกิดขึ้น ตัวแบตเตอรี่ไฮบริดเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ที่ถุงลมนิรภัย ซึ่งเมื่อถุงลมนิรภัยทำงานด้านตัวแบตเตอรี่จะทำการตัดไฟอัตโนมัติ แบตเตอรี่นี้จะมีเบรกเกอร์เหมือนกับไฟในบ้าน ซึ่งเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเบรกเกอร์ก็จะตัดลงมา มีตัววัดแรงเคลื่อนหรือโวลต์ของกระแสไฟ ซึ่งหากมีกระแสไฟออกมามากเกินไป ก็จะทำการตัดไฟอัตโนมัติ และตัวแบตเตอรี่ไฮบริดเองยังมีประกันนานถึง 10 ปี รถยนต์ที่ขับเคลื่อนผู้คนไปด้วยพลังงานไฮบริด ในปัจจุบันพลังงานทางเลือกนับว่าอยู่ในกระแสความสนใจของผู้คน รถยนต์ไฮบริดก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะรถยนต์ไฮบริดเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนจะมาจากการชาร์จไฟเข้าขณะที่รถกำลังแล่นอยู่บนถนน ผ่านเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง หากเมื่อชาร์จไฟได้ประมาณ 80% ของแบตเตอรี่ เครื่องยนต์ก็จะทำงานร่วมกับระบบไฟฟ้าในขณะขับเคลื่อน จึงใช้เชื้อเพลิงน้อยลง กินน้ำมันน้อยลงอย่างชัดเจน รวมถึงระบบสามารถแปลงพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นจากการชะลอเบรกหรือหยุดรถ ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าส่งกลับไปเก็บในแบตเตอรี่ไฮบริดอีกด้วย ทำให้มลพิษที่ปกติจะเกิดจากการสันดาปของเครื่องยนต์ลดลงไปด้วย ช่วยในเรื่องการลดมลพิษได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น โตโยต้า พริอุส มีอัตราปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนน้อยกว่ารถยนต์เบนซินขนาด 1.8 ลิตรทั่วไปถึง 55 กรัมต่อกิโลเมตร ซึ่งปริมาณไอเสียที่ลดลงดังกล่าว เปรียบเทียบได้กับการปลูกต้นไม้กว่า 100 ต้นต่อปีเลยทีเดียว จุดนี้ทำให้ถูกใจกลุ่มคนที่สนใจสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้รถยนต์ไฮบริดกันมากขึ้น Toyota C-HR ไฮบริดรุ่นล่าสุด ประหยัดที่สุด เป็นมิตรที่สุด สำหรับ Toyota C-HR (Coupe High Rider) นับเป็นรถไฮบริดรุ่นที่ 4 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอกย้ำแนวคิด Ever Better Car กับการพัฒนาให้แบตเตอรี่ไฮบริดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมรับประกัน 10 ปี และระบบไฮบริดอีก 5 ปี จากรถยนต์ไฮบริดที่ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยโตโยต้าเป็นเจ้าแรก จนมาถึงรุ่นที่ 4 ในปีนี้ บ่งชี้ถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างสรรค์ยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่มาวันนี้เมื่อคนเมืองต้องเจอปัญหามลพิษใหญ่อย่างฝุ่นละอองในอากาศสูงเกินค่ามาตรฐาน อันมีสาเหตุหนึ่งมาจากเรื่องของมลพิษจากรถยนต์ โตโยต้าไฮบริดอาจเป็นอีกทางเลือกที่พร้อมรองรับทุกการขับขี่ของผู้ใช้ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องของความประหยัด ความทนทาน และความปลอดภัยในการใช้งาน คุณยังได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย เห็นไหมคะแค่เรารู้จักเลือกให้เป็นเราก็จะได้สิ่งดี ๆ ทั้งต่อตัวเราและต่อผู้อื่นที่ใช้รถใช้ถนน ขอบคุณข้อมูลจาก https://thestandard.co/toyota-hybrid-car/
  2. สิ่งที่ทุกคนต่างกังวลใจเมื่อเอ่ยถึงชื่อรถยนต์ไฮบริดนั่นก็คงหนีไม่พ้น การดูแลรักษาใช่ไหมล่ะคะ เพราะเนื่องจากรถยนต์ไฮบริดนั้นยังถือว่าใหม่สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ไม่น้อย หลาย ๆ คนยังมองว่ารถไฮบริดนั้นมีระบบที่ซับซ้อน การซ่อมบำรุงก็คงจะยุ่งยาก แต่ในวันนี้ทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเครื่องยนต์ระบบไฮบริด (ไฮบริด ฟอรั่ม) เพื่อเป็นการให้ความรู้และเสริมทักษะในการซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์ไฮบริดแก่อู่ที่ให้บริการซ่อมรถยนต์ทั่วไป เพื่อรองรับการให้บริการแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฮบริดที่จะเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต และให้ผู้ใช้รถยนต์ไฮบริด หรือผู้ที่กำลังตัดสินใจจะใช้รถยนต์ไฮบริดได้มีความมั่นใจเพิ่มขึ้นในเรื่องการบำรุงรักษา “ช่างพูด” เมื่อเข้าใจระบบไฮบริดแล้ว การซ่อมบำรุงก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จากเสียงของช่างที่เข้าอบรมไฮบริด ฟอรั่ม ว่าก่อนหน้าที่จะได้เข้าอบรม หลายๆ คนอาจจะยังมีความรู้ในเรื่องระบบต่างๆ ของไฮบริดไม่มากนัก แต่หลังจากผ่านการอบรม ซึ่งโตโยต้าได้แบ่งออกเป็นฐานต่างๆ โดยนำเอาความรู้เกี่ยวกับระบบไฮบริดหลักๆ เช่น แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า และระบบเกียร์ มาอธิบายให้เข้าใจอย่างละเอียด ทำให้ผู้เข้าอบรมต่างมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในการที่จะซ่อมบำรุงรถยนต์ไฮบริดต่อไปในอนาคต "ก่อนหน้านี้จะคิดว่า ระบบไฮบริด เป็นอะไรที่ยุ่งยาก ซับซ้อน แต่พอมาอบรมแล้ว รู้สึกว่ามันไม่ได้ต่างอะไรกันมากมายกับรถยนต์ธรรมดาทั่วไปเลย ยิ่งเราได้เรียนรู้ระบบเซฟตี้อย่างถูกต้องเวลาจะทำการซ่อมบำรุงจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านรถไฮบริดแล้ว ทำให้มั่นใจในการให้บริการซ่อมรถไฮบริดมากยิ่งขึ้น" จเด็จ นพคุณ จากชวลิต ออโต้ แอนด์บอดี้เซอร์วิส "การซ่อมบำรุงก็จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไปแล้วครับ พอมาเข้าใจระบบไฮบริดแล้ว ไม่ได้ยากอะไรเลย ที่สำคัญการบำรุงรักษาพื้นฐานนั้นไม่ได้แตกต่างจากรถยนต์ทั่วไป เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก หรือการเปลี่ยนอะไหล่ต่างๆ นั้น เมื่อเทียบกันแต่ละรายการแล้วราคาไม่ได้ต่างกันกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเลย เมื่อมองถึงความคุ้มค่าที่เราได้จากการประหยัดน้ำมันแล้ว มันดีจริงๆ ครับ" ชูเดช ศรวิโรจน์ จาก My Car Garage รถยนต์ไฮบริดดูแลไม่ได้ยากอย่างที่คิด อู่ไหนก็ทำได้ "ต่อไปนี้ ไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลรถไฮบริดแล้วครับ หลังจากที่ได้ผ่านการอบรมครั้งนี้ ทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องรถไฮบริดมากขึ้น และรู้ว่าระบบไฮบริดไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย มั่นใจได้เลยครับว่า อู่ไหนๆ ก็สามารถดูแลรถไฮบริดให้คุณได้ เพราะไม่ได้ต่างอะไรกับรถยนต์สันดาปภายในเลย" ไกรสร ทาดี จาก TSC หลังจากที่จบการอบรมไฮบริด ฟอรั่มไปแล้วนั้นก็ทำให้ช่างหลาย ๆ คนได้รับความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ระบบไฮบริดอย่างถูกต้องมากขึ้น และมีความมั่นใจในการซ่อมบำรุงรถยนต์ไฮบริดเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับการใช้รถยนต์ไฮบริดที่จะมีเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต ดังนั้นผู้ที่ยังลังเลใจที่จะเลือกใช้รถยนต์ไฮบริด ในเรื่องการดูแลรักษา น่าจะคลายความกังวลไปได้บ้าง เพราะช่างหลายๆ คน ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไฮบริดดูแลได้ ง่ายนิดเดียว" ขอบคุณข้อมูลจาก https://car.kapook.com/view189870.html
  3. รถยนต์ไฮบริด หรือรถยนต์พลังงานทางเลือก ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่มาวันนี้เมื่อคนเมืองต้องเจอปัญหามลพิษใหญ่อย่างฝุ่นละอองในอากาศ สาเหตุหนึ่งมาจากเรื่องของมลพิษจากรถยนต์ การใส่ใจและให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม คือสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องหาทางออกร่วมกัน รถยนต์ไฮบริด หรือ HEV’ จึงเป็นสิ่งที่ถูกยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยครั้ง โดยเริ่มต้นจากการก้าวเข้าสู่ยุคไฮบริดเสียก่อน เป็นการเปลี่ยนผ่านก่อนที่เราจะก้าวไปสู่ยุคของรถไฟฟ้าอย่างเต็มตัว รถยนต์ไฮบริดจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ณ เวลานี้ The MATTER มีโอกาสได้พูดคุยกับ นาย รวิศ หาญอุตสาหะ ผู้บริหารหนุ่มแห่งศรีจันทร์สหโอสถ ที่เคยมีประสบการณ์ใช้รถยนต์พลังงานทางเลือก ถึงมุมมองต่ออนาคตของการใช้พลังงานทางเลือกที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ HYBRID และรถยนต์ไฟฟ้า ในเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็ว มองว่ามีทางไหนที่จะทำให้เราสามารถเตรียมความพร้อมก่อนที่จะหันไปใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ได้ดีที่สุด การใช้รถยนต์ไฮบริดเป็นการทำให้เราชินระดับหนึ่ง จากการใช้เครื่องยนต์ทั่วไปแบบร้อยเปอร์เซ็นต์มากว่าร้อยปี ตอนนี้ก็มีทางเลือกที่สองคือรถยนต์พลังงานทางเลือก หรือรถยนต์ไฮบริด ซึ่งเป็นการเตรียมตัวที่จะเข้าสู่รถยนต์ในอนาคตที่อาจจะไม่ใช้น้ำมันเลย ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของความเข้าใจเป็นหลัก สิ่งที่เป็นประเด็นเลยคือเรื่องของการให้ความรู้ คนไทยจำนวนมาก ค่อนข้างกลัวเรื่องของแบตเตอรี่รถ ยกตัวอย่างรถยนต์ที่ไร้คนขับ ปีหนึ่งมันขับไม่รู้กี่ร้อยล้านกิโลเมตร อาจจะมีเคสคนตายแค่ 1 คน แต่ข่าวดังมาก ในขณะที่รถยนต์ที่มนุษย์ขับมีคนตายปีหนึ่ง 2 ล้านคน จนชินกันไปหมดแล้ว ซึ่งก็คล้ายๆ กัน พอเป็นของใหม่มีเรื่องนิดหนึ่งจะถูกขยายจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ จริงๆ เทคโนโลยีนี้ไม่ได้ซับซ้อนหรือซ่อมยากขนาดนั้น ยิ่งรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบมาก็ยิ่งต้องให้ความรู้คนใช้มากขึ้น ถ้าคนมีความรู้เรื่องนี้เยอะขึ้น ในที่สุดภาครัฐก็จะเริ่มต้องปรับตัวตาม แน่นอนว่าการช่วยเหลือจากภาครัฐไม่ใช่แค่การช่วยเหลืออย่างเดียว แต่เป็นการสนับสนุนด้วย ซึ่งในประเทศต่างๆ ภาครัฐมีส่วนอย่างมากในการทำให้รถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกมีโอกาสเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ แสดงว่าภาครัฐมีส่วนสำคัญในการทำให้คนมองเห็นถึงปัญหาเรื่องพลังงานมากขึ้น เป็นอีกก้าวหนึ่งที่รัฐจะต้องให้ความรู้กับประชาชน เป็นกลไกที่สำคัญมากๆ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดขึ้นได้ รถไฟฟ้า EV แท้ๆ ทุกวันนี้จะแพงมาก ถ้าคนไม่รู้จักก็ไม่กล้าใช้ เพราะฉะนั้นสมการมันยังไม่ลงตัว การจะทำให้เกิด EV ขึ้นจริงๆ รัฐต้องเข้ามาจัดการเหมือนที่ประเทศในยุโรปทำ ซึ่งมีขั้นตอนเยอะมาก เริ่มตั้งแต่ให้ความรู้ก่อน ลดภาษี สนับสนุน และสำคัญที่สุดคือถ้าต้องการให้ธุรกิจนี้ยั่งยืนจริงๆ ต้องสร้าง supply chain ให้เกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าชิ้นส่วนต่างๆ ไม่เหมือนรถยนต์ทั่วไปเลย ดังนั้นกระบวนการจึงแตกต่างออกไป ผมเชื่อว่ามันจะเป็นโอกาสของประเทศถ้าเราทำให้ดี ภาครัฐเป็นส่วนสำคัญที่สุดอยู่แล้ว แต่ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ด้วย ต้องให้ความรู้อย่างเช่นสภาพแวดล้อมเราเป็นปัญหาขนาดไหน หลายคนยังไม่เข้าใจว่า ถ้าปัญหาไม่มาเคาะประตูหน้าบ้านเรา ก็จะไม่มีใครเข้าใจมันจริงๆ โลกร้อนเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก เรื่องพวกนี้ต้องให้ความรู้กับประชาชน ไม่มีทางไหนจะดีไปกว่าการทำไปเรื่อยๆ แต่ต้องทำในสเกลที่ใหญ่พอและมีความถี่สูง อย่างครั้งแรกไม่อ่าน ครั้งที่สองไม่อ่าน ครั้งที่สิบอาจจะอ่านก็ได้ วิธีการสื่อสารก็ต้องง่ายไม่ซับซ้อน ไม่วิชาการเกินไป ส่วนภาคเอกชนจะมาในส่วนของการแก้ปัญหา อย่างเช่นรถยนต์ไฮบริด หรืออย่างในกรณีพลาสติกที่ย่อยสลายได้ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ตัวเลือกที่ช่วยเหลือโลกมากขึ้น การที่รัฐปรับลดโครงสร้างภาษีสำหรับรถไฮบริดและรถไฟฟ้า คิดว่าเป็นมาตรการที่ทำให้คนหันมาสนใจประเด็นนี้ได้มากขึ้นไหม เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ เพราะว่ายังไงก็แล้วแต่ เรื่องราคาก็ยังเป็นประเด็นสำคัญเสมอ แล้วรถยนต์เป็นของชิ้นใหญ่ที่คนจะกังวลเรื่องราคา ถ้าลดได้ก็ดี แต่เรื่องอื่นก็ต้องดูด้วย อย่างเช่นที่ชาร์ตไฟ ระบบชาร์ตไฟที่บ้านหรือข้างนอก ต้องมีการออกแบบ และเรื่องการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าก็ไม่ได้เหมือนกับรทั่วไป สิ่งสำคัญก็คือคนต้องเข้าใจว่าความแตกต่างของรถกับรถธรรมดาแตกต่างกันอย่างไร เขาได้อะไรในทางตรงและทางอ้อม เรื่องเงินเป็นประเด็นสำคัญ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ต้องทำควบคู่กันไป ผมคิดว่าคล้ายๆ กับการกินอาหาร พวกผักสลัด ปลา อาจจะแพงกว่าอาหารอ้วนๆ หน่อย และอาจจะไม่ถูกใจเราร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งการกินหมูสามชั้นหรือสลัดวันนี้อาจจะไม่เห็นผลทันที แต่ถ้ามองไปในอนาคตอีกสัก 5 ปี เราจะเห็นว่าสิ่งที่เราทำทุกวันนี้มันเห็นผล ความคุ้มค่าไม่ได้มีมิติแค่เรื่องเงินหรือส่วนต่างของน้ำมันที่เสียไป แต่เรากำลังมอบโลกที่ดีกว่าให้กับคนยุคหลังที่เป็นความรับผิดชอบของเรา ตอนที่เราแก่และกำลังจากโลกนี้ไป เราอยากจะส่งมอบโลกนี้ให้คนรุ่นต่อไปในสภาพแบบไหน ผมว่าเรื่องนี้มีค่ามากกว่าเงินเยอะเลย แต่ในแง่การใช้งานรถยนต์ไฮบริดจริงๆ คนก็ยังกังวลเรื่องของค่าบำรุงรักษาและการประหยัดน้ำมันอยู่ดี เรื่องของการบำรุงรักษาเป็นเรื่องที่คนไทยกลัวที่สุด ก็ต้องให้ความรู้เพื่อให้เห็นภาพว่า รถคนนี้ใช้มา 10 ปีแล้ว ค่าบำรุงรักษาปีละเท่านี้เอง ไม่ได้แพงอย่างที่คิด ซึ่งตรงนี้คนไทยยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจน เพราะหลายคนพอนึกถึงรถไฮบริดคือมีเรื่องอิเล็กทรอนิกส์เยอะ ทำให้รู้สึกว่ามีอะไรที่ซ่อมยาก ขณะเดียวกันเรื่องของการประหยัดน้ำมัน ตกลงว่ามันช่วยลดการใช้น้ำมันลงได้แค่ไหน ครึ่งหนึ่งหรือยังไง ภาพนี้ยังไม่ได้ถูกส่งออกมาให้ชัด และเราอาจจะต้องพูดในอีกหลายมิติว่าเรื่องก๊าซไอเสียที่ปล่อย อย่างดีเซลก็ประหยัดเท่าๆ กัน แต่ไอเสียที่ปล่อยออกมาก็มากกว่า อีกอย่างที่เป็นภาพใหญ่ขึ้นไปอีกคือเรื่องของจิตสาธารณะก็ได้ ถ้าช่วยกันเน้นย้ำว่าสิ่งแวดล้อมและอากาศเป็นสิ่งที่เราต้องใช้ร่วมกัน คนก็จะรู้สึกว่าเรามีหน้าที่ต้องปล่อยไอเสียให้น้อยลง ในแง่การตลาด มีวิธีไหนที่ทำให้คนเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานทางเลือกได้เร็วที่สุดไหม รถยนต์ไฮบริดหรือรถยนต์ประหยัดน้ำมันก็จะคล้ายๆ กัน คนต้องเห็นคนอื่นใช้สักพักก่อน แต่รถอาจจะยากนิดหนึ่งเพราะมันแพง ต้องไปดูว่าถ้าอยากจะพูดกับลูกค้า เขาจะสนใจอะไร อย่างเด็กรุ่นใหม่ก็สนใจเรื่องเทคโนโลยีและรักษ์โลกมาเป็นหลัก แต่อย่างคนรุ่นเก่าจะคิดว่าประหยัดเงินได้กี่บาท ซึ่งถ้าเกิดดูเป็นเงินอย่างเดียวก็ไม่คุ้ม ต้องดูว่ามีประโยชน์อื่นๆ อีกมั้ยที่จะดึงดูดให้คนยุคเก่าหันมาสนใจได้ เคยได้ทดลองใช้รถยนต์พลังงานทางเลือกบ้างไหม จริงๆ ได้ใช้ตั้งแต่โตโยต้า พรีอุส เจนแรก ตอนนั้นก็ตื่นเต้นดีเพราะว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก จนคนไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร เป็นประสบการณ์การใช้งานที่ดี เพราะว่ามันเงียบและประหยัดมาก ชอบที่สุดคือเงียบ คือเป็นคนที่ชอบคิดอะไรในรถเยอะ บางทีก็ไม่ได้ฟังเพลง แต่ผมคิดว่าที่มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นคือเรื่องของความเชื่อของเราที่อยากจะทำอะไรดีๆ ให้กับโลกนิดหนึ่ง ผมคิดว่าของทุกอย่างที่เราใช้รวมถึงรถยนต์ มันสะท้อนสิ่งที่เราเชื่อ ซึ่งการใช้ของแบบนี้มันบอกอะไรกับสังคมได้ จึงทำให้อยากจะซื้อของกับแบรนด์ที่มีความเชื่อเหมือนกับเรา ไดเรกชั่นของบริษัทคืออะไร และทิศทางของสินค้ามันสอดคล้องกับตัวแบรนด์รึเปล่า มองว่าอนาคตของรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าในอีก 5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร ในระยะสั้นคิดว่าคนที่เป็นผู้เล่นสำคัญที่สุดคือภาครัฐ ถ้าภาครัฐสนับสนุนมาแน่นอน ซึ่งโครงสร้างภาษีทำให้ราคารถค่อนข้างแพง แต่เมื่อใดที่ภาครัฐเข้ามามันจะเปลี่ยนแปลงราคาโครงสร้างรถยนต์ได้อย่างมากเลย แต่ว่าระยะยาวต้องมาจากตัวผู้ใช้ที่เริ่มตระหนักว่า เราต้องดูแลโลกมากขึ้น เด็กรุ่นใหม่จะมีความเชื่อในสิ่งที่เขาเชื่อ เพราะฉะนั้นของพวกนี้ต้องใช้เวลานิดหนึ่ง “ผมมีความเชื่อว่าทุกคนมีส่วนในการรับผิดชอบและส่งต่อโลกนี้ให้กับคนรุ่นต่อไป เพราะในยุคที่ ผ่านมา เราใช้ทรัพยากรโลกไปเยอะมาก ตอนนี้เรามีหน้าที่คือช่วยลดความรุนแรงของเรื่องนี้ให้มากที่สุด นั่นคือการช่วยเหลือกัน” จากเรื่องราว และมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่หันมาใช้รถเพื่อสิ่งแวดล้อม ทำให้รถยนต์โตโยต้าไฮบริดอาจเป็นอีกทางเลือกที่พร้อมรองรับทุกการขับขี่ของผู้ใช้ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องของความประหยัด ความทนทาน และความปลอดภัยในการใช้งาน คุณยังได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก https://thematter.co/sponsor/hybrid-vehicle/52352
  4. ใครจะคิดว่าสิ่งเล็กๆ อย่าง ‘ฝุ่นละออง’ จะกลายเป็นต้นเหตุของปัญหาใหญ่ระดับโลกได้ หลายปีที่ผ่านมาเมืองใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอย่าง ปักกิ่ง นิวเดลี ต้องประสบกับปัญหาวิกฤตฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนจำนวนมาก ล่าสุดสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของกรุงปักกิ่งเปิดเผยว่า คุณภาพอากาศอยู่ที่ระดับ ‘ดี’ และ ‘ดีเยี่ยม’ จากการวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยอยู่ที่ 34 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ซึ่งมาตรฐานคุณภาพอากาศระดับชาติอยู่ที่ 35 มคก./ลบ.ม. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณภาพอากาศของจีนพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น คือการลดการผลิตรถยนต์และรถตู้ที่ใช้น้ำมันดีเซลและเบนซิน และตั้งเป้าให้มีการใช้รถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริด ให้มีสัดส่วนอย่างน้อย 1 ใน 5 ของรถยนต์ที่ขายในจีนภายในปี 2025 เพื่อต่อสู้กับปัญหามลพิษและก๊าซคาร์บอน ย้อนกลับมาที่กรุงเทพฯ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนเริ่มตระหนัก โดยเฉพาะในปีนี้ที่เกิดขึ้นเร็วและนานกว่าปีที่ผ่านมา หนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดปรากฏการณ์นี้ คือการเผาไหม้ของเครื่องยนต์อย่างไม่มีประสิทธิภาพ คงดีกว่า หากหลังจากนี้คนไทยจะเลือกใช้รถยนต์ที่ทำให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด กว่า 2 ทศวรรษแล้วที่โตโยต้าได้คิดค้นและผลิตนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลก นั่นคือรถยนต์ไฮบริด รถที่ขับเคลื่อนได้จากการใช้ทั้งเชื้อเพลิงจากน้ำมันและพลังงานจากไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งเริ่มจำหน่ายรุ่นแรกคือ Toyota Prius ในปี 1997 ถือเป็นไฮบริด Generation 1 และยังได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าจนมาถึงยุคนี้ ยุคของไฮบริด Generation 4 ไฮบริดรุ่นที่ 4 ตอบทุกข้อสงสัย ประเด็นสำคัญที่อาจทำให้ผู้คนกล้าๆ กลัวๆ ยังไม่เลือกใช้รถยนต์ไฮบริด อาจจะเป็นเพราะกังวลเรื่องอายุของแบตเตอรี่ว่าจะใช้งานได้ยาวนานมากน้อยแค่ไหน และราคาแบตที่ว่าแพงนักหนา รวมไปถึงวิธีการดูแลยากกว่าปกติหรือไม่ เรื่องนี้โตโยต้ามีคำตอบอยู่ที่ไฮบริดรุ่นล่าสุด Generation 4 ซึ่งถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของแบตเตอรี่ ที่เป็นแบตเตอรี่ไฮบริด Ni-MH (Nickel-Metal Hydride) ที่มีขนาดเล็กลง เก็บประจุไฟฟ้าได้เร็วขึ้น และสามารถจ่ายไฟให้แก่มอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนาระบบระบายความร้อนใหม่ ช่วยให้ทนทานและประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีระบบ PCU (Power Control Unit) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น ช่วยให้ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไฮบริดรุ่นที่ 4 นี้ถูกนำมาใช้ในโตโยต้า C-HR ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นานอีกด้วย สำหรับหลายคนที่ยังกังขาในความปลอดภัยของแบตเตอรี่ หรือสงสัยว่าหากตัวรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบนี้ต้องลุยมวลน้ำรอการระบายในเมืองกรุงแล้วจะเป็นอย่างไร ทางโตโยต้าเองได้พัฒนาความปลอดภัยของตัวแบตเตอรี่นี้ให้สามารถลุยน้ำได้ในระดับ 10-30 เซนติเมตร เทียบเท่ารถยนต์ปกติทีเดียว ส่วนความปลอดภัยอื่นๆ ที่พัฒนาขึ้นมาของแบตเตอรี่ตัวนี้ ได้แก่ การตัดไฟอัตโนมัติเมื่อมีการชนเกิดขึ้น ตัวแบตเตอรี่ไฮบริดเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ที่ถุงลมนิรภัย ซึ่งเมื่อถุงลมนิรภัยทำงานด้านตัวแบตเตอรี่จะทำการตัดไฟอัตโนมัติ แบตเตอรี่นี้จะมีเบรกเกอร์เหมือนกับไฟในบ้าน ซึ่งเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเบรกเกอร์ก็จะตัดลงมา มีตัววัดแรงเคลื่อนหรือโวลต์ของกระแสไฟ ซึ่งหากมีกระแสไฟออกมามากเกินไป ก็จะทำการตัดไฟอัตโนมัติ และตัวแบตเตอรี่ไฮบริดเองยังมีประกันนานถึง 10 ปี รถยนต์ที่ขับเคลื่อนผู้คนไปด้วยพลังงานไฮบริด ในปัจจุบันพลังงานทางเลือกนับว่าอยู่ในกระแสความสนใจของผู้คน รถยนต์ไฮบริดก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะรถยนต์ไฮบริดเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนจะมาจากการชาร์จไฟเข้าขณะที่รถกำลังแล่นอยู่บนถนน ผ่านเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง หากเมื่อชาร์จไฟได้ประมาณ 80% ของแบตเตอรี่ เครื่องยนต์ก็จะทำงานร่วมกับระบบไฟฟ้าในขณะขับเคลื่อน จึงใช้เชื้อเพลิงน้อยลง กินน้ำมันน้อยลงอย่างชัดเจน รวมถึงระบบสามารถแปลงพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นจากการชะลอเบรกหรือหยุดรถ ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าส่งกลับไปเก็บในแบตเตอรี่ไฮบริดอีกด้วย ทำให้มลพิษที่ปกติจะเกิดจากการสันดาปของเครื่องยนต์ลดลงไปด้วย ช่วยในเรื่องการลดมลพิษได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น โตโยต้า พริอุส มีอัตราปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนน้อยกว่ารถยนต์เบนซินขนาด 1.8 ลิตรทั่วไปถึง 55 กรัมต่อกิโลเมตร ซึ่งปริมาณไอเสียที่ลดลงดังกล่าว เปรียบเทียบได้กับการปลูกต้นไม้กว่า 100 ต้นต่อปีเลยทีเดียว จุดนี้ทำให้ถูกใจกลุ่มคนที่สนใจสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้รถยนต์ไฮบริดกันมากขึ้น Toyota C-HR ไฮบริดรุ่นล่าสุด ประหยัดที่สุด เป็นมิตรที่สุด สำหรับ Toyota C-HR (Coupe High Rider) นับเป็นรถไฮบริดรุ่นที่ 4 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอกย้ำแนวคิด Ever Better Car กับการพัฒนาให้แบตเตอรี่ไฮบริดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมรับประกัน 10 ปี และระบบไฮบริดอีก 5 ปี ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปเมื่อ โตโยต้าเจ้าแรกที่คิดค้นและพัฒนารถไฮบริด จนปัจจุบันมาถึงรุ่นที่ 4 ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างสรรค์ยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สะท้อนให้เห็นปัญหาของฝุ่นละอองที่คนเมืองต้องเจอ ซึ่งถือว่าเป็นมลพิษที่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง เพราะ ทำให้อากาศมีค่าสูงเกินค่ามาตรฐาน สาเหตุหนึ่งเป็นเรื่องของมลพิษที่เกิดจากรถยนต์ ทำให้โตโยต้าเล็งเห็นถึงปัญหาที่จะตามมา จึงเกิดเป็นนวัตกรรมรถยนต์ไฮบริด ทางเลือกที่พร้อมจะลองรับการขับขี่ของผู้ใช้ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องของความประหยัด ความทนทาน และความปลอดภัยในการใช้งาน คุณยังได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก https://thestandard.co/toyota-hybrid-car/
  5. พิสูจน์ ปตท.เป็นของใคร กับโครงสร้างผู้ถือหุ้น ปตท. ผู้ถือหุ้นใหญ่ยังคงเป็นกระทรวงการคลัง ประมาณ 51% ซึ่งคนไทยเป็นเจ้าของร่วมกัน และกองทุนวายุภักษ์ทั้ง 2 กอง ก็เป็นกองทุนของภาครัฐที่ทั้งหน่วยงานรัฐและประชาชนคนไทยทั่วไปสามารถลงทุน ในกองทุนนี้ได้ รวมกันอีก 15% นอกจากนี้ยังมีกองทุนประกันสังคมที่เป็นของคนไทยทุกคนอีก 1% สรุปรวมๆแล้วก็เป็นของรัฐทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 67% จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็คือภาครัฐซึ่งส่วนนี้เป็นของคนไทยทุก ๆ คนอยู่แล้ว แล้วที่เหลือล่ะ เป็นนักลงทุนคนไทยรายย่อย 16% จากการตรวจสอบสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นของ ปตท. ก็พบว่า คนในตระกูลชินวัตรจริงๆได้แก่ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร และนายพอพงษ์ ชินวัตร ถือหุ้นเพียง 7,700 หุ้น จาก 2.85 พันล้านหุ้น หรือ 0.0002% เท่านั้น ถือว่าน้อยมากจนไม่มีนัยยะสำคัญที่จะไปครอบงำเพื่อกำหนดนโยบายหรือทิศทาง อะไรได้เลยใน ปตท. เป็นการลงทุนตามปกติที่ใครๆก็เข้าไปซื้อได้ในตลาดหลักทรัพย์ [ธนาคาร JPMorgan Chase & Co.] ธนาคาร JPMorgan Chase & Co. แล้วส่วนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ 18% ล่ะ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินและกองทุนนอมินี บ้างก็บอกว่ากองทุนนอมินีเหล่านี้เป็นของทักษิณทั้งหมด ยกตัวอย่าง CHASE NOMINEE LIMITED ผู้ถือหุ้นลำดับที่ 5 จำนวน 2.53% นั้น เจ้าของกองทุนนี้คือ JP Morgan Chase & Co. (iv) หรือ JPM ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือหุ้นใหญ๋โดยสถาบันการเงินของต่างประเทศหลายต่อหลายแห่ง JPM มูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น 2.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือ 72 ล้านล้านบาท !!!! นี่มันเป็นตัวเลขงบประมาณของประเทศไทยได้ถีงเกือบ 30 ปีเลยทีเดียว แค่ตัวอย่างนี้ตัวอย่างเดียวเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าทักษิณเป็นเจ้าของนอมินีทุกๆแห่ง ก็แสดงว่า ทักษิณแทบจะซื้อทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีมูลความจริงใดๆทั้งสิ้น กล่าว โดยสรุป เจ้าของ ปตท.ทีแท้จริงก็คือ กระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่เป็นของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว และนักลงทุนรายย่อยทั้งไทยและเทศ ที่คนไทยทุกๆคนสามารถจะมีหุ้นได้โดยสามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยได้ทุกวันทำการ ก็ไม่รู้จะทวงคืนไปทำไม ทวงไปก็ไม่ได้น้ำมันถูกลง เพราะที่มันแพงก็แค่น้ำมันกลุ่มเบนซินที่เก็บภาษีและกองทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น มามากทำให้ราคาแพง และเงินกองทุนน้ำมันก็เอาไปจ่ายชดเชยให้ก๊าซหุงต้มที่นำเข้ามาจากตลาดโลกมา ขายในประเทศถูกๆและพวกแก๊สโซฮอล E20, E85 รวมถึงชดเชยภาษีในส่วนของน้ำมันดีเซลที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 50% เพื่อควบคุมราคาไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ที่จะส่งผลต่อค่าขนส่งสินค้าจนกระทบกับค่าครองชีพของคนไทยทุกคน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ ไม่เกี่ยวกับ ปตท. ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาก็ลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน แก๊สโซฮอล E10 มากไม่ได้เพราะจะทำให้กองทุนน้ำมันติดลบ อ่านต่อ เรื่อง ปตท.เป็นของใคร ได้ที่ http://bit.ly/1PQhgOu
  6. ปตท.เป็นของใคร ใครกันแน่คือเจ้าของ ปตท. ที่แท้จริง กระแส ทวงคืน ปตท. เป็นกระแสที่มาบูมในระยะ 2-3 ปีที่ผ่าน แถมตอนนี้โดนโจมตีอย่างหนักโดยการโหนกระแสของ กปปส. เพื่อเรียกแขกมากขึ้น โดยข้อกล่าวหาร้ายแรงว่า กลุ่ม ปตท. คือน้ำเลี้ยงสำคัญของระบอบทักษิณ บ้างก็ว่า “ทักษิณ” เป็นเจ้าของ ปตท. และไม่น่าเชื่อว่า ข้อมูลเบสิค ๆ แบบนี้ ที่ฟังพวกแกนนำที่พูดบนขึ้นเวทีม๊อบ หรือพวกแกนนำนักทวงคืนอย่างผู้สูงวัยท่านหนึ่ง นั้นกลับไม่คิดจะค้นหาข้อมูลด้วยตัวเองและก็เชื่อในทันทีด้วยในอคติว่า ทักษิณ หรือ ตระกูลชินวัตร เป็นเจ้าของ ปตท. และ ปตท.คือต้นเหตุทำให้น้ำมันแพง และที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่ง ถ้าพรรคที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพรรคที่ทักษิณสนับสนุนได้เป็นรัฐบาล กระแสทวงคืน ปตท.นั้นเงียบเป็นเป่าสากไม่มีใครพูดถึง ดังนั้นทีมงานก็เลยไปค้นข้อมูลข้อเท็จจริงว่า ปตท. เป็นของใคร ใครกันแน่คือเจ้าของ ปตท. ที่แท้จริง แล้วเราจะทวงคืนทำไม ทวงคืนให้ใคร? เปิดหลักฐานหลังจากการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจุดเริ่มมาจากการออกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจปี พ.ศ.2542 ในยุครัฐบาลชวน 2แต่ดันมาเข้าตลาดตอนยุครัฐบาลทักษิณ เลยกลายเป็นว่าทักษิณต้องเป็นแพะรับบาปว่าเป็นผู้ที่ฮุบหุ้น ปตท.ทั้งหมดให้ตระกูลชินวัตรเป็นเจ้าของ ทีนี้เราต้องมาเจาะดูว่า (ปตท. เป็นของใคร) ใครถือหุ้นใหญ่ ปตท. ผู้ถือหุ้นใหญ่ ปตท. นั้นหาง่ายมากๆได้จากเว็บไซด์ settrade.com ได้ผู้ถือหุ้นใหญ่ดังภาพนี้ โครงสร้างผู้ถือหุ้น ปตท. จะเห็นได้ว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ยังคงเป็นกระทรวงการคลัง ประมาณ 51% ซึ่งคนไทยเป็นเจ้าของร่วมกัน และกองทุนวายุภักษ์ทั้ง 2 กอง ก็เป็นกองทุนของภาครัฐที่ทั้งหน่วยงานรัฐและประชาชนคนไทยทั่วไปสามารถลงทุน ในกองทุนนี้ได้ รวมกันอีก 15% นอกจากนี้ยังมีกองทุนประกันสังคมที่เป็นของคนไทยทุกคนอีก 1% สรุปรวมๆแล้วก็เป็นของรัฐทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 67% จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็คือภาครัฐซึ่งส่วนนี้เป็นของคนไทยทุกๆคนอยู่แล้ว แล้วที่เหลือล่ะ เป็นนักลงทุนคนไทยรายย่อย 16% จากการตรวจสอบสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นของ ปตท. ก็พบว่า คนในตระกูลชินวัตรจริงๆได้แก่ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร และนายพอพงษ์ ชินวัตร ถือหุ้นเพียง 7,700 หุ้น จาก 2.85 พันล้านหุ้น หรือ 0.0002% เท่านั้น ถือว่าน้อยมากจนไม่มีนัยยะสำคัญที่จะไปครอบงำเพื่อกำหนดนโยบายหรือทิศทาง อะไรได้เลยใน ปตท. เป็นการลงทุนตามปกติที่ใครๆก็เข้าไปซื้อได้ในตลาดหลักทรัพย์ [ธนาคาร JPMorgan Chase & Co.] ธนาคาร JPMorgan Chase & Co. แล้วส่วนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ 18% ล่ะ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินและกองทุนนอมินี บ้างก็บอกว่ากองทุนนอมินีเหล่านี้เป็นของทักษิณทั้งหมด ยกตัวอย่าง CHASE NOMINEE LIMITED ผู้ถือหุ้นลำดับที่ 5 จำนวน 2.53% นั้น เจ้าของกองทุนนี้คือ JP Morgan Chase & Co. (iv) หรือ JPM ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือหุ้นใหญ่โดยสถาบันการเงินของต่างประเทศหลายต่อหลายแห่ง JPM มูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น 2.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือ 72 ล้านล้านบาท !!!! นี่มันเป็นตัวเลขงบประมาณของประเทศไทยได้ถึงเกือบ 30 ปีเลยทีเดียว แค่ตัวอย่างนี้ตัวอย่างเดียวเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าทักษิณเป็นเจ้าของนอมินีทุกๆแห่ง ก็แสดงว่า ทักษิณแทบจะซื้อทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีมูลความจริงใดๆทั้งสิ้นa กล่าว โดยสรุป เจ้าของ ปตท.ทีแท้จริงก็คือ กระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่เป็นของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว และนักลงทุนรายย่อยทั้งไทยและเทศ ที่คนไทยทุกๆคนสามารถจะมีหุ้นได้โดยสามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยได้ทุกวันทำการ ก็ไม่รู้จะทวงคืนไปทำไม ทวงไปก็ไม่ได้น้ำมันถูกลง เพราะที่มันแพงก็แค่น้ำมันกลุ่มเบนซินที่เก็บภาษีและกองทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น มามากทำให้ราคาแพง และเงินกองทุนน้ำมันก็เอาไปจ่ายชดเชยให้ก๊าซหุงต้มที่นำเข้ามาจากตลาดโลกมา ขายในประเทศถูกๆและพวกแก๊สโซฮอล E20, E85 รวมถึงชดเชยภาษีในส่วนของน้ำมันดีเซลที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 50% เพื่อควบคุมราคาไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ที่จะส่งผลต่อค่าขนส่งสินค้าจนกระทบกับค่าครองชีพของคนไทยทุกคน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ ไม่เกี่ยวกับ ปตท. ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาก็ลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน แก๊สโซฮอล E10 มากไม่ได้เพราะจะทำให้กองทุนน้ำมันติดลบ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อรายได้ ปี 2555 ทั้งนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับ ปตท. ค้ากำไรเกินควรอะไรเลย เพราะกำไร ปตท. ประมาณแสนล้านบาทนั้น มาจากยอดขายประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 3% กว่าๆเท่านั้นเอง (ฝากสหกรณ์ยังได้ดอกเบี้ยมากกว่าด้วยซ้ำ) ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับบริษัทน้ำมันแห่งอื่นๆ และกำไรที่มาจากการลงทุนไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีการลงทุนไปต่างประเทศมากมาย เป็นผลมาจากการแปรรูป ปตท. ทำให้มีความสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย ทำให้คนไทยไม่ต้องต่อคิวซื้อน้ำมัน ไม่มีปัญหาไฟฟ้าติดๆดับๆ ดังนั้นข้อกล่าวหาว่า ปตท.ขูดรีดคนไทยก็ไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด Cr. www.รู้จริงพลังงานไทย.com/เปิดหลักฐานปตทเป็นของใ/
  7. เคยมีความสงสัยว่า ผู้บริหาร ปตท. นั้นตกลงมีเงินเดือนเท่าไหร่กันแน่ จากข่าว หรือกระแสที่ผ่านมา เห็นเค้าว่า เงินเดือน ผู้บริหาร ปตท. สูงลิบลิ่ว เลยอยากจะขอนำบทความอีกแง่มุมมาฝากเพื่อนๆ เงินเดือน ผู้บริหาร ปตท. รู้แล้วจะอึ้ง เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. น่าแปลกใจที่ในสถานการณ์ด้านพลังงานค่อนข้างมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ (ประชาชนหลายท่าน มักรู้สึกว่าแพงเกินไป โดยปราศจากความเข้าใจพื้นฐานโครงสร้างพลังงาน) แทนที่จะช่วยกันทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาพลังงาน รวมถึงการรณรงค์ให้ประหยัดพลังงานเพื่อลดการนำเข้า แต่มีกลุ่มคนบ้างกลุ่ม อาศัยความรู้สึกทางสังคมที่เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในรายได้ ตั้งเป้าโจมตีว่าเงินเดือนผู้บริหารใน บ.พลังงาน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาพลังงานแพง โดยข้อมูลที่หยิบยกมานั้น จะเป็นข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือรายงานประจำปี ซึ่งไม่ระบุเป็นรายบุคคล แต่เป็นรายจ่ายเงินเดือนรวม เนื่องจากเงินเดือนถือเป็นความลับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง จึงมักมีการนำตัวเลขรายได้ทั้งหมดมาหารค่าเฉลี่ยเป็นเงินเดือน ซึ่งอันที่จริงเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะในเงินก้อนนั้นๆ ยังรวมถึงโบนัส ค่าเบี้ยประชุมต่างๆ จึงทำให้ตัวเลขที่ยกมานั้น ดูเป็นตัวเลขเงินเดือนที่สูงมาก และมักนำไปเปรียบกับตำแหน่งระดับสูงๆ จากภาครัฐ เช่น นายกรัฐมนตรี ยิ่งสร้างความเข้าใจผิดในกลุ่มคนที่อาศัยโลกโซเชียล ที่ขาดสติในการบอกและแชร์ต่อความจริง คำถามคือ เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. นั้น สูงตามที่กล่าวหาจริงหรือ คำตอบคือไม่ได้สูงดังคำกล่าวอ้าง เพราะตัวเลขดังกล่าวเป็นการรวมทั้งปี แถมยังเอาโบนัส และเบี้ยประชุมมารวมเข้าไป อย่างไรก็ตาม เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. รวมไปถึง กลุ่มผู้บริหารในบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำต่างๆ ได้มีการกำหนดรายละเอียดค่าตอบแทนเงินเดือนตามความสามารถและความรับผิดชอบ และไม่ใช่เพียงเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. เท่านั้น แต่ธุรกิจด้านอื่นๆ เช่น ธุรกิจการบิน โทรคมนาคม โรงพยาบาล การเงิน ความงาม ล้วนมีรายได้ระดับสูงทั้งสิ้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า สาเหตุใด เงินเดือนผู้บริหาร ปตท จึงได้มีเงินเดือนสูงตามที่กล่าวอ้างถึง อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่อยากรู้ว่าระบบเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. คิดอย่างไร เราได้นำข้อมูลมาเสนอให้ได้อ่านกันดังนี้ “ปตท. ได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล มีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนทำหน้าที่ทบทวน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาระความรับผิดชอบของกรรมการ สถานะทางการเงินของบริษัทและเปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจระดับเดียวกัน โดยกำหนดค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมและโบนัส อนึ่ง กรรมการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการเฉพาะเรื่องชุดอื่นๆ ก็ให้ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มตามความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ค่าตอบแทนกรรมการได้รับการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ค่าตอบแทนกรรมการ ผู้บริหาร ปตท. อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
×
×
  • สร้างใหม่...