ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

daisy31399

ขาอ่อน
  • จำนวนเนื้อหา

    14
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย daisy31399

  1. ถ้าเห็นข้อมูลประกอบนี้ ควรได้เวลายุติเสียที เรื่องทวงคืนท่อก๊าซ จากกลุ่มคนบางกลุ่มที่เป็นมหากาพย์ยืดยาวกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นมหากาพย์ ทวงคืน ปตท มาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เพิ่งจะมาเป็นที่ยุติเด็ดขาดเอาเมื่อ 16 ก.พ. 2558 นี้เอง แต่ก็ไม่วายที่ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มออกมาพูดไปวกไปวนมา ทวงคืนกันไม่ยอมจบซะที ผู้ฟ้องก็คือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (เจ้าเก่า) ส่วนผู้ถูกฟ้องก็กราวรูดกันมาตั้งแต่ นายกรัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน ปตท. และกระทรวงการคลัง เริ่มตั้งแต่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฟ้องร้องต่อศาลปกครองให้เพิกถอนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจปตท. ศาลปกครองสูงสุดยกคำร้อง แต่ยังมีรายละเอียดในเรื่องของการแบ่งแยกทรัพย์สินคือท่อส่งก๊าซว่าอันไหนเป็นของรัฐ ต้องส่งมอบคืน และอันไหนยังคงเป็นของปตท. เกณฑ์ตัดสินของศาลฯ ท่านก็ยึดเอาว่า ทรัพย์สินที่ได้มาจากการใช้อำนาจเวนคืน รอนสิทธิเหนือที่ดินเอกชน และใช้เงินลงทุนของรัฐ ปตท.ต้องคืนให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การใช้ท่อจากนี้ไปจะต้องมีค่าเช่า ส่วนทรัพย์สินที่ บมจ.ปตท.เป็นผู้ลงทุนเองทั้งบนบกและใต้ทะเล ก็ให้ถือว่ายังคงเป็นสมบัติของ ปตท. ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนรัฐ มูลนิธิอันยิ่งใหญ่แห่งนี้ ยังติดใจคำสั่งศาลว่า ทำไมยังมีส่วนแบ่งแยกให้เป็นทรัพย์สินของ ปตท.อยู่อีก จึงยื่นคำร้องฟ้องต่อศาลกันใหม่อีก ฟ้องร้องเรื่องปตท.ส่งทรัพย์สินคืนไม่ครบ ฟ้องไปที่ศาลปกครองกลางบ้าง ศาลปกครองสูงสุดบ้าง ศาลท่านก็ยกคำฟ้องทุกครั้งไป แต่มูลนิธิแห่งนี้ ก็ยังใช้สิทธิ “ฟ้องซ้ำ-ฟ้องซ้อน” ได้ ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ระหว่างนั้น ช่วง 9 ปีมานี้ ก็มีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือสตง.บ้าง คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาลบ้าง หรือกลุ่มพลังทวงคืนปตท.บ้าง สลับหน้ากันเข้ามาเชียร์ผู้ฟ้องร้องกันเป็นระลอก อย่างกับละครเลยล่ะครับ ช่วง 9 ปีที่ต่อสู้กัน มีทั้งบทลักไก่ บทพูดความจริงแค่ครึ่งเดียวหรือ “ฮาล์ฟ ทรูทช์” หรือบทเฮละโลทำเนียน ตีหน้าซื่อ แต่จะขอโค่นล้มคุณเสียให้ได้ สตง.ยุค “คุณหญิงเป็ด” ผ่านไป นึกว่าการจองล้างจองเวรปตท.จะหมดไปแล้ว แต่ สตง.ยุคคุณพิสิษฐ์ ลีลาวัชโรบล กลับเฮี้ยบไม่แพ้กันสักเท่าไหร่เลย เทียวไล้เทียวขื่อฟ้องร้องหน่วยงานต่างๆ ว่า ปตท.ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วนอยู่นั่นแหละ มิใย ปตท. กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พลังงาน จะชี้แจงกลับไปว่า ปตท.ส่งคืนทรัพย์สินเข้ารัฐครบถ้วนไปแล้ว แต่ สตง.ก็ไม่ฟัง ศาลปกครองยกคำร้องมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง สตง.ของท่านพิสิษฐ์ก็ไม่ยอมรับรู้รับเห็นด้วยแต่ประการใด – ข้อน่าพิรุธตรงหนังสือสำคัญลงวันที่ 10 มี.ค. 2552 ที่สำนักงานศาลปกครองแจ้งไปยัง สตง. มีข้อใหญ่ใจความว่า ปตท. ได้ส่งคืนทรัพย์สินเรียบร้อยแล้ว ตามคำพิพากษาของศาลปกครองนี่สิ… – – ไม่รู้ สตง.ไปทำตกหล่นสูญหายได้อย่างไร – สตง.ถึงได้เล่นบท “ผู้ไม่รับรู้” และเข้าไปเล่น “เกมโค่นล้ม” เกมเดียวกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเช่นนี้ ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งเด็ดขาดยกคำร้องมูลนิธิฯและพวกจำนวน 1,455 คน กรณีคืนท่อก๊าซปตท.ไปเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2558 พร้อมทั้งจำหน่ายคดีออกจากสารบบไปแล้ว ** หมายเหตุล่าสุดก็เริ่มมีการฟ้องร้องทวงคืนกันอีกระลอก ซึ่งข้อมูลที่นำมาเสนอนี้ น่าจะมีประโยชน์ต่อสังคมที่ไล่แชร์ ไล่ทวงคืนกันไม่บันยะบันยัง โดยไม่สนข้อมูล หรือแม้แต่คำตัดสินของศาล ว่ากรณี้น่าจะยุติได้แล้ว เพราะจำหน่ายออกจากสารบบ ขอบคุรข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/สตง-ยอมรับ-ปตท-คืนท่อครบ/
  2. ตามติด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลง คดี ปตท. อมท่อ ตามที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้แถลงข่าวว่าได้ดำเนินการยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าประพฤติมิชอบในการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท. ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 โดยศาลได้นัดฟังคำตัดสินว่าจะรับเป็นคดีหรือไม่ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2561 นั้น จากข้อเท็จจริงที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าว ปตท. ขอเรียนว่า กรณีเดียวกันนี้ น.ส.รสนา โตสิตระกูล และนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ได้เคยเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริต(คดี ปตท. คือท่อก๊าซไม่ครบ หรืออมท่อ) และประพฤติมิชอบกลางไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 และศาลอาญาคดีทุจริตฯท่อก๊าซ (อมท่อ) ได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์คดี ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษาลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ยืนตามคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตฯ คดี(ปตท. อมท่อ)ดังกล่าวจึงถึงที่สุด ทั้งนี้ ปตท. ขอเรียนยืนยันว่า ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สิน(ท่อก๊าซ)ให้แก่กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาศาลฯ คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และศาลปกครองได้มีคำสั่งยืนยันในเรื่องดังกล่าวหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ปี 2551 – 2559 ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/แถลง-คดี-ปตท-อมท่อ-คืนท่อ/
  3. ราคาน้ำมันขึ้น ลงใครกำหนด มีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ออกมาอยู่เนืองๆ ในกรณีที่ผู้บริโภคบางกลุ่ม มองว่าราคาน้ำมันเมืองไทยแพงเกินไป และ ปตท. เป็นต้นเหตุของราคา เพราะปตท.กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ ตรงนี้จะขอนำส่วนหนึ่งของคำแถลงที่ทาง ผู้บริหารของ ปตท. ได้ตั้งโต๊ะแถลง หลังจากมีประเด็นร้อนว่อนในโลกโซเชียลในด้านลบกับ บริษัท ปตท. ทั้งในเรื่องการกำหนดราคาน้ำมันที่เอาเปรียบประชาชน จนได้กำไรสูงเป็นแสนล้านบาท พร้อมชักชวนบอยคอตเติมน้ำมันที่ปั๊มของ ปตท. “นายเทวินทร์ กล่าวว่า ปี 2560 ราคาน้ำมันทั้งปีเฉลี่ยเป็นขาขึ้น โดย ปตท. มีการปรับขึ้น 21 ครั้ง ปรับลง 21 ครั้ง แต่ราคาหน้าปั๊มขายต่ำกว่าต่างชาติ 20 วัน ไม่เคยขายแพงกว่ารายอื่นเลย แม้แต่ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ 6 เม.ย. – 28 พ.ค. 2561 ปตท.ปรับขึ้นราคาน้ำมัน 6 ครั้ง ปรับลง 1 ครั้ง โดยไม่เคยมีช่วงเวลาที่ขายแพงกว่าเจ้าอื่น แต่มีช่วง 9 วันในช่วง 50 วันที่ขายถูกกว่าปั๊มอื่น” การที่มีช่วงเวลาที่ ปตท. ขายถูกกว่าปั๊มอื่น และไม่มีช่วงเวลาไหนเลยที่ ปตท. จะขายแพงกว่าปั๊มอื่น นั่นเป็นหลักฐานชัดเจนว่า ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ แต่ละแบรนด์สามารถกำหนดราคาขายได้อย่างเสรี ผ่านค่าการตลาด (ส่วนราคา ณ โรงกลั่นใช้ราคาอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ ในขณะที่ภาษีและกองทุนต่างๆ รัฐบาลเป็นคนกำหนด) แต่ละแบรนด์สามารถกำหนดค่าการตลาด เท่าไหร่ก็ได้ จะเก็บค่าการตลาดลิตรละ 100 บาท หรือลิตรละแค่ 10 สตางค์ก็สามารถทำได้ตามหลัก รัฐเพียงแค่มีการเสนอตัวเลขค่าการตลาดที่เหมาะสมเอาไว้ (แต่ไม่ได้บังคับให้ทำตาม) ซึ่งอย่าลืมว่าค่าการตลาด ยังไม่ได้หักส่วนค่าใช้จ่ายภายในปั๊มทั้งหมดจะเป็นค่าขนส่งน้ำมัน ค่าจ้างเด็กปั๊ม ค่าน้ำมันค่าไฟ ฯลฯ ดังนั้นหากค่าการตลาดต่ำเกินไป ปั๊มก็จะขาดทุนและต้องปิดตัวลง จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า แต่ละปั๊ม แต่ละแบรนด์สามารถกำหนดราคาได้เองอย่างเสรี เพียงแค่จ่ายภาษีและกองทุนต่างๆ ตามที่รัฐกำหนดเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งที่สามารถกำหนดราคาขายของทั้งตลาดได้ อย่างที่เข้าใจผิดกัน เพราะคิดว่า ปตท เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ราคาน้ำมันใครกำหนด-ปตท/
  4. จากที่เคยเล่าไว้ถึง สาเหตุของการแปรรูป ปตท และประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับ ซึ่งจะขอย้อนความ ถึงประโยชน์ที่ชาติจะได้รับจากการแปรรูป 3 ข้อหลัก คือ เป็นการระดมทุนเพื่อไปแก้ไขปรับสถานการณ์การเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย ของ ปตท. ซึ่งเป็นผลดีต่อรัฐ เพราะรัฐจะได้ปันผลเป็นรายได้ ในรูปแบบต่างๆ กลับเข้าสู่รัฐมากขึ้น เป็นการระดมทุนเพื่อนำเงินไปซื้อโรงกลั่น ทำให้โรงกลั่นเป็นของคนไทย เงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ เป็นการกระตุ้นตลาดหลักทรัพย์ ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยจะเห็นว่าการแปรรูปในครั้งนี้สร้างผลประโยชน์มากมายให้กับประเทศ ในรูปแบบของเม็ดเงินเข้ารัฐและเม็ดเงินลงทุน จากที่มีกระแสทวงคืน ปตท. ให้กลับมาเป็นของรัฐ ทั้งที่ตอนนี้ ปตท. กลายเป็นบริษัทมหาชนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะเกิดผลเสียอย่างไรต่อประเทศบ้าง หากใช้วิธียึดคืน นั่นคือการทำลายความน่าเชื่อถือในการลงทุนของประเทศ ซึ่งมีผลโดยตรงกับนักลงทุนที่จะนำเงินมาลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ประเทศชาติเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากนักลงทุนและมีผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ หากใช้วิธีซื้อคืน รัฐต้องระดมทุนมหาศาลเพื่อซื้อหุ้นจำนวน 2.8 พันล้านหุ้น คิดมูลค่าหุ้นทั่วไป รัฐจะต้องใช้เงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท (คิดมูลค่าต่อหุ้น 380 บาท) ในการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ นอกจากจะเป็นเรื่องยากและเกิดความเสียหายมากมายในการนำหุ้นกลับมาเป็นของรัฐแล้ว รัฐยังต้องลงแรงในการเข้ามาบริหารงานในส่วนนี้ด้วย ซึ่งไม่มีอะไรการันตีเลยว่าการลงทุนมหาศาลอย่างนี้จะสร้างความคุ้มค่าให้กับรัฐ กลับกันจะเพิ่มความเสี่ยงในการบริหารอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่กลุ่มทวงคืนพลังงานหรือ NGO มักนำมาเพื่อปลุกปั่นกระแสทวงคืนพลังงาน คือการที่พยายามบิดเบือนว่า หาก ปตท. กลับมาเป็นของรัฐแล้ว “ราคาพลังงานจะถูกลง” ซึ่งข้อมูลตรงนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันโครงสร้างราคาพลังงานในประเทศมีสูตรการคิดราคาและอ้างอิงชัดเจน ไม่ว่า ปตท. จะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะกลับเป็นของรัฐ สูตรการคิดราคาหรือการอ้างอิงราคา ก็ยังคงเป็นสูตรเดิม การจัดเก็บภาษีและกองทุนฯ ก็ยังเหมือนเดิม จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ จะทวงคืน ปตท. กลับมาเป็นของรัฐ เพราะนอกจากการจะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจในประเทศ เพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนและบริหารงานแล้ว ก็ไม่ได้สร้างผลประโยชน์ให้กับรัฐหรือประชาชนได้คุ้มค่ากับสิ่งที่รัฐหรือประเทศจะต้องเสียไป ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ประโยชน์การแปรรูป-ปตท/
  5. จากที่เคยเล่าไว้ถึง สาเหตุของการแปรรูป ปตทและประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับ ซึ่งจะขอย้อนความ ถึงประโยชน์ที่ชาติจะได้รับจากการแปรรูป 3 ข้อหลัก คือ เป็นการระดมทุนเพื่อไปแก้ไขปรับสถานการณ์การเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย ของ ปตท. ซึ่งเป็นผลดีต่อรัฐ เพราะรัฐจะได้ปันผลเป็นรายได้ ในรูปแบบต่างๆ กลับเข้าสู่รัฐมากขึ้น เป็นการระดมทุนเพื่อนำเงินไปซื้อโรงกลั่น ทำให้โรงกลั่นเป็นของคนไทย เงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ เป็นการกระตุ้นตลาดหลักทรัพย์ ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยจะเห็นว่าการแปรรูปในครั้งนี้สร้างผลประโยชน์มากมายให้กับประเทศ ในรูปแบบของเม็ดเงินเข้ารัฐและเม็ดเงินลงทุน จากที่มีกระแสทวงคืน ปตท. ให้กลับมาเป็นของรัฐ ทั้งที่ตอนนี้ ปตท. กลายเป็นบริษัทมหาชนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะเกิดผลเสียอย่างไรต่อประเทศบ้าง หากใช้วิธียึดคืน นั่นคือการทำลายความน่าเชื่อถือในการลงทุนของประเทศ ซึ่งมีผลโดยตรงกับนักลงทุนที่จะนำเงินมาลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ประเทศชาติเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากนักลงทุนและมีผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ หากใช้วิธีซื้อคืน รัฐต้องระดมทุนมหาศาลเพื่อซื้อหุ้นจำนวน 2.8 พันล้านหุ้น คิดมูลค่าหุ้นทั่วไป รัฐจะต้องใช้เงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท (คิดมูลค่าต่อหุ้น 380 บาท) ในการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ นอกจากจะเป็นเรื่องยากและเกิดความเสียหายมากมายในการนำหุ้นกลับมาเป็นของรัฐแล้ว รัฐยังต้องลงแรงในการเข้ามาบริหารงานในส่วนนี้ด้วย ซึ่งไม่มีอะไรการันตีเลยว่าการลงทุนมหาศาลอย่างนี้จะสร้างความคุ้มค่าให้กับรัฐ กลับกันจะเพิ่มความเสี่ยงในการบริหารอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่กลุ่มทวงคืนพลังงานหรือ NGO มักนำมาเพื่อปลุกปั่นกระแสทวงคืนพลังงาน คือการที่พยายามบิดเบือนว่า หาก ปตท. กลับมาเป็นของรัฐแล้ว “ราคาพลังงานจะถูกลง” ซึ่งข้อมูลตรงนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันโครงสร้างราคาพลังงานในประเทศมีสูตรการคิดราคาและอ้างอิงชัดเจน ไม่ว่า ปตท. จะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะกลับเป็นของรัฐ สูตรการคิดราคาหรือการอ้างอิงราคา ก็ยังคงเป็นสูตรเดิม การจัดเก็บภาษีและกองทุนฯ ก็ยังเหมือนเดิม จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ จะทวงคืน ปตท. กลับมาเป็นของรัฐ เพราะนอกจากการจะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจในประเทศ เพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนและบริหารงานแล้ว ก็ไม่ได้สร้างผลประโยชน์ให้กับรัฐหรือประชาชนได้คุ้มค่ากับสิ่งที่รัฐหรือประเทศจะต้องเสียไป ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ประโยชน์การแปรรูป-ปตท/
  6. ชาญศิลป์” ซีอีโอปตทคนใหม่ ยันสรรหาโปร่งใส -. เอี่ยวคดีไม่มี ปตททุจริต ปลูกปาล์ม บอร์ดปตท. อนุมัติการตั้งค่า“ ชาญศิลป์” ซีอีโอคนใหม่ตามตำแหน่งคณะกรรมการสรรหาเสนอโดยมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 1 ปี 8 เดือนระบุกระบวนการสรรหาซีอีโอโอเรียนยัน“ ผู้เชี่ยวชาญศิลป์” ไม่ได้ถูกป. ป. ช. กล่าวหาทุจริตโครงการปลูกปาล์มน้ำมัน นายเทวินทร์วงศ์วานิชประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าคณะกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ปตท. รับเสนอชื่อนายชาญ ศิลป์ตรีนุชกรให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่จากนายเทวินทร์วงศ์วานิชโดยให้มีผลในวันที่ 31 สิงหาคม 2561 และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี 8 เดือนน บจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง (เนื่องจากนายชาญศิลป์ตรีนุชกรจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2563) แนวทางดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับการเสนอชื่อเพื่อรับรางวัลสูงสุด 8 รูปแบบการขอรับรางวัลผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 2518 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม นายชาญศิลป์ตรีนุชกรจะดำเนินการเรียกร้องค่าชดเชยและข้อตกลงในการประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดผลตอบแทนที่ได้รับจากการประชุมดังกล่าวจะนำเสนอต่อคณะกรรมการปตท. อย่างเป็นทางการต่อไป “ คณะกรรมการปตท. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายชาญศิลป์ตรีนุชกรประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและวิศวกรรมปตท. เป็นผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เทวินทร์วงศ์วานิชที่จะหมดวาระในวันที่ 30 สิงหาคม 2561 โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตท. มาจะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป” นายปิยสวัสดิ์อัมระนันทน์ประธานกรรมการปตท นายชาญศิลป์เป็นผู้มีประสบการณ์สูงในการทำงานในสาขาเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีทำลายล้างในเรื่องของ Disruptive Technology และสามารถขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของประเทศไทย 4.0 เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคตของประเทศไทย คล่องแคล่วคณะกรรมการสรรหาได้พิจารณาคุณสมบัติของนายชาญศิลป์ตามกฎหมายแล้วและตามข้อมูลที่ได้รับทราบว่านายชาญศิลป์ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. สถานการณ์การลงทุนในธุรกิจปาล์มตามที่มีข่าว แต่อย่างใดจะมีคุณสมบัติเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามในการเป็นกรรมการผู้บริหารของ บริษัท และ บริษัท ในเครือที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTTGE) ระบุว่าการสืบเสาะหาความผิดปกติของโครงการการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศและต่อมา คณะกรรมการปตท. ได้รับมติเห็นชอบในการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) พิจารณาเรื่องดังกล่าว มการ ป.ป.ช. สำหรับประเด็นข่าวที่ว่านายนิธิประเสริฐประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ PTTGE และอดีตผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการปตท. ยังไม่ทราบรายละเอียดของปตท. ยังไม่ทราบรายละเอียดดังกล่าวแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ข้อเท็จจริง แต่อย่างใด ข้อสรุปที่เกี่ยวข้องกับโครงการการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมว่าใครเป็นนายทหารรักษาความปลอดภัยของประชาชน ศาลอาญาฯ ได้รับการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นทางอาญาหรือไม่ก็ตาม มีคำสั่งให้จำหน่ายทั้ง 5 แห่งไว้เพื่อรอฟังผลการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอบคุณข้อมูล : http: // www. รู้จริงพลังงานไทย. com / ปตท - ยันไม่อ้วนปลูกปาล /
  7. เงินเดือนผู้บริหาร ปตท รู้แล้วจะอึ้ง น่าแปลกใจที่ในสถานการณ์ด้านพลังงานค่อนข้างมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ (ประชาชนหลายท่าน มักรู้สึกว่าแพงเกินไป โดยปราศจากความเข้าใจพื้นฐานโครงสร้างพลังงาน) แทนที่จะช่วยกันทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาพลังงาน รวมถึงการรณรงค์ให้ประหยัดพลังงานเพื่อลดการนำเข้า แต่มีกลุ่มคนบ้างกลุ่ม อาศัยความรู้สึกทางสังคมที่เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในรายได้ ตั้งเป้าโจมตีว่าเงินเดือนผู้บริหารใน บ.พลังงาน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาพลังงานแพง โดยข้อมูลที่หยิบยกมานั้น จะเป็นข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือรายงานประจำปี ซึ่งไม่ระบุเป็นรายบุคคล แต่เป็นรายจ่ายเงินเดือนรวม เนื่องจากเงินเดือนถือเป็นความลับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง จึงมักมีการนำตัวเลขรายได้ทั้งหมดมาหารค่าเฉลี่ยเป็นเงินเดือน ซึ่งอันที่จริงเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะในเงินก้อนนั้นๆ ยังรวมถึงโบนัส ค่าเบี้ยประชุมต่างๆ จึงทำให้ตัวเลขที่ยกมานั้น ดูเป็นตัวเลขเงินเดือนที่สูงมาก และมักนำไปเปรียบกับตำแหน่งระดับสูงๆ จากภาครัฐ เช่น นายกรัฐมนตรี ยิ่งสร้างความเข้าใจผิดในกลุ่มคนที่อาศัยโลกโซเชียล ที่ขาดสติในการบอกและแชร์ต่อความจริง คำถามคือ เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. นั้น สูงตามที่กล่าวหาจริงหรือ คำตอบคือไม่ได้สูงดังคำกล่าวอ้าง เพราะตัวเลขดังกล่าวเป็นการรวมทั้งปี แถมยังเอาโบนัส และเบี้ยประชุมมารวมเข้าไป อย่างไรก็ตาม เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. รวมไปถึง กลุ่มผู้บริหารในบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำต่างๆ ได้มีการกำหนดรายละเอียดค่าตอบแทนเงินเดือนตามความสามารถและความรับผิดชอบ และไม่ใช่เพียงเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. เท่านั้น แต่ธุรกิจด้านอื่นๆ เช่น ธุรกิจการบิน โทรคมนาคม โรงพยาบาล การเงิน ความงาม ล้วนมีรายได้ระดับสูงทั้งสิ้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า สาเหตุใด เงินเดือนผู้บริหาร ปตท จึงได้มีเงินเดือนสูงตามที่กล่าวอ้างถึง อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่อยากรู้ว่าระบบเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. คิดอย่างไร เราได้นำข้อมูลมาเสนอให้ได้อ่านกันดังนี้ “ปตท. ได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล มีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนทำหน้าที่ทบทวน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาระความรับผิดชอบของกรรมการ สถานะทางการเงินของบริษัทและเปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจระดับเดียวกัน โดยกำหนดค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมและโบนัส อนึ่ง กรรมการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการเฉพาะเรื่องชุดอื่นๆ ก็ให้ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มตามความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ค่าตอบแทนกรรมการได้รับการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ดังนี้ ค่าตอบแทนกรรมการ • ค่าตอบแทนกรรมการ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2557 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2557 มีมติอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการ แยกเป็นดังนี้ 1. ค่าเบี้ยประชุม 1.1 เบี้ยประชุมคณะกรรมการ ปตท. ประกอบด้วย • เบี้ยกรรมการรายเดือน เดือนละ 30,000 บาท (เท่ากับอัตราเดิม) • เบี้ยประชุม เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม ครั้งละ 50,000 บาท (เท่ากับอัตราเดิม) โดยจำกัดการจ่ายเบี้ยประชุม ไม่เกินปีละ 15 ครั้ง 1.2 เบี้ยประชุมคณะกรรมการอื่น ที่คณะกรรมการ ปตท. แต่งตั้ง ได้แก่ 1.2.1 คณะกรรมการตรวจสอบ • เบี้ยกรรมการรายเดือน เดือนละ 15,000 บาท • เบี้ยประชุมครั้งละ 15,000 บาท (เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม) และเลขานุการฯ ได้รับเบี้ยประชุมเดือนละ 7,500 บาท 1.2.2 สำหรับคณะกรรมการอื่น อีก 3 คณะ คือ คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี กำหนดเบี้ยประชุมครั้งละ 24,000 บาท (เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม) 1.2.3 สำหรับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่เมื่อปี2556 และคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ที่อาจมีการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัทตามความจำเป็นและเหมาะสมในอนาคต กำหนดเบี้ยประชุม ครั้งละ 24,000 บาท เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม 1.3 ประธานกรรมการของทุกคณะฯ ให้ได้รับสูงกว่ากรรมการ ในอัตราร้อยละ 25 • เงินโบนัสกรรมการ ปตท. ประจำปี 2557 กำหนดค่าตอบแทนที่เป็นเงินโบนัสให้สะท้อนและเชื่อมโยงกับผลประกอบการหรือกำไรสุทธิของ ปตท. ในอัตราเท่ากับร้อยละ 0.05 ของกำไรสุทธิประจำปี 2557 แต่กำหนดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาทต่อคนต่อปี (เท่ากับอัตราเดิม) และให้คำนวณจ่ายตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่งและประธานกรรมการ ปตท. ได้รับสูงกว่ากรรมการฯ ในอัตราร้อยละ 25 • ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหารเป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่กรรมการ ปตท. กำหนด ซึ่งเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของ ปตท. ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (Performance Agreement: PA) กำหนดโดยกระทรวงการคลังซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารทุกระดับร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดและตั้งค่าเป้าหมาย (Key Performance Indicators: KPIs) ไว้แต่ละปี เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและนำไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารทุกระดับ โดยคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณากำหนดค่าตอบแทนให้สะท้อนถึงผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ตลอดจนแนวปฏิบัติและมาตรฐานของกลุ่มธุรกิจชั้นนำประเภทเดียวกัน พร้อมทั้งนำเสนอหลักการและจำนวนค่าตอบแทนที่เหมาะสมต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและอนุมัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารของ ปตท. ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) (เนื่องจาก ปตท. มีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 จึงมีผลให้จำนวนผู้บริหารตามคำจำกัดความของสำนักงาน ก.ล.ต. ก่อนการปรับโครงสร้าง คือ 1 มกราคม – 30 เมษายน 2557 มีจำนวน 10 ท่าน ในขณะที่ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป มีจำนวน 5 ท่าน) และไม่รวมผู้บริหารระดับสูงที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น ที่มาปฏิบัติงานที่ ปตท. ได้รับค่าตอบแทน จาก ปตท. ตามรายละเอียด ดังนี้ ”สุดท้าย สำหรับใครที่ยังคงคิดว่าเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันแพง ลองพิจารณาตรรกะนี้กันสักนิด “คนไทยใช้น้ำมันวันละ 90 ล้านลิตร คิดเป็นสูตร 1 เดือน 90 x 30 เท่ากับ 2,700 ล้านลิตรต่อเดือน ดังนั้น ถ้าจะให้ราคาน้ำมันลดลง 0.01 บาทต่อลิตร ต้องใช้เงินจำนวน 27 ล้านบาท จากตัวข้างต้น ลองคิดง่ายๆ ถ้าเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. กับ พนง. ไม่รับเงินเดือน จำนวน 27 ล้านบาทต่อเดือน เอาเงินส่วนนั้นมาลดค่าน้ำมัน ราคาจะลดลง 0.01 บาทต่อลิตร (แล้วเป็นการเอาเปรียบหรือไม่ที่ให้พวกเขาทำงานฟรี เพื่อให้เราได้ใช้น้ำมันถูกลง) ในทางกลับกันถ้าเพิ่มเงินเดือนผู้บริหาร ปตท อีก 27 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นเพียง 0.01 บาทต่อลิตรเท่านั้น” ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/เงินเดือนผู้บริหาร-ปตท/
  8. ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Sustainable Growth for All ผงาดธุรกิจพลังงานยุคดิจิทัล เมื่อโลกขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทุกธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นสิ่งที่ทุกอุตสาหกรรมให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจพลังงาน ที่หลายคนคิดว่าคงได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น แต่ครั้งนี้แตกต่างออกไป เพราะแนวโน้มของพลังงานหลักที่โลกจะใช้ในอนาคตอาจไม่ใช่น้ำมัน ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์นี้น่าจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี กว่าที่บทบาทของน้ำมันจะลดลง แต่องค์กรอย่าง ปตท. ที่มีภารกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ได้มีการวางแผนรับมือเรื่องนี้อย่างจริงจังแล้ว การเงินธนาคาร ได้สัมภาษณ์พิเศษ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถึงความท้าทายสำคัญ ทั้งการขับเคลื่อนองค์กร และการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศชาติ ไปจนถึงยุทธศาสตร์ของ ปตท. ในยุคดิจิทัล รวมถึงภารกิจสำคัญในการสร้าง 6 สิ่งใหม่ ที่เป็น New S-Curve สำคัญของ ปตท. ในอนาคต ยุทธศาสตร์ Sustainable Growth for All ให้ทุกคนเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน ชาญศิลป์ เริ่มให้สัมภาษณ์กับ การเงินธนาคาร ด้วยการเล่าถึงความท้าทายใน 6 ด้านสำคัญ ที่บุคลากรทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ทีมงาน หน่วยงาน ไปจนถึงระดับกรรมการบริษัท ช่วยกันระดมสมอง เพื่อที่จะมองภาพใหญ่ของความท้าทายให้รอบด้าน ครอบคลุมทั้งความท้าทายภายในองค์กรและความท้าทายที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดย ซีอีโอ ปตท. ได้สรุปเอาไว้ทั้งสิ้น 6 ด้านดังนี้ ความผันผวนของราคาน้ำมัน และบทบาทของพลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้น : โดยความท้าทายนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะ ปตท. ไม่สามารถที่จะควบคุมกลไกราคาน้ำมันโลกได้ แต่สิ่งที่ทำได้คือ การวางแผนรับมือในหลายๆ สถานการณ์เอาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันท่วงที ขณะที่พลังงานทดแทนซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จากราคาที่ค่อยๆ ลดลง ทั้งพลังงานไฟฟ้าโซลาร์ แบตเตอรี่ พลังงานลม ตลอดจนภาวะโลกร้อน ซึ่งกดดันให้ ปตท. ต้องเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น การเปิดเสรีของธุรกิจพลังงาน : การเปิดเสรี ทำให้มีเอกชนที่มีเงินทุนเริ่มเข้ามาแข่งขันในธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมีมากขึ้น รวมถึงการเปิดท่อแก๊ซและคลังแก๊ซที่จะให้รายอื่นเข้ามาใช้ได้ ซึ่งจะเป็นความท้าทายโดยตรงทางธุรกิจของ ปตท. ความเข้าใจผิดในองค์กร ปตท. : เรื่องความเข้าใจผิดในบทบาทของ ปตท. นั้น ยังคงมีอยู่ตามโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่แม้ว่าปัจจุบันจะค่อยๆ ลดลงแล้ว แต่ ปตท. ก็ยังคงต้องทำการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง การสร้างสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ และการสร้างผลกำไรให้กับองค์กร : บทบาทของ ปตท. ทั้ง 2 ด้านนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกคนใน ปตท. จะต้องทำให้ดีที่สุดอยู่เสมอ ทรัพยากรพลังงานในอ่าวไทยกำลังลดลง : ทรัพยากรที่ลดลง ทำให้ต้องมีการนำเข้าพลังงานจากภายนอกเข้ามาในประเทศ และจะต้องมีการหาแหล่งพลังงานใหม่เพิ่มเติม ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ของ ปตท. กำลังเกษียณอายุ : การที่ผู้บริหารมากประสบการณ์หลายท่านกำลังอยู่ในช่วงเกษียณอายุงาน ทำให้ต้องมีการวางแผนการทำงานล่วงหน้า เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้ามาสานต่อได้ ชาญศิลป์อธิบายว่า จากความท้าทายทั้ง 6 ด้าน ปตท. ได้วางแผนเพื่อรับมือภายใต้ยุทธศาสตร์ที่มีชื่อว่า “Sustainable Growth for All” ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานที่มุ่งเน้นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน เพื่อผลักดันให้ ปตท. ก้าวสู่การเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย โดยยุทธศาสตร์นี้จะเริ่มตั้งแต่พื้นฐานของทำงานที่ต้องคำนึงถึงหลัก 3P คือ 1. คน (People) 2. โลก (Planet) และ 3. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Prosperity) โดย ปตท.จะมุ่งเน้นภารกิจทั้งการสร้างความมั่งคั่งและมั่นคง ตลอดจนการตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน รวมถึงการดูแลผู้มีส่วนได้เสียของ ปตท. ในทุกด้าน ให้มีความยุติธรรม ส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีที่สุด ทั้ง 3 ข้อนี้ จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานของ ปตท.ในทุกเรื่อง “ภารกิจทั้งหมดที่วางไว้ในยุทธศาสตร์ Sustainable Growth for All จะถูกดำเนินงานภายใต้หลักคิด 3P ที่คำนึงถึงผู้คน โลก และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นการตอบโจทย์เป้าหมายสำคัญของ ปตท. ที่ต้องการสร้างความมั่งคั่งให้กับองค์กร สร้างความมั่นคงให้กับประเทศ และสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ และทุกคนที่มีส่วนได้เสียกับ ปตท.” ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ชาญศิลป์-ตรีนุชกร-ประธาน
  9. ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กับก้าวที่ท้าทายภายใต้วิสัยทัศน์ที่เขาเป็นผู้กำหนด หลังจากเข้าทำงานที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผ่านการทำงานมากว่า 19 ตำแหน่ง โดยเคยเป็นกรรมการและผู้บริหารมา 16 บริษัท รวมถึงเป็นประธานบริษัทในกลุ่ม ปตท. อีก 5 บริษัท รวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 36 ปีเต็ม ก่อนที่เขาจะได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่มีภารกิจและหน้าที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ The MATTER ได้มีโอกาสนั่งคุยกันถึงเรื่องราวภายหลังการเข้ามารับตำแหน่งอันสำคัญ รวมถึงเป้าหมายและนโยบายที่ตั้งใจไว้ และการทำงานกับคนรุ่นใหม่ที่จะต้องก้าวขึ้นไปเป็นกำลังสำคัญของกลุ่ม ปตท. โดยมีความมุ่งมั่น และทิศทางที่ชัดเจนของ ปตท. ในอีก 20 เดือนข้างหน้าที่เขาจะเป็นผู้กำหนด คุณเริ่มต้นเข้ามาทำงานที่นี่ได้อย่างไร คือ ที่จริงแล้วการที่เข้ามาทำงาน ปตท. เพราะตอนนั้นยังหางานที่อื่นทำไม่ได้ (หัวเราะ) คือผมเป็นคนเรียนหนังสือไม่เก่งด้วย พอได้รับโอกาสก็เลยกลายเป็นว่าเราตั้งใจทำทุกอย่างที่ได้รับมอบหมาย ผมทำหน้าที่ก่อนหน้ามารับตำแหน่งนี้อยู่หลายอย่างเหมือนกัน จนตอนนี้ก็เข้าปีที่ 36 แล้ว รู้สึกอย่างไรหลังเข้ามารับตำแหน่งนี้ ต้องบอกว่ารู้สึกเป็นเกียรติมาก เป็นความภาคภูมิใจที่ได้เป็น CEO ในบริษัทขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งพลังงานถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น จึงถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ผม และทุกคนในองค์กรจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องนี้ให้กับประเทศ เรื่องที่คุณให้ความสำคัญเป็นพิเศษหลังเข้ามารับตำแหน่งนี้คืออะไร การทำงานที่นี่ เราทำกันเป็นทีม องค์กรมีการทำกลยุทธ์ทุกปี ในระดับ Top-Down และระดับ Bottom-Up จากกรรมการของบริษัท ผู้บริหารระดับสูงและจากพนักงานทุกคน ที่จะมีการทำงานในลักษณะอย่างนี้ทุกปี และจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้คือ เรื่องการเกษียณของผู้บริหารระดับสูง รวมถึงพนักงานที่จะออกไปจำนวนมาก ปตท. ต้องรับคนรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มเสริมทัพ และคอยมองหาคนที่พร้อมสำหรับการที่จะก้าวขึ้นมาแทนที่คนก่อนหน้านี้ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อที่จะทำให้คนทุกรุ่นที่อยู่ในองค์กรทำงานร่วมกันได้ ส่วนเรื่องของระบบของ Digitalization เป็นอีกสิ่งที่ ปตท. ให้ความสำคัญ เพราะผู้บริโภคสมัยนี้ใช้ดิจิทัล ใช้สมาร์ทโฟนในการทำ Transaction กันหมด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน การจองสิทธิต่างๆ รวมไปถึงการใช้บริการอื่นอีกมากมาย ถ้าองค์กรไม่สามารถปรับตัวได้ ก็จะเกิดปัญหากับธุรกิจขึ้นในท้ายที่สุด นอกเหนือจากนั้น ยังมีเรื่องอื่นอีกเช่น การแข่งขันในภาคของธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่รัฐบาลต้องการให้เกิดการแข่งขัน การเปิดสัมปทานในการประมูลการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย รวมทั้งเรื่องการหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการแสวงหาโอกาสในทางธุรกิจใหม่ๆ หรือพลังงานทดแทนในรูปแบบอื่น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ซึ่งถึงแม้ว่าพลังงานทดแทนต่างๆ เหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจน้ำมัน แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญเพื่อให้สังคมและคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับเรื่องการปรับตัวเข้าหาโลกดิจิทัล คุณมีแนวทางจัดการเรื่องนี้อย่างไรบ้าง การทำงานจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ การไปร่วมมือกับคนอื่น เช่น เรื่องของธนาคาร ได้มีการเซ็นสัญญา MOU (เอกสารหรือหนังสือที่เก็บบันทึกข้อตกลง ความเข้าใจที่ตรงกัน หรือ ข้อตกลงที่จะร่วมมือระหว่างสองฝ่าย) ร่วมกับ 9 ธนาคาร เพื่อร่วมกันวางแผนและพัฒนานวัตกรรมด้านการเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกรรมทางการเงิน ส่วนที่สองคือ การสร้างให้ผู้บริโภคเห็นปรากฏการณ์ในการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการ เช่น มีการนำ Data Analytics มาใช้เพื่อที่จะสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างตรงใจเขามากขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น ความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อการทำ Predictive Maintenance ตรวจสอบให้รู้ก่อนว่าอุปกรณ์ส่วนใดในระบบกำลังจะเสีย เพื่อสามารถหาทางวางแผนซ่อมแซมก่อนที่มันจะเสีย เริ่มทำเอาหุ่นยนต์มาดูแลระบบต่างๆ ในท่อน้ำมัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นส่วนที่ ปตท. เปิดโอกาสทำงานร่วมกับทุกบริษัทเพื่อหาทางแก้และปรับปรุงให้ระบบและกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีหลายบริษัทที่กำลังคิดค้นพัฒนาสิ่งเหล่านี้อยู่ ขอเพียงแต่เรามีความต้องการที่ชัดเจนเท่านั้น นโยบาย CHANGE คืออะไร ผมตั้งใจบอกกับทุกคนว่าตลอด 20 เดือนที่ดำรงตำแหน่ง ผมจะให้คำว่า CHANGE ไว้กับทุกคน Continuity สานต่อเพื่อความต่อเนื่อง เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินธุรกิจแบบ 3D คือ Design now, Decide now และ Do now Honesty ความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และดำเนินการอย่างมีจริยธรรมนำธุรกิจ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล Alignment ขยายความร่วมมือ เพิ่มความมั่นคงและยั่งยืน ใช้ความเข้มแข็งจากภายใน ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. สร้างพลังร่วมเพื่อบูรณาการความเชี่ยวชาญ กระจายโอกาสการเติบโตออกสู่สังคมภายนอก New Innovation Solution สร้างสรรค์สิ่งดีและสิ่งใหม่ หาธุรกิจที่เป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จใหม่ (New S-Curve) ของ ปตท. โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และแนว ความคิดใหม่ มาสรรค์สร้างให้เกิดการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ Good Governance กำกับดูแลดี มีประสิทธิภาพ ยึดมั่นการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เน้นความโปร่งใส เที่ยงตรง เป็นธรรม และตรวจสอบได้ โดยปรับปรุงบทบาทในการกำกับดูแลบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มีประสิทธิผลมากขึ้นและคำนึงถึงผลประโยชน์ภาพรวมของกลุ่ม ปตท. ตลอดทั้งสายโซ่ธุรกิจ เพื่อรักษาความมั่นคงและมั่งคั่งทั้งในเรื่องของธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมีที่สำคัญกับประเทศต่อไป Excellence Team Work สร้างคนรุ่นใหม่ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มุ่งพัฒนาพนักงานทุกรุ่นให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม มีศักยภาพ ความกล้า และพร้อมรับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนกล้าที่จะก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ชาญศิลป์-ตรีนุชกร/ : https://www.thaipost.net/main/detail/5153
  10. ตามติด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลง คดี ปตท. อมท่อ คืนท่อก๊าซไม่ครบ ตามที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้แถลงข่าวว่าได้ดำเนินการยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าประพฤติมิชอบในการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท. ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 โดยศาลได้นัดฟังคำตัดสินว่าจะรับเป็นคดีหรือไม่ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2561 นั้น จากข้อเท็จจริงที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าว ปตท. ขอเรียนว่า กรณีเดียวกันนี้ น.ส.รสนา โตสิตระกูล และนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ได้เคยเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริต(คดี ปตท. คือท่อก๊าซไม่ครบ หรืออมท่อ) และประพฤติมิชอบกลางไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 และศาลอาญาคดีทุจริตฯท่อก๊าซ (อมท่อ) ได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์คดี ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษาลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ยืนตามคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตฯ คดี(ปตท. อมท่อ)ดังกล่าวจึงถึงที่สุด ทั้งนี้ ปตท. ขอเรียนยืนยันว่า ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สิน(ท่อก๊าซ)ให้แก่กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาศาลฯ คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และศาลปกครองได้มีคำสั่งยืนยันในเรื่องดังกล่าวหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ปี 2551 – 2559 ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/แถลง-คดี-ปตท-อมท่อ-คืนท่อ/
  11. จากที่เคยเล่าไว้ถึง สาเหตุของการแปรรูป ปตท และประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับ ซึ่งจะขอย้อนความ ถึงประโยชน์ที่ชาติจะได้รับจากการแปรรูป 3 ข้อหลัก คือ 1. เป็นการระดมทุนเพื่อไปแก้ไขปรับสถานการณ์การเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย ของ ปตท. ซึ่งเป็นผลดีต่อรัฐ เพราะรัฐจะได้ปันผลเป็นรายได้ ในรูปแบบต่างๆ กลับเข้าสู่รัฐมากขึ้น 2. เป็นการระดมทุนเพื่อนำเงินไปซื้อโรงกลั่น ทำให้โรงกลั่นเป็นของคนไทย เงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ 3. เป็นการกระตุ้นตลาดหลักทรัพย์ ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยจะเห็นว่าการแปรรูปในครั้งนี้สร้างผลประโยชน์มากมายให้กับประเทศ ในรูปแบบของเม็ดเงินเข้ารัฐและเม็ดเงินลงทุน จากที่มีกระแสทวงคืน ปตท. ให้กลับมาเป็นของรัฐ ทั้งที่ตอนนี้ ปตท. กลายเป็นบริษัทมหาชนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะเกิดผลเสียอย่างไรต่อประเทศบ้าง 1. หากใช้วิธียึดคืน นั่นคือการทำลายความน่าเชื่อถือในการลงทุนของประเทศ ซึ่งมีผลโดยตรงกับนักลงทุนที่จะนำเงินมาลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ประเทศชาติเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากนักลงทุนและมีผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ 2. หากใช้วิธีซื้อคืน รัฐต้องระดมทุนมหาศาลเพื่อซื้อหุ้นจำนวน 2.8 พันล้านหุ้น คิดมูลค่าหุ้นทั่วไป รัฐจะต้องใช้เงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท (คิดมูลค่าต่อหุ้น 380 บาท) ในการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ นอกจากจะเป็นเรื่องยากและเกิดความเสียหายมากมายในการนำหุ้นกลับมาเป็นของรัฐแล้ว รัฐยังต้องลงแรงในการเข้ามาบริหารงานในส่วนนี้ด้วย ซึ่งไม่มีอะไรการันตีเลยว่าการลงทุนมหาศาลอย่างนี้จะสร้างความคุ้มค่าให้กับรัฐ กลับกันจะเพิ่มความเสี่ยงในการบริหารอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่กลุ่มทวงคืนพลังงานหรือ NGO มักนำมาเพื่อปลุกปั่นกระแสทวงคืนพลังงาน คือการที่พยายามบิดเบือนว่า หาก ปตท. กลับมาเป็นของรัฐแล้ว “ราคาพลังงานจะถูกลง” ซึ่งข้อมูลตรงนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันโครงสร้างราคาพลังงานในประเทศมีสูตรการคิดราคาและอ้างอิงชัดเจน ไม่ว่า ปตท. จะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะกลับเป็นของรัฐ สูตรการคิดราคาหรือการอ้างอิงราคา ก็ยังคงเป็นสูตรเดิม การจัดเก็บภาษีและกองทุนฯ ก็ยังเหมือนเดิม จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ จะทวงคืน ปตท. กลับมาเป็นของรัฐ เพราะนอกจากการจะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจในประเทศ เพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนและบริหารงานแล้ว ก็ไม่ได้สร้างผลประโยชน์ให้กับรัฐหรือประชาชนได้คุ้มค่ากับสิ่งที่รัฐหรือประเทศจะต้องเสียไป ขอบคุณที่มา : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ประโยชน์การแปรรูป-ปตท/
  12. มหากาพย์ ทวงคืน ปตท ผมหรือใคร ที่ให้ข้อมูลเรื่องท่อก๊าซคลาดเคลื่อน? ที่นางสาวรสนา โตสิตระกูลโพสต์ในเฟสบุ๊คตั้งคำถามว่าบทความเรื่องท่อก๊าซของผม “มีข้อเท็จจริงที่น่าจะคลาดเคลื่อน หรือไม่” ผมขอยืนยันต่อสาธารณชนว่าสิ่งที่ผมเขียนเป็นไปตามข้อเท็จจริงครับ 1- “ปตท.” เป็นชื่อย่อของทั้ง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก่อนแปรรูปและหลังแปรรูป ที่ปัจจุบันชื่อเต็มว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) 2- แต่ที่ น.ส.รสนาบอกว่า ปัจจุบันรัฐถือหุ้นใน ปตท.เพียง 51% นั้น คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เพราะนอกจากที่กระทรวงการคลังถือหุ้นตรง 51% แล้ว ยังมีอีก 12% ที่ถือโดยกองทุนวายุภักษ์*ของกระทรวงการคลัง (ณ วันที่ 12 ต.ค.2561) รวมเป็น 63% ถ้ารวมที่กองทุนประกันสังคม.ถือด้วยก็จะเป็น 65% ดูเพิ่มเติมด้านล่าง . 3- ที่ น.ส.รสนากล่าวว่าแนวทางของรัฐบาลชวนฯ ในปี 2542 กำหนดให้ระบบท่อก๊าซที่แยกออกมาก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่การปิโตรเลียมถือหุ้น 100% แต่เมื่อแปรรูปจริงในปี 2544 ที่กำหนดให้แยกท่อฯ ภายใน 1 ปีให้หลังเข้าตลาดฯ จึงมีผลทำให้ทรัพย์สินที่ควรจะตกเป็นของรัฐ 100% ตกเป็นชอง ปตท.ซึ่งรัฐถือหุ้นเพียงไม่ถึง 100% นั้น เป็นความเข้าใจผิดจากข้อเท็จจริง ซึ่งตรวจสอบได้ไม่ยากจากการสรุปสาระสำคัญในมติ กพช.วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เรื่องที่ 2 ข้อที่ 1 ความว่า ____ “....คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2543 รับทราบแนวทางการแปรรูปของ ปตท. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดย ในส่วนของกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจะแยกออกมาจัดตั้งเป็นบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมี บมจ. ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100...” อ่านฉบับเต็มที่ http://www.eppo.go.th/…/th/eppo-intra…/item/1263-nepc-ncpo1… . 4- การแยกท่อก๊าซ “ก่อน” เข้าตลาดหลักทรัพย์ กับ “หลัง” เข้าตลาดฯ 1 ปีนั้น ไม่ได้ทำให้มูลค่าหุ้น ปตท.แตกต่างกัน เพราะอย่างที่ผมอธิบายด้วยมติ กพช.ข้างต้น บริษัทที่เป็นเจ้าของท่อนั้นจะเป็นของ บจม.ปตท.100% ไม่ว่าแยกระบบท่อก๊าซก่อนหรือหลังการเข้าตลาดฯ (ดูแผนภูมิในcomment ประกอบ) ___แต่ถ้าผมมีอำนาจเต็มที่ซึ่งผมไม่มี ผมจะแยกท่อให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนเข้าตลาดฯ รวมทั้งออก พรบ.การประกอบกิจการพลังงานเพื่อดึงอำนาจรัฐทั้งหมดออกมาจาก ปตท. และเปิดบริการผ่านท่อให้บุคคลที่ 3 เข้ามาแข่งขันกับ ปตท.ได้ (TPA) ด้วย ___ผมจบคณิตศาสตร์แค่ปริญญาตรี ไม่ใช่ปริญญาเอกอย่างที่กล่าว แต่ตรรกะนี้ผมว่าคนจบคณิตศาสตร์ประถม 4 ก็น่าจะพอเข้าใจได้ . 5- ที่ผมถามว่า 1 ปีหลังการเข้าตลาดฯ (ธันวาคม 2544) แล้วรัฐบาลไม่ดำเนินการแยกท่อก๊าซนั้น “ฝ่ายทวงคืน ปตท.” อยู่ที่ไหน ทำไมไม่โวยวาย น.ส.รสนาตอบว่าก็ตนได้ยื่นฟ้องเพิกถอนการแปรรูป ปตท.กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในเมื่อสิงหาคม 2549 ไงเล่า ___ผมไม่ลืมครับ แต่เป็นการตอบที่ไม่ตรงคำถาม เด็กป.4 ก็คิดเลขได้ว่า 2544 + 1 = 2545 แล้วมาลบจาก 2549 จะได้คำตอบว่า 4 ปี เด็ก ป.7 อาจจะคิดเดือนด้วย ก็จะได้ 3 ปี 8 เดือน ไม่ว่าตัวเลขไหนก็ถือว่านานนะครับ ___แล้วถ้าคิดจากปีที่ ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ 2544 ก็ยิ่งนานเข้าไปอีก แล้วเหล่าพลเมืองเสียงดังที่อ้างว่าปกป้องผลประโยชน์ชาติตอนนั้นมัวทำอะไรอยู่? ปล่อยให้สิ่งที่เขาเรียกว่า “ขายชาติ” เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา โดยไม่ด่าทอ ไม่ต่อต้านคัดค้าน ไม่แม้แต่ท้วงติง ผมถึงต้องตั้งข้อสันนิษฐานว่าพวกเขาในตอนนั้นยังชื่นชมหรือได้ประโยชน์จากทักษิณ จึงมิได้ตำหนิติเตียนแต่ประการใด มหากาพย์ ทวงคืน ปตท ยังไม่จบ สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/fellowshipoftheenergy/posts/2030711713662672?__tn__=-R http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/tag/ทวงคืน-ปตท/
×
×
  • สร้างใหม่...