ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'ข้อเข่าเสื่อม'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 15 รายการ

  1. ข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกข้อเข่าหรือเนื้อเยื่อที่สนับสนุนข้อเข่าเสียหาย ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดเข่า ความเจ็บปวด และข้อจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมอาจมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของกระดูกเข่า เช่น การออกกำลังกายที่รุนแรงหรือนานเกินไป หรือมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้น เป็นต้น อาการของข้อเข่าเสื่อมอาจปวดเมื่อก้าวเดิน เมื่อนั่งหรือยืนนานเกินไป อาจมีเสียงดังจากข้อเข่า และมีอาการบวมและแดงรอบข้อเข่าในบางกรณี ผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและแนะนำการรักษาที่เหมาะสม อาจมีการดูแลฟื้นฟูการเคลื่อนไหว หรืออาจต้องพึ่งพาการผ่าตัดเมื่อกรณีรุนแรงและมีภาวะที่ไม่ดีขึ้นหลังการรักษาอื่น ๆ การดูแลเมื่อเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในคนอ้วน หรือน้ำหนักเกิน ให้ลดน้ำหนักตัวลงก่อนที่เข่าจะเสื่อม โดยปฏิบัติดังนี้ · การรับประทานอาหาร ให้รับประทานแบบหนักเช้า เบาเที่ยง เลี่ยงเย็น เว้นดึก กล่าวคือ มื้อเช้าทานได้ตามปกติ มื้อกลางวันทานให้น้อยลง มื้อเย็นเลี่ยงในการทานแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ขนมหวาน และผลไม้ งดทานมื้อดึกแต่สามารถจิบน้ำเปล่าแทนได้ · การออกกำลังกายโดยการยืนแกว่งแขนหลังอาหารมื้อเย็นวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อลดการใช้งานข้อเข่าในขณะออกกำลังกาย · ลดการใช้งานในการรับน้ำหนักของข้อเข่า โดยหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น นั่งท่าคุกเข่า นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ การใช้ส้วมที่นั่งยอง ๆ ควรนั่งบนเก้าอี้เพื่อหย่อนขา และไม่ควรงอขาเกิน 90 องศา ควรใช้ส้วมชักโครกเวลาเข้าห้องน้ำ ลดการวิ่ง การกระโดด ห้ามเดินไกล หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัมขึ้นไป หากมีเสียงดังในข้อเข่า เมื่อใช้งานข้อเข้าหนักเกินไป มักรู้สึกปวดเข่าบ่อยขึ้นขณะเดิน หรือขึ้นลงบันได ดูแลด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคล-ที ยูซี-ทู พลัส แมกนีเซียม มีส่วนช่วยสำคัญของข้อเข่าและกระดูก มีส่วนช่วยบำรุงบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคข้อเสื่อมได้เป็นอย่างดี สำหรับท่านที่มีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการข้อเข่าเสื่อม สามารถปรึกษาและติดตามความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกับคุณหมอพิเชษฐ์ ได้ที่ Website : https://www.cal-t.com/ข้อเข่าเสื่อม/ Line : https://line.me/R/ti/p/@cal-t Tiktok : https://www.tiktok.com/@dr.pichet
  2. ข้อเข่าเสื่อม จะลุกก็ปวด จะนั่งก็ปวด โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคพบได้มากที่สุด ในวัยผู้สูงอายุ และในหมู่นักกีฬา เนื่องจากใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก ใช้เป็นข้อส่วนที่รับน้ำหนัก จึงทำให้เกิดการสึกกร่อนได้ และเมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะทำให้ใช้ชีวิตได้ยากลำบากมากขึ้น ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างที่เคยทำได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อเข่าเสื่อมแล้ว...มาดูกัน - ได้ยินเสียงกรอบแกรบในเข่า ผู้สูงอายุ ที่หมอนรองกระดูกเริ่มเสื่อมหรือค่อยๆ สึกกร่อนลง เมื่อหมอนรองกระดูกบางหรือสึกกร่อนจนหมดก็ทำให้ผิวกระดูกเสียดสีกันจนเกิดเสียงดังกรอบแกรบขึ้น - ข้อเข่าฝืดแข็ง ข้อเข่าฝืดแข็งมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือเมื่อนั่งในท่าเดิมนาน ๆ พอจะเปลี่ยนท่า เหยียดขา งอเข่า หรือลุกขึ้นเดิน อาการแบบนี้เกิดจากการที่น้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าลดน้อยลง ทำให้การเคลื่อนไหวของหัวเข่าไม่ราบรื่นอย่างที่เคย - ปวดเสียวภายในข้อเข่า เกิดจากกล้ามเนื้อรอบ ๆ เข่ามีความตึงตัวสูง เพราะเมื่อเข่าทรุดตัวทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งค้างไว้ และเมื่อเกร็งค้างนาน ๆ จึงทำให้มีอาการปวด ผิวกระดูกเสียดสีกัน เนื่องจากภายในกระดูกจะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ เมื่อผิวกระดูกเสียดสีกันจึงทำให้เกิดอาการปวด - ข้อเข่าติดขัด โดยปกติหัวเข่าของเราจะสามารถงอได้เต็มช่วง คือ พับเข่าได้สุด เหยียดเข่าได้สุด แต่หากเริ่มมีภาวะข้อเข่าเสื่อม เราจะไม่สามารถงอเข่าได้สุด อาจจะงอได้เพียงครึ่งเดียว และเมื่อพยายามกดเข่าให้งอเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้รู้สึกปวดเข่าจี๊ดขึ้นมาทันที - หัวเข่าอ่อนแรง หัวเข่าจะเริ่มอ่อนแรงตอนเคลื่อนไหว เช่น ขณะเดิน วิ่ง ขึ้นบันได ย่อขา และจะมีอาการปวดเข่าที่รุนแรงขึ้น บางครั้งอาจปวดมากในเวลากลางคืน หมั่นเช็คอาการปวด อาการผิดปกติต่าง ๆ ที่บอกถึง ข้อเข่าเสื่อม เพื่อการมีข้อเข่าที่แข็งแรงยืนยาว พร้อมบำรุงด้วยตัวช่วยดี ๆ เราขอแนะนำอาหารเสริมกระดูกและข้อ แคล-ที UC-II (ยูซี-ทู) Undenatured Collagen Type2 เป็นคอลลาเจนชนิดที่ 2 ที่มีโครงสร้างที่สมบูรณ์ใกล้เคียงกับคอลลาเจนของร่างกายคนเรา มีส่วนสำคัญของกระดูกอ่อน ในข้อต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก และหมอนรองกระดูกสันหลัง ฯลฯ ยูซี-ทู พลัส แมกนีเซียม ตราแคล-ที ที่มาพร้อมกับสรรพคุณที่ช่วยบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อม ช่วยเสริมสร้างกระดูกอ่อนในข้อเข่า ลดการทำลายเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนในข้อเข่า พร้อมช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับท่านที่มีคำถามเพิ่มเติมสำหรับปัญหาข้อเข่าเสื่อม สามารถปรึกษาและติดตามความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกับคุณหมอพิเชษฐ์ ได้ที่ Website : https://www.cal-t.com/ Line : https://line.me/R/ti/p/@cal-t Tiktok : https://www.tiktok.com/@dr.pichet
  3. โรค “ข้อเข่าเสื่อม” อาจไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต แต่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นได้จากการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป การเสื่อมของกระดูกข้อเข่าเกิดจากอ่อนบริเวณข้อเข่าเสียดสีกันมากจนเกินไป และสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อจนทำให้มีอาการปวดเข่า และมักเกิดขึ้นจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน ว่าจะมีการใช้ข้อเข่ามากเกินไปและอายุที่เพิ่มมากขึ้นมีผลทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้ แล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมมีดังต่อไปนี้ ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดเข้า การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม - อายุ มักพบในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นเนื่องจาก ข้อต่าง ๆ ผ่านการใช้งานมานาน ส่งผลให้กระดูกอ่อนเสื่อมสภาพมีความแข็งแรงน้อยลง - เพศหญิง มีโอกาสปวดเข่าหรือเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า เนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงน้อยกว่าผู้ชาย - ความอ้วน คนที่มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้ข้อเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัวมาก ๆ ไว้ตลอดเป็นเวลานาน ๆ ข้อเข่าก็เสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น - การใช้งานข้อเข่าบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือการนั่งพับเพียบ - รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอในแต่ละวัน ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกจะเสื่อมเร็วขึ้น การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมเพื่อแก้ปวดเข่าจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับชะลอโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน สาเหตุหลักของอาการปวดข้อเข่า หลายคนอาจมีการเข้าใจผิดว่า "ข้อเข่าเสื่อม" เป็นเรื่องของผู้สูงอายุ แต่จริง ๆ แล้วโรคข้อเข่าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้แต่หนุ่ม ๆ สาว ๆ วัยรุ่นหรือวัยทำงาน ก็มีโอกาศเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความเจ็บปวด ข้อเข่าฝืด ผิดรูป เดินขาแข็ง หรือ งอเข่าได้น้อย เป็นต้น
  4. โรค “ข้อเข่าเสื่อม” อาจไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต แต่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นได้จากการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป การเสื่อมของกระดูกข้อเข่าเกิดจากอ่อนบริเวณข้อเข่าเสียดสีกันมากจนเกินไป และสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อจนทำให้มีอาการปวดเข่า และมักเกิดขึ้นจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน ว่าจะมีการใช้ข้อเข่ามากเกินไปและอายุที่เพิ่มมากขึ้นมีผลทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้ แล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมมีดังต่อไปนี้ ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดเข้า การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม - อายุ มักพบในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นเนื่องจาก ข้อต่าง ๆ ผ่านการใช้งานมานาน ส่งผลให้กระดูกอ่อนเสื่อมสภาพมีความแข็งแรงน้อยลง - เพศหญิง มีโอกาสปวดเข่าหรือเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า เนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงน้อยกว่าผู้ชาย - ความอ้วน คนที่มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้ข้อเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัวมาก ๆ ไว้ตลอดเป็นเวลานาน ๆ ข้อเข่าก็เสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น - การใช้งานข้อเข่าบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือการนั่งพับเพียบ - รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอในแต่ละวัน ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกจะเสื่อมเร็วขึ้น การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมเพื่อแก้ปวดเข่าจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับชะลอโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน สาเหตุหลักของอาการปวดข้อเข่า หลายคนอาจมีการเข้าใจผิดว่า "ข้อเข่าเสื่อม" เป็นเรื่องของผู้สูงอายุ แต่จริง ๆ แล้วโรคข้อเข่าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้แต่หนุ่ม ๆ สาว ๆ วัยรุ่นหรือวัยทำงาน ก็มีโอกาศเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความเจ็บปวด ข้อเข่าฝืด ผิดรูป เดินขาแข็ง หรือ งอเข่าได้น้อย เป็นต้น
  5. โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากกระดูกอ่อนของข้อเข่า หรือผิวข้อสึกกร่อน เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกที่มาชนกันขณะรับน้ำหนักจึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวด โดยอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดข้อเข่า ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงจะพาทุกคนมาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้หาวิธีป้องกัน และรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เราสามารถเคลื่อนไหวในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข พร้อมแล้วมาดูกันเลยค่ะ วิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร · ควบคุมน้ำหนักตัว เพราะเมื่อข้อเข่ารองรับน้ำหนักมากก็มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น · อย่าใช้งานข้อเข่าหนักเกินไป เช่น การยกของหนัก การนั่งยอง ๆ ขัดสมาธิ คุกเข่า พับเพียบนาน ๆ หรือบ่อยครั้ง หัวเข่าจะได้รับแรงกดทับสูงกว่าปกติ ทำให้มีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมได้มากขึ้น · การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป หรือกีฬาที่ใช้แรงปะทะ อาจทำให้หัวเข่ารับน้ำหนักมาก หรือเกิดการยืดหดของเข่าถี่เกินไป เสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน · หมั่นบริหารกล้ามเนื้อต้นขา และกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง เพื่อช่วยลดภาระของข้อเข่า ทั้งนี้โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น และหากคุณมีอาการปวดเข่านิด ๆ หน่อย ๆ สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วย การรับประทานยาแก้ปวด หรือแก้อักเสบ เป็นวิธีที่สามารถแก้ปวดได้อย่างตรงจุดมากที่สุด และเห็นผลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดอาการปวดข้อเข่าที่อาจรบกวนชีวิตประจำวันได้ พยายามหลีกเลี่ยงการยกของหนัก, ไม่นั่งหรือยืนท่าเดิมเป็นเวลานาน, ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ และพักการใช้งานของข้อเข่าเป็นระยะเพื่อไม่ให้ข้อเข่านั้นทำงานหนักมากจนเกินไปค่ะ
  6. โรคข้อเข่าอักเสบเป็นผลมาจากข้อเข่าเสื่อมหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงวัย ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อที่เป็นเหมือนเบาะรองรับน้ำหนักในข้อได้เกิดการยุบตัว และมีความยืดหยุ่นน้อยลง ด้วยเหตุนี้ กระดูกข้อต่อจึงเกิดการเสียดสีกันขณะเคลื่อนไหวจนเกิดการสึกกร่อน ผิวข้อบางลง ไม่เรียบ และอาจมีเสียงดังในข้อ รวมถึงมีอาการเจ็บปวดเมื่อใช้งานข้อเข่า หรือเมื่อเคลื่อนไหว ถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา หรือการวินิจฉัยจากแพทย์ก็อาจเกิดอาการข้อเข่าอักเสบรุนแรงได้ และทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ภาวะข้อเข่าเสื่อมยังส่งผลให้ข้อเข่าผิดรูปได้เนื่องจากข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานหรือผ่านการใช้งานอย่างหนัก เช่น ผู้สูงอายุ นักกีฬาบางประเภท หรือผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า ซึ่งจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าคนปกติได้ ซึ่งปัจจุบันการรักษาข้อเข่าเสื่อมนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีโดยหลัก ๆ เลยก็จะมีดังนี้ รูปแบบการรักษาข้อเข่าเสื่อม 1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิหรือนั่งงอเข่าที่มากกว่า 90 องศาเป็นเวลานาน รวมถึงใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อเข่าเพื่อแบ่งเบาภาระการทำงานของข้อเข่า ร่วมกับการกายภาพบำบัด 2.ยา เช่น ยาลดปวดเพื่อลดอาการข้อเข่าอักเสบและข้อเข่าเสื่อม ทั้งในรูปแบบการรับประทานและฉีด 3.การฉีดสารน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า 4.การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดด้วยคอมพิวเตอร์ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA), การผ่าตัดแบบทะนุถนอมแผลเล็กเจ็บน้อยฟื้นตัวเร็ว, การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทัยม ชนิดเคลื่อนไหวได้ และเก็บเอ็นไขว้หลังในข้อเข่า นอกจากนี้ก็ต้องหมั่นดูแลตนเองให้ดี ๆ ออกกำลังกาย และควบคุมอาหารการกินอย่างสม่ำเสมอด้วย รวมไปจนถึงการเลือกทานอาหารควรเลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ ทานพืชผัก ผลไม้อย่างเป็นประจำ ทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ เต้าหู้ และพวกถั่วต่าง ๆ ถั่วแดง ถั่วเขียว เพราะจะทำให้ได้ทั้งโปรตีนและกรดไขมันที่จำเป็น ช่วยเสริมข้อเข่าให้แข็งแรงขึ้นค่ะ
  7. ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุหลายคนที่เริ่มมีอาการแต่ไม่รีบรักษา ปล่อยทิ้งไว้นานจนมีอาการปวดข้อเข่าเรื้อรัง เนื่องจากผิวข้อเข่าเริ่มสึกกร่อนเสื่อมไปจนถึงระยะสุดท้าย ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เดินลำบาก มีเสียงดังในเข่า หลายคนสงสัยว่าแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะช่วยแก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้ายได้จริงหรือไหม? วันนี้เราได้รวบรวมความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ รพ.นครธน เกี่ยวกับวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ด้วยเทคนิคระงับปวด ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัด จะมีแนวทางเป็นอย่างไร ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมกันได้เลยค่ะ ข้อเข่า เป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะ ยืน เดิน หรือนั่ง หากข้อเข่ามีความผิดปกติ หรือข้อเข่าเสื่อมสภาพลง อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเวลาเคลื่อนไหว และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty: TKA) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง ทำโดยการนำผิวข้อเข่าที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดี ทั้งนี้ผู้ป่วยจะไม่เจ็บปวดหลังผ่าตัดเหมือนในอดีต เพราะผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและระงับอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ทำให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง สัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) อาการเริ่มจากปวดเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อได้พักการใช้เข่า อาการปวดก็จะทุเลา และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมาก ในรายที่เป็นมากอาการปวดจะเป็นตลอดเวลา เกิดภาวะข้อฝืด มีเสียงดังในเข่า ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด ตามมาด้วยการเกิดข้อผิดรูป หัวเข่าเสื่อมบวมโต บางรายมีขาโก่งออกมา ปวดเข่าบ่อย ๆ และปวดมากขึ้นตอนนั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ ขึ้นลงบันได หรือคุกเข่า เข่าบวม เข่าอุ่น รู้สึกร้อนบริเวณเข่า และมีปัญหาในการใช้งานข้อเข่า เช่น ลุกนั่งม้าเตี้ย ขึ้นลงบันได รวมทั้งการเดิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิม และอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ - อายุ – อายุมากก็มีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก - เพศ - เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย 2 เท่า - น้ำหนัก – ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว - การใช้ข้อเข่า – ผู้ที่นั่งยอง ๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนาน ๆ จะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว - การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า - ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ เนื่องจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกลดลง เทคโนโลยีการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบัน การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเป็นที่นิยมมาก เพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก ซึ่งผิวข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนนั้นทำมาจากสเตนเลสผสมจำพวกนิเกิล โคบอล ไททาเนียม ส่วนหมอนรองกระดูกเทียมทำจากวัสดุจำพวกพลาสติกชนิดพิเศษ (Polyethylene) ไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกาย น้ำหนักเบา และใช้งานได้คงทน เป็นที่รู้จักของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ทั่วโลก ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด มีดังนี้ - มีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่มีการสึกหรอและเสื่อมสภาพซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสี - อาการปวด บวม ตึงข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย - ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม 1.ด้านร่างกาย - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่แต่พออิ่ม ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน และยังคงต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม - บริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนให้แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขา ออกกำลังให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดิน เดินเร็ว ว่ายน้ำ - ขี่จักรยาน รวมถึงการบริหารปอดโดยการหายใจลึกๆ ยาวๆ บ่อย ๆ - ระวังการติดเชื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อาจไปสู่ข้อเทียม หากมีปัญหาควรพบแพทย์รักษาก่อนผ่าตัด เช่น แผลตามร่างกาย ปวดแสบขัดเวลาปัสสาวะซึ่ง อาจเกิดจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ รวมถึงสุขภาพในช่องปาก ควรทำฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด - งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด - งดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน งดก่อนผ่าตัด 7 วัน หรือตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกมากขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด 2.ด้านจิตใจ - ควรทำจิตใจให้ สงบ ผ่อนคลาย - หากมีเรื่องวิตกกังวล สงสัยเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง ค่าใช้จ่าย หรืออื่น ๆ ควรซักถาม ปรึกษาแพทย์หรือ พยาบาล 3.การเตรียมผู้ดูแลหลังผ่าตัด และเตรียมปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม - ควรเตรียมผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลือในระยะหลังผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือตามความเหมาะสม - ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น ควรนอนบนเตียงที่มีความสูงเสมอเข่า ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่าง ดูแลบ้านให้สะอาด เรียบร้อย ไม่มีของวางเกะกะ เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม ส้วมควรเป็นชักโครก เป็นต้น ขั้นตอนในการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะผิวของกระดูกทั้ง 3 ส่วนที่ประกอบกันเป็นข้อเข่า (กระดูกส่วนของต้นขา หน้าแข้ง และสะบ้า) โดยแพทย์จะตัดส่วนของผิวข้อที่สึกหรอหรืออักเสบออกไป ซึ่งมีความหนาประมาณ 8-10 มิลลิเมตร แต่งกระดูกให้ได้มุมรับกับผิวข้อเทียม แล้วจึงใส่ข้อเทียมด้านกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้งซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ทำด้วยโลหะอย่างดี โดยมีพลาสติกชนิดพิเศษซึ่งทำหน้าที่คล้ายกระดูกอ่อน คั่นอยู่ระหว่างข้อเทียมที่เป็นโลหะ ส่วนข้อเทียมที่ใส่ด้านหลังของกระดูกสะบ้าทำด้วยพลาสติกเช่นกัน และใช้ซีเมนต์พิเศษยึดระหว่างข้อเทียมกับกระดูกไว้ ดังนั้นข้อเทียมจึงมีความแข็งแรงและทนทานยาวนาน ผลการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมมากกว่า 90% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจะรู้สึกเจ็บปวดลดลง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ ยกระดับการผ่าตัด ด้วยตัวช่วยระงับความเจ็บปวด ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัด สิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกังวล คือ การปวดแผลหลังผ่าตัด แต่ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่จะช่วยไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บปวดหลังผ่าตัดเหมือนในอดีต โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและระงับอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย ที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการระงับปวดด้วยวิธีผสมผสาน (multimodal analgesia) คือ การใช้ยาที่มีกลไกการ ออกฤทธิ์แตกต่างกันร่วมกัน จึงระงับปวดได้ดี และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) ได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการฉีดยาชาลดปวด จะใช้เข็มหรือใส่สายคาเพื่อให้ยาชาที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย ยาชาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง จะทำภายใต้การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสอบตำแหน่งเส้นประสาทก่อนจะให้ยา จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูง สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ช่วยให้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล เนื่องด้วยแนวทางดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในปัจจุบัน นอกจากคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยแล้ว ยังมุ่งเน้น ส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด การสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Blocks) จึงเป็นวิธีที่ช่วยควบคุมความปวดระหว่าง และ หลังผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ช่วยให้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด หลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน ประมาณวันที่ 1-2 หลังทำผ่าตัดจะเริ่มหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดบ้านให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย และพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อหลังการผ่าตัด ข้อเข่าหลวมหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง เป็นต้น ทุกท่านคงจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย ด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกันแล้ว หากยังมีความกังวลสงสัย หรือต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์กระดูกและข้อ รพ.นครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เฉพาะทางไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ก้าวใหม่ได้อีกครั้งกับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม
  8. ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือมีการใช้ข้อเข่าอย่างหนักเป็นประจำ รวมถึงมีกรรมพันธุ์ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมาก่อน สิ่งเหล่านี้นับเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง และต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้นนั่นเอง โรคข้อเข่าเสื่อม เริ่มจากมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงดังกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนาน ๆ และเมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึก จะทำให้มีอาการปวดมาก และอาจมีข้อเข่าผิดรูปได้ การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า คือหนึ่งในแนวทางที่นิยมใช้ในการรักษาเข่าเสื่อม ซึ่งทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยวิธีฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ช่วยลดอาการปวดเข่าได้ดี มีขั้นตอนการรักษาอย่างไรบ้าง วันนี้เรานำข้อมูลมาฝากกันค่ะ “การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า” เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว เคยประสบอุบัติเหตุ โรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อเข่า และการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึก จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเป็นๆ หายๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก ซึ่งการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นหนึ่งวิธีการรักษา แล้วน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร การรักษาเป็นอย่างไร สามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกัน รู้จักน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ตามปกติแล้ว น้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อเข่าจะทำหน้าที่เหมือนน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ราบรื่น แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบภายในข้อ และเคลื่อนไหวไม่สะดวก คุณสมบัติของการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่ารักษาข้อเข่าเสื่อม น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จะช่วยปรับคุณภาพและสมดุลของปริมาณน้ำในข้อเข่า ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบทำให้อาการปวดข้อลดลง การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้ เมื่อไหร่ต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ในกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น-ปานกลาง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบใช้ยา แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าฉีดอย่างไร เมื่อแพทย์วินิจฉัยการรักษาแล้วว่าให้ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท 1.แบบโมเลกุลเล็ก จะทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าที่มีอาการปวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง หลังฉีดยาจะช่วยลดการปวดข้อเข่า ผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น 2.แบบโมเลกุลใหญ่ หรือฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแบบ Single Shot โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถลดอาการปวด อักเสบได้นาน 3-6 เดือน ซึ่งมีความสะดวกต่อคนไข้ในการเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดได้เป็นอย่างดี คำแนะนำหลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า รักษาข้อเข่าเสื่อม หลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้อเข่าอยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ โดยปกติแล้วการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย อาจพบเพียงอาการปวด บวม แดง เหมือนการฉีดยาทั่วไป ซึ่งจะหายได้เอง หรืออาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น และหลังฉีดยาควรพักการใช้ข้อเข่าอย่างน้อย 2 วัน ข้อยกเว้นสำหรับการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า การรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากข้อเข่าของคนไข้มีการติดเชื้อมาก่อน หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่จะต้องฉีดยา แพทย์ก็จะพิจารณาเป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีอื่นแทน รวมทั้งไม่แนะนำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงฉีด เพราะผลจากการรักษาจะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องช่วยดูแลในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับผู้มีปัญหา ข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่าจากอาการเข่าเสื่อม หรือมีข้อมูลที่อยากสอบถามเพิ่มเติม ในเรื่องที่เกี่ยวกับแนวทางการรักษาเข่าเสื่อม ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดเข่า-ข้อเข่าเสื่อม-ซ่อมได้ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
  9. ปัจจุบันยังมีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดเข่า จากภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะผู้สูงวัย และกรณีที่ผู้ป่วยนั้นภาวะมีข้อเข่าเสื่อมมาก ๆ ยิ่งจะมีอาการเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น บางรายถึงขนาดข้อเข่าผิดรูป ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นอย่างยิ่ง บทความนี้เราได้นำความรู้ดี ๆ ถึงแนวทางการรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมจากทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมาฝากกันค่ะ วิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่านั้นฉีดอย่างไรเมื่อฉีดแล้วต้องดูแลรักษาร่างกายอย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ “การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า” เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว เคยประสบอุบัติเหตุ โรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อเข่า และการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึก จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเป็นๆ หายๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก ซึ่งการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นหนึ่งวิธีการรักษา แล้วน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร การรักษาเป็นอย่างไร สามารถช่วยลดอาการปวดเข่าได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกัน รู้จักน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ตามปกติแล้ว น้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อเข่าจะทำหน้าที่เหมือนน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ราบรื่น แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบภายในข้อ และเคลื่อนไหวไม่สะดวก คุณสมบัติของการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จะช่วยปรับคุณภาพและสมดุลของปริมาณน้ำในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบทำให้อาการปวดข้อลดลง การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้ เมื่อไหร่ต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ในกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น-ปานกลาง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบใช้ยา แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าฉีดอย่างไร เมื่อแพทย์วินิจฉัยการรักษาแล้วว่าให้ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท แบบโมเลกุลเล็ก จะทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าที่มีอาการปวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง หลังฉีดยาจะช่วยลดการปวดข้อเข่า ผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น แบบโมเลกุลใหญ่ หรือฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแบบ Single Shot โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถลดอาการปวด อักเสบได้นาน 3-6 เดือน ซึ่งมีความสะดวกต่อคนไข้ในการเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดได้เป็นอย่างดี คำแนะนำหลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า รักษาข้อเข่าเสื่อม หลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้อเข่าอยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ โดยปกติแล้วการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย อาจพบเพียงอาการปวด บวม แดง เหมือนการฉีดยาทั่วไป ซึ่งจะหายได้เอง หรืออาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น และหลังฉีดยาควรพักการใช้ข้อเข่าอย่างน้อย 2 วัน ข้อยกเว้นสำหรับการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า การรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากข้อเข่าของคนไข้มีการติดเชื้อมาก่อน หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่จะต้องฉีดยา แพทย์ก็จะพิจารณาเป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีอื่นแทน รวมทั้งไม่แนะนำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงฉีด เพราะผลจากการรักษาจะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องช่วยดูแลในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งหมดนั้นคือข้อมูลดี ๆ ถึงแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ที่เป็นประโยชน์อย่างมากจากทางโรงพยาบาลนครธน ซึ่งศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมาก พร้อมบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดเข่า-ข้อเข่าเสื่อม-ซ่อมได้ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
  10. โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง โรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ โรคเกี่ยวกับข้อเข่านี้เกิดจากหลายสาเหตุ บางรายข้อเข่าเสื่อมอาจเกิดได้ก่อนวัยอันควร เนื่องจากการใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ เป็นต้น วันนี้โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงอาการและการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมาฝากกันค่ะ ข้อเข่า ข้อสะโพก ไม่แก่ก็เสื่อมได้ แม้ข้อเข่าจะเป็นเพียงส่วนประกอบของร่างกายที่หลายคนมองข้าม แต่ก็มีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายมากเลยทีเดียว หลายคนมีพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร ข้อเข่าก็เปรียบเสมือนบานพับที่เชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขา และเบ้ากระดูกหน้าแข้ง ซึ่งปลายกระดูกทั้งสองจะมีกระดูกอ่อนคลุมไว้ และจะมีน้ำเลี้ยงคอยหล่อลื่นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกในขณะที่เราเคลื่อนไหว ดังนั้นการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนบริเวณดังกล่าวนี่เอง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าติดขัด และเกิดการอักเสบ บวม และรู้สึก ปวดตามมา อาการเหล่านี้คือ “อาการข้อเข่าเสื่อม” สาเหตุสำคัญ “อาการข้อเข่าเสื่อม” - อายุ โดยอาการข้อเข่าเสื่อมจะพบได้มากในผู้ที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป - เพศ เพศหญิง จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยที่หมดประจำเดือน - น้ำหนักตัว ปกติเวลาเดินบนพื้นราบ ข้อเข่าแต่ละข้างของเราจะต้องแบกรับน้ำหนักประมาณ 3 เท่า ของน้ำหนักตัว ซึ่งหากเรามีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ก็จะส่งผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อชำรุด สึกหรอ และเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร - การบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า การเล่นกีฬาที่เกิดแรงกระแทกในข้อเข่า เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุ บริเวณข้อเข่า หรือเส้นเอ็นภายในข้อเข่า ก็จะส่งผลให้ความแข็งแรงของข้อเข่าลดน้อยลง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ผิวข้อเข่าชำรุดก่อนวัย การรักษา ข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบันการรักษาข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้หลายวิธี โดยหากอาการของโรคยังไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว โดยวิธีนี้จะสามารถทำได้กับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อในข้อเข่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดที่รุนแรงเรื้อรังมานาน แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม คือ การผ่าตัดเอาข้อที่เสื่อมสภาพออก จากนั้นแพทย์จะใส่ข้อใหม่ซึ่งทำมาจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ไม่เพียงการนำกระดูกที่เสื่อมออก แพทย์จะปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า ข้อสะโพก เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป ซึ่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ - ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด - สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ถ้าข้อเข่าติดแข็งหรือผิดรูป เช่น เข่าโก่ง หรือกล้ามเนื้อข้อเข่าลีบ ต้องมีการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูต่อไป - ความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดระยะเวลาของข้อเข่าเทียม ในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ข้อเข่าเทียมข้อสะโพกเทียมจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม สภาพของข้อเข่าเทียมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการใช้งานของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก และคุณสมบัติของข้อเทียม ซึ่งผู้ป่วยควรดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งแบบยอง ๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ และหมั่นดูแลตัวเองไม่ปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน รวมทั้งไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ก็จะช่วยให้ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นได้ วิธีการเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด ก่อนการผ่าตัด - เตรียมร่างกายให้พร้อม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอ - งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมง - แจ้งประวัติประจำตัว การแพ้ยา ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการป่วยก่อนการผ่าตัด - งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ - ถอดเครื่องประดับเอาไว้ในที่ปลอดภัย เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู หรือเครื่องประดับจากการเจาะตามร่างกาย เพื่อป้องกันการเสียหายใน ระหว่างการผ่าตัด หลังการผ่าตัด - งดน้ำงดอาหาร ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ตามแพทย์สั่ง - งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ นับว่าการผ่าตัดนั้นจำเป็นต้องอาศัยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญพิเศษ โดยทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ มีทีมแพทย์ที่ผ่านการศึกษาอบรมการผ่าตัดจากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งพร้อมให้การดูแลรักษาสุขภาพของท่านเป็นอย่างดี ซึ่งหากแพทย์ตรวจพบโรคแล้วจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ ขอมอบสิทธิ์พิเศษเสริมความปลอดภัยให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกประเภท ให้ได้รับการตรวจโรค COVID-19 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แม้ว่าเราจะสามารถสังเกตอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้เองในเบื้องต้น แต่เพื่อความแน่ใจและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จึงควรรีบไปพบแพทย์ หรือขอคำปรึกษาเรื่องทำการรักษาเพื่อไม่ให้อาการรุนแรงไปมากกว่านี้ เพราะยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไหร่ยิ่งเป็นการดูแลข้อเข่าให้ใช้ได้นานยิ่งขึ้นค่ะ ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ : https://bit.ly/39phvn0 สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ โทร 02-363-2000
  11. ผู้สูงอายุส่วนมากมักมีปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อม บางรายมีอาการข้อสะโพกเสื่อมร่วมด้วย ข้อเข่าก็เหมือนอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายที่มีอาการเสื่อมลงได้ เมื่อท่านมีอายุมากขึ้น ยกตัวอย่างคุณแม่บางท่านมีอาการข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุ 50 ต้น ๆ ในขณะที่คุณแม่อีกท่านที่อายุ 60 กว่า ๆ แต่ยังไม่มีอาการปวดเข่าเลย นั่นก็เป็นเพราะว่า อัตราความเร็วในการเสื่อมของข้อเข่า ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน โดยจะขึ้นอยู่กับความหนักของการใช้งานข้อเข่าในอดีตที่ผ่านมา นั่นเป็นเพราะว่าข้อเข่าทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกาย ดังนั้น หากผู้ที่ต้องทำงาน โดยยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อต้องหิ้วของหนัก ๆ ร่วมด้วย หรือเป็นคนที่น้ำหนักตัวมากกว่าปกติ ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่ใช้งานข้อเข่าหนัก นอกจากการยืนหรือเดินแล้ว การขึ้น-ลงบันได และการนั่งยอง ๆ ก็ทำให้มีน้ำหนักกดไปที่ข้อเข่ามากด้วยเช่นกัน หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังตัดสินใจและต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมใหม่ให้กับคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้สูงอายุในครอบครัว เพื่อแก้ไขอาการเสื่อมอยู่ล่ะก็ เรามีข้อมูลการรักษาและการผ่าตัดจากทางโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ มาฝากกันค่ะ ข้อเข่า ข้อสะโพก ไม่แก่ก็เสื่อมได้ แม้ข้อเข่าจะเป็นเพียงส่วนประกอบของร่างกายที่หลายคนมองข้าม แต่ก็มีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายมากเลยทีเดียว หลายคนมีพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร ข้อเข่าก็เปรียบเสมือนบานพับที่เชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขา และเบ้ากระดูกหน้าแข้ง ซึ่งปลายกระดูกทั้งสองจะมีกระดูกอ่อนคลุมไว้ และจะมีน้ำเลี้ยงคอยหล่อลื่นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกในขณะที่เราเคลื่อนไหว ดังนั้นการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนบริเวณดังกล่าวนี่เอง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าติดขัด และเกิดการอักเสบ บวม และรู้สึกปวดตามมา อาการเหล่านี้คือ “อาการข้อเข่าเสื่อม” สาเหตุสำคัญ “อาการข้อเข่าเสื่อม” - อายุ โดยอาการข้อเข่าเสื่อมจะพบได้มากในผู้ที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป - เพศ เพศหญิง จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยที่หมดประจำเดือน - น้ำหนักตัว ปกติเวลาเดินบนพื้นราบ ข้อเข่าแต่ละข้างของเราจะต้องแบกรับน้ำหนักประมาณ 3 เท่า ของน้ำหนักตัว ซึ่งหากเรามีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ก็จะส่งผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อชำรุด สึกหรอ และเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร - การบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า การเล่นกีฬาที่เกิดแรงกระแทกในข้อเข่า เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุ บริเวณข้อเข่า หรือเส้นเอ็นภายในข้อเข่า ก็จะส่งผลให้ความแข็งแรงของข้อเข่าลดน้อยลง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ผิวข้อเข่าชำรุดก่อนวัย การรักษา ข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบันการรักษาข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้หลายวิธี โดยหากอาการของโรคยังไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว โดยวิธีนี้จะสามารถทำได้กับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อในข้อเข่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดที่รุนแรงเรื้อรังมานาน แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม คือ การผ่าตัดเอาข้อที่เสื่อมสภาพออก จากนั้นแพทย์จะใส่ข้อใหม่ซึ่งทำมาจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ไม่เพียงการนำกระดูกที่เสื่อมออก แพทย์จะปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า ข้อสะโพก เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป ซึ่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ - ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด - สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ถ้าข้อเข่าติดแข็งหรือผิดรูป เช่น เข่าโก่ง หรือกล้ามเนื้อข้อเข่าลีบ ต้องมีการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูต่อไป - ความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดระยะเวลาของข้อเข่าเทียม ในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ข้อเข่าเทียมข้อสะโพกเทียมจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม สภาพของข้อเข่าเทียมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการใช้งานของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก และคุณสมบัติของข้อเทียม ซึ่งผู้ป่วยควรดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งแบบยอง ๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ และหมั่นดูแลตัวเองไม่ปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน รวมทั้งไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ก็จะช่วยให้ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นได้ วิธีการเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด ก่อนการผ่าตัด - เตรียมร่างกายให้พร้อม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอ - งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมง - แจ้งประวัติประจำตัว การแพ้ยา ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการป่วยก่อนการผ่าตัด - งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ - ถอดเครื่องประดับเอาไว้ในที่ปลอดภัย เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู หรือเครื่องประดับจากการเจาะตามร่างกาย เพื่อป้องกันการเสียหายใน ระหว่างการผ่าตัด หลังการผ่าตัด - งดน้ำงดอาหาร ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ตามแพทย์สั่ง - งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ นับว่าการผ่าตัดนั้นจำเป็นต้องอาศัยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญพิเศษ โดยทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ มีทีมแพทย์ที่ผ่านการศึกษาอบรมการผ่าตัดจากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งพร้อมให้การดูแลรักษาสุขภาพของท่านเป็นอย่างดี ซึ่งหากแพทย์ตรวจพบโรคแล้วจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ ขอมอบสิทธิ์พิเศษเสริมความปลอดภัยให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกประเภท ให้ได้รับการตรวจโรค COVID-19 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ : https://bit.ly/39phvn0 สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ โทร 02-363-2000
  12. ปัญหาด้านสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุที่มักจะเจอคือ มีภาวะของโรคข้อเข่าเสื่อมส่งผลให้มีอาการปวดเข่า เข่าฝืด ใช้งานไม่ถนัด บางครั้งมีอาการเข่าบวมโตปวดทรมานมาก ซึ่งปัจจุบันมีการใช้การรักษาด้วยวิธีการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ซึ่งเริ่มใช้กันแพร่หลายมากขึ้น การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร และช่วยให้โรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงวัยดีขึ้นจริงหรือไม่ หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุที่บ้านที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม กำลังมองหาทางเลือกในการรักษา วันนี้โรงพยาบาลนครธนจะพามาเจาะลึกเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไรบ้างกันค่ะ “การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า” เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว เคยประสบอุบัติเหตุ โรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อเข่า และการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึก จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็น โรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเข่าเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก ซึ่งการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นหนึ่งวิธีการรักษา แล้วน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร การรักษาเป็นอย่างไร สามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกัน รู้จักน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ตามปกติแล้ว น้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อเข่าจะทำหน้าที่เหมือนน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ราบรื่น แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบภายในข้อ และเคลื่อนไหวไม่สะดวก คุณสมบัติของการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จะช่วยปรับคุณภาพและสมดุลของปริมาณน้ำในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบทำให้อาการปวดข้อลดลง การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้ เมื่อไหร่ต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ในกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น-ปานกลาง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบใช้ยา แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าฉีดอย่างไร เมื่อแพทย์วินิจฉัยการรักษาแล้วว่าให้ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท แบบโมเลกุลเล็ก จะทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าที่มีอาการปวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง หลังฉีดยาจะช่วยลดการปวดข้อผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น แบบโมเลกุลใหญ่ หรือฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแบบ Single Shot โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถลดอาการปวด อักเสบได้นาน 3-6 เดือน ซึ่งมีความสะดวกต่อคนไข้ในการเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดได้เป็นอย่างดี คำแนะนำหลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า หลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้ออยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ โดยปกติแล้วการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย อาจพบเพียงอาการปวด บวม แดง เหมือนการฉีดยาทั่วไป ซึ่งจะหายได้เอง หรืออาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น และหลังฉีดยาควรพักการใช้ข้อเข่าอย่างน้อย 2 วัน ข้อยกเว้นสำหรับการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า การรักษาแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากข้อเข่าของคนไข้มีการติดเชื้อมาก่อน หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่จะต้องฉีดยา แพทย์ก็จะพิจารณาเป็นการรักษาด้วยวิธีอื่นแทน รวมทั้งไม่แนะนำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงฉีด เพราะผลจากการรักษาจะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องช่วยดูแลในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรงพยาบาลนครธน เราหวังว่าข้อมูลนี้คงจะเป็นประโยชน์กับคุณอย่างมาก หากมีคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุที่บ้านที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมอยู่ สามารถติดต่อเข้ามาขอคำปรึกษาเพิ่มเติมกับทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนได้ค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก นพ. นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/ปวดเข่า-ข้อเข่าเสื่อม-ซ่อมได้ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
  13. เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า เป็นเส้นเอ็นที่บริเวณกึ่งกลางข้อเข่าด้านหน้า ซึ่งเส้นเอ็นนี้จะอยู่เชื่อมต่อระหว่างข้อกระดูกของต้นขาและยึดกันกับข้อกระดูกของหน้าแข้ง โดยการวางตัวของเอ็นจะทำมุมในลักษณะแนวเฉียงไขว้เป็นรูปกากบาทกับเส้นเอ็นไขว้หลัง จึงเรียกว่าเส้นเอ็นไขว้หน้า ส่วนใหญ่สาเหตุที่พบมักเกิดในอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาที่ต้องเกิดการปะทะกันอย่างเช่น บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, เบสบอล, ฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุหรือการเล่นที่ไม่ถูกวิธี บางครั้งการหมุนเข่าหรือเข่าพลิกอย่างฉับพลัน อาจทำให้ “เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด” ได้แบบไม่รู้ตัว สาเหตุจากอุบัติเหตุอื่น ๆ ที่อาจพบได้แต่ไม่บ่อยเท่ากับการเล่นกีฬา บางรายพบว่ามีเสียงลั่นในข้อ มีอาการปวดเข่า เข่าบวม อาจสงสัยว่าอาการนี้มาจากข้อเข่าเสื่อม หรือเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดกันแน่ เรามีข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องจากโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการมาให้ความรู้กันค่ะ การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมเอ็นเข่าและไหล่ เรื่องเล็กที่ไม่เล็ก เมื่อพูดถึงเรื่องการบาดเจ็บของเส้นเอ็นส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มคนอายุน้อยและเกิดการบาดเจ็บหลังได้รับอุบัติเหตุหรือหลังจากเล่นกีฬาส่วนมากการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดคือการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าเข่าและการฉีกขาดของเอ็นไหล่ซึ่งการบาดเจ็บดังกล่าวจะส่งผลให้มีการปวดเรื้อรังรู้สึกข้อเข่าหลวมไม่มั่นคงหรือไหล่หลุดง่ายซึ่งหากปล่อยไว้นานอาการปวดจะรบกวนชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทนไม่ไหว สาเหตุ 1.การบาดเจ็บของเอ็นเข่า - ส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้แก่กีฬาจำพวก Contact Sport หรือกีฬาที่ต้องเกิดการปะทะกันเช่น บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, เบสบอล, ฟุตบอล - เกิดจากการหมุนเข่าหรือเข่าพลิกอย่างฉับพลันทำให้เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด - อุบัติเหตุจราจร 2.การบาดเจ็บของเอ็นข้อไหล่ - อาการบาดเจ็บของข้อไหล่เกิดจากการได้รับการกระแทกโดยตรงเช่นกันล้มไหล่กระแทกกับพื้นหรือการล้มเอามือยันพื้นทำให้แรงดันพื้นส่งมากระทบที่ไหล่ หรือการเล่นกีฬาที่ผิดท่า อาการ มีอาการปวดบวมช้ำหรือเดินลงน้ำหนักไม่ได้ถ้าถึงขั้นเอ็นฉีกขาดก็จะมีเลือดออกในข้อซึ่งเขาจะบวมมากโดยส่วนใหญ่จะเดินลงน้ำหนักไม่ได้เลยใน 1-2 วันแรกหลังจากได้รับการบาดเจ็บ การรักษา การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องซ่อมเอ็นใหม่ซึ่งข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องคือ - ช่วยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในทำให้มีความเจ็บน้อยปวดน้อยและลดการเสียเลือด - ขนาดของแผลมีขนาดเล็กเพียง 1-2 เซนติเมตรซึ่งเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดจะทำให้มีแผลกว้างถึง 12 ถึง 20 เซนติเมตร ดังนั้นการผ่าตัดแบบ MIS จะช่วยลดขนาดของแผลเป็น - การพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังผ่าตัดเพียง 2-3 วัน ซึ่งเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดที่ต้องเสียเวลาพักฟื้นนานประมาณ 5-7 วัน - ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ - ช่วยลดการเกิดพังผืดจากการผ่าตัดแบบเปิด - แพทย์ผู้ผ่าตัดเห็นรายละเอียดของตำแหน่งที่ต้องการผ่าตัดได้อย่างชัดเจนด้วยเทคโนโลยีกำลังขยายของกล้องซึ่งช่วยให้ผ่าตัดได้ตรงจุดจึงลดการกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ข้อจำกัดของการผ่าตัดส่องกล้อง มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีนวัตกรรมพิเศษ การผ่าตัดด้วย Minimally invasive surgery (MIS) นั้นจำเป็นต้องอาศัยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญพิเศษโดยทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการมีทีมแพทย์ที่ผ่านการศึกษาอบรมการผ่าตัดด้วยวิธี Minimally invested surgery จากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งพร้อมให้การดูแลรักษาสุขภาพของท่านเป็นอย่างดี ซึ่งหากแพทย์ตรวจพบโรคแล้วจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการขอมอบสิทธิพิเศษเสริมความปลอดภัยให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกประเภทให้ได้รับการตรวจโรค COVID -19 ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมนวัตกรรมการผ่าตัดแบบส่องกล้อง Minimally invasive surgery มาช่วยลดระยะเวลาในการพักฟื้นและลดรอยแผลจากการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงตอนนี้คุณคงจะได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับอาการเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดแล้ว และ คลายความกังวลที่จะเข้ารับการรักษาด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องแล้วนะคะ ฉะนั้นผู้ที่กำลังมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาก่อนที่การบาดเจ็บจะเรื้อรังจนทำให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรนะคะ ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ : https://bit.ly/3nJrV6p สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-363-2000
  14. ข้อเข่า ข้อสะโพก ไม่แก่ก็เสื่อมได้ โรคข้อเข่าข้อสะโพกเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนภายในข้อ ส่วนมากการเสื่อมนี้จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเป็นการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของกระดูกอ่อน แต่ถึงแม้อายุจะไม่เยอะก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ ส่วนปัจจัยหนึ่งที่พบบ่อย คือ พันธุกรรม โดยชาวเอเชียเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าฝรั่ง นอกจากนี้นักกีฬา นักวิ่ง โดยเฉพาะนักฟุตบอล ซึ่งใช้เข่าเยอะและเกิดการบาดเจ็บที่หัวเข่าบ่อย ๆ จนส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร ข้อเข่าก็เปรียบเสมือนบานพับที่เชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขา และเบ้ากระดูกหน้าแข้ง ซึ่งปลายกระดูกทั้งสองจะมีกระดูกอ่อนคลุมไว้ และจะมีน้ำเลี้ยงคอยหล่อลื่นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกในขณะที่เราเคลื่อนไหว ดังนั้นการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนบริเวณดังกล่าวนี่เอง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าติดขัด และเกิดการอักเสบ บวม และรู้สึกปวดตามมา อาการเหล่านี้คือ “อาการข้อเข่าเสื่อม” สาเหตุสำคัญ “อาการข้อเข่าเสื่อม” - อายุ โดยอาการข้อเข่าเสื่อมจะพบได้มากในผู้ที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป - เพศ เพศหญิง จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยที่หมดประจำเดือน - น้ำหนักตัว ปกติเวลาเดินบนพื้นราบ ข้อเข่าแต่ละข้างของเราจะต้องแบกรับน้ำหนักประมาณ 3 เท่า ของน้ำหนักตัว ซึ่งหากเรามีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ก็จะส่งผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อชำรุด สึกหรอ และเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร - การบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า การเล่นกีฬาที่เกิดแรงกระแทกในข้อเข่า เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า หรือเส้นเอ็นภายในข้อเข่า ก็จะส่งผลให้ความแข็งแรงของข้อเข่าลดน้อยลง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ผิวข้อเข่าชำรุดก่อนวัย การรักษา ข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบันการรักษาข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้หลายวิธี โดยหากอาการของโรคยังไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว โดยวิธีนี้จะสามารถทำได้กับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อในข้อเข่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดที่รุนแรงเรื้อรังมานาน แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ การผ่าตัดเอาข้อที่เสื่อมสภาพออก จากนั้นแพทย์จะใส่ข้อใหม่ซึ่งทำมาจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ไม่เพียงการนำกระดูกที่เสื่อมออก แพทย์จะปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป ซึ่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ - ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด - สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ถ้าข้อเข่าติดแข็งหรือผิดรูป เช่น เข่าโก่ง หรือกล้ามเนื้อข้อเข่าลีบ ต้องมีการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูต่อไป - ความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัด ระยะเวลาของข้อเข่าเทียม ในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ข้อเข่าเทียมจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม สภาพของข้อเข่าเทียมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการใช้งานของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก และคุณสมบัติของข้อเทียม ซึ่งผู้ป่วยควรดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งแบบยอง ๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ และหมั่นดูแลตัวเองไม่ปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน รวมทั้งไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ก็จะช่วยให้ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นได้ วิธีการเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด ก่อนการผ่าตัด - เตรียมร่างกายให้พร้อม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอ - งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมง - แจ้งประวัติประจำตัว การแพ้ยา ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการป่วยก่อนการผ่าตัด - งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ - ถอดเครื่องประดับเอาไว้ในที่ปลอดภัย เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู หรือเครื่องประดับจากการเจาะตามร่างกาย เพื่อป้องกันการเสียหายใน ระหว่างการผ่าตัด หลังการผ่าตัด - งดน้ำงดอาหาร ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ตามแพทย์สั่ง - งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ เพราะข้อเข่า ข้อสะโพกเสื่อม ไม่ใช่โรคสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น อย่าละเลยอาการปวดข้อ โดยเฉพาะข้อเข่าและข้อสะโพก ซึ่งเป็นอวัยวะที่รองรับการทรงตัวของร่างกาย เมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ซึ่งหากแพทย์ตรวจพบโรคแล้วจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ ขอมอบสิทธิ์พิเศษเสริมความปลอดภัยให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกประเภท ให้ได้รับการตรวจโรค COVID-19 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ : https://bit.ly/39phvn0 สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ โทร 02-363-2
  15. มีอาการปวด ตึง หรือขัดในข้อ ระยะแรกมีอาการหลังจากใช้งานข้อเข่านาน ๆ เช่น เมื่อยืนนาน แต่พอได้พักอาการจะดีขึ้น ระยะหลังจะมีอาการปวดตลอดเวลา พักแล้วก็ไม่หาย อาจเป็นอาการของ ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม การผ่าตัดข้อเข่าเทียมเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอาการปวดและสามารถเคลื่อนไหวได้ดี ข้อเข่า ข้อสะโพก ไม่แก่ก็เสื่อมได้ ข้อเข่าก็เปรียบเสมือนบานพับที่เชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขา และเบ้ากระดูกหน้าแข้ง ซึ่งปลายกระดูกทั้งสองจะมีกระดูกอ่อนคลุมไว้ และจะมีน้ำเลี้ยงคอยหล่อลื่นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกในขณะที่เราเคลื่อนไหว ดังนั้นการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนบริเวณดังกล่าวนี่เอง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าติดขัด และเกิดการอักเสบ บวม และรู้สึกปวดตามมา อาการเหล่านี้คือ “อาการข้อเข่าเสื่อม” สาเหตุสำคัญ “อาการข้อเข่าเสื่อม” - อายุ โดยอาการข้อเข่าเสื่อมจะพบได้มากในผู้ที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป - เพศ เพศหญิง จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยที่หมดประจำเดือน - น้ำหนักตัว ปกติเวลาเดินบนพื้นราบ ข้อเข่าแต่ละข้างของเราจะต้องแบกรับน้ำหนักประมาณ 3 เท่า ของน้ำหนักตัว ซึ่งหากเรามีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ก็จะส่งผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อชำรุด สึกหรอ และเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร - การบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า การเล่นกีฬาที่เกิดแรงกระแทกในข้อเข่า เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุ บริเวณข้อเข่า หรือเส้นเอ็นภายในข้อเข่า ก็จะส่งผลให้ความแข็งแรงของข้อเข่าลดน้อยลง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ผิวข้อเข่าชำรุดก่อนวัย การรักษา ข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบันการรักษาข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้หลายวิธี โดยหากอาการของโรคยังไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว โดยวิธีนี้จะสามารถทำได้กับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อในข้อเข่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดที่รุนแรงเรื้อรังมานาน แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ การผ่าตัดเอาข้อที่เสื่อมสภาพออก จากนั้นแพทย์จะใส่ข้อใหม่ซึ่งทำมาจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ไม่เพียงการนำกระดูกที่เสื่อมออก แพทย์จะปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป ซึ่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ - ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด - สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ถ้าข้อเข่าติดแข็งหรือผิดรูป เช่น เข่าโก่ง หรือกล้ามเนื้อข้อเข่าลีบ ต้องมีการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูต่อไป - ความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัด ระยะเวลาของข้อเข่าเทียม ในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ข้อเข่าเทียมจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม สภาพของข้อเข่าเทียมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการใช้งานของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก และคุณสมบัติของข้อเทียม ซึ่งผู้ป่วยควรดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งแบบยอง ๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ และหมั่นดูแลตัวเองไม่ปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน รวมทั้งไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ก็จะช่วยให้ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นได้ วิธีการเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด ก่อนการผ่าตัด - เตรียมร่างกายให้พร้อม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอ - งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 8 ชั่วโมง - แจ้งประวัติประจำตัว การแพ้ยา ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการป่วยก่อนการผ่าตัด - งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ - ถอดเครื่องประดับเอาไว้ในที่ปลอดภัย เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู หรือเครื่องประดับจากการเจาะตามร่างกาย เพื่อป้องกันการเสียหายใน ระหว่างการผ่าตัด หลังการผ่าตัด - งดน้ำงดอาหาร ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ตามแพทย์สั่ง - งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด โดยทางโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ มีทีมแพทย์ที่ผ่านการศึกษาอบรมการผ่าตัดจากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งพร้อมให้การดูแลรักษาสุขภาพของท่านเป็นอย่างดี และความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัด ซึ่งหากแพทย์ตรวจพบโรคแล้วจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ ขอมอบสิทธิ์พิเศษเสริมความปลอดภัยให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกประเภท ให้ได้รับการตรวจโรค COVID-19 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ https://bit.ly/39phvn0 สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ โทร 02-363-2000
×
×
  • สร้างใหม่...