ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อย ', ' รอบเดือนของผู้หญิง ', ' สุขภาพผู้หญิง ', ' ส่องกล้อง', ' ปวดท้องเมนส์ ' หรือ ' โรงพยาบาลนนทเวช'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 3 รายการ

  1. ไขความจริง “ปวดประจำเดือนอย่างไร” ถือว่าผิดปกติ สาวๆ หลายคน อาจละเลยกับอาการปวดท้องในช่วงเวลาวันนั้นของเดือน เพราะคิดว่าเป็นเพียงแค่ ”อาการการปวดท้อง” เล็กๆ น้อยๆ ปวดแป๊บเดียว กินยาเดี๋ยวก็หาย แต่ความจริงแล้วอาการปวดท้องอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงได้มากมายเลยทีเดียว ไขข้อข้องใจ ปวดประจำเดือน/ปวดท้องน้อย อย่างไร...ถือว่าผิดปกติ ผู้หญิงหลายคนอาจคิดว่า การปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนเป็นเรื่องปกติของผู้หญิง หรือฟังจากญาติพี่น้องว่าก็ปวดอย่างนี้ทุกคน แต่บางคนถึงขั้นต้องลางานเวลาถึงวันนั้นของเดือน หลายคนเลือกที่จะซื้อหายามารับประทานเอง โดยไม่คิดว่าอาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนนั้นอาจมาจากสาเหตุที่ต้องได้รับการดูแลและแก้ไขจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไขความจริง “ปวดประจำเดือนอย่างไร” ถือว่าผิดปกติ จริงๆ แล้วอาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน จะมีอาการปวดได้ในระดับหนึ่ง บางครั้งรับประทานยาแก้ปวดก็จะดีขึ้น แต่มีหลายรายที่อาการปวดท้องประจำเดือนจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดไปหลัง ไปเอว ไปก้นกบ ปวดร้าวไปที่หน้าขา มีอาการท้องอืดท้องบวม ท้องใหญ่ขึ้น เวลามีระดูจะถ่ายอุจจาระเหลวหรือท้องเสีย บางรายถ่ายอุจจาระจะปวดเบ่งปวดถ่ายมากกว่าช่วงไม่มีประจำเดือน บางคนเวลามีประจำเดือนจะปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น ปัสสาวะขัด หรือเวลามีเพศสัมพันธ์จะเจ็บท้องน้อย เจ็บมดลูก ซึ่งปกติแล้วไม่ควรมี อาการปวดประจำเดือนดังกล่าวอาจจะมีสาเหตุหรือโรคบางอย่างที่ทำให้เกิดขึ้น ที่พบได้บ่อยคือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( Endometriosis ) ซึ่งในระยะแรกจะเป็นตุ่มเล็กๆ ฝังตัวอยู่ในอุ้งเชิงกราน ทุกเดือนที่มีเลือดประจำเดือนออกทางช่องคลอด ตุ่มเล็กๆ ที่ฝังตัวในอุ้งเชิงกรานก็จะมีเลือดออกเช่นกันทุกเดือน จะฝังตัวมากขึ้น เมื่อเป็นมากจะมีพังผืดเกิดขึ้นไปพันรัดกับอวัยวะข้างเคียงทำให้มีอาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ การมีเพศสัมพันธ์ แม้กระทั่งทำให้มีบุตรยาก เนื่องจากท่อนำไข่ไม่สามารถจับไข่ได้ ไข่ก็ไม่สามารถผ่านท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับตัวอสุจิ หากเข้าข่ายปวดประจำเดือนแบบผิดปกติควรทำอย่างไร อาการดังกล่าวควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อการวินิจฉัยโรค สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนมากหรืออาการปวดท้องน้อย เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกแทรกในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis), เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myoma uteri), พังผืดในอุ้งเชิงกราน, การอักเสบติดเชื้อ, ตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น หลายครั้งที่ไปพบแพทย์แล้วบอกว่าไม่พบความผิดปกติ ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวจากการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน อัลตร้าซาวด์อาจไม่พบ การตรวจค้นหาสาเหตุต่อไปคือการส่องกล้องเข้าไปในช่องท้องดูเพื่อตรวจว่าภายในอุ้งเชิงกรานมีพังผืด มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ ซึ่งสามารถผ่าตัดผ่านกล้องรักษาได้ในเวลาเดียวกัน อะไรที่แอบแฝงอยู่ ตรวจหลายครั้งยังมีอาการปวดอยู่ ปวดมากบางครั้งเป็นลม จนคนข้างๆ คิดว่ามารยาหรือคิดมาก คิดไปเองหรือเป็นโรคประสาท หลายคนอาจจะหลงไปอยู่ที่คลินิกจิตเวชก็เป็นได้ Check list คุณเข้าข่ายปวดประจำเดือนแบบผิดปกติหรือไม่ ลองเช็คอาการเหล่าดู หากยังไม่แน่ใจว่าคุณควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ เพราะการตรวจเช็คสุขภาพภายในของสตรี เพื่อสืบค้นรอยโรคซ่อนเร้น เป็นสิ่งที่จำเป็นแม้ว่ายังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะหากตรวจวินิจฉัยพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรกจะสามารถรักษาให้หายได้ ท่านมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ ! (ใช่/ไม่/ไม่เคยตรวจ) 1. ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ 2. ปวดประจำเดือนมากจนต้องกินยาแก้ปวดเป็นประจำ 3. ปวดประจำเดือนมากจนต้องเพิ่มขนาดยาแก้ปวดมากขึ้น 4. ต้องไปพบแพทย์ทุกครั้ง เพื่อฉีดยาแก้ปวดเมื่อมีประจำเดือน 5. มีประจำเดือน ปวดท้องน้อยมากจนเป็นลม 6. มีประจำเดือน มีอาการปวดไปหลัง ไปเอว ก้นกบ ร้าวไปที่ขา 7. มีประจำเดือน มีอาการปวดไปทวารหนัก 8. มีอาการปวดร้าว ลงขา เมื่อมีประจำเดือน 9. มีประจำเดือน มีอาการท้องอืด ท้องบวม ท้องใหญ่ขึ้น 10. ถ่ายอุจจาระช่วงมีประจำเดือนจะปวดเบ่งถ่ายมากกว่าปกติ 11. มีประจำเดือน จะปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ 12. ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดประจำเดือน ได้รับตรวจหลายครั้ง ไม่พบความผิดปกติ 13. มีเพศสัมพันธ์กับแฟน จะเจ็บมดลูก เจ็บท้องน้อย 14. คลำได้ก้อน ที่ท้องน้อย 15. ปวดท้องน้อย ร่วมกับมีเลือดประจำเดือนออกมาก ออกนาน เป็นก้อน 16.เคยตรวจพบเนื้องอกหรือได้รับการผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์ หากตอบว่า “ใช่” ในข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่านั้นควรได้รับคำปรึกษาจากสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการตรวจภายในและอัลตร้าซาวด์เพื่อค้นหารอยโรคที่แฝงอยู่ คุณผู้หญิงทุกคนควรสังเกตอาการปวดท้องประจำเดือนของตัวเอง กรณีพบว่าตนเองมีความผิดปกติ ควรได้รับคำปรึกษาจากสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการตรวจภายในและอัลตร้าซาวด์เพื่อค้นหารอยโรคที่แฝงอยู่ ทั้งนี้สามารถเข้ามาปรึกษาที่โรงพยาบาลนนทเวชได้ โดยโรงพยาบาลนนทเวชพร้อมด้วยทีมสูตินรีแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้แนะนำค่ะ ขอบคุณข้อมูล : https://www.nonthavej.co.th/Menstrual-Cramps.php
  2. โรคข้อเข่าเสื่อม คือภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆ ทำให้มีอาการปวด และปวดมากขึ้นเวลาใช้งานและปวดลดลงหลังจากพัก มีเสียงหรือมีความรู้สึกว่ากระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหวข้อ เช่น เวลาเดิน โดยทั่วไปจะพบมากในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป รวมทั้งวัยหนุ่มสาว ที่ต้องใส่ส้นสูงนานๆ เดิน-ยืนมากๆ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก เช็คอาการ “ปวดเข่า” ปวดเข่า เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ 1. ปวดรอบเข่า หน้าขา • มักมีสาเหตุมาจากหลัง ปวดร้าวลงมา (ต้องแก้ปัญหาเรื่องหลังอาการจะหายไปเอง) 2. ปวดที่ข้อเข่า • มักจะเป็นด้านในของเข่าก่อน ต่อไปจะมีอาการบวมร่วมด้วยเสมอ ปวดที่ข้อเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) เริ่มจากเข่าหลวมเวลาเดิน นั่ง ขึ้น-ลงบันได จะมีเสียงดังเพราะกระดูกและลูกสะบ้าสีกัน ต่อไปจะเริ่มเสียวเดินไม่ปกติจนเกิดกระเผลก (ซึ่งทำให้ขาอีกข้างหนึ่งต้องทำงานหนักแทน และอาจทำให้เป็นทั้งสองข้าง) เกิดบวมเจ็บมาก เข่าจะยิ่งหลวมและโค้งออกข้างๆ (เข่าค้อม) “ปวดเข่า” พบใน • วัยสูงอายุ • วัยหนุ่มสาวที่ใส่ส้นสูงนานๆ เดิน-ยืนมากๆ • น้ำหนักตัวมาก ยกของหนักเป็นประจำ ขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ • เคยได้รับอุบัติเหตุหกล้มเข่ากระแทก มีปัญหาจากหลังนาน ๆ • โรคข้อต่าง ๆ รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ การป้องกันและดูแลตัวเอง • คุมน้ำหนักตัวให้เหมาะกับอายุและอาชีพ • อายุยิ่งมากกระดูกก็ยิ่งบาง ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม • ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น ผู้สูงอายุไม่ควรขึ้น-ลงบันได • นอนเตียงแทนการนอนพื้นเพื่อไม่ต้องงอเข่ามาก • นั่งเก้าอี้ที่สูงพอเข่าตั้งฉากเท้าถึงพื้น (ไม่ควรนั่งโซฟานิ่มๆ) ไม่นั่งกับพื้นนาน ๆ • หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ • การเดิน ขึ้น-ลงบันได ให้ก้าวขาดีขึ้นแล้วตามด้วยขาที่เจ็บและตอนลงให้ก้าว ขาเจ็บลงแล้วตามด้วยขาดี (บนบันไดขั้นเดียวกัน) ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น (ยังไม่ยุบบวมหรือยังเจ็บอยู่) ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ กระดูกจะสึกหรอมากขึ้นกว่าเข่าค้อม (โก่งออกด้านข้าง) จะทำให้ขาสั้นเดินกระเผลกมากขึ้นและปวดหลังได้ ซึ่งจะต้องถึงขั้นผ่าตัด หรือใส่ข้อเข่าเทียมถ้าทุเลาปวด ยุบบวมให้เริ่มบริหารเข่า ถ้าเดินเจ็บเสียวมาก • ให้ใส่ปลอกเข่าหรือ ผ้าพันพยุงเข่าไว้ และควรถือไม้เท้าด้านตรงข้ามกับเข่าข้างเจ็บ เพื่อแบ่งน้ำหนักตัวไปลงที่ไม้เท้า ช่วยลดน้ำหนักที่จะลงเข่า • ใช้ความร้อนประคบ ทายา นอนพัก ใช้หมอนรองใต้เข่าเพื่อให้ช่องว่างในเข่าเผยอออก เยื่อบุเข่าจะไม่ถูกบีบมากการอักเสบก็จะดีขึ้น • การนอน ควรใช้หมอนรองเข่า ถ้าเวลาพลิกตัวมีอาการปวดมากขึ้น ก็ควรใช้ผ้าพันเข่าเพื่อช่วยผยุงไว้ (ไม่ควรพันให้แน่นเกินไปเพราะอาจทำให้ข้อเท้าบวมได้) ถ้าทุเลาปวด ยุบบวม ให้เริ่มบริหารเข่า บริหารไม่ต้านน้ำหนัก (ถ้ามีปลอกเข่าก็สวมด้วย) 1. บริหารอยู่กับที่ (ควรทำในท่านอน) • นอนหงาย วางเข่า 2 ข้างบนหมอน ส้นเท้าวางลงพื้น เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา (กดขาพับลงบนหมอนส้นเท้าวางกับพื้น) • นับ 1-10 พัก (นับ 1-10 = 1ครั้ง ) ทำทั้งหมด 10 ครั้ง ถ้าขณะที่บริหารมีอาการปวด ให้หยุดบริหาร • ท่านั่ง นั่งเก้าอี้ ก้นชิดและพิงผนัง ควรมีม้วนผ้ารองใต้ขาเหนือเข่า (ใกล้ขอบเก้าอี้ที่นั่ง) จะทำให้ตัวไม่แอ่นหรือหลังโก่งเหยียดเข่าตรง เกร็ง นับ 1-10 พัก (เวลาพักควรวางเท้าบนไม้รองเท้าเตี้ยๆ) แล้วนับ 1-10 ต่อทำจนครบ 10 ครั้งแล้วสลับข้าง 2. บริหารแบบเคลื่อนไหวที่เข่า (ทำในลักษณะต้านทางแรงดึงดูดของโลก) ทำได้ทั้งท่านอนและท่านั่ง ให้เริ่มตั้งแต่น้อยครั้งแล้วค่อยๆ เพิ่มจนครบ 10 ครั้ง 2.1 ท่าเหยียดเข่า · ท่านอนหงาย นอนหงาย วางเขาลงบนหมอนข้าง (รองใต้ขาพับ) เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา เข่าเหยียดตรง (ส้นเท้าลอยจากพื้น ต้นขาอยู่กับที่ นับ 1-10 ทำจนครบ 10 ครั้ง) 2.2 ท่างอเข่า นอนคว่ำ · หมอนรองที่หน้าท้องบริเวณบั้นเอวก้นและหลัง (ถ้านอนคว่ำไม่ได้ให้นอนตะแคง) ถ้าเข่ามีเสียงดังให้งอแค่ตั้งฉาก ถ้าไม่มีเสียงให้งอเต็มที่ การบริหารท่านี้ หากงอเข่าแม้เพียงเล็กน้อยก็มีอาการปวดให้หยุดทำ ต้องรักษาให้หายอักเสบก่อน เช็คกลุ่มเสี่ยง อาการข้อเข่าดีหรือข้อเข่าเสื่อม หากคุณ อายุ 50 ปี ขึ้นไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน (BMI ดัชนีมวลกายมากกว่า 23) ผู้ที่มีโรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ ผู้ที่มีอาการปวดเข่า ปวดมากขึ้นเวลาใช้งานและปวดลดลงหลังจากพัก มีเสียงหรือมีความรู้สึกว่ากระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหวข้อ เช่น เวลาเดิน ข้อเข่าหลวม รู้สึกไม่มั่นคงเวลายืนหรือเดิน เนื่องจากเอ็นรอบๆ ข้อหย่อน ข้อเข่าบวม อาจเป็นๆ หายๆ เกิดจจากเยื่อบุข้อมีอาการอักเสบและมีการสร้างน้ำไขข้อมากขึ้น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หากคุณเข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นอย่างน้อย 1-2 ข้อ คุณมีโอกาสเสี่ยงโรค “ข้อเข่าเสื่อม” ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนนทเวช ยินดีให้คำแนะนำและให้การรักษาอย่างมืออาชีพ ด้วยทีมแพทย์มากประสบการณ์ด้านศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Knee-Pain-Symptoms.php
  3. ปัจจุบันการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดโดยการฉีดยาชา เช่น การเสริมจมูก ทำตา 2 ชั้น เป็นต้น หรือจะเป็นการผ่าตัดที่ต้องดมยาสลบ เช่น การผ่าตัดเสริมหน้าอก การผ่าตัดดึงหน้า เป็นต้น แต่มีการผ่าตัดที่มีสถิติสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่เฉพาะในกลุ่มคนไทย แต่รวมถึงชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาผ่าตัดในประเทศไทยด้วยนั้น คือ “การผ่าตัดเสริมหน้าอก” โดยเป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มขนาดของเต้านมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ไม่เพียงแต่เพื่อความสวยงาม แต่ยังรวมไปถึงแก้ไขความผิดปกติที่เกิดจากการรักษามะเร็งเต้านมอีกด้วย วัตถุประสงค์หลักๆ ของการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งเสริมหน้าอก · แก้ปัญหาเต้านมไม่ได้รูปทรงที่สวยงาม ทำขนาดเล็กให้ใหญ่ หรือทำขนาดที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลง · แก้ปัญหาหย่อนคล้อย สร้างเต้านมใหม่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหลังตัดเต้านม ปรับเปลี่ยนรูปร่าง และขนาดของหัวนมก็สามารถทำได้ด้วย ซิลิโคนสำหรับการเสริมหน้าอก สามารถแบ่งชนิดได้ตามรูปทรง ดังนี้ · ซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงกลม เป็นลักษณะที่เลือกใช้กันมากที่สุด · ซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ เหมาะสำหรับรูปร่างสูงบาง ลดปัญหาเต้านมทรงลูกบอล ขนาดและลักษณะของซิลิโคนสำหรับการศัลยกรรมเสริมหน้าอก เริ่มต้นตั้งแต่ 100 ซีซี ไปจนถึง 800-1000 ซีซี ตามแต่ความเหมาะสม ซึ่งควรได้รับการวิเคราะห์แนะนำโดยศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง ซึ่งซิลิโคนสำหรับการเสริมหน้าอก สามารถจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ · ผิวทราย เป็นมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา แต่ล่าสุดมีรายงานว่า ซิลิโคนสำหรับการเสริมหน้าอกลักษณะผิวเรียบอาจจะมีความเสี่ยงกับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ (breast implant associated anaplastic large cell lymphoma) · ผิวเรียบ ใช้กันดั้งเดิมก่อนมีการผลิตผิวทราย ไม่มีการรายงานว่าเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเม็ดเลือดขาว สารภายในถุงเต้านมเทียม ปัจจุบันจะมีการใช้งาน เพียง 2 ชนิด คือ · ถุงน้ำเกลือ ภายในตัวถุงจะเป็นน้ำเกลือ ซึ่งหากรั่วออกมา ร่างกายสามารถดูดซึมกลับไปได้ทั้งหมด · ถุงซิลิโคนเจล ให้สัมผัสที่นุ่มหยุ่นเป็นธรรมชาติมากกว่า หากรั่วออกมาจากตัวถุงหุ้มร่างกาย ไม่สามารถดูดซึมไปได้เอง โครงสร้างเหนียวยึดเกาะกันเอง สามารถลดการกระจายได้เมื่อรั่วซึม ตำแหน่งการสร้างแผลผ่าตัดเพื่อการศัลยกรรมเสริมหน้าอก · แนวแผลผ่าตัดเสริมหน้าอกใต้ฐานขอบใต้ราวนม ได้เต้านมที่ตำแหน่งแม่นเท่ากันที่สุด เกิดการช้ำน้อย และไม่มีโอกาสเกิดปัญหาหัวนมชา หรือท่อน้ำนมอุดตันบาดเจ็บ · แนวแผลผ่าตัดเสริมหน้าอกที่รักแร้ ไม่มีรอยแผลบนเต้านม แต่การผ่าตัดค่อนข้างเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะจะมองไม่เห็นจุดเลือดออกขณะผ่าตัด การกำหนดตำแหน่งซิลิโคนแม่นยำต่ำกว่า มีโอกาสเกิดผังผืดมากกว่า เพราะเป็นการเลาะโพรงด้วยการแหวกเนื้อ (blunt dissection) ศัลยแพทย์บางท่านใช้กล้องผ่าตัดร่วมด้วยเพื่อลดปัญหา · แนวแผลผ่าตัดเสริมหน้าอกรอบปานนม รอยแผลครึ่งวงกลมตามแนวปานนม มีความเสี่ยงบาดเจ็บเส้นประสาทและท่อน้ำนมมากกว่าวิธีอื่น · แนวแผลผ่าตัดเสริมหน้าอกบริเวณสะดือ เป็นวิธีที่แผลเล็กที่สุด และไม่มีแผลบนเนื้อเต้านม ความยากคือการสอดถุงน้ำเกลือผ่านแผลสะดือ และเติมน้ำเกลือจนพองได้รูป ซับซ้อนมากกว่าวิธีอื่นๆ และจำเป็นต้องใช้เครื่องมือผ่านกล้อง ทำให้มีราคาค่อนข้างสูง ความลึกของการวางตำแหน่งซิลิโคนเสริมหน้าอก · ใต้กล้ามเนื้อ หากเกิดปัญหาพังผืดจะอยู่ในชั้นลึก เต้านมใหม่มีความพุ่งน้อยกว่า เป็นภูเขาฐานกว้าง มีความจำเป็นต้องตัดกล้ามเนื้ออกบางส่วนเพื่อสร้างโพรง อาจทำให้กำลังแขนและไหล่ของนักกีฬาลดลง เมื่อเกร็งกล้ามเนื้ออกอาจเห็นเต้านมขยับ · ใต้เนื้อเต้านม เจ็บน้อยกว่า ฟื้นตัวเร็วกว่า เพราะไม่มีการตัดผ่านกล้ามเนื้อ ได้ความพุ่งเป็นเต้ามากกว่า ไม่ทำให้เกิดปัญหาในนักกีฬา ความเปลี่ยนแปลงในช่วงแรกหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก · อาจมีความรู้สึกตึงแน่นบริเวณหน้าอก อาการจะดีขึ้นเองใน 1 - 2 วัน · รอยช้ำอาจเกิดขึ้นในบางราย และจะค่อยๆ จางหายไปเอง แต่ไม่ควรจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสัญญาณของเลือดออกภายใน · อาการชาที่หัวนมอาจเกิดขึ้นได้มากในกรณีที่เนื้อถูกยืดด้วยซิลิโคนขนาดใหญ่ แต่ไม่ควรเกิดอาการชานานเกิน 1 - 2 สัปดาห์ในกรณีปกติ การเตรียมตัวก่อนรับการผ่าตัดเสริมหน้าอก · เมื่อตัดสินใจผ่าตัดเสริมหน้าอก ควรได้รับการตรวจหามะเร็งเต้านมอย่างละเอียด · งดอาหารเสริมและยาที่อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ · งดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัดเสริมหน้าอก อย่างน้อย 6 ชั่วโมง การดูแลตนเองหลังจากการผ่าตัดเสริมหน้าอก · หลีกเลี่ยงการขับรถ การยกของหนัก และใช้กำลังแขนหนักใน 1 - 2 สัปดาห์ หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก · ทำความสะอาดแผลผ่าตัดตามคำแนะนำของศัลยแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ · การพันผ้ารัดหน้าอกมีทั้งผลดีและผลเสีย ควรเลือกพันในกรณีที่ศัลยแพทย์แนะนำ · หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะจะมีผลกระทบกับการหายของแผล อาจทำให้แผลไม่ติด แผลแยก · หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์หลังผ่าตัดเสริมหน้าอก เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดเลือดออกและบวมหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก · ไม่ควรนวดเต้านมด้วยตัวเอง หากการผ่าตัดทำให้เกิดความช้ำน้อยและหายไว · พังผืดอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก จึงไม่มีความจำเป็นต้องนวดทุกราย · เมื่อจำเป็นต้องนวดในกรณีเต้านมแข็งหรือผิดรูป ควรอยู่ในความดูแลของศัลยแพทย์ · หลังผ่าตัดเสริมหน้าอกสามารถให้นมบุตรได้ในตามปกติ แต่หากวางแผนตั้งครรภ์แนะนำให้มีระยะเวลาห่างจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ · ประมาณ 1 – 2 เดือนแรก รูปร่างของเต้านมจะใหญ่กว่าขนาดจริง และจะค่อยๆ หย่อยตัวลงเป็นธรรมชาติใกล้เคียงขนาดจริง หลังผ่าตัดเสริมหน้าอก 2 – 3 เดือน คำถาม? ยอดฮิต การผ่าตัดเสริมหน้าอก Q: หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก สามารถให้นมบุตรได้หรือไม่? A: เมื่อการผ่าตัดหายดี สมบูรณ์ สามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ Q: หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก ต้องพักฟื้นกี่วัน? A: พักที่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อให้ยาปฏิชีวนะ กลับพักฟื้นที่บ้าน 1 วัน เพื่อปรับตัวการทำกิจวัตรประจำวัน จากนั้นใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ควรเลี่ยงการออกกำลังกายหรือยกของหนัก 1 – 2 เดือน Q: หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลหรือไม่? A: หลังผ่าตัดคนไข้ควรได้รับการนอนพักฟื้น 1 คืน เพื่อให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด จนครบ 24 ชม. และมีการเฝ้าระวังการฟื้นตัวหลังดมยาสลบ Q: อายุซิลิโคนเสริมหน้าอก อยู่ได้กี่ปี? A: อยู่ได้ตลอดไป หากไม่มีปัญหาแทรกซ้อนหรืออุบัติเหตุรุนแรง Q: หากมีความจำเป็นต้องนำซิลิโคนเสริมหน้าอกออก ลักษณะของหน้าอกจะเป็นอย่างไร? A: แฟบลง อาจเกิดรอยย่นผิดรูป Q: ผ่าตัดเสริมหน้าอกมาแล้ว พออายุเริ่มมากขึ้น หรือผ่านการให้นมบุตรมาแล้ว รูปร่างของหน้าอกจะหย่อนคล้อย หรือเปลี่ยนแปลงไปมากหรือไม่? A: อาจหย่อนคล้อยได้ แต่ไม่มากเท่าคนที่ไท่เคยเสริมหน้าอก Q: การผ่าตัดเสริมหน้าอกมีโอกาสทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้มากขึ้นหรือไม่? A: ปัจจุบันหากเลี่ยงซิลิโคนเนื้อทราย จัดว่าเป็นการผ่าตัดที่ไม่สร้างความเสี่ยงกับมะเร็งเต้านม การที่ใครๆ ต้องการมีบุคลิกภาพที่ดูดี รูปร่างที่สมส่วน เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้ตัวเองน่ามองยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่ผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมก็ต้องการเสริมความมั่นใจให้ตัวเองกลับมาดูดีอีกครั้ง ด้วยการศัลยกรรมเสริมหน้าอกไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงการทำศัลยกรรมก็เช่นกัน หากตัดสินใจที่จะทำศัลยกรรมตกแต่งความงามแล้วต้องศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ ศูนย์ผิวพรรณและศัลยกรรมความงาม โรงพยาบาลนนทเวช พร้อมให้คำปรึกษาโดยศัลยแพทย์ตกแต่งความงามเฉพาะทาง พร้อมพยาบาล วิชาชีพ และเครื่องมือที่ทันสมับภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ ข้อมูลโดย: นพ.ศุภฤกษ์ กมลวัทน์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง https://www.nonthavej.co.th/Breast-Augmentation.php
×
×
  • สร้างใหม่...