ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'ผ่าตัดเข่า'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 2 รายการ

  1. ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุหลายคนที่เริ่มมีอาการแต่ไม่รีบรักษา ปล่อยทิ้งไว้นานจนมีอาการปวดข้อเข่าเรื้อรัง เนื่องจากผิวข้อเข่าเริ่มสึกกร่อนเสื่อมไปจนถึงระยะสุดท้าย ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เดินลำบาก มีเสียงดังในเข่า หลายคนสงสัยว่าแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะช่วยแก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้ายได้จริงหรือไหม? วันนี้เราได้รวบรวมความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ รพ.นครธน เกี่ยวกับวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ด้วยเทคนิคระงับปวด ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัด จะมีแนวทางเป็นอย่างไร ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมกันได้เลยค่ะ ข้อเข่า เป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะ ยืน เดิน หรือนั่ง หากข้อเข่ามีความผิดปกติ หรือข้อเข่าเสื่อมสภาพลง อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเวลาเคลื่อนไหว และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty: TKA) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง ทำโดยการนำผิวข้อเข่าที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดี ทั้งนี้ผู้ป่วยจะไม่เจ็บปวดหลังผ่าตัดเหมือนในอดีต เพราะผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและระงับอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ทำให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง สัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) อาการเริ่มจากปวดเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อได้พักการใช้เข่า อาการปวดก็จะทุเลา และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมาก ในรายที่เป็นมากอาการปวดจะเป็นตลอดเวลา เกิดภาวะข้อฝืด มีเสียงดังในเข่า ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด ตามมาด้วยการเกิดข้อผิดรูป หัวเข่าเสื่อมบวมโต บางรายมีขาโก่งออกมา ปวดเข่าบ่อย ๆ และปวดมากขึ้นตอนนั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ ขึ้นลงบันได หรือคุกเข่า เข่าบวม เข่าอุ่น รู้สึกร้อนบริเวณเข่า และมีปัญหาในการใช้งานข้อเข่า เช่น ลุกนั่งม้าเตี้ย ขึ้นลงบันได รวมทั้งการเดิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิม และอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ - อายุ – อายุมากก็มีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก - เพศ - เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย 2 เท่า - น้ำหนัก – ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว - การใช้ข้อเข่า – ผู้ที่นั่งยอง ๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนาน ๆ จะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว - การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า - ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ เนื่องจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกลดลง เทคโนโลยีการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบัน การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเป็นที่นิยมมาก เพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก ซึ่งผิวข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนนั้นทำมาจากสเตนเลสผสมจำพวกนิเกิล โคบอล ไททาเนียม ส่วนหมอนรองกระดูกเทียมทำจากวัสดุจำพวกพลาสติกชนิดพิเศษ (Polyethylene) ไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกาย น้ำหนักเบา และใช้งานได้คงทน เป็นที่รู้จักของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ทั่วโลก ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด มีดังนี้ - มีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่มีการสึกหรอและเสื่อมสภาพซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสี - อาการปวด บวม ตึงข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย - ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม 1.ด้านร่างกาย - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่แต่พออิ่ม ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน และยังคงต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม - บริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนให้แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขา ออกกำลังให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดิน เดินเร็ว ว่ายน้ำ - ขี่จักรยาน รวมถึงการบริหารปอดโดยการหายใจลึกๆ ยาวๆ บ่อย ๆ - ระวังการติดเชื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อาจไปสู่ข้อเทียม หากมีปัญหาควรพบแพทย์รักษาก่อนผ่าตัด เช่น แผลตามร่างกาย ปวดแสบขัดเวลาปัสสาวะซึ่ง อาจเกิดจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ รวมถึงสุขภาพในช่องปาก ควรทำฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด - งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด - งดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน งดก่อนผ่าตัด 7 วัน หรือตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกมากขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด 2.ด้านจิตใจ - ควรทำจิตใจให้ สงบ ผ่อนคลาย - หากมีเรื่องวิตกกังวล สงสัยเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง ค่าใช้จ่าย หรืออื่น ๆ ควรซักถาม ปรึกษาแพทย์หรือ พยาบาล 3.การเตรียมผู้ดูแลหลังผ่าตัด และเตรียมปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม - ควรเตรียมผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลือในระยะหลังผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือตามความเหมาะสม - ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น ควรนอนบนเตียงที่มีความสูงเสมอเข่า ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่าง ดูแลบ้านให้สะอาด เรียบร้อย ไม่มีของวางเกะกะ เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม ส้วมควรเป็นชักโครก เป็นต้น ขั้นตอนในการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะผิวของกระดูกทั้ง 3 ส่วนที่ประกอบกันเป็นข้อเข่า (กระดูกส่วนของต้นขา หน้าแข้ง และสะบ้า) โดยแพทย์จะตัดส่วนของผิวข้อที่สึกหรอหรืออักเสบออกไป ซึ่งมีความหนาประมาณ 8-10 มิลลิเมตร แต่งกระดูกให้ได้มุมรับกับผิวข้อเทียม แล้วจึงใส่ข้อเทียมด้านกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้งซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ทำด้วยโลหะอย่างดี โดยมีพลาสติกชนิดพิเศษซึ่งทำหน้าที่คล้ายกระดูกอ่อน คั่นอยู่ระหว่างข้อเทียมที่เป็นโลหะ ส่วนข้อเทียมที่ใส่ด้านหลังของกระดูกสะบ้าทำด้วยพลาสติกเช่นกัน และใช้ซีเมนต์พิเศษยึดระหว่างข้อเทียมกับกระดูกไว้ ดังนั้นข้อเทียมจึงมีความแข็งแรงและทนทานยาวนาน ผลการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมมากกว่า 90% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจะรู้สึกเจ็บปวดลดลง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ ยกระดับการผ่าตัด ด้วยตัวช่วยระงับความเจ็บปวด ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัด สิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกังวล คือ การปวดแผลหลังผ่าตัด แต่ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่จะช่วยไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บปวดหลังผ่าตัดเหมือนในอดีต โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและระงับอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย ที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการระงับปวดด้วยวิธีผสมผสาน (multimodal analgesia) คือ การใช้ยาที่มีกลไกการ ออกฤทธิ์แตกต่างกันร่วมกัน จึงระงับปวดได้ดี และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) ได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการฉีดยาชาลดปวด จะใช้เข็มหรือใส่สายคาเพื่อให้ยาชาที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย ยาชาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง จะทำภายใต้การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสอบตำแหน่งเส้นประสาทก่อนจะให้ยา จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูง สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ช่วยให้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล เนื่องด้วยแนวทางดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในปัจจุบัน นอกจากคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยแล้ว ยังมุ่งเน้น ส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด การสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Blocks) จึงเป็นวิธีที่ช่วยควบคุมความปวดระหว่าง และ หลังผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ช่วยให้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด หลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน ประมาณวันที่ 1-2 หลังทำผ่าตัดจะเริ่มหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดบ้านให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย และพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อหลังการผ่าตัด ข้อเข่าหลวมหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง เป็นต้น ทุกท่านคงจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย ด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกันแล้ว หากยังมีความกังวลสงสัย หรือต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์กระดูกและข้อ รพ.นครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เฉพาะทางไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ก้าวใหม่ได้อีกครั้งกับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม
  2. โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งการเสื่อมตามวัยจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น การมีน้ำหนักตัวที่มากเกิน จากกรรมพันธุ์ หรือจากอุบัติเหตุก็เป็นได้ หากผู้ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ทำการรักษา ข้อเข่าเสื่อมก็จะยังคงอาการเสื่อมต่อไป จนมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และอาจทำให้เกิดความยากลำบากและความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบัน โดยการผ่าตัดเข่าเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ถือเป็นอีกทางเลือกในการรักษาข้อเข่าเสื่อม ใช้ในกรณีที่รักษาเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตได้ผลดีและเป็นที่นิยมมากขึ้น ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้ว ก็ยังคงต้องดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเทียมให้ยาวนาน ดังนั้นเพื่อให้เราได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า หลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมแล้ว ดูแลตัวเองอย่างไรดี? ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมีคำตอบมาให้ท่านแล้ว ไปทราบถึงแนวทางการดูแลที่ถูกต้องพร้อมกันได้เลยค่ะ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเป็นที่นิยมมาก เพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้น กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ รอบข้อเข่าต้องการเวลาที่จะสมานแผล ดังนั้นการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเพิ่มยืดหยุ่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุด ข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ - ประมาณวันที่ 1-2 วัน จะมีการประคบเย็นบริเวณแผลผ่าตัดเพื่อลดบวม ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกบริหารกล้ามเนื้อขา งอขา เหยียดขา ในรายที่สามารถฟื้นตัวได้เร็วจะได้ฝึกยืนลงน้ำหนักและหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน (Walker) ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด - ประมาณวันที่ 3-5 จะมีการฝึกเดิน ฝึกขึ้น-ลงบันได แนะนำวิธีการฝึกใช้กำลังเข่าและขา โดยนักกายภาพบำบัด หากผู้ป่วยสามารถเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดินได้คล่อง และไม่มีอาการแทรกซ้อน แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ - ใน 2 สัปดาห์แรก ควรเดินด้วยไม้ค้ำยันหรือคอกช่วยเดิน เพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวกดทับหัวเข่ามากเกินไป และป้องกันการลื่นล้ม โดยควรเดินในระยะสั้นๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มระยะทางและเวลาการเดินให้มากขึ้น ทั้งนี้ต้องมาพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อหลังการผ่าตัด ข้อเข่าหลวมหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง เป็นต้น การดูแลตัวเองเพื่อถนอมข้อเข่าเทียมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้ว ก็ยังคงต้องดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเทียมให้ยาวนาน โดยการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ดังต่อไปนี้ 1.อิริยาบถในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อ ได้แก่ - นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย นั่งไขว่ห้าง ไขว้ขา การบิดหมุนเข่าไม่ว่ากรณีใด ๆ - ขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น - การยกหรือแบกของหนักๆ - การใช้หมอนรองใต้เข่าเป็นเวลานาน ๆ ขณะนอน เพราะจะทำให้การไหลเวียนเลือดที่ใต้ข้อพับเข่าเป็นไปได้ไม่สะดวก และข้อเข่าอาจตึงยึด 2.การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน บริเวณบ้านควรจัดให้โล่ง สว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวางบนทางเดิน เพื่อกันการสะดุดล้มลง ถ้าจำเป็นต้องขึ้นลงบันได ควรมีราวจับทั้ง 2 ด้านของบันได ส้วมเป็นแบบชักโครก ภายในห้องน้ำควรใช้วัสดุกันลื่น มีราวจับ และจัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและสะดวกสบายขณะอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการลงไปอาบในอ่างอาบน้ำ เพราะอาจลื่นล้มได้ง่าย 3.การควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มีน้ำหนักมากเกินไปเพื่อข้อเข่าเทียมจะได้ไม่ต้องรองรับน้ำหนักมาก ลดแรงกระแทกที่ข้อเทียม ควรรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เช่น รับประทานข้าวกล้อง ดื่มนมขาดมันเนย ทานผักและผลไม้ที่มีกากใยและรสชาติไม่หวาน รับประทานเนื้อสัตว์ติดมันให้น้อยที่สุด เช่น ปลาซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายเหมาะกับผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด และหวานจัด เลือกรับประทานอาหารนึ่ง ตุ๋น อบ ย่าง แทนอาหารประเภทผัด ทอด และแกงกะทิ ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และงดดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ 4.การออกกำลังกายและเล่นกีฬา ควรออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อรอบข้ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดด เช่น วิ่ง เทนนิส เป็นต้น การออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ ว่ายน้ำ เดิน ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้วใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่? โดยทั่วไปภายหลังผ่าเข่า 6 สัปดาห์ จะสามารถเดินได้โดยไม่ใช้ไม้เท้าช่วยพยุง เหยียดหรืองอข้อเข่าได้สุดหรือเกือบสุด และประมาณ 2-6 เดือน ข้อเทียมจะมีความแข็งแรงเสมือนเป็นข้อของผู้ป่วยเอง ทั้งนี้การฟื้นตัวของผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และปัจจัยหลายๆ อย่าง ในระยะนี้จะสามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งการนั่ง เดิน ขึ้น-ลงบันได สามารถงอเข่าได้ประมาณ 120-140 องศา ออกกำลังกายที่ไม่มีแรงกระแทกต่อเข่าได้ เช่น เดินเร็ว รำมวยจีน ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ตีกอล์ฟ ได้ ขับรถในกรณีที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ ถ้าใส่ข้อเทียมข้างซ้ายจะขับรถได้เร็วขึ้น ทั้งหมดนั้นคือแนวทางการปฏิบัติตน หลังการผ่าตัดเข่าเทียมที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วย ใช้เวลาพักฟื้นน้อยลง และสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้เร็วยิ่งขึ้น ทางศูนย์กระดูกข้อ โรงพยาบาลนครธน พร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม และสนับสนุนแนวทางสร้างสุขภาพดีให้ข้อเข่า โดยแพทย์ผู้ชำนาญการที่มากประสบการณ์ อีกทั้งทางศูนย์กระดูกข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
×
×
  • สร้างใหม่...