ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'มะเร็งทางนรีเวช ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ' หรือ 'โรงพยาบาลนนทเวช'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

ปฏิทิน

  • ปฎิทินชุมชน

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 7 รายการ

  1. การรักษา “มะเร็งเต้านม” ? “มะเร็งเต้านม” เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงทั่วโลก ถือเป็นภัยเงียบภัยร้ายใกล้ตัวที่น่ากลัวและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 เนื่องจากไม่มีสัญญาณเตือน ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมจึงเป็นสิ่งสำคัญ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพิ่มโอกาสในการรักษาโรคให้หายขาดได้ วิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ไม่เคยหยุดนิ่งกับ ทำให้การรักษามะเร็งเต้านมมีการพัฒนาการรักษาให้ดีขึ้น ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษามะเร็งเต้านมที่มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้เป็นมะเร็งเต้านมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ การผ่าตัดเพื่อการรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัดเพื่อการรักษามะเร็งเต้านมสามารถทำได้หลายวิธี ในอดีตมาตรฐานรักษามะเร็งเต้านม คือ การตัดเต้านมทิ้งรวมถึงเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ซึ่งเป็นมาตรฐานการรักษาที่ใช้กันมายาวนาน ปัจจุบันมีทางเลือกการรักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดแบบอื่น ๆ ซึ่งได้ผลการรักษาที่เท่าเทียมกัน เช่น การผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้า หรือตัดเพียงก้อนมะเร็งออกร่วมกับการฉายแสง หลังการผ่าตัดผู้ป่วยต้องรับการฉายแสงร่วมด้วย เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจยังหลงเหลืออยู่ และยังคงสามารถรักษาความสวยงามและรูปร่างของเต้านมใกล้เคียงกับของเดิม โดยมีผลการรักษาดีเทียบเท่าการผ่าตัดแบบตัดเต้านมทิ้ง แพทย์จะสามารถเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และความเสี่ยงรวมถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับรูปลักษณะของเต้านมหลังการผ่าตัด การรักษาวิธีนี้แพทย์ต้องมีผลการวินิจฉัยที่แม่นยำ ทราบตำแหน่งของก้อนมะเร็งที่ชัดเจน เพื่อสามารถประเมินว่าจะเก็บเต้านมนั้นได้หรือไม่ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ประเมินแล้วไม่สามารถที่จะเก็บเต้านมไว้ได้จำเป็นต้องตัดเต้านม หรือผู้ป่วยไม่มีความประสงค์จะเก็บเต้านมไว้ ศัลยแพทย์จะตัดเต้านมออก โดยแบ่งเป็น 2 แบบคือ ตัดเฉพาะเต้านมและเก็บผิวหนังไว้ หรือตัดเต้านมและผิวหนัง สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายที่ไม่สามารถเก็บเต้านมและผิวหนังไว้ได้ ก็สามารถสร้างเต้านมใหม่โดยใช้เนื้อเยื่อผู้ป่วยเอง เช่น การใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและผิวที่หน้าท้อง หรือใช้กล้ามเนื้อและผิวหนังบริเวณหลังมาสร้างเต้านมใหม่ทดแทน ส่วนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นสามารถก็จะสามารถเก็บผิวเต้านมไว้ได้ ศัลยแพทย์จะพิจารณาสร้างเต้านมใหม่โดยการใช้ซิลิโคน ซึ่งสามารถทำในเวลาเดียวกับการผ่าตัดเอาเต้านมออกหรือทำภายหลังก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมมีผลการรักษาที่ดีกว่าเดิมมาก ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาว การรักษาโรคร่วมกับการเก็บรักษาเต้านม หรือรูปร่างของเต้านมไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ลดความสูญเสีย เพิ่มความมั่นใจ ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่มีผลเสียใด ๆ ต่อการักษา ภายหลังการรักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาอื่นร่วมด้วยเพื่อการรักษามะเร็งเต้านม ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำ การรักษามะเร็งเต้านมใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่มีฤทธิ์ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยออกฤทธิ์ทั่วร่างกายต่างจากการผ่าตัดซึ่งให้ผลเฉพาะที่ จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งเต้านมที่หลงเหลือหรือมีการหลุดรอดไปยังระบบอื่น ๆ ช่วยให้มีโอกาสหายขาดและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น อย่างไรก็ตามยาเคมีบำบัดนี้ นอกจาะจะออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ก็อาจมีผลต่อเซลล์ปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ไขกระดูก ผมและขนตามร่างกาย ระบบสืบพันธ์และเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากกการใช้ยาได้ อย่างไรก็ตามเซลล์ปกติสามารถที่จะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทนเซลล์ที่ถูกทำลายได้ ดังนั้นผลข้างเคียงจะเกิดขึ้นแค่ชั่วคราว และสามารถกลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติเมื่อสิ้นสุดการรักษา ปัจจุบันนิยมให้ยาเคมีหลายชนิดร่วมกันเพื่อให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการใช้ยาเพียงชนิดเดียว โดยเลือกใช้ตามชนิดและระยะโรคของผู้ป่วยแต่ละราย การรักษามะเร็งเต้านมโดยการฉายแสง (Radiation Therapy) เป็นการรักษาด้วยการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง มักใช้การฉายแสงร่วมในกรณีที่ผู้ป่วยผ่าตัดแบบสงวนเต้า หรือผู้ป่วยที่มีมะเร็งลุกลามมาที่ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อหน้าอก การฉายแสงโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน พัก 2 วันเพื่อให้ผิวหนังได้พักและซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลาย เมื่อเริ่มต้นการรักษาแล้วต้องทำต่อเนื่องจนครบกำหนด การรักษาในแต่ละวันใช้เวลาไม่กี่นาที และไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด ประกอบกับวิวัฒนาการด้านการฉายแสงก้าวหน้าไปมาก จึงให้ผลการรักษาที่ดีและมีอาการแทรกซ้อนน้อยมาก ๆ โดยทั่วไปมักทำภายหลังการผ่าตัด แต่ในกรณีก้อนขนาดใหญ่อาจใช้การฉายแสง เพื่อลดขนาดก้อนก่อนการผ่าตัดก็ได้ การรักษามะเร็งเต้านมโดยการใช้ยาต้านฮอร์โมน (Hormonal Therapy) เป็นการรักษาโดยการให้ยาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับฮอร์โมนเพศ ออกฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งขาดฮอร์โมนที่เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโต ลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ Ø กลุ่มที่ 1 ยาที่ออกฤทธิ์แย่งจับกับตัวรับฮอร์โมน (Tamoxifen) Ø กลุ่มที่ 2 ยายับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (Aromatase Inhibitor) ออกฤทธิ์ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ผลดีในผู้ป่วยวัยหมดประจำเดือน Ø กลุ่มที่ 3 ยายับยั้งการทำงานของรังไข่ (Ovarian Suppression) ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน/โปรเจสเตอโรนในผู้ป่วยที่ยังมีประจำเดือนอยู่ Ø กลุ่มที่ 4 ยาสลายตัวรับฮอร์โมน (Selective Estrogen Receptor Degrader) ออกฤทธิ์จับกับตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้ทำงานไม่ได้ และทำลายตัวรับฮอร์โมนให้สลายตัวไป ซึ่งยากลุ่มนี้ส่งผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับฮอร์โมน ซึ่งมีผลต่อเซลล์มะเร็งทั่วร่างกายเช่นเดียวกับการให้ยาเคมีบำบัด การรักษามะเร็งเต้านมโดยการใช้ยาแบบพุ่งเป้า (Targeted therapy) ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยการรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยตัวของมันเอง หรือยังสามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายทางอ้อมโดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้มาทำลาย หรือ กระตุ้นการส่งสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งมาทำลายเซลล์มะเร็งนั่นเอง ช่วยลดอันตรายต่อเซลล์ปกติ ลดผลข้างเคียง และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแต่ละรายจะได้รับการรักษา “มะเร็งเต้านม” ด้วยวิธีใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง การวินิจฉัยร่วมกันของทีมแพทย์ และความพร้อมของผู้ป่วย คุณผู้หญิงไม่ควรนิ่งนอนใจต่ออาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจนำพาไปสู่โรคร้าย ดังนั้นควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน ตรวจสุขภาพประจำปีพร้อมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์เต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาความผิดปกติ รู้เร็ว รีบรักษา มีโอกาสหายสูง ศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลนนทเวช เวช พร้อมให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม พร้อมพยาบาลวิชาชีพ และเครื่องมือที่ทันสมัยภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ ขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์ชนินทร์ อภิวาณิชย์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม โรงพยาบาลนนทเวช ประสบการณ์ · หัวหน้างานมะเร็งเต้านม สถาบันมะเร็งแห่งชาติ · หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรมมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ · หัวหน้าหลักสูตร Oncoplastic สถาบันมะเร็งแห่งชาติ · สมาชิก International Oncoplastic Breast Surgery ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Breast-Cancer-Treatment.php
  2. หนึ่งอาการที่สร้างความกวนใจให้คุณผู้หญิงอยู่เสมอ นั่นคืออาการปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน บางคนถึงขั้นต้องลางานเวลาถึงวันนั้นของเดือน หลายคนจะคิดว่าการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนนั้นเป็นเรื่องปกติ บางครั้งรับประทานยาแก้ปวดก็จะดีขึ้น แต่ก็มีหลายรายที่อาการปวดท้องประจำเดือนจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดไปหลัง เอว ก้นกบ ปวดร้าวไปที่หน้าขามีอาการท้องอืดท้องบวม เวลามีระดูจะถ่ายอุจจาระเหลวหรือท้องเสีย บางรายถ่ายอุจจาระจะปวดเบ่งปวดถ่ายมากกว่าช่วงไม่มีประจำเดือน บางคนเวลามีประจำเดือนจะปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น ปัสสาวะขัดหรือเวลามีเพศสัมพันธ์จะเจ็บท้องน้อย เจ็บมดลูก ซึ่งปกติแล้วไม่ควรมี อาการปวดประจำเดือนอาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบางอย่างที่ได้ เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, เยื่อบุโพรงมดลูกแทรกในกล้ามเนื้อ, เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก, พังผืดในอุ้งเชิงกราน, การอักเสบติดเชื้อ, ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรืออาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ โรงพยาบาลนนทเวชเป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคของสตรีทุกช่วงวัย ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ พร้อมให้การรักษาความผิดปกติจากอาการปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน ตกขาว และอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของสตรี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากการคลอดลูกเองหรือมีอายุมากกว่า 50 ปี ให้การรักษาผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช และมะเร็งทางนรีเวช เมื่อลองมองย้อนกลับไปในอดีตหากพูดถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด หลายคนคงรู้สึกวิตกกังวลเรื่องอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด จึงไม่แปลกที่คนไข้หลายรายจะปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีนี้แล้วหันไปพึ่งวิธีอื่นแทน แต่ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะตอบโจทย์ของผู้ป่วย เป็นวิธีที่กระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายในน้อยและแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็ว หมดปัญหาหน้าท้องมีแผลยาวไม่สวยงาม สามารถกลับไปทำงานและทำกิจวัตรประจำวันตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม เทคโนโลยีนี้เหมาะสำหรับผ่าตัดรักษาโรคทางนรีเวช ทั้งโรคซีสต์ ช๊อกโกแลคซีสต์ ผ่าตัดซีสต์ เนื้องอกในโพรงมดลูก เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกและรังไข่ การผ่าตัดไส้ติ่งทางหน้าท้อง เลาะผังผืดในอุ้งเชิงกราน การฉีดสีตรวจดูท่อนำไข่ การผ่าตัดในกรณีตั้งครรภ์นอกมดลูก ผ่าตัดมดลูก ประจำเดือนมากผิดปกติจากเยื่อบุโพรงมดลูกหนา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การผ่าตัดทำหมัน การผ่าตัดเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ ค้นหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช มี 2 ประเภท 1. การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปเพื่อการวินิจฉัย และทำการผ่าตัดภายในช่องท้อง 2. การผ่าตัดผ่านกล้องในโพรงมดลูก (Hysteroscopic Surgery) เป็นการใช้กล้องส่องดูความผิดปกติของโพรงมดลูกโดยผ่านทางปากมดลูกเพื่อการวินิจฉัย และการผ่าตัด การตรวจวินิจฉัย ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ช่องคลอด (Vagina Ultrasound) เพื่อดูความผิดปกติของมดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุ ของโรคและนำมาซึ่งการรักษาผ่าตัดทางนรีเวช อาการของโรค ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยมาก หรือมีอาการร่วม เช่น ปวดร้าวไปหลัง เอว ก้นกบ ปวดลงขา เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อยขัด ถ่ายอุจจาระลำบาก ปวดเบ่งมากในขณะมีระดู เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก เลือดปจะจำเดือนออกมาก ออกนาน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง มีบุตรยากโดยยังหาสาเหตุไม่พบ ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myoma uteri) ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกรังไข่ (Ovarian tumor) ผ่าตัดผ่านกล้องถุงน้ำรังไข่ (Ovarian cyst) ผ่าตัดผ่านกล้องช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst) ผ่าตัดผ่านกล้องเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ผ่าตัดผ่านกล้องพังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion) ผ่าตัดผ่านกล้องตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) ผ่าตัดผ่านกล้องท่อนำไข่อุดตัน (Tubal obstruction) ผ่าตัดผ่านกล้องหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก (Infertility) ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Polyp,myoma) ผ่าตัดผ่านกล้องพังผืดในโพรงมดลูก (Uterine synechiae) ผ่าตัดผ่านกล้องผนังกั้นกลางในโพรงมดลูก (Septate uterus) ผ่าตัดผ่านกล้องการทำหมันหญิง (Tubal Sterilization) ผ่าตัดผ่านกล้องห่วงอนามัยทะลุเข้าช่องท้อง (Perforated IUD) ผ่าตัดผ่านกล้องการตัดมดลูกออกเนื่องจากสาเหตุต่างๆ (Hysterectomy) ผ่าตัดผ่านกล้องมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก (Early stage of Cervical cancer) ผ่าตัดผ่านกล้องมะเร็งรังไข่ในระยะต้น (Early stage of Ovarian cancer) ผ่าตัดผ่านกล้องมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial cancer) ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ ชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งหรือช็อกโกแลตซีสต์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถ ผ่าตัดผ่านกล้องทางแผลผ่าตัดเล็กได้ ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myomectomy) ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อตัน สามารถผ่าตัดผ่านกล้องด้วยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษที่ตัดย่อยชิ้นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ เอาออกผ่านแผลเล็กๆ และสามารถเย็บปิดโดยผ่านกล้อง ผ่าตัดผ่านกล้องกรณีที่มีข้อบ่งชี้ในการตัดมดลูก (Hysterectomy ) การผ่าตัดผ่านกล้องมีวิธีให้เลือก เช่น ตัดมดลูกออกโดยเหลือปากมดลูกไว้ ตัวมดลูกจะเอาออกโดยเครื่องตัดย่อยชิ้นเนื้อ หรือการตัดมดลูกออกพร้อมปากมดลูกโดยเอาออกทางช่องคลอด เย็บปิดโดยผ่านกล้อง ผลดีของการผ่าตัดผ่านกล้องเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบธรรมดา -แผลผ่าตัดเล็กกว่า โดยแผลยาวประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร -เจ็บแผลน้อยกว่ามาก เนื่องจากความบอบช้ำจากการผ่าตัดน้อยกว่า -ระยะเวลาพักฟื้นน้อยกว่าสามารถกลับไปทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้ภายใน 5-10 วัน -โอกาสเกิดพังผืดจากการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง -พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน -อาการแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัด เช่น แผลอักแสบ แผลแยก แผลเป็นหนอง จะน้อยกว่าผ่าตัดใหญ่มาก ศูนย์มะเร็งทางนรีเวช การบริการ 1. การตรวจสุขภาพทางนรีเวช หรือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี • ตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยใช้วิธี Liquid – Based Cytology (LBC) เช่น Thin Preb, Sure Path ซึ่งสามารถค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่มได้มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีเดิมที่เคยตรวจกันมา • การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด (Vaginal Ultrasound) เพื่อสืบค้นรอยโรคที่ซ่อนเร้น แลสามารถค้นหาเนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ ช็อคโกแล็ตซีสต์ เนื้องอกรังไข่ มะเร็งรังไข่ ในระยะเริ่มแรกได้เร็วยิ่งขึ้น โอกาสในการรักษาหายจึงเพิ่มมากขึ้น • การตรวจชนิดของเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี HPV DNA ใช้ร่วมกับการตรวจ Liquid Based Cytology (LBC) Pap Smear ทำให้สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และแพทย์จะรักษาให้หายขาดได้โดยง่ายก่อนที่มะเร็งปากมดลูกจะเกิดขึ้น • การส่องกล้องตรวจความผิดปกติของปากมดลูก แล้วนำเนื้อเยื่อที่ผิดปกติมาตรวจทางพยาธิวิทยา (Colposcopy) มีประโยชน์อย่างมากในการตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่สงสัยเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก โดยทั่วไปนิยมส่องกล้องตรวจในผู้ที่พบความผิดปกติจากการตรวจ LBC 2.การตัดเนื้อปากมดลูกตรวจโดยใช้กล้องคอลโปสโคปช่วย (Colposcopic Directed Biopsy) 3.การจี้เย็น (Cryosurgery) คือการทำลายมะเร็งโดยทำให้บริเวณที่เป็นมะเร็งเย็นจนเป็นน้ำแข็ง 4.การผ่าตัดเซลล์ที่ผิดปกติออกจากมดลูกด้วยลวดไฟฟ้า (Loop Electrosurgical Excision Procedure) หรือ LEEP เป็นการใช้ห่วงโลหะบางๆ ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าผ่านผ่าตัดเอาเซลล์ที่ผิดปกติออกจากมดลูก 5.การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาต้านมะเร็ง ซึ่งสามารถผ่านไปถึงทุกส่วนในร่างกายเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งรวมทั้งเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไปในอวัยวะอื่นๆ โดยมีแผนกเคมีบำบัด ภายใต้การดูแลของทีมผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมเฉพาะทาง 6. การผ่าตัด (Surgery) ทั้งการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อรักษามะเร็งนรีเวช (Laparoscopic Gynecological Cancer Surgery) และการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Gynecological Cancer Surgery) นอกจากนี้ยังมีบริการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน และช่วยลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งจากนรีเวช 1. ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับวัคซีนได้ตั้งแต่ 9-55 ปี 2.การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Thin Prep Pap Test / Pap Smear หรือร่วมกับการตรวจไวรัส HPV กลุ่มเสี่ยงสูงปีละ 1 ครั้ง เพื่อวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรก ช่วยลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามได้ หากท่านมีลักษณะหรืออาการดังต่อไปนี้ ? - ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป - มีเพศสัมพันธ์มากกว่า 3 ปี - มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย - สูบบุหรี่ - ทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน - การตั้งครรภ์หลายครั้ง - ประจำเดือนมาผิดปกติ - มีเลือดออกจากช่องคลอดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ - ตกขาวมีสีและผิดปกติ หากว่าท่านมีลักษณะหรืออาการดังกล่าวตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป ท่านมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งสตรีได้ในอนาคต ควรปรึกษาแพทย์ทางนรีเวชเพื่อรับคำแนะนำ หรือรับการตรวจคัดกรองมะเร็งสตรี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตามคุณผู้หญิงทุกท่านไม่ควรนิ่งนอนใจต่ออาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจนำพาไปสู่โรคร้าย ควรดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นการรับประทานที่มีประโยชน์, การออกกำลังกาย และเฝ้าสังเกตความผิดปกติของร่างกายหากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันถ่วงที รู้เร็ว รักษาได้ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Gynecologic-Laparoscopic-Surgery-Center-section1.php
  3. ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอได้ยินก็กลัวกันทั้งนั้น ยิ่ง “มะเร็งเต้านม” ถือเป็นภัยเงียบภัยร้ายใกล้ตัวคุณผู้หญิงที่น่ากลัวและยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 เพราะมักมาโดยไม่มีสัญญาณเตือนและที่สำคัญยังไม่มีวัคซีนป้องกันมะเร็งเต้านมเหมือนกับมะเร็งปากมดลูก วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดในขณะนี้คือการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์เต้านม (Digital Mammogram with Breast Ultrasound) เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงมีความสำคัญเพราะการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งวันนี้เราจะพามาทำความเข้าใจว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอลคืออะไร สามารถบอกความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ระดับไหน BIRADS 1 : ปกติ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกปี BIRADS 2 : พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี BIRADS 3 : พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยกว่า 2% ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน BIRADS 4 : พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยง 20-50% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม BIRADS 5 : พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงสูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลกและเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย แต่เนื่องจากปัจจุบันผู้หญิงยุคใหม่มีความตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น และมีการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือการตรวจที่ทันสมัยขึ้นทำให้เราสามารถพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้เปอร์เซ็นต์การตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นมีมากขึ้น การรักษาให้หายจึงมีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมแท้จริงแล้วยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้ไม่ทราบวิธีที่ป้องกัน ยกเว้นในกรณีที่เป็นกรรมพันธุ์ซึ่งทราบสาเหตุแน่ชัดซึ่งเราสามารถป้องกันได้ ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม 1.ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ · เพศหญิงจะเป็นมากกว่าชาย · เชื้อชาติ ยุโรป ยิว จะเป็นมากกว่าคนเอเชีย · อายุมากกว่า 40 ปี จะมีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมสูงขึ้น · กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือรู้ว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดได้ · ประวัติการมีประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้าจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 2. ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้ · การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ · การรับประทานอาหารประเภทไขมันสูง · ความอ้วน · การได้รับยาทดแทนฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดบางชนิดเป็นระยะเวลานานจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น เราสามารถเลี่ยงการเป็น “มะเร็งเต้านม” ได้ คือ ควรเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมที่เลี่ยงได้ และหมั่นตรวจค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นให้ได้เร็ว โดยทั่วไปจะแนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง แต่มีการศึกษาจากต่างประเทศพบว่าการตรวจเต้านมด้วยตนเองพบมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นได้น้อย แต่ถูกนำมาแนะนำให้ใช้ในประเทศเรา เนื่องจากมีอุบัติการณ์การเกิดโรคยังต่ำ คือ 30 ต่อแสนเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตกซึ่งพบมากถึง 100 ต่อแสน อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ใส่ใจต่อสุขภาพ การตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะทำให้โอกาสที่จะรักษาโรคระยะแรกให้หายขาดได้มากขึ้น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีมาตรฐาน ประกอบด้วย 1. การตรวจด้วยแพทย์หรือบุคลลากรที่ได้รับการอบรมโดยเฉพาะด้วยการคลำเต้านม 2. การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์แมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์ หรือตรวจด้วยเครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น เช่น เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์แมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์ มักจะแปลผลเป็นศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก และมักจะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิด โดยเฉพาะเมื่อแปลผลเป็น BIRADS 1-5 มักจะทำให้หลายคนเข้าใจผิดได้ง่ายเพราะเป็นมาตรฐานการอ่านเพื่อสื่อความหมายให้แพทย์แต่ละสาขาเข้าใจกันได้ง่าย ไม่ใช่ระยะโรค BIRADS 1 หมายถึง ไม่พบสิ่งผิดปกติเลย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี BIRADS 2 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามทุกปี BIRADS 3 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 2% ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน BIRADS 4 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ 20-50% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม BIRADS 5 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้สูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม 3. การตรวจด้วยชิ้นเนื้อหรือเซลล์ สำหรับบางคนที่ตรวจพบโดยการคลำหรือพบสิ่งผิดปกติที่พบโดยเครื่องเอกซ์เรย์ แมมโมแกรมและ/ หรืออัลตร้าซาวด์ ในบางรายจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการนำชิ้นเนื้อไปส่งตรวจ การตรวจที่แม่นยำควรประกอบด้วยการตรวจทั้ง 2-3 อย่าง คือ ตรวจด้วยแพทย์ร่วมกับแมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์หรือบางรายจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อร่วมด้วย จึงจะให้ความแม่นยำสูง การนำชิ้นเนื้อไปตรวจสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถ้าก้อนที่คลำได้มักจะทำโดยการเจาะด้วยเข็ม มีทั้งเข็มขนาดเล็กที่สามารถทำได้เร็ว ง่าย ถูกต้อง แม่นยำ แต่แปลผลได้ยากเนื่องจากเป็นการอ่านด้วยเซลล์ ดังนั้นการใช้ต้องเลือกให้เหมาะสม หรืออาจใช้เข็มตัดชิ้นเนื้อซึ่งได้เนื้อชิ้นใหญ่กว่าแต่ความแม่นยำต่ำกว่า ดังนั้นมักจะทำร่วมกับการใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อให้มีความแม่นยำมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือเข็มเจาะตรวจให้สามารถตัดชิ้นเนื้อที่คลำไม่ได้ร่วมกับเทคนิคการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้อัลตร้าชาวด์ ทำให้สามารถตัดก้อนโดยใช้แผลเล็กได้ นับเป็นความก้าวหน้าในการรักษาอีกทางหนึ่งด้วย คุณผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน พราะการป้องกันดีกว่าการรักษา การค้นหาความผิดปกติได้เร็ว รีบรักษา มีโอกาสหายสูง และเพื่อเป็นการต้อนรับเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนแห่งการต่อต้านมะเร็งเต้านม ทางโรงพยาบาลนนทเวชได้จัดโปรดี ๆ มาดูแลผู้หญิงด้วยโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล พร้อมอัลตร้าซาวด์เต้านม ในราคาเพียง 3,039 บาทเท่านั้น คุณผู้หญิงท่านใดที่สนใจสามารถแวะมาใช้โปรของเราได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี 2563 ศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลนนทเวช เวช พร้อมให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม พร้อมพยาบาลวิชาชีพ และเครื่องมือที่ทันสมัยภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nonthavej.co.th/Breast-Cancer-Screening.php ขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์ชนินทร์ อภิวาณิชย์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม โรงพยาบาลนนทเวช https://www.nonthavej.co.th/Breast-Cancer.php
  4. หนึ่งอาการที่สร้างความกวนใจให้คุณผู้หญิงอยู่เสมอ นั่นคืออาการปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน บางคนถึงขั้นต้องลางานเวลาถึงวันนั้นของเดือน หลายคนจะคิดว่าการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนนั้นเป็นเรื่องปกติ บางครั้งรับประทานยาแก้ปวดก็จะดีขึ้น แต่ก็มีหลายรายที่อาการปวดท้องประจำเดือนจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดไปหลัง เอว ก้นกบ ปวดร้าวไปที่หน้าขามีอาการท้องอืดท้องบวม เวลามีระดูจะถ่ายอุจจาระเหลวหรือท้องเสีย บางรายถ่ายอุจจาระจะปวดเบ่งปวดถ่ายมากกว่าช่วงไม่มีประจำเดือน บางคนเวลามีประจำเดือนจะปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น ปัสสาวะขัดหรือเวลามีเพศสัมพันธ์จะเจ็บท้องน้อย เจ็บมดลูก ซึ่งปกติแล้วไม่ควรมี อาการปวดประจำเดือนอาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบางอย่างที่ได้ เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, เยื่อบุโพรงมดลูกแทรกในกล้ามเนื้อ, เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก, พังผืดในอุ้งเชิงกราน, การอักเสบติดเชื้อ, ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรืออาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ โรงพยาบาลนนทเวชเป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคของสตรีทุกช่วงวัย ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ พร้อมให้การรักษาความผิดปกติจากอาการปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน ตกขาว และอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของสตรี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากการคลอดลูกเองหรือมีอายุมากกว่า 50 ปี ให้การรักษาผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช และมะเร็งทางนรีเวช เมื่อลองมองย้อนกลับไปในอดีตหากพูดถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด หลายคนคงรู้สึกวิตกกังวลเรื่องอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด จึงไม่แปลกที่คนไข้หลายรายจะปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีนี้แล้วหันไปพึ่งวิธีอื่นแทน แต่ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะตอบโจทย์ของผู้ป่วย เป็นวิธีที่กระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายในน้อยและแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็ว หมดปัญหาหน้าท้องมีแผลยาวไม่สวยงาม สามารถกลับไปทำงานและทำกิจวัตรประจำวันตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม เทคโนโลยีนี้เหมาะสำหรับผ่าตัดรักษาโรคทางนรีเวช ทั้งโรคซีสต์ ช๊อกโกแลคซีสต์ ผ่าตัดซีสต์ เนื้องอกในโพรงมดลูก เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกและรังไข่ การผ่าตัดไส้ติ่งทางหน้าท้อง เลาะผังผืดในอุ้งเชิงกราน การฉีดสีตรวจดูท่อนำไข่ การผ่าตัดในกรณีตั้งครรภ์นอกมดลูก ผ่าตัดมดลูก ประจำเดือนมากผิดปกติจากเยื่อบุโพรงมดลูกหนา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การผ่าตัดทำหมัน การผ่าตัดเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ ค้นหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช มี 2 ประเภท 1. การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปเพื่อการวินิจฉัย และทำการผ่าตัดภายในช่องท้อง 2. การผ่าตัดผ่านกล้องในโพรงมดลูก (Hysteroscopic Surgery) เป็นการใช้กล้องส่องดูความผิดปกติของโพรงมดลูกโดยผ่านทางปากมดลูกเพื่อการวินิจฉัย และการผ่าตัด การตรวจวินิจฉัย ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ช่องคลอด (Vagina Ultrasound) เพื่อดูความผิดปกติของมดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุ ของโรคและนำมาซึ่งการรักษาผ่าตัดทางนรีเวช อาการของโรค ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยมาก หรือมีอาการร่วม เช่น ปวดร้าวไปหลัง เอว ก้นกบ ปวดลงขา เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อยขัด ถ่ายอุจจาระลำบาก ปวดเบ่งมากในขณะมีระดู เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก เลือดปจะจำเดือนออกมาก ออกนาน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง มีบุตรยากโดยยังหาสาเหตุไม่พบ ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myoma uteri) ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกรังไข่ (Ovarian tumor) ผ่าตัดผ่านกล้องถุงน้ำรังไข่ (Ovarian cyst) ผ่าตัดผ่านกล้องช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst) ผ่าตัดผ่านกล้องเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ผ่าตัดผ่านกล้องพังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion) ผ่าตัดผ่านกล้องตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) ผ่าตัดผ่านกล้องท่อนำไข่อุดตัน (Tubal obstruction) ผ่าตัดผ่านกล้องหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก (Infertility) ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Polyp,myoma) ผ่าตัดผ่านกล้องพังผืดในโพรงมดลูก (Uterine synechiae) ผ่าตัดผ่านกล้องผนังกั้นกลางในโพรงมดลูก (Septate uterus) ผ่าตัดผ่านกล้องการทำหมันหญิง (Tubal Sterilization) ผ่าตัดผ่านกล้องห่วงอนามัยทะลุเข้าช่องท้อง (Perforated IUD) ผ่าตัดผ่านกล้องการตัดมดลูกออกเนื่องจากสาเหตุต่างๆ (Hysterectomy) ผ่าตัดผ่านกล้องมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก (Early stage of Cervical cancer) ผ่าตัดผ่านกล้องมะเร็งรังไข่ในระยะต้น (Early stage of Ovarian cancer) ผ่าตัดผ่านกล้องมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial cancer) ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ ชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งหรือช็อกโกแลตซีสต์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถ ผ่าตัดผ่านกล้องทางแผลผ่าตัดเล็กได้ ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myomectomy) ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อตัน สามารถผ่าตัดผ่านกล้องด้วยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษที่ตัดย่อยชิ้นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ เอาออกผ่านแผลเล็กๆ และสามารถเย็บปิดโดยผ่านกล้อง ผ่าตัดผ่านกล้องกรณีที่มีข้อบ่งชี้ในการตัดมดลูก (Hysterectomy ) การผ่าตัดผ่านกล้องมีวิธีให้เลือก เช่น ตัดมดลูกออกโดยเหลือปากมดลูกไว้ ตัวมดลูกจะเอาออกโดยเครื่องตัดย่อยชิ้นเนื้อ หรือการตัดมดลูกออกพร้อมปากมดลูกโดยเอาออกทางช่องคลอด เย็บปิดโดยผ่านกล้อง ผลดีของการผ่าตัดผ่านกล้องเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบธรรมดา -แผลผ่าตัดเล็กกว่า โดยแผลยาวประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร -เจ็บแผลน้อยกว่ามาก เนื่องจากความบอบช้ำจากการผ่าตัดน้อยกว่า -ระยะเวลาพักฟื้นน้อยกว่าสามารถกลับไปทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้ภายใน 5-10 วัน -โอกาสเกิดพังผืดจากการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง -พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน -อาการแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัด เช่น แผลอักแสบ แผลแยก แผลเป็นหนอง จะน้อยกว่าผ่าตัดใหญ่มาก ศูนย์มะเร็งทางนรีเวช การบริการ 1. การตรวจสุขภาพทางนรีเวช หรือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี • ตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยใช้วิธี Liquid – Based Cytology (LBC) เช่น Thin Preb, Sure Path ซึ่งสามารถค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่มได้มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีเดิมที่เคยตรวจกันมา • การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด (Vaginal Ultrasound) เพื่อสืบค้นรอยโรคที่ซ่อนเร้น แลสามารถค้นหาเนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ ช็อคโกแล็ตซีสต์ เนื้องอกรังไข่ มะเร็งรังไข่ ในระยะเริ่มแรกได้เร็วยิ่งขึ้น โอกาสในการรักษาหายจึงเพิ่มมากขึ้น • การตรวจชนิดของเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี HPV DNA ใช้ร่วมกับการตรวจ Liquid Based Cytology (LBC) Pap Smear ทำให้สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และแพทย์จะรักษาให้หายขาดได้โดยง่ายก่อนที่มะเร็งปากมดลูกจะเกิดขึ้น • การส่องกล้องตรวจความผิดปกติของปากมดลูก แล้วนำเนื้อเยื่อที่ผิดปกติมาตรวจทางพยาธิวิทยา (Colposcopy) มีประโยชน์อย่างมากในการตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่สงสัยเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก โดยทั่วไปนิยมส่องกล้องตรวจในผู้ที่พบความผิดปกติจากการตรวจ LBC 2.การตัดเนื้อปากมดลูกตรวจโดยใช้กล้องคอลโปสโคปช่วย (Colposcopic Directed Biopsy) 3.การจี้เย็น (Cryosurgery) คือการทำลายมะเร็งโดยทำให้บริเวณที่เป็นมะเร็งเย็นจนเป็นน้ำแข็ง 4.การผ่าตัดเซลล์ที่ผิดปกติออกจากมดลูกด้วยลวดไฟฟ้า (Loop Electrosurgical Excision Procedure) หรือ LEEP เป็นการใช้ห่วงโลหะบางๆ ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าผ่านผ่าตัดเอาเซลล์ที่ผิดปกติออกจากมดลูก 5.การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาต้านมะเร็ง ซึ่งสามารถผ่านไปถึงทุกส่วนในร่างกายเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งรวมทั้งเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไปในอวัยวะอื่นๆ โดยมีแผนกเคมีบำบัด ภายใต้การดูแลของทีมผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมเฉพาะทาง 6. การผ่าตัด (Surgery) ทั้งการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อรักษามะเร็งนรีเวช (Laparoscopic Gynecological Cancer Surgery) และการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Gynecological Cancer Surgery) นอกจากนี้ยังมีบริการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน และช่วยลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งจากนรีเวช 1. ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับวัคซีนได้ตั้งแต่ 9-55 ปี 2.การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Thin Prep Pap Test / Pap Smear หรือร่วมกับการตรวจไวรัส HPV กลุ่มเสี่ยงสูงปีละ 1 ครั้ง เพื่อวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรก ช่วยลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามได้ หากท่านมีลักษณะหรืออาการดังต่อไปนี้ ? - ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป - มีเพศสัมพันธ์มากกว่า 3 ปี - มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย - สูบบุหรี่ - ทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน - การตั้งครรภ์หลายครั้ง - ประจำเดือนมาผิดปกติ - มีเลือดออกจากช่องคลอดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ - ตกขาวมีสีและผิดปกติ หากว่าท่านมีลักษณะหรืออาการดังกล่าวตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป ท่านมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งสตรีได้ในอนาคต ควรปรึกษาแพทย์ทางนรีเวชเพื่อรับคำแนะนำ หรือรับการตรวจคัดกรองมะเร็งสตรี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตามคุณผู้หญิงทุกท่านไม่ควรนิ่งนอนใจต่ออาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจนำพาไปสู่โรคร้าย ควรดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นการรับประทานที่มีประโยชน์, การออกกำลังกาย และเฝ้าสังเกตความผิดปกติของร่างกายหากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันถ่วงที รู้เร็ว รักษาได้ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Gynecologic-Laparoscopic-Surgery-Center-section1.php
  5. ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอได้ยินก็กลัวกันทั้งนั้น ยิ่ง “มะเร็งเต้านม” ถือเป็นภัยเงียบภัยร้ายใกล้ตัวคุณผู้หญิงที่น่ากลัวและยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 เพราะมักมาโดยไม่มีสัญญาณเตือน ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์เต้านม (Digital Mammogram with Breast Ultrasound) เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงมีความสำคัญเพราะการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งวันนี้เราจะพามาทำความเข้าใจว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอลคืออะไร สามารถบอกความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ระดับไหน BIRADS 1 : ปกติ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกปี BIRADS 2 : พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี BIRADS 3 : พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยกว่า 2% ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน BIRADS 4 : พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยง 20-50% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม BIRADS 5 : พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงสูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลกและเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย แต่เนื่องจากปัจจุบันผู้หญิงยุคใหม่มีความตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น และมีการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือการตรวจที่ทันสมัยขึ้นทำให้เราสามารถพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้เปอร์เซ็นต์การตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นมีมากขึ้น การรักษาให้หายจึงมีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมแท้จริงแล้วยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้ไม่ทราบวิธีที่ป้องกัน ยกเว้นในกรณีที่เป็นกรรมพันธุ์ซึ่งทราบสาเหตุแน่ชัดซึ่งเราสามารถป้องกันได้ ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม 1.ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ · เพศหญิงจะเป็นมากกว่าชาย · เชื้อชาติ ยุโรป ยิว จะเป็นมากกว่าคนเอเชีย · อายุมากกว่า 40 ปี จะมีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมสูงขึ้น · กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือรู้ว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดได้ · ประวัติการมีประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้าจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 2. ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้ · การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ · การรับประทานอาหารประเภทไขมันสูง · ความอ้วน · การได้รับยาทดแทนฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดบางชนิดเป็นระยะเวลานานจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น เราสามารถเลี่ยงการเป็น “มะเร็งเต้านม” ได้ คือ ควรเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมที่เลี่ยงได้ และหมั่นตรวจค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นให้ได้เร็ว โดยทั่วไปจะแนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง แต่มีการศึกษาจากต่างประเทศพบว่าการตรวจเต้านมด้วยตนเองพบมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นได้น้อย แต่ถูกนำมาแนะนำให้ใช้ในประเทศเรา เนื่องจากมีอุบัติการณ์การเกิดโรคยังต่ำ คือ 30 ต่อแสนเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตกซึ่งพบมากถึง 100 ต่อแสน อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ใส่ใจต่อสุขภาพ การตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะทำให้โอกาสที่จะรักษาโรคระยะแรกให้หายขาดได้มากขึ้น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีมาตรฐาน ประกอบด้วย 1. การตรวจด้วยแพทย์หรือบุคลลากรที่ได้รับการอบรมโดยเฉพาะด้วยการคลำเต้านม 2. การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์แมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์ หรือตรวจด้วยเครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น เช่น เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์แมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์ มักจะแปลผลเป็นศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก และมักจะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิด โดยเฉพาะเมื่อแปลผลเป็น BIRADS 1-5 มักจะทำให้หลายคนเข้าใจผิดได้ง่ายเพราะเป็นมาตรฐานการอ่านเพื่อสื่อความหมายให้แพทย์แต่ละสาขาเข้าใจกันได้ง่าย ไม่ใช่ระยะโรค BIRADS 1 หมายถึง ไม่พบสิ่งผิดปกติเลย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี BIRADS 2 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามทุกปี BIRADS 3 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 2% ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน BIRADS 4 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ 20-50% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม BIRADS 5 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้สูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม 3. การตรวจด้วยชิ้นเนื้อหรือเซลล์ สำหรับบางคนที่ตรวจพบโดยการคลำหรือพบสิ่งผิดปกติที่พบโดยเครื่องเอกซ์เรย์ แมมโมแกรมและ/ หรืออัลตร้าซาวด์ ในบางรายจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการนำชิ้นเนื้อไปส่งตรวจ การตรวจที่แม่นยำควรประกอบด้วยการตรวจทั้ง 2-3 อย่าง คือ ตรวจด้วยแพทย์ร่วมกับแมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์หรือบางรายจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อร่วมด้วย จึงจะให้ความแม่นยำสูง การนำชิ้นเนื้อไปตรวจสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถ้าก้อนที่คลำได้มักจะทำโดยการเจาะด้วยเข็ม มีทั้งเข็มขนาดเล็กที่สามารถทำได้เร็ว ง่าย ถูกต้อง แม่นยำ แต่แปลผลได้ยากเนื่องจากเป็นการอ่านด้วยเซลล์ ดังนั้นการใช้ต้องเลือกให้เหมาะสม หรืออาจใช้เข็มตัดชิ้นเนื้อซึ่งได้เนื้อชิ้นใหญ่กว่าแต่ความแม่นยำต่ำกว่า ดังนั้นมักจะทำร่วมกับการใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อให้มีความแม่นยำมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือเข็มเจาะตรวจให้สามารถตัดชิ้นเนื้อที่คลำไม่ได้ร่วมกับเทคนิคการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้อัลตร้าชาวด์ ทำให้สามารถตัดก้อนโดยใช้แผลเล็กได้ นับเป็นความก้าวหน้าในการรักษาอีกทางหนึ่งด้วย คุณผู้หญิงไม่ควรนิ่งนอนใจต่ออาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจนำพาไปสู่โรคร้าย ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์เต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาความผิดปกติ รู้เร็ว รีบรักษา มีโอกาสหายสูง ศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลนนทเวช เวช พร้อมให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม พร้อมพยาบาลวิชาชีพ และเครื่องมือที่ทันสมัยภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ ขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์ชนินทร์ อภิวาณิชย์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม โรงพยาบาลนนทเวช https://www.nonthavej.co.th/Breast-Cancer.php
  6. ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอได้ยินก็กลัวกันทั้งนั้น ยิ่ง “มะเร็งเต้านม” ถือเป็นภัยเงียบภัยร้ายใกล้ตัวคุณผู้หญิงที่น่ากลัวและยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 เพราะมักมาโดยไม่มีสัญญาณเตือน ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์เต้านม (Digital Mammogram with Breast Ultrasound) เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงมีความสำคัญเพราะการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งวันนี้เราจะพามาทำความเข้าใจว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอลคืออะไร สามารถบอกความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ระดับไหน BIRADS 1 : ปกติ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกปี BIRADS 2 : พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี BIRADS 3 : พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยกว่า 2% ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน BIRADS 4 : พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยง 20-50% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม BIRADS 5 : พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงสูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลกและเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย แต่เนื่องจากปัจจุบันผู้หญิงยุคใหม่มีความตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น และมีการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือการตรวจที่ทันสมัยขึ้นทำให้เราสามารถพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้เปอร์เซ็นต์การตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นมีมากขึ้น การรักษาให้หายจึงมีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมแท้จริงแล้วยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้ไม่ทราบวิธีที่ป้องกัน ยกเว้นในกรณีที่เป็นกรรมพันธุ์ซึ่งทราบสาเหตุแน่ชัดซึ่งเราสามารถป้องกันได้ ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม 1.ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ · เพศหญิงจะเป็นมากกว่าชาย · เชื้อชาติ ยุโรป ยิว จะเป็นมากกว่าคนเอเชีย · อายุมากกว่า 40 ปี จะมีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมสูงขึ้น · กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือรู้ว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดได้ · ประวัติการมีประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้าจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 2. ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้ · การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ · การรับประทานอาหารประเภทไขมันสูง · ความอ้วน · การได้รับยาทดแทนฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดบางชนิดเป็นระยะเวลานานจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น เราสามารถเลี่ยงการเป็น “มะเร็งเต้านม” ได้ คือ ควรเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมที่เลี่ยงได้ และหมั่นตรวจค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นให้ได้เร็ว โดยทั่วไปจะแนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง แต่มีการศึกษาจากต่างประเทศพบว่าการตรวจเต้านมด้วยตนเองพบมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นได้น้อย แต่ถูกนำมาแนะนำให้ใช้ในประเทศเรา เนื่องจากมีอุบัติการณ์การเกิดโรคยังต่ำ คือ 30 ต่อแสนเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตกซึ่งพบมากถึง 100 ต่อแสน อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ใส่ใจต่อสุขภาพ การตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะทำให้โอกาสที่จะรักษาโรคระยะแรกให้หายขาดได้มากขึ้น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีมาตรฐาน ประกอบด้วย 1. การตรวจด้วยแพทย์หรือบุคลลากรที่ได้รับการอบรมโดยเฉพาะด้วยการคลำเต้านม 2. การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์แมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์ หรือตรวจด้วยเครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น เช่น เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์แมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์ มักจะแปลผลเป็นศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก และมักจะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิด โดยเฉพาะเมื่อแปลผลเป็น BIRADS 1-5 มักจะทำให้หลายคนเข้าใจผิดได้ง่ายเพราะเป็นมาตรฐานการอ่านเพื่อสื่อความหมายให้แพทย์แต่ละสาขาเข้าใจกันได้ง่าย ไม่ใช่ระยะโรค BIRADS 1 หมายถึง ไม่พบสิ่งผิดปกติเลย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี BIRADS 2 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามทุกปี BIRADS 3 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 2% ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน BIRADS 4 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ 20-50% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม BIRADS 5 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้สูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม 3. การตรวจด้วยชิ้นเนื้อหรือเซลล์ สำหรับบางคนที่ตรวจพบโดยการคลำหรือพบสิ่งผิดปกติที่พบโดยเครื่องเอกซ์เรย์ แมมโมแกรมและ/ หรืออัลตร้าซาวด์ ในบางรายจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการนำชิ้นเนื้อไปส่งตรวจ การตรวจที่แม่นยำควรประกอบด้วยการตรวจทั้ง 2-3 อย่าง คือ ตรวจด้วยแพทย์ร่วมกับแมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์หรือบางรายจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อร่วมด้วย จึงจะให้ความแม่นยำสูง การนำชิ้นเนื้อไปตรวจสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถ้าก้อนที่คลำได้มักจะทำโดยการเจาะด้วยเข็ม มีทั้งเข็มขนาดเล็กที่สามารถทำได้เร็ว ง่าย ถูกต้อง แม่นยำ แต่แปลผลได้ยากเนื่องจากเป็นการอ่านด้วยเซลล์ ดังนั้นการใช้ต้องเลือกให้เหมาะสม หรืออาจใช้เข็มตัดชิ้นเนื้อซึ่งได้เนื้อชิ้นใหญ่กว่าแต่ความแม่นยำต่ำกว่า ดังนั้นมักจะทำร่วมกับการใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อให้มีความแม่นยำมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือเข็มเจาะตรวจให้สามารถตัดชิ้นเนื้อที่คลำไม่ได้ร่วมกับเทคนิคการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้อัลตร้าชาวด์ ทำให้สามารถตัดก้อนโดยใช้แผลเล็กได้ นับเป็นความก้าวหน้าในการรักษาอีกทางหนึ่งด้วย คุณผู้หญิงไม่ควรนิ่งนอนใจต่ออาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจนำพาไปสู่โรคร้าย ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์เต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาความผิดปกติ รู้เร็ว รีบรักษา มีโอกาสหายสูง ศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลนนทเวช เวช พร้อมให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม พร้อมพยาบาลวิชาชีพ และเครื่องมือที่ทันสมัยภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ ขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์ชนินทร์ อภิวาณิชย์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม โรงพยาบาลนนทเวช https://www.nonthavej.co.th/Breast-Cancer.php
  7. "มะเร็งปากมดลูก" ถือเป็นมะเร็งระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของหญิงไทย จากสถิติเราพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีสัญญาณเตือนให้รู้ล่วงหน้า หรือบางรายแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นแต่เลือกที่จะมองข้าม เพราะกลัวการเข้าพบแพทย์ จนทำให้โรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่ทราบสาเหตุการเกิดอย่างชัดเจน โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) สายพันธุ์เสี่ยงสูง ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทางการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อนี้อยู่ หรือจากการสัมผัส โดยเชื้อไวรัสจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อหรือเซลล์จากปากมดลูกปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูก เเละอาจลุกลามไปบริเวณรอบข้าง เช่น ผนังช่องคลอด ตัวมดลูก เนื้อเยื่อข้างมดลูก ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้นั้น ใช้เวลานานประมาณ 5-10 ปี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น เช่น มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ มีคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่หรือคนรอบข้างสูบบุหรี่ อาการแสดงของ “มะเร็งปากมดลูก” จะมีอาการผิดปกติในมะเร็งระยะลุกลามเท่านั้น เช่น มีตกขาวผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ประจำเดือนมามาก มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อค้นหาสตรีที่มีความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกในระยะก่อนมะเร็ง หรือ มะเร็งในระยะต้น ปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ถือว่ามีความแม่นยำสูง ได้แก่ การตรวจทางเซลล์วิทยา (Pap smear, Liquid base cytology) และการตรวจหาไวรัส HPV การรักษา “มะเร็งปากมดลูก” มะเร็งในทุกระยะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เป้าหมายในการรักษาจะแต่แตกต่างกันในแต่ละระยะ ระยะ 1 และ 2 (ขั้นต้น) ผู้ป่วยจะได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาตัวต้นต่อของมะเร็งออก หรือที่เรียกว่าแบบ "ถอนรากถอนโคน" ทำให้มีโอกาสหายมากขึ้น และโอกาสที่จะกลับไปเป็นซ้ำ หรือการกระจายของเชื้อมะเร็งก็จะน้อยลง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการรักษามะเร็งปากมดลูก สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องได้ ซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินในเรื่องของแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวได้ไว การผ่าตัดผ่านกล้องทำให้สามารถมองเห็นรอยโรคได้อย่างชัดเจนเห็นอวัยวะ ต่างๆ ได้อย่างชัดเจนทำให้การผ่าตัดปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น ระยะ 3 และ 4 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามออกนอกปากมดลูกแล้ว ดังนั้นจะเป็นแนวทางการรักษาแบบประคับประคองประกอบด้วยเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาในเวลาเดียวกัน เพื่อควบคุมไม่ให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงและเนื้อเยื่อชั้นในรอบๆ มดลูก การป้องกัน “มะเร็งปากมดลูก” มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดแรกที่มีการนำวัคซีนมาใช้ในการป้องกันโรค ได้แก่ วัคซีนป้องกันไวรัส HPV โดยวัคซีนชนิดนี้จะป้องกันการติดเชื้อ ไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ 16,18 ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึง 70% ดังนั้น จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ และการรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ “มะเร็งปากมดลูก”สามารถป้องกันและรักษาได้ หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อความ ไม่ประมาทแนะนำให้สตรีไทยที่มีอายุมากกว่า 21 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก และหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที โรงพยาบาลนนทเวช พร้อมให้การดูแลรักษา “โรคมะเร็งปากมดลูก” ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านมะเร็งทางนรีเวช พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและมะเร็งทางนรีเวช ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่โรงพยาบาลนนทเวช ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/cervical-cancer-1.php
×
×
  • สร้างใหม่...