ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'ศูนย์กระดูกและข้อ'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

ปฏิทิน

  • ปฎิทินชุมชน

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 12 รายการ

  1. เส้นเอ็น คือส่วนปลายของกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่กับกระดูก เส้นเอ็นจะทำงานหนักทุกครั้งที่เราขยับเขยื้อน หรือทำกิจกรรมที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อนาน ๆ หรือใช้งานบริเวณข้อต่อบ่อย ๆ มีโอกาสที่จะเกิดเส้นเอ็นอักเสบได้ ซึ่งอาการเส้นเอ็นอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดด้วยกัน เช่น บริเวณ ไหล่ ข้อศอก ข้อมือ สะโพก และส้นเท้า เมื่อเส้นเอ็นอักเสบจะมีอาการเจ็บปวดมาก หากอักเสบรุนแรงจะขยับเขยื้อนบริเวณนั้นลำบาก โดยปกติอาการปวดจะค่อย ๆ ทุเลาลงเมื่อรีบทำการรักษาเบื้องต้นได้ดี แต่ในรายที่เส้นเอ็นอักเสบรุนแรงมีอาการเส้นเอ็นฉีกขาดร่วมด้วย หากปล่อยไว้นานอาการปวดอาจเรื้อรังได้ ดังนั้นหากใครที่มีอาการเส้นเอ็นอักเสบจากอุบัติเหตุ ปวดมากกว่า 3 วันแล้วยังไม่หาย ควรรีบพบแพทย์ทันที วันนี้เรามีข้อมูลความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน เกี่ยวกับอาการเอ็นอักเสบมาฝากกัน ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis) เกิดขึ้นได้ง่ายโดยที่เราอาจไม่ทันระวังตัว ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทุกกิจกรรมที่ทำ ไม่เพียงแต่เกิดกับนักกีฬาเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากการที่เส้นเอ็นถูกใช้งานหนักเกินไป หรือได้รับบาดเจ็บที่ซ้ำ ๆ จนเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด กดเจ็บ บริเวณเส้นเอ็น โดยปกติอาการของเส้นเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากกว่า 3 วัน อาจเกิดภาวะเส้นเอ็นฉีกขาดได้ โดยแพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเส้นเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เส้นเอ็นอักเสบเกิดจากสาเหตุใดบ้าง เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis) สามารถเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ - จากการเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณหนึ่ง ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะการทำอาชีพหรืองานอดิเรกที่ต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเอ็นซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เอ็นบริเวณที่ถูกใช้งานตึงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดการอักเสบขึ้น - อุบัติเหตุ ส่วนใหญ่จะได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลันจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา และอาจเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเอ็นฉีกขาดได้ - การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือผิดท่า ทำให้เอ็นต้องเกร็งตัวตลอดเวลา ก็ทำให้เส้นเอ็นอักเสบได้ เช่น นั่งทำงานผิดท่า นอนผิดท่า - อายุที่เพิ่มมากขึ้น จะมีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้เกิดเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย หรือเส้นเอ็นอักเสบได้ง่ายขึ้น อาการของเส้นเอ็นอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ ส่วนใหญ่จะเป็นการเจ็บนอกข้อ และพบได้บ่อยในบริเวณ เอ็นข้อศอก เอ็นไหล่ เอ็นหัวเข่า และเอ็นร้อยหวาย โดยจะมี อาการปวดตรงที่เกิดเส้นเอ็นอักเสบ โดยจะปวดตื้อ ๆ บ่อยครั้ง อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการขยับในข้างที่เป็น มีอาการบวม บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงร่วมด้วยแต่จะไม่บวมในข้อ มีก้อนบวมนูนตามเอ็นกล้ามเนื้อนั้น ๆ บางครั้งขยับแล้วเจ็บมาก เนื่องจากมีเอ็นฉีดขาด การวินิจฉัยเส้นเอ็นอักเสบ การวินิจฉัยเส้นเอ็นฉีกขาดนั้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและซักประวัติ สอบถามอาการเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น กิจกรรมที่ทำก่อนจะมีอาการ ลักษณะของอาการปวด ความถี่และระยะเวลาที่เกิดอาการ นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มด้วยเครื่องมือที่จำเป็น อาทิ การตรวจเอกซเรย์ และ การตรวจภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป การรักษาเส้นเอ็นอักเสบ โดยปกติอาการของเส้นเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ซึ่งการรักษา แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้ 1.ภาวะเส้นเอ็นอักเสบที่ไม่รุนแรง และยังสามารถขยับท่าทางเคลื่อนไหวได้บ้าง แพทย์จะแนะนำให้พักและดูแลรักษาตนเองด้วยการประคบร้อน หรือเย็น รวมไปถึงการรับประทานยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบ ในบางกรณีอาจมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ถ้าเป็นมาก ปวดมาก แพทย์อาจพิจารณาใส่เฝือกอ่อนเพื่อให้อวัยวะนั้นได้พัก ลดการขยับ แต่จะใส่ระยะสั้นๆ ไม่เกิน 2 สัปดาห์ จะได้ไม่เกิดภาวะข้อยึดติด 2.ภาวะเส้นเอ็นอักเสบรุนแรง จากอุบัติเหตุ หรือมีอาการเส้นเอ็นอักเสบต่อเนื่อง และพักมา 2 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการปวดมาก บวมมาก มีจ้ำเลือดขนาดใหญ่ ขยับข้อได้ลดลง รู้สึกอ่อนแรง ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ อาจจะมีภาวะเส้นเอ็นอักเสบจนฉีกขาดได้จำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม รวมทั้งแพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเส้นเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เป็นวิธีผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็นที่ขาด หรือสร้างเอ็นใหม่ โดยนำเส้นเอ็นจากบริเวณอื่นมาทดแทน โดยศัลยแพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กแล้วใช้กล้องขนาด 4 มิลลิเมตรส่องเข้าไปดูภายในบริเวณที่มีการฉีกขาดของเส้นเอ็น ภาพที่ได้จะถูกส่งขึ้นจอภาพที่อยู่ในห้องผ่าตัด ทำให้แพทย์สามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งมาช่วยเสริมในการจับและเย็บเส้นเอ็นที่ฉีกขาด โดยแผลที่เกิดจากการผ่าตัดส่องกล้องจะมีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ขนาด 0.5 -1 เซนติเมตร จำนวน 3-4 รู ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีรอยโรคมากน้อยเพียงใด ซึ่งการผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) จะมีข้อดีตรงแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อผู้ป่วยจะมีอาการบาดเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นสั้น แผลเล็กมาก เกิดรอยแผลเป็นน้อย และมีโอกาสในการติดเชื้อที่ต่ำกว่า ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้รวดเร็วกว่า ยกระดับการระงับความเจ็บปวด หลังจากการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเส้นเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เทคนิคการระงับความเจ็บปวดหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะไม่ต้องเผชิญกับอาการปวดแผลหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย โดยเป็นการใช้เข็มหรือใส่สายคาเพื่อให้ยาชาที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย เพื่อให้ยาชาออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง จะทำภายใต้การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง(ultrasound) โดยแพทย์จะทำการตรวจสอบตำแหน่งเส้นประสาทก่อนจะให้ยา จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัด ซึ่งมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง จากจุดเริ่มต้นแค่มีอาการเส้นเอ็นอักเสบที่ดูเหมือนเล็กน้อย หากเราละเลยปล่อยไว้นานไม่รีบทำการรักษา อาการอักเสบอาจเรื้อรังลุกลามรักษายากก็เป็นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม สำหรับใครที่มีอาการเส้นเอ็นอักเสบอยู่ มีข้อสงสัย มีคำถามเพิ่มเติมกับทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/เส้นเอ็นอักเสบ-ปล่อยไว้นานเรื้อรังอาจรุนแรงถึงขั้นเอ็นฉีกขาดได้
  2. การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬา นอกจากช่วยให้ผู้เล่นมีสุขภาพดี และมีร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังทำให้ผู้ที่เล่นมีความสุข รู้สึกสนุกและเพลิดเพลินได้ด้วย นอกจากนั้นการเล่นกีฬายังได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มผู้เล่นกีฬาด้วยกันอีกด้วย และหนึ่งในกีฬาที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นมาก ๆ นั่นก็คือ การเล่น Surf Skate เซิร์ฟสเก็ต เนื่องจากวัยรุ่นส่วนใหญ่ชอบเล่นกีฬาที่โลดโผน ตื่นเต้น ท้าทาย แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ทุกเมื่อ หรืออาจเป็นเหตุให้ผู้เล่น มีปัญหาเส้นเอ็นอักเสบ เอ็นฉีกขาดได้เช่นกัน ทางศูนย์กระดูกและข้อของรพ.นครธน มีแนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับคนที่ชอบการเล่น Surf Skate แล้วหากมีอาการบาดเจ็บ เมื่อปล่อยไว้อาจถึงขั้นรุนแรงเอ็นฉีกขาดได้ แล้วจะต้องตูแลรักษาอย่างไรบ้าง ไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ เซิร์ฟสเก็ต (Surf Skate) กีฬาและกิจกรรมสุดฮิตที่โดนใจหนุ่มสาวทุกวัย ทั้งได้ออกกำลังกาย สนุกและเท่ไปพร้อม ๆ กัน แต่ถ้าเล่นไม่ถูกวิธี เล่นแล้วไม่มีความปลอดภัยมากเพียงพอ หรือเล่นหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะ “เส้นเอ็นอักเสบ” หรืออาจถึงขั้นรุนแรงเอ็นฉีกขาด จากการเสียหลักการทรงตัวทำให้ ล้ม กระแทก จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อถึงกับต้องมาโรงพยาบาลได้ อาการบาดเจ็บจาก Surf Skate การเล่น Surf Skate นั้น ด้วยต้องใช้หลักการทรงตัว การบิดตัว และการเหวี่ยงสะโพกในการเล่นอยู่ตลอดเวลา เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในบริเวณที่ใช้งานหนักๆ จนอาจจะนำไปสู่การปวดเมื่อยในส่วนต่าง ๆ ทั้งอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้น ปวดเมื่อยต้นขา รวมทั้งข้อเข่าและข้อเท้า ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น มักเกิดจากการล้ม การกระแทก สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ตั้งแต่อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ แผลถลอก แผลแตก เอ็นอักเสบ หรือรุนแรงถึงขั้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก หรือสมองกระทบกระเทือนได้เช่นกัน โดยสามารถพบการบาดเจ็บได้ทั่วทั้งร่างกาย เส้นเอ็นอักเสบจาก Surf Skate สาเหตุที่เอ็นอักเสบมักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำ ๆ จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อ โดยการเล่น Surf Skate ต้องใช้การทรงตัว การบิดตัว และการเหวี่ยงสะโพกในการเล่นเป็นหลัก ผู้เล่นบางรายมีการเล่นท่าทางเสริมเข้าไป มีการกระโดด จนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่าง ๆ ดังนี้ เส้นเอ็นข้อเท้าอักเสบ จากข้อเท้าพลิกเข้าด้านในเมื่อเสียหลักจากการทรงตัว เกิดอาการเจ็บที่ด้านนอกบริเวณตาตุ่ม เนื่องจากเส้นเอ็นในบริเวณดังกล่าวเกิดการยืด บวม แดง เกิดการอักเสบ หากถึงขั้นฉีกขาด อาจเกิดอาการบวมที่เนื้อเยื่อ และมีอาการปวดร่วมด้วย โดยอาการของข้อเท้าพลิกมักส่งผลกระทบที่เส้นเอ็นโดยตรง ไม่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อหรือกระดูก เส้นเอ็นข้อเข่าอักเสบ จากการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วนผิดท่าบ่อยครั้ง การกระโดด การหดตัวของกล้ามเนื้อต้นขาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ก่อให้เกิดการกระชากของเส้นเอ็นใต้กระดูกสะบ้า ส่งผลให้เส้นเอ็นเกิดการอักเสบได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดบริเวณข้อเข่าทางด้านหน้า โดยเฉพาะตำแหน่งใต้ลูกสะบ้าหรือรอบ ๆ กระดูกสะบ้า ซึ่งอาการจะแสดงเมื่อเวลาเดินหรือวิ่ง แต่หากมีการฉีกขาดมาก อาการปวดจะเกิดขึ้นตลอดเวลา แม้ตอนที่นั่งพักเฉยๆ เอ็นเข่าฉีดขาด หรือเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด เอ็นไขว้หน้าจะทำหน้าที่รักษาความมั่นคงของข้อเข่า คอยควบคุมการทรงตัวของข้อเข่าในขณะที่เราวิ่ง กระโดด หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวกะทันหัน หากเคลื่อนไหวผิดท่า หรือได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง โอกาสที่เอ็นไขว้หน้าจะได้รับบาดเจ็บก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน เมื่อเอ็นเข่าเกิดความผิดปกติ หรือได้รับบาดเจ็บ จะมีอาการปวดบวมอย่างรุนแรงบริเวณข้อเข่า เดินลงน้ำหนักไม่ได้หรือปวดเสียวมาก ไม่สามารถงอเข่าได้เนื่องจากมีเลือดออกในข้อเข่า เมื่อปล่อยทิ้งไว้อาการอาจค่อยๆ ดีขึ้น แต่มักมีอาการเวลาที่ทำกิจกรรมที่หัวเข่าต้องบิดหมุน การวินิจฉัยเส้นเอ็นอักเสบ เบื้องต้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและสอบถามอาการเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บข้อเท้า หรือ ข้อเข่า เช่น กิจกรรมที่ทำก่อนจะมีอาการ ลักษณะของอาการปวด ความถี่และระยะเวลาที่เกิดอาการ นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มด้วยเครื่องมือที่จำเป็น อาทิ การตรวจเอกซเรย์และการตรวจภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป การรักษาเส้นเอ็นอักเสบจาก Surf Skate การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการปวด หากวินิจฉัยแล้วเป็นเพียงเส้นเอ็นอักเสบที่ข้อเข่า หรือข้อเท้า และยังสามารถขยับออกท่าทางเคลื่อนไหวได้บ้าง ก็จะรักษาด้วยการให้พักใช้ข้อเข่า ข้อเท้าที่เจ็บนั้นร่วมกับการรับประทานยาลดการอักเสบ การประคบร้อนหรือประคบเย็น ในบางกรณีอาจมีการทำกายภาพบำบัดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้หัวเข่าขยับได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในกรณีผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เจ็บปวดมากไม่สามารถใช้งานหัวเข่าได้ หรือเกิดจากภาวะเอ็นฉีกขาดหรือเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด อาจจำเป็นต้องพิจารณาผ่าตัด แพทย์จะใช้การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดปลูกถ่าย หรือซ่อมเอ็นข้อเข่า เพื่อให้กลับมาเดินได้ปกติเท่าเดิม รักษาเส้นเอ็นเข่าฉีดขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า การผ่าตัดส่องกล้องรักษาเอ็นเข่าฉีกขาด เทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย จะทำให้แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ทำการดูแลรักษาได้ง่าย ด้วยวิธีผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็น หรือสร้างเอ็นใหม่ โดยนำเส้นเอ็นจากบริเวณอื่นมาทดแทน ศัลยแพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กแล้วใช้กล้องขนาด 4 มิลลิเมตรส่องเข้าไปดูภายในข้อเข่าตรงที่เส้นเอ็นฉีก ภาพที่ได้จะถูกส่งขึ้นจอภาพที่อยู่ในห้องผ่าตัด ทำให้แพทย์สามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ในข้อเข่าได้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งมาช่วยเสริมในการจับและเย็บเส้นเอ็นที่ฉีกขาด โดยแผลที่เกิดจากการผ่าตัดส่องกล้องจะมีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ขนาด 0.5 -1 เซนติเมตร จำนวน 2-4 รู ขึ้นอยู่กับว่ามีความรุนแรงของการฉีกขาดมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ การเล่น Surf Skate ควรเล่นในเวลาที่เหมาะสม ไม่ฝืนร่างกาย ควรเลือกตัว Surf Skate ให้เหมาะสมกับผู้เล่น สวมอุปกรณ์ความปลอดภัยทุกครั้ง ผู้เล่นใหม่ควรเล่นภายใต้ผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ ในสถานที่ที่ปลอดภัย ไม่ลืมที่จะวอร์มอัพและคูลดาวน์ หากเกิดอุบัติเหตุควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น กรณีมีความรุนแรงควรรีบพบแพทย์ทันที ศูนย์กระดูกและข้อรพ.นครธน อยากเห็นทุกท่าน เล่นกีฬาอย่างมีความสุข มีความปลอดภัย มีสุขภาพจิตดี และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ดังนั้นการเล่นกีฬาอะไรก็ตาม จึงควรต้องเรียนรู้ในวิธีการการเล่นที่ถูกต้อง และควรเล่นอย่างระมัดระวังคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อนเสมอ แต่หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนมีอาการบาดเจ็บ ถึงแม้จะดูเหมือนอาการเล็กน้อย ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนอาการบาดเจ็บลุกลามรักษายาก หากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม ทางศูนย์กระดูกและข้อรพ.นครธนมีความพร้อมทุกด้าน และยินดีให้คำปรึกษา ผู้ที่รักในการเล่นกีฬาชื่นชอบการออกกำลังกายทุกท่านค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เอ็นอักเสบ-เอ็นฉีกขาด-บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา-surf-skate
  3. ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือมีการใช้ข้อเข่าอย่างหนักเป็นประจำ รวมถึงมีกรรมพันธุ์ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมาก่อน สิ่งเหล่านี้นับเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง และต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้นนั่นเอง โรคข้อเข่าเสื่อม เริ่มจากมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงดังกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนาน ๆ และเมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึก จะทำให้มีอาการปวดมาก และอาจมีข้อเข่าผิดรูปได้ การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า คือหนึ่งในแนวทางที่นิยมใช้ในการรักษาเข่าเสื่อม ซึ่งทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยวิธีฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ช่วยลดอาการปวดเข่าได้ดี มีขั้นตอนการรักษาอย่างไรบ้าง วันนี้เรานำข้อมูลมาฝากกันค่ะ “การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า” เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว เคยประสบอุบัติเหตุ โรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อเข่า และการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึก จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเป็นๆ หายๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก ซึ่งการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นหนึ่งวิธีการรักษา แล้วน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร การรักษาเป็นอย่างไร สามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกัน รู้จักน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ตามปกติแล้ว น้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อเข่าจะทำหน้าที่เหมือนน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ราบรื่น แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบภายในข้อ และเคลื่อนไหวไม่สะดวก คุณสมบัติของการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่ารักษาข้อเข่าเสื่อม น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จะช่วยปรับคุณภาพและสมดุลของปริมาณน้ำในข้อเข่า ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบทำให้อาการปวดข้อลดลง การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้ เมื่อไหร่ต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ในกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น-ปานกลาง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบใช้ยา แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าฉีดอย่างไร เมื่อแพทย์วินิจฉัยการรักษาแล้วว่าให้ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท 1.แบบโมเลกุลเล็ก จะทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าที่มีอาการปวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง หลังฉีดยาจะช่วยลดการปวดข้อเข่า ผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น 2.แบบโมเลกุลใหญ่ หรือฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแบบ Single Shot โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถลดอาการปวด อักเสบได้นาน 3-6 เดือน ซึ่งมีความสะดวกต่อคนไข้ในการเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดได้เป็นอย่างดี คำแนะนำหลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า รักษาข้อเข่าเสื่อม หลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้อเข่าอยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ โดยปกติแล้วการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย อาจพบเพียงอาการปวด บวม แดง เหมือนการฉีดยาทั่วไป ซึ่งจะหายได้เอง หรืออาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น และหลังฉีดยาควรพักการใช้ข้อเข่าอย่างน้อย 2 วัน ข้อยกเว้นสำหรับการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า การรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากข้อเข่าของคนไข้มีการติดเชื้อมาก่อน หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่จะต้องฉีดยา แพทย์ก็จะพิจารณาเป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีอื่นแทน รวมทั้งไม่แนะนำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงฉีด เพราะผลจากการรักษาจะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องช่วยดูแลในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับผู้มีปัญหา ข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่าจากอาการเข่าเสื่อม หรือมีข้อมูลที่อยากสอบถามเพิ่มเติม ในเรื่องที่เกี่ยวกับแนวทางการรักษาเข่าเสื่อม ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดเข่า-ข้อเข่าเสื่อม-ซ่อมได้ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
  4. การเล่นกีฬาจัดว่าเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายยอดนิยมของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะ ฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล และการวิ่งมาราธอนในระยะต่าง ๆ ซึ่งการเล่นกีฬาเหล่านี้ย่อมมาควบคู่กับอาการบาดเจ็บที่รุนแรง อย่างเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด แม้บางครั้งอาการที่รุนแรงที่ได้บาดเจ็บกลับหายเป็นปกติ จนหลายคนไม่คิดว่าจะมีอันตราย แต่จริง ๆ แล้วอาการไม่ได้หายไปไหน เมื่อกลับไปเล่นกีฬาหรือใช้งาน ความรุนแรงกลับเพิ่มมากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ช่วงแรกที่ได้รับบาดเจ็บ เข่าจะมีอาการบวม, ปวด, ลงน้ำหนักเดินไม่ไหว หลังจากนั้นอาการปวดบวมจะค่อย ๆ ลดลง จนกลับมาเดินลงน้ำหนักได้ แต่จะพบว่ามีอาการเข่าหลวม เนื่องจากเส้นเอ็นฉีกขาด ทำให้ไม่สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ดังเดิม หากต้องการรักษาอาการบาดเจ็บให้หายเป็นปกติ ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการบาดเจ็บ โดยการผ่าตัดซ่อมสร้างเส้นเอ็นด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งหลังจากผ่าเข่าแล้วได้ผลดีคนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแนวทางการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ รู้จัก...เอ็นไขว้หน้าหัวเข่า เอ็นไขว้หน้าหัวเข่า หรือ Anterior Cruciate Ligament (ACL) คือเส้นเอ็นขนาดใหญ่เส้นหนึ่งที่อยู่ภายในเข่า โดยจะเกาะอยู่ระหว่างปลายกระดูกต้นขา (Femur Bone) และต้นกระดูกหน้าแข้ง (Tibia Bone) หน้าที่หลักๆ ของเอ็นเส้นนี้ คือเสริมความมั่นคงให้แก่ข้อเข่า ควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวเข่าและหน้าแข้ง ให้เคลื่อนไหวได้มากน้อยและในมุมต่าง ๆ ป้องกันไม่ให้เราเหยียดเข่าเกินองศา (Hyperextension) จนทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและผิวข้อเข่า ถือว่าเป็นเส้นเอ็นที่มีความสำคัญต่อข้อเข่ามาก เพราะหากเส้นเอ็นนี้บาดเจ็บหรือฉีกขาดอย่างถาวร จะทำให้ข้อเข่าขาดความมั่นคงอย่างหนัก ขณะที่ผู้ป่วยเดินจะรู้สึกเข่าหลวม ปวดภายในเข่า และทำให้เข่าเสื่อมตามมาได้เร็วขึ้น เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดเกิดจากอะไร อาการเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดมักพบได้บ่อย โดยเฉพาะสาเหตุจากการเล่นกีฬาและเกิดจากการบิดหมุนของหัวเข่าที่รุนแรง ทำให้เส้นเอ็นเกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดได้ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับการเล่นกีฬาทุกประเภท โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการปะทะ เช่น นักฟุตบอล นักวอลเลย์บอล นักบาสเกตบอล หรืออาจเกิดจากกิจกรรมอื่นทั่วไป เช่น ตกบันได อุบัติเหตุ แม้แต่เดินสะดุดก็อาจทำให้เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดได้เช่นกัน อาการเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดเป็นอย่างไร - รู้สึกมีอะไรดีดอยู่ข้างในขา - หัวเข่าใช้งานไม่ได้ในขณะที่ได้รับบาดเจ็บ - หัวเข่าบวมปูดทันทีหรือภายในไม่กี่ชั่วโมง - มีอาการเจ็บปวดรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นได้ โดยบางรายหลังจากเอ็นหัวเข่าฉีกขาด อาการปวด บวม อักเสบบริเวณหัวเข่าจะค่อยๆ ดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง โดยไม่รู้สึกผิดปกติ แต่เมื่อกลับไปเล่นกีฬาหรือใช้งานอีก จะรู้สึกว่าเข่าไม่มั่นคงและจะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดหมอนรองข้อฉีกขาด ส่งผลให้เกิดอาการงอเข่าไม่ลง ปวดบริเวณข้อ ตามมา การรักษาเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด จะยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ แต่อาจจะเกิดภาวะข้อเข่าเคลื่อน ในกิจกรรมที่ต้องมีการบิดหมุนของหัวเข่า และที่สำคัญผู้ที่มีภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บต่อหมอนรองเข่าและกระดูกอ่อนหัวเข่า ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันสมควร ซึ่งการรักษาแบ่งเป็น 2 แบบ คือ - รักษาโดยการไม่ผ่าตัด เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการทำกิจกรรมที่ใช้หัวเข่ามากนัก และสามารถปรับพฤติกรรมตนเองให้เหมาะกับเข่าที่ไม่สามารถบิดหมุนรุนแรง - รักษาโดยการผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยอายุน้อย และต้องการกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและกีฬาในระดับใกล้เคียงกับก่อนการบาดเจ็บ การผ่าตัดส่องกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด การรักษาเส้นเอ็นเอ็นไขว้หน้าหัวเข่า ทำได้โดยการผ่าตัดซ่อมสร้างเส้นเอ็นด้วยวิธีส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) โดยนำเส้นเอ็นจากบริเวณอื่นมาทดแทน โดยทั่วไปจะใช้เอ็นจากสะบ้าเข่าหรือเอ็นบริเวณรอบ ๆ มาใช้ การผ่าตัดส่องกล้องมีข้อดี คือผ่าตัดเจาะรูเล็กเพื่อใส่อุปกรณ์ และกล้องสำหรับส่องเข้าไปในข้อ แสดงภาพที่จอคอมพิวเตอร์ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน คนไข้จะมีอาการบาดเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นสั้น และมีโอกาสในการติดเชื้อที่ต่ำกว่า ซึ่งคนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้รวดเร็วกว่า ผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าแล้วจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เมื่อไหร่ โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า ประมาณ 1 เดือนผู้ป่วยจะใช้ไม้เท้าและสนับเข่า 3 เดือนหลังผ่าตัด จะเดินเร็วได้ และ 6-9 เดือนหลังผ่าตัด แพทย์จะให้ทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับกีฬาแต่ละแบบ และประมาณ 1 ปีหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายด้วย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ควบคู่การทำกายภาพบำบัดเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าขาดนั้น หากไม่รีบรักษาจะส่งผลให้เข่าเสื่อมก่อนวัยได้ หากคุณเป็นนักกีฬาหรือมีผู้ใกล้ชิดที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับอาการเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด ต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดจากการเล่นกีฬารักษาได้ด้วยผ่าตัดส่องกล้อง
  5. โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งการเสื่อมตามวัยจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น การมีน้ำหนักตัวที่มากเกิน จากกรรมพันธุ์ หรือจากอุบัติเหตุก็เป็นได้ หากผู้ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ทำการรักษา ข้อเข่าเสื่อมก็จะยังคงอาการเสื่อมต่อไป จนมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และอาจทำให้เกิดความยากลำบากและความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบัน โดยการผ่าตัดเข่าเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ถือเป็นอีกทางเลือกในการรักษาข้อเข่าเสื่อม ใช้ในกรณีที่รักษาเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตได้ผลดีและเป็นที่นิยมมากขึ้น ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้ว ก็ยังคงต้องดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเทียมให้ยาวนาน ดังนั้นเพื่อให้เราได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า หลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมแล้ว ดูแลตัวเองอย่างไรดี? ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมีคำตอบมาให้ท่านแล้ว ไปทราบถึงแนวทางการดูแลที่ถูกต้องพร้อมกันได้เลยค่ะ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเป็นที่นิยมมาก เพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้น กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ รอบข้อเข่าต้องการเวลาที่จะสมานแผล ดังนั้นการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเพิ่มยืดหยุ่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุด ข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ - ประมาณวันที่ 1-2 วัน จะมีการประคบเย็นบริเวณแผลผ่าตัดเพื่อลดบวม ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกบริหารกล้ามเนื้อขา งอขา เหยียดขา ในรายที่สามารถฟื้นตัวได้เร็วจะได้ฝึกยืนลงน้ำหนักและหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน (Walker) ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด - ประมาณวันที่ 3-5 จะมีการฝึกเดิน ฝึกขึ้น-ลงบันได แนะนำวิธีการฝึกใช้กำลังเข่าและขา โดยนักกายภาพบำบัด หากผู้ป่วยสามารถเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดินได้คล่อง และไม่มีอาการแทรกซ้อน แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ - ใน 2 สัปดาห์แรก ควรเดินด้วยไม้ค้ำยันหรือคอกช่วยเดิน เพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวกดทับหัวเข่ามากเกินไป และป้องกันการลื่นล้ม โดยควรเดินในระยะสั้นๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มระยะทางและเวลาการเดินให้มากขึ้น ทั้งนี้ต้องมาพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อหลังการผ่าตัด ข้อเข่าหลวมหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง เป็นต้น การดูแลตัวเองเพื่อถนอมข้อเข่าเทียมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้ว ก็ยังคงต้องดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเทียมให้ยาวนาน โดยการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ดังต่อไปนี้ 1.อิริยาบถในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อ ได้แก่ - นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย นั่งไขว่ห้าง ไขว้ขา การบิดหมุนเข่าไม่ว่ากรณีใด ๆ - ขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น - การยกหรือแบกของหนักๆ - การใช้หมอนรองใต้เข่าเป็นเวลานาน ๆ ขณะนอน เพราะจะทำให้การไหลเวียนเลือดที่ใต้ข้อพับเข่าเป็นไปได้ไม่สะดวก และข้อเข่าอาจตึงยึด 2.การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน บริเวณบ้านควรจัดให้โล่ง สว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวางบนทางเดิน เพื่อกันการสะดุดล้มลง ถ้าจำเป็นต้องขึ้นลงบันได ควรมีราวจับทั้ง 2 ด้านของบันได ส้วมเป็นแบบชักโครก ภายในห้องน้ำควรใช้วัสดุกันลื่น มีราวจับ และจัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและสะดวกสบายขณะอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการลงไปอาบในอ่างอาบน้ำ เพราะอาจลื่นล้มได้ง่าย 3.การควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มีน้ำหนักมากเกินไปเพื่อข้อเข่าเทียมจะได้ไม่ต้องรองรับน้ำหนักมาก ลดแรงกระแทกที่ข้อเทียม ควรรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เช่น รับประทานข้าวกล้อง ดื่มนมขาดมันเนย ทานผักและผลไม้ที่มีกากใยและรสชาติไม่หวาน รับประทานเนื้อสัตว์ติดมันให้น้อยที่สุด เช่น ปลาซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายเหมาะกับผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด และหวานจัด เลือกรับประทานอาหารนึ่ง ตุ๋น อบ ย่าง แทนอาหารประเภทผัด ทอด และแกงกะทิ ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และงดดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ 4.การออกกำลังกายและเล่นกีฬา ควรออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อรอบข้ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดด เช่น วิ่ง เทนนิส เป็นต้น การออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ ว่ายน้ำ เดิน ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้วใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่? โดยทั่วไปภายหลังผ่าเข่า 6 สัปดาห์ จะสามารถเดินได้โดยไม่ใช้ไม้เท้าช่วยพยุง เหยียดหรืองอข้อเข่าได้สุดหรือเกือบสุด และประมาณ 2-6 เดือน ข้อเทียมจะมีความแข็งแรงเสมือนเป็นข้อของผู้ป่วยเอง ทั้งนี้การฟื้นตัวของผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และปัจจัยหลายๆ อย่าง ในระยะนี้จะสามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งการนั่ง เดิน ขึ้น-ลงบันได สามารถงอเข่าได้ประมาณ 120-140 องศา ออกกำลังกายที่ไม่มีแรงกระแทกต่อเข่าได้ เช่น เดินเร็ว รำมวยจีน ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ตีกอล์ฟ ได้ ขับรถในกรณีที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ ถ้าใส่ข้อเทียมข้างซ้ายจะขับรถได้เร็วขึ้น ทั้งหมดนั้นคือแนวทางการปฏิบัติตน หลังการผ่าตัดเข่าเทียมที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วย ใช้เวลาพักฟื้นน้อยลง และสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้เร็วยิ่งขึ้น ทางศูนย์กระดูกข้อ โรงพยาบาลนครธน พร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม และสนับสนุนแนวทางสร้างสุขภาพดีให้ข้อเข่า โดยแพทย์ผู้ชำนาญการที่มากประสบการณ์ อีกทั้งทางศูนย์กระดูกข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  6. ภาวะข้อไหล่ติด มักพบได้บ่อยในวัยกลางคน-ผู้สูงวัย เมื่อมีอาการไหล่ติด ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น สวมเสื้อไม่ถนัด เอื้อมมือหรือยกแขนไม่ขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบและหนาตัวของเยื้อหุ้มข้อเป็นพังผืด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง หรือมักเกิดจากการทำกิจกรรมแบบเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมเป็นระยะเวลานาน หรือการเคลื่อนไหวข้อไหล่ซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดการเสียดสี และอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ในผู้สูงอายุจะยิ่งมีอาการเสื่อมจากการใช้งานมากเกินไป หากตอนนี้คุณกำลังมีอาการปวดไหล่ ยกแขนไม่สุด รูดซิบหลังเสื้อไม่ได้ เริ่มสงสัยว่าจะเสี่ยงข้อไหล่ติดหรือไม่ วันนี้เรานำความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมาฝาก เพื่อช่วยคุณรับมือเมื่อมีอาการไหล่ติดเกิดขึ้น และได้เรียนรู้ถึงวิธีเช็คความเสี่ยงภาวะข้อไหล่ติด เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ อาการข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่กลับเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก วิธีสังเกตอาการคือจะมีอาการเจ็บปวดทุกครั้งที่เคลื่อนไหวแขน เอื้อมแขนหยิบของที่สูงไม่ได้หรือยกแขนไม่สุด อ่อนแรงในขณะยกหรือหมุนหัวไหล่ เอื้อมมือไปรูดซิปด้านหลังเสื้อไม่ได้ หากผู้สูงอายุมีอาการเหล่านี้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ควรตั้งข้อสงสัยว่าอาจประสบปัญหาภาวะข้อไหล่ติดอยู่ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในผู้สูงอายุ ข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ เป็นอย่างไร ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder) เป็นภาวะที่ทำให้มีอาการปวดไหล่และไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้สุดพิสัยข้อ ไม่ว่าจะขยับเองหรือให้ผู้อื่นช่วยขยับให้ สาเหตุเกิดจากการอักเสบและหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อเป็นพังผืด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง การใช้งานซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น การนั่งพิมพ์งานเป็นระยะเวลานาน หรือท่าทางที่เคลื่อนไหวข้อไหล่ซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดการเสียดสีและอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ความเสื่อมจากการใช้งานมากเกินไป รวมไปถึงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ที่มีภาวะการเสื่อมของร่างกายกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อของไหล่ ภาวะหัวไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้เอง หรือเกิดได้จากการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การถูกกระแทก นอกจากจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ภาวะหัวไหล่ติดยังมักเกิดได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ไทรอยด์ และความผิดปกติที่ปอด เช่น วัณโรคหรือจุดที่ปอด อีกด้วย อาการของภาวะข้อไหล่ติด มี 3 ระยะ ได้แก่ - ระยะปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการปวดค่อยๆ เป็นมากขึ้น ปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ปวดมากตอนกลางคืนจนรบกวนการนอน การเคลื่อนไหวของข้อจะค่อยๆ ลดลง - ระยะข้อติด อาการปวดจากระยะแรกเริ่มลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทุกทิศทางลดลงชัดเจน อาจส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมาก - ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อย ๆ ดีขึ้น ในช่วง 5 เดือนถึง 2 ปี ทั้งนี้ อาการไหล่ติดสามารถเกิดได้เพียงข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่มักเป็นแขนข้างที่ไม่ถนัด หากปล่อยไว้นานวันเข้า อาจพัฒนากลายเป็นหัวไหล่แข็ง และขยับแขนอย่างอิสระไม่ได้อย่างถาวร จนอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายถุงหุ้มไหล่ เพื่อให้แขนกลับมาทำงานได้ตามปกติ เช็คความเสี่ยง...ข้อไหล่ติด หากใครมีอาการปวดจากการกระทำดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ - เอื้อมหยิบของด้านหลังไม่ได้ ไม่สามารถไขว้แขนไป ข้างหลังได้ - เอื้อมแขนหยิบของที่สูงไม่ได้หรือยกแขนไม่สุด - เอื้อมมือไปรูดซิปด้านหลังเสื้อ หรือติดตะขอชุดชั้นในไม่ได้ - เอื้อมไปล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังลำบาก - ออกแรงผลักเปิดประตูหนักๆ ไม่ได้ - ยกแขนขึ้นสระผมลำบาก - ยกแขนเพื่อสวมเสื้อผ้าทางศีรษะไม่ได้ - มีอาการปวดร้าวลงบริเวณต้นแขน หิ้วของหนักหยิบจับทำงานลำบาก ผู้สูงอายุสามารถหยุดหรือปรับขนาดการใช้ยาเองได้หรือไม่ ผู้สูงอายุไม่ควรหยุดยา หรือปรับขนาดการใช้ยาเอง เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากยา ลดประสิทธิภาพของยาจนไม่ได้ผลการรักษา ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เช่น ยาลดความดันโลหิตที่รับประทานต่อเนื่องจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ หากหยุดยาเองทันทีอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นมากจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรปรับขนาดยาหรือหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ การตรวจและรักษาข้อไหล่ติด แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจเพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์ (X-Ray) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อแยกโรคอื่นๆ ออกไปตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ด้านการรักษาข้อไหล่ติดนั้น แพทย์จะทำการรักษาแบบประคับประคองตามระยะของโรคจะช่วยให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการดีขึ้น โดยมีเป้าหมาย คือ การลดความเจ็บปวด เพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหว และการกลับมาใช้งานข้อไหล่ในการทำกิจวัตรประจำวัน ดังนี้ - ระยะปวด การรักษาเน้นลดอาการปวดและการอักเสบ อาจให้ยาแก้ปวดและต้านการอักเสบ - ระยะข้อติด การรักษาจะเน้นการเพิ่มพิสัยข้อ ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้เองโดยการยืดดัดข้อไหล่ทุกวัน โดยก่อนการดัดข้อไหล่ควรประคบด้วยแผ่นความร้อน หลังดัดข้อไหล่แล้วอาจใช้แผ่นความเย็นประคบป้องกันการอักเสบ หากไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาทำกายภาพบำบัดโดยการใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนต่าง ๆ และการดัดข้อไหล่โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยทำให้อาการเป็นปกติเร็วขึ้น - ระยะฟื้นตัว จะเน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ ภาวะข้อไหล่ติด รักษาด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้อง หากทำการรักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ดีขึ้น และสาเหตุของอาการนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อไหล่ โดยการผ่าตัดด้วยการใช้กล้องส่องข้อไหล่ คือ การผ่าตัดโดยเจาะรูที่ไหล่ 3-4 รู รูละประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตร เพื่อใส่เครื่องมือเข้าไป นั่นก็คือกล้องขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ที่จะนำภาพภายในข้อออกมาแสดงบนจอภาพ และแพทย์ทำการตกแต่ง ตัดเยื่อหุ้มข้อ ด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง หรือเครื่องมือพิเศษ ข้อดีการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อไหล่ ทำให้สามารถเห็นพยาธิสภาพในข้อได้อย่างชัดเจนและสามารถแก้ไขพยาธิสภาพได้ดี แผลมีขนาดเล็ก เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อได้รับบาดเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะเจ็บน้อยกว่า สามารถทำกายภาพได้เร็วขึ้นช่วยให้ฟื้นตัวเร็วและช่วยลดระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล อาการข้อไหล่ติด สามารถรักษาได้ หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใช่ช่วงแรก ๆ ก็สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการยกไหล่ การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร หรือการใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุได้อย่างชัดเจน หากท่านกำลังมีภาวะข้อไหล่ติด มีความกังวลใจ แนะนำว่าควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยหาสาเหตุและหาแนวทางรักษา ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/ข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ-ปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
  7. โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น มักมาพร้อมกับอาการปวดเข่าปวดข้อ ส่งผลทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ได้รับความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่โรคข้อเข่าเสื่อมพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุอาจเกิดมาจากหลายประการด้วยกัน ซึ่งได้สะสมความเสื่อมมาเป็นเวลานาน หรือการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยรุ่น ซึ่งอาการปวดเข่ามีความแตกต่างกันออกไป ปวดมากบ้างน้อยบ้างตามความรุนแรง แต่ก็มีบางท่านมีอายุยังไม่ถึง40 ปี แต่มีอาการเริ่มปวดเข่าเป็น ๆ หาย ๆ พอหยุดพักการใช้เข่า อาการปวดเข่าก็ทุเลาลง แต่เมื่อกลับมาใช้ข้อเข่าใหม่ อาการปวดเข่าก็กลับมาอีก อาการปวดเข่าไม่หายขาดสักที แถมภายหลังอาการปวดเข่ามากขึ้นจนนอนไม่หลับ เริ่มส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หากท่านสงสัยว่าอาการปวดเข่าที่ท่านเป็นอยู่นี้จะใช่โรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่? และหากเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วจะมีแนวทางรักษาอย่างไร? วันนี้ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมีคำตอบมาให้ท่านแล้วค่ะ อาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อย และควรให้ความสำคัญ เพราะถ้าหากได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ผลที่ตามมาคือ การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวดเข่า ข้อเข่าผิดรูป ข้อฝืด หรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นวิธีสากลที่ได้รับการยอมรับว่าผลการรักษาดีที่สุด ทำให้หายปวดเข่า ข้อเข่ากลับมาเคลื่อนไหวได้ดีดังเดิม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รู้ได้อย่างไร อาการปวดเข่าแบบไหน ที่แสดงว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ มักพบบ่อยในผู้ที่อายุเกิน 40 ปี พบมากในผู้หญิงและผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มักเป็นทั้ง 2 ข้าง เมื่อข้อเข่าข้างหนึ่งเริ่มเสื่อมแล้ว จะมีข้อเข่าอีกข้างเสื่อมอีกใน 11 ปีต่อมา อาการในระยะแรก เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ ร่วมกับมีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ เมื่อมีภาวะข้อเข่าเสื่อมรุนแรง อาการปวดเข่าจะรุนแรงมากขึ้น บางครั้งปวดเวลากลางคืน อาจคลำส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้ำในช่องข้อ ถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่า เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ สาเหตุโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิม และอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยแบ่งสาเหตุได้ 2 แบบ ดังนี้ ความเสื่อมแบบปฐมภูมิ หรือไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสื่อมของข้อเข่า ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย มีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ เป็นต้น ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง และกรรมพันธุ์ ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ข้อ เส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงานหรือการเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น อ้วน เป็นต้น การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมตรวจพบได้จากการเอกซเรย์ข้อเข่า โดยฟิล์มที่ปรากฏจะมองเห็นช่องว่างแคบ ๆ ระหว่างข้อเข่าด้านบนและข้อเข่าด้านล่าง แสดงให้เห็นว่ามีการสึกหรอของกระดูกอ่อน นอกจากนี้แพทย์จะซักประวัติอาการปวดเข่า ประวัติคนในครอบครัว ประวัติการบาดเจ็บข้อเข่า และวัดความสามารถในการงอและเหยียดข้อเข่า การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม รักษาโดยไม่ใช้ยา ช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยให้เข่าเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ได้แก่ การประคับประคองด้วยการลดแรงกดที่ข้อเข่า ร่วมกับการทำให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อเข้า การควบคุมน้ำหนักตัว และการบริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังเพื่อสุขภาพ ซึ่งต้องได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รักษาโดยการใช้ยา อยู่ภายใต้แผนการรักษาของแพทย์ เช่น ยาทาเฉพาะที่ ประเภทยาแก้ปวดและต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และ เจลพริก (Capsaicin) ใช้ทานวดซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนเฉพาะที่ ยาแก้ปวด พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในรูปของยารับประทานและยาฉีด ซึ่งช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้ดี และยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น รักษาโดยวิธีการผ่าตัด การส่องกล้องข้อเข่า เพื่อตรวจสภาพและล้างภายในข้อ เป็นการรักษาที่น่าจะได้ผลดี ในกลุ่มที่มีเศษขรุขระเล็กน้อยที่เป็นสาเหตุของอาการปวดขัดในข้อ ใช้รักษาภาวะเข่าเสื่อมในระยะแรกเท่านั้น ในกรณีที่ข้อเสื่อมมากหรือรุนแรง แนะนำให้เปลี่ยนผิวข้อแทน การผ่าตัดปรับแนวข้อ ในกรณีที่มีการผิดรูปของข้อ โดยแก้ไขแนวแรงให้กระจายไปยังจุดที่ผิวข้อยังดีอยู่ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty: TKA) เป็นวิธีการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในระยะปานกลางถึงระยะรุนแรง เป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิธีสากลที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด นั่นคือ ทำให้หายปวดเข่า ข้อเข่ากลับมาเคลื่อนไหวได้ดีดังเดิม เทคโนโลยีการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบัน การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเป็นที่นิยมมาก เพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก ซึ่งผิวข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนนั้นทำมาจากสเตนเลสผสมจำพวกนิเกิล โคบอล ไททาเนียม ส่วนหมอนรองกระดูกเทียมทำจากวัสดุจำพวกพลาสติกชนิดพิเศษ (Polyethylene) ไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกาย น้ำหนักเบา และใช้งานได้คงทน เป็นที่รู้จักของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ทั่วโลก ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด มีดังนี้ - มีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่มีการสึกหรอและเสื่อมสภาพซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสี - มีอาการปวด บวม ตึงข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย - ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล ขั้นตอนในการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะผิวของกระดูกทั้ง 3 ส่วนที่ประกอบกันเป็นข้อเข่า (กระดูกส่วนของต้นขา หน้าแข้ง และสะบ้า) โดยแพทย์จะตัดส่วนของผิวข้อที่สึกหรอหรืออักเสบออกไป ซึ่งมีความหนาประมาณ 8-10 มิลลิเมตร แต่งกระดูกให้ได้มุมรับกับผิวข้อเทียม แล้วจึงใส่ข้อเทียมด้านกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้งซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ทำด้วยโลหะอย่างดี โดยมีพลาสติกชนิดพิเศษซึ่งทำหน้าที่คล้ายกระดูกอ่อน คั่นอยู่ระหว่างข้อเทียมที่เป็นโลหะ ส่วนข้อเทียมที่ใส่ด้านหลังของกระดูกสะบ้าทำด้วยพลาสติกเช่นกัน และใช้ซีเมนต์พิเศษยึดระหว่างข้อเทียมกับกระดูกไว้ ดังนั้นข้อเทียมจึงมีความแข็งแรงและทนทานยาวนาน การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด หลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน ประมาณวันที่ 1-2 หลังทำผ่าตัดจะเริ่มหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดบ้านให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย และพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อหลังการผ่าตัด ข้อเข่าหลวมหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง เป็นต้น การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม จัดเป็นการผ่าตัดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บปวดทรมาน สามารถกลับมาเดินได้ตามปกติ หรือใกล้เคียงปกติ สามารถออกไปใช้ชีวิตประจำวันได้ ออกกำลังกายหรือท่องเที่ยวได้ รวมถึงรูปร่างของข้อเข่าดูสวยงามขึ้น หากท่านกำลังมีอาการปวดเข่าปวดข้อ เป็นมานานอาการปวดไม่หายขาดสักที แนะนำว่าควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยหาสาเหตุ ไม่ควรปล่อยให้ปวดเรื้อรังนานเกินไป ควรรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้โดยเร็ว ทางศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดเข่าบ่อย-ลุกนั่งเดินเจ็บ-สัญญาณโรคข้อเข่าเสื่อม
  8. “ไหล่ติด” อาการนี้ใครเคยเป็นกันบ้าง ยกมือขึ้นได้ไม่สุด หากคุณยังนึกไม่ออกให้ลองนึกถึง เวลายกแขนขึ้นแล้วรู้สึกปวดไหล่ จะรูดซิปหลังเสื้อก็ไม่ได้ นั้นล่ะคือคุณอาจมีภาวะที่อาการข้อไหล่ติดเข้าแล้ว แล้วอาการไหล่ติดหรือภาวะข้อไหล่ติดนั้นเกิดจากสาเหตุใด? และมีอันตรายร้ายแรงมากหรือไม่? หากตอนนี้กำลังมีอาการไหล่ติดอยู่จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร? แนวทางการรักษาภาวะข้อไหล่ติดนั้นมีวิธีรักษาแบบไหนบ้าง? คำถามมารัว ๆ ขนาดนี้ วันนี้เราจึงได้นำความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมาเป็นคำตอบให้คุณแล้ว ไปอ่านข้อมูลเพื่อไขข้อข้องใจพร้อมกันเลยค่ะ อาการข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่กลับเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก วิธีสังเกตอาการคือจะมีอาการเจ็บปวดทุกครั้งที่เคลื่อนไหวแขน เอื้อมแขนหยิบของที่สูงไม่ได้หรือยกแขนไม่สุด อ่อนแรงในขณะยกหรือหมุนหัวไหล่ เอื้อมมือไปรูดซิปด้านหลังเสื้อไม่ได้ หากผู้สูงอายุมีอาการเหล่านี้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ควรตั้งข้อสงสัยว่าอาจประสบปัญหาภาวะข้อไหล่ติดอยู่ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในผู้สูงอายุ ข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ เป็นอย่างไร ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder) เป็นภาวะที่ทำให้มีอาการปวดไหล่และไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้สุดพิสัยข้อ ไม่ว่าจะขยับเองหรือให้ผู้อื่นช่วยขยับให้ สาเหตุเกิดจากการอักเสบและหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อเป็นพังผืด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง การใช้งานซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น การนั่งพิมพ์งานเป็นระยะเวลานาน หรือท่าทางที่เคลื่อนไหวข้อไหล่ซ้ำๆ ก่อให้เกิดการเสียดสีและอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ความเสื่อมจากการใช้งานมากเกินไป รวมไปถึงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ที่มีภาวะการเสื่อมของร่างกายกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อของไหล่ ภาวะหัวไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้เอง หรือเกิดได้จากการบาดเจ็บเล็กๆ น้อย ๆ เช่น การถูกกระแทก นอกจากจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ภาวะหัวไหล่ติดยังมักเกิดได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ไทรอยด์ และความผิดปกติที่ปอด เช่น วัณโรคหรือจุดที่ปอด อีกด้วย อาการของภาวะข้อไหล่ติด มี 3 ระยะ ได้แก่ - ระยะปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการปวดค่อยๆ เป็นมากขึ้น ปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ปวดมากตอนกลางคืนจนรบกวนการนอน การเคลื่อนไหวของข้อจะค่อยๆ ลดลง - ระยะข้อติด อาการปวดจากระยะแรกเริ่มลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทุกทิศทางลดลงชัดเจน อาจส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมาก - ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อย ๆ ดีขึ้น ในช่วง 5 เดือนถึง 2 ปี ทั้งนี้ อาการไหล่ติดสามารถเกิดได้เพียงข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่มักเป็นแขนข้างที่ไม่ถนัด หากปล่อยไว้นานวันเข้า อาจพัฒนากลายเป็นหัวไหล่แข็ง และขยับแขนอย่างอิสระไม่ได้อย่างถาวร จนอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายถุงหุ้มไหล่ เพื่อให้แขนกลับมาทำงานได้ตามปกติ เช็คความเสี่ยง...ข้อไหล่ติด หากใครมีอาการปวดจากการกระทำดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ - เอื้อมหยิบของด้านหลังไม่ได้ ไม่สามารถไขว้แขนไป ข้างหลังได้ - เอื้อมแขนหยิบของที่สูงไม่ได้หรือยกแขนไม่สุด - เอื้อมมือไปรูดซิปด้านหลังเสื้อ หรือติดตะขอชุดชั้นในไม่ได้ - เอื้อมไปล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังลำบาก - ออกแรงผลักเปิดประตูหนักๆ ไม่ได้ - ยกแขนขึ้นสระผมลำบาก - ยกแขนเพื่อสวมเสื้อผ้าทางศีรษะไม่ได้ - มีอาการปวดร้าวลงบริเวณต้นแขน หิ้วของหนักหยิบจับทำงานลำบาก ผู้สูงอายุสามารถหยุดหรือปรับขนาดการใช้ยาเองได้หรือไม่ ผู้สูงอายุไม่ควรหยุดยา หรือปรับขนาดการใช้ยาเอง เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากยา ลดประสิทธิภาพของยาจนไม่ได้ผลการรักษา ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เช่น ยาลดความดันโลหิตที่รับประทานต่อเนื่องจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ หากหยุดยาเองทันทีอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นมากจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรปรับขนาดยาหรือหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ การตรวจและรักษาข้อไหล่ติด แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจเพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์ (X-Ray) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อแยกโรคอื่น ๆ ออกไปตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ด้านการรักษาข้อไหล่ติดนั้น แพทย์จะทำการรักษาแบบประคับประคองตามระยะของโรคจะช่วยให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการดีขึ้น โดยมีเป้าหมาย คือ การลดความเจ็บปวด เพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหว และการกลับมาใช้งานข้อไหล่ในการทำกิจวัตรประจำวัน ดังนี้ - ระยะปวด การรักษาเน้นลดอาการปวดและการอักเสบ อาจให้ยาแก้ปวดและต้านการอักเสบ - ระยะข้อติด การรักษาจะเน้นการเพิ่มพิสัยข้อ ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้เองโดยการยืดดัดข้อไหล่ทุกวัน โดยก่อนการดัดข้อไหล่ควรประคบด้วยแผ่นความร้อน หลังดัดข้อไหล่แล้วอาจใช้แผ่นความเย็นประคบป้องกันการอักเสบ หากไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาทำกายภาพบำบัดโดยการใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนต่าง ๆ และการดัดข้อไหล่โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยทำให้อาการเป็นปกติเร็วขึ้น - ระยะฟื้นตัว จะเน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ ภาวะข้อไหล่ติด รักษาด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้อง หากทำการรักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ดีขึ้น และสาเหตุของอาการนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อไหล่ โดยการผ่าตัดด้วยการใช้กล้องส่องข้อไหล่ คือ การผ่าตัดโดยเจาะรูที่ไหล่ 3-4 รู รูละประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตร เพื่อใส่เครื่องมือเข้าไป นั่นก็คือกล้องขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ที่จะนำภาพภายในข้อออกมาแสดงบนจอภาพ และแพทย์ทำการตกแต่ง ตัดเยื่อหุ้มข้อ ด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง หรือเครื่องมือพิเศษ ข้อดีการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อไหล่ ทำให้สามารถเห็นพยาธิสภาพในข้อได้อย่างชัดเจนและสามารถแก้ไขพยาธิสภาพได้ดี แผลมีขนาดเล็ก เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อได้รับบาดเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะเจ็บน้อยกว่า สามารถทำกายภาพได้เร็วขึ้นช่วยให้ฟื้นตัวเร็วและช่วยลดระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล อาการข้อไหล่ติด สามารถรักษาได้ หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใช่ช่วงแรก ๆ ก็สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการยกไหล่ การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร หรือการใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุได้อย่างชัดเจน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/ข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ-ปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
  9. ปัจจุบันยังมีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดเข่า จากภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะผู้สูงวัย และกรณีที่ผู้ป่วยนั้นภาวะมีข้อเข่าเสื่อมมาก ๆ ยิ่งจะมีอาการเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น บางรายถึงขนาดข้อเข่าผิดรูป ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นอย่างยิ่ง บทความนี้เราได้นำความรู้ดี ๆ ถึงแนวทางการรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมจากทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมาฝากกันค่ะ วิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่านั้นฉีดอย่างไรเมื่อฉีดแล้วต้องดูแลรักษาร่างกายอย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ “การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า” เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว เคยประสบอุบัติเหตุ โรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อเข่า และการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึก จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเป็นๆ หายๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก ซึ่งการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นหนึ่งวิธีการรักษา แล้วน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร การรักษาเป็นอย่างไร สามารถช่วยลดอาการปวดเข่าได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกัน รู้จักน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ตามปกติแล้ว น้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อเข่าจะทำหน้าที่เหมือนน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ราบรื่น แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบภายในข้อ และเคลื่อนไหวไม่สะดวก คุณสมบัติของการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จะช่วยปรับคุณภาพและสมดุลของปริมาณน้ำในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบทำให้อาการปวดข้อลดลง การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้ เมื่อไหร่ต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ในกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น-ปานกลาง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบใช้ยา แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าฉีดอย่างไร เมื่อแพทย์วินิจฉัยการรักษาแล้วว่าให้ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท แบบโมเลกุลเล็ก จะทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าที่มีอาการปวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง หลังฉีดยาจะช่วยลดการปวดข้อเข่า ผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น แบบโมเลกุลใหญ่ หรือฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแบบ Single Shot โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถลดอาการปวด อักเสบได้นาน 3-6 เดือน ซึ่งมีความสะดวกต่อคนไข้ในการเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดได้เป็นอย่างดี คำแนะนำหลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า รักษาข้อเข่าเสื่อม หลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้อเข่าอยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ โดยปกติแล้วการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย อาจพบเพียงอาการปวด บวม แดง เหมือนการฉีดยาทั่วไป ซึ่งจะหายได้เอง หรืออาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น และหลังฉีดยาควรพักการใช้ข้อเข่าอย่างน้อย 2 วัน ข้อยกเว้นสำหรับการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า การรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากข้อเข่าของคนไข้มีการติดเชื้อมาก่อน หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่จะต้องฉีดยา แพทย์ก็จะพิจารณาเป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีอื่นแทน รวมทั้งไม่แนะนำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงฉีด เพราะผลจากการรักษาจะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องช่วยดูแลในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งหมดนั้นคือข้อมูลดี ๆ ถึงแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ที่เป็นประโยชน์อย่างมากจากทางโรงพยาบาลนครธน ซึ่งศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมาก พร้อมบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดเข่า-ข้อเข่าเสื่อม-ซ่อมได้ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
  10. โรคกระดูกเสื่อมมักเกิดเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดวิธี รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็มีส่วนทำให้กระดูกเกิดความผิดปกติได้ โดยส่วนมากพบว่าอาการผิดปกติ มีอาการเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ พบมากในกลุ่มคนน้ำหนักตัวมาก และกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยความเสื่อมของแคลเซียมในร่างกายและการใช้งานข้อหรือกระดูกมายาวนาน เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกเสื่อม ข้อไหล่ติด เป็นต้น เมื่อเกิดปัญหากระดูกและข้อ การได้รับคำปรึกษาที่ดี การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีคือหัวใจที่สำคัญค่ะ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน ให้การตรวจ วินิจฉัย ผ่าตัดรักษาโรคกระดูกและข้อ พร้อมคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยคุณหมอ-ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การบริการทางการแพทย์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีบริการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะต่าง ๆ อย่างรอบคลุม ได้แก่ - การผ่าตัดข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ข้อเข่า - การผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดหมอนรองกระดูก การแก้ไขกระดูกสันหลังคด - รักษาโรคกระดูกทั่วไป และ อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน กระดูกผิดรูป เป็นต้น - วินิจฉัยและตรวจรักษาผ่านกล้อง - การผ่าตัดข้อผ่านกล้อง (ข้อเข่า, ข้อไหล่) - การผ่าตัดต่อนิ้วมือ นิ้วเท้า แขน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ - การตัดต่อเส้นเอ็น เส้นประสาท - รักษากลุ่มอาการปวดหลัง - รักษาเนื้องอกกระดูก - รักษาภาวะกระดูกพรุน - ตรวจรักษาความพิการแต่กำเนิดของเด็ก เทคโนโลยีทางการแพทย์ การตรวจวินิจฉัยและเครื่องมือทางการแพทย์ - เอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging : MRI) - การตรวจมวลกระดูก (Bone Densitometry) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (Minimally Invasive Surgery for Total Knee Arthroplasty-MIS TKA - ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบเข่าและการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด - รอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดเล็กกว่า - รอยแผลเป็นสั้นเพียง 4-6 นิ้ว ซึ่งวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐานยาว 8-10 นิ้ว - เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่า - ใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลสั้น ศูนย์กระดูกและข้อของโรงพยาบาลนครธน มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะและมีประสบการณ์ บริการให้คำปรึกษา รักษา และดูแลทุกปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อดูแลคุณอย่างครบทุกด้าน ด้วยทางเลือกการรักษาทั้งแบบผ่าตัดส่องกล้องและไม่ผ่าตัด ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล และความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ ให้บริการตรวจรักษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของทางศูนย์กระดูกและข้อของโรงพยาบาลนครธน จึงวินิจฉัยหรือวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และตรงจุด จะรักษาตามอาการของโรคใช้ยาแก้อักเสบ การผ่าตัด อาการที่มีการเรื้อรัง ต้องใช้เวลาในการรักษา ซึ่งการรักษาที่ดีและเป็นการป้องกันการเกิดโรคข้อและกระดูก คือ การปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงที่ทำให้ระบบข้อและกระดูกเสื่อม เร็วกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยเจ็บน้อย ฟื้นตัวไว กลับไปใช้ชีวิตได้ดังเดิมในเวลาไม่นาน สำหรับผู้ที่กำลังมีปัญหาด้านกระดูกและข้อสามารถติดต่อเข้ามาขอรับคำปรึกษากับทางศูนย์กระดูกและข้อของโรงพยาบาลนครธนยินดีให้คำปรึกษาโดยตรงค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/Center/Detail/ศูนย์กระดูกและข้อ
  11. อาการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด เป็นอาการบาดเจ็บที่รุนแรงจากการเล่นกีฬาโดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล และการวิ่งมาราธอนในระยะต่าง ๆ มักจะพบเห็นข่าวการบาดเจ็บของนักกีฬาเกี่ยวกับเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ข้อเข่าแย่ลง รู้จัก...เอ็นไขว้หน้าหัวเข่า เอ็นไขว้หน้าหัวเข่า หรือ Anterior Cruciate Ligament (ACL) คือเส้นเอ็นขนาดใหญ่เส้นหนึ่งที่อยู่ภายในเข่า โดยจะเกาะอยู่ระหว่างปลายกระดูกต้นขา (Femur Bone) และต้นกระดูกหน้าแข้ง (Tibia Bone) หน้าที่หลักๆ ของเอ็นเส้นนี้ คือเสริมความมั่นคงให้แก่ข้อเข่า ควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวเข่าและหน้าแข้ง ให้เคลื่อนไหวได้มากน้อยและในมุมต่าง ๆ ป้องกันไม่ให้เราเหยียดเข่าเกินองศา (Hyperextension) จนทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและผิวข้อเข่า ถือว่าเป็นเส้นเอ็นที่มีความสำคัญต่อข้อเข่ามาก เพราะหากเส้นเอ็นนี้บาดเจ็บหรือฉีกขาดอย่างถาวร จะทำให้ข้อเข่าขาดความมั่นคงอย่างหนัก ขณะที่ผู้ป่วยเดินจะรู้สึกเข่าหลวม ปวดภายในเข่า และทำให้เข่าเสื่อมตามมาได้เร็วขึ้น เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดเกิดจากอะไร อาการเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดมักพบได้บ่อย โดยเฉพาะสาเหตุจากการเล่นกีฬาและเกิดจากการบิดหมุนของหัวเข่าที่รุนแรง ทำให้เส้นเอ็นเกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดได้ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับการเล่นกีฬาทุกประเภท โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการปะทะ เช่น นักฟุตบอล นักวอลเลย์บอล นักบาสเกตบอล หรืออาจเกิดจากกิจกรรมอื่นทั่วไป เช่น ตกบันได อุบัติเหตุ แม้แต่เดินสะดุดก็อาจทำให้เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดได้เช่นกัน อาการเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดเป็นอย่างไร - รู้สึกมีอะไรดีดอยู่ข้างในขา - หัวเข่าใช้งานไม่ได้ในขณะที่ได้รับบาดเจ็บ - หัวเข่าบวมปูดทันทีหรือภายในไม่กี่ชั่วโมง - มีอาการเจ็บปวดรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นได้ โดยบางรายหลังจากเอ็นหัวเข่าฉีกขาด อาการปวด บวม อักเสบบริเวณหัวเข่าจะค่อยๆ ดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง โดยไม่รู้สึกผิดปกติ แต่เมื่อกลับไปเล่นกีฬาหรือใช้งานอีก จะรู้สึกว่าเข่าไม่มั่นคงและจะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดหมอนรองข้อฉีกขาด ส่งผลให้เกิดอาการงอเข่าไม่ลง ปวดบริเวณข้อ ตามมา การรักษาเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด จะยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ แต่อาจจะเกิดภาวะข้อเข่าเคลื่อน ในกิจกรรมที่ต้องมีการบิดหมุนของหัวเข่า และที่สำคัญผู้ที่มีภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บต่อหมอนรองเข่าและกระดูกอ่อนหัวเข่า ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันสมควร ซึ่งการรักษาแบ่งเป็น 2 แบบ คือ รักษาโดยการไม่ผ่าตัด เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการทำกิจกรรมที่ใช้หัวเข่ามากนัก และสามารถปรับพฤติกรรมตนเองให้เหมาะกับเข่าที่ไม่สามารถบิดหมุนรุนแรง รักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง เหมาะสำหรับผู้ป่วยอายุน้อย และต้องการกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและกีฬาในระดับใกล้เคียงกับก่อนการบาดเจ็บ การผ่าตัดส่องกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด การรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าหัวเข่า ทำได้โดยการผ่าตัดซ่อมสร้างเส้นเอ็นด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) โดยนำเส้นเอ็นจากบริเวณอื่นมาทดแทน โดยทั่วไปจะใช้เอ็นจากสะบ้าเข่าหรือเอ็นบริเวณรอบ ๆ มาใช้ การผ่าตัดส่องกล้อง มีข้อดี คือผ่าตัดเจาะรูเล็กเพื่อใส่อุปกรณ์ และกล้องสำหรับส่องเข้าไปในข้อ แสดงภาพที่ จอคอมพิวเตอร์ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน คนไข้จะมีอาการบาดเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นสั้น และมีโอกาสในการติดเชื้อที่ต่ำกว่า ซึ่งคนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้รวดเร็วกว่า ผ่าตัดส่องกล้อง แล้วจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เมื่อไหร่ โดยทั่วไปหลังการผ่าตัด ประมาณ 1 เดือนผู้ป่วยจะใช้ไม้เท้าและสนับเข่า 3 เดือนหลังผ่าตัด จะเดินเร็วได้ และ 6-9 เดือนหลังผ่าตัด แพทย์จะให้ทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับกีฬาแต่ละแบบ และประมาณ 1 ปีหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายด้วย ปัจจุบันมีการผ่าตัดเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ทำกายภาพบำบัดได้ง่ายกว่าเดิม ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ควบคู่การทำกายภาพบำบัดเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดนั้น หากไม่รีบรักษาจะส่งผลให้เข่าเสื่อมก่อนวัยได้ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/Article/Detail/เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดจากการเล่นกีฬารักษาได้ด้วยผ่าตัดส่องกล้อง
  12. โรคกระดูกและข้อเกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกตามธรรมชาติเนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น พบได้บ่อยในตำแหน่งของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากเช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีคือหัวใจสำคัญ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน ให้การตรวจ วินิจฉัย ผ่าตัดรักษาโรคกระดูกและข้อ พร้อมคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยคุณหมอ-ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การบริการทางการแพทย์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธร มีบริการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะต่าง ๆ อย่างรอบคลุม ได้แก่ - การผ่าตัดข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ข้อเข่า - การผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดหมอนรองกระดูก การแก้ไขกระดูกสันหลังคด - รักษาโรคกระดูกทั่วไป และ อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน กระดูกผิดรูป เป็นต้น - วินิจฉัยและตรวจรักษาผ่านกล้อง - การผ่าตัดข้อผ่านกล้อง (ข้อเข่า, ข้อไหล่) - การผ่าตัดต่อนิ้วมือ นิ้วเท้า แขน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ - การตัดต่อเส้นเอ็น เส้นประสาท - รักษากลุ่มอาการปวดหลัง - รักษาเนื้องอกกระดูก - รักษาภาวะกระดูกพรุน - ตรวจรักษาความพิการแต่กำเนิดของเด็ก เทคโนโลยีทางการแพทย์ การตรวจวินิจฉัยและเครื่องมือทางการแพทย์ - เอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging : MRI) - การตรวจมวลกระดูก (Bone Densitometry) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (Minimally Invasive Surgery for Total Knee Arthroplasty-MIS TKA - ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบเข่าและการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด - รอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดเล็กกว่า - รอยแผลเป็นสั้นเพียง 4-6 นิ้ว ซึ่งวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐานยาว 8-10 นิ้ว - เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่า - ใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลสั้น ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน พร้อมให้คำปรึกษา ดูแลทุกปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้ออย่างครอบคลุม ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อที่มากด้วยประสบการณ์และความชำนาญ ตลอดจนเทคโนโลยีการวินิจฉัยและการรักษาที่ทันสมัย ครอบคลุมโรคทางกระดูกและข้ออย่างครบถ้วน ให้บริการรักษาแบบครบวงจร ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/Center/Detail/ศูนย์กระดูกและข้อ
×
×
  • สร้างใหม่...