ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ '

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 3 รายการ

  1. ในกลุ่มของโรคมะเร็ง โรคมะเร็งตับนับเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้คนเกิดการเสียชีวิตสูงที่สุด ถือเป็นอันดับต้น ๆ ก็ว่าได้ เหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุดอาจเพราะโรคมะเร็งตับอาการในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการอะไร ซึ่งผู้ป่วยกว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักจะอยู่ในระยะท้ายของโรคแล้ว ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายได้แล้ว ดังนั้นผู้ป่วยอาจต้องสังเกตอาการกันเองด้วย เช่น ปวดท้องคล้ายเป็นโรคกระเพาะบ่อย ๆ หรือปวดชายโครงขวา ตัว-ตาเหลือง เสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้ ดังนั้นทุกท่านจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากขึ้น สำหรับโรคมะเร็งตับโรงพยาบาลนครธนเอง มีศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ซึ่งมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคมะเร็งตับ และมีความพร้อมคอยให้คำปรึกษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และวันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและอาการ พร้อมวิธีการรักษาโรคมะเร็งตับมาฝากกันค่ะ เพื่อที่ท่านจะได้รู้ว่าอาการเริ่มต้นนั้นจะสงเกตได้อย่างไร และมีอะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ต้องระวังบ้าง ไปรับความรู้เพิ่มเติมพร้อมกันได้ตอนนี้เลยค่ะ เมื่อมีอาการของมะเร็งตับเกิดขึ้น เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แน่นอึดอัดท้อง ไม่อยากรับประทานอาหาร มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อยบ้าง หรือโรคถุงน้ำดีอักเสบบ้าง จนไม่ทันได้ระวังและปล่อยให้โรคดำเนินต่อไปเมื่อโรคพัฒนาจนถึงระยะกลางและระยะสุดท้าย จึงจะสามารถเห็นอาการได้ชัดเจน และในเวลานั้นมักจะสูญเสียโอกาสในการรักษา ขึ้นขั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้การตรวจด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะมะเร็งตับระยะแรกหากได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพก็สามารถยืดการมีชีวิตอยู่ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นได้ มะเร็งตับโรคร้ายใกล้ตัว มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.มะเร็งตับชนิดเซลล์ตับ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อตับและพบได้มากที่สุด ซึ่งเกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย 2.มะเร็งตับชนิดท่อน้ำดี เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์บุท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติ สาเหตุมาจากโรคพยาธิใบไม้ในตับ พบได้บ่อยทางภาคอีสาน รวมถึงการรับประทานอาหารบางชนิดที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น สารดินประสิวที่มีอยู่ในอาหารประเภทหมัก และอาหารจำพวกรมควัน เป็นต้น สาเหตุมะเร็งตับ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งตับในประเทศไทย คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ซึ่งสามารถติดต่อได้ทางเลือด การติดจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ ทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเชื้อไวรัสเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับก็สามารถกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังหรือกลายเป็นพาหะติดต่อผู้อื่นได้โดยตัวเองไม่มีอาการ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้กลายเป็นมะเร็งตับได้ ได้แก่ - การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน - ภาวะตับแข็งจากทุกสาเหตุไม่ว่าจะจากแอลกอฮอล์หรือไวรัสตับอักเสบ - สารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในถั่วลิสง พริกแห้ง กระเทียม ธัญพืชต่าง ๆ ซึ่งมาจากเชื้อราที่มีสารอะฟลาทอกซิน อาการมะเร็งตับ ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งตับในแต่ละรายอาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก จนกว่าก้อนมะเร็งจะโตขึ้น และมีอาการแน่นอึดอัดท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อย บางรายมีอาการคล้ายกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีอาการปวดชายโครงด้านขวา บริเวณตับ และเมื่อมะเร็งมีก้อนที่โตเพิ่มขึ้นอีก จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องโต ท้องบวมขึ้น มีน้ำในช่องท้อง นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น - ตัวเหลือง ตาเหลือง - แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ - อ่อนเพลีย - ปวดหรือเสียวชายโครงด้านขวา มีจุกเสียดแน่นท้อง - อาจปวดร้าวไปยังไหล่ขวาหรือใต้สะบักด้านขวา - ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม มีขาบวม - มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ - คลำพบก้อนที่บริเวณตับ การตรวจและวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ เบื้องต้นจะทำการการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย รวมทั้งการตรวจอื่น ๆ ได้แก่ 1.การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง 2.ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) 3.การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือบางครั้งอาจใช้การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยในการวินิจฉัย 4.การตรวจชิ้นเนื้อตรงตำแหน่งก้อนเนื้อ (Biopsy) มะเร็งตับกับการรักษา การรักษามะเร็งตับจะขึ้นกับสภาวะความรุนแรงของโรค ขนาดและลักษณะของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคและการแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยมีวิธีการรักษา ได้แก่ 1.การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก ถ้าอยู่ในระยะที่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดหรือการปลูกถ่ายตับ 2.การรักษาด้วยความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุสูง (RFA) โดยคลื่นดังกล่าวจะส่งผ่านเข็มเล็ก ๆ ที่แทงผ่านเข้าไปในก้อนมะเร็งในตับ ซึ่งได้ผลดีในมะเร็งตับที่เล็กกว่า 3 เซนติเมตร 3.วิธีฉีดยาเคมีบำบัด เป็นการฉีดยาเข้าไปยังเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับ ซึ่งเราเรียกว่า TACE หรือ TOCE จะใช้รักษามะเร็งตับในระยะโรคที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากหรือมีหลายๆ ก้อน เช่น 3-5 ก้อนขึ้นไป ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตับ การป้องกันโรคทำได้โดยการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิดทุกคน รวมไปถึงผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการฉีด ไม่รับประทานปลาน้ำจืดดิบ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่อาจปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน เป็นต้น หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังหรือมีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ ควรรับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบรอยโรคได้เร็ว ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับลงได้ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมาก มีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/มะเร็งตับ-โรคร้ายใกล้ตัวอันตรายที่ต้องระวัง
  2. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ฟังดูร้ายแรงก็จริง แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากรู้ถึงสัญญาณเตือนของโรคได้เร็ว จากการสังเกตอาการ และรีบเข้าทำการรักษาในระยะแรกเริ่ม หากตอนนี้คุณหรือคนที่คุณรู้จัก กำลังมีปัญหาสุขภาพ เกี่ยวกับระบบการขับถ่ายอุจจาระอยู่ มีอาการท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระมีเลือดปนมากับอุจจาระ ถ่ายสีดำหรือสีดำแดง ถ่ายไม่สุด ปวดลงทวาร อ่อนเพลียหรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ทางศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธนมีความพร้อมทั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีเครื่องมือที่ทันสมัยในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นอีกแนวทางป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เชิงรุก ที่สามารถลดอัตราการสูญเสียจากการเจ็บป่วยลงได้ มาดูข้อมูลรายละเอียดที่น่าสนใจเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่เกิดการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนจนไม่สามารถควบคุมได้ การเจ็บป่วยระยะแรกจึงอาจเป็นเพียงแค่ก้อนหรือติ่งเนื้องอกธรรมดาในลำไส้ แต่หากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้และไม่รีบเข้ารับการรักษา เซลล์ดังกล่าวอาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ จึงเป็นแนวทางป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เชิงรุกที่สามารถลดอัตราการสูญเสียจากการเจ็บป่วยได้ รู้จักการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) จึงเป็นการตรวจหาความผิดปกติของภายในลำไส้ใหญ่ โดยการใช้กล้องขนาดเล็กประมาณนิ้วมือ มีความยืดหยุ่นสูง มีลักษณะคล้ายท่อสอดเข้าทางทวารหนักเข้าไปในลำไส้ตรง และตรวจสอบตลอดภายในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะมีเลนส์รับภาพ แล้วส่งต่อมาที่จอภาพ เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง โดยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ควรทำในผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ - มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย - ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ - เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก - มีการแน่นอึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย - มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย - ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุก ๆ 3-5 ปี วิธีการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สำหรับวิธีการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะให้ผู้ป่วยจะนอนตะแคงข้างหรือนอนหงายในขณะตรวจ โดยแพทย์จะค่อยๆ สอดกล้องเข้าไปในลำไส้ พร้อมตรวจผิวภายในลำไส้อย่างละเอียด การส่องกล้องจะสิ้นสุดเมื่อถอนกล้องออกมา โดยปกติใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที ซึ่งรวมกับเวลาเตรียมตัว การตรวจ กระทั่งออกมาพักฟื้นที่ห้อง รวมแล้วใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่สามารถส่องกล้องได้ทั้งลำไส้ใหญ่ ซึ่งแพทย์จะแนะนำการตรวจวิธีอื่น ๆ ในการตรวจส่วนลำไส้ใหญ่ในส่วนที่ไม่สามารถสอดกล้องเข้าไปได้ กรณีที่ตรวจพบตรวจพบความผิดปกติ แพทย์จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มโดยการสอดเครื่องมือขนาดเล็กผ่านกล้องเพื่อเอาชิ้นเนื้อมาตรวจวินิจฉัย โดยชิ้นเนื้อจะเป็นเพียงเยื่อบุผิวขนาดเล็กแค่เพียงพอต่อการวินิจฉัยเท่านั้น ถ้าหากตรวจพบติ่งเนื้อ (Polyps) ซึ่งก็คือ เยื่อบุลำไส้ที่งอกเติบโตผิดปกติ ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่ดีไม่ใช่มะเร็ง ซึ่งติ่งเนื้อจะมีขนาดรูปร่างและชนิดต่าง ๆ กันไป โดยแพทย์จะตัดติ่งเนื้อออกทั้งหมดเพื่อช่วยการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ จากนั้นนำติ่งเนื้อไปตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรคทางพยาธิวิทยาอีกครั้ง โรคของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ - ระยะแรก มะเร็งยังอยู่ในเยื่อบุลำไส้ มีลักษณะเป็นก้อนหรือติ่งเนื้อบริเวณผิวของผนังลำไส้ใหญ่ - ระยะที่สอง มะเร็งเริ่มกระจายสู่ผนังลำไส้ใหญ่ โดยการทะลุเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้และ/หรือทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง - ระยะที่สาม มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง - ระยะที่สี่ มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือลุกลามตามกระแสเลือดไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด หรือกระดูกเป็นต้น โดยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ นั่นคือพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น อาหารประเภทให้ความหวานมันมาก ๆ และทานผักผลไม้น้อยเกินไป อีกทั้งสภาวะแวดล้อมที่หลาย ๆ คนต้องเผชิญ เช่น ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออีกปัจจัยอีกหนึ่งคือพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ทั้งยังสามารถแยกเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ ซึ่งแนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 45 ปี เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางลำไส้ใหญ่มากที่สุด โดยจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ครั้งแรก ส่วนใหญ่มักเป็นระยะลุกลามแล้ว แต่ในปัจจุบันพบว่าการส่องกล้องเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ร่วมกับการตัดติ่งเนื้อออก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่กว่าครึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นการส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถวินิจฉัยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารหรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียเรื้อรังได้อีกด้วย ผลข้างเคียงจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ในส่วนของผลข้างเคียงจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ อาจรู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด หรือง่วงนอนหลังจากทำการตรวจ และอาจมีเลือดออกขณะที่ลำไส้มีการเคลื่อนไหวในช่วงแรกๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา อย่างไรก็ตามควรรีบพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ - มีไข้ - มีอาการปวดรุนแรง - มีเลือดออกจำนวนมากหรือเลือดออกเป็นก้อน - ร่างกายอ่อนเพลีย - วิงเวียนศีรษะ ทั้งนี้ นอกจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงจากการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องส่อง เช่น มีเลือดออก ลำไส้ใหญ่ทะลุ การตอบสนองต่อยาระงับความรู้สึก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก การเตรียมตัวก่อนการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ - ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย 3 วันก่อนเข้ารับการตรวจ - งดรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีเส้นใย - รับประทานยาระบายให้ตรงตามจำนวนและเวลา ตามที่แพทย์สั่ง - ควรดื่มน้ำ 1 แก้วทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ - คืนวันก่อนตรวจ ให้งดอาหาร และน้ำดื่ม จนกว่าจะทำการตรวจเสร็จ การปฏิบัติตัวภายหลังการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ - สังเกตอุจจาระ อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ - ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำจะไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ จึงต้องมีญาติคอยดูแลสังเกตอาการ - ห้ามขับรถหรือทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร หรืองานที่ต้องใช้การตัดสินใจ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ แนวทางป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยการตรวจวินิจฉัยผ่านการส่องกล้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งแพทย์แนะนำว่า สำหรับผู้มีความเสี่ยงเนื่องจาก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อมีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ เพราะถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ และควรเข้ารับการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำแบบรายบุคคลต่อไป โดยเร็ว ทางศูนย์ทางเดินอาหารและตับของโรงพยาบาลนครธนมีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการตรวจวินิจฉัยผ่านการส่องกล้อง
  3. การไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐที่สุด แต่โรคภัยไข้เจ็บไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์นั้นหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเกิดป่วยขึ้นมาจึงต้องหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดกับตนเองอยู่ตลอด เช่น ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง หรือปวดคล้ายกับเวลาหิวข้าว อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการแผลในกระเพาะอาหารซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากกินอาหารเสร็จแล้วแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ระวังเรื่องการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง วันนี้เรามีข้อมูลความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์ทางเดินอาหารและตับของทางโรงพยาบาลนครธนมาฝากกันค่ะ เพื่อจะได้รู้จักโรคแผลในกระเพาะอาหาร อาการภาวะแทรกซ้อนและการรักษา ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับคุณในอนาคต มาติดตามอ่านข้อมูลกันได้เลยค่ะ อาการ “ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง เมื่อได้รับประทานอาหารมักจะหายปวด หรือปวดยิ่งขึ้น” อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็น โรคแผลในกระเพาะอาหาร อยู่ก็เป็นได้ สำหรับผู้มีอาการผิดปกติเหล่านี้ หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ รู้จัก...โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเรียกย่อๆ ว่า โรคพียู (PU) หรือพียูดี (PUD, Peptic ulcer disease) เป็นโรคที่มีแผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารบริเวณที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงพบแผลได้ตั้งแต่ส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อย คือ กระเพาะอาหารส่วนปลาย และลำไส้เล็กส่วนต้น ใกล้รอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น สาเหตุสำคัญเกิดจาก กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดได้ไม่ดี ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม รวมไปถึงการรับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาต้านเกร็ดเลือด เช่น แอสไพริน ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด ความเครียด เป็นต้น นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร (H.Pylori : Helicobacter pylori) มีบทบาทโดยตรงและถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้กระเพาะอาหารมีการอักเสบเรื้อรัง จนทำลายผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารและสำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หากในขณะทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้แผลหายช้า หรือทำให้แผลที่หายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้อีก กลายเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ที่สำคัญ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร อาการสำคัญหลักๆ เลย คือ ปวดท้องหรือแสบที่กระเพาะอาหารบริเวณลิ้นปี่ มักมีอาการตอนท้องว่างหรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร ปวดท้องมากเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด จะมีอาการปวดแน่นท้องยามดึกหลังจากหลับไปแล้ว ปวดๆหายๆ เป็นแรมปี และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกคลื่นไส้ หรืออาเจียน น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนโรคแผลในกระเพาะอาหาร โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยอาการจะค่อยๆ ทุเลาและหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่โอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกมีอัตราสูงถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาดีเพียงใดก็ตาม และที่สำคัญโรคแผลในกระเพาะอาหาร หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ ภาวะเลือดออกภายในกระเพาะอาหาร เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด โดยผู้ป่วยที่มีเลือดออกจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด ถ่ายเป็นเลือดหรือมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด รวมถึงภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งเกิดจากการเสียเลือดจากแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ จะทำให้ปวดท้องอย่างเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมา กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะอิ่มเร็ว อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร การรักษาทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยวิธีการรักษามีรายละเอียดแตกต่างกันดังต่อไปนี้ 1. การรักษาด้วยยา การใช้ยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารนั้น จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน โดยแพทย์จะให้ยาลดกรด และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ แผลถึงจะหาย ในกรณีที่มีการติดเชื้อแพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร 2. การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) อาจต้องทำการปรับเปลี่ยนยาที่ใช้ จากเดิมเปลี่ยนเป็นพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้น้อยกว่า ร่วมกับรับประทานยาลดกรดหรือยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารตามแต่แพทย์สั่ง 3. การผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มักใช้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารแล้วไม่เข้ารับการรักษา มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กฉีกขาด เป็นต้น ทั้งนี้ ควรงดอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ อาหารรสจัด ร้อนจัด เย็นจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร และควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เมื่อมีอาการดีขึ้นแล้ว จึงค่อยๆ กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ โรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นเหมือนภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากทิ้งไว้นานวันเข้าโดยที่ไม่รักษาอย่างจริงจัง จะกลายเป็นโรคเรื้อรั้งที่รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายขาดได้ อีกทั้งอาจเป็นสาเหตุโรคร้ายแรงอย่าง โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ หากคุณที่อ่านกำลังมีอาการดังกล่าวข้างต้น อย่าได้เก็บความกังวลใจความสงสัยไว้กับตัวสามารถติตต่อสอบถามศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน มีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาท่านได้ค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลนครธนhttps://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดท้องแบบนี้-สัญญาณบ่งบอกแผลในกระเพาะอาหาร/
×
×
  • สร้างใหม่...