ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'ศูนย์ศัลยกรรม'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 2 รายการ

  1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เรียกว่าเป็นโรคยอดฮิตของผู้หญิงเมืองหลวงก็ว่าได้ เนื่องด้วยการจราจรที่ติดขัดบนท้องถนน ส่งผลทำให้สาว ๆ หลายคน ต้องทนกลั้นปัสสาวะกันบ่อย ๆ หรือบางครั้งต้องเดินทางไกลไปต่างจังหวัด ต้องนั่งรถโดยสารสาธารณะเป็นเวลานานมากถึงจะได้เข้าห้องน้ำ และยิ่งหากต้องเจอกับห้องน้ำสาธารณะที่สกปรกด้วยแล้วก็ไม่จะยอมเข้า จึงได้แต่ทนปวดไปก่อน พอได้เข้าห้องน้ำกลับมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัด ซึ่งเป็นอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นการอักเสบติดเชื้อต่อเนื่องมาจากท่อปัสสาวะ เกิดจากการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ บ่อย ๆ หรือทำความสะอาดอวัยวะเพศไม่ดีพอนั่นเอง สาว ๆ หลายคนมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ความจริงแล้วมีอันตรายมากกว่าที่เราคิด วันนี้เรามีความรู้จากทางศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลนครธน มาฝาก เพื่อที่สาว ๆ จะได้รู้ถึงอันตรายของโรคกระเพราะปัสสาวะอักเสบ ที่เกิดจากการติดเชื้อเช่นนี้กันค่ะ คนที่ชอบกลั้นปัสสาวะเอาไว้นาน ๆ กลั้นบ่อย ๆ หรือ บางคนปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ ต้องทนปวดไปก่อน พอได้เข้าห้องน้ำกลับมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัด นั้นคือสัญญาณว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งโรคนี้หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไร แต่ถ้าหากทุกคนมองข้ามโรคนี้แล้วปล่อยให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการอักเสบของไตเรื้อรัง และยิ่งไปกว่านั้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน กลายเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ส่งผลให้เสียชีวิตได้อีกด้วย กระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่อะไร กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ในผู้หญิงจะอยู่หลังกระดูกหัวเหน่าภายในอุ้งเชิงกรานด้านหน้ามดลูก และผู้ชายจะอยู่ด้านหน้าต่อทวารหนัก มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร ผนังของกระเพาะปัสสาวะมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายอยู่ด้วย กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยไม่มีอาการปวดหรือแสบใด ๆ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากอะไร กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection หรือ UTI) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ หรือคนที่นั่งโต๊ะทำงาน เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ปรับเปลี่ยน ทำให้บ่อยครั้งต้องอั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือเร่งรีบเบ่งปัสสาวะซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่พบบ่อยที่สุดในปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย ขณะที่ผู้ชายมีท่อปัสสาวะยาวกว่าและอยู่ห่างจากทวารหนัก โอกาสที่เชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจึงมีน้อยกว่ามาก รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้ การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน จะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เกิดการสะสมของแบคทีเรียซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อได้ง่าย ผู้สูงอายุ เนื่องจากสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะคนที่ป่วยเป็นโรคที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือในผู้ที่ขาดคนดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะจึงแช่ค้างหรือคั่งในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคและแบคทีเรียจึงเจริญเติบโตได้ดี สตรีมีครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ศีรษะของทารกในท้องกดดันให้เกิดการคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่หมด เกิดปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ และก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย การดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิงหากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน หากควบคุมโรคได้ไม่ดี จะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อาการบ่งบอกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการแสดงที่สำคัญ คือ ปัสสาวะบ่อย แสบขัด อาจบ่อยมากทุก ๆ 1-2 ชั่วโมงหรือกระปริบประปรอย หรืออาจแสบขัดมาก จนไม่อยากถ่ายปัสสาวะ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะไม่ค่อยสุด หยด หรือไหลซึมออกมาอีก รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ขณะปัสสาวะสุด อาจปวดมากแบบบิดเกร็งหรืออาจปวดแบบถ่วงๆ ปัสสาวะมีเลือดหยดออกมาตอนสุดหรือมีเลือดปนในน้ำปัสสาวะ บางรายมีอาการไข้ร่วมด้วย ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น กลางคืนต้องตื่นลุกขึ้นมาปัสสาวะเกิน 2 ครั้งขึ้นไป การตรวจและวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจปัสสาวะถ้าตรวจพบเม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะ ก็วินิจฉัยได้เลยว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากมีการติดเชื้อแพทย์อาจส่งน้ำปัสสาวะเพื่อการเพาะเชื้อ ในกรณีที่เป็นซ้ำบ่อย ๆ หรือมีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวด์หรือส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะหรือไม่ เช่น มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในไต เป็นต้น การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยทั่วไปการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ การให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วันขึ้นอยู่กับชนิดของยา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยากลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น และ ให้ดื่มน้ำเสมอๆ วันละ 2.5 ลิตรต่อวัน (24 ชั่วโมง) ป้องกันไม่ให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบอย่างไร โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงของโรคลง อาทิ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน รักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศด้วยการทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ควบคุมโรคเบาหวานที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ไม่สวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปัสสาวะทิ้งและทำความสะอาดร่างกายทันที เป็นต้น หากคุณต้องการติดต่อเพื่อเข้ารับการรักษา หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมศูนย์ศัลยกรรม ของโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  2. ปัญหาเรื่องสุขภาพของท่านชายในช่วงที่มีอายุมากขึ้น หรือประมาณอายุ 45-50 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่ระบบบฮอร์โมนในร่างกายท่านชายเริ่มลดลง ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างเช่นบริเวณต่อมลูกหมากซึ่งจะค่อย ๆ โตขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของอาการต่อมลูกหมากโต ท่านชายหลายคนอาจมีอาการให้เห็นได้ดังนี้ ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน ปัสสาวะนาน ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยด ๆ บางครั้งมีเลือดปนออกมาในปัสสาวะด้วย ซึ่งเป็นอาการต่อมลูกหมากโตนั่นเอง แน่นอนว่าอาการต่อมลูกหมากโตนี้ สร้างความหนักใจให้กับท่านชายเป็นอย่างมาก และทำให้ท่านชายปัสสาวะได้ลำบากมากขึ้น จนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน สำหรับภาวะต่อมลูกหมากโตนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน วันนี้เราได้นำความรู้จากทางศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลนครธน ซึ่งมีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคต่อมลูกหมากมาฝากกัน เกี่ยวกับแนวทางการรักษาต่อมลูกหมากโต ซึ่งจะมีแนวทางรักษาด้วยวิธีแบบไหนบ้างไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีขนาดเท่าผลลิ้นจี่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น หน้าที่สำคัญคือ ผลิตของเหลวเป็นตัวหล่อลื่นและนำส่งเชื้ออสุจิในขณะที่มีการหลั่งของน้ำอสุจิออกมา โดยทั่วไปต่อมลูกหมากจะหยุดเจริญเติบโตหลังจากอายุ 20 ปี จนกระทั่งอายุประมาณ 45 ปี จะมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้ง และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่อมลูกหมากโต โรคต่อมลูกหมากโต โรคต่อมลูกหมากโต หรือ BPH (Benign Prostate Hyperplasia) ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่น่าหนักใจของคุณผู้ชายทั้งหลาย โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตจะอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป เมื่ออายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะค่อยๆ โตขึ้น ในช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายเริ่มลดลง ซึ่งปกติเพศชายเมื่ออายุ 20 ปี จะมีขนาดของต่อมลูกหมาก ประมาณ 20 กรัม แต่จะค่อยๆ โตขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้น เมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็อาจกดเบียดท่อปัสสาวะให้แคบเล็กลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบ ๆ และซึ่งบางครั้งเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะลดลง จึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันได้ อาการของโรคต่อมลูกหมากโตที่สำคัญมีอยู่ 7 อย่างคือ 1.ลุกขึ้นถ่ายปัสสาวะกลางดึกมากกว่า 2 ครั้ง 2.ปัสสาวะไม่พุ่ง เป็นลำ ไหลช้า หรือไหลๆ หยุดๆ 3.เกิดความรู้สึกว่าการขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องวุ่นวายในชีวิตประจำวัน 4.ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ จะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันทีที่ปวดปัสสาวะ 5.ต้องเบ่งหรือรอนานกว่าจะสามารถปัสสาวะออกมาได้ 6.รู้สึกปัสสาวะไม่สุด ทำให้อยากปัสสาวะอยู่เรื่อย ๆ 7.ปัสสาวะบ่อย ห่างกันไม่เกิน 2 ชั่วโมง โรคต่อมลูกหมากโตอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ปัสสาวะไม่ออกเลย ทางเดินปัสสาวะอักเสบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ไตเสื่อมหรือกระเพาะปัสสาวะเสื่อม ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น ซึ่งอาจพบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของผู้ป่วยต่อมลูกหมากทั้งหมด การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต - ตรวจสอบร่างกายและซักประวัติคนไข้โดยละเอียด - การตรวจต่อมลูกหมากทางท่อทวารหนัก “ดีอาร์อี” (Digital Rectal Examination) เพื่อดูลักษณะผิดปกติและความแน่นของเนื้อต่อมลูกหมาก - ทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ - ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ - วัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ - อัลตราซาวด์ขนาดต่อมลูกหมากที่เปลี่ยนแปลง - เจาะ PSA เพื่อแยกโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต สำหรับโรคต่อมลูกหมากโตนั้น ส่วนมากมักจะมีต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้น การรักษาจะมุ่งเน้นที่จะให้อาการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วยดีขึ้น โดยมีวิธีการรักษาแบ่งเป็น 3 วิธี ดังนี้ วิธีแรก: ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิธีการรักษาเริ่มแรกแพทย์จะให้ปรับพฤติกรรมเสียก่อน เช่น ในรายที่เป็นไม่มาก อาจให้ลดการดื่มน้ำลงในช่วงเวลากลางคืน ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ถ้าอาการดีขึ้นไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่หากปรับพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้นต้องรักษาด้วยยาต่อไป วิธีที่สอง: การใช้ยา สำหรับการรักษาด้วยยา แพทย์อาจจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้มีลักษณะอ่อนตัวลง (Alpha-Blockers) ซึ่งจะช่วยลดขนาดของต่อมลูกหมากให้มีขนาดเล็กลง แต่ถ้าในรายที่มีอาการปัสสาวะลำบากมากขึ้น จนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน หรือในรายที่เป็นมาก ๆ แต่อยู่ในระหว่างรอการผ่าตัด แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาตามความเหมาะสมแต่ละอาการของแต่ละบุคคล วิธีที่สาม: การผ่าตัด การรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อขูดตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (Transurethral Resection of the Prostate-TURP) เป็นการผ่าตัดที่นำเอาบางส่วนของต่อมลูกหมากที่ขวางท่อทางเดินปัสสาวะออกมา โดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะจากแพทย์จะใช้วิธีตัดหรือขูดต่อมลูกหมากออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ด้วยเครื่องมือแบบขดลวดสำหรับตัดและจี้ด้วยไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อตัดและหยุดเลือดออกไปได้พร้อมกัน ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อละเลยการรักษาที่ถูกต้อง - ปัสสาวะไม่ออกทันที หรือค่อยเป็นค่อยไป - ปัสสาวะเป็นเลือดเนื่องจากต่อมลูกหมากบวม - กระเพาะปัสสาวะครากหรือมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้หมด ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ - การทำงานของไตเสื่อมลง และไตวายได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แพทย์เน้นย้ำคือชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจต่อมลูกหมากเป็นประจำทุกปี และเมื่อมีอาการปัสสาวะผิดปกติก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาในระดับต้นตอสาเหตุ และอย่าละเลยการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมาพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้รักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้คุณภาพชีวิตกลับมาดีขึ้นดังเดิม ดังนั้น หากท่านชายเกิดมีอาการเกี่ยวกับภาวะต่อมลูกหมากโตเกิดขึ้น ควรรีบตรวจรักษาอย่ารั้งรอทิ้งให้อาการปวดปัสสาวะผิดปรกติเรื้อรังเนิ่นนานเกินไป เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แวะมาคุยปรึกษากับแพทย์หรือมารับการรักษากับทางศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลนครธนเสียแต่เนิ่น ๆ นะคะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ต่อมลูกหมากโต-ภัยร้ายของชายวัย50ที่ไม่ควรมองข้าม
×
×
  • สร้างใหม่...