ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'ศูนย์สมองและระบบประสาท'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

ปฏิทิน

  • ปฎิทินชุมชน

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 6 รายการ

  1. ปัจจุบันมีโรคร้ายแรงเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้เพียงไม่กี่วินาทีหนึ่งในนั้นคือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน โดยเฉพาะผู้ที่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด และมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ ตัน บางคนมีอาจมีอาการแขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด อาจกำลังสงสัยว่าใช่อาการเส้นเลือดในสมองตีบแตกหรืออุดตัน หรือไม่? เพื่อคลายความสงสัยไปฟังคำตอบจากทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธนได้เลยค่ะ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดและออกซิเจนที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke) 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? - มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า - มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย - พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด - มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น - มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ - มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว - มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน - มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น - เพศ ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าหญิง - เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ - โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ - รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด - โรคอ้วน และภาวะนอนกรน - การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด - ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน - การซักประวัติอาการของผู้ป่วย - การตรวจร่างกายเบื้องต้น - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ - การตรวจด้วยเครื่องมือเฉพาะทางรังสีวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain), การฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง (Cerebral Angiogram), การตรวจหลอดเลือดแดงที่คอ (Carotid Doppler Ultrasound) การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้ 1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่ - การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง - การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้ - รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก - ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง - ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ - กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ - หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ หากคุณหรือคนใกล้ชิดอาการแขนขาอ่อนแรง มีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุ อย่าวางใจ รีบไปโรงพยาบาล หรือพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมทั้งแพทย์ชำนาญการ บุคลากรทางการแพทย์สหสาขา พร้อมดูแลให้คำปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถติดต่อสอบถามได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย
  2. หลายคนสงสัยโรคหลอดเลือดสมอง ทำไมพบได้บ่อยในเพศชาย โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่มักมีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีรูปร่างอ้วนลงพุง และมีภาวะนอนกรน ยิ่งคนที่สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย อีกทั้งยังมีความเครียดสะสมจากหน้าที่การงาน บางคนมีโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน พออายุมากขึ้นเริ่มมีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง จะเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ แล้วโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? ทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีคำตอบมาให้คุณแล้ว ไปรับข้อมูลความรู้พร้อมกันได้เลยค่ะ โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke) 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? - มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า - มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีก - มีอาการแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย - พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด - มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น - มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ - มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว - มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน - มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น - เพศ ผู้ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าผู้หญิง - เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ - โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ - รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด - โรคอ้วน และภาวะนอนกรน - การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด - ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน - การซักประวัติอาการของผู้ป่วย - การตรวจร่างกายเบื้องต้น - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain) การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้ 1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่ - การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง - การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้ - รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก - ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง - ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ - กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ - หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ อยากย้ำเตือนว่าการตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการตรวจสอบสุขอนามัยของตนเองอยู่เสมอ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน สามารถสอบถามกับทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย
  3. อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตด้วยกัน แค่คุณพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่เต็มอิ่ม หรือมีความเครียดมาก ๆ ก็ทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน แก้ได้โดยเพียงแค่พักผ่อนให้เพียงพอ และหากิจกรรมทำเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายเสียหน่อย อาการปวดหัวจากความเครียดก็จะหายไปเอง แต่หากคุณมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ ปวดหัวเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหต ทำอย่างไรก็ไม่หาย อาจกำลังมีความกังวลใจ เพราะเริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากใครที่เป็นเช่นนี้เราไม่อยากให้นิ่งนอนใจ เพราะรู้หรือไม่? หากคุณมีอาการปวดหัวบ่อย ปวดหัวเรื้อรัง เห็นภาพซ้อน เสี่ยง!! เป็นเนื้องอกในสมองได้เลยนะ วันนี้เรานำความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เกี่ยวกับเนื้องอกในสมองอาการเป็นอย่างไร และมีแนวทางวิธีรักษาเนื้องอกในสมองอย่างไรบ้าง มาฝากกัน ลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ เนื้องอกในสมองเป็นอย่างไร? เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนมีผลต่อระบบสมอง และระบบประสาททำให้ร่างกายมีอาการต่าง ๆ ตามมา ซึ่งเนื้องอกที่เจริญผิดปกตินั้นจะไปเบียดเนื้อสมอง และกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่มีสมองเป็นตัวควบคุม โดยเนื้องอกที่เกิดขึ้นในสมองอาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป โรคเนื้องอกสมองได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เนื้องอกในสมองชนิดไม่ร้ายแรง หรือ เป็นเนื้องอกแบบเนื้อธรรมดา เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเซลล์สมอง หรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตในอัตราที่ผิดปกติ ก้อนเนื้องอกมีการเจริญเติบโตช้า ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง สามารถรักษาให้หายได้ เนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงหรือมะเร็ง เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์มะเร็ง อาจเกิดขึ้นบริเวณสมอง หรือเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นแล้วลามเข้าสู่สมอง จะมีอัตราการเติบโตเร็วและอาจลุกลามหรือกดทับเนื้อเยื่อรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองและเป็นอันตรายต่อชีวิต ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกในสมอง สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในสมองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกในสมอง ดังนี้ อายุ เนื้องอกในสมองเกิดได้กับคนทุกวัย แต่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดกับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เพศ เนื้องอกในสมองเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง การสัมผัสกับกัมมันตรังสีหรือสารเคมีบางชนิดในที่ทำงาน อาการแบบไหนเสี่ยง เนื้องอกในสมอง อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิด และขนาดของเนื้องอก บางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ และพบว่าเป็นเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย หากมีอาการต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที ปวดหัวเรื้อรัง มีอาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน คลื่นไส้หรืออาเจียน โดยเฉพาะการอาเจียนในตอนเช้า ค่อยๆ สูญเสียความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวแขนหรือขา ชา อัมพาตบางส่วน ปัญหาในการทรงตัวหรือเดิน สับสน สูญเสียความทรงจำ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป หูอื้อ วิงเวียน กล้ามเนื้อใบหน้าชาหรือเป็นเหน็บ กลืนลำบาก ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน ความบกพร่องทางการพูด ความลำบากในการเข้าใจและแสดงออกทางภาษา ปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ ทราบอย่างไรว่าเป็น เนื้องอกในสมอง? เบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการทดสอบทางประสาทวิทยาก่อน เช่น ตรวจการมองเห็น การได้ยิน การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย หากพบอาการป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคหรือสาเหตุอย่างอื่น แพทย์อาจส่งตรวจหาเนื้องอกในสมองด้วยการสแกนสมอง ซึ่งเป็นการฉายภาพรังสีให้เห็นสมองและพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ภายใน เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเครื่องถ่ายภาพรังสี PET scan หากตรวจพบว่ามีเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจส่งตรวจอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่ลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต่อไปได้ นอกจากนี้ อาจทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจวินิจฉัย (Biopsy) หาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกที่อยู่ในขั้นและระดับความรุนแรงใด เป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง แพทย์จะรักษาให้เหมาะกับสภาพการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย หากสภาพของผู้ป่วยไม่ร้ายแรง โอกาสที่จะหายมีสูงและความเสี่ยงที่ต้องผ่าตัดมีต่ำ โดยวิธีการโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้ การผ่าตัด หากเนื้องอกในสมองอยู่ในบริเวณที่ง่ายต่อการผ่าตัด ไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงจนเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรง แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติออกไปจากจุดที่มีเนื้องอกในสมองให้ได้มากที่สุด โดยนวัตกรรมการผ่าตัดสมองมีดังนี้ การผ่าตัดผ่านกล้องกำลังขยายสูง (Microscopic) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึกๆ ได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน มีความปลอดภัยมาก และลดอัตราการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญขนาดเล็กโดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Endoscopic) กล้องที่มีลักษณะเป็นแท่ง สอดเข้าไปในบริเวณสมองที่ต้องการผ่าตัดมีความละเอียดสูงทำให้มองเห็นในจุดที่ลึกได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการผ่าตัดบางอย่าง เช่น การผ่าตัดระบายน้ำคั่งในสมอง และการผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง รังสีรักษา ใช้รังสีพลังงานสูงฆ่าทำลายเนื้องอกในสมองที่เป็นเซลล์มะเร็งลดความเสียหายต่อเซลล์ปกติ เช่น วิธีการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) วิธีการฉายรังสีแบบระบบนาวิถี (IRGT) และวิธีการฉายแบบหมุนรอบตัวผู้ป่วย (VMAT) วิธีเหล่านี้เพิ่มอัตราส่วนของกัมมันตรังสีเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอกและไม่ทาลายเนื้อเยื่อปกติ เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยารักษาและฆ่าเซลล์เนื้องอก มีทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีดเข้าเส้นเลือด โดยแพทย์จะจ่ายยาตามความเหมาะสม อาจใช้ยาร่วมกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาการ ลักษณะและความรุนแรงของเนื้องอก หากเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่อวัยวะส่วนอื่น ต้องได้รับยารักษาตามแต่ชนิดของมะเร็งเป็นกรณีไป ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ อาการแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง อาจส่งผลร้ายแรงหรือความเสียหายถาวรที่นำไปสู่ความพิการทางร่างกาย โคม่า หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต โดยมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ความสามารถทางสมองและความคิดที่อ่อนแอ, สูญเสียความทรงจำ ปัญหาในการทองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น หรือการพูดเรื่องจากประสาทได้รับความเสียหาย มีอาการชัก, แขนและขาอ่อนแรง, อัมพาตครึ่งล่าง ความผิดปกติทางฮอร์โมน, การรั่วของน้าหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง อาการชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดการติดเชื้อ ปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลาไส้ โรคปอดอักเสบ สำหรับใครที่กำลังมีอาการปวดหัวบ่อย ปวดหัวเรื้อรัง แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่นี่ จะเข่าข่ายใช่เนื้องอกในสมองหรือไม่ อยากสอบถามในเรื่องเกี่ยวกับเนื้องอกในสมองเพิ่มเติม ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เนื้องอกในสมองภัยร้ายที่มาพร้อมอาการปวดหัวเรื้อรัง
  4. อาการหลงลืมที่เกิดขึ้นกับคนเราบ่อย ๆ อาจดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าหากลืมบ่อย ๆ ถึงขั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิต อาจไม่ใช่เพียงแค่อาการหลงลืมปกติ หากคุณเป็นลูกๆที่กำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับคุณพ่อคุณแม่และผู้สูงอายุในครอบครัวที่เริ่มมีอาการหลงลืมบ่อย ๆ จนน่าเป็นห่วง แล้วอาการ “ลืม” แบบไหนเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อม วันนี้เรามีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภาวะโรคความจำเสื่อมจาก ศูนย์สมองและระบบประสาทโรงพยาบาลนครธน มาฝากไว้ให้สังเกตผู้สูงอายุที่บ้านกันค่ะ อาการหลงลืมจำไม่ได้วางของอยู่ไหน ลืมปิดเตาแก๊ส ลืมกุญแจ นึกคำพูดไม่ออก บวกลบเลขง่ายๆ ไม่ได้ ล้วนมักเป็นการอาการเริ่มต้นของโรคความจำเสื่อม คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคนี้ ซึ่งกว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคความจำเสื่อมก็จำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว รวมทั้งกลัวการรักษาจนปล่อยให้โรคลุกลามเกินกว่าจะรักษาได้ ส่งผลกับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก ทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนที่คอยดูแล ปัจจัยเสี่ยงความจำเสื่อม สมองเสื่อม ความจำเสื่อมเป็นหนึ่งในอาการของภาวะสมองเสื่อม คือ ภาวะที่เซลล์สมองในบริเวณต่าง ๆ เสื่อม จากสาเหตุต่าง ๆ โดยเริ่มจากส่วนหนึ่งในสมองแล้วลุกลามไปยังสมองส่วนอื่น ๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ มีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและบุคลิกภาพ การเกิดภาวะสมองเสื่อม นั้นปัจจัยเสี่ยงอันดับแรกที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ อายุที่มากขึ้นซึ่งผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีความจำถดถอยลง อับดับสองเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบ พอหลอดเลือดสมองตีบ มีภาวะอุดตันก็จะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมตามมาได้ นอกจากปัจจัยดังกล่าว ยังมีเรื่องของไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม แบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ คือ 1.ผู้ที่ชอบทำอะไรซ้ำซาก จำเจ มีกิจวัตรประจำวันเดิม ๆ ทำอะไรซ้ำ ๆ ไปเที่ยวที่เดิม รับประทานอาหารร้านเดิม เมนูเดิม ไม่ยอมทำอะไรใหม่ๆ 2. ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังเป็นเวลานาน และไม่ได้รับการรักษา จะทำให้สมองส่วนความจำที่มีชื่อว่า ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) เหี่ยวเล็กกว่าคนปกติทั่วไป และ 3. กลุ่มคนที่ไม่ชอบเข้าสังคม เก็บตัวอยู่คนเดียว อาการโรคความจำเสื่อม อาการของโรคความจำเสื่อม จะเริ่มมีความจำผิดปกติตั้งแต่เล็กน้อย เช่น หลงลืมวางของอยู่ไหน ลืมปิดเตาแก๊ส ลืมกุญแจ ลืมปิดประตูบ้าน ลืมปิดไฟ ลืมรับประทานยาที่จำเป็น มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ใครบอกอะไรไปแล้วไม่จำ ซึ่งแต่ก่อนไม่เป็น เป็นต้น จนถึงภาวะความจำเสื่อมขั้นรุนแรงที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เรียกชื่อสิ่งของและชื่อคนที่คุ้นเคยไม่ถูก หรือสูญเสียความเข้าใจภาษา และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการมีพฤติกรรมผิดปกติ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง สังเกตความผิดปกติของโรคความจำเสื่อมได้อย่างไร? - อาการหลงลืม เช่น หลงลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา - สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล กลับบ้านไม่ถูก หลงทิศทาง หรือไม่รู้ว่าจะไปสถานที่นั้น ๆ ได้อย่างไร - จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า - มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร หรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำๆ - ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก - มีปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์ การดูนาฬิกา - มีพฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว - ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น การวินิจฉัยและรักษาโรคความจำเสื่อม แพทย์จะมีการซักประวัติจากผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ดูแลที่สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับความสามารถในชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความถดถอยด้านการทำงานของสมอง จากนั้นจะเริ่มการทดสอบทางสมอง เพื่อวัดสมรรถภาพการทำงานประเมินความบกพร่องในการรับรู้เพื่อใช้วินิจฉัยโรค เช่น ให้ทำแบบทดสอบกระดาษหน้าเดียวที่มีคำถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ทักษะสมอง คิดเลข ร่วมกับการตรวจร่างกายและเลือกการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม เพื่อให้การวินิจฉัยแยกโรคที่ถูกต้องเพื่อคัดแยกโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อความจำเสื่อม ผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ และมีสาเหตุจากอะไร โดยการตรวจในห้องปฏิบัติการจะประกอบไปด้วย การตรวจเลือดต่าง ๆ การตรวจภาพสมองด้วยเครื่อง Computed Tomography (CT) หรือ Magnetic Resonance Imaging (MRI) ในด้านของการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก เช่น ความจำเสื่อมที่เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ การรักษาจะประกอบด้วยการให้ยาที่ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและชะลอการดำเนินโรคให้ช้าลง ซึ่งมักจะได้ผลกับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก ร่วมกับการให้ยารักษาอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน (TDCS) เพิ่มความจำและความสามารถของสมอง เป็นต้น เทคโนโลยี TDCS รักษาความจำเสื่อม เครื่องกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน หรือ TDCS เป็นอีกทางเลือกในการรักษาโรคความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ ร่วมกับการให้ยารักษาอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติ โดยพบว่าเทคโนโลยี TDCS สามารถช่วยเพิ่มความจำและความสามารถของสมองได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยในระยะแรก และระยะกลาง ที่มีอาการความจำเสื่อมไม่รุนแรงมากนัก เทคโนโลยี TDCS นี้ จะส่งกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ประมาณ 1-2 mA ผ่านอิเล็กโทรดไปยังกะโหลกศีรษะ โดยการกระตุ้นสมองส่วนหน้าของกลีบหน้าผาก (Prefrontal cortex) หรือ สมองกลีบขมับส่วนหน้า (anterior temporal cortex) เพื่อเพิ่มความจำและทำให้การประมวลผลของสมองเร็วขึ้น (speed of cognitive) หรือ ความยืดหยุ่นของสมองดีขึ้น (neuroplasticity) ขั้นตอนการรักษาด้วย TDCS จะใช้เวลากระตุ้นประมาณ 20-30 นาที ต่อครั้ง การรักษาโดยส่วนใหญ่แล้วประมาณ 5-10 ครั้ง จะเริ่มเห็นผลการรักษาที่ดีขึ้น ในช่วง 1 เดือนแรก ควรเข้ามารับการกระตุ้นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็จะทำให้วงจรประสาททำงานได้ปกติ และมีการหลั่งสารสื่อประสาทออกมาได้ ซึ่งขั้นตอนการรักษานั้น ทำเพียงแค่ติดสายส่งกระแสไฟฟ้า 2 ตำแหน่งคือ กระแสไฟเข้า และกระแสไฟออก จากนั้นปล่อยกระแสไฟฟ้า ระหว่างการรักษาผู้ป่วยเพียงแค่นั่งเฉยๆ ไม่มีอาการเจ็บปวด แต่ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกเหมือนมดกัด เหมือนมีเข็มเล็ก ๆ ทิ่ม หรือคัน ในตำแหน่งที่กระแสไฟฟ้าเข้าหรือออกได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะหายไปภายใน 30-60 วินาที หรืออาจเกิดผิวหนังแดงบริเวณที่กระตุ้นได้ในบางครั้ง ข้อควรระวังการรักษาความจำเสื่อม ด้วยเทคโนโลยี TDCS - ผู้ป่วยที่มีบาดแผล การติดเชื้อ มีรอยโรค หรือเส้นเลือดอักเสบในบริเวณหนังศีรษะที่กระตุ้น - มีประวัติเลือดออกง่าย หรือมีประวัติชัก - ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจชนิด Demand-Type - ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือกสมองอุดตัน/แตกในระยะเฉียบพลัน ควรระมัดระวังในการรักษา - ผู้ป่วยที่ได้รับยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อการกระตุ้นด้วย TDCS ทั้งนี้ ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของคุณพ่อ คุณแม่ และผู้สูงอายุในครอบครัว หากลูกหลานสัมผัสได้ว่าผู้สูงอายุเหล่านี้ ต้องพึงพาเราในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งมีพฤติกรรมผิดปกติเปลี่ยนไปจากเดิม ต้องรีบนำมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาท ของศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เพื่อทำการวินิจฉัย และหาทางป้องกันเพื่อชะลอการดำเนินของโรค ให้การดำเนินชีวิตของผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาทโรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคความจำเสื่อม-อาการหลงลืม-ที่ไม่ใช่เรื่องธรรมดา
  5. อัมพฤกษ์ อัมพาต คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke เป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดขึ้นทันทีทันใดจากเนื้อสมองขาดเลือด หรือเลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลงจากหลอดเลือดแดงที่ ตีบ, อุดตัน หรือ แตก ส่งผลให้เนื้อสมองถูกทำลาย โดยมีอาการแสดงอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง หลายท่านคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ถึงวิธีการรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกของการฟื้นฟูอัมพฤกษ์ อัมพาต วันนี้เรามีข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS จากศูนย์สมองและระบบประสาท ของโรงพยาบาลนครธนมาฝากกันค่ะ เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) คืออะไร? TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) คือ เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นเซลล์สมอง ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมและการสร้างวงจรระบบประสาทต่าง ๆ ภายในสมอง โดยการกระตุ้นสมองในตำแหน่งต่าง ๆ จะใช้หัว Coil ในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ความถี่ และความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะและตำแหน่งรอยโรคของผู้ป่วย ประโยชน์ของการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - เป็นทางเลือกเพื่อช่วยในการฟื้นฟูภาวะอ่อนแรง สื่อสารลำบาก กลืนลำบาก จากภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตัน - ทางเลือกในการรักษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าแล้วไม่ตอบสนองเท่าที่ควร - ทางเลือกในการฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะความจำถดถอยจากโรคอัลไซเมอร์ การรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) ให้ประสิทธิภาพดีแค่ไหน? การรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS คือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเข้าไปยังสมอง ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หากทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยได้ 30-60% แพทย์จะทำการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กวันละ 1 ครั้ง โดยระยะเวลาและความถี่ที่นัดมาทำขึ้นกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น ทั้งนี้แพทย์จะคอยซักถามและสังเกตอาการข้างเคียงตลอดระยะเวลาในการกระตุ้น ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีอาการมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน - ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาในขนาดที่เหมาะสมมาแล้วและอาการยังไม่ดีขึ้นภายในหนึ่งปีนับจากเริ่มทานยาต้านเศร้า - ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นถึงระยะปานกลาง ข้อจำกัดในการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - ผู้ที่มีการฝังโลหะหรือชิ้นส่วนของโลหะในสมองและในช่องหู เพราะสนามแม่เหล็กสามารถเหนี่ยวนำวัตถุที่เป็นโลหะ จนอาจก่อให้เกิดแรงกระทำต่อโครงสร้างสมองโดยรอบวัตถุนั้นได้ - ผู้ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่องมือที่ฝังอยู่ในร่างกาย เพราะสนามแม่เหล็กจะรบกวนการทำงานของวงจรไฟฟ้าของเครื่องเหล่านั้นได้ ผลข้างเคียงที่พบในการรักษาด้วย TMS มีความร้อนบริเวณที่กระตุ้น เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กทำให้อุณหภูมิภายในสมองสูงขึ้นแต่น้อยมากจะมีปวดตึงศีรษะบริเวณที่ทำการกระตุ้น คลื่นไส้ วิงเวียน อาการชัก อารมณ์พลุ่งพล่าน สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ข้อแนะนำก่อนรักษาด้วย TMS 1.แพทย์จะแนะนำการรักษา ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามในการใช้เครื่องมือดังกล่าว 2.ห้ามอดนอน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนทำการรักษาด้วย TMS ในวันรุ่งขึ้น 3.หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนก่อนทำ TMS 4.กรณีมียาที่ใช้เป็นประจำ โดยเฉพาะยาในกลุ่มยานอนหลับ ยาทางจิตเวช ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง อัมพฤกษ์ อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมองถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะมีผู้ป่วยหลายคนที่กว่าจะรู้ตัวว่าป่วยก็มีอาการหนักแล้ว ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเอง ว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่ หน้าเบี้ยว แขนขาชาหรืออ่อนแรง พูดไม่ชัด พูดไม่ออก การมองเห็นผิดปกติ เวียนศีรษะ เดินเซ ซึมลง หรือปวดศีรษะรุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้ามีอาการใดอาการหนึ่งแล้วอย่ารีรอ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะการได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีสามารถช่วยลดความพิการและการเสียชีวิตลงได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/tms-เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า-ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต
  6. ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกที่เรียกกันอีกอย่างนึงว่า Stroke เป็นโรคที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นสาเหตุความพิการและเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ความน่ากลัวของโรคนี้คือ หากเป็นแล้วส่งผลต่อผู้ป่วยทำให้กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้และถึงแม้จะช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ก็ยังมีผู้ป่วยส่วนหนึ่ง มีปัญหาด้านการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขา และการเกร็งของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้มีปัญหาต่อการช่วยเหลือตัวเอง และการประกอบกิจวัตรประจำวัน บางรายก็ไม่สามารถเดินเองได้ ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์สมัยใหม่ทำให้มีเทคโนโลยีหนึ่งที่เข้ามาช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งชนิดหลอดเลือดสมองตีบและแตก ได้แก่ เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วยังมีอาการอ่อนแรงหรือการเกร็งของกล้ามเนื้อ การบำบัดด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า tms กระตุ้นสมอง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูและลดอาการเกร็งของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองได้ ซึ่งหลายคนยังคงสงสัยว่าการทำ การบำบัดด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง คืออะไร วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) คืออะไร? TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) คือ เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นเซลล์สมอง ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมและการสร้างวงจรระบบประสาทต่าง ๆ ภายในสมอง โดยการกระตุ้นสมองในตำแหน่งต่าง ๆ จะใช้หัว coil ในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ความถี่ และความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะและตำแหน่งรอยโรคของผู้ป่วย ประโยชน์ของการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - เป็นทางเลือกเพื่อช่วยในการฟื้นฟูภาวะอ่อนแรงจากอัมพฤกษ์ อัมพาตในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตัน - ทางเลือกในการรักษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าแล้วไม่ตอบสนองเท่าที่ควร - ทางเลือกในการฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะความจำถดถอยจากโรคอัลไซเมอร์ การรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) ให้ประสิทธิภาพดีแค่ไหน? การรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS คือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเข้าไปยังสมอง ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หากทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยได้ 30-60% แพทย์จะทำการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กวันละ 1 ครั้ง โดยระยะเวลาและความถี่ที่นัดมาทำขึ้นกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น ทั้งนี้แพทย์จะคอยซักถามและสังเกตอาการข้างเคียงตลอดระยะเวลาในการกระตุ้น ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีอาการมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน - ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาในขนาดที่เหมาะสมมาแล้วและอาการยังไม่ดีขึ้นภายในหนึ่งปีนับจากเริ่มทานยาต้านเศร้า - ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นถึงระยะปานกลาง ข้อจำกัดในการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - ผู้ที่มีการฝังโลหะหรือชิ้นส่วนของโลหะในสมอง เพราะสนามแม่เหล็กสามารถเหนี่ยวนำวัตถุที่เป็นโลหะ จนอาจก่อให้เกิดแรงกระทำต่อโครงสร้างสมองโดยรอบวัตถุนั้นได้ - ผู้ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่องมือที่ฝังอยู่ในร่างกาย เพราะสนามแม่เหล็กจะรบกวนการทำงานของวงจรไฟฟ้าของเครื่องเหล่านั้นได้ ผลข้างเคียงที่พบในการรักษาด้วย TMS มีความร้อนบริเวณที่กระตุ้น เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กทำให้อุณหภูมิภายในบริเวณหนังศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อย อาจจะมีปวดตึงศีรษะบริเวณที่ทำการกระตุ้น คลื่นไส้ วิงเวียน อาการชัก อารมณ์พลุ่งพล่าน สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ข้อแนะนำก่อนรักษาด้วย TMS 1.แพทย์จะแนะนำการรักษา ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามในการใช้เครื่องมือดังกล่าว 2.ห้ามอดนอน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนทำการรักษาด้วย TMS ในวันรุ่งขึ้น 3.หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนก่อนทำ TMS 4.กรณีมียาที่ใช้เป็นประจำ โดยเฉพาะยาในกลุ่มยานอนหลับ ยาทางจิตเวช ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง 5.ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวใด ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง เนื่องจากเทคโนโลยี tms รักษา อัมพฤกษ์ หรือ tms กระตุ้นสมอง มีใช้รักษาในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ส่วนโรงพยาบาลเอกชนมีใช้อยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น หนึ่งในนั้นคือ ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เราเตรียมพร้อมในการดูแลผผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต ให้กลับบมาปกติเหมือนเดิมมากที่สุด เพราะทุกชีวิตมีค่าสำหรับเรา การดูแลใส่ใจผู้ป่วยอย่างดีที่สุดคือหน้าที่ของเรา หากมีปัญหาหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ตลอดเวลาทำการค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/TMS-เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า-ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต
×
×
  • สร้างใหม่...